ก่อนเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 นักเรียน นิสิตนักศึกษา ประชาชนเพียงเรียกร้องรัฐธรรมนูญ ก็ถูกจับกุมคุมขังจนเกิดการประท้วง และในที่สุดเกิดเหตุการณ์ 14 ตุลาคมอันยิ่งใหญ่ขึ้น ความเรียกร้องต้องการขณะนั้นขอเพียงมีรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดปกครองประเทศ มิใช่ปกครองตามใจเผด็จการอย่างจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ จอมพลถนอม กิตติขจร จอมพลประภาส จารุเสถียร ก็เพียงพอแล้ว
หลัง 14 ตุลาคม 2516 ก็มีรัฐธรรมนูญขึ้นมาจริงๆ เป็นรัฐธรรมนูญที่ดีที่สุดฉบับหนึ่งที่เราเคยมีมา มีการเลือกตั้งอย่างต่อเนื่องแม้จะมีการปฏิวัติรัฐประหาร 6 ตุลาคม 2519 และ 20 ตุลาคม 2520 สภาฯ จะใช้เวลาร่างรัฐธรรมนูญก็ไม่เกิน 1 ปี
จนเราเชื่อกันว่า ประชาธิปไตยคือการเลือกตั้ง หรือการเลือกตั้งคือประชาธิปไตย
ต่อมาเราก็เห็นว่า เพียงมีรัฐธรรมนูญ เพียงมีการลือกตั้งไม่เพียงพอเสียแล้ว บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญต้องเป็นประชาธิปไตย ต้องมีข้อห้ามโน่นข้อห้ามนี่ ต้องมีองค์กรต่างๆ เข้ามาไม่เช่นนั้นไม่ทันนักการเมือง โดยเฉพาะอย่างยิ่งนักธุรกิจ
เราได้เห็นแล้วว่า การเมืองกลายเป็นธุรกิจที่ให้ผลตอบแทนมากสำหรับคนที่เล่นการเมืองให้เป็นธุรกิจ เป็นต้นว่าตั้งพรรคการเมืองขึ้นมาส่งลูกพรรคลงสมัครรับเลือกตั้งให้ได้ 20 คน 30 คนพอได้เข้าร่วมรัฐบาลทำตัวเป็นนักต่อรองเข้าให้ได้กับทุกพรรคทุกฝ่ายก็ได้ร่วมรัฐบาลแล้ว
การได้เข้าร่วมรัฐบาลจะทำให้ไม่อดอยากปากแห้งเพราะได้เป็นฝ่ายบริหาร ได้คุมงบประมาณในกระทรวงทบวงที่เป็นโควตาพรรคของตน ถ้าหากสามารถต่อรองได้กระทรวงใหญ่น้อยก็มีงบประมาณมากมายให้ได้จับจ่ายใช้สอย ได้คอร์รัปชัน ได้โกงว่ายังงั้นเถอะ
นอกเหนือจากเงินงบประมาณแล้ว ยังได้เป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการในกระทรวง ทบวง กรม รัฐวิสาหกิจได้ค่าแต่งตั้งโยกย้าย ได้สั่งการให้ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ช่วยให้ได้โกงหรือได้รับเงินส่งส่วย
การลงสมัครรับเลือกตั้งจึงกลายเป็นการชุบตัว เป็นการก้าวเข้าหาขุมทรัพย์มาศาล
ยิ่งการเลือกตั้งเป็นไปอย่างต่อเนื่อง ก็ยิ่งมองเห็นอนาคตว่าจะต้องเป็นเจ้าพ่อ เป็นผู้ยิ่งใหญ่ของประเทศ เป็นผู้ทรงอิทธิพลยิ่งของประเทศ
เมื่อไม่นานมานี้นายบรรหาร ศิลปอาชา อดีตนายกรัฐมนตรี อดีตหัวหน้าพรรคชาติไทย กล่าวถึงการเมืองบ้านเราว่า อยากให้มีการเลือกตั้งไปเรื่อยๆ เหมือนญี่ปุ่นที่เขามีการเลือกตั้ง เลือกจนกระทั่งในที่สุดประชาชนเขาก็รู้จักเลือกคนดี ที่นายบรรหารพูดนั้น ญี่ปุ่นจะเปรียบเทียบกับประเทศไทยของเราน่าจะไม่ถูกต้อง เพราะคุณภาพนักการเมืองของเขากับนักการเมืองของเราต่างกัน นักการเมืองของญี่ปุ่นหนังไม่หนา หน้าไม่ด้านเท่านักการเมืองบ้านเรา ดังจะเห็นได้จากเมื่อไม่นานมานี้ ผู้คนแสดงความไม่พอใจรัฐบาลออกมาประท้วงไม่น่าจะต่ำกว่า 4-5 ล้านคน
แต่นักการเมืองบ้านเราไม่รู้สึกรู้สาไม่สนใจ มามากน้อยเท่าใดไม่สำคัญ ฉันจะอยู่ในตำแหน่ง ประชาชนเลือกฉันมาแล้วนี่ ขณะที่ถ้าหากเป็นประเทศอื่นที่นักการเมืองเขาอายเป็นเขาออกไปแล้ว เผลอๆ อาจจะเชือดคอตาย กระโดดตึกฆ่าตัวตายเสียด้วยซ้ำ
เคยมีตัวอย่างให้เห็นมาแล้วว่า นักการเมืองบ้านเราที่อยู่ในตำแหน่งเมื่อถูกศาลตัดสินลงโทษทำให้ถูกสงสัยว่ายังอยู่ในตำแหน่งต่อไปได้ หรือพ้นแล้วนักการเมืองบ้านเราต้องให้มานั่งตีความกันว่า ที่ศาลตัดสินนั้นเป็นศาลใด ศาลชั้นต้น อุทธรณ์ หรือฎีกา คำตัดสินนั้นให้รอลงอาญาหรือไม่รอ
หรือขนาดศาลตัดสินจำคุกไปแล้ว หนีคดี หนีคุกไปแล้ว บอกว่าศาลไม่เป็นธรรม และก็ยังมีคนวิ่งไปขอยศขอตำแหน่งกับเขาอีก
มาตรฐานที่แตกต่างกันอย่างนี้ นายบรรหาร ศิลปอาชา ไม่มีวันรู้ ไม่มีวันเข้าใจ
วันนี้นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ประกาศยุบสภากำหนดวันเลือกตั้งโดย กกต.แล้ว มีประชาชนเป็นหมื่นเป็นแสนเป็นล้านยังไม่อยากเลือกตั้ง ยังอยากกวาดบ้าน เรือนให้สะอาดเสียก่อน
เพราะก่อนหน้านี้ก็เห็นกันแล้วว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ซื้อพรรคการเมือง 2-3 พรรคเพื่อควบรวมกับพรรคไทยรักไทย จนกระทั่งมาเป็นพรรคเพื่อไทยในวันนี้ เห็นกันอยู่แล้วว่า พ.ต.ท.ทักษิณซื้อนักการเมืองเข้าพรรค เห็นกันอยู่แล้วว่า วุฒิสภาครึ่งค่อนสภาฯ เป็นคนของเขา
ถ้าหากเดินเข้าคูหาเลือกตั้งวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 ที่จะถึงนี้ ไอ้จ่าประสาท สุรินทร์ หรือไอ้สุนัขนครสวรรค์มันก็กลับเข้ามาอีก มาสนับสนุนนางปู นางแดงคนใดคนหนึ่งเป็นนายกรัฐมนตรีอีก
หรือหากพรรคประชาธิปัตย์ได้เสียงข้างมากจัดตั้งรัฐบาล นี่คือสิ่งที่ประชาชนต้องการหรือ ไม่ได้มีอะไรที่แตกต่างกันมาก เพียงแต่ฝ่ายหนึ่งมีทักษิณ อีกฝ่ายไม่มีแต่โครงสร้างทางการเมืองไม่ได้แตกต่างกันเลย
สิ่งที่ประชาชนอยากเห็นก็คือ บ้านเมืองที่เป็นประชาธิปไตยจริงๆ ปกครองกันด้วยหลักนิติธรรม อำนาจนิติบัญญัติ บริหาร ตุลาการ มีการถ่วงดุลเป็นอำนาจของประชาชนอย่างแท้จริง
ผู้อำนาจแทนประชาชน คือฝ่ายนิติบัญญัติ และฝ่ายบริหาร คำนึงถึงประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชนจริงๆ มิใช่สภาหุ่นที่แม้แต่ตัวประธานสภาฯ ก็ทำตัวเป็นขี้ข้าม้าใช้ไม่เช่นนั้นก็ไม่ได้ตำแหน่ง หรือตัวนายกรัฐมนตรีมิใช่หุ่นเชิดอย่างที่เห็นกันมาแล้วตั้งแต่นายสมัคร สุนทรเวช นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ จนถึงนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
หลัง 14 ตุลาคม 2516 ก็มีรัฐธรรมนูญขึ้นมาจริงๆ เป็นรัฐธรรมนูญที่ดีที่สุดฉบับหนึ่งที่เราเคยมีมา มีการเลือกตั้งอย่างต่อเนื่องแม้จะมีการปฏิวัติรัฐประหาร 6 ตุลาคม 2519 และ 20 ตุลาคม 2520 สภาฯ จะใช้เวลาร่างรัฐธรรมนูญก็ไม่เกิน 1 ปี
จนเราเชื่อกันว่า ประชาธิปไตยคือการเลือกตั้ง หรือการเลือกตั้งคือประชาธิปไตย
ต่อมาเราก็เห็นว่า เพียงมีรัฐธรรมนูญ เพียงมีการลือกตั้งไม่เพียงพอเสียแล้ว บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญต้องเป็นประชาธิปไตย ต้องมีข้อห้ามโน่นข้อห้ามนี่ ต้องมีองค์กรต่างๆ เข้ามาไม่เช่นนั้นไม่ทันนักการเมือง โดยเฉพาะอย่างยิ่งนักธุรกิจ
เราได้เห็นแล้วว่า การเมืองกลายเป็นธุรกิจที่ให้ผลตอบแทนมากสำหรับคนที่เล่นการเมืองให้เป็นธุรกิจ เป็นต้นว่าตั้งพรรคการเมืองขึ้นมาส่งลูกพรรคลงสมัครรับเลือกตั้งให้ได้ 20 คน 30 คนพอได้เข้าร่วมรัฐบาลทำตัวเป็นนักต่อรองเข้าให้ได้กับทุกพรรคทุกฝ่ายก็ได้ร่วมรัฐบาลแล้ว
การได้เข้าร่วมรัฐบาลจะทำให้ไม่อดอยากปากแห้งเพราะได้เป็นฝ่ายบริหาร ได้คุมงบประมาณในกระทรวงทบวงที่เป็นโควตาพรรคของตน ถ้าหากสามารถต่อรองได้กระทรวงใหญ่น้อยก็มีงบประมาณมากมายให้ได้จับจ่ายใช้สอย ได้คอร์รัปชัน ได้โกงว่ายังงั้นเถอะ
นอกเหนือจากเงินงบประมาณแล้ว ยังได้เป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการในกระทรวง ทบวง กรม รัฐวิสาหกิจได้ค่าแต่งตั้งโยกย้าย ได้สั่งการให้ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ช่วยให้ได้โกงหรือได้รับเงินส่งส่วย
การลงสมัครรับเลือกตั้งจึงกลายเป็นการชุบตัว เป็นการก้าวเข้าหาขุมทรัพย์มาศาล
ยิ่งการเลือกตั้งเป็นไปอย่างต่อเนื่อง ก็ยิ่งมองเห็นอนาคตว่าจะต้องเป็นเจ้าพ่อ เป็นผู้ยิ่งใหญ่ของประเทศ เป็นผู้ทรงอิทธิพลยิ่งของประเทศ
เมื่อไม่นานมานี้นายบรรหาร ศิลปอาชา อดีตนายกรัฐมนตรี อดีตหัวหน้าพรรคชาติไทย กล่าวถึงการเมืองบ้านเราว่า อยากให้มีการเลือกตั้งไปเรื่อยๆ เหมือนญี่ปุ่นที่เขามีการเลือกตั้ง เลือกจนกระทั่งในที่สุดประชาชนเขาก็รู้จักเลือกคนดี ที่นายบรรหารพูดนั้น ญี่ปุ่นจะเปรียบเทียบกับประเทศไทยของเราน่าจะไม่ถูกต้อง เพราะคุณภาพนักการเมืองของเขากับนักการเมืองของเราต่างกัน นักการเมืองของญี่ปุ่นหนังไม่หนา หน้าไม่ด้านเท่านักการเมืองบ้านเรา ดังจะเห็นได้จากเมื่อไม่นานมานี้ ผู้คนแสดงความไม่พอใจรัฐบาลออกมาประท้วงไม่น่าจะต่ำกว่า 4-5 ล้านคน
แต่นักการเมืองบ้านเราไม่รู้สึกรู้สาไม่สนใจ มามากน้อยเท่าใดไม่สำคัญ ฉันจะอยู่ในตำแหน่ง ประชาชนเลือกฉันมาแล้วนี่ ขณะที่ถ้าหากเป็นประเทศอื่นที่นักการเมืองเขาอายเป็นเขาออกไปแล้ว เผลอๆ อาจจะเชือดคอตาย กระโดดตึกฆ่าตัวตายเสียด้วยซ้ำ
เคยมีตัวอย่างให้เห็นมาแล้วว่า นักการเมืองบ้านเราที่อยู่ในตำแหน่งเมื่อถูกศาลตัดสินลงโทษทำให้ถูกสงสัยว่ายังอยู่ในตำแหน่งต่อไปได้ หรือพ้นแล้วนักการเมืองบ้านเราต้องให้มานั่งตีความกันว่า ที่ศาลตัดสินนั้นเป็นศาลใด ศาลชั้นต้น อุทธรณ์ หรือฎีกา คำตัดสินนั้นให้รอลงอาญาหรือไม่รอ
หรือขนาดศาลตัดสินจำคุกไปแล้ว หนีคดี หนีคุกไปแล้ว บอกว่าศาลไม่เป็นธรรม และก็ยังมีคนวิ่งไปขอยศขอตำแหน่งกับเขาอีก
มาตรฐานที่แตกต่างกันอย่างนี้ นายบรรหาร ศิลปอาชา ไม่มีวันรู้ ไม่มีวันเข้าใจ
วันนี้นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ประกาศยุบสภากำหนดวันเลือกตั้งโดย กกต.แล้ว มีประชาชนเป็นหมื่นเป็นแสนเป็นล้านยังไม่อยากเลือกตั้ง ยังอยากกวาดบ้าน เรือนให้สะอาดเสียก่อน
เพราะก่อนหน้านี้ก็เห็นกันแล้วว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ซื้อพรรคการเมือง 2-3 พรรคเพื่อควบรวมกับพรรคไทยรักไทย จนกระทั่งมาเป็นพรรคเพื่อไทยในวันนี้ เห็นกันอยู่แล้วว่า พ.ต.ท.ทักษิณซื้อนักการเมืองเข้าพรรค เห็นกันอยู่แล้วว่า วุฒิสภาครึ่งค่อนสภาฯ เป็นคนของเขา
ถ้าหากเดินเข้าคูหาเลือกตั้งวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 ที่จะถึงนี้ ไอ้จ่าประสาท สุรินทร์ หรือไอ้สุนัขนครสวรรค์มันก็กลับเข้ามาอีก มาสนับสนุนนางปู นางแดงคนใดคนหนึ่งเป็นนายกรัฐมนตรีอีก
หรือหากพรรคประชาธิปัตย์ได้เสียงข้างมากจัดตั้งรัฐบาล นี่คือสิ่งที่ประชาชนต้องการหรือ ไม่ได้มีอะไรที่แตกต่างกันมาก เพียงแต่ฝ่ายหนึ่งมีทักษิณ อีกฝ่ายไม่มีแต่โครงสร้างทางการเมืองไม่ได้แตกต่างกันเลย
สิ่งที่ประชาชนอยากเห็นก็คือ บ้านเมืองที่เป็นประชาธิปไตยจริงๆ ปกครองกันด้วยหลักนิติธรรม อำนาจนิติบัญญัติ บริหาร ตุลาการ มีการถ่วงดุลเป็นอำนาจของประชาชนอย่างแท้จริง
ผู้อำนาจแทนประชาชน คือฝ่ายนิติบัญญัติ และฝ่ายบริหาร คำนึงถึงประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชนจริงๆ มิใช่สภาหุ่นที่แม้แต่ตัวประธานสภาฯ ก็ทำตัวเป็นขี้ข้าม้าใช้ไม่เช่นนั้นก็ไม่ได้ตำแหน่ง หรือตัวนายกรัฐมนตรีมิใช่หุ่นเชิดอย่างที่เห็นกันมาแล้วตั้งแต่นายสมัคร สุนทรเวช นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ จนถึงนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร