เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2556 บรรดาสมาชิกพรรคเพื่อไทย นำโดยนายจารุพงษ์ เรืองสุวรรณ ได้นำสมาชิกของพรรคเพื่อไทยแถลงต่อสื่อมวลชน ถึงเหตุที่ไม่รับคำพิพากษาของศาลรัฐธรรมนูญ รวม 9 ข้อ หากพิจารณาอย่างถี่ถ้วนต่อคำแถลงดังกล่าว จะพบปัญหาการใช้ตรรกะที่ผิดพลาดในการแถลงดังกล่าวหลายประการ ซึ่งสามารถวิพากษ์ทางวิชาการเป็นข้อๆหรือหลายๆข้อรวมกันได้ดังนี้
1. การที่สมาชิกรัฐสภาประกอบด้วย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และสมาชิกวุฒิสภาจำนวน 312 คน ร่วมเสนอญัตติแก้ไขรัฐธรรมนูญในเรื่องดังกล่าว ก็เพื่อให้เป็นไปตามหลักประชาธิปไตย ที่ถือว่าอำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชน ดังนั้น สมาชิกรัฐสภาทั้งหมดย่อมต้องมาจากการเลือกตั้งของปวงชน ดังที่ประเทศที่เป็นประชาธิปไตยทั้งหลายปฏิบัติกัน และสอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ 2540 ซึ่งถือเป็นฉบับประชาชน
วิพากษ์ อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชน สมาชิกรัฐสภาเป็นตัวแทนของประชาชนเพราะมาจากการเลือกตั้งของปวงชน แต่หลักประชาธิปไตยสากล และทุกประเทศประชาธิปไตยที่มีในโลก เขาไม่ให้สมาชิกรัฐสภากระทำการขัดต่อรัฐธรรมนูญและกฎหมาย ไม่กระทำการใดขัดต่อหลักนิติธรรม การที่เหล่าสมาชิกพรรคเพื่อไทยอ้างว่า กระทำเหมือนกับที่ทั่วโลกเขาปฏิบัติ คงเป็นโลกในอดีตที่ไม่มีการพัฒนาแนวคิดประชาธิปไตย และไม่ใช่โลกปัจจุบัน และที่อ้างว่า สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ 2540 ซึ่งถือเป็นฉบับประชาชน แต่อ้างเสมือนว่าไม่ยึดถือรัฐธรรมนูญ 2550 ซึ่งเป็นฉบับที่พัฒนามาจากรัฐธรรมนูญ 2540 และเป็นของประชาชนยิ่งกว่าเพราะผ่านการออกเสียงประชามติของประชาชนทั้งประเทศ สันนิษฐานได้ว่าที่กล่าวอ้าง รัฐธรรมนูญ 2540 เพราะในมาตรา 3 ของรัฐธรรมนูญ 2540 ต่างกับรัฐธรรมนูญ 2550 ตรงที่มาตรา 3 มีวรรคสอง และบัญญัติว่า “การปฏิบัติหน้าที่ของรัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาล รวมทั้งองค์กรตามรัฐธรรมนูญและหน่วยงานของรัฐ ต้องเป็นไปตามหลักนิติธรรม” จึงน่าสงสัยว่า เป็นการประกาศว่า บรรดาผู้ประกาศตนดังกล่าวได้เสมือนประกาศยอมรับว่าในการปฏิบัติหน้าที่ของตน หาได้ยึดหลัก “นิติธรรม” ในการปฏิบัติหน้าที่สมาชิกรัฐสภาแต่อย่างใดไม่
2. การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญนั้น รัฐธรรมนูญ มาตรา 291 บัญญัติไว้ชัดเจนว่า เป็นอำนาจของรัฐสภา โดยมีข้อห้ามแก้ไขอยู่ 2 ข้อ เท่านั้น คือ การเปลี่ยนแปลงการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และการเปลี่ยนแปลงรูปของรัฐ ซึ่งการแก้ไขเพิ่มเติมที่มาของสมาชิกวุฒิสภาดังกล่าว ไม่เกี่ยวข้องกับข้อห้ามทั้ง 2 ข้อ แต่อย่างใด ทั้งศาลรัฐธรรมนูญเองก็เคยวินิจฉัยไว้ในคำวินิจฉัย ที่ 18-22/2555 ว่า “รัฐสภาจะใช้อำนาจแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญเป็นรายมาตราก็เป็นความเหมาะสม และเป็นอำนาจของรัฐสภาที่จะดำเนินการดังกล่าวนี้ได้ ซึ่งจะเป็นการสอดคล้องกับเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ มาตรา 291”
วิพากษ์ (1) ข้อแถลงนี้ขัดกับคำแถลงข้อ 1 เพราะได้ประกาศว่าตนปฏิบัติหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญ 2540 แต่อ้างประโยชน์จากการวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญตามรัฐธรรมนูญ 2550
(2) การกล่าวอ้างว่าข้อห้ามการแก้ไขรัฐธรรมนูญมีเพียงสองประการเป็นการกล่าวอ้างที่ไม่ถูกต้อง เพราะการแก้ไขรัฐธรรมนูญโดยสมาชิกรัฐสภาต้องกระทำภายใต้เงื่อนไข ที่สำคัญ คือ(ก) แก้ไขด้วยกระบวนการตามมาตรา 291 (ข) ห้ามแก้ไขโดยกระทบต่อหลักการต้องห้ามตามมาตรา 291(1) วรรคสอง ที่บัญญัติว่า “ญัตติขอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญที่มีผลเป็นการเปลี่ยนแปลงการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หรือเปลี่ยนแปลงรูปของรัฐจะกระทำไม่ได้” (ค) แก้ไขและละเมิดหลัก “นิติธรรม” กระทำไม่ได้ (ง) การแก้ไขเพื่อเลิกทั้งฉบับต้องถามประชาชนด้วยการออกเสียงประชามติก่อน จึงจะทำได้
(3) คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ ที่ 18-22/2555 โดยสรุป ศาลกล่าวอ้างถึงการแก้ไขรัฐธรรมนูญของรัฐสภาโดยยกเลิกรัฐธรรมนูญที่ประชาชนออกเสียงลงประชามติมาทั้งฉบับกระทำไม่ได้ ขัดต่อรัฐธรรมนูญ 2550 มาตรา 291 เพราะประชาชนเป็นผู้ใช้อำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญ สมาชิกรัฐสภาเป็นเพียงผู้ได้รับมอบอำนาจจากประชาชนและรัฐธรรมนูญมาตรา 291 ให้มีอำนาจในการตรากฎหมาย(ไม่ใช่รัฐธรรมนูญ)และให้อำนาจในการแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นรายมาตรา(เพื่อให้ดีขึ้นภายใต้หลักนิติธรรมตามมาตรา 3 วรรคสอง) ไม่ได้มอบอำนาจให้แก้ไขจนกลายเป็น “ผู้ยึดอำนาจ” สถาปนารัฐธรรมนูญที่ประชาชนได้ใช้ผ่านการออกเสียงประชามติ ไปเป็นของรัฐสภา แล้วทำการยกเลิกรัฐธรรมนูญทั้งฉบับเท่ากับเป็นการกระทำ “รัฐประหาร” อำนาจของประชาชนในการสถาปนารัฐธรรมนูญ ซึ่งผู้ยึดมั่นการปกครองในระบอบประชาธิปไตยไม่พึงกระทำ เพราะเท่ากับเป็นการ “ทรยศ” ต่อความไว้วางใจของประชาชน การตัดตอนเนื้อหาบางส่วนของคำวินิจฉัยบางส่วนของศาลรัฐธรรมนูญมากล่าวอ้างเพื่อหาประโยชน์เพื่อจะหาเหตุสร้างความชอบธรรม จึงเป็นการกล่าวอ้างที่ไร้คุณธรรมของการดำรงตนเป็นนักการเมืองที่ดี
3. การที่ศาลรัฐธรรมนูญรับคำร้องในเรื่องดังกล่าว โดยอาศัยรัฐธรรมนูญ มาตรา 68 เป็นการกระทำที่ถือได้ว่าจงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ ซึ่งอยู่ในข่ายที่จะถูกร้องขอให้ถอดถอนหรือถูกดำเนินคดีอาญาได้ เพราะมาตรา 68 เป็นกรณีเกี่ยวกับการที่บุคคลจะใช้สิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญนี้ หรือเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญนี้มิได้ แต่การตรากฎหมาย ซึ่งกรณีนี้ถือเป็นการแก้ไขรัฐธรรมนูญนั้น เป็นการที่รัฐสภากระทำไปตามอำนาจหน้าที่ที่รัฐธรรมนูญ มาตรา 291 บัญญัติ โดยศาลรัฐธรรมนูญได้วินิจฉัยรับรองไว้เองอีกโสตหนึ่งดังที่กล่าวมาข้างต้น จึงไม่เข้าเงื่อนไขที่ศาลรัฐธรรมนูญจะรับไว้ได้
วิพากษ์ (1) การจัดตั้งศาลรัฐธรรมนูญขึ้นก็เพื่อให้มีองค์กรที่เป็นตุลาการทำหน้าที่ในการพิทักษ์ “รัฐธรรมนูญ” ทำหน้าที่ป้องกันมิให้เสียงข้างมากใช้อำนาจตามอำเภอใจจนกลายเป็นการใช้อำนาจแบบเผด็จการ รวมทั้งให้องค์กรผู้ใช้อำนาจอธิปไตยตามรัฐธรรมนูญใช้อำนาจอย่างถูกต้องตามรัฐธรรมนูญและหลักการปกครองในระบอบประชาธิปไตย นอกจากนี้ยังเป็นการแก้ไขข้อบกพร่องในอดีตของการใช้อำนาจอธิปไตย การจัดตั้งศาลรัฐธรรมนูญในประเทศไทยเป็นไปตามหลักสากลและมีการศึกษาวิจัยมาตลอดถึงความไม่เหมาะสมที่ให้ องค์กรที่ใช้อำนาจอธิปไตยวินิจฉัยการกระทำของตนเอง เพราะมีแนวโน้มว่าจะวินิจฉัยให้สอดคล้องกับการกระทำผิดของตนเองและไม่เป็นความผิด เหมือนดังเช่นในอดีต(พ.ศ. 2476) รัฐสภาวินิจฉัยการทุจริตการเลือกตั้งของสมาชิกว่าไม่มีกระทำการอันเป็นการทุจริตการเลือกตั้งเกิดขึ้น หรือองค์กรทางการเมืองอย่างคณะตุลาการรัฐธรรมนูญที่ถูกตั้งคำถามว่ามีความกล้าหาญหรือชอบธรรมในการวินิจฉัยการกระทำของฝ่ายนิติบัญญัติเพียงใด
(2) เมื่อรัฐธรรมนูญได้กำหนดโครงสร้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตยที่ประชาชนมีส่วนร่วมและมีการกำหนดดุลยภาพในการใช้อำนาจอธิปไตยขององค์กรต่างๆ ไว้ตามหลักการตรวจสอบและถ่วงดุล รวมทั้งการมีส่วนร่วมของประชาชน อันเป็นหลักการพื้นฐานของการปกครองในระบอบประชาธิปไตยแบบการมีส่วนร่วมของประชาชน(Participatory democracy) แต่รัฐสภาได้แก้ไขจนเป็นการทำลายโครงสร้างการตรวจสอบและถ่วงดุลดังกล่าว หรือทำการแก้ไขทั้งฉบับโดยไม่มีข้อกำหนดกรอบที่เป็นหลักประกันว่าจะยึดรูปแบบใด เป็นการสะท้อนถึงการที่จะเปลี่ยนรูปแบบการปกครองในระบอบประชาธิปไตยแบบการมีส่วนร่วมของประชาชน ไปเป็นรูปแบบอื่นซึ่งไม่แน่ว่าจะเป็นรูปแบบการปกครองในระบอบประชาธิปไตยที่แท้จริงหรือไม่ เพราะมีการเสนอแก้ไขเพื่อทำลายดุลยภาพของการใช้อำนาจอธิปไตยด้วยการแก้ไขโครงสร้างของวุฒิสภาที่เป็นสภาตรวจสอบและถ่วงดุลย์ ให้กลับไปเป็นวุฒิสภาที่เคยเกิดปัญหามาแล้วในการตามรัฐธรรมนูญ 2540 และไม่วิเคราะห์ปัญหาของ “พรรคการเมือง” ที่ไม่มีสถานะเป็นพรรคการเมืองตามความเป็นจริงแต่เป็น “บริษัทพรรคการเมืองทุนผูกขาดสามานย์จำกัดไม่มหาชน”โดย ทำการแก้ไขเกินเลยจนกลายเป็นให้วุฒิสภาเกี่ยวข้องกับพรรคการเมืองที่เข้าแข่งขันกันในระบบสภาผู้แทนราษฎรผ่านระบบเครือญาติและผัวเมียลูกหลานได้ เท่ากับเป็นการเปลี่ยนจนเป็นการทำลายการปกครองในระบอบประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วมของประชาชน
(3) การที่ศาลรัฐธรรมนูญรับคดีตามมาตรา 68 ของรัฐธรรมนูญ เป็นเรื่องที่ศาลมีอำนาจรับคดีไว้พิจารณาได้อยู่แล้ว และมีอำนาจพิจารณาการกระทำที่เกิดขึ้นตามมาตรา 68 ด้วย เพียงแต่ศาลรัฐธรรมนูญรับเรื่องนี้โดยตรงเพื่อคุ้มครองหลักการพื้นฐานของการใช้สิทธิและเสรีภาพของประชาชนตามรัฐธรรมนูญ ตามมาตรา 26 และมาตรา 27 เป็นการรับรองสิทธิและเสรีภาพของประชาชนในการเสนอเรื่องต่อศาลหากมีการละเมิด “สิทธิพิทักษ์รัฐธรรมนูญ”โดยองค์กรที่มีหน้าที่พิจารณากลั่นกรองเรื่องทำตัวเป็น “ศาล” ตัดสินคดีแทน “ศาลรัฐธรรมนูญ” โดยที่ไม่ได้มีอำนาจเป็นศาลในระบบตุลาการ เพราะมาตรา 68 ให้อำนาจ “อัยการสูงสุด”ตรวจสอบและเสนอเรื่องต่อศาลรัฐธรรมนูญไม่ได้ให้ดุลยพินิจอย่างหนึ่งอย่างใดให้ชี้ขาดมูลเบื้องต้นแทนศาล เมื่ออัยการสูงสุดกระทำนอกอำนาจหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญ ศาลรัฐธรรมนูญจึงย่อมมีดุลยพินิจสามารถรับเรื่องดังกล่าวได้โดยตรงทันทีเพื่อไม่ให้ภัยหรือภยันตรายอันเกิดจากการกระทำที่เป็นล้มล้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขเกิดขึ้นได้ เนื่องจากเป็นเรื่องเร่งด่วนที่เกิดแล้วไม่สามารถแก้ไขเยียวยาได้
4. ศาลรัฐธรรมนูญอ้างหลักนิติธรรมในคำวินิจฉัยในลักษณะที่ต้องการตีความขยายความเพิ่มอำนาจให้ตนเองมากกว่าที่รัฐธรรมนูญบัญญัติ เช่นที่ได้เคยทำมาแล้วในคำวินิจฉัย ที่ 18-22/2555 ด้วยการอ้างว่า “ความมุ่งหมายของรัฐธรรมนูญ ... ถือเป็นเจตนารมณ์หลักของรัฐธรรมนูญว่าจะต้องยึดถือไว้เป็นสำคัญยิ่งกว่าเจตนารมณ์ของผู้ร่างรัฐธรรมนูญ” คำวินิจฉัยทั้ง 2 ครั้งในปี 2555 และ 2556 แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า ตัวแทนของปวงชนที่รับมอบอำนาจมาจากปวงชนเพื่อมาแก้ไขรัฐธรรมนูญให้มีที่มาที่ชอบธรรม เป็นประชาธิปไตย และเป็นธรรม ไม่ว่าจะแก้ทั้งฉบับหรือรายมาตราไม่อาจกระทำได้เลย เพราะถูกขัดขวางโดยคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่กล่าวมา ด้วยการตีความรัฐธรรมนูญขยายอำนาจของตนเอง ไม่ยอมผูกพันตามตัวอักษร และเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ
วิพากษ์ การแก้ไขรัฐธรรมนูญตามหลักการตามรัฐธรรมนูญย่อมต้องทำได้แน่นอนหากสมาชิกรัฐสภายึดถือเงื่อนไขที่ชอบธรรมในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ การแก้ไขรัฐธรรมนูญให้สอดคล้องหรือเป็นไปตามหลัก “นิติธรรม” จึงเป็นเรื่องสำคัญเป็นอย่างยิ่ง
หลักนิติธรรมหรือหลักนิติรัฐในสากลที่ประเทศเสรีประชาธิปไตยยึดถือมีบริบทที่แตกต่างกันในรายละเอียดอยู่บ้างตามสภาพของระบอบการเมืองการปกครอง และไม่จำเป็นต้องบัญญัติลายลักษณ์อักษรเพราะเป็นประเพณีปฏิบัติที่ชอบธรรมและยึดถือกันมามีการยอมรับและคุณค่าอยู่เหนือบทบัญญัติลายลักษณ์อักษรทั้งปวง แต่สอดคล้องกับความถูกต้องและเป็นธรรมแก่ทุกฝ่าย สภาพการณ์ของหลัก “นิติธรรม”(หรือหลัก “นิติรัฐ”) ในประเทศไทย ในทางวิชาการที่มีการยึดถือและวินิจฉัยรับรองหลักการโดยองค์กรตุลาการที่สำคัญ คือ (ก) หลักแบ่งแยกอำนาจ (ข) หลักการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชน(ปรากฏในมาตรา 29) (ค) หลักการกระทำขององค์กรผู้ใช้อำนาจอธิปไตยต้องชอบด้วยกฎหมาย (ง) หลักความผูกพันต่อกฎหมายขององค์กรฝ่ายบริหาร (จ) หลักความชอบด้วยกฎหมายในทางเนื้อหาและรูปแบบ (ฉ) หลักความเป็นอิสระของผู้พิพากษา (ช) หลักไม่มีกฎหมาย ไม่มีความผิด ไม่มีโทษ (ซ) หลักความเป็นกฎหมายสูงสุดของรัฐธรรมนูญ
การแก้ไขรัฐธรรมนูญต้องคำนึงถึงหลักนิติธรรมและหลักการต่างๆ หากมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญจนละเมิดต่อหลักการตรวจสอบและถ่วงดุลย์อันเป็นส่วนหนึ่งของหลักแบ่งแยกอำนาจ หรือจำกัดสิทธิอันพึงมีพึงได้ของประชาชนย่อมต้องถือว่า สมาชิกรัฐสภามีการกระทำที่เป็นการละเมิดต่อหลักการตามมาตรา ๓ วรรคสองของรัฐธรรมนูญ การแก้ไขรัฐธรรมนูญคือการกระทำของสมาชิกรัฐสภา การใช้สิทธิและเสรีภาพคือการกระทำของบุคคลในทางกฎหมาย(จะบิดเบือนตัดตอนหลักการไม่ได้) เมื่อการกระทำในการแก้ไขรัฐธรรมนูญคือการใช้สิทธิและเสรีภาพของประชาชนตามรัฐธรรมนูญไปกระทบหลักการสำคัญ มีการกระทำที่ทุจริตหรือบิดเบือนหลักการของรัฐธรรมนูญและหลักความชอบด้วยกฎหมายในการกระทำของสมาชิกรัฐสภาซึ่งเป็นผู้ใช้อำนาจอธิปไตยแทนปวงชนในการประชุมรัฐสภา เช่น เปลี่ยนญัตติโดยผู้เข้าร่วมลงชื่อในญัตติมิได้รู้เห็นเป็นการกระทำที่แอบอ้างโดยที่บุคคลที่ลงชื่ออาจไม่เห็นพ้องด้วย หรือการลงคะแนนแทนกันที่ละเมิดหลักความเป็นผู้แทนของปวงชนและเป็นการ “ทุจริต” การลงคะแนนไม่ต่างกับการกระทำผิดทุจริตการเลือกตั้ง ทำให้การแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นการกระทำที่ “ทุจริต” ต่ออำนาจของปวงชนที่มอบหมายใหผู้แทนใช้อำนาจแทนตน และเป็นการ “ทรยศ” ต่อความไว้วางใจของประชาชน เท่ากับเป็นการ “ฉ้อฉล” การใช้อำนาจอธิปไตยของปวงชน แล้วจะมากล่าวอ้างเพื่อจำกัดหลักนิติธรรมและอ้างว่าศาลขยายอำนาจ ทั้งที่สมาชิกรัฐสภากระทำการ “ทุจริต” และ “ทรยศ”ต่อความไว้วางใจของประชาชน แต่ไม่ให้ประชาชน และศาลตรวจสอบ เป็นรัฐสภาที่เป็นประชาธิปไตยได้อย่างไร และจะมีความไว้วางใจให้รัฐสภาที่กระทำละเมิดหลักนิติธรรมวินิจฉัยการกระทำของตนเองได้อย่างไร
5. การอ้างหลักนิติธรรม เป็นการกล่าวอ้างอย่างลอย ๆ มิได้ระบุให้ชัดเจนว่าตามหลักสากลเขาเป็นเช่นไร การขัดกันแห่งผลประโยชน์ รัฐธรรมนูญ มาตรา 265 ถึง 269 บัญญัติไว้ชัดเจนแล้วว่ามีความหมายอย่างไร แต่ศาลรัฐธรรมนูญก็เพิ่มเติมขึ้นใหม่ โดยไม่ได้ดูที่องค์กรของตนเองเลยว่า ได้กระทำการขัดต่อหลักที่ตนอ้างหรือไม่ เช่น ได้ตัดสินด้วยความเป็นอิสระ และเป็นกลาง เป็นไปโดยยุติธรรม ตามรัฐธรรมนูญ และก่อให้เกิดความสงบสุขแห่งราชอาณาจักร ตามที่รัฐธรรมนูญ มาตรา 197 และ มาตรา 201 บัญญัติหรือไม่ ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนก็คือ ตุลาการ 3 คน เคยเป็นกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันมาก่อน และ 1 ใน 3 คน เคยถูกคัดค้านประเด็นนี้ จนต้องถอนตัวในการพิจารณาคดีในคำวินิจฉัยที่ 18-22/2555 มาแล้ว แต่คราวนี้ไม่ถอนตัว และอีก 1 คน เคยแสดงความเห็นไว้ชัดเจนว่า การลงโทษบุคคลย้อนหลังกระทำได้ถ้าไม่ใช่การลงโทษทางอาญา อันเป็นเหตุให้มีการยุบพรรคไทยรักไทย และลงโทษตัดสิทธิทางการเมืองกรรมการบริหารพรรคทั้งหมดเป็นเวลา 5 ปี โดยผู้ถูกตัดสิทธิไม่ได้มีโอกาสรับทราบข้อหาและต่อสู้ชี้แจงแต่อย่างใด ดังนั้น หากตุลาการทั้ง 3 หรือ 4 คนดังกล่าวต้องถอนตัว ผลของคำวินิจฉัยจะกลับเป็นตรงกันข้าม
6. การที่ศาลรัฐธรรมนูญอ้างว่า ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญดังกล่าว ขัดต่อมาตราต่าง ๆในรัฐธรรมนูญ นั้น นับว่าเป็นอันตรายที่สุด เพราะเป็นการใช้อำนาจเหนือรัฐธรรมนูญอย่างแท้จริง และถ้าอ้างเช่นนี้ การที่มาตรา 309 ขัดต่อมาตรา 3 และมาตรา 6 จะอธิบายกันต่อไปอย่างไร เนื่องจาก มาตรา 3 กำหนดหลักนิติธรรม มาตรา 6 กำหนดหลักความเป็นกฎหมายสูงสุดของรัฐธรรมนูญ ในขณะที่ ประกาศ คำสั่งของคณะรัฐประหารเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 และการกระทำที่เกี่ยวเนื่องกับประกาศ คำสั่งดังกล่าว ให้ถือว่าชอบด้วยรัฐธรรมนูญทั้งหมด แต่กฎหมายที่ออกโดยสภา และพระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธย อาจถูกโต้แย้งว่าขัดรัฐธรรมนูญได้หมด เช่นนี้เป็นเรื่องที่ขัดต่อหลักนิติธรรมอย่างชัดแจ้งที่สุด
7. การก้าวล่วงเข้าไปวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญว่า มีการกระทำที่ผิดข้อบังคับการประชุมรัฐสภาหรือไม่ เป็นการกระทำที่แทรกแซงอำนาจนิติบัญญัติโดยชัดแจ้ง ขัดต่อหลักการแบ่งแยกอำนาจในมาตรา 3 และมาตรา 89 ที่บัญญัติให้ “ประธานรัฐสภา ....ดำเนินกิจการของรัฐสภาในกรณีประชุมร่วมกันให้เป็นตามข้อบังคับ” ซึ่งข้อบังคับการประชุมรัฐสภา ข้อ 117 บัญญัติว่า “ถ้ามีปัญหาที่จะต้องตีความข้อบังคับนี้ ให้เป็นอำนาจของรัฐสภาที่จะวินิจฉัย ... ให้ถือว่าคำวินิจฉัยนั้นเด็ดขาด” กับข้อ 45 ที่ให้ถือว่าคำวินิจฉัยของประธานถือเป็นเด็ดขาด ถ้ามีการประท้วงว่ามีการฝ่าฝืนข้อบังคับ ยิ่งไปกว่านั้น ข้อ 116 ยังให้อำนาจที่ประชุมรัฐสภามีมติให้งดใช้ข้อบังคับข้อใดข้อหนึ่งก็ได้ หากศาลรัฐธรรมนูญก้าวล่วงเช่นนี้ได้ ก็อาจมีการร้องกันว่าการฝ่าฝืนข้อบังคับทั้งหลายเป็นการกระทำผิดรัฐธรรมนูญ สภาก็คงปฏิบัติหน้าที่ไม่ได้เลย
วิพากษ์ (1) หลักความเป็นอิสระของผู้พิพากษาเป็นหลักการสำคัญในหลัก “นิติธรรม” การกล่าวอ้างถึงตุลาการว่าขัดต่อการขัดกันซึ่งผลประโยชน์ในการปฏิบัติหน้าที่ เป็นการกล่าวอ้างที่ไม่สอดคล้องกับหลักการสากล เพราะหลักนิติธรรมเป็น “หลัก” ที่สอดคล้องกับความเป็นธรรม ดังนั้นศาลย่อมตีความตามสภาพการณ์ของความเป็นธรรมในแต่ละยุคสมัยตามความเปลี่ยนแปลงของสภาพสังคม การมีส่วนในการยกร่างรัฐธรรมนูญหาได้เกี่ยวข้องการพิจารณาตัดสินคดีแต่อย่างใด เพราะไม่ได้เป็นการวินิจฉัยเรื่องตนเองมีส่วนได้เสียเกี่ยวพันกับผลประโยชน์ส่วนตน แต่เป็นการวินิจฉัยตามหลักการของบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญและกฎหมาย เช่นเดียวกับการทำหน้าที่ของประธานสภาผู้แทนราษฎร ประธานวุฒิสภา หรือประธานรัฐสภาและบรรดาสมาชิกของสภาทั้งหลายที่มีส่วนในการออกข้อบังคับการประชุมของแต่ละสภาตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๑๓๔ หากพิจารณาจากคำแถลงของพรรคเพื่อไทย ก็จะทำให้บรรดาประธานของแต่ละสภาและบรรดาสมาชิกของแต่ละสภา ไม่สามารถวินิจฉัยหรือตีความปัญหาที่เกิดขึ้นจากการประชุมสภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา หรือรัฐสภา ได้เลย เช่นเดียวกับที่กล่าวอ้างมา
(2) หลักการปราศจากการขัดกันซึ่งผลประโยชน์ของผู้ใช้อำนาจ เป็นส่วนหนึ่งของหลักการกระทำขององค์กรผู้ใช้อำนาจอธิปไตยต้องชอบด้วยกฎหมาย เป็นหลักคุณธรรมทางกฎหมายขั้นสูงที่ผู้ใช้อำนาจทุกคนต้องยึดถือเพื่อไม่ให้เกิดอคติในการใช้อำนาจ หลักการดังกล่าวเป็นหลักป้องกันอคติและการหาประโยชน์ให้แก่ตนเองของผู้ใช้อำนาจ ในรัฐธรรมนูญบัญญัติถึงกการกระทำที่เป็นการขัดกันซึ่งผลประโยชน์ที่ต้องมีโทษของการฝ่าฝืนในมาตรา 265-269 แต่ไม่ได้หมายความว่า การขัดกันซึ่งผลประโยชน์อย่างอื่นจะไม่เป็นส่วนหนึ่งหลักนิติธรรม และเมื่อฝ่าฝืนหลักการดังกล่าวย่อมต้องมีผลเป็นการกระทำที่ไม่ชอบตามหลักนิติธรรมและเป็นการกระทำที่ฝ่าฝืนส่งผลให้การกระทำนั้นไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ เพียงแต่ไม่มีผลเป็นการลงโทษแก่ผู้กระทำให้ต้องรับโทษตามที่กำหนดเท่านั้น เมื่อสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาเสนอเรื่องการแก้ไขวุฒิสภาเพื่อให้ลูกเมียหรือญาติพี่น้องที่ต้องห้ามไม่ให้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจนสามารถลงสมัครรับเลือกตั้งได้และวาระการดำรงตำแหน่งได้ต่อเนื่องโดยไม่ต้องเว้นวรรค จึงเป็นแก้ไขเพื่อผลประโยชน์ของตนเอง อย่างไรก็ตามหากบรรดาสมาชิกพรรคเพื่อไทยสงสัยในหลักการให้ไปดูหลักการที่บัญญัติในพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 มาตรา 13-16 ที่นำหลักการสากลมาบัญญัติไว้ในกฎหมาย หรือในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542
(3 )บรรดาสมาชิกพรรคเพื่อไทยกระทำตนเหมือนเป็นผู้มีความชอบธรรมและปฏิบัติตามกฎหมายมากกว่าคนอื่น การกล่าวอ้างเรื่องตัดสิทธิทางการเมืองของบรรดาคณะกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย เป็นเรื่องที่โมเมกล่าวหาศาลรัฐธรรมนูญ ทั้งที่การยุบพรรคและตัดสิทธิทางการเมืองเกิดขึ้นก่อนมีศาลรัฐธรรมนูญชุดนี้
(4) ในรัฐธรรมนูญ 2540 มาตรา 263 และรัฐธรรมนูญ 2550 มาตรา 155 วางหลักการให้ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจวินิจฉัยข้อบังคับการประชุมของรัฐสภา สภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภาก่อนที่จะมีการประกาศใช้ว่าชอบด้วยรัฐธรรมนูญหรือไม่ เมื่อมีการกระทำในการแก้ไขรัฐธรรมนูญว่ามีการกระทำที่ขัดต่อข้อบังคับของรัฐสภาที่กำหนดกระบวนการและขั้นตอนการพิจารณาการแก้ไขรัฐธรรมนูญไว้ ถึงแม้ว่าข้อบังคับจะให้ประธานรัฐสภาเป็นผู้มีอำนาจในการวินิจฉัยและเป็นที่สุด ย่อมถือเป็นที่สุดภายในองค์กรรัฐสภา แต่ไม่อาจตีความขยายอำนาจให้ “กฎ” สำหรับการประชุมมากำหนดกฎเกณฑ์เหนือการใช้อำนาจของศาลรัฐธรรมนูญที่เป็นองค์กรตุลาการผู้ใช้อำนาจอธิปไตยตามรัฐธรรมนูญได้ เพราะเท่ากับเป็นการกำหนดให้ “กฎ”ของรัฐสภา มีอำนาจเหนือรัฐธรรมนูญซึ่งเป็นกฎหมายสูงสุด การกำหนดให้เรื่องใดได้รับการวินิจฉัยภายในองค์กร “เป็นที่สุด” จึงต้องตีความว่าเป็นที่สุดในองค์กรนั้นไม่สามารถนำเรื่องไปรื้อฟื้น “ภายใน” องค์กรดังกล่าวได้อีก และไม่สามารถตัดอำนาจองค์กรตุลาการในการวินิจฉัยความชอบกฎหมายได้ ตามนัยคำพิพากษาของศาลฎีกาที่ 4205/2549 ที่วินิจฉัยคดีที่เกี่ยวกับบทบัญญัติมาตรา 18 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534
8. เมื่อรัฐสภาได้ลงมติในวาระที่ 3 และนายกรัฐมนตรีนำร่างรัฐธรรมนูญขึ้นทูลเกล้าฯแล้ว ขั้นตอนต่อไปจะเป็นพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ว่าจะทรงเห็นชอบด้วยหรือไม่ จนกว่าจะพ้นเก้าสิบวัน และมิได้พระราชทานคืนมา การที่ศาลรัฐธรรมนูญรับเรื่องและวินิจฉัยเรื่องดังกล่าวโดยไม่มีอำนาจ ไม่เป็นไปตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ ย่อมเป็นการกระทบกระเทือนต่อการใช้พระราชอำนาจ และการกระทำในพระปรมาภิไธย ทั้งนี้ เพราะประการแรก ศาลรัฐธรรมนูญไม่มีอำนาจวินิจฉัยว่าร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมขัดต่อบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญเองหรือไม่ ประการที่สองเมื่อเปรียบเทียบกับกรณีการตรวจสอบว่า ร่างพระราชบัญญัติใดมีข้อความขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญหรือตราขึ้นโดยไม่ถูกต้องตามรัฐธรรมนูญหรือไม่แล้วนั้น รัฐธรรมนูญ มาตรา 154 ให้ตรวจสอบได้ก่อนที่นายกรัฐมนตรีจะนำขึ้นทูลเกล้าฯ หากมีการทูลเกล้าฯ แล้วย่อมจะอยู่ในพระบรมราชวินิจฉัย ไม่อยู่ในอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญแต่อย่างใด
วิพากษ์ รัฐสภาที่ลงมติในวาระที่ ๓ โดยมีข้อเท็จจริงปรากฏว่ามีการกระทำที่ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ กฎหมาย และข้อบังคับการประชุมของรัฐสภา การแก้ไขรัฐธรรมนูญโดยฝ่าฝืนต่อหลักนิติธรรมและหลักการในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ และนายกรัฐมนตรีในฐานะผู้รับสนองพระบรมราชโองการ โดยการทูลเกล้าทูลกระหม่อนถวายร่างรัฐธรรมนูญเพื่อทรงลงพระปรมาภิไธยให้ร่างรัฐธรรมนูญดังกล่าวมีผลบังคับใช้เป็นรัฐธรรมนูญ สมาชิกรัฐสภาหรือนายกรัฐมนตรีย่อมต้องพิจารณาถึงหลักการสำคัญของหลัก The King can fo no wrong ที่ผู้เสนอร่างรัฐธรรมนูญหรือกฎหมายจะนำเรื่องที่ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญหรือกฎหมายทูลเกล้าฯ เพื่อให้กระทบกระเทือนต่อพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ เป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยหลักการ และผู้ทูลเกล้าฯต้องรับผิดชอบในการกระทำดังกล่าว เมื่อศาลรัฐธรรมนูญได้ประกาศถึงความไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญของการแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งในทางกระบวนการและเนื้อหา ผู้นำขึ้นทูลเกล้าย่อมต้องระงับการทูลเกล้าฯหรือขอพระราชทานกลับ เพราะเท่ากับนำสิ่งที่ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญและกฎหมายไปทูลเกล้าฯ เพื่อให้กระทบกระทบเทือนต่อพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ ดังนั้น ที่จริงแล้วผู้กระทำการให้กระทบกระเทือนต่อพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ที่แท้จริงก็คือรัฐสภาและนายกรัฐมนตรี ไม่ใช่ศาลรัฐธรรมนูญ
9. การทำหน้าที่ของสมาชิกรัฐสภา ถ้ารัฐธรรมนูญบัญญัติให้ศาลรัฐธรรมนูญตรวจสอบได้ก็ย่อมเป็นไปตามนั้น แต่หากไม่ได้บัญญัติไว้ ย่อมเป็นเรื่องเกี่ยวกับวงงานหรืออำนาจหน้าที่ของรัฐสภา และเป็นอำนาจของรัฐสภาโดยแท้ ดังเช่นที่รัฐธรรมนูญในอดีตทุกฉบับก่อนปี 2540 วางหลักไว้ การปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวจะดีหรือไม่ ถูกใจหรือไม่ เหมาะสมหรือไม่ ย่อมจะถูกตัดสินโดยประชาชนในการเลือกตั้ง และนี่ถือเป็นการใช้อำนาจอธิปไตยของปวงชน ศาลจะก้าวล่วงเข้าไปใช้อำนาจนี้แทนไม่ได้ มิเช่นนั้นก็จะเป็นการยึดอำนาจของประชาชนไปใช้เช่นเดียวกับการรัฐประหาร
วิพากษ์ คำกล่าวอ้างนี้เป็นคำกล่าวอ้างที่มีเล่ห์เหลี่ยมให้เข้าใจผิด เพราะข้อเท็จจริงในอดีตการกระทำ การทำหน้าที่ และการปฏิบัติหน้าที่ของสมาชิกรัฐสภา ถือว่าเป็นการกระทำในวงงานนิติบัญญัติและเป็นอำนาจรัฐสภาโดยแท้ เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นก่อนการมีคำวินิจฉัยคดีอาชญากรสงครามที่ 1/2489 แต่หลังจากมีคำพิพากษาของศาลฎีกาในคดีดังกล่าว รัฐธรรมนูญ ตั้งแต่ พ.ศ. 2492 เป็นต้นมา จนถึงก่อนมีรัฐธรรมนูญ 2540 การปฏิบัติหน้าที่ของสมาชิกรัฐสภาในการตรากฎหมาย ถูกวินิจฉัยโดยคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ จนถึง รัฐธรรมนูญ 2540 ได้กำหนดให้การปฏิบัติหน้าที่ของสมาชิกรัฐสภาในการตรากฎหมาย ถูกวินิจฉัยโดยศาลรัฐธรรมนูญ และหลักการดังกล่าวได้ถูกบัญญัติต่อมาในรัฐธรรมนูญ 2550 ดังนั้น ข้อกล่าวอ้างดังกล่าวจึงไม่ตรงกับข้อเท็จจริง ศาลรัฐธรรมนูญสามารถพิจารณาการกระทำของฝ่ายนิติบัญญัติที่กระทำไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญได้
คำแถลงของพรรคเพื่อไทยดังกล่าวที่ประกาศไม่ยอมรับอำนาจศาลรัฐธรรมนูญและมีการกระทำของสมาชิกของพรรคที่กระทำการอันไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ และนายกรัฐมนตรีซึ่งสมาชิกของพรรคเพื่อไทยได้ร่วมกับบรรดาสมาชิกรัฐสภาด้วยการนำร่างรัฐธรรมนูญที่ไม่ชอบด้วยหลักการในการแก้ไขรัฐธรรมนูญขึ้นทูลเกล้าฯ ให้กระทบกระเทือนพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ ขอให้กลับไปพิจารณาทบทวนมูลฐานความผิดตามกฎหมายให้ดี เพราะการกระทำดังกล่าวมันเข้าองค์ประกอบของพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 มาตรา 123/1 เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ครับ
1. การที่สมาชิกรัฐสภาประกอบด้วย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และสมาชิกวุฒิสภาจำนวน 312 คน ร่วมเสนอญัตติแก้ไขรัฐธรรมนูญในเรื่องดังกล่าว ก็เพื่อให้เป็นไปตามหลักประชาธิปไตย ที่ถือว่าอำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชน ดังนั้น สมาชิกรัฐสภาทั้งหมดย่อมต้องมาจากการเลือกตั้งของปวงชน ดังที่ประเทศที่เป็นประชาธิปไตยทั้งหลายปฏิบัติกัน และสอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ 2540 ซึ่งถือเป็นฉบับประชาชน
วิพากษ์ อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชน สมาชิกรัฐสภาเป็นตัวแทนของประชาชนเพราะมาจากการเลือกตั้งของปวงชน แต่หลักประชาธิปไตยสากล และทุกประเทศประชาธิปไตยที่มีในโลก เขาไม่ให้สมาชิกรัฐสภากระทำการขัดต่อรัฐธรรมนูญและกฎหมาย ไม่กระทำการใดขัดต่อหลักนิติธรรม การที่เหล่าสมาชิกพรรคเพื่อไทยอ้างว่า กระทำเหมือนกับที่ทั่วโลกเขาปฏิบัติ คงเป็นโลกในอดีตที่ไม่มีการพัฒนาแนวคิดประชาธิปไตย และไม่ใช่โลกปัจจุบัน และที่อ้างว่า สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ 2540 ซึ่งถือเป็นฉบับประชาชน แต่อ้างเสมือนว่าไม่ยึดถือรัฐธรรมนูญ 2550 ซึ่งเป็นฉบับที่พัฒนามาจากรัฐธรรมนูญ 2540 และเป็นของประชาชนยิ่งกว่าเพราะผ่านการออกเสียงประชามติของประชาชนทั้งประเทศ สันนิษฐานได้ว่าที่กล่าวอ้าง รัฐธรรมนูญ 2540 เพราะในมาตรา 3 ของรัฐธรรมนูญ 2540 ต่างกับรัฐธรรมนูญ 2550 ตรงที่มาตรา 3 มีวรรคสอง และบัญญัติว่า “การปฏิบัติหน้าที่ของรัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาล รวมทั้งองค์กรตามรัฐธรรมนูญและหน่วยงานของรัฐ ต้องเป็นไปตามหลักนิติธรรม” จึงน่าสงสัยว่า เป็นการประกาศว่า บรรดาผู้ประกาศตนดังกล่าวได้เสมือนประกาศยอมรับว่าในการปฏิบัติหน้าที่ของตน หาได้ยึดหลัก “นิติธรรม” ในการปฏิบัติหน้าที่สมาชิกรัฐสภาแต่อย่างใดไม่
2. การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญนั้น รัฐธรรมนูญ มาตรา 291 บัญญัติไว้ชัดเจนว่า เป็นอำนาจของรัฐสภา โดยมีข้อห้ามแก้ไขอยู่ 2 ข้อ เท่านั้น คือ การเปลี่ยนแปลงการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และการเปลี่ยนแปลงรูปของรัฐ ซึ่งการแก้ไขเพิ่มเติมที่มาของสมาชิกวุฒิสภาดังกล่าว ไม่เกี่ยวข้องกับข้อห้ามทั้ง 2 ข้อ แต่อย่างใด ทั้งศาลรัฐธรรมนูญเองก็เคยวินิจฉัยไว้ในคำวินิจฉัย ที่ 18-22/2555 ว่า “รัฐสภาจะใช้อำนาจแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญเป็นรายมาตราก็เป็นความเหมาะสม และเป็นอำนาจของรัฐสภาที่จะดำเนินการดังกล่าวนี้ได้ ซึ่งจะเป็นการสอดคล้องกับเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ มาตรา 291”
วิพากษ์ (1) ข้อแถลงนี้ขัดกับคำแถลงข้อ 1 เพราะได้ประกาศว่าตนปฏิบัติหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญ 2540 แต่อ้างประโยชน์จากการวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญตามรัฐธรรมนูญ 2550
(2) การกล่าวอ้างว่าข้อห้ามการแก้ไขรัฐธรรมนูญมีเพียงสองประการเป็นการกล่าวอ้างที่ไม่ถูกต้อง เพราะการแก้ไขรัฐธรรมนูญโดยสมาชิกรัฐสภาต้องกระทำภายใต้เงื่อนไข ที่สำคัญ คือ(ก) แก้ไขด้วยกระบวนการตามมาตรา 291 (ข) ห้ามแก้ไขโดยกระทบต่อหลักการต้องห้ามตามมาตรา 291(1) วรรคสอง ที่บัญญัติว่า “ญัตติขอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญที่มีผลเป็นการเปลี่ยนแปลงการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หรือเปลี่ยนแปลงรูปของรัฐจะกระทำไม่ได้” (ค) แก้ไขและละเมิดหลัก “นิติธรรม” กระทำไม่ได้ (ง) การแก้ไขเพื่อเลิกทั้งฉบับต้องถามประชาชนด้วยการออกเสียงประชามติก่อน จึงจะทำได้
(3) คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ ที่ 18-22/2555 โดยสรุป ศาลกล่าวอ้างถึงการแก้ไขรัฐธรรมนูญของรัฐสภาโดยยกเลิกรัฐธรรมนูญที่ประชาชนออกเสียงลงประชามติมาทั้งฉบับกระทำไม่ได้ ขัดต่อรัฐธรรมนูญ 2550 มาตรา 291 เพราะประชาชนเป็นผู้ใช้อำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญ สมาชิกรัฐสภาเป็นเพียงผู้ได้รับมอบอำนาจจากประชาชนและรัฐธรรมนูญมาตรา 291 ให้มีอำนาจในการตรากฎหมาย(ไม่ใช่รัฐธรรมนูญ)และให้อำนาจในการแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นรายมาตรา(เพื่อให้ดีขึ้นภายใต้หลักนิติธรรมตามมาตรา 3 วรรคสอง) ไม่ได้มอบอำนาจให้แก้ไขจนกลายเป็น “ผู้ยึดอำนาจ” สถาปนารัฐธรรมนูญที่ประชาชนได้ใช้ผ่านการออกเสียงประชามติ ไปเป็นของรัฐสภา แล้วทำการยกเลิกรัฐธรรมนูญทั้งฉบับเท่ากับเป็นการกระทำ “รัฐประหาร” อำนาจของประชาชนในการสถาปนารัฐธรรมนูญ ซึ่งผู้ยึดมั่นการปกครองในระบอบประชาธิปไตยไม่พึงกระทำ เพราะเท่ากับเป็นการ “ทรยศ” ต่อความไว้วางใจของประชาชน การตัดตอนเนื้อหาบางส่วนของคำวินิจฉัยบางส่วนของศาลรัฐธรรมนูญมากล่าวอ้างเพื่อหาประโยชน์เพื่อจะหาเหตุสร้างความชอบธรรม จึงเป็นการกล่าวอ้างที่ไร้คุณธรรมของการดำรงตนเป็นนักการเมืองที่ดี
3. การที่ศาลรัฐธรรมนูญรับคำร้องในเรื่องดังกล่าว โดยอาศัยรัฐธรรมนูญ มาตรา 68 เป็นการกระทำที่ถือได้ว่าจงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ ซึ่งอยู่ในข่ายที่จะถูกร้องขอให้ถอดถอนหรือถูกดำเนินคดีอาญาได้ เพราะมาตรา 68 เป็นกรณีเกี่ยวกับการที่บุคคลจะใช้สิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญนี้ หรือเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญนี้มิได้ แต่การตรากฎหมาย ซึ่งกรณีนี้ถือเป็นการแก้ไขรัฐธรรมนูญนั้น เป็นการที่รัฐสภากระทำไปตามอำนาจหน้าที่ที่รัฐธรรมนูญ มาตรา 291 บัญญัติ โดยศาลรัฐธรรมนูญได้วินิจฉัยรับรองไว้เองอีกโสตหนึ่งดังที่กล่าวมาข้างต้น จึงไม่เข้าเงื่อนไขที่ศาลรัฐธรรมนูญจะรับไว้ได้
วิพากษ์ (1) การจัดตั้งศาลรัฐธรรมนูญขึ้นก็เพื่อให้มีองค์กรที่เป็นตุลาการทำหน้าที่ในการพิทักษ์ “รัฐธรรมนูญ” ทำหน้าที่ป้องกันมิให้เสียงข้างมากใช้อำนาจตามอำเภอใจจนกลายเป็นการใช้อำนาจแบบเผด็จการ รวมทั้งให้องค์กรผู้ใช้อำนาจอธิปไตยตามรัฐธรรมนูญใช้อำนาจอย่างถูกต้องตามรัฐธรรมนูญและหลักการปกครองในระบอบประชาธิปไตย นอกจากนี้ยังเป็นการแก้ไขข้อบกพร่องในอดีตของการใช้อำนาจอธิปไตย การจัดตั้งศาลรัฐธรรมนูญในประเทศไทยเป็นไปตามหลักสากลและมีการศึกษาวิจัยมาตลอดถึงความไม่เหมาะสมที่ให้ องค์กรที่ใช้อำนาจอธิปไตยวินิจฉัยการกระทำของตนเอง เพราะมีแนวโน้มว่าจะวินิจฉัยให้สอดคล้องกับการกระทำผิดของตนเองและไม่เป็นความผิด เหมือนดังเช่นในอดีต(พ.ศ. 2476) รัฐสภาวินิจฉัยการทุจริตการเลือกตั้งของสมาชิกว่าไม่มีกระทำการอันเป็นการทุจริตการเลือกตั้งเกิดขึ้น หรือองค์กรทางการเมืองอย่างคณะตุลาการรัฐธรรมนูญที่ถูกตั้งคำถามว่ามีความกล้าหาญหรือชอบธรรมในการวินิจฉัยการกระทำของฝ่ายนิติบัญญัติเพียงใด
(2) เมื่อรัฐธรรมนูญได้กำหนดโครงสร้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตยที่ประชาชนมีส่วนร่วมและมีการกำหนดดุลยภาพในการใช้อำนาจอธิปไตยขององค์กรต่างๆ ไว้ตามหลักการตรวจสอบและถ่วงดุล รวมทั้งการมีส่วนร่วมของประชาชน อันเป็นหลักการพื้นฐานของการปกครองในระบอบประชาธิปไตยแบบการมีส่วนร่วมของประชาชน(Participatory democracy) แต่รัฐสภาได้แก้ไขจนเป็นการทำลายโครงสร้างการตรวจสอบและถ่วงดุลดังกล่าว หรือทำการแก้ไขทั้งฉบับโดยไม่มีข้อกำหนดกรอบที่เป็นหลักประกันว่าจะยึดรูปแบบใด เป็นการสะท้อนถึงการที่จะเปลี่ยนรูปแบบการปกครองในระบอบประชาธิปไตยแบบการมีส่วนร่วมของประชาชน ไปเป็นรูปแบบอื่นซึ่งไม่แน่ว่าจะเป็นรูปแบบการปกครองในระบอบประชาธิปไตยที่แท้จริงหรือไม่ เพราะมีการเสนอแก้ไขเพื่อทำลายดุลยภาพของการใช้อำนาจอธิปไตยด้วยการแก้ไขโครงสร้างของวุฒิสภาที่เป็นสภาตรวจสอบและถ่วงดุลย์ ให้กลับไปเป็นวุฒิสภาที่เคยเกิดปัญหามาแล้วในการตามรัฐธรรมนูญ 2540 และไม่วิเคราะห์ปัญหาของ “พรรคการเมือง” ที่ไม่มีสถานะเป็นพรรคการเมืองตามความเป็นจริงแต่เป็น “บริษัทพรรคการเมืองทุนผูกขาดสามานย์จำกัดไม่มหาชน”โดย ทำการแก้ไขเกินเลยจนกลายเป็นให้วุฒิสภาเกี่ยวข้องกับพรรคการเมืองที่เข้าแข่งขันกันในระบบสภาผู้แทนราษฎรผ่านระบบเครือญาติและผัวเมียลูกหลานได้ เท่ากับเป็นการเปลี่ยนจนเป็นการทำลายการปกครองในระบอบประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วมของประชาชน
(3) การที่ศาลรัฐธรรมนูญรับคดีตามมาตรา 68 ของรัฐธรรมนูญ เป็นเรื่องที่ศาลมีอำนาจรับคดีไว้พิจารณาได้อยู่แล้ว และมีอำนาจพิจารณาการกระทำที่เกิดขึ้นตามมาตรา 68 ด้วย เพียงแต่ศาลรัฐธรรมนูญรับเรื่องนี้โดยตรงเพื่อคุ้มครองหลักการพื้นฐานของการใช้สิทธิและเสรีภาพของประชาชนตามรัฐธรรมนูญ ตามมาตรา 26 และมาตรา 27 เป็นการรับรองสิทธิและเสรีภาพของประชาชนในการเสนอเรื่องต่อศาลหากมีการละเมิด “สิทธิพิทักษ์รัฐธรรมนูญ”โดยองค์กรที่มีหน้าที่พิจารณากลั่นกรองเรื่องทำตัวเป็น “ศาล” ตัดสินคดีแทน “ศาลรัฐธรรมนูญ” โดยที่ไม่ได้มีอำนาจเป็นศาลในระบบตุลาการ เพราะมาตรา 68 ให้อำนาจ “อัยการสูงสุด”ตรวจสอบและเสนอเรื่องต่อศาลรัฐธรรมนูญไม่ได้ให้ดุลยพินิจอย่างหนึ่งอย่างใดให้ชี้ขาดมูลเบื้องต้นแทนศาล เมื่ออัยการสูงสุดกระทำนอกอำนาจหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญ ศาลรัฐธรรมนูญจึงย่อมมีดุลยพินิจสามารถรับเรื่องดังกล่าวได้โดยตรงทันทีเพื่อไม่ให้ภัยหรือภยันตรายอันเกิดจากการกระทำที่เป็นล้มล้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขเกิดขึ้นได้ เนื่องจากเป็นเรื่องเร่งด่วนที่เกิดแล้วไม่สามารถแก้ไขเยียวยาได้
4. ศาลรัฐธรรมนูญอ้างหลักนิติธรรมในคำวินิจฉัยในลักษณะที่ต้องการตีความขยายความเพิ่มอำนาจให้ตนเองมากกว่าที่รัฐธรรมนูญบัญญัติ เช่นที่ได้เคยทำมาแล้วในคำวินิจฉัย ที่ 18-22/2555 ด้วยการอ้างว่า “ความมุ่งหมายของรัฐธรรมนูญ ... ถือเป็นเจตนารมณ์หลักของรัฐธรรมนูญว่าจะต้องยึดถือไว้เป็นสำคัญยิ่งกว่าเจตนารมณ์ของผู้ร่างรัฐธรรมนูญ” คำวินิจฉัยทั้ง 2 ครั้งในปี 2555 และ 2556 แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า ตัวแทนของปวงชนที่รับมอบอำนาจมาจากปวงชนเพื่อมาแก้ไขรัฐธรรมนูญให้มีที่มาที่ชอบธรรม เป็นประชาธิปไตย และเป็นธรรม ไม่ว่าจะแก้ทั้งฉบับหรือรายมาตราไม่อาจกระทำได้เลย เพราะถูกขัดขวางโดยคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่กล่าวมา ด้วยการตีความรัฐธรรมนูญขยายอำนาจของตนเอง ไม่ยอมผูกพันตามตัวอักษร และเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ
วิพากษ์ การแก้ไขรัฐธรรมนูญตามหลักการตามรัฐธรรมนูญย่อมต้องทำได้แน่นอนหากสมาชิกรัฐสภายึดถือเงื่อนไขที่ชอบธรรมในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ การแก้ไขรัฐธรรมนูญให้สอดคล้องหรือเป็นไปตามหลัก “นิติธรรม” จึงเป็นเรื่องสำคัญเป็นอย่างยิ่ง
หลักนิติธรรมหรือหลักนิติรัฐในสากลที่ประเทศเสรีประชาธิปไตยยึดถือมีบริบทที่แตกต่างกันในรายละเอียดอยู่บ้างตามสภาพของระบอบการเมืองการปกครอง และไม่จำเป็นต้องบัญญัติลายลักษณ์อักษรเพราะเป็นประเพณีปฏิบัติที่ชอบธรรมและยึดถือกันมามีการยอมรับและคุณค่าอยู่เหนือบทบัญญัติลายลักษณ์อักษรทั้งปวง แต่สอดคล้องกับความถูกต้องและเป็นธรรมแก่ทุกฝ่าย สภาพการณ์ของหลัก “นิติธรรม”(หรือหลัก “นิติรัฐ”) ในประเทศไทย ในทางวิชาการที่มีการยึดถือและวินิจฉัยรับรองหลักการโดยองค์กรตุลาการที่สำคัญ คือ (ก) หลักแบ่งแยกอำนาจ (ข) หลักการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชน(ปรากฏในมาตรา 29) (ค) หลักการกระทำขององค์กรผู้ใช้อำนาจอธิปไตยต้องชอบด้วยกฎหมาย (ง) หลักความผูกพันต่อกฎหมายขององค์กรฝ่ายบริหาร (จ) หลักความชอบด้วยกฎหมายในทางเนื้อหาและรูปแบบ (ฉ) หลักความเป็นอิสระของผู้พิพากษา (ช) หลักไม่มีกฎหมาย ไม่มีความผิด ไม่มีโทษ (ซ) หลักความเป็นกฎหมายสูงสุดของรัฐธรรมนูญ
การแก้ไขรัฐธรรมนูญต้องคำนึงถึงหลักนิติธรรมและหลักการต่างๆ หากมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญจนละเมิดต่อหลักการตรวจสอบและถ่วงดุลย์อันเป็นส่วนหนึ่งของหลักแบ่งแยกอำนาจ หรือจำกัดสิทธิอันพึงมีพึงได้ของประชาชนย่อมต้องถือว่า สมาชิกรัฐสภามีการกระทำที่เป็นการละเมิดต่อหลักการตามมาตรา ๓ วรรคสองของรัฐธรรมนูญ การแก้ไขรัฐธรรมนูญคือการกระทำของสมาชิกรัฐสภา การใช้สิทธิและเสรีภาพคือการกระทำของบุคคลในทางกฎหมาย(จะบิดเบือนตัดตอนหลักการไม่ได้) เมื่อการกระทำในการแก้ไขรัฐธรรมนูญคือการใช้สิทธิและเสรีภาพของประชาชนตามรัฐธรรมนูญไปกระทบหลักการสำคัญ มีการกระทำที่ทุจริตหรือบิดเบือนหลักการของรัฐธรรมนูญและหลักความชอบด้วยกฎหมายในการกระทำของสมาชิกรัฐสภาซึ่งเป็นผู้ใช้อำนาจอธิปไตยแทนปวงชนในการประชุมรัฐสภา เช่น เปลี่ยนญัตติโดยผู้เข้าร่วมลงชื่อในญัตติมิได้รู้เห็นเป็นการกระทำที่แอบอ้างโดยที่บุคคลที่ลงชื่ออาจไม่เห็นพ้องด้วย หรือการลงคะแนนแทนกันที่ละเมิดหลักความเป็นผู้แทนของปวงชนและเป็นการ “ทุจริต” การลงคะแนนไม่ต่างกับการกระทำผิดทุจริตการเลือกตั้ง ทำให้การแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นการกระทำที่ “ทุจริต” ต่ออำนาจของปวงชนที่มอบหมายใหผู้แทนใช้อำนาจแทนตน และเป็นการ “ทรยศ” ต่อความไว้วางใจของประชาชน เท่ากับเป็นการ “ฉ้อฉล” การใช้อำนาจอธิปไตยของปวงชน แล้วจะมากล่าวอ้างเพื่อจำกัดหลักนิติธรรมและอ้างว่าศาลขยายอำนาจ ทั้งที่สมาชิกรัฐสภากระทำการ “ทุจริต” และ “ทรยศ”ต่อความไว้วางใจของประชาชน แต่ไม่ให้ประชาชน และศาลตรวจสอบ เป็นรัฐสภาที่เป็นประชาธิปไตยได้อย่างไร และจะมีความไว้วางใจให้รัฐสภาที่กระทำละเมิดหลักนิติธรรมวินิจฉัยการกระทำของตนเองได้อย่างไร
5. การอ้างหลักนิติธรรม เป็นการกล่าวอ้างอย่างลอย ๆ มิได้ระบุให้ชัดเจนว่าตามหลักสากลเขาเป็นเช่นไร การขัดกันแห่งผลประโยชน์ รัฐธรรมนูญ มาตรา 265 ถึง 269 บัญญัติไว้ชัดเจนแล้วว่ามีความหมายอย่างไร แต่ศาลรัฐธรรมนูญก็เพิ่มเติมขึ้นใหม่ โดยไม่ได้ดูที่องค์กรของตนเองเลยว่า ได้กระทำการขัดต่อหลักที่ตนอ้างหรือไม่ เช่น ได้ตัดสินด้วยความเป็นอิสระ และเป็นกลาง เป็นไปโดยยุติธรรม ตามรัฐธรรมนูญ และก่อให้เกิดความสงบสุขแห่งราชอาณาจักร ตามที่รัฐธรรมนูญ มาตรา 197 และ มาตรา 201 บัญญัติหรือไม่ ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนก็คือ ตุลาการ 3 คน เคยเป็นกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันมาก่อน และ 1 ใน 3 คน เคยถูกคัดค้านประเด็นนี้ จนต้องถอนตัวในการพิจารณาคดีในคำวินิจฉัยที่ 18-22/2555 มาแล้ว แต่คราวนี้ไม่ถอนตัว และอีก 1 คน เคยแสดงความเห็นไว้ชัดเจนว่า การลงโทษบุคคลย้อนหลังกระทำได้ถ้าไม่ใช่การลงโทษทางอาญา อันเป็นเหตุให้มีการยุบพรรคไทยรักไทย และลงโทษตัดสิทธิทางการเมืองกรรมการบริหารพรรคทั้งหมดเป็นเวลา 5 ปี โดยผู้ถูกตัดสิทธิไม่ได้มีโอกาสรับทราบข้อหาและต่อสู้ชี้แจงแต่อย่างใด ดังนั้น หากตุลาการทั้ง 3 หรือ 4 คนดังกล่าวต้องถอนตัว ผลของคำวินิจฉัยจะกลับเป็นตรงกันข้าม
6. การที่ศาลรัฐธรรมนูญอ้างว่า ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญดังกล่าว ขัดต่อมาตราต่าง ๆในรัฐธรรมนูญ นั้น นับว่าเป็นอันตรายที่สุด เพราะเป็นการใช้อำนาจเหนือรัฐธรรมนูญอย่างแท้จริง และถ้าอ้างเช่นนี้ การที่มาตรา 309 ขัดต่อมาตรา 3 และมาตรา 6 จะอธิบายกันต่อไปอย่างไร เนื่องจาก มาตรา 3 กำหนดหลักนิติธรรม มาตรา 6 กำหนดหลักความเป็นกฎหมายสูงสุดของรัฐธรรมนูญ ในขณะที่ ประกาศ คำสั่งของคณะรัฐประหารเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 และการกระทำที่เกี่ยวเนื่องกับประกาศ คำสั่งดังกล่าว ให้ถือว่าชอบด้วยรัฐธรรมนูญทั้งหมด แต่กฎหมายที่ออกโดยสภา และพระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธย อาจถูกโต้แย้งว่าขัดรัฐธรรมนูญได้หมด เช่นนี้เป็นเรื่องที่ขัดต่อหลักนิติธรรมอย่างชัดแจ้งที่สุด
7. การก้าวล่วงเข้าไปวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญว่า มีการกระทำที่ผิดข้อบังคับการประชุมรัฐสภาหรือไม่ เป็นการกระทำที่แทรกแซงอำนาจนิติบัญญัติโดยชัดแจ้ง ขัดต่อหลักการแบ่งแยกอำนาจในมาตรา 3 และมาตรา 89 ที่บัญญัติให้ “ประธานรัฐสภา ....ดำเนินกิจการของรัฐสภาในกรณีประชุมร่วมกันให้เป็นตามข้อบังคับ” ซึ่งข้อบังคับการประชุมรัฐสภา ข้อ 117 บัญญัติว่า “ถ้ามีปัญหาที่จะต้องตีความข้อบังคับนี้ ให้เป็นอำนาจของรัฐสภาที่จะวินิจฉัย ... ให้ถือว่าคำวินิจฉัยนั้นเด็ดขาด” กับข้อ 45 ที่ให้ถือว่าคำวินิจฉัยของประธานถือเป็นเด็ดขาด ถ้ามีการประท้วงว่ามีการฝ่าฝืนข้อบังคับ ยิ่งไปกว่านั้น ข้อ 116 ยังให้อำนาจที่ประชุมรัฐสภามีมติให้งดใช้ข้อบังคับข้อใดข้อหนึ่งก็ได้ หากศาลรัฐธรรมนูญก้าวล่วงเช่นนี้ได้ ก็อาจมีการร้องกันว่าการฝ่าฝืนข้อบังคับทั้งหลายเป็นการกระทำผิดรัฐธรรมนูญ สภาก็คงปฏิบัติหน้าที่ไม่ได้เลย
วิพากษ์ (1) หลักความเป็นอิสระของผู้พิพากษาเป็นหลักการสำคัญในหลัก “นิติธรรม” การกล่าวอ้างถึงตุลาการว่าขัดต่อการขัดกันซึ่งผลประโยชน์ในการปฏิบัติหน้าที่ เป็นการกล่าวอ้างที่ไม่สอดคล้องกับหลักการสากล เพราะหลักนิติธรรมเป็น “หลัก” ที่สอดคล้องกับความเป็นธรรม ดังนั้นศาลย่อมตีความตามสภาพการณ์ของความเป็นธรรมในแต่ละยุคสมัยตามความเปลี่ยนแปลงของสภาพสังคม การมีส่วนในการยกร่างรัฐธรรมนูญหาได้เกี่ยวข้องการพิจารณาตัดสินคดีแต่อย่างใด เพราะไม่ได้เป็นการวินิจฉัยเรื่องตนเองมีส่วนได้เสียเกี่ยวพันกับผลประโยชน์ส่วนตน แต่เป็นการวินิจฉัยตามหลักการของบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญและกฎหมาย เช่นเดียวกับการทำหน้าที่ของประธานสภาผู้แทนราษฎร ประธานวุฒิสภา หรือประธานรัฐสภาและบรรดาสมาชิกของสภาทั้งหลายที่มีส่วนในการออกข้อบังคับการประชุมของแต่ละสภาตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๑๓๔ หากพิจารณาจากคำแถลงของพรรคเพื่อไทย ก็จะทำให้บรรดาประธานของแต่ละสภาและบรรดาสมาชิกของแต่ละสภา ไม่สามารถวินิจฉัยหรือตีความปัญหาที่เกิดขึ้นจากการประชุมสภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา หรือรัฐสภา ได้เลย เช่นเดียวกับที่กล่าวอ้างมา
(2) หลักการปราศจากการขัดกันซึ่งผลประโยชน์ของผู้ใช้อำนาจ เป็นส่วนหนึ่งของหลักการกระทำขององค์กรผู้ใช้อำนาจอธิปไตยต้องชอบด้วยกฎหมาย เป็นหลักคุณธรรมทางกฎหมายขั้นสูงที่ผู้ใช้อำนาจทุกคนต้องยึดถือเพื่อไม่ให้เกิดอคติในการใช้อำนาจ หลักการดังกล่าวเป็นหลักป้องกันอคติและการหาประโยชน์ให้แก่ตนเองของผู้ใช้อำนาจ ในรัฐธรรมนูญบัญญัติถึงกการกระทำที่เป็นการขัดกันซึ่งผลประโยชน์ที่ต้องมีโทษของการฝ่าฝืนในมาตรา 265-269 แต่ไม่ได้หมายความว่า การขัดกันซึ่งผลประโยชน์อย่างอื่นจะไม่เป็นส่วนหนึ่งหลักนิติธรรม และเมื่อฝ่าฝืนหลักการดังกล่าวย่อมต้องมีผลเป็นการกระทำที่ไม่ชอบตามหลักนิติธรรมและเป็นการกระทำที่ฝ่าฝืนส่งผลให้การกระทำนั้นไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ เพียงแต่ไม่มีผลเป็นการลงโทษแก่ผู้กระทำให้ต้องรับโทษตามที่กำหนดเท่านั้น เมื่อสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาเสนอเรื่องการแก้ไขวุฒิสภาเพื่อให้ลูกเมียหรือญาติพี่น้องที่ต้องห้ามไม่ให้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจนสามารถลงสมัครรับเลือกตั้งได้และวาระการดำรงตำแหน่งได้ต่อเนื่องโดยไม่ต้องเว้นวรรค จึงเป็นแก้ไขเพื่อผลประโยชน์ของตนเอง อย่างไรก็ตามหากบรรดาสมาชิกพรรคเพื่อไทยสงสัยในหลักการให้ไปดูหลักการที่บัญญัติในพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 มาตรา 13-16 ที่นำหลักการสากลมาบัญญัติไว้ในกฎหมาย หรือในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542
(3 )บรรดาสมาชิกพรรคเพื่อไทยกระทำตนเหมือนเป็นผู้มีความชอบธรรมและปฏิบัติตามกฎหมายมากกว่าคนอื่น การกล่าวอ้างเรื่องตัดสิทธิทางการเมืองของบรรดาคณะกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย เป็นเรื่องที่โมเมกล่าวหาศาลรัฐธรรมนูญ ทั้งที่การยุบพรรคและตัดสิทธิทางการเมืองเกิดขึ้นก่อนมีศาลรัฐธรรมนูญชุดนี้
(4) ในรัฐธรรมนูญ 2540 มาตรา 263 และรัฐธรรมนูญ 2550 มาตรา 155 วางหลักการให้ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจวินิจฉัยข้อบังคับการประชุมของรัฐสภา สภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภาก่อนที่จะมีการประกาศใช้ว่าชอบด้วยรัฐธรรมนูญหรือไม่ เมื่อมีการกระทำในการแก้ไขรัฐธรรมนูญว่ามีการกระทำที่ขัดต่อข้อบังคับของรัฐสภาที่กำหนดกระบวนการและขั้นตอนการพิจารณาการแก้ไขรัฐธรรมนูญไว้ ถึงแม้ว่าข้อบังคับจะให้ประธานรัฐสภาเป็นผู้มีอำนาจในการวินิจฉัยและเป็นที่สุด ย่อมถือเป็นที่สุดภายในองค์กรรัฐสภา แต่ไม่อาจตีความขยายอำนาจให้ “กฎ” สำหรับการประชุมมากำหนดกฎเกณฑ์เหนือการใช้อำนาจของศาลรัฐธรรมนูญที่เป็นองค์กรตุลาการผู้ใช้อำนาจอธิปไตยตามรัฐธรรมนูญได้ เพราะเท่ากับเป็นการกำหนดให้ “กฎ”ของรัฐสภา มีอำนาจเหนือรัฐธรรมนูญซึ่งเป็นกฎหมายสูงสุด การกำหนดให้เรื่องใดได้รับการวินิจฉัยภายในองค์กร “เป็นที่สุด” จึงต้องตีความว่าเป็นที่สุดในองค์กรนั้นไม่สามารถนำเรื่องไปรื้อฟื้น “ภายใน” องค์กรดังกล่าวได้อีก และไม่สามารถตัดอำนาจองค์กรตุลาการในการวินิจฉัยความชอบกฎหมายได้ ตามนัยคำพิพากษาของศาลฎีกาที่ 4205/2549 ที่วินิจฉัยคดีที่เกี่ยวกับบทบัญญัติมาตรา 18 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534
8. เมื่อรัฐสภาได้ลงมติในวาระที่ 3 และนายกรัฐมนตรีนำร่างรัฐธรรมนูญขึ้นทูลเกล้าฯแล้ว ขั้นตอนต่อไปจะเป็นพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ว่าจะทรงเห็นชอบด้วยหรือไม่ จนกว่าจะพ้นเก้าสิบวัน และมิได้พระราชทานคืนมา การที่ศาลรัฐธรรมนูญรับเรื่องและวินิจฉัยเรื่องดังกล่าวโดยไม่มีอำนาจ ไม่เป็นไปตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ ย่อมเป็นการกระทบกระเทือนต่อการใช้พระราชอำนาจ และการกระทำในพระปรมาภิไธย ทั้งนี้ เพราะประการแรก ศาลรัฐธรรมนูญไม่มีอำนาจวินิจฉัยว่าร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมขัดต่อบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญเองหรือไม่ ประการที่สองเมื่อเปรียบเทียบกับกรณีการตรวจสอบว่า ร่างพระราชบัญญัติใดมีข้อความขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญหรือตราขึ้นโดยไม่ถูกต้องตามรัฐธรรมนูญหรือไม่แล้วนั้น รัฐธรรมนูญ มาตรา 154 ให้ตรวจสอบได้ก่อนที่นายกรัฐมนตรีจะนำขึ้นทูลเกล้าฯ หากมีการทูลเกล้าฯ แล้วย่อมจะอยู่ในพระบรมราชวินิจฉัย ไม่อยู่ในอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญแต่อย่างใด
วิพากษ์ รัฐสภาที่ลงมติในวาระที่ ๓ โดยมีข้อเท็จจริงปรากฏว่ามีการกระทำที่ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ กฎหมาย และข้อบังคับการประชุมของรัฐสภา การแก้ไขรัฐธรรมนูญโดยฝ่าฝืนต่อหลักนิติธรรมและหลักการในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ และนายกรัฐมนตรีในฐานะผู้รับสนองพระบรมราชโองการ โดยการทูลเกล้าทูลกระหม่อนถวายร่างรัฐธรรมนูญเพื่อทรงลงพระปรมาภิไธยให้ร่างรัฐธรรมนูญดังกล่าวมีผลบังคับใช้เป็นรัฐธรรมนูญ สมาชิกรัฐสภาหรือนายกรัฐมนตรีย่อมต้องพิจารณาถึงหลักการสำคัญของหลัก The King can fo no wrong ที่ผู้เสนอร่างรัฐธรรมนูญหรือกฎหมายจะนำเรื่องที่ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญหรือกฎหมายทูลเกล้าฯ เพื่อให้กระทบกระเทือนต่อพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ เป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยหลักการ และผู้ทูลเกล้าฯต้องรับผิดชอบในการกระทำดังกล่าว เมื่อศาลรัฐธรรมนูญได้ประกาศถึงความไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญของการแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งในทางกระบวนการและเนื้อหา ผู้นำขึ้นทูลเกล้าย่อมต้องระงับการทูลเกล้าฯหรือขอพระราชทานกลับ เพราะเท่ากับนำสิ่งที่ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญและกฎหมายไปทูลเกล้าฯ เพื่อให้กระทบกระทบเทือนต่อพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ ดังนั้น ที่จริงแล้วผู้กระทำการให้กระทบกระเทือนต่อพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ที่แท้จริงก็คือรัฐสภาและนายกรัฐมนตรี ไม่ใช่ศาลรัฐธรรมนูญ
9. การทำหน้าที่ของสมาชิกรัฐสภา ถ้ารัฐธรรมนูญบัญญัติให้ศาลรัฐธรรมนูญตรวจสอบได้ก็ย่อมเป็นไปตามนั้น แต่หากไม่ได้บัญญัติไว้ ย่อมเป็นเรื่องเกี่ยวกับวงงานหรืออำนาจหน้าที่ของรัฐสภา และเป็นอำนาจของรัฐสภาโดยแท้ ดังเช่นที่รัฐธรรมนูญในอดีตทุกฉบับก่อนปี 2540 วางหลักไว้ การปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวจะดีหรือไม่ ถูกใจหรือไม่ เหมาะสมหรือไม่ ย่อมจะถูกตัดสินโดยประชาชนในการเลือกตั้ง และนี่ถือเป็นการใช้อำนาจอธิปไตยของปวงชน ศาลจะก้าวล่วงเข้าไปใช้อำนาจนี้แทนไม่ได้ มิเช่นนั้นก็จะเป็นการยึดอำนาจของประชาชนไปใช้เช่นเดียวกับการรัฐประหาร
วิพากษ์ คำกล่าวอ้างนี้เป็นคำกล่าวอ้างที่มีเล่ห์เหลี่ยมให้เข้าใจผิด เพราะข้อเท็จจริงในอดีตการกระทำ การทำหน้าที่ และการปฏิบัติหน้าที่ของสมาชิกรัฐสภา ถือว่าเป็นการกระทำในวงงานนิติบัญญัติและเป็นอำนาจรัฐสภาโดยแท้ เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นก่อนการมีคำวินิจฉัยคดีอาชญากรสงครามที่ 1/2489 แต่หลังจากมีคำพิพากษาของศาลฎีกาในคดีดังกล่าว รัฐธรรมนูญ ตั้งแต่ พ.ศ. 2492 เป็นต้นมา จนถึงก่อนมีรัฐธรรมนูญ 2540 การปฏิบัติหน้าที่ของสมาชิกรัฐสภาในการตรากฎหมาย ถูกวินิจฉัยโดยคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ จนถึง รัฐธรรมนูญ 2540 ได้กำหนดให้การปฏิบัติหน้าที่ของสมาชิกรัฐสภาในการตรากฎหมาย ถูกวินิจฉัยโดยศาลรัฐธรรมนูญ และหลักการดังกล่าวได้ถูกบัญญัติต่อมาในรัฐธรรมนูญ 2550 ดังนั้น ข้อกล่าวอ้างดังกล่าวจึงไม่ตรงกับข้อเท็จจริง ศาลรัฐธรรมนูญสามารถพิจารณาการกระทำของฝ่ายนิติบัญญัติที่กระทำไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญได้
คำแถลงของพรรคเพื่อไทยดังกล่าวที่ประกาศไม่ยอมรับอำนาจศาลรัฐธรรมนูญและมีการกระทำของสมาชิกของพรรคที่กระทำการอันไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ และนายกรัฐมนตรีซึ่งสมาชิกของพรรคเพื่อไทยได้ร่วมกับบรรดาสมาชิกรัฐสภาด้วยการนำร่างรัฐธรรมนูญที่ไม่ชอบด้วยหลักการในการแก้ไขรัฐธรรมนูญขึ้นทูลเกล้าฯ ให้กระทบกระเทือนพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ ขอให้กลับไปพิจารณาทบทวนมูลฐานความผิดตามกฎหมายให้ดี เพราะการกระทำดังกล่าวมันเข้าองค์ประกอบของพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 มาตรา 123/1 เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ครับ