ASTVผู้จัดการรายวัน-ซ้ำรอยนิรโทษ วุฒิสภาลักหลับผ่านวาระ 3 พ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านบาท ช่วงเกือบตีสาม ปชป. ยื่นศาลรัฐธรรมนูญเบรกทันควัน ขอให้วินิจฉัยขัดรัฐธรรมนูญหรือไม่ นักวิชาการมอง ไม่ช่วยลดโลจิสติกส์ของประเทศ ส่วนเอกชนห่วงเรื่องโกง
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเวลา 02.49 น. ของวันที่ 20 พ.ย. ที่ผ่านมา ที่ประชุมวุฒิสภาได้ลงมติผ่าน ร่าง พ.ร.บ.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของประเทศ วงเงิน 2 ล้านล้านบาท (พ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้าน) ในวาระที่ 3 ด้วยเสียง 63 เสียง ต่อ 14 เสียง งดออกเสียง 3 เสียง หลังจากที่ที่ประชุมได้ใช้เวลาพิจารณาวาระ 2 โดยเป็นการพิจารณาทีละมาตราแล้วเสร็จ ซึ่งเนื้อหาและบทบัญญัติของ ร่าง พ.ร.บ.กู้เงิน 2ล้านล้าน ในชั้นวุฒิสภาไม่มีการแก้ไข และคงเนื้อหาและถ้อยคำที่ผ่านความเห็นชอบจากสภาผู้แทนราษฎร
ทั้งนี้ รวมเวลาที่ ส.ว. ใช้พิจารณา ตั้งแต่ 18 พ.ย-20 พ.ย. รวมทั้งสิ้น 28 ชม.
ต่อมาเมื่อเวลา 10.55 น. วานนี้ (20 พ.ย.) ที่ประชุมวุฒิสภานัดพิเศษ ได้มีการประชุมต่อหลังจากที่ได้ให้ความเห็นชอบในวาระ 3 ไปแล้ว และมีการลงมติเห็นชอบข้อสังเกตใน ร่าง พ.ร.บ. จำนวน 11 ข้อ ด้วยคะแนน 61 ต่อ 9 เสียง งดออกเสียง 6 โดยนายนิคม ไวยรัชพานิช ประธานวุฒิสภา ได้แจ้งต่อที่ประชุมว่าการพิจารณาถือว่าเสร็จสิ้น จากนี้ก็จะดำเนินการตามขั้นตอนต่อไป
นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ ประธานวิปฝ่ายค้าน กล่าวว่า ได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า พ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านบาท ขัดรัฐธรรมนูญหรือไม่ ในช่วงเวลา 03.00 น. เศษ ของวันที่ 20 พ.ย. หลังจากที่ผ่านวาระ 3 โดยมีเจ้าหน้าที่ลงเลขรับหนังสือ ดังนั้น ร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าว จะไม่สามารถนำขึ้นทูลเกล้าฯ เพื่อประกาศใช้ได้ เพราะต้องรอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยก่อน
นายกรณ์ จาติกวนิช ส.ส.กทม. พรรคประชาธิปัตย์ ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว Korn Chatikavanij ระบุว่า หลังจากที่วุฒิสภาพิจารณาร่างพ.ร.บ. ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงิน 2 ล้านล้านบาท เมื่อเวลา 03.00 น. ในวันที่ 20 พ.ย. พรรคประชาธิปัตย์ได้ยื่นเรื่องถึงประธานสภา เพื่อให้ส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความแล้ว
โดยมีข้อความว่า "เมื่อคืนตอนประมาณตีสาม วุฒิสภาฯ ได้ผ่านกฎหมายกู้เงิน 2 ล้านล้านบาท และเพื่อไม่ให้มีความเสี่ยงต่อการเสียโอกาสตามกฎหมาย เราจึงได้ยื่นเอกสารร้องเรียนต่อศาลรัฐธรรมนูญในเวลาเดียวกัน สรุปสุดท้าย มีวุฒิสมาชิกหลายคนเรียกร้องเหมือนที่พวกผมเคยเรียกร้อง ให้มีการระบุโครงการที่ชัดเจนลงไปในกฎหมาย และให้นำเงินกู้เข้าสู่ระบบงบประมาณเพื่อความรัดกุม แต่ทั้งหมดได้รับการปฏิเสธโดยเสียงข้างมาก ผมยืนยันเช่นเดิมครับว่าถ้าออกกฎหมายแบบนี้ได้ ระบบวินัยทางการคลังของเราที่ปฏิบัติกันมายาวนาน จะล่มสลายและเสี่ยงต่อการนำประเทศไปสู่วิกฤตอย่างปฏิเสธไม่ได้"
ด้านนายคำนูณ สิทธิสมาน สว.สรรหา โพตส์ว่า อยู่ระหว่างเตรียมเอกสารที่จะต้องยื่นต่อประธานรัฐสภาตามมาตรา 154 เพื่อพาร่างกฎหมายกู้ชาตินี้ใช้ชาติหน้าไปศาลรัฐธรรมนูญ
ขณะที่นักวิชาการ โดยนายสมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) กล่าวว่า การผ่านร่างพ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านบาท ไม่ได้ช่วยต้นทุนโลจิสติกส์ของประเทศเท่าที่ควร ซึ่งรัฐบาลควรคำนึงถึงความคุ้มค่าของการลงทุนให้มาก และควรเปิดให้หน่วยงานภายนอกเข้ามาตรวจสอบความโปร่งใส
ส่วนภาคเอกชน นายอิสระ ว่องกุศลกิจ ประธานกรรมการหอการค้าไทย กล่าวว่า หอการค้าไทยเห็นด้วยในหลักการเรื่องของการลงทุน แต่รัฐบาลต้องให้ความสำคัญโครงการที่มีความคุ้มค่าในการลงทุนเป็นอันดับแรก และลงทุนในโครงสร้างที่จำเป็น เช่น การสร้างรถไฟรางคู่ เป็นต้น พร้อมทั้งควรเคร่งครัดในการรักษาวินัยทางการเงินด้วย โดยเอกชนเป็นห่วงภาคการปฏิบัติในเรื่องของความโปร่งใสและการตรวจสอบได้
ฟากรัฐบาล นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวว่า รัฐบาลพร้อมรอคำวินิจฉัยของศาล กรณีที่ฝ่ายค้านยื่นศาลรัฐธรรมนูญตีความร่าง พ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านบาท และเห็นว่าการพิจารณากฎหมายที่ผ่านสภาฯ และวุฒิสภาแล้ว ท้ายที่สุดจะสามารถบังคับใช้เป็นกฎหมายได้ และขอให้ทุกฝ่ายเข้าใจถึงความจำเป็นที่มีการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจ และมีส่วนขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยในปีหน้า
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเวลา 02.49 น. ของวันที่ 20 พ.ย. ที่ผ่านมา ที่ประชุมวุฒิสภาได้ลงมติผ่าน ร่าง พ.ร.บ.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของประเทศ วงเงิน 2 ล้านล้านบาท (พ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้าน) ในวาระที่ 3 ด้วยเสียง 63 เสียง ต่อ 14 เสียง งดออกเสียง 3 เสียง หลังจากที่ที่ประชุมได้ใช้เวลาพิจารณาวาระ 2 โดยเป็นการพิจารณาทีละมาตราแล้วเสร็จ ซึ่งเนื้อหาและบทบัญญัติของ ร่าง พ.ร.บ.กู้เงิน 2ล้านล้าน ในชั้นวุฒิสภาไม่มีการแก้ไข และคงเนื้อหาและถ้อยคำที่ผ่านความเห็นชอบจากสภาผู้แทนราษฎร
ทั้งนี้ รวมเวลาที่ ส.ว. ใช้พิจารณา ตั้งแต่ 18 พ.ย-20 พ.ย. รวมทั้งสิ้น 28 ชม.
ต่อมาเมื่อเวลา 10.55 น. วานนี้ (20 พ.ย.) ที่ประชุมวุฒิสภานัดพิเศษ ได้มีการประชุมต่อหลังจากที่ได้ให้ความเห็นชอบในวาระ 3 ไปแล้ว และมีการลงมติเห็นชอบข้อสังเกตใน ร่าง พ.ร.บ. จำนวน 11 ข้อ ด้วยคะแนน 61 ต่อ 9 เสียง งดออกเสียง 6 โดยนายนิคม ไวยรัชพานิช ประธานวุฒิสภา ได้แจ้งต่อที่ประชุมว่าการพิจารณาถือว่าเสร็จสิ้น จากนี้ก็จะดำเนินการตามขั้นตอนต่อไป
นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ ประธานวิปฝ่ายค้าน กล่าวว่า ได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า พ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านบาท ขัดรัฐธรรมนูญหรือไม่ ในช่วงเวลา 03.00 น. เศษ ของวันที่ 20 พ.ย. หลังจากที่ผ่านวาระ 3 โดยมีเจ้าหน้าที่ลงเลขรับหนังสือ ดังนั้น ร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าว จะไม่สามารถนำขึ้นทูลเกล้าฯ เพื่อประกาศใช้ได้ เพราะต้องรอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยก่อน
นายกรณ์ จาติกวนิช ส.ส.กทม. พรรคประชาธิปัตย์ ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว Korn Chatikavanij ระบุว่า หลังจากที่วุฒิสภาพิจารณาร่างพ.ร.บ. ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงิน 2 ล้านล้านบาท เมื่อเวลา 03.00 น. ในวันที่ 20 พ.ย. พรรคประชาธิปัตย์ได้ยื่นเรื่องถึงประธานสภา เพื่อให้ส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความแล้ว
โดยมีข้อความว่า "เมื่อคืนตอนประมาณตีสาม วุฒิสภาฯ ได้ผ่านกฎหมายกู้เงิน 2 ล้านล้านบาท และเพื่อไม่ให้มีความเสี่ยงต่อการเสียโอกาสตามกฎหมาย เราจึงได้ยื่นเอกสารร้องเรียนต่อศาลรัฐธรรมนูญในเวลาเดียวกัน สรุปสุดท้าย มีวุฒิสมาชิกหลายคนเรียกร้องเหมือนที่พวกผมเคยเรียกร้อง ให้มีการระบุโครงการที่ชัดเจนลงไปในกฎหมาย และให้นำเงินกู้เข้าสู่ระบบงบประมาณเพื่อความรัดกุม แต่ทั้งหมดได้รับการปฏิเสธโดยเสียงข้างมาก ผมยืนยันเช่นเดิมครับว่าถ้าออกกฎหมายแบบนี้ได้ ระบบวินัยทางการคลังของเราที่ปฏิบัติกันมายาวนาน จะล่มสลายและเสี่ยงต่อการนำประเทศไปสู่วิกฤตอย่างปฏิเสธไม่ได้"
ด้านนายคำนูณ สิทธิสมาน สว.สรรหา โพตส์ว่า อยู่ระหว่างเตรียมเอกสารที่จะต้องยื่นต่อประธานรัฐสภาตามมาตรา 154 เพื่อพาร่างกฎหมายกู้ชาตินี้ใช้ชาติหน้าไปศาลรัฐธรรมนูญ
ขณะที่นักวิชาการ โดยนายสมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) กล่าวว่า การผ่านร่างพ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านบาท ไม่ได้ช่วยต้นทุนโลจิสติกส์ของประเทศเท่าที่ควร ซึ่งรัฐบาลควรคำนึงถึงความคุ้มค่าของการลงทุนให้มาก และควรเปิดให้หน่วยงานภายนอกเข้ามาตรวจสอบความโปร่งใส
ส่วนภาคเอกชน นายอิสระ ว่องกุศลกิจ ประธานกรรมการหอการค้าไทย กล่าวว่า หอการค้าไทยเห็นด้วยในหลักการเรื่องของการลงทุน แต่รัฐบาลต้องให้ความสำคัญโครงการที่มีความคุ้มค่าในการลงทุนเป็นอันดับแรก และลงทุนในโครงสร้างที่จำเป็น เช่น การสร้างรถไฟรางคู่ เป็นต้น พร้อมทั้งควรเคร่งครัดในการรักษาวินัยทางการเงินด้วย โดยเอกชนเป็นห่วงภาคการปฏิบัติในเรื่องของความโปร่งใสและการตรวจสอบได้
ฟากรัฐบาล นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวว่า รัฐบาลพร้อมรอคำวินิจฉัยของศาล กรณีที่ฝ่ายค้านยื่นศาลรัฐธรรมนูญตีความร่าง พ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านบาท และเห็นว่าการพิจารณากฎหมายที่ผ่านสภาฯ และวุฒิสภาแล้ว ท้ายที่สุดจะสามารถบังคับใช้เป็นกฎหมายได้ และขอให้ทุกฝ่ายเข้าใจถึงความจำเป็นที่มีการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจ และมีส่วนขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยในปีหน้า