**เส้นทางของการต่อสู้ เกมแห่งการแย่งชิงอำนาจ เดินเข้าช่วงหัวเลี้ยวหัวต่ออีกครั้ง
เมื่อศาลรัฐธรรมนูญนัดอ่านคำวินิจฉัย กรณีการแก้ไขรัฐธรรมนูญประเด็นที่มา ส.ว. ขัดมาตรา 68 หรือไม่ ในวันนี้ ซึ่งคำวินิจฉัยเท่าที่มีการคาดการณ์ จากบรรดาเกจิการเมือง จะมีอยู่อย่างน้อย 3 แนวทางด้วยกัน คือ
1. ศาลไม่ถือว่าการแก้รัฐธรรมนูญขัด มาตรา 68 โดยมองว่าอำนาจสูงสุดในการแก้รัฐธรรมนูญเป็นของฝ่ายนิติบัญญัติ ตามมาตรา 291
2. ศาลมองว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญไม่ผิด เป็นอำนาจของฝ่ายนิติบัญญัติ แต่อาจผิดในกระบวนการ อาทิ การรวบรัดอภิปราย การลงมติ หรือการเสียบบัตรแทนกัน
3. หากศาลเห็นว่าการแก้รัฐธรรมนูญผิด มาตรา 68 ก็อาจตัดสินโทษร้ายแรงที่สุด คือ ยุบพรรคเพื่อไทย และพรรคร่วมรัฐบาล
ทั้งนี้หากวินิจฉัยว่าไม่ขัด จะนำไปสู่ขั้นตอนต่อไปตามกระบวนการประกาศใช้กฎหมาย แต่หากวินิจฉัยว่า ขัด ก็จะมีผลกระทบต่อสถานะของ 312 ส.ส.-ส.ว. ที่ร่วมลงชื่อในญัตติทันที
ส่วนจะมีคำสั่งให้ยุบพรรคหรือไม่ เป็นดุลพินิจของศาล เพราะในรัฐธรรมนูญใช้ความว่า“อาจสั่งยุบพรรค”ได้ แต่ชั่วโมงนี้เพียงแค่พูดถึงอำนาจที่สามารถสั่งยุบพรรคการเมืองได้ คนใน“เพื่อไทย”ก็เสียวกันทั้งพรรคแล้ว
แต่หากจับสัญญาณจากคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญในช่วงหลังๆ แทบที่จะไม่มีคำวินิจฉัยในคดีใดที่แตกหักกับพรรคเพื่อไทยเลย
แตกต่างจากยุคของ “พรรคไทยรักไทย” และ “พรรคพลังประชาชน” ที่ ศาลรัฐธรรมนูญทำศึกแตกหักสั่งยุบพรรคกันแบบไม่มีเยื่อใย
**มองได้ว่าศาลรัฐธรรมนูญมักจะอ่านทิศทางการเมืองควบคู่กับการตัดสินคดีไปด้วย
คำวินิจฉัยในระยะหลังจึงออกในแบบ “แทงกั๊ก”ไม่มีคำวินิจฉัยชัดเจนว่า สามารถทำได้หรือทำไม่ได้ แถมยังพ่วงแนวทางการดำเนินให้เสร็จสรรพเรียบร้อย
เห็นได้ชัดจากคำวินิจฉัยการแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 ซึ่งเปิดช่องให้แก้รัฐธรรมนูญทั้งฉบับ ก็เคยมีมีคำวินิจฉัยแบบกั๊กๆว่า จะต้องทำประชามติก่อน เพราะรัฐธรรมนูญปี 50 ผ่านการลงประชามติมา และมีทางออกชี้ช่องให้แก้ไขรายมาตราได้
**ดังนั้นหากจะคาดการณ์กันล่วงหน้า ก็แทบจะฟันธงได้แล้วว่า งานนี้มีสิทธิ “แทงกั๊ก”เหมือนเดิม
คำวินิจฉัยจะอยู่ในทำนองสามารถแก้ไขได้ตามที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้ แต่ ศาลรัฐธรรมนูญจะทิ้งปม-ทิ้งเงื่อนไข-วางกับดัก เอาไว้ เพื่อที่จะไม่ให้ “นายใหญ่-รัฐบาล-เพื่อไทย”ได้เดินเกมแก้รัฐธรรมนูญได้ง่าย
ซึ่งต้องรอติดตามดูว่าเงื่อนไขที่ทิ้งไว้ จะสามารถทำให้คนเครือข่าย “ชินวัตร”เดินเกมแก้ปมได้ยากมากน้อยแค่ไหน
ส่วนประเด็นที่ ส.ส.เสียบบัตรแทนกัน ซึ่งเป็นประเด็นหนึ่งในคำร้อง ศาลรัฐธรรมนูญ อาจจะแก้เกี้ยวว่า ไม่มีอำนาจในการสอบสวน เพราะเป็นหน้าที่ของ “รัฐสภา”ไม่สามารถก้าวล่วงอำนาจได้ แต่ด้วยความขี้กลัว-ขี้ระแวง ของ “เพื่อไทย”จึงส่งสัญญาณให้ แกนนำกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) กำหนดวัน ว. เวลา น. นัดชุมนุมนใหญ่กันตั้งแต่ วันที่ 18 พ.ย. ที่สนามราชมังคลากีฬาสถาน
**ประหนึ่งเขียนรูปเสือโคร่งขู่คำรามศาลไว้
โดยการนำมวลชนมาก่อหวอดกันที่ กทม. เพื่อกดดัน-ดักคอ ศาลรัฐธรรมนูญกันไว้ก่อน เผื่อคำวินิจฉัยออกมาในทางลบ จะได้ขยับเคลื่อนไหวปกป้อง “เพื่อไทย”อันเป็นที่รักเอาไว้ได้ทันการณ์
**เหตุที่พรรคเพื่อไทยเล่นเกมกดดัน ศาลรัฐธรรมนูญก็เพราะโรคกลัว ขี้ขึ้นสมอง
อย่างที่บอกว่า วันนี้ถือเป็นวันชี้ชะตาประเทศไทยได้เลยทีเดียว เพราะทั้งฝั่ง “เพื่อไทย–ประชาธิปัตย์” ก็ต่างลุ้นกันตัวโกง ฝั่งรัฐบาลเพื่อไทย หากฝ่าด่านคำวินิจฉัยครั้งนี้ไปได้ บอกได้คำเดียวว่า “ทางโล่ง”การแก้ไขรัฐธรรมนูญ บรรจุอยู่ในวาระแล้ว สามารถเดินหน้าต่ออย่างสะดวกโยธิน ไม่จำเป็นต้องกลัวอะไรอีกต่อไป
หนำซ้ำอาจจะมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตราอื่น ที่จ้องเขม็งมานาน แต่ไม่กล้าแตะ เพื่อประโยชน์ต่อ“นายใหญ่-รัฐบาล-พท.”เข้ามาเพิ่มเติมก็เป็นได้
ในทางกลับกันนอกจากเรื่องยุบพรรคแล้ว หากศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยไม่เป็นคุณต่อพท. การเดินหน้าแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตราอื่น มีหวัง “แท้ง” ได้ง่ายขึ้น เพราะ ฝั่งตรงข้าม มีช่องให้ฟ้องอยู่มากมาย
ฟากฝั่งฝ่ายค้าน ประชาธิปัตย์ หากศาลตัดสินออกมาไม่เป็นใจ จะส่งผลกระทบต่อการสู้ในรัฐสภา เพาะเสียงข้างน้อย ไม่เข้มแข็งพอที่จะต่อกรได้เลยแม้แต่น้อย และยังส่งผลกระทบไปยังมวลชนที่เวทีราชดำเนินด้วย เพราะระยะหลังมวลชนที่ออกมาชุมนุมร่วมกับปชป. เริ่มลดน้อยถอยลงไปตามสถานการณ์
นั่นเพราะเงื่อนไข “พ.ร.บ.นิรโทษกรรม”เริ่มคลี่คลายแล้ว หลังจากรัฐบาลยอมถอยสุดซอย
หาก ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยไม่เข้าทางปืน ความหวังในการปลุกม็อบของพรรคประชาธิปัตย์ มืดมนแน่ๆ เพราะทุกวันนี้ “สุเทพ เทือกสุบรรณ” รู้อยู่เต็มอกว่า ม็อบเวทีราชดำเนิน เดินหน้ายากสุดๆ แต่ที่จำเป็นต้องตั้งเวทีเอาไว้ ก็เพื่อรอ “ตัวช่วย”รอเงื่อนไขอื่น ความหวังที่จะปลุกมวลชนขึ้นมาอีกครั้ง ซึ่งที่ใกล้ที่สุดก็เป็น ศาลรัฐธรรมนูญ นี่เอง
แต่เมื่ออ่านทิศทางคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ ช่วงหลังที่มักจะเข้าทางเพื่อไทยแล้ว ยิ่งหนักใจแทนประชาธิปัตย์ว่าจะเดินเกมต่ออย่างไร หาก “ตัวช่วย” ไม่ทำงาน ม็อบก็นับวันรูดม่านปิดฉากกันเองได้เลย ดีไม่ดีไม่เกินสัปดาห์หน้า เวทีราชดำเนิน อาจร้างคนก็เป็นได้
เดิมพันคำวินิจฉัย ศาลรัฐธรรมนูญ จึงสูงลิบ!!
คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญนอกจากจะมีส่วนในการวางหมากเกมการเมืองของทั้งสองฝ่ายแล้ว ยังสามารถจับสัญญาณภาพรวม “ขั้วอำนาจ” ของการเมืองไทยได้เกือบทั้งหมด
**โดยทิศทางการเมืองจะเคลื่อนในทางใด ศาลรัฐธรรมนูญ มีคำตอบให้แน่นอน
เมื่อศาลรัฐธรรมนูญนัดอ่านคำวินิจฉัย กรณีการแก้ไขรัฐธรรมนูญประเด็นที่มา ส.ว. ขัดมาตรา 68 หรือไม่ ในวันนี้ ซึ่งคำวินิจฉัยเท่าที่มีการคาดการณ์ จากบรรดาเกจิการเมือง จะมีอยู่อย่างน้อย 3 แนวทางด้วยกัน คือ
1. ศาลไม่ถือว่าการแก้รัฐธรรมนูญขัด มาตรา 68 โดยมองว่าอำนาจสูงสุดในการแก้รัฐธรรมนูญเป็นของฝ่ายนิติบัญญัติ ตามมาตรา 291
2. ศาลมองว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญไม่ผิด เป็นอำนาจของฝ่ายนิติบัญญัติ แต่อาจผิดในกระบวนการ อาทิ การรวบรัดอภิปราย การลงมติ หรือการเสียบบัตรแทนกัน
3. หากศาลเห็นว่าการแก้รัฐธรรมนูญผิด มาตรา 68 ก็อาจตัดสินโทษร้ายแรงที่สุด คือ ยุบพรรคเพื่อไทย และพรรคร่วมรัฐบาล
ทั้งนี้หากวินิจฉัยว่าไม่ขัด จะนำไปสู่ขั้นตอนต่อไปตามกระบวนการประกาศใช้กฎหมาย แต่หากวินิจฉัยว่า ขัด ก็จะมีผลกระทบต่อสถานะของ 312 ส.ส.-ส.ว. ที่ร่วมลงชื่อในญัตติทันที
ส่วนจะมีคำสั่งให้ยุบพรรคหรือไม่ เป็นดุลพินิจของศาล เพราะในรัฐธรรมนูญใช้ความว่า“อาจสั่งยุบพรรค”ได้ แต่ชั่วโมงนี้เพียงแค่พูดถึงอำนาจที่สามารถสั่งยุบพรรคการเมืองได้ คนใน“เพื่อไทย”ก็เสียวกันทั้งพรรคแล้ว
แต่หากจับสัญญาณจากคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญในช่วงหลังๆ แทบที่จะไม่มีคำวินิจฉัยในคดีใดที่แตกหักกับพรรคเพื่อไทยเลย
แตกต่างจากยุคของ “พรรคไทยรักไทย” และ “พรรคพลังประชาชน” ที่ ศาลรัฐธรรมนูญทำศึกแตกหักสั่งยุบพรรคกันแบบไม่มีเยื่อใย
**มองได้ว่าศาลรัฐธรรมนูญมักจะอ่านทิศทางการเมืองควบคู่กับการตัดสินคดีไปด้วย
คำวินิจฉัยในระยะหลังจึงออกในแบบ “แทงกั๊ก”ไม่มีคำวินิจฉัยชัดเจนว่า สามารถทำได้หรือทำไม่ได้ แถมยังพ่วงแนวทางการดำเนินให้เสร็จสรรพเรียบร้อย
เห็นได้ชัดจากคำวินิจฉัยการแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 ซึ่งเปิดช่องให้แก้รัฐธรรมนูญทั้งฉบับ ก็เคยมีมีคำวินิจฉัยแบบกั๊กๆว่า จะต้องทำประชามติก่อน เพราะรัฐธรรมนูญปี 50 ผ่านการลงประชามติมา และมีทางออกชี้ช่องให้แก้ไขรายมาตราได้
**ดังนั้นหากจะคาดการณ์กันล่วงหน้า ก็แทบจะฟันธงได้แล้วว่า งานนี้มีสิทธิ “แทงกั๊ก”เหมือนเดิม
คำวินิจฉัยจะอยู่ในทำนองสามารถแก้ไขได้ตามที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้ แต่ ศาลรัฐธรรมนูญจะทิ้งปม-ทิ้งเงื่อนไข-วางกับดัก เอาไว้ เพื่อที่จะไม่ให้ “นายใหญ่-รัฐบาล-เพื่อไทย”ได้เดินเกมแก้รัฐธรรมนูญได้ง่าย
ซึ่งต้องรอติดตามดูว่าเงื่อนไขที่ทิ้งไว้ จะสามารถทำให้คนเครือข่าย “ชินวัตร”เดินเกมแก้ปมได้ยากมากน้อยแค่ไหน
ส่วนประเด็นที่ ส.ส.เสียบบัตรแทนกัน ซึ่งเป็นประเด็นหนึ่งในคำร้อง ศาลรัฐธรรมนูญ อาจจะแก้เกี้ยวว่า ไม่มีอำนาจในการสอบสวน เพราะเป็นหน้าที่ของ “รัฐสภา”ไม่สามารถก้าวล่วงอำนาจได้ แต่ด้วยความขี้กลัว-ขี้ระแวง ของ “เพื่อไทย”จึงส่งสัญญาณให้ แกนนำกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) กำหนดวัน ว. เวลา น. นัดชุมนุมนใหญ่กันตั้งแต่ วันที่ 18 พ.ย. ที่สนามราชมังคลากีฬาสถาน
**ประหนึ่งเขียนรูปเสือโคร่งขู่คำรามศาลไว้
โดยการนำมวลชนมาก่อหวอดกันที่ กทม. เพื่อกดดัน-ดักคอ ศาลรัฐธรรมนูญกันไว้ก่อน เผื่อคำวินิจฉัยออกมาในทางลบ จะได้ขยับเคลื่อนไหวปกป้อง “เพื่อไทย”อันเป็นที่รักเอาไว้ได้ทันการณ์
**เหตุที่พรรคเพื่อไทยเล่นเกมกดดัน ศาลรัฐธรรมนูญก็เพราะโรคกลัว ขี้ขึ้นสมอง
อย่างที่บอกว่า วันนี้ถือเป็นวันชี้ชะตาประเทศไทยได้เลยทีเดียว เพราะทั้งฝั่ง “เพื่อไทย–ประชาธิปัตย์” ก็ต่างลุ้นกันตัวโกง ฝั่งรัฐบาลเพื่อไทย หากฝ่าด่านคำวินิจฉัยครั้งนี้ไปได้ บอกได้คำเดียวว่า “ทางโล่ง”การแก้ไขรัฐธรรมนูญ บรรจุอยู่ในวาระแล้ว สามารถเดินหน้าต่ออย่างสะดวกโยธิน ไม่จำเป็นต้องกลัวอะไรอีกต่อไป
หนำซ้ำอาจจะมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตราอื่น ที่จ้องเขม็งมานาน แต่ไม่กล้าแตะ เพื่อประโยชน์ต่อ“นายใหญ่-รัฐบาล-พท.”เข้ามาเพิ่มเติมก็เป็นได้
ในทางกลับกันนอกจากเรื่องยุบพรรคแล้ว หากศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยไม่เป็นคุณต่อพท. การเดินหน้าแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตราอื่น มีหวัง “แท้ง” ได้ง่ายขึ้น เพราะ ฝั่งตรงข้าม มีช่องให้ฟ้องอยู่มากมาย
ฟากฝั่งฝ่ายค้าน ประชาธิปัตย์ หากศาลตัดสินออกมาไม่เป็นใจ จะส่งผลกระทบต่อการสู้ในรัฐสภา เพาะเสียงข้างน้อย ไม่เข้มแข็งพอที่จะต่อกรได้เลยแม้แต่น้อย และยังส่งผลกระทบไปยังมวลชนที่เวทีราชดำเนินด้วย เพราะระยะหลังมวลชนที่ออกมาชุมนุมร่วมกับปชป. เริ่มลดน้อยถอยลงไปตามสถานการณ์
นั่นเพราะเงื่อนไข “พ.ร.บ.นิรโทษกรรม”เริ่มคลี่คลายแล้ว หลังจากรัฐบาลยอมถอยสุดซอย
หาก ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยไม่เข้าทางปืน ความหวังในการปลุกม็อบของพรรคประชาธิปัตย์ มืดมนแน่ๆ เพราะทุกวันนี้ “สุเทพ เทือกสุบรรณ” รู้อยู่เต็มอกว่า ม็อบเวทีราชดำเนิน เดินหน้ายากสุดๆ แต่ที่จำเป็นต้องตั้งเวทีเอาไว้ ก็เพื่อรอ “ตัวช่วย”รอเงื่อนไขอื่น ความหวังที่จะปลุกมวลชนขึ้นมาอีกครั้ง ซึ่งที่ใกล้ที่สุดก็เป็น ศาลรัฐธรรมนูญ นี่เอง
แต่เมื่ออ่านทิศทางคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ ช่วงหลังที่มักจะเข้าทางเพื่อไทยแล้ว ยิ่งหนักใจแทนประชาธิปัตย์ว่าจะเดินเกมต่ออย่างไร หาก “ตัวช่วย” ไม่ทำงาน ม็อบก็นับวันรูดม่านปิดฉากกันเองได้เลย ดีไม่ดีไม่เกินสัปดาห์หน้า เวทีราชดำเนิน อาจร้างคนก็เป็นได้
เดิมพันคำวินิจฉัย ศาลรัฐธรรมนูญ จึงสูงลิบ!!
คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญนอกจากจะมีส่วนในการวางหมากเกมการเมืองของทั้งสองฝ่ายแล้ว ยังสามารถจับสัญญาณภาพรวม “ขั้วอำนาจ” ของการเมืองไทยได้เกือบทั้งหมด
**โดยทิศทางการเมืองจะเคลื่อนในทางใด ศาลรัฐธรรมนูญ มีคำตอบให้แน่นอน