อาทิตย์ที่แล้ว เป็นช่วงเวลาที่ลุ้นกันว่า รัฐบาลร่างทรงคนไกล จะผ่านวิกฤตที่รุมล้อมอยู่ไปได้หรือไม่ แต่แล้วสถานการณ์ก็คลายตัวลงนิดหน่อย ให้หายใจต่อไปได้แบบไม่ทั่วท้องต่อไปได้อีกสัปดาห์
จากเรื่องคำพิพากษาศาลโลกผลคล้ายจะออกมาเหมือนกับว่า “เจ๊า” กัน จากปากคำของรัฐบาลและการแถลงข่าวของท่านทูตวีรชัย แต่จริงๆ แล้ว ข้อความที่บอกว่า “ศาลโลกพิพากษาแล้ว ไทยไม่เสียดินแดน” เป็นข้อความโตๆ ใครอ่านแค่นี้ก็โล่งอก เชื่อว่าแฮปปี้เอนดิ้ง
แต่ก็อย่าลืมข้อความเล็กๆ ขนาดเท่ามดเหมือนพวกโฆษณาสินเชื่อหรือประกันชีวิตที่ว่า “ยกเว้นแต่ดินแดนรอบตัวเนินเขาของปราสาท ที่ถือเป็นอธิปไตยของกัมพูชา และไทยต้องถอนทหารออกไป” ก็แล้วกัน ถึงท่านทูตจะแถลงว่า เป็นพื้นที่เล็กมาก ยังคำนวณกันอยู่ ซึ่งเราประชาชนชาวไทยเราก็ต้องจับตารอกันต่อไป ว่าไอ้ “พื้นที่เล็กๆ” นั้นน่ะ จะ “ใหญ่” สักขนาดไหน
ส่วน พ.ร.บ.นิรโทษกรรมฉบับล้างผิดสุดซอย หลังจากที่ประชาชนส่วนใหญ่ออกมาเต็มถนน เป่านกหวีดไม่เอาด้วย ดังจนแสบหู ทำให้นายกฯ ปูต้องออกมาส่งสัญญาณ “ถอย” ออกทีวี และ ส.ว.ก็ออกมารับลูกกันแทบทันที แถมเรียกประชุมศุกร์ที่ 8 เพื่อยิงลูกตามที่รับมา แต่ดีว่า ส.ว.ส่วนหนึ่งคือกลุ่ม 40 ส.ว. สรรหาไม่เห็นด้วย จึงต้องถอยมาพิธีคว่ำไม่ยอมรับในขั้นวาระหนึ่ง เมื่อคืนวันที่ 11 หลังอ่านคำพิพากษาศาลโลก
แต่ถึงคำพิพากษาศาลโลกจะออกมาเช่นนั้น หรือ พ.ร.บ.ล้างผิดจะล้มลงไปเช่นนี้ แต่กระแสและอารมณ์ของคนก็ยังคง “เครื่องร้อน” ต่อเนื่องอยู่
ม็อบที่นำโดยพรรคประชาธิปัตย์ก็ยกระดับขึ้นมาอีกขั้นหนึ่ง โดยการที่แกนนำทั้ง 8 ของพรรค รวมถึง “กำนัน” สุเทพ เทือกสุบรรณ ตัดสินใจลาออกจากความเป็น ส.ส.มานำม็อบอย่างเต็มที่
เมื่อฝ่ายประชาธิปัตย์ “เอาจริง” ก็สามารถเรียกแขกมาได้เต็มที่ เต็มพื้นที่ถนนราชดำเนิน และเมื่อรวมตัวกับม็อบก่อนหน้านี้ อย่างม็อบ กปท.เกิดเป็นมวลชนมหาศาลต้านรัฐบาล และไม่นับประชาชนที่ตื่นตัวแล้ว แม้ไม่ได้ไปที่ม็อบ แต่ก็พก “นกหวีด” ติดตัว กระจายกันอยู่ในทุกที่ ประกอบอาชีพการงานตามปกติ ไปดูหนัง ฟังเพลง กินข้าว แต่ทุกคนก็มี “นกหวีด” ที่พร้อมจะหยิบมาเป่า และลงมายืนแสดงพลังกันเต็มถนน เมื่อไรก็ได้ที่เห็นว่ารัฐบาลฉ้อฉลต่อประชาชน
เพราะตามรัฐธรรมนูญแล้ว ร่างกฎหมายล้างผิดฉบับนี้ยังไม่ตายสนิท เพียงแค่แช่แข็งไว้ 180 หรือประมาณหกเดือน เพื่อให้สภาผู้แทนฯ นำมาทบทวน แต่สภาผู้แทนฯ ก็สามารถ “ยืนยัน” และถือว่าร่างกฎหมายนั้นผ่านสภาฯ เสมือนว่าผ่านวุฒิสภาแล้วก็ได้
เรียกว่า กฎหมายนิรโทษกรรมยังไม่ถูก “เผา” แค่ฝังรอไว้อีกหกเดือนมาว่ากัน
สภาพที่เชื่อไม่ได้แล้วของรัฐบาล ทำให้ประชาชนไม่อาจมั่นใจได้เลยว่า ในที่สุด กฎหมายนี้จะตกไป หรือว่าจะซ้อนกลประชุมกันตอนเช้ามืด แล้วยกมือฝักถั่วยืนยันให้ถือว่าผ่านสภาฯ ไปอีกรอบก็ได้
อย่าคิดว่าเขาจะทำไม่ได้ หรือไม่กล้าทำ ในเมื่อปรากฏแล้วว่า เพื่อนายใหญ่กลับมา และล้วงเงินคืนไป พวกเขาทำได้หมด
วิบากกรรมลำดับต่อมา และน่าจะถือเป็นจุดตัดจุดเปลี่ยนทางการเมืองไทยอีกรอบก็ได้ คือ การที่ศาลรัฐธรรมนูญจะอ่านคำวินิจฉัยในคดีแก้รัฐธรรมนูญว่าด้วยที่มาของ ส.ว.โดยไม่ชอบ ตามคำฟ้องของ ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์และ ส.ว.สรรหา ในวันพุธที่ 20 นี้
ประเด็นสำคัญอยู่ที่กระบวนการเสนอร่างรัฐธรรมนูญด้วยวิธีไม่ชอบ มีการปลอมญัตติแก้ไขร่างภายหลังจากที่ยื่นขอแก้ต่อสภาฯ กับเรื่องการกดบัตรแทนกันของ ส.ส.พรรครัฐบาลในระหว่างการลงมติเห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญ
ทั้งเรื่องเนื้อหาของการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ที่เป็นเหมือนการคืนชีพสภาผัวเมียกลับมา โดยอนุญาตให้เครือญาติของ ส.ส.หรือรัฐมนตรีลงสมัคร ส.ว.ได้ ให้ ส.ว.ดำรงตำแหน่งได้โดยไม่ต้องเว้นวรรคระหว่างวาระ และ ส.ส.หรือรัฐมนตรีสามารถลาออกมาลงสมัคร ส.ว. ได้ทันทีไม่ต้องเว้นช่วง
รัฐธรรมนูญนี้เป็นการ “อุดช่องว่าง” ของรัฐธรรมนูญ 40 ที่มีปัญหาจนนำไปสู่การครองอำนาจเบ็ดเสร็จของทักษิณ เป็นเหตุให้เกิดการปฏิวัติ 19 ก.ย. 49
ปัญหาสำคัญของรัฐธรรมนูญดังกล่าว คือระบบสภาผัวเมีย ที่บรรดา ส.ส.สภาผู้แทนฯ ให้สมรสหรือเครือญาติสมัครเข้ามาเป็น ส.ว.โดยอาศัยฐานเสียงเดิมของตัวเองได้
และเมื่อ ส.ว. “สั่งได้” ก็ส่งผลให้กระบวนการตรวจสอบการใช้อำนาจขององค์กรอิสระนั้นล้มเหลว ที่ชัดเจนเช่น กรณีสมัย “ตำรวจครองเมือง” ในปลายยุคทักษิณที่ผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรสำคัญๆ ไม่ว่าจะเป็น กกต. หรือศาลรัฐธรรมนูญ ก็จะมี “ตำรวจ” โผล่เข้าไปนั่งเก้าอี้เสมอ และสร้างตำนานการเลือกตั้งฉาว หันคูหาออกมาให้เห็นว่าใครลงคะแนนให้ใคร จนกระทั่งถูกศาลพิพากษาให้การเลือกตั้งเป็นโมฆะ
ขนาดตอนนี้ ส.ว.ยังเลือกตั้งและสรรหาอย่างละครึ่งสภาฯ ยัง “รับลูก” กันขนาดนี้ แล้วถ้าสามารถครอบงำเบ็ดเสร็จผ่านการเลือกตั้งได้จะเป็นอย่างไร
คดีที่ศาลรัฐธรรมนูญจะตัดสินในวันพุธนี้ เป็นการวินิจฉัยในประเด็นที่ว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญของ ส.ส. กลุ่มรัฐบาลและ ส.ว.บางส่วนนั้น ถือเป็นการ “ล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญ หรือเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ” ที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญมาตรา 68 หรือไม่
หากศาลเห็นว่ากระบวนการแก้ไขหรือเนื้อหาของรัฐธรรมนูญที่ได้แก้ไขนั้นไม่ชอบ ก็สามารถสั่งให้ยกเลิกเพิกถอนกระบวนการให้รัฐธรรมนูญตกไปได้ตามมาตรานี้
แต่ที่ทำให้ฝ่ายรัฐบาลหนาวๆ ร้อนๆ กันเป็นที่สุดไม่ใช่แค่เรื่องรัฐธรรมนูญตก ที่เหมือนเกมเจ๊า ไม่ได้ไม่เสีย แต่เป็นความในวรรคต่อๆ มา ที่ให้ศาลสามารถ “ยุบพรรคการเมือง” ที่กระทำการขัดต่อมาตรา 68 ดังกล่าว และตัดสิทธิของผู้บริหารพรรคที่กระทำผิดได้ด้วย
วันพุธที่ 20 จึงเป็นวันที่ต้องจับตามองสถานการณ์กันอย่างตาไม่กะพริบเลยทีเดียว.
จากเรื่องคำพิพากษาศาลโลกผลคล้ายจะออกมาเหมือนกับว่า “เจ๊า” กัน จากปากคำของรัฐบาลและการแถลงข่าวของท่านทูตวีรชัย แต่จริงๆ แล้ว ข้อความที่บอกว่า “ศาลโลกพิพากษาแล้ว ไทยไม่เสียดินแดน” เป็นข้อความโตๆ ใครอ่านแค่นี้ก็โล่งอก เชื่อว่าแฮปปี้เอนดิ้ง
แต่ก็อย่าลืมข้อความเล็กๆ ขนาดเท่ามดเหมือนพวกโฆษณาสินเชื่อหรือประกันชีวิตที่ว่า “ยกเว้นแต่ดินแดนรอบตัวเนินเขาของปราสาท ที่ถือเป็นอธิปไตยของกัมพูชา และไทยต้องถอนทหารออกไป” ก็แล้วกัน ถึงท่านทูตจะแถลงว่า เป็นพื้นที่เล็กมาก ยังคำนวณกันอยู่ ซึ่งเราประชาชนชาวไทยเราก็ต้องจับตารอกันต่อไป ว่าไอ้ “พื้นที่เล็กๆ” นั้นน่ะ จะ “ใหญ่” สักขนาดไหน
ส่วน พ.ร.บ.นิรโทษกรรมฉบับล้างผิดสุดซอย หลังจากที่ประชาชนส่วนใหญ่ออกมาเต็มถนน เป่านกหวีดไม่เอาด้วย ดังจนแสบหู ทำให้นายกฯ ปูต้องออกมาส่งสัญญาณ “ถอย” ออกทีวี และ ส.ว.ก็ออกมารับลูกกันแทบทันที แถมเรียกประชุมศุกร์ที่ 8 เพื่อยิงลูกตามที่รับมา แต่ดีว่า ส.ว.ส่วนหนึ่งคือกลุ่ม 40 ส.ว. สรรหาไม่เห็นด้วย จึงต้องถอยมาพิธีคว่ำไม่ยอมรับในขั้นวาระหนึ่ง เมื่อคืนวันที่ 11 หลังอ่านคำพิพากษาศาลโลก
แต่ถึงคำพิพากษาศาลโลกจะออกมาเช่นนั้น หรือ พ.ร.บ.ล้างผิดจะล้มลงไปเช่นนี้ แต่กระแสและอารมณ์ของคนก็ยังคง “เครื่องร้อน” ต่อเนื่องอยู่
ม็อบที่นำโดยพรรคประชาธิปัตย์ก็ยกระดับขึ้นมาอีกขั้นหนึ่ง โดยการที่แกนนำทั้ง 8 ของพรรค รวมถึง “กำนัน” สุเทพ เทือกสุบรรณ ตัดสินใจลาออกจากความเป็น ส.ส.มานำม็อบอย่างเต็มที่
เมื่อฝ่ายประชาธิปัตย์ “เอาจริง” ก็สามารถเรียกแขกมาได้เต็มที่ เต็มพื้นที่ถนนราชดำเนิน และเมื่อรวมตัวกับม็อบก่อนหน้านี้ อย่างม็อบ กปท.เกิดเป็นมวลชนมหาศาลต้านรัฐบาล และไม่นับประชาชนที่ตื่นตัวแล้ว แม้ไม่ได้ไปที่ม็อบ แต่ก็พก “นกหวีด” ติดตัว กระจายกันอยู่ในทุกที่ ประกอบอาชีพการงานตามปกติ ไปดูหนัง ฟังเพลง กินข้าว แต่ทุกคนก็มี “นกหวีด” ที่พร้อมจะหยิบมาเป่า และลงมายืนแสดงพลังกันเต็มถนน เมื่อไรก็ได้ที่เห็นว่ารัฐบาลฉ้อฉลต่อประชาชน
เพราะตามรัฐธรรมนูญแล้ว ร่างกฎหมายล้างผิดฉบับนี้ยังไม่ตายสนิท เพียงแค่แช่แข็งไว้ 180 หรือประมาณหกเดือน เพื่อให้สภาผู้แทนฯ นำมาทบทวน แต่สภาผู้แทนฯ ก็สามารถ “ยืนยัน” และถือว่าร่างกฎหมายนั้นผ่านสภาฯ เสมือนว่าผ่านวุฒิสภาแล้วก็ได้
เรียกว่า กฎหมายนิรโทษกรรมยังไม่ถูก “เผา” แค่ฝังรอไว้อีกหกเดือนมาว่ากัน
สภาพที่เชื่อไม่ได้แล้วของรัฐบาล ทำให้ประชาชนไม่อาจมั่นใจได้เลยว่า ในที่สุด กฎหมายนี้จะตกไป หรือว่าจะซ้อนกลประชุมกันตอนเช้ามืด แล้วยกมือฝักถั่วยืนยันให้ถือว่าผ่านสภาฯ ไปอีกรอบก็ได้
อย่าคิดว่าเขาจะทำไม่ได้ หรือไม่กล้าทำ ในเมื่อปรากฏแล้วว่า เพื่อนายใหญ่กลับมา และล้วงเงินคืนไป พวกเขาทำได้หมด
วิบากกรรมลำดับต่อมา และน่าจะถือเป็นจุดตัดจุดเปลี่ยนทางการเมืองไทยอีกรอบก็ได้ คือ การที่ศาลรัฐธรรมนูญจะอ่านคำวินิจฉัยในคดีแก้รัฐธรรมนูญว่าด้วยที่มาของ ส.ว.โดยไม่ชอบ ตามคำฟ้องของ ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์และ ส.ว.สรรหา ในวันพุธที่ 20 นี้
ประเด็นสำคัญอยู่ที่กระบวนการเสนอร่างรัฐธรรมนูญด้วยวิธีไม่ชอบ มีการปลอมญัตติแก้ไขร่างภายหลังจากที่ยื่นขอแก้ต่อสภาฯ กับเรื่องการกดบัตรแทนกันของ ส.ส.พรรครัฐบาลในระหว่างการลงมติเห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญ
ทั้งเรื่องเนื้อหาของการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ที่เป็นเหมือนการคืนชีพสภาผัวเมียกลับมา โดยอนุญาตให้เครือญาติของ ส.ส.หรือรัฐมนตรีลงสมัคร ส.ว.ได้ ให้ ส.ว.ดำรงตำแหน่งได้โดยไม่ต้องเว้นวรรคระหว่างวาระ และ ส.ส.หรือรัฐมนตรีสามารถลาออกมาลงสมัคร ส.ว. ได้ทันทีไม่ต้องเว้นช่วง
รัฐธรรมนูญนี้เป็นการ “อุดช่องว่าง” ของรัฐธรรมนูญ 40 ที่มีปัญหาจนนำไปสู่การครองอำนาจเบ็ดเสร็จของทักษิณ เป็นเหตุให้เกิดการปฏิวัติ 19 ก.ย. 49
ปัญหาสำคัญของรัฐธรรมนูญดังกล่าว คือระบบสภาผัวเมีย ที่บรรดา ส.ส.สภาผู้แทนฯ ให้สมรสหรือเครือญาติสมัครเข้ามาเป็น ส.ว.โดยอาศัยฐานเสียงเดิมของตัวเองได้
และเมื่อ ส.ว. “สั่งได้” ก็ส่งผลให้กระบวนการตรวจสอบการใช้อำนาจขององค์กรอิสระนั้นล้มเหลว ที่ชัดเจนเช่น กรณีสมัย “ตำรวจครองเมือง” ในปลายยุคทักษิณที่ผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรสำคัญๆ ไม่ว่าจะเป็น กกต. หรือศาลรัฐธรรมนูญ ก็จะมี “ตำรวจ” โผล่เข้าไปนั่งเก้าอี้เสมอ และสร้างตำนานการเลือกตั้งฉาว หันคูหาออกมาให้เห็นว่าใครลงคะแนนให้ใคร จนกระทั่งถูกศาลพิพากษาให้การเลือกตั้งเป็นโมฆะ
ขนาดตอนนี้ ส.ว.ยังเลือกตั้งและสรรหาอย่างละครึ่งสภาฯ ยัง “รับลูก” กันขนาดนี้ แล้วถ้าสามารถครอบงำเบ็ดเสร็จผ่านการเลือกตั้งได้จะเป็นอย่างไร
คดีที่ศาลรัฐธรรมนูญจะตัดสินในวันพุธนี้ เป็นการวินิจฉัยในประเด็นที่ว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญของ ส.ส. กลุ่มรัฐบาลและ ส.ว.บางส่วนนั้น ถือเป็นการ “ล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญ หรือเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ” ที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญมาตรา 68 หรือไม่
หากศาลเห็นว่ากระบวนการแก้ไขหรือเนื้อหาของรัฐธรรมนูญที่ได้แก้ไขนั้นไม่ชอบ ก็สามารถสั่งให้ยกเลิกเพิกถอนกระบวนการให้รัฐธรรมนูญตกไปได้ตามมาตรานี้
แต่ที่ทำให้ฝ่ายรัฐบาลหนาวๆ ร้อนๆ กันเป็นที่สุดไม่ใช่แค่เรื่องรัฐธรรมนูญตก ที่เหมือนเกมเจ๊า ไม่ได้ไม่เสีย แต่เป็นความในวรรคต่อๆ มา ที่ให้ศาลสามารถ “ยุบพรรคการเมือง” ที่กระทำการขัดต่อมาตรา 68 ดังกล่าว และตัดสิทธิของผู้บริหารพรรคที่กระทำผิดได้ด้วย
วันพุธที่ 20 จึงเป็นวันที่ต้องจับตามองสถานการณ์กันอย่างตาไม่กะพริบเลยทีเดียว.