xs
xsm
sm
md
lg

TDRIจวก"ประชานิยม" ฉุดการพัฒนาปท.-ต้องเลิกจำนำข้าว

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

วานนี้ (18 พ.ย.)นายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ ประธานสภาสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย หรือ ทีดีอาร์ไอ เป็นประธานเปิดงานสัมมนา

วิชาการประจำปี 2556 ในหัวข้อ "โมเดลใหม่ในการพัฒนา : สู่การเติบโตอย่างมีคุณภาพโดยการเพิ่มผลิตภาพ" เพื่อนำเสนอผลการศึกษาโมเดล (แนวทาง)ใหม่ใน

การพัฒนาประเทศต่อสาธารณชน และต้องการให้ทุกภาคส่วนได้มีส่วนร่วมเสนอความคิดเห็นเพื่อนำไปสู่การประยุกต์ใช้ในสังคมไทย โดยมีผู้บริหารเจ้าหน้าที่หน่วย

งานภาครัฐ เอกชน ผู้ทรงคุณวุฒิ นักวิชาการ ร่วมสัมมนาเป็นจำนวนมาก
นายโฆสิต กล่าวว่า ขณะนี้ทีดีอาร์ไอ ได้จัดทำโมเดลใหม่ในการพัฒนาประเทศ เพื่อเสนอต่อรัฐบาลและทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้านเศรษฐกิจ โดย

โมเดลใหม่เน้นการสร้างขีดความสามารถทางเทคโนโลยีของผู้ประกอบการไทย เนื่องจากปัจจุบันไทยยังมีความล้าหลังในเรื่องของเทคโนโลยี และการศึกษา ซึ่งจาก

การจัดอันดับการพัฒนาทางด้านการศึกษาของไทย อยู่ในอันดับ 66 ของโลก ขณะที่ความพร้อมด้านเทคโนโลยี อยู่ในอันดับที่ 78 ของโลก ดังนั้นรัฐบาลควรหันมา

ให้ความสนใจเรื่องการศึกษามากขึ้น หากได้รับการแก้ไขปัญหาจะดีขึ้น ซึ่งการสร้างความสมดุลระหว่างตลาดส่งออกในระดับโลก ระดับภูมิภาค และกำลังซื้อใน

ประเทศ และการเพิ่มผลิตภาพของแรงงาน และปรับค่าตอบแทนของแรงงานทั้งค่าจ้าง และประกันสังคมให้เหมาะสมควบคู่ไปกับสภาพแวดล้อม
อย่างไรก็ตามมองว่านโยบายประชานิยม และการขยายสินเชื่อที่ผ่านมาได้ผลในระยะสั้น และยังเป็นแรงต้านต่อการเจริญเติบโตของประเทศ ซึ่ง

เห็นได้จากการชลอตัวของเศรษฐกิจในปีนี้
สำหรับเศรษฐกิจไทยปี 57 ยังมีความน่าเป็นห่วงเรื่องการปรับตัวและขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคเอกชน โดยเฉพาะภาคส่งออกที่ยังมี

ภาระต้นทุนสูง เช่น การปรับค่าแรงงาน ส่วนตัวจึงไม่มั่นใจว่า การส่งออกของไทยจะสามารถปรับตัวได้ดีตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะเศรษฐกิจจาก

ประเทศอุตสาหกรรมหลักที่คาดว่ามีทิศทางปรับตัวดีขึ้น หากภาคเอกชนไม่สามารถปรับตัวได้ทัน อาจส่งผลให้ปีหน้าเศรษฐกิจไทยเติบโตต่ำกว่าเป้าหมายที่ 4-5%
ที่ผ่านมาเศรษฐกิจไทยถูกพัฒนาด้วยการพัฒนาอุตสาหกรรมการผลิตที่มีการดึงดูดการลงทุนโดยตรงจากต่างชาติ และนำเข้าเทคโนโลยีจากต่าง

ประเทศ แต่ไม่ได้พัฒนาความรู้และเทคโนโลยีด้วยตัวเอง การพึ่งพาอาศัยตลาดส่งออกไปยังตลาดโลก และการอาศัยแรงงานจำนวนมาก ราคาถูก โดยละเลยเรื่อง

การรักษาสิ่งแวดล้อม
ทั้งนี้ โมเดลดังกล่าวไม่ได้สร้างความเจริญเติบโตอย่างยั่งยื่น ทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำทางสังคม ทำให้ประเทศไทยติดกับดักประเทศที่มีฐานะ

ปานกลาง เพราะไทยมีการใช้นโยบายประชานิยม หรือการใช้สินเชื่อเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจ แต่สามารถใช้ได้เพียงระยะสั้น เพราะสร้างความเสี่ยงต่อฐานะการ

คลังของภาครัฐ และเป็นแรงต้านไม่ให้ประเทศเจริญเติบโตได้ตามศักยภาพในระยะยาว เนื่องจากการดำเนินนโยบายดังกล่าว ทำให้ประชาชนมีหนี้สินสูงขึ้น ฉุดรั้ง

การใช้จ่ายในประเทศชะลอลง สะท้อนให้เห็นตั้งแต่ช่วงต้นปี 2556 ที่เศรษฐกิจชะลอตัวจากการบริโภคที่หดตัวลงชัดเจน
นอกจากนี้ ยังเห็นว่าไทยกำลังเผชิญอุปสรรคที่เป็นข้อจำกัดต่อการพัฒนาประเทศ โดยเฉพาะการศึกษาและเทคโนโลยี โดยจากรายงานของ

World Economic Forum พบว่าการจัดอันดับการศึกษาของไทยอยู่ที่ 66 จาก 148 ประเทศทั่วโลก และอันดับการพัฒนาความพร้อมในการเข้าสู่

เทคโนโลยีอยู่ที่ 78 จาก 148 ประเทศทั่วโลก ซึ่งถือว่าไทยยังมีความล้าหลังอย่างมาก จะเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่ไทยต้องเร่งแก้ไข
ดังนั้น ทีดีอาร์ไอ จึงเสนอว่าไทยควรใช้โมเดลใหม่ในการพัฒนาประเทศแก่รัฐบาล ด้วยองค์ประกอบ 3 ประการ คือ
1. การสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการไทย
2. การสร้างความสมดุลระหว่างตลาดส่งออกโลก การลงทุนในภูมิภาค รวมถึงการสร้างกำลังซื้อในประเทศ
3.การเพิ่มผลิตภาพของแรงาน กระบวนการปรับค่าตอบแทน ควบคู่กับการรักษาสิ่งแวดล้อม

นายทนง พิทยะ อดีต รมว.คลัง กล่าวว่า โครงการประชานิยมจะทำให้ประเทศติดกับดับของประเทศรายได้ปานกลาง เพราะประชานิยม คือการที่

รัฐบาลแจกเงินให้กับประชาชน เพื่อเพิ่มรายได้ โดยที่ไม่ต้องเพิ่มผลผลิต ทำให้ประชาชนคิดว่าไม่จำเป็นต้องหารายได้เพิ่มเติม เพราะหากไม่พอรัฐบาลจะจ่ายเงินให้

เพิ่ม
นายนณริฏ พิศาลยบุตร นักวิชาการ ทีดีอาร์ไอ กล่าวว่า การจะทำให้เศรษฐกิจไทยขยายตัวได้อย่างยั่งยืนภายใต้โมเดลใหม่ได้ ต้องเร่งแก้ไขใน 6

ด้าน คือ
1. การวิจัยและการพัฒนาของประเทศที่อยู่ในระดับต่ำ
2.การปฏิรูปการศึกษา ที่มีปัญหาคุณภาพและมีความเหลื่อมล้ำ
3. ต้องเพิ่มทักษะแรงงาน
4. การรับมือกับสังคมไทยที่อยู่ในช่วงสูงวัย ซึ่งจะทำให้เศรษฐกิจโตน้อยลง
5. การแก้ไขปัญหาระบบขนส่ง ที่ต้องเน้นเรื่องคุณภาพ ลดต้นทุน การเชื่อมต่อได้จริง
6. การปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจ
นายสมชัย จิตสุชน ผู้อำนวยการวิจัย สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) กล่าวว่า การบริหารเศรษฐกิจของรัฐบาลที่ผ่านมาสร้าง

ความเหลื่อมล้ำในสังคมเพิ่มมากขึ้น โดยเมื่อพิจารณาจากนโยบายภาคการคลัง จะพบว่ารัฐบาลมีการเก็บภาษีของคนมีรายได้น้อย มากกว่าคนที่มีรายได้สูง หรือคน

รวย นอกจากนี้ยังพบว่า รัฐบาลใช้เงินภาษีไปให้กับคนรวยมากกว่าคนจน
โครงการรับจำนำข้าวของรัฐบาล หากคิดว่ามีผลขาดทุนปีละ 1.5 แสนล้านบาท จากงานวิจัยของทีดีอาร์ไอพบว่า มีเงินเพียง 3 หมื่นล้านบาท

เท่านั้นที่ตกอยู่ในมือของชาวนาที่ยากจน ที่เหลืออีก 1.2 แสนล้านบาท ตกอยู่กับชาวนาที่มีฐานะดี ผู้ประกอบการโรงสี ผู้ส่งออกบางราย นักการเมือง ข้าราชการ และ

ชาวนาต่างประเทศ ทำให้ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจของไทยไม่ได้ลดลง
“เป็นเรื่องที่น่าละอายใจของประเทศไทย ที่การดำเนินนโยบายภาคการคลังของรัฐบาล นอกจากไม่สามารถลดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจได้แล้ว

ยังกลับพบว่าเพิ่มให้มีการเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจมากขึ้นอีกด้วย”นายสมชัย กล่าว
นายสมชัย กล่าวว่า ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจทำให้มีช่องว่างของคนด้อยโอกาสสูงขึ้น ทั้งในวัยเด็ก คนทำงาน และคนแก่ จำนวนมากที่ไม่ได้รับ

การดูแลเพียงพอจากรัฐบาล เช่น ในส่วนเด็กเล็ก พบว่ามีเด็กเพียง 1 ล้านคน จากทั้งหมด 5 ล้านคน ที่ได้รับเข้าศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ขณะที่คนทำงานส่วนใหญ่พบว่า

ไม่ได้อยู่ในระบบประกันสังคมถึง 70% ของแรงงานทั้งหมด แม้ว่าจะแรงงานนอกระบบเข้าสู่ระบบประกันสังคมได้ตาม มาตรา 40 แต่ก็ยังเป็นเพียงแรงงานนอก

ระบบส่วนน้อยเท่านั้น ส่วนคนชราก็พบว่ามีอีกจำนวนมาก ที่ไม่ได้รับการดูแลจากรัฐบาลยังเพียงพอ
ทั้งนี้ จากการประเมินของทีดีอาร์ไอ หากรัฐบาลจะจัดสวัสดิการให้กับกลุ่มทั้ง 3 กลุ่ม จะใช้เงิน 8.5 หมื่นล้านบาท ซึ่งหากรัฐบาลยกเลิก

โครงการจำนำข้าวเพียงอย่างเดียวก็สามารถนำเงินมาช่วยคนจนทั้งประเทศให้มีสวัสดิการได้อย่างเพียงพอ
กำลังโหลดความคิดเห็น