**นับถอยหลัง นัดหมาย 11.00 น.วันพุธที่ 20 พ.ย. ที่จะมีการอ่านคำวินิจฉัยคำร้องคดีแก้ไขรัฐธรรมนูญ เรื่องที่มาของสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) ก็ทำให้ทุกฝ่ายต่างโฟกัสไปที่ศาลรัฐธรรมนูญกันเป็นจุดเดียว ว่าผลคำวินิจฉัยของศาลรธน. จะออกมาในแนวทางไหน
ร่าง แก้ไขรธน. ที่ถูกขนามนามว่า จะทำให้สภาสูงกลับสู่ยุคสภาผัวเมีย สุดท้ายจะได้คลอดออกมามีผลบังคับใช้ หรือว่าจะต้องสะดุดหยุดลง เพราะศาลรธน.วินิจฉัยว่ากระบวนการทั้งหมดที่ทำมาก่อนหน้านี้ กลายเป็นโมฆะ เนื่องจากขัดรธน. มาตรา 68 ตามที่มีการยื่นคำร้องอันส่งผลให้ ร่าง แก้ไขรธน.ดังกล่าวแม้ผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภามาแล้ว แต่ก็ไม่มีผล
ผลคำวินิจฉัยของศาลรธน. เป็นเรื่องที่ยากจะคาดการณ์ได้ อีกทั้งก็เป็นความลับที่แม้แต่พวกตุลาการศาลรธน. ทั้งหมดก็ยังเดาใจตุลาการด้วยกันเองไม่ออกว่าจะลงมติออกมาแบบไหนจะมีความเห็นในทางคดีอย่างไร
ยิ่งกับคดีดังกล่าวที่ก็คล้ายคลึงกับตอนศาลรธน. วินิจฉัยคดีแก้ไขรธน. มาตรา 291 ก็เป็นเรื่องที่แนวทางการวินิจฉัยคดีของศาลรธน. สามารถออกได้หลายทางจะยกคำร้องก็เป็นไปได้ หรือจะบอกว่าขัดรธน. มาตรา 68 ก็มีโอกาสไม่น้อย
แต่จะถึงขั้นมีคำสั่งยุบพรรคการเมือง-ตัดสิทธิเลือกตั้ง 5 ปี พวกส.ส.พรรคร่วมรัฐบาล ที่อยู่ในกลุ่ม 312 คน ซึ่งเป็นกรรมการบริหารพรรค ที่อยู่ในสภาพผู้ถูกร้องด้วยหรือไม่ ก็ยากต่อการคาดเดาได้
แต่ส่วนใหญ่ก็ยังเชื่อว่าโอกาสจะไปถึงขั้นยุบพรรค-ตัดสิทธิเลือกตั้ง ยากมาก
สำหรับคดีแก้ไขรธน. เรื่องที่มาส.ว.ที่จะอ่านคำวินิจฉัยกัน วันที่ 20 พ.ย.นี้ ต้องยอมรับว่า มีรายละเอียดทั้งข้อเท็จจริง-ข้อกฎหมายที่สลับซับซ้อนชนิดใครไม่ได้ตามมาตลอด อาจมีสิทธิ์หลงประเด็น วิจารณ์กันผิดๆ ได้ง่าย ขนาดนักกฎหมายมหาชนหลายสำนัก-อดีตตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ-อดีตสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญปี 50 ที่ออกมาแสดงความเห็นกันมากมายตอนนี้ ก็ยังวิเคราะห์รูปคดีที่จะออกมาวันที่ 20 พ.ย.นี้ แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง
ผนวกกับการวินิจฉัยคดีของตุลาการแต่ละคน ก็ถือเป็นความลับสุดยอด ดังนั้นที่บางฝ่ายโดยเฉพาะ “เพื่อไทย-เสื้อแดง”ปล่อยข่าวดิสเครดิตว่า ศาลรธน.มีธงจะล้มการแก้ไขรธน. และต้องการยุบพรรคร่วมรัฐบาลในเวลานี้ เพื่อทำให้เกิดสภาพสุญญากาศการเมือง
**จึงเป็นแค่การตีปลาหน้าไซศาลรธน.ไว้ล่วงหน้า รวมถึงเพื่อสร้างกระแสความเกลียดชังศาลรธน. ในหมู่คนเสื้อแดง
เพื่อให้มาร่วมชุมนุมกันที่สนามรัชมังคลากีฬาสถาน ระหว่าง 19-20 พ.ย. ที่มีเป้าหมายหลักคือ เพื่อหวังกดดันศาลรธน. ตามแผนของพวกกลุ่มขบวนการดิสเครดิต และกดดันศาลรัฐธรรมนูญ ที่กำลังแยกย้ายกันทำหน้าที่ตอนนี้นั่นเอง
ดูอย่างหลายคนที่ก่อนหน้านี้เคยอยู่เงียบๆไม่มีข่าวความเคลื่อนไหวใดๆ จู่ๆ ก็ออกมาโผล่จ้องดิสเครดิตศาลรธน. กันพรึ่บพรั่บ
อย่างเช่นล่าสุด ที่อดีตสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) 9 คน อาทิ นายบุญเลิศ คชายุทธเดช อดีต ส.ส.ร.นนทบุรี พล.ต.อ.สวัสดิ์ อมรวิวัฒน์อดีตส.ส.ร.เชียงใหม่, นายประชุม ทองมีอดีต ส.ส.ร. นครปฐม, นายวรพนจ์ วงศ์สง่า อดีต ส.ส.ร.สกลนคร ,นายวุฒิพงษ์ ฉายแสง อดีต ส.ส.ร.ฉะเชิงเทรา
ซึ่งนายบุญเลิศ คนทำสื่อได้ออกมาเปิดเผยว่า อดีต ส.ส.ร.ทั้งหมดที่เป็นอดีต ส.ส.ร.ปี 2540 ได้มีการหารือกันถึงเรื่องที่ศาลรัฐธรรมนุญรับคำร้องคดีดังกล่าวไว้วินิจฉัย และจะอ่านคำวินิจฉัยกันวันที่ 20 พ.ย.นี้แล้ว ทั้งหมดเห็นตรงกันว่า การแก้ไขรธน.เรื่องที่มาส.ว.ดังกล่าว เป็นเรื่องที่ทำได้ตามอำนาจหน้าที่ของสมาชิกรัฐสภา ที่บัญญัติไว้ในรธน.ปี 50 มาตรา 291 ไม่ถือเป็นการล้มล้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หรือการใช้อำนาจการปกครองที่ไม่เป็นไปตามวิถีทางแห่งรัฐธรรมนูญ
พร้อมกับเผยว่าอดีต ส.ส.ร.ทั้ง 9 คน ดังกล่าวจึงได้ร่วมกันลงชื่อทำจดหมายเปิดผนึกถึงตุลาการศาลรธน.ทั้งหมด ขอให้ใคร่ครวญไตร่ตรองอย่างรอบคอบ อย่าวินิจฉัยในสิ่งที่ขัดต่อเจตนารมณ์แห่งบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ มาตรา 68 ที่ยกมาจากมาตรา 63 ของรธน.ปี 40 ที่ทั้ง 9 คน เคยเป็นส.ส.ร.ปี 40 มาก่อน เพื่อไม่ให้คำวินิจฉัยสร้างปัญหาวิกฤตให้กับบ้านเมือง จนกลายเป็นมิคสัญญี จากผลกระทบที่ตามมาจากคำวินิจฉัย
**ยังเรียกร้องให้ตุลาการศาลรธน.3 คน คือ จรัญ ภักดีธนากุล สุพจน์ ไข่มุกด์ นุรักษ์ มาประณีต ถอนตัวออกจากการวินิจฉัยครั้งนี้ เนื่องจากมีส่วนได้เสียกับการพิจารณาวินิจฉัยแก้ไขรัฐธรรมนูญในมาตราดังกล่าว เนื่องจากเคยเป็นกรรมาธิการ ยกร่าง รัฐธรรมนูญ และ ส.ส.ร.ปี 50 รวมถึง นายทวีเกียรติ มีนะกนิษฐ์ ที่เพิ่งได้รับการแต่งตั้งเป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ จึงไม่ได้ร่วมพิจารณาคำร้องในประเด็นนี้ตั้งแต่ต้น จึงควรถอนตัวจากการเข้าร่วมวินิจฉัย
ถามว่าทั้ง 9 คนดังกล่าว มีสิทธิ์ออกมาแสดงความเห็นหรือไม่ ก็ตอบว่าทำได้ เพราะเรื่องแบบนี้ไม่ต้องให้มีหมวก อดีต ส.ส.ร.ปี 40 มาเพิ่มน้ำหนักให้ตัวเอง แต่ประชาชนคนไหนก็สามารถแสดงความเห็นกันได้
เพียงแต่ว่าในบางมุม อดีต ส.ส.ร.ที่มาร่วมหารือ และทำจดหมายเปิดผนึกดังกล่าวตามที่เป็นข่าว และนายบุญเลิศ กล่าวอ้าง ก็ต้องถามกลับไปว่ามีความชอบธรรมหรือไม่ เพราะเห็นได้ชัดว่า ในบรรดา อดีต ส.ส.ร.ทั้ง 9 คน ดังกล่าว กาชื่อไว้ล่วงหน้าได้เลยว่า หากร่างแก้ไขรธน.ดังกล่าวที่จะให้มีการเลือกตั้งส.ว.ทั่วประเทศ 200 คน อันทำให้จำนวน ส.ว.ในแต่ละจังหวัดมีมากขึ้น ไม่ใช่แค่จังหวัดละ 1 คน อย่างจังหวัดนนทบุรี ก็คงมี ส.ว.ได้หลายคน หรือจังหวัดอื่น ๆ ที่อดีต ส.ส.ร. ปี 40 เหล่านี้มีภูมิลำเนาอยู่
**ดูแล้วพวกนี้ น่าจะต้องลงสมัครส.ว. ที่จะมีขึ้นในเดือนมีนาคมนี้แน่นอน คนเหล่านี้จึงออกมาเพื่ออะไร สิ่งนี้ใช่หรือไม่ เพราะอยากจะลงสมัคร ส.ว.ปีหน้า ที่รธน.ฉบับแก้ไขเปิดพื้นที่ให้ มีโอกาสมากขึ้นกว่า รธน.ปี 50 ที่แต่ละจังหวัดมี ส.ว.ได้แค่คนเดียว
อีกทั้งบางคนก็เห็นได้ชัดว่า มีส่วนได้ส่วนเสียทางการเมืองเองด้วยที่เห็นๆ กันเลยก็คือ วุฒิพงษ์ ฉายแสง อดีต ส.ส.สอบตก ฉะเชิงเทรา น้องชายจาตุรนต์ ฉายแสง รมว.ศึกษาธิการ และแกนนำพรรคเพื่อไทย หรือ พล.ต.อ.สวัสดิ์ อมรวิวัฒน์ ก็มีหลานชายคือ จุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ และหลานสะใภ้ วิสาระดี เตชะธีราวัฒน์ เป็น ส.ส.พรรคเพื่อไทยอยู่ ส่วน วิสาร เตชะธีราวัฒน์ รมช.มหาดไทย ก็เกี่ยวดองเป็นเครือญาติกันกับ พล.ต.อ.สวัสดิ์
ดังนั้น ที่บุญเลิศ สื่ออาวุโสบอกว่า 3 ตุลาการศาลรธน. “จรัญ-สุพจน์-นุรักษ์”มีส่วนได้ส่วนเสีย ควรถอนตัวจากการพิจารณาคำร้องคดีนี้ จึงฟังไม่ค่อยขึ้นเท่าไหร่ เพราะฝั่งอดีต ส.ส.ร.ทั้ง 9 คน ดังกล่าวก็มีผลประโยชน์ทับซ้อนเช่นกัน น้ำหนักของอดีต ส.ส.ร.ทั้ง 9 คน ที่เคลื่อนไหวเรื่องนี้ จึงเบาหวิว
ในประเด็นเรื่อง จรัญ-นุรักษ์-สุพจน์ ควรถอนตัวเพราะเป็นอดีต กมธ.ยกร่าง รธน.ปี 50 ประเด็นนี้ก็เคยมีการเคลื่อนไหวกันมาแล้ว ตอนช่วงศาลรธน. วินิจฉัยคำร้องคดีแก้ไข มาตรา 291 จนกระทั่งมีการนำเรื่องไปถกในที่ประชุมตุลาการศาลรัฐธรรมนูญหลายรอบ โดยทั้ง 3 คน ก็เคยขอถอนตัวแต่ที่ประชุมก็มีมติไม่ให้ถอนตัว ดังนั้นที่มีบางกลุ่มออกมาเคลื่อนไหวช่วงนี้ จะมาขอให้ถอนตัวช่วงนี้ออกไปถึง 3 คน จึงช้าเกินไปแล้ว
**ขนาดศาลรธน. ยังไม่มีคำวินิจฉัยออกมา แนวต้าน ก็เริ่มขยับกันแล้ว แล้วหากศาลมีคำวินิจฉัยออกมาทำให้ฝ่ายเพื่อไทย-พรรคร่วมรัฐบาล-ส.ว.เลือกตั้งต้องดิ้นกันพราดๆ มีหวัง กลุ่มจ้องขย้ำศาลรธน. คงออกมาอีกเพียบ
ร่าง แก้ไขรธน. ที่ถูกขนามนามว่า จะทำให้สภาสูงกลับสู่ยุคสภาผัวเมีย สุดท้ายจะได้คลอดออกมามีผลบังคับใช้ หรือว่าจะต้องสะดุดหยุดลง เพราะศาลรธน.วินิจฉัยว่ากระบวนการทั้งหมดที่ทำมาก่อนหน้านี้ กลายเป็นโมฆะ เนื่องจากขัดรธน. มาตรา 68 ตามที่มีการยื่นคำร้องอันส่งผลให้ ร่าง แก้ไขรธน.ดังกล่าวแม้ผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภามาแล้ว แต่ก็ไม่มีผล
ผลคำวินิจฉัยของศาลรธน. เป็นเรื่องที่ยากจะคาดการณ์ได้ อีกทั้งก็เป็นความลับที่แม้แต่พวกตุลาการศาลรธน. ทั้งหมดก็ยังเดาใจตุลาการด้วยกันเองไม่ออกว่าจะลงมติออกมาแบบไหนจะมีความเห็นในทางคดีอย่างไร
ยิ่งกับคดีดังกล่าวที่ก็คล้ายคลึงกับตอนศาลรธน. วินิจฉัยคดีแก้ไขรธน. มาตรา 291 ก็เป็นเรื่องที่แนวทางการวินิจฉัยคดีของศาลรธน. สามารถออกได้หลายทางจะยกคำร้องก็เป็นไปได้ หรือจะบอกว่าขัดรธน. มาตรา 68 ก็มีโอกาสไม่น้อย
แต่จะถึงขั้นมีคำสั่งยุบพรรคการเมือง-ตัดสิทธิเลือกตั้ง 5 ปี พวกส.ส.พรรคร่วมรัฐบาล ที่อยู่ในกลุ่ม 312 คน ซึ่งเป็นกรรมการบริหารพรรค ที่อยู่ในสภาพผู้ถูกร้องด้วยหรือไม่ ก็ยากต่อการคาดเดาได้
แต่ส่วนใหญ่ก็ยังเชื่อว่าโอกาสจะไปถึงขั้นยุบพรรค-ตัดสิทธิเลือกตั้ง ยากมาก
สำหรับคดีแก้ไขรธน. เรื่องที่มาส.ว.ที่จะอ่านคำวินิจฉัยกัน วันที่ 20 พ.ย.นี้ ต้องยอมรับว่า มีรายละเอียดทั้งข้อเท็จจริง-ข้อกฎหมายที่สลับซับซ้อนชนิดใครไม่ได้ตามมาตลอด อาจมีสิทธิ์หลงประเด็น วิจารณ์กันผิดๆ ได้ง่าย ขนาดนักกฎหมายมหาชนหลายสำนัก-อดีตตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ-อดีตสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญปี 50 ที่ออกมาแสดงความเห็นกันมากมายตอนนี้ ก็ยังวิเคราะห์รูปคดีที่จะออกมาวันที่ 20 พ.ย.นี้ แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง
ผนวกกับการวินิจฉัยคดีของตุลาการแต่ละคน ก็ถือเป็นความลับสุดยอด ดังนั้นที่บางฝ่ายโดยเฉพาะ “เพื่อไทย-เสื้อแดง”ปล่อยข่าวดิสเครดิตว่า ศาลรธน.มีธงจะล้มการแก้ไขรธน. และต้องการยุบพรรคร่วมรัฐบาลในเวลานี้ เพื่อทำให้เกิดสภาพสุญญากาศการเมือง
**จึงเป็นแค่การตีปลาหน้าไซศาลรธน.ไว้ล่วงหน้า รวมถึงเพื่อสร้างกระแสความเกลียดชังศาลรธน. ในหมู่คนเสื้อแดง
เพื่อให้มาร่วมชุมนุมกันที่สนามรัชมังคลากีฬาสถาน ระหว่าง 19-20 พ.ย. ที่มีเป้าหมายหลักคือ เพื่อหวังกดดันศาลรธน. ตามแผนของพวกกลุ่มขบวนการดิสเครดิต และกดดันศาลรัฐธรรมนูญ ที่กำลังแยกย้ายกันทำหน้าที่ตอนนี้นั่นเอง
ดูอย่างหลายคนที่ก่อนหน้านี้เคยอยู่เงียบๆไม่มีข่าวความเคลื่อนไหวใดๆ จู่ๆ ก็ออกมาโผล่จ้องดิสเครดิตศาลรธน. กันพรึ่บพรั่บ
อย่างเช่นล่าสุด ที่อดีตสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) 9 คน อาทิ นายบุญเลิศ คชายุทธเดช อดีต ส.ส.ร.นนทบุรี พล.ต.อ.สวัสดิ์ อมรวิวัฒน์อดีตส.ส.ร.เชียงใหม่, นายประชุม ทองมีอดีต ส.ส.ร. นครปฐม, นายวรพนจ์ วงศ์สง่า อดีต ส.ส.ร.สกลนคร ,นายวุฒิพงษ์ ฉายแสง อดีต ส.ส.ร.ฉะเชิงเทรา
ซึ่งนายบุญเลิศ คนทำสื่อได้ออกมาเปิดเผยว่า อดีต ส.ส.ร.ทั้งหมดที่เป็นอดีต ส.ส.ร.ปี 2540 ได้มีการหารือกันถึงเรื่องที่ศาลรัฐธรรมนุญรับคำร้องคดีดังกล่าวไว้วินิจฉัย และจะอ่านคำวินิจฉัยกันวันที่ 20 พ.ย.นี้แล้ว ทั้งหมดเห็นตรงกันว่า การแก้ไขรธน.เรื่องที่มาส.ว.ดังกล่าว เป็นเรื่องที่ทำได้ตามอำนาจหน้าที่ของสมาชิกรัฐสภา ที่บัญญัติไว้ในรธน.ปี 50 มาตรา 291 ไม่ถือเป็นการล้มล้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หรือการใช้อำนาจการปกครองที่ไม่เป็นไปตามวิถีทางแห่งรัฐธรรมนูญ
พร้อมกับเผยว่าอดีต ส.ส.ร.ทั้ง 9 คน ดังกล่าวจึงได้ร่วมกันลงชื่อทำจดหมายเปิดผนึกถึงตุลาการศาลรธน.ทั้งหมด ขอให้ใคร่ครวญไตร่ตรองอย่างรอบคอบ อย่าวินิจฉัยในสิ่งที่ขัดต่อเจตนารมณ์แห่งบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ มาตรา 68 ที่ยกมาจากมาตรา 63 ของรธน.ปี 40 ที่ทั้ง 9 คน เคยเป็นส.ส.ร.ปี 40 มาก่อน เพื่อไม่ให้คำวินิจฉัยสร้างปัญหาวิกฤตให้กับบ้านเมือง จนกลายเป็นมิคสัญญี จากผลกระทบที่ตามมาจากคำวินิจฉัย
**ยังเรียกร้องให้ตุลาการศาลรธน.3 คน คือ จรัญ ภักดีธนากุล สุพจน์ ไข่มุกด์ นุรักษ์ มาประณีต ถอนตัวออกจากการวินิจฉัยครั้งนี้ เนื่องจากมีส่วนได้เสียกับการพิจารณาวินิจฉัยแก้ไขรัฐธรรมนูญในมาตราดังกล่าว เนื่องจากเคยเป็นกรรมาธิการ ยกร่าง รัฐธรรมนูญ และ ส.ส.ร.ปี 50 รวมถึง นายทวีเกียรติ มีนะกนิษฐ์ ที่เพิ่งได้รับการแต่งตั้งเป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ จึงไม่ได้ร่วมพิจารณาคำร้องในประเด็นนี้ตั้งแต่ต้น จึงควรถอนตัวจากการเข้าร่วมวินิจฉัย
ถามว่าทั้ง 9 คนดังกล่าว มีสิทธิ์ออกมาแสดงความเห็นหรือไม่ ก็ตอบว่าทำได้ เพราะเรื่องแบบนี้ไม่ต้องให้มีหมวก อดีต ส.ส.ร.ปี 40 มาเพิ่มน้ำหนักให้ตัวเอง แต่ประชาชนคนไหนก็สามารถแสดงความเห็นกันได้
เพียงแต่ว่าในบางมุม อดีต ส.ส.ร.ที่มาร่วมหารือ และทำจดหมายเปิดผนึกดังกล่าวตามที่เป็นข่าว และนายบุญเลิศ กล่าวอ้าง ก็ต้องถามกลับไปว่ามีความชอบธรรมหรือไม่ เพราะเห็นได้ชัดว่า ในบรรดา อดีต ส.ส.ร.ทั้ง 9 คน ดังกล่าว กาชื่อไว้ล่วงหน้าได้เลยว่า หากร่างแก้ไขรธน.ดังกล่าวที่จะให้มีการเลือกตั้งส.ว.ทั่วประเทศ 200 คน อันทำให้จำนวน ส.ว.ในแต่ละจังหวัดมีมากขึ้น ไม่ใช่แค่จังหวัดละ 1 คน อย่างจังหวัดนนทบุรี ก็คงมี ส.ว.ได้หลายคน หรือจังหวัดอื่น ๆ ที่อดีต ส.ส.ร. ปี 40 เหล่านี้มีภูมิลำเนาอยู่
**ดูแล้วพวกนี้ น่าจะต้องลงสมัครส.ว. ที่จะมีขึ้นในเดือนมีนาคมนี้แน่นอน คนเหล่านี้จึงออกมาเพื่ออะไร สิ่งนี้ใช่หรือไม่ เพราะอยากจะลงสมัคร ส.ว.ปีหน้า ที่รธน.ฉบับแก้ไขเปิดพื้นที่ให้ มีโอกาสมากขึ้นกว่า รธน.ปี 50 ที่แต่ละจังหวัดมี ส.ว.ได้แค่คนเดียว
อีกทั้งบางคนก็เห็นได้ชัดว่า มีส่วนได้ส่วนเสียทางการเมืองเองด้วยที่เห็นๆ กันเลยก็คือ วุฒิพงษ์ ฉายแสง อดีต ส.ส.สอบตก ฉะเชิงเทรา น้องชายจาตุรนต์ ฉายแสง รมว.ศึกษาธิการ และแกนนำพรรคเพื่อไทย หรือ พล.ต.อ.สวัสดิ์ อมรวิวัฒน์ ก็มีหลานชายคือ จุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ และหลานสะใภ้ วิสาระดี เตชะธีราวัฒน์ เป็น ส.ส.พรรคเพื่อไทยอยู่ ส่วน วิสาร เตชะธีราวัฒน์ รมช.มหาดไทย ก็เกี่ยวดองเป็นเครือญาติกันกับ พล.ต.อ.สวัสดิ์
ดังนั้น ที่บุญเลิศ สื่ออาวุโสบอกว่า 3 ตุลาการศาลรธน. “จรัญ-สุพจน์-นุรักษ์”มีส่วนได้ส่วนเสีย ควรถอนตัวจากการพิจารณาคำร้องคดีนี้ จึงฟังไม่ค่อยขึ้นเท่าไหร่ เพราะฝั่งอดีต ส.ส.ร.ทั้ง 9 คน ดังกล่าวก็มีผลประโยชน์ทับซ้อนเช่นกัน น้ำหนักของอดีต ส.ส.ร.ทั้ง 9 คน ที่เคลื่อนไหวเรื่องนี้ จึงเบาหวิว
ในประเด็นเรื่อง จรัญ-นุรักษ์-สุพจน์ ควรถอนตัวเพราะเป็นอดีต กมธ.ยกร่าง รธน.ปี 50 ประเด็นนี้ก็เคยมีการเคลื่อนไหวกันมาแล้ว ตอนช่วงศาลรธน. วินิจฉัยคำร้องคดีแก้ไข มาตรา 291 จนกระทั่งมีการนำเรื่องไปถกในที่ประชุมตุลาการศาลรัฐธรรมนูญหลายรอบ โดยทั้ง 3 คน ก็เคยขอถอนตัวแต่ที่ประชุมก็มีมติไม่ให้ถอนตัว ดังนั้นที่มีบางกลุ่มออกมาเคลื่อนไหวช่วงนี้ จะมาขอให้ถอนตัวช่วงนี้ออกไปถึง 3 คน จึงช้าเกินไปแล้ว
**ขนาดศาลรธน. ยังไม่มีคำวินิจฉัยออกมา แนวต้าน ก็เริ่มขยับกันแล้ว แล้วหากศาลมีคำวินิจฉัยออกมาทำให้ฝ่ายเพื่อไทย-พรรคร่วมรัฐบาล-ส.ว.เลือกตั้งต้องดิ้นกันพราดๆ มีหวัง กลุ่มจ้องขย้ำศาลรธน. คงออกมาอีกเพียบ