วานนี้ (17 พ.ย.) นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ ประธานวิปฝ่ายค้าน กล่าวหลังการประชุมร่วมกับแกนนำพรรคประชาธิปัตย์ เกี่ยวกับญัตติการอภิปรายไม่ไว้วางใจ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และ นายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ รมว.มหาดไทย ที่นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานสภาผู้แทนราษฎร ยังไม่ยอมบรรจุญัตติดังกล่าวในวาระการประชุม โดยอ้างว่าไม่สมบูรณ์นั้น ขอยืนยันว่าการยื่นญัตติดังกล่าว เป็นไปตามที่เคยปฏิบัติในอดีต คือ ถูกต้องสมบูรณ์ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 158 มี ส.ส.ไม่น้อยกว่าหนึ่งในห้าของสภามีสิทธิเข้าชื่อเสนอญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรี และเสนอชื่อบุคคลที่สมควรเป็นนายกรัฐมนตรีคนต่อไปด้วย และเมื่อเสนอแล้วจะยุบสภาไม่ได้ เว้นแต่จะมีการถอนญัตติ หรือญัตติดังกล่าวมีคะแนนเสียงไม่ไว้วางใจ ไม่เกินกึ่งหนึ่ง
ทั้งนี้ ทางพรรคยังได้ดำเนินการยื่นถอดถอนนายกรัฐมนตรี ต่อประธานวุฒิสภาก่อนแล้ว ตามเงื่อนไขของรัฐธรรมนูญ มาตรา 271 โดยมี นายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย รองประธานวุฒิสภา มารับคำร้อง ดังนั้นการยื่นญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจของฝ่ายค้าน จึงเป็นเรื่องที่สมบูรณ์แล้วตามรัฐธรรมนูญ เพราะการยื่นญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจ มีเรื่องของการทุจริตรวมอยู่ด้วย จากนั้นจึงมายื่นญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจต่อประธานสภา
นอกจากนี้ กรณีที่ประธานสภาฯ จะขอสำเนาการยื่นถอดถอนที่ฝ่ายค้านยื่นต่อประธานวุฒิสภานั้น ดำเนินการไม่ได้ เพราะเป็นเอกสารลับ และเอกสารดังกล่าว เมื่อประธานวุฒิสภาตรวจสอบความถูกต้องของรายชื่อ ก็ไม่มีหน้าที่ส่งให้ประธานสภา หรือนายกฯ แต่ต้องส่งให้ป.ป.ช. เพื่อดำเนินการไต่สวนต่อไปเท่านั้น การที่ประธานสภาจะมาขอเอกสารลับดังกล่าว ตนเชื่อว่าเป็นควาพยายามตีรวนของประธานสภา และรัฐบาลที่ต้องการเอาข้อสอบไปบอกนายกฯ เหมือนบังคับดูข้อสอบดื้อๆ ซึ่งที่ผ่านมาไม่เคยมีการแนบสำเนาข้อกล่าวหาตามที่ประธานสภาต้องการ มีแต่หลักฐานว่า ยื่นต่อประธานวุฒิสภาแล้วเท่านั้น เช่น เมื่อวันที่ 9 พ.ย. 2555 ประธานสภาคนเดียวกันคือ นายสมศักดิ์ และน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร คือนายกรัฐมนตรี ที่ถูกอภิปรายไม่ไว้วางใจ โดยมีการกล่าวหาว่า กระทำทุจริตผิดกฎหมาย โดยแนบแค่หลักฐานการยื่นคำร้องต่อประธานวุฒิสภา ขอให้ถอดถอนนายกรัฐมนตรีออกจากตำแหน่งแต่เพียงอย่างเดียว ไม่แตกต่างอะไรกับการยื่นญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจ เมื่อวันที่ 15 พ.ย.ที่ผ่านมา นอกจากนี้ ยังมีพฤติกรรมกำหนดกรอบเวลาไม่ให้อภิปรายเกิน 2 วัน เป็นความพยายามสกัดการทำหน้าที่ของฝ่ายค้านทุกวิถีทาง เริ่มจากสกัดญัตติ จนถึงการสกัดในเรื่องเวลา ตนยืนยันว่า ฝ่ายค้านควรได้เวลาไม่ต่ำกว่า 3 วัน ในการอภิปรายไม่ไว้วางใจครั้งนี้
นายจุรินทร์ กล่าวว่า ในวันที่ 18 พ.ย.นี้ นายสมศักดิ์ ระบุว่า จะมีคำตอบให้ว่า จะบรรจุญัตติการอภิปรายไม่ไว้วางใจในวาระของสภาหรือไม่ ก็จะรอในวันนั้น และย้ำว่า ตามรัฐธรรมนูญระบุใน มาตรา 158 ว่า เมื่อได้มีการเสนอญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกฯ แล้ว จะมีการยุบสภาไม่ได้ เว้นแต่จะมีการถอนญัตติ หรือลงมติญัตตินั้นไปแล้ว ดังนั้นประเด็นคือ วันศุกร์ที่ตน และคณะไปยื่นเสนอญัตติต่อประธานสภา และลงรับถูกต้องตามระบบราชการ เวลา 16.30 น. นั้น ถือว่าได้เสนอญัตติแล้ว เพราะฉะนั้นในระหว่างนี้ นายกฯจะประกาศยุบสภาไม่ได้
อย่างไรก็ตาม ไม่ทราบว่ามีความต้องการที่จะยุบสภาหนีการอภิปรายไม่ไว้วางใจหรือไม่ และหากมีการยุบสภาในช่วงเวลานี้ ก็เท่ากับเป็นการกระทำที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ
“ยอมรับว่ามีความเป็นห่วงว่า ข้อมูลเกี่ยวกับการยื่นถอดถอนที่เป็นความลับอาจรั่วไปถึงรัฐบาลเหมือนที่เคยเกิดขึ้นในปีที่แล้ว แต่เที่ยวนี้ได้ตีตราเป็นเอกสารลับที่สุดชัดเจน และย้ำกับรองประธานวุฒิสภาว่า ไม่มีหน้าที่ส่งเอกสารให้ประธานสภา หรือรัฐบาล ใครทำข้อสอบรั่ว ต้องรับผิดชอบ โดยในปีที่แล้วก็มีการตั้งคณะกรรมการขึ้นมาตรวจสอบข้อเท็จจริง หลังมีการนำข้อมูลถอดถอนไปให้รัฐบาล แม้ว่าจะยังไม่ได้ข้อสรุป แต่ประธานวุฒิสภา ก็ต้องรับผิดชอบ และยืนยันว่า การอภิปรายไม่ไว้วางใจพรรค จะทำหน้าที่ตรวจสอบอย่างดีที่สุดแทนประชาชน ส่วนจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองได้หรือไม่นั้น เป็นอีกประเด็นหนึ่ง โดยจะมีผู้อภิปรายที่ต้องใช้เวลาไม่น้อยกว่า 3 วัน และยังไม่มีพรรคการเมืองอื่นร่วมยื่นญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจครั้งนี้ นอกจากพรรคประชาธิปัตย์ เพียงพรรคเดียว”
น.ส.มัลลิกา บุญมีตระกูล รองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณีที่ฝ่ายรัฐบาลตำหนิพรรคประชาธิปัตย์ ที่เสนอชื่อ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกรัฐมนตรี ว่า สะท้อนถึงความไม่รู้เรื่องกฎหมายรัฐธรรมนูญ แต่สะเหร่อ ออกมาพูด เพราะการยื่นญัตติของพรรค เป็นไปตามรัฐธรรมนูญที่ระบุว่า ต้องเสนอชื่อนายกรัฐมนตรี แทน นายกฯที่ถูกอภิปรายด้วย การพูดของคนในพรรคเพื่อไทย จึงเป็นการพูดที่ไม่รู้ข้อกฎหมาย อีกทั้งพรรคประชาธิปัตย์ ไม่เหมือนพรรคเพื่อไทย ที่หัวหน้าพรรคไม่ใช่นายกฯ แต่พรรคประชาธิปัตย์ ชัดเจนว่า คนเป็นหัวหน้าพรรค คือคนที่จะเป็นนายกรัฐมนตรี ไม่ใช่ว่าให้ลอยตัวอยู่เหนือปัญหาโดยไม่ต้องรับผิดชอบอะไร จึงขอให้เลิกใส่ร้าย และเลิกความพยายามที่จะไม่บรรจุญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจของพรรคประชาธิปัตย์ได้แล้ว
** เพื่อไทยจี้ เปิดคำร้องถอดถอน"ปู"
ด้านน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม กล่าวถึงกรณีที่ฝ่ายค้านยื่นอภิปรายไม่ไว้วางใจ พร้อมถอดถอนจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ว่า นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานสภาผู้แทนราษฎร ยังไม่มีการติดต่อประสานงานมา คาดว่ายังอยู่ในขั้นตอนของสภาฯ คงต้องรอฟังรายละเอียดทั้งหมดก่อน เพราะตนยังไม่เห็นรายละเอียดในญัตติดังกล่าวเลย ทราบแต่ว่า มีหัวข้อการอภิปรายไม่ไว้วางใจ ซึ่งตามหลักแล้วผู้ที่จะถูกอภิปรายไม่ไว้วางใจ จะต้องได้รับข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้องก่อน
นายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทย กล่าวว่า ในวันอังคารที่ 19 พ.ย. นี้ พรรคจะเรียกประชุมส.ส. เพื่อหารือในประเด็นที่ฝ่ายค้านได้ยื่นอภิปรายไม่ไว้วางใจ นายกรัฐมนตรี และ 2 รัฐมนตรี ซึ่งเรื่องนี้พรรคจะหารือเตรียมความพร้อมในอภิปรายไม่ไว้วาง และยืนยันว่าไม่มีการตั้งองครักษ์แน่นอน มั่นใจว่านายกฯ และรัฐมนตรี ชี้แจงได้ไม่มีปัญหาใดๆ พร้อมตอบคำถาม แต่ยังมีความกังวลที่ฝ่ายค้านยื่นญัตติ แต่ไม่นำคำร้องยื่นถอดถอนญัตติประกอบ ส่งแค่สำเนาคำร้องวุฒิสภาเท่านั้น ซึ่งตนมองว่า เป็นการใช้เล่ห์เหลี่ยมทางการเมือง เพราะปกติการยื่นที่มีประเด็นทุจริต ผิดกฎหมาย ต้องมีคำร้องถอดถอนพร้อมเอกสารหลักฐานประกอบมาด้วย หากไม่มีคำร้องถอดถอน จะทำให้ประธานสภาฯไม่สามารถควบคุมการอภิปรายให้อยู่ในประเด็นที่ยื่นถอนถอดได้ การที่ประธานสภายังไม่บรรจุญัตติ จึงเป็นสิ่งที่ถูกต้องแล้ว
ทั้งนี้ตนขอเรียกร้อง นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ ประธานวิปฝ่ายค้าน ควรเลิกเล่นเกมทางการเมือง ควรนำญัตติการถอดถอนส่งให้ประธานสภา ทำให้ถูกต้อง และที่ห่วงว่าประธานสภาเล่นเกมการเมืองโดยนายกฯ สั่งให้ เตะถ่วง ก็ไม่เป็นความจริง เป็นการโยนบาปให้นายกฯ และประธานสภาฯ
ส่วนที่ฝ่ายค้านขู่ว่า นายกฯ และรัฐมนตรี จะตายคาสภานั้น ตนและทีมงานวิเคราะห์แล้ว ฝ่ายค้านอภิปรายครั้งนี้ไม่มีอะไรใหม่ เพราะหากมีหลักฐานเด็ดที่จะเป็นจุดตายในสภาจริง 1. คงไม่มีม็อบนายสุเทพ 2. ต้องยื่นมาก่อนหน้านี้ ไม่ใช่มายื่นก่อนปิดสมัยประชุม 3. เมื่อดูเนื้อหาแล้ว เป็นเรื่องวาทกรรมล้วนๆ ซึ่งอาจจะมีกระดาษแผ่นเดียวเหมือน สมัยนายกฯ บรรหาร อย่างไรก็ตาม ระวังจะโดนสวนกลับ ไม่รู้ใครจะหามศพใคร เพราะมีเรื่องทุจริตของรัฐบาลอภิสิทธิ์ ในอดีตที่ถูกร้องไว้หลายเรื่อง ที่วันนี้นายอภิสิทธิ์ และพรรคประชาธิปัตย์ แกล้งลืม
“เมื่อดูญัตติแล้ว สิ่งที่นายอภิสิทธิ์ และพรรคประชาธิปัตย์ ใช้คำเสียดสี มุ่งเป้าไปนายกฯ เป็นหลัก ใช้คำดิบ เถื่อน ถ่อย ไม่เหมาะสม เสพติดความรุนแรง อคติ แฝงด้วยความอิจฉา ริษยา เมื่อเทียบกับลำยอง ลำยองยังอาย ตกต่ำ ปกติส.ส.จะไม่ทำอย่างนี้”นายพร้อมพงศ์ กล่าว
นายพร้อมพงศ์ กล่าวด้วยว่า ช่วงเทศกาลลอยกระทง ตนจะนำกระทงไปลอยที่แม่น้ำเจ้าพระยา โดยบนกระทง มีภาพนายสุเทพ เทือกสุบรรณ นายอภิสิทธิ์ และ มีคำว่า อคติ ไปลอยด้วย เพื่อให้สังคมไทยได้ผ่านพ้นคำว่า อคติ ริษยา ให้หมดไป ให้บ้านเมืองสดใสอีกครั้งหนึ่ง
ทั้งนี้ ทางพรรคยังได้ดำเนินการยื่นถอดถอนนายกรัฐมนตรี ต่อประธานวุฒิสภาก่อนแล้ว ตามเงื่อนไขของรัฐธรรมนูญ มาตรา 271 โดยมี นายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย รองประธานวุฒิสภา มารับคำร้อง ดังนั้นการยื่นญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจของฝ่ายค้าน จึงเป็นเรื่องที่สมบูรณ์แล้วตามรัฐธรรมนูญ เพราะการยื่นญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจ มีเรื่องของการทุจริตรวมอยู่ด้วย จากนั้นจึงมายื่นญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจต่อประธานสภา
นอกจากนี้ กรณีที่ประธานสภาฯ จะขอสำเนาการยื่นถอดถอนที่ฝ่ายค้านยื่นต่อประธานวุฒิสภานั้น ดำเนินการไม่ได้ เพราะเป็นเอกสารลับ และเอกสารดังกล่าว เมื่อประธานวุฒิสภาตรวจสอบความถูกต้องของรายชื่อ ก็ไม่มีหน้าที่ส่งให้ประธานสภา หรือนายกฯ แต่ต้องส่งให้ป.ป.ช. เพื่อดำเนินการไต่สวนต่อไปเท่านั้น การที่ประธานสภาจะมาขอเอกสารลับดังกล่าว ตนเชื่อว่าเป็นควาพยายามตีรวนของประธานสภา และรัฐบาลที่ต้องการเอาข้อสอบไปบอกนายกฯ เหมือนบังคับดูข้อสอบดื้อๆ ซึ่งที่ผ่านมาไม่เคยมีการแนบสำเนาข้อกล่าวหาตามที่ประธานสภาต้องการ มีแต่หลักฐานว่า ยื่นต่อประธานวุฒิสภาแล้วเท่านั้น เช่น เมื่อวันที่ 9 พ.ย. 2555 ประธานสภาคนเดียวกันคือ นายสมศักดิ์ และน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร คือนายกรัฐมนตรี ที่ถูกอภิปรายไม่ไว้วางใจ โดยมีการกล่าวหาว่า กระทำทุจริตผิดกฎหมาย โดยแนบแค่หลักฐานการยื่นคำร้องต่อประธานวุฒิสภา ขอให้ถอดถอนนายกรัฐมนตรีออกจากตำแหน่งแต่เพียงอย่างเดียว ไม่แตกต่างอะไรกับการยื่นญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจ เมื่อวันที่ 15 พ.ย.ที่ผ่านมา นอกจากนี้ ยังมีพฤติกรรมกำหนดกรอบเวลาไม่ให้อภิปรายเกิน 2 วัน เป็นความพยายามสกัดการทำหน้าที่ของฝ่ายค้านทุกวิถีทาง เริ่มจากสกัดญัตติ จนถึงการสกัดในเรื่องเวลา ตนยืนยันว่า ฝ่ายค้านควรได้เวลาไม่ต่ำกว่า 3 วัน ในการอภิปรายไม่ไว้วางใจครั้งนี้
นายจุรินทร์ กล่าวว่า ในวันที่ 18 พ.ย.นี้ นายสมศักดิ์ ระบุว่า จะมีคำตอบให้ว่า จะบรรจุญัตติการอภิปรายไม่ไว้วางใจในวาระของสภาหรือไม่ ก็จะรอในวันนั้น และย้ำว่า ตามรัฐธรรมนูญระบุใน มาตรา 158 ว่า เมื่อได้มีการเสนอญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกฯ แล้ว จะมีการยุบสภาไม่ได้ เว้นแต่จะมีการถอนญัตติ หรือลงมติญัตตินั้นไปแล้ว ดังนั้นประเด็นคือ วันศุกร์ที่ตน และคณะไปยื่นเสนอญัตติต่อประธานสภา และลงรับถูกต้องตามระบบราชการ เวลา 16.30 น. นั้น ถือว่าได้เสนอญัตติแล้ว เพราะฉะนั้นในระหว่างนี้ นายกฯจะประกาศยุบสภาไม่ได้
อย่างไรก็ตาม ไม่ทราบว่ามีความต้องการที่จะยุบสภาหนีการอภิปรายไม่ไว้วางใจหรือไม่ และหากมีการยุบสภาในช่วงเวลานี้ ก็เท่ากับเป็นการกระทำที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ
“ยอมรับว่ามีความเป็นห่วงว่า ข้อมูลเกี่ยวกับการยื่นถอดถอนที่เป็นความลับอาจรั่วไปถึงรัฐบาลเหมือนที่เคยเกิดขึ้นในปีที่แล้ว แต่เที่ยวนี้ได้ตีตราเป็นเอกสารลับที่สุดชัดเจน และย้ำกับรองประธานวุฒิสภาว่า ไม่มีหน้าที่ส่งเอกสารให้ประธานสภา หรือรัฐบาล ใครทำข้อสอบรั่ว ต้องรับผิดชอบ โดยในปีที่แล้วก็มีการตั้งคณะกรรมการขึ้นมาตรวจสอบข้อเท็จจริง หลังมีการนำข้อมูลถอดถอนไปให้รัฐบาล แม้ว่าจะยังไม่ได้ข้อสรุป แต่ประธานวุฒิสภา ก็ต้องรับผิดชอบ และยืนยันว่า การอภิปรายไม่ไว้วางใจพรรค จะทำหน้าที่ตรวจสอบอย่างดีที่สุดแทนประชาชน ส่วนจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองได้หรือไม่นั้น เป็นอีกประเด็นหนึ่ง โดยจะมีผู้อภิปรายที่ต้องใช้เวลาไม่น้อยกว่า 3 วัน และยังไม่มีพรรคการเมืองอื่นร่วมยื่นญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจครั้งนี้ นอกจากพรรคประชาธิปัตย์ เพียงพรรคเดียว”
น.ส.มัลลิกา บุญมีตระกูล รองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณีที่ฝ่ายรัฐบาลตำหนิพรรคประชาธิปัตย์ ที่เสนอชื่อ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกรัฐมนตรี ว่า สะท้อนถึงความไม่รู้เรื่องกฎหมายรัฐธรรมนูญ แต่สะเหร่อ ออกมาพูด เพราะการยื่นญัตติของพรรค เป็นไปตามรัฐธรรมนูญที่ระบุว่า ต้องเสนอชื่อนายกรัฐมนตรี แทน นายกฯที่ถูกอภิปรายด้วย การพูดของคนในพรรคเพื่อไทย จึงเป็นการพูดที่ไม่รู้ข้อกฎหมาย อีกทั้งพรรคประชาธิปัตย์ ไม่เหมือนพรรคเพื่อไทย ที่หัวหน้าพรรคไม่ใช่นายกฯ แต่พรรคประชาธิปัตย์ ชัดเจนว่า คนเป็นหัวหน้าพรรค คือคนที่จะเป็นนายกรัฐมนตรี ไม่ใช่ว่าให้ลอยตัวอยู่เหนือปัญหาโดยไม่ต้องรับผิดชอบอะไร จึงขอให้เลิกใส่ร้าย และเลิกความพยายามที่จะไม่บรรจุญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจของพรรคประชาธิปัตย์ได้แล้ว
** เพื่อไทยจี้ เปิดคำร้องถอดถอน"ปู"
ด้านน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม กล่าวถึงกรณีที่ฝ่ายค้านยื่นอภิปรายไม่ไว้วางใจ พร้อมถอดถอนจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ว่า นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานสภาผู้แทนราษฎร ยังไม่มีการติดต่อประสานงานมา คาดว่ายังอยู่ในขั้นตอนของสภาฯ คงต้องรอฟังรายละเอียดทั้งหมดก่อน เพราะตนยังไม่เห็นรายละเอียดในญัตติดังกล่าวเลย ทราบแต่ว่า มีหัวข้อการอภิปรายไม่ไว้วางใจ ซึ่งตามหลักแล้วผู้ที่จะถูกอภิปรายไม่ไว้วางใจ จะต้องได้รับข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้องก่อน
นายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทย กล่าวว่า ในวันอังคารที่ 19 พ.ย. นี้ พรรคจะเรียกประชุมส.ส. เพื่อหารือในประเด็นที่ฝ่ายค้านได้ยื่นอภิปรายไม่ไว้วางใจ นายกรัฐมนตรี และ 2 รัฐมนตรี ซึ่งเรื่องนี้พรรคจะหารือเตรียมความพร้อมในอภิปรายไม่ไว้วาง และยืนยันว่าไม่มีการตั้งองครักษ์แน่นอน มั่นใจว่านายกฯ และรัฐมนตรี ชี้แจงได้ไม่มีปัญหาใดๆ พร้อมตอบคำถาม แต่ยังมีความกังวลที่ฝ่ายค้านยื่นญัตติ แต่ไม่นำคำร้องยื่นถอดถอนญัตติประกอบ ส่งแค่สำเนาคำร้องวุฒิสภาเท่านั้น ซึ่งตนมองว่า เป็นการใช้เล่ห์เหลี่ยมทางการเมือง เพราะปกติการยื่นที่มีประเด็นทุจริต ผิดกฎหมาย ต้องมีคำร้องถอดถอนพร้อมเอกสารหลักฐานประกอบมาด้วย หากไม่มีคำร้องถอดถอน จะทำให้ประธานสภาฯไม่สามารถควบคุมการอภิปรายให้อยู่ในประเด็นที่ยื่นถอนถอดได้ การที่ประธานสภายังไม่บรรจุญัตติ จึงเป็นสิ่งที่ถูกต้องแล้ว
ทั้งนี้ตนขอเรียกร้อง นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ ประธานวิปฝ่ายค้าน ควรเลิกเล่นเกมทางการเมือง ควรนำญัตติการถอดถอนส่งให้ประธานสภา ทำให้ถูกต้อง และที่ห่วงว่าประธานสภาเล่นเกมการเมืองโดยนายกฯ สั่งให้ เตะถ่วง ก็ไม่เป็นความจริง เป็นการโยนบาปให้นายกฯ และประธานสภาฯ
ส่วนที่ฝ่ายค้านขู่ว่า นายกฯ และรัฐมนตรี จะตายคาสภานั้น ตนและทีมงานวิเคราะห์แล้ว ฝ่ายค้านอภิปรายครั้งนี้ไม่มีอะไรใหม่ เพราะหากมีหลักฐานเด็ดที่จะเป็นจุดตายในสภาจริง 1. คงไม่มีม็อบนายสุเทพ 2. ต้องยื่นมาก่อนหน้านี้ ไม่ใช่มายื่นก่อนปิดสมัยประชุม 3. เมื่อดูเนื้อหาแล้ว เป็นเรื่องวาทกรรมล้วนๆ ซึ่งอาจจะมีกระดาษแผ่นเดียวเหมือน สมัยนายกฯ บรรหาร อย่างไรก็ตาม ระวังจะโดนสวนกลับ ไม่รู้ใครจะหามศพใคร เพราะมีเรื่องทุจริตของรัฐบาลอภิสิทธิ์ ในอดีตที่ถูกร้องไว้หลายเรื่อง ที่วันนี้นายอภิสิทธิ์ และพรรคประชาธิปัตย์ แกล้งลืม
“เมื่อดูญัตติแล้ว สิ่งที่นายอภิสิทธิ์ และพรรคประชาธิปัตย์ ใช้คำเสียดสี มุ่งเป้าไปนายกฯ เป็นหลัก ใช้คำดิบ เถื่อน ถ่อย ไม่เหมาะสม เสพติดความรุนแรง อคติ แฝงด้วยความอิจฉา ริษยา เมื่อเทียบกับลำยอง ลำยองยังอาย ตกต่ำ ปกติส.ส.จะไม่ทำอย่างนี้”นายพร้อมพงศ์ กล่าว
นายพร้อมพงศ์ กล่าวด้วยว่า ช่วงเทศกาลลอยกระทง ตนจะนำกระทงไปลอยที่แม่น้ำเจ้าพระยา โดยบนกระทง มีภาพนายสุเทพ เทือกสุบรรณ นายอภิสิทธิ์ และ มีคำว่า อคติ ไปลอยด้วย เพื่อให้สังคมไทยได้ผ่านพ้นคำว่า อคติ ริษยา ให้หมดไป ให้บ้านเมืองสดใสอีกครั้งหนึ่ง