ช.การช่าง ปรับเกมเพิ่มทุนBMCL สั่งบริษัทลูกปรับสัดส่วนขายหุ้นเพิ่มทุนจาก 2พันล้านหุ้นเป็น 8.5 พันล้านหุ้น พร้อมแสดงจำนงซื้อหุ้นเพิ่มทุน BMCLเกินสิทธิ แถมสั่งยกเลิกจัดสรรหุ้นให้ รฟม. ด้าน รฟม.ยังเสียงแตกควักเงินร่วมทุน ไร้ความชัดเจนรักษาสัดส่วนถือหุ้น โยนข้อครม.ตัดสิน ผู้ว่าการระบุ BMCL ปรับแผน กระทบระยะเวลาตัดสินใจ แต่เชื่อจะส่งผลดีต่อองค์กร
บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) (CK) แจ้งว่า ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท ครั้งที่ 6/2556 ซึ่งประชุมเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2556 อนุมัติให้บริษัทฯ เสนอให้ บมจ.รถไฟฟ้ากรุงเทพ(BMCL) มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการจัดสรรหุ้นจากเดิมที่คณะกรรมการได้มีมติอนุมัติไปแล้ว มาเป็นการจัดสรรหุ้นสามัญเพิ่มทุนจำนวน 8,550 ล้านหุ้น จากเดิม 2,000 ล้านหุ้น เพื่อเสนอขายให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิมตามสัดส่วนในที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น ครั้งที่ 1/2556 ของ BMCLและ อนุมัติการจองซื้อหุ้นสามัญเพิ่มทุนที่ BMCL เสนอขายให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิมตามสัดส่วน รวมทั้งอนุมัติการแสดงความจำนงจองซื้อหุ้นสามัญเพิ่มทุนเกินสิทธิ (Oversubscription) ตามหลักเกณฑ์การจัดสรรหุ้นสามัญเพิ่มทุนของ BMCL โดยไม่เป็นผลให้บริษัทฯเป็นผู้ถือหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงจนถึงหรือก้าวข้ามร้อยละ 50 ของสิทธิออกเสียงทั้งหมดของ BMCL และมอบหมายให้คณะกรรมการบริหารหรือบุคคลที่คณะกรรมการบริหารมอบหมาย มีอำนาจในการดำเนินการต่างๆ ที่เกี่ยวกับการเข้าจองซื้อหุ้นสามัญเพิ่มทุนของBMCL ที่เสนอขายแก่ผู้ถือหุ้นเดิมตามสัดส่วน และการจองซื้อหุ้นสามัญเพิ่มทุนเกินสิทธิดังกล่าว
สำหรับ ในกรณีที่การจองซื้อหุ้นสามัญเพิ่มทุนตามสัดส่วนรวมทั้งการจองซื้อหุ้นสามัญเพิ่มทุนเกินสิทธิเป็นผลให้บริษัทฯได้มาซึ่งหุ้น BMCL จนข้ามร้อยละ 25 ซึ่งที่ประชุมอนุมัติให้บริษัทฯ ยื่นคำขอผ่อนผันการทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ทั้งหมดของBMCL โดยอาศัยมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นของ BMCL (Whitewash) ก่อนที่บริษัทฯจะเข้าจองซื้อหุ้นสามัญเพิ่มทุนตามสัดส่วน รวมทั้งการจองซื้อหุ้นสามัญเพิ่มทุนเกินสิทธิ และมอบหมายให้คณะกรรมการบริหาร หรือบุคคลที่คณะกรรมการบริหารมอบหมายมีอำนาจในการดำเนินการใดๆ ที่จำเป็นและเกี่ยวข้องกับการขอผ่อนผันการทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ทั้งหมดของ BMCL พร้อมทั้ง อนุมัติให้บริษัทฯยกเลิกข้อเสนอการให้สิทธิในการซื้อหุ้นสามัญเพิ่มทุนของ BMCL แก่การถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย(รฟม.)
ในวันเดียวกัน เมื่อบมจ.ช.การช่าง ได้ชี้แจงผลการประชุมดังกล่าว ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ขึ้นเครื่องหมาย “H” บมจ. รถไฟฟ้ากรุงเทพ (BMCL) ในการซื้อขายรอบบ่าย หลังปรากฎสารสนเทศที่อาจกระทบต่อราคาแต่บริษัทไม่สามารถชี้แจงข่าวได้ตามที่ตลาดหลักทรัพย์ฯกำหนด โดยราคาหุ้น BMCL ปรับลง 0.02 บาท อยู่ที่ 1.05 บาท
**บอร์ดรฟม.เสียงแตก ร่วมเพิ่มทุน BMCL
นายยงสิทธิ์ โรจน์ศรีกุล ผู้ว่าการ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน ที่ผ่านมาคณะกรรมการ (บอร์ด) รฟม.ที่มีนางสาวรัชนี ตรีพิพัฒน์กุล เป็นประธานได้ประชุมวาระพิเศษ เพื่อพิจารณาหาทางออกกรณีที่ รฟม.จะร่วมเพิ่มทุนในบริษัท รถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BMCL หรือไม่ เนื่องจาก BMCL กำหนดประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อพิจารณาเรื่องเพิ่มทุนในวันที่ 11 พฤศจิกายน ซึ่งในเบื้องต้นรฟม.ไม่ขัดข้องเรื่องการเพิ่มทุนของ BMCL ส่วน รฟม.จะร่วมเพิ่มทุนเพื่อรักษาสัดส่วนหุ้นที่ 25% ไว้หรือไม่ ยังอยู่ในขั้นตอนการวิเคราะห์ข้อดี ข้อเสีย และจะต้องนำเสนอขออนุมัติจากคณะรัฐมนตรี (ครม.) อีกด้วย ซึ่งจะต้องใช้เวลาในการดำเนินการ
ทั้งนี้ BMCL ได้แจ้งว่ามีการปรับวิธีการแผนเพิ่มทุนเล็กน้อย ซึ่งจะกระทบต่อระยะเวลาที่จะให้รฟม.ตัดสินใจลดลงจากที่ก่อนหน้านี้ให้เวลาประมาณ 1 ปี หลังผู้ถือหุ้นอนุมัติเพิ่มทุน แต่ภาพรวมจะส่งผลดีต่อรฟม.แต่ไม่สามารถบอกถึงรายละเอียดได้ โดยรฟม.ยังคงสิทธิ์ในการรักษาสัดส่วนหุ้นไว้ชั่วคราวจนกว่าจะมีมติจาก ครม.
โดยในที่ประชุมบอร์ดรฟม.ล่าสุด ยังไม่มีข้อยุติเรื่องการจะร่วมเพิ่มทุนหรือไม่ เนื่องจากยังมีความเห็นแตกต่างกัน โดยมีแนวทางที่จะต้องพิจารณาข้อดี ข้อเสีย ประกอบด้วย 1. ไม่ร่วมเพิ่มทุนกับ BMCL ซึ่งจะทำให้รฟม. มีสัดส่วนหุ้นลดลงจาก 25% 2. ร่วมเพิ่มทุนซึ่งจะต้องขออนุมัติเงินลงทุนเพิ่มจากครม. 3. ขายหุ้นใน BMCL ออกไปทั้งหมด หรือ 4. ซื้อหุ้นทั้งหมดกลับมาเป็นของภาครัฐ ซึ่งกรณีนี้เมื่อปี 2548 ที่ครม.มีมติอนุมัติให้รฟม.ร่วมถือหุ้นใน BMCL รัฐบาลเคยมีนโยบายที่จะซื้อคืนด้วย
บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) (CK) แจ้งว่า ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท ครั้งที่ 6/2556 ซึ่งประชุมเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2556 อนุมัติให้บริษัทฯ เสนอให้ บมจ.รถไฟฟ้ากรุงเทพ(BMCL) มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการจัดสรรหุ้นจากเดิมที่คณะกรรมการได้มีมติอนุมัติไปแล้ว มาเป็นการจัดสรรหุ้นสามัญเพิ่มทุนจำนวน 8,550 ล้านหุ้น จากเดิม 2,000 ล้านหุ้น เพื่อเสนอขายให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิมตามสัดส่วนในที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น ครั้งที่ 1/2556 ของ BMCLและ อนุมัติการจองซื้อหุ้นสามัญเพิ่มทุนที่ BMCL เสนอขายให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิมตามสัดส่วน รวมทั้งอนุมัติการแสดงความจำนงจองซื้อหุ้นสามัญเพิ่มทุนเกินสิทธิ (Oversubscription) ตามหลักเกณฑ์การจัดสรรหุ้นสามัญเพิ่มทุนของ BMCL โดยไม่เป็นผลให้บริษัทฯเป็นผู้ถือหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงจนถึงหรือก้าวข้ามร้อยละ 50 ของสิทธิออกเสียงทั้งหมดของ BMCL และมอบหมายให้คณะกรรมการบริหารหรือบุคคลที่คณะกรรมการบริหารมอบหมาย มีอำนาจในการดำเนินการต่างๆ ที่เกี่ยวกับการเข้าจองซื้อหุ้นสามัญเพิ่มทุนของBMCL ที่เสนอขายแก่ผู้ถือหุ้นเดิมตามสัดส่วน และการจองซื้อหุ้นสามัญเพิ่มทุนเกินสิทธิดังกล่าว
สำหรับ ในกรณีที่การจองซื้อหุ้นสามัญเพิ่มทุนตามสัดส่วนรวมทั้งการจองซื้อหุ้นสามัญเพิ่มทุนเกินสิทธิเป็นผลให้บริษัทฯได้มาซึ่งหุ้น BMCL จนข้ามร้อยละ 25 ซึ่งที่ประชุมอนุมัติให้บริษัทฯ ยื่นคำขอผ่อนผันการทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ทั้งหมดของBMCL โดยอาศัยมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นของ BMCL (Whitewash) ก่อนที่บริษัทฯจะเข้าจองซื้อหุ้นสามัญเพิ่มทุนตามสัดส่วน รวมทั้งการจองซื้อหุ้นสามัญเพิ่มทุนเกินสิทธิ และมอบหมายให้คณะกรรมการบริหาร หรือบุคคลที่คณะกรรมการบริหารมอบหมายมีอำนาจในการดำเนินการใดๆ ที่จำเป็นและเกี่ยวข้องกับการขอผ่อนผันการทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ทั้งหมดของ BMCL พร้อมทั้ง อนุมัติให้บริษัทฯยกเลิกข้อเสนอการให้สิทธิในการซื้อหุ้นสามัญเพิ่มทุนของ BMCL แก่การถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย(รฟม.)
ในวันเดียวกัน เมื่อบมจ.ช.การช่าง ได้ชี้แจงผลการประชุมดังกล่าว ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ขึ้นเครื่องหมาย “H” บมจ. รถไฟฟ้ากรุงเทพ (BMCL) ในการซื้อขายรอบบ่าย หลังปรากฎสารสนเทศที่อาจกระทบต่อราคาแต่บริษัทไม่สามารถชี้แจงข่าวได้ตามที่ตลาดหลักทรัพย์ฯกำหนด โดยราคาหุ้น BMCL ปรับลง 0.02 บาท อยู่ที่ 1.05 บาท
**บอร์ดรฟม.เสียงแตก ร่วมเพิ่มทุน BMCL
นายยงสิทธิ์ โรจน์ศรีกุล ผู้ว่าการ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน ที่ผ่านมาคณะกรรมการ (บอร์ด) รฟม.ที่มีนางสาวรัชนี ตรีพิพัฒน์กุล เป็นประธานได้ประชุมวาระพิเศษ เพื่อพิจารณาหาทางออกกรณีที่ รฟม.จะร่วมเพิ่มทุนในบริษัท รถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BMCL หรือไม่ เนื่องจาก BMCL กำหนดประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อพิจารณาเรื่องเพิ่มทุนในวันที่ 11 พฤศจิกายน ซึ่งในเบื้องต้นรฟม.ไม่ขัดข้องเรื่องการเพิ่มทุนของ BMCL ส่วน รฟม.จะร่วมเพิ่มทุนเพื่อรักษาสัดส่วนหุ้นที่ 25% ไว้หรือไม่ ยังอยู่ในขั้นตอนการวิเคราะห์ข้อดี ข้อเสีย และจะต้องนำเสนอขออนุมัติจากคณะรัฐมนตรี (ครม.) อีกด้วย ซึ่งจะต้องใช้เวลาในการดำเนินการ
ทั้งนี้ BMCL ได้แจ้งว่ามีการปรับวิธีการแผนเพิ่มทุนเล็กน้อย ซึ่งจะกระทบต่อระยะเวลาที่จะให้รฟม.ตัดสินใจลดลงจากที่ก่อนหน้านี้ให้เวลาประมาณ 1 ปี หลังผู้ถือหุ้นอนุมัติเพิ่มทุน แต่ภาพรวมจะส่งผลดีต่อรฟม.แต่ไม่สามารถบอกถึงรายละเอียดได้ โดยรฟม.ยังคงสิทธิ์ในการรักษาสัดส่วนหุ้นไว้ชั่วคราวจนกว่าจะมีมติจาก ครม.
โดยในที่ประชุมบอร์ดรฟม.ล่าสุด ยังไม่มีข้อยุติเรื่องการจะร่วมเพิ่มทุนหรือไม่ เนื่องจากยังมีความเห็นแตกต่างกัน โดยมีแนวทางที่จะต้องพิจารณาข้อดี ข้อเสีย ประกอบด้วย 1. ไม่ร่วมเพิ่มทุนกับ BMCL ซึ่งจะทำให้รฟม. มีสัดส่วนหุ้นลดลงจาก 25% 2. ร่วมเพิ่มทุนซึ่งจะต้องขออนุมัติเงินลงทุนเพิ่มจากครม. 3. ขายหุ้นใน BMCL ออกไปทั้งหมด หรือ 4. ซื้อหุ้นทั้งหมดกลับมาเป็นของภาครัฐ ซึ่งกรณีนี้เมื่อปี 2548 ที่ครม.มีมติอนุมัติให้รฟม.ร่วมถือหุ้นใน BMCL รัฐบาลเคยมีนโยบายที่จะซื้อคืนด้วย