พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรได้เป็นรัฐบาลวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2544 หลังประเทศไทยเข้าโครงการ IMF 4 ปี
อีก 7 เดือนต่อมา
นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์ฯ เมื่อวันที่ 10 กันยายน 2544
อีก 3 เดือนต่อมา
ปตท.เข้าซื้อขายในตลาดหุ้น วันที่ 6 ธันวาคม 2544
สรุปได้ว่าหลังมีรัฐบาลทักษิณ 10 เดือน ก็สามารถแปรรูปปตท.เข้าซื้อขายในตลาดหุ้นได้
ปตท.เป็นบริษัทที่ใหญ่ที่สุดในตลาดหุ้นไทยมีมูลค่าตลาดประมาณครึ่งของงบประมาณแผ่นดิน
การแปรรูปปตท.โดยยึดพ.ร.บ.ทุนรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2542ในกฎหมายฟื้นฟูเศรษฐกิจ 11 ฉบับ ที่เป็นหนังสือแสดงเจตจำนงหลังการเข้าโครงการ IMF ในปี 2540 โดยมีระบุว่า หากไม่มีเงินพอที่จะชำระหนี้ IMF ให้แปรรูปรัฐวิสาหกิจมาใช้หนี้ IMFคนส่วนใหญ่เรียกกฎหมายนี้ว่ากฎหมายขายชาติ 11 ฉบับ
ประเทศไทยทุกวันนี้ยังไม่ทราบเลยว่าทำไมสภาพคล่องของระบบเสียหาย ทุนสำรองลดลงมาก จนกระทั่งต้องเข้ารับความช่วยเหลือทางการเงินจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศในเดือนกรกฎาคม 2540 แล้วก็มีการล้มละลายของระบบเศรษฐกิจ เกิดหนี้เสีย กระทั่งต้องมีการออกกฎหมายมาฟื้นฟูเศรษฐกิจ 11 ฉบับ ความเสียหายครั้งนี้รุนแรง สถาบันการเงินเอกชนล้มลงทั้งระบบ จนเกิดหนี้ที่กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินถึง 1.4 ล้านล้านบาท ธนาคารเอกชนขนาดใหญ่ที่อยู่นอกเหนือการอัดฉีดสภาพคล่องของกองทุนเพื่อการฟื้นฟู ไม่ต้องใช้สภาพคล่องจากกองทุนเพื่อการฟื้นฟู ตกเป็นของต่างชาติ
กฎหมายฟื้นฟูเศรษฐกิจ 11 เป็นการแก้ปัญหาปลายเหตุ นอกจากแก้ปัญหาปลายเหตุแล้ว ยังมีการหาประโยชน์จากกฎหมาย ประเทศไทยยังมีเวลาเหลืออีกประมาณ 5 ปีจึงจะครบกำหนดการใช้หนี้ IMF ยังไม่มีความจำเป็นที่จะขายรัฐวิสาหกิจมาใช้หนี้ไอเอ็มเอฟแต่อย่างใด
ช่วงแรกของการนำเสนอขายแก่หุ้นปตท.ต่อสาธารณะ (IPO) ที่ราคา 50 บาท ต่อมาคนไทยบอกว่าราคา 50 บาทแพงไป ต่างชาติไม่สนใจ ทำให้ราคา IPO ลดลงเหลือ 35 บาท นักการเมืองสามารถกู้เงินต่างประเทศใช้ตัวแทนที่ต่างประเทศ(Nominees) ถือหุ้นแทนได้หลังเข้าตลาด 3 ปี ราคาปตท.เพิ่มจาก 35 บาทเป็นสูงกว่า 350 บาทราคาหุ้นสูงขึ้น 10 เท่า เมื่อขายหุ้นจองออก 1 ส่วน ก็สามารถใช้หนี้เงินกู้ได้หมด ที่เหลือเป็นหุ้นที่ไม่มีต้นทุน
เป็นความโชคดีของรัฐบาลทักษิณ รัฐบาลทักษิณเข้ามาในต้นปี 2544 (2001) เข้ามาในช่วงที่ค่าเงินเหรียญสหรัฐพังทลาย อันเป็นเหตุมาจากการพังทลายของตลาดแนสแด็กในปี 2543 (2000) ทำให้เงินทุนจากอเมริกาไหลออกไปยังประเทศต่างๆ ทั่วโลก ไหลเข้ายุโรป รวมทั้งไหลเข้าประเทศไทย ทำให้ทุนสำรองของประเทศสูงขึ้น ทำให้เงินบาทแข็งค่าขึ้น ทำให้สภาพคล่องของระบบดีขึ้น ทำให้เศรษฐกิจดีขึ้น
กราฟแสดงการพังทลายของค่าเงินเหรียญสหรัฐเมื่อเทียบกับสกุลยูโร หลังการพังทลายของตลาดแนสแดกในปี 2000 รัฐบาลทักษิณเข้ามาในต้นปี 2543 (2001)
กราฟแสดงการแข็งค่าของเงินบาทเมื่อเทียบกับเงินเหรียญสหรัฐหลังการพังทลายของตลาดแนสแดกในปี 2000 รัฐบาลทักษิณเข้ามาในต้นปี 2543(2001)
เงินทุนไหลเข้า ทำให้ปลายเดือนกรกฎาคม 2546 (2003) ประเทศไทยสามารถใช้หนี้ไอเอ็มเอฟหมด และใช้หนี้ก่อนกำหนด 2 ปี
การใช้หนี้ไอเอ็มเอฟได้หมด จึงไม่ใช่ฝีมืออะไรของรัฐบาลทักษิณ
จากบางตอน การประกาศชำระคืนหนี้งวดสุดท้ายของ IMF ของพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ณ ศูนย์แถลงข่าว ทำเนียบรัฐบาลวันพฤหัสบดีที่ 31 กรกฎาคม 2546 เวลา 20.30 น.
(…) วันนี้เป็นวันที่ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ชำระหนี้ไอเอ็มเอฟก้อนสุดท้ายเมื่อกลางวันนี้ได้ชำระคืนให้กับธนาคารของประเทศญี่ปุ่น และเย็นนี้ซึ่งเป็นเวลากลางวันของซีกประเทศตะวันตกก็ได้ชำระเงินก้อนสุดท้ายคืนให้กับไอเอ็มเอฟ ทั้งหมดที่ชำระคืนในวันนี้ก็ประมาณ 60,000 กว่าล้านบาท เป็นก้อนสุดท้ายแล้ว หลังจากที่ได้เจอวิกฤตเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2540 ทำให้เราต้องลดค่าเงินบาท ประเทศขาดความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจ เงินไหลออก เราต้องเข้าโปรแกรมไอเอ็มเอฟ ซึ่งขณะนั้นทางไอเอ็มเอฟร่วมกับธนาคารกลางและกระทรวงการคลังของ 8 ประเทศ และประเทศญี่ปุ่นได้อนุมัติวงเงินให้เรากู้เป็นเงินถึง 14,500 ล้านเหรียญสหรัฐ แต่เราได้มีการเบิกใช้จริง 12,296 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 510,000 ล้านบาท ซึ่งรัฐบาลที่แล้วได้ใช้หนี้ส่วน 510,000 ล้านบาทนี้ไป 10,000 ล้านบาท เหลือหนี้ทั้งหมด 500,000 ล้านบาท รัฐบาลนี้ได้เข้ามาทำงาน 2 ปีครึ่ง ได้ชำระหนี้ทั้ง 500,000 ล้านบาทหมดในวันนี้ ทำให้เราถือว่าหมดพันธะต่อการที่ต้องพึงปฏิบัติตามพันธกรณีที่มีไว้ต่อไอเอ็มเอฟ
พี่น้องประชาชนที่เคารพครับ ประเทศไทยเคยเข้าโครงการไอเอ็มเอฟมาแล้วครั้งหนึ่งในช่วงปี 2524, 2525 และ 2528 ทั้ง 3 สัญญาในช่วงนั้น เรากู้เงินมา 982 ล้านเหรียญสหรัฐ และเราใช้คืนหมดเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2533 เรากู้ตั้งแต่ปี 2524, 2525 และ 2528 เพียงแค่ไม่ถึง 1,000 ล้านเหรียญสหรัฐ แต่ครั้งนี้เรากู้ถึง 12,296 ล้านเหรียญสหรัฐ และเราใช้คืนในวันนี้ ครั้งที่แล้วใช้คืนเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2533 แต่หลังจากนั้นเพียง 7 ปีกับ 4 เดือนครับ เราเกิดวิกฤตอีกครั้งหนึ่ง ทำไมถึงมีวิกฤตห่างกันกันเพียงแค่ 7 ปี
และวิกฤตเมื่อกรกฎาคม 2540 เป็นวิกฤตที่รุนแรง เป็นวิกฤตที่เราต้องกู้เงินถึง 510,000 ล้านบาท ทั้งนี้ ถ้าเราวิเคราะห์กันแล้ว คงไม่ใช่ความผิดของรัฐบาลใดรัฐบาลหนึ่ง หรือคนใดคนหนึ่ง แต่เป็นความสะสมของการที่เราไม่ได้ติดตามสถานการณ์ เราไม่ได้เรียนรู้การเปลี่ยนแปลงของโลก เราไม่ได้มีข้อมูลแล้วก็ใช้ข้อมูลนั้นอย่างใกล้ชิดและชาญฉลาด จึงทำให้เราถูกบังคับให้มีการเปลี่ยนแปลงโดยที่เราไม่ได้พร้อมกับการเปลี่ยนแปลงล่วงหน้า เหตุการณ์เหล่านี้ต้องไม่เกิดอีก ครั้งนี้ขอให้เป็นครั้งสุดท้ายที่เราจะต้องเข้าโปรแกรมไอเอ็มเอฟ
ถึงแม้ว่าครั้งแรกกับครั้งนี้ห่างกันเพียง 7 ปี แต่ครั้งนี้รัฐบาลได้เข้ามา ได้พยายามแก้ปัญหาหลายๆ อย่างเพื่อให้เกิดความมั่นคง โดยดูตัวเลขทุกตัว ดูทิศทางทุกทิศทางเพื่อให้มั่นใจว่าเราจะไม่เกิดเหตุการณ์อย่างนี้อีก เพราะว่าเมื่อปี 2540
ผมเชื่อว่าวันนี้หลายคนยังไม่หายเจ็บปวด ความเจ็บปวดครั้งนี้ควรจะเป็นบทเรียนที่ให้กับคนไทยทั้งประเทศ เราจะต้องร่วมกันคิด ร่วมกันทำ ร่วมกันแก้ปัญหา และที่สำคัญประเทศไทยจะต้องเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ที่ติดตามการเปลี่ยนแปลงของโลกอย่างใกล้ชิด เพื่อที่จะให้เราไม่ต้องเป็นเหยื่อของการแข่งขันในระบบเศรษฐกิจทุนนิยมที่เราไม่รู้เท่าทันเหมือนในอดีต เพราะฉะนั้นรัฐบาลนี้จะทำงานอย่างเต็มที่ร่วมกันทุกฝ่าย เพื่อที่จะวางหลักเกณฑ์ วางกติกา วางระบบ วางฐานข้อมูล วางระบบการเรียนรู้และพัฒนาการทุกๆ อย่าง เพื่อให้เรามีความรู้เท่าทัน และติดตามสถานการณ์ได้อย่างทันท่วงที
แต่ทั้งนี้ ทำไมเราถึงกล้าใช้หนี้ไอเอ็มเอฟ ทำไมเราถึงใช้หนี้ไอเอ็มเอฟก่อนเวลาถึง 2 ปี เรามั่นใจว่าเราได้ปรับนโยบายและพลิกสถานการณ์ได้แล้ว และเรามั่นใจว่า เราได้มีเงินทุนเพียงพอ เราไม่จำเป็นจะต้องเก็บหนี้ไว้ การใช้หนี้นอกจากประหยัดดอกเบี้ยถึง 5,000 ล้านบาทแล้ว ยังเป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้กับประเทศ โดยทุกประเทศจะมองว่าประเทศไทยเรามีความพร้อม มีความแข็งแรงพอ พร้อมที่จะใช้หนี้ก่อนเวลา เพื่อให้ความมั่นใจ ผมขออนุญาตอธิบายตัวเลขบางตัวเลขที่เป็นประโยชน์เพื่อให้พี่น้อง(…)
ประเทศไทยเบิกใช้จริงเงินกู้ไอเอ็มเอฟ 12,296 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 510,000 ล้านบาท รัฐบาลก่อนหน้าหรือรัฐบาลนายชวนใช้หนี้ไป 10,000 ล้านบาท (1.96%) ที่เหลือ 500,000 ล้านบาท (98.04%) ใช้หนี้โดยรัฐบาลทักษิณ รัฐบาลทักษิณบอกว่าใช้หนี้ก่อนกำหนด 2 ปี ทำให้ประหยัดดอกเบี้ย 5,000 ล้านบาท
ดังที่กล่าวไว้ในตอนต้น การมาของรัฐบาลทักษิณเป็นช่วงที่เงินทุนไหลเข้า ที่เกิดจากการพังทลายของค่าเงินเหรียญสหรัฐไม่ได้เกิดจากความเชื่อมั่นในรัฐบาลทักษิณแต่อย่างใด เงินบาทแข็งค่าขึ้นต่อเนื่อง ถ้าไม่รีบร้อนชำระหนี้เงินกู้ หรือชำระหนี้เงินกู้ตามกำหนดเวลา จะทำให้ประเทศไทยประหยัดเงินทุนในการใช้หนี้ประมาณ 30,000 ล้านบาท
พ.ต.ท.ทักษิณบอกว่าการเกิดวิกฤต ไม่ใช่ความผิดของรัฐบาลหนึ่งรัฐบาลใด แต่แท้จริงวิกฤตเศรษฐกิจเกิดขึ้นในรัฐบาลพล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธที่มีพ.ต.ท.ทักษิณเป็นรองนายกรัฐมนตรี และมีข่าวว่ามีกำไรจากการที่ทราบล่วงหน้าว่าจะมีการลอยค่าเงินบาทในช่วงต้นเดือนกรกฎาคม 2540
ที่จริงในช่วงรัฐบาลทักษิณ ประเทศไทยยังมีหนี้ก้อนโตอีกก้อน คือหนี้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน 1.4 ล้านล้านบาท ที่เกิดขึ้นจากวิกฤตเศรษฐกิจในช่วงรัฐบาลพลเอกชวลิตที่มีทักษิณเป็นรองนายกรัฐมนตรี หนี้กองทุนฟื้นฟูเกิดขึ้นหลังการปิดถาวร 56 สถาบันการเงินในปี 2541 รัฐบาลพ.ต.ท.ทักษิณเข้ามาในปี 2544 หรือในอีก 3 ปีถัดมา ระยะเวลา 6 ปีของการเป็นรัฐบาลถ้าทักษิณเก่งจริงก็ต้องใช้หนี้กองนี้หมด เหมือนกับที่ใช้หนี้ไอเอ็มเอฟได้หมด แต่ไม่ได้มีความก้าวหน้าในการใช้หนี้กองนี้แต่อย่างใด มาถึงรัฐบาลยิ่งลักษณ์ปี 2554 ที่ทักษิณคิดและยิ่งลักษณ์-กิตติรัตน์ทำ ยังมีหนี้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูเหลือค้างอยู่ถึง 1 ล้านล้านบาท และก็ไม่ได้คิดที่จะใช้หนี้กองนี้แต่อย่างใด โดยโอนย้ายหนี้กองนี้ไปไว้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยทั้งจำนวน เพื่อทำให้หนี้สาธารณะลดลง เพื่อที่จะกู้เงินได้มากขึ้น
ทักษิณไม่ทราบด้วยว่า ต้นเหตุวิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในรัฐบาลพล.อ.ชวลิต เกิดจากอะไร และต่อมาก็ไม่ทราบอีกว่าทำไมถึงจึงมีเงินชำระหนี้ไอเอ็มเอฟได้รวดเร็วเช่นนี้ แล้วก็มาสวมรอยว่าการชำระหนี้ไอเอ็มเอฟเกิดจากฝีมือตนเมื่อไม่ทราบอะไรเลย คำกล่าวของทักษิณจึงเป็นคำพูดที่เหลวไหล ที่บอกว่าอนาคตประเทศไทยจะไม่เกิดวิกฤตและไม่ต้องเข้าไอเอ็มเอฟอีก ก็เหลวไหล เป็นเพียงการนั่งเทียนพูดเท่านั้น
(…) เรื่องต่อไป คือเรื่องกฎหมาย 11 ฉบับที่เราห่วงใยกัน รัฐบาลได้เชิญผู้ที่ห่วงใยในเรื่องนี้มาพูดคุยกัน ปรึกษากัน และในที่สุดเราสรุปว่า จะมีการแก้ไขในบางฉบับ ดังต่อไปนี้
กฎหมายทุนรัฐวิสาหกิจ ก่อนนี้ในกติกาเราต้องขายรัฐวิสาหกิจเพื่อนำเงินมาใช้หนี้ แต่วันนี้ไม่ใช่ครับ เราจะกระจายหุ้นรัฐวิสาหกิจในตลาดหลักทรัพย์ฯ เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพ เพื่อเพิ่มศักยภาพในการขยายการลงทุน เพื่อให้เกิดการบริหารงานอย่างมืออาชีพ และเพื่อให้เกิดการตรวจสอบได้ทุกระบบ ซึ่งตรวจสอบจากระบบของตลาดทุนและตรวจสอบด้วยระบบของราชการ ตรวจสอบด้วยระบบของผู้ถือหุ้นเอง
เพราะฉะนั้นรัฐวิสาหกิจไทยของเราจะเข้มแข็ง ซึ่งรัฐบาลนี้ได้ใช้มาตรการนี้บางส่วนแล้ว และใช้เรื่องของการรายงานระบบการตรวจสอบมากขึ้นแล้ว ทำให้รายได้ของรัฐวิสาหกิจเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่เข้ามาเป็นรัฐบาล หากรัฐวิสาหกิจทั้งหมดต้องไปจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ รัฐวิสาหกิจเหล่านี้จะบริหารงานอย่างมืออาชีพ จะเข้มแข็งและแข็งแรงมากขึ้น ไม่ได้เป็นการนำไปขายเพื่อนำมาใช้หนี้ เพราะไม่จำเป็นอีกแล้วที่จะต้องขายเพื่อใช้หนี้ เพราะวันนี้เราหมดพันธกรณีทางนี้ เราจึงจะมีการแก้กฎหมายทุนรัฐวิสาหกิจ โดยยกเลิกและจัดทำกฎหมายฉบับใหม่ คือกฎหมายว่าด้วยการปรับปรุงและพัฒนารัฐวิสาหกิจแห่งชาติ เพื่อการปรับปรุงโครงสร้างรัฐวิสาหกิจให้เป็นองค์กรธุรกิจ เพิ่มประสิทธิภาพและคุณภาพของการบริหารจัดการและส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการเป็นเจ้าของกิจการของรัฐ(…)
เมื่อครั้งหาเสียงเพื่อให้ได้รับการเลือกตั้ง ทักษิณบอกว่าจะมายกเลิกกฎหมายขายชาติ 11 ฉบับ
ไม่ได้มีสัมมาวาจาอะไรจากทักษิณ
แค่เข้ามาเป็นรัฐบาลได้ 10 เดือน ปลายปี 2544ก็ทำการแปรรูป ปตท.ทันที ซึ่งเป็นขายสมบัติของคนไทยทั้งชาติ ให้แก่คนไทยส่วนน้อยและต่างชาติ ในความหมายที่พูดกันว่าเป็นการขายชาตินั่นเอง การแปรรูป ปตท.ไม่ต้องมีการแก้กฎหมายแต่อย่างใด เพราะมีพ.ร.บ.ทุนรัฐวิสาหกิจ 2542 รองรับ
แต่หลังจากใช้หนี้ไอเอ็มเอฟหมดเมื่อกลางปี 2546 ประเทศไทยไม่มีหนี้อะไรกับไอเอ็มเอฟแล้วยังมีการแก้กฎหมายเพื่อให้มีการขายสมบัติชาติมากขึ้นไปอีกลืมไปเลยเรื่องการยกเลิกกฎหมายขายชาติ 11 ฉบับตามที่เคยหาเสียงไว้ได้มีการแปรรูปรัฐวิสาหกิจอีกหลายแห่ง เช่น บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) AOT เข้าซื้อขายในตลาดหุ้นเมื่อ 13 มีนาคม 2547บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) TOP ซื้อขายในตลาดหุ้นเมื่อ 26 ตุลาคม 2547 บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) MCOT ซื้อขายในตลาดหุ้นวันที่ 17 พฤศจิกายน 2547
ต้นปี 2549 ได้มีการแก้พ.ร.บ.เพิ่มการถือครองธุรกิจโทรคมนาคม จากต่างชาติถือหุ้นได้ไม่เกิน 25 เปอร์เซ็นต์เป็นไม่เกิน 49 เปอร์เซ็นต์ แล้วได้มีการขายชินคอร์ปให้เทมาเส็กแห่งสิงคโปร์
การแก้กฎหมายของรัฐบาลทักษิณมีมากกว่ารัฐบาลใดๆ ส่วนใหญ่เป็นการแก้กฎหมายเพื่อประโยชน์ส่วนตน ดูไปแล้วเสียหายร้ายแรงกว่าการฉีกกฎหมายโดยคณะปฏิวัติหรือรัฐประหาร
ประเทศไทยถ้าได้ผู้นำดีมีสัมมาทิฏฐิ ก็จะทำให้ระบบและองค์กรในระบบดีด้วย ถ้าได้ผู้นำไม่ดีเต็มไปด้วยกิเลสและมิจฉาทิฏฐิก็จะทำให้ระบบและองค์กรในระบบเสื่อม ไม่อยากกล่าวโทษ ส.ส.หรือ ส.ว. ส.ส., ส.ว.ก็เป็นปุถุชนธรรมมดา สามารถถูกปรนเปรอด้วยกิเลสได้ ต้องพิจารณาที่ต้นเหตุ ผู้นำที่เต็มไปด้วยมิจฉาทิกฐิเป็นต้นเหตุให้เกิดสภาทาษหรือหรือสภาโจร การแทรกแซงวุฒิสภามีมาโดยตลอด นายสมเกียรติ อ่อนวิมล นักสื่อสารมวลชนชื่อดัง บอกว่าคุณทักษิณเคยแทรกแซง ซื้อส.ว.ได้ราว 80-90 คน เพื่อผ่าน พ.ร.บ.โทรคมนาคม เพื่อขายหุ้นชินคอร์ปให้เทมาเส็ก
การขายชินคอร์ปให้เทมาเส็ก จึงไม่น่าจะกล่าวโทษว่าเป็นการขายหุ้นโดยไม่เสียภาษี แต่เป็นการขายสมบัติชาติ หรือขายชาติ จึงควรจะยึดทรัพย์หรือยึดเงินทั้งจำนวนที่ได้จากการขายชินคอร์ปให้เทมาเส็ก
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ พระราชบิดากฎหมายไทย กล่าวไว้ “.. กฎหมายคือคำสั่งทั้งหลายของผู้ปกครองว่าราชการแผ่นดินต่อราษฎรทั้งหลาย เมื่อไม่ทำตามแล้ว ธรรมดาต้องโทษ เราต้องระวัง อย่าคิดเอากฎหมายไปปนกับความชั่ว ฤา ความยุติธรรม แต่กฎหมายนั้นบางทีอาจจะชั่วได้ กฎหมายเป็นแบบคำสั่งที่เราต้องปฏิบัติตาม ความคิดว่าอะไรชั่วอะไรยุติธรรม อะไรไม่ยุติธรรม มีบ่อเกิดหลายแห่ง เช่นศาสนาต่างๆ กฎหมายนั้นเกิดได้แห่งเดียว คือจากผู้ปกครองแผ่นดิน ฤาที่ผู้ปกครองแผ่นดินอนุญาตเท่านั้น...”
หากดูพฤติกรรมของอดีตนายกฯ ทักษิณแล้ว สามารถคิดได้ว่า มีสิ่งไม่ถูกต้องโดยอาศัยช่องว่างของกฎหมาย เช่นการแปรรูป ปตท. และการแก้กฎหมายให้ได้ทำในสิ่งที่ต้องการเช่นการแปรรูป AOT TOT MCOT และการขาย SHIN ให้เทมาเส็ก
คือสิ่งผิดที่ถูกต้องตามกฎหมาย
ส่วนที่ผิดตามกฎหมาย นอกจากที่ศาลตัดสินคดีไปแล้ว ก็ยังมีคดีต่างๆ ที่ค้างอยู่
1. คดีร่ำรวยผิดปกติ ทำให้ ป.ป.ช.ยื่นฟ้องต่อศาลฎีกา ว่า พ.ต.ท.ทักษิณแจ้งบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินอันเป็นเท็จ เนื่องจากไม่ได้แจ้งการถือครองหุ้นบริษัทชินคอร์ปฯ ไว้ ถึง 6 ครั้ง ซึ่งศาลฎีกาได้ออกหมายจับไว้
2. คดีทุจริตปล่อยเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำของธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทยหรือเอ็กซิมแบงก์ ให้กับรัฐบาลพม่า มูลค่า 4,000 ล้านบาท ซึ่ง พ.ต.ท.ทักษิณเป็นจำเลยเพียงคนเดียว ซึ่งศาลฎีกาได้ออกหมายจับไว้
3. คดีทุจริตออกพระราชกำหนดแปลงค่าภาษีสัมปทานกิจการโทรคมนาคมเป็นภาษีสรรพสามิตเพื่อเอื้อประโยชน์ธุรกิจบริษัทชินคอร์ปฯ ที่มี พ.ต.ท.ทักษิณเป็นจำเลยเพียงคนเดียว และศาลฎีกาได้ออกหมายจับไว้
4. คดีทุจริตจัดซื้อจัดจ้างโครงการบ้านเอื้ออาทร ที่มีนายวัฒนา เมืองสุข อดีต รมว.พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์กับพวก เป็นผู้ถูกกล่าวหา (ทำให้เราเข้าใจว่าทำไมคุณวัฒนาจึงมีบทบาทอย่างมากในความพยายาม 'ปรองดอง')
5. คดีทุจริตธนาคารกรุงไทยปล่อยกู้บริษัทกฤษดามหานคร ที่มี พ.ต.ท.ทักษิณ และนายพานทองแท้ ชินวัตร บุตรชายของ พ.ต.ท.ทักษิณกับพวก เป็นผู้ถูกกล่าวหา
(ข้อมูลจากอินเตอร์เน็ต)
คือสิ่งผิดที่ผิดตามกฎหมาย
รัฐวิสาหกิจจะต้องเป็นของรัฐทั้งหมด คือเป็นของประชาชนทั้งหมด การแปรรูปรัฐวิสาหกิจ แล้วบอกว่าส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนเป็นเจ้าของกิจการของรัฐจึงไม่ถูกต้อง
ยกตัวอย่างเช่นปตท.เมื่อแปรรูปแล้วมีผู้ถือหุ้นรายย่อย 39,895 คน ถือหุ้นปตท.49 เปอร์เซ็นต์
เมื่อยังไม่แปรรูปหุ้นปตท.ประชาชน 65 ล้านคนเป็นเจ้าของหุ้นปตท. 100 เปอร์เซ็นต์อยู่แล้ว
หลังการแปรรูป ประชาชน 65,000,000-39,895 = 64,960,105 คนถือหุ้น 51 เปอร์เซ็นต์ คนส่วนใหญ่ถือหุ้นปตท.ลดลงเกือบครึ่งหนึ่ง และผู้ถือหุ้นรายย่อย 39,895 คนถือหุ้นเกือบครึ่งหนึ่งของปตท.
การแปรรูปปตท.อาจกล่าวได้ว่าเป็นการปล้นประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ ทำให้ประชาชนส่วนใหญ่ต้องใช้ราคาน้ำมันเกือบแพงที่สุดในโลก เพื่อให้ปตท.มีกำไรไปจ่ายค่าตอบแทนผู้บริหาร และจ่ายเงินปันผลให้ผู้ถือหุ้นที่เป็นทั้งคนไทยและต่างชาติ ซึ่งเป็นคนกลุ่มน้อย
ถ้าแก้กฎหมายแล้วปล้น หรือแก้กฎหมายแล้วขายชาติ ประเทศไทยจะไปเหลืออะไร
http://twitter.com/indexthai2
indexthai2@gmail.com