ASTVผู้จัดการรายวัน- “ปู”ออกตัวไม่ชี้แจง พ.ร.บ.กู้ 2 ล้านล้าน โบ้ยเป็นหน้าที่ของกรรมาธิการ ฝ่ายค้านขอเวลาอภิปราย 1 สัปดาห์ ระบุทำให้ประเทศเป็นหนี้ถึง 5 ล้านล้าน ขณะที่ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายการเงินการคลัง ชี้ พ.ร.บ.กู้ ถ้าผ่านก็หนีไม่พ้นถูกยื่นศาลรธน. เผยรัฐบาลเตรียมแผน 2 ดัน ร่าง พ.ร.บ.การเงินการคลังของรัฐ หวังฟอกกฎหมายกู้เงิน เพราะรัฐบาลรู้ดีว่า พ.ร.บ.กู้ 2 ล้านล้าน ขัดรธน.
น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม กล่าวถึงการประชุมสภา เพื่อพิจารณา ร่าง พ.ร.บ.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงิน 2 ล้านล้านบาท วาระ 2 ที่จะมีขึ้นในวันที่ 19-20 ก.ย. ว่า ร่าง พ.ร.บ.เงินกู้ 2 ล้านล้าน เป็นวาระที่เกี่ยวข้องกับคณะกรรมาธิการ ซึ่งกรรมาธิการ ก็พร้อมที่จะให้ข้อมูล ชี้แจงต่อรัฐสภา เป็นสิ่งที่เราอยากขอความร่วมมือ เพราะอยากเห็นการที่ประเทศได้มีแผนการลงทุนที่ชัดเจน ซึ่งจะเป็นประโยชน์และช่วยในเรื่องเศรษฐกิจที่จะทำให้ขับเคลื่อนไปได้ โดยเฉพาะช่วงนี้เป็นช่วงที่เศรษฐกิจต่างๆ ต้องการความเติบโต ถ้ามีการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน จะทำให้ทุกอย่างเดินได้ จริงๆแล้วการลงทุนครั้งนี้อาจจะดูเป็นตัวเลขที่สูง แต่จริงๆแล้วการใช้วงเงินต่างๆ จะมีการใช้ตามความเป็นจริง ซึ่งจะใช้เวลาถึง 7 ปี ที่สำคัญรัฐบาลคำนึงถึงวินัยการเงินการคลัง โดยที่ยึดกรอบหนี้สาธารณะไม่เกิน 50%
เมื่อถามว่า ฝ่ายค้านจะยื่นศาลรัฐธรรมนูญตีความว่าพ.ร.บ.กู้ 2ล้านล้าน ขัดรัฐธรรมนูญ น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าวว่า พ.ร.บ.นี้ เราให้คณะกรรมการกฤษฎีกาเป็นผู้ร่าง และทำตามขั้นตอนต่างๆ เช่นเดียวกับพ.ร.บ.เงินกู้อื่นๆ อยู่แล้ว ทุกอย่างเราใช้ข้อมูลจากกฤษฎีกา และผู้ที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามขั้นตอน
เมื่อถามอีกว่า มีแผนรองรับอย่างไร หาก ร่าง พ.ร.บ.เงินกู้ 2 ล้านล้าน ไม่สามารถผ่านสภาได้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าวว่า เราถือว่าเราทำเต็มที่ให้กับประเทศ หากไม่ผ่านก็เป็นเรื่องที่น่าเสียดาย โอกาสที่เราจะทำให้ประเทศเราสามารถที่จะแข่งขันไปข้างหน้า เพื่อสร้างความมั่นใจแก่นักลงทุน ที่เห็นว่าประเทศไทยประกาศการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน เราจะเป็นจุดยุทธศาสตร์เชื่อมโยงอาเซียน คงจะเกิดได้ยาก อาจจะทำให้โอกาสที่เราควรจะได้อาจจะเป็นที่อื่น เราก็ถือว่าเราก็พยายามอย่างเต็มที่ แต่ก็หวังว่าหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และทุกๆคนจะเข้าใจ และช่วยกันให้โครงการนี้เป็นโครงการที่ก่อให้เกิดความภูมิใจให้แก่ลูกหลานของเรา และเรียนว่า ตามกฎหมายเราใช้ พ.ร.บ.เงินกู้ แต่จริงๆแล้ว เม็ดเงินนี้คือการลงทุนสำหรับการสร้างรายได้ในระยะยาวในการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน จะเป็นการวัดขีดความสามารถของประเทศ ถ้าเราไม่ทำอะไรเลย ไม่ลงทุนอะไรเลยตลอด7-8 ปีที่ผ่านมา เราก็ไม่รู้ว่าจะแข่งขันอย่างไร ฉะนั้นตรงนี้เป็นโจทย์ที่ผู้ประกอบการ ภาคเอกชน การลงทุนจากต่างประเทศ ให้ความสำคัญ รวมทั้งการสร้างงาน พัฒนาประเทศ
เมื่อถามว่า ถ้าไม่ผ่าน ก็ไม่ถึงขั้นต้องยุบสภา ใช่หรือไม่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ตอบว่า “จะยุบทำไมล่ะคะ”ก่อนที่จะเดินออกจากวงล้อมผู้สื่อข่าวไปทันที
**เลื่อนประชุมครม.สัญจร ที่ลพบุรี
นายธีรัตถ์ รัตนเสวี โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงว่า ครม.มีมติเลื่อนการประชุม ครม.นอกสถานที่อย่างไม่เป็นทางการ ที่ จ.ลพบุรี ระหว่างวันที่ 19-20 ก.ย. ออกไปอย่างไม่มีกำหนด เนื่องมีการประชุมสภา เพื่อพิจารณา ร่าง พ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้าน เพราะหลายหน่วยงานต้องเตรียมข้อมูลเพื่อชี้เเจงต่อที่ประชุม อาทิ สภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงบประมาณ กระทรวงการคลัง ซึ่งอาจส่งผลให้เจ้าหน้าที่ไม่สะดวกในการเดินทางไปร่วมประชุม ครม.ที่ลพบุรี โดยนายกฯย้ำว่า เรื่องนี้สำคัญต่อการพัฒนาประเทศ จึงอยากให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อยู่ช่วยชี้แจงหากถูกซักถาม ขณะเดียวกัน รัฐบาลได้ทำความเข้าใจกับผู้ประกอบการในพื้นที่แล้ว และยังไม่ได้มีการจ่ายค่ามัดจำ ค่าที่พัก
**ซัดปชป.ทำตัวเป็นลูกตุ้มถ่วงความเจริญ
นายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทย กล่าวถึงกรณีที่ฝ่ายค้าน ระบุว่า การพิจารณาพ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้าน น่าจะมีการปิดปากฝ่ายค้าน ด้วยการเสนอปิดอภิปราย และเรียกร้องให้มีการถ่ายทอดสด ว่า เป็นการให้ข่าวที่บิดเบือน เพราะเราเปิดโอกาสเต็มที่ ไม่มีการปิดปาก และจะมีการควบคุมสมาชิกให้ทำงานเต็มที่ และมีการถ่ายทอดสดทางวิทยุ และทีวีรัฐสภา สามารถฟังได้ทั่วประเทศ
ส่วนที่ว่า ร่าง พ.ร.บ.นี้ จะสร้างภาระหนี้ในอนาต และมีความไม่พร้อมในโครงการ และความไม่โปร่งใส ก็ไม่เป็นความจริง เพราะพ.ร.บ.กู้ 2 ล้านล้าน ทพเพื่อการพัฒนาระบบขนส่ง แม้จะมีหนี้ แต่ก็มีรายรับ ยืนยันว่าโครงการมีความพร้อม และศึกษามาแล้วในอดีต ในการปรับปรุงระบอบราง และขยายถนน ส่วนเรื่องความไม่โปร่งใส เราก็มีกระบวนการตรวจสอบ โดยเฉพาะสภาผู้แทนฯ วุฒิสภา องค์อิสระ คณะกมธ.ต่างๆ สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน ฝ่ายค้าน ภาคประชาชน
การที่พรรคประชาธิปัตย์ เตรียมยื่นให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความ หาก พ.ร.บ.ผ่านนั้น ถือว่าไม่คำนึงถึงผลประโยชน์ของประชาชน ซึ่งพรรคเพื่อไทย ได้รวบรวมข้อมูลจากภาคธุรกิจ ภาคประชาชน ทุกฝ่ายก็เห็นด้วย เพราะไม่มีการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานมา 10 ปีแล้ว และการลงทุนครั้งนี้ จะทำให้ไทยก้าวกระโดด เป็นผู้นำในอาเซียน แต่สิ่งที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวหานั้น ทำตัวเป็นลูกตุ้ม ถ่วงความเจริญ และในอดีตพรรคประชาธิปัตย์ ก็เคยกู้ ไม่เห็นขัดรัฐธรรมนูญเลย
**ฝ่ายค้านขออภิปราย 1 สัปดาห์
นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ ประธานวิปฝ่ายค้าน เปิดเผยว่า ได้มีการประชุม หารือกรณีที่สภาผู้แทนราษฎร จะพิจารณา ร่าง พ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านบาท วาระ 2 ในวันนี้ (19 ก.ย.) โดยพรรคประชาธิปัตย์ มีส.ส.และผู้ที่เป็นกรรมาธิการเสียงข้างน้อย สงวนคำแปรญัตติทั้งหมด 115 คน การอภิปรายครั้งนี้ ขอเรียกร้องให้มีการถ่ายสดการประชุมด้วย เพราะเป็นร่างกฎหมายที่มีวงเงินจำนวนมาก ซึ่งฝ่ายค้านมีความเป็นห่วง 3 เรื่อง คือ 1. ภาระหนี้ในอนาคต 2. ความไม่พร้อมของโครงการทั้งหมด และ 3. ความไม่โปร่งใส จึงขอให้รัฐบาลเปิดโอกาสให้ผู้สงวนคำแปรญัตติ และสงวนความเห็นได้อภิปรายอย่างเต็มที่ อย่าชิงเสนอปิดอภิปราย เหมือนการพิจารณา ร่าง แก้ไขรัฐธรรมนูญ เพราะจะทำให้ร่าง พ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านบาท มีปัญหาลักษณะเดียวกันกับร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ
นายชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า ร่าง พ.ร.บ.นี้ ไม่ควรเรียกว่าเป็นการกู้เงิน 2 ล้านล้านบาท แต่ต้องเรียกว่ากู้เงิน 5 ล้านล้าน สร้างหนี้ 50 ปี โดยจะมีโอกาสคุ้มทุนโครงการใน 300-600 ปี
ทั้งนี้ พรรคเห็นว่าเรื่องนี้เป็นประเด็นใหญ่ที่กระทบต่อประชาชชนโดยรวม จึงเห็นว่าระยะเวลา 2 วันที่กำหนดไว้ ไม่เพียงพอต่อการอภิปราย เพราะพรรคฝ่ายค้าน มีผู้แปรญัตติกว่า 100 คน เนื่องจากไม่เห็นด้วยกับการสร้างหนี้มากที่สุดในประวัติศาสตร์ เป็นการกู้หนี้ที่สามารถนำแบงก์พัน ไปพันรอบโลกได้ 8 รอบ เป็นสิ่งที่สะท้อนว่า รัฐบาลกำลังพาประเทศไทยโดดลงปากเหวอย่างชัดเจน เพราะรัฐบาลยังตอบคำถามไม่ได้ว่า
1. ทำไมต้องกู้นอกระบบงบประมาณ ทั้งที่สามารถดำเนินการตามระบบงบประมาณปกติได้ แต่รัฐบาลก็ไม่เคยมีคำตอบว่า ทำไมต้องหลีกเลี่ยงการตรวจสอบให้เกิดการทุจริตง่ายขึ้น
2 . ทำไมต้องกู้ ทั้งที่ยังไม่มีรายละเอียดว่าจะทำอะไร แต่กลับกู้เงินมากอง เพื่อจ่ายดอกเบี้ยโดยภาษีประชาชน
3 . ใช้อำนาจรัฐบาลบีบบังคับให้กระทรวงการคลังกู้เงินโดยไม่มีรายละเอียด เปิดช่องให้มีการทุจริตอย่างง่ายดาย
สิ่งที่รัฐบาลกำลังทำเป็นเรื่องน่าห่วง และไม่เคยมีประเทศไหนในโลกทำแบบนี้ จึงขอเรียกร้องไปยังรัฐบาลว่า อย่ากล่าวหาว่าฝ่ายค้านขวางความเจริญ เพราะสิ่งที่พรรคคัดค้านคือ การสร้างภาระให้ประชาชนโดยไม่จำเป็น และจะส่งผลต่อหนี้ประเทศ
ทั้งนี้ตนขอท้าว่า ไม่จำเป็นต้องมีการกู้เงินนอกงบประมาณ โครงการรถไฟความเร็วสูงก็เกิดได้ จึงขอให้รัฐบาลเลิกอ้างเรื่องนี้ได้แล้ว เพราะประชาชนรู้ทัน ตนเชื่อว่าเมื่อมีเงิน ก็จะไปเร่หาผู้รับเหมา เรียกมาตกลงหลังเวที เพราะไม่ต้องผ่านกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างตามปกติ นี่คือความสนุกของรัฐบาลเสวยสุข บนกองเงินกองทองจากการทุจริต คอร์รัปชัน เงินภาษีประชาชน
นายชวนนท์ กล่าวว่า การพิจารณา ร่าง พ.ร.บ.เงินกู้ ดังกล่าว ฝ่ายค้านขอเวลาเป็นสัปดาห์ หรือถ้าจะต้องใช้เวลาเป็นเดือนเพื่ออภิปรายเรื่องนี้ ก็ควรให้โอกาส เพราะเป็นสิ่งที่จะกระทบต่อประชาชนโดยตรง แต่ถ้าใช้วิธีปิดปาก เสนอปิดอภิปราย ก็เจอกันที่ศาลรัฐธรรมนูญ
** กู้ 2 ล้านล้าน อาจสะดุดในชั้นวุฒิสภา
นายปรีชา สุวรรณทัต อดีต คณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายการเงินการคลัง กล่าวว่า ร่าง พ.ร.บ.กู้เงิน 2ล้านล้านนี้ ไม่น่าจะมีเหตุอะไรที่ทำให้ร่างดังกล่าวสะดุดหยุดลง เพราะเสียงข้างมากของรัฐบาล จะทำให้ร่างนี้ผ่านในชั้นสภาผู้แทนฯไปได้แน่นอน แต่ร่าง นี้อาจสะดุดได้ในชั้นของวุฒิสภา โดยเฉพาะ กลุ่ม 40 ส.ว. ที่อาจมีการขอแปรญัตติแก้ไขเพิ่มเติม ไม่ให้เป็นพ.ร.บ.กู้เงิน โดยให้เข้าเป็นงบประมาณภายในผูกพันข้ามปี และก่อหนี้หลายๆ ปี เพื่อให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ ให้เป็นการใช้งบประมาณตามกฎหมายที่ไม่ใช่เป็นการกู้เงิน หาก ส.ว.เสียงข้างมาก มีมติแก้ไขเพิ่มเติม ก็ต้องส่งเรื่องกลับไปยังสภาผู้แทนราษฎร เพื่อตั้งกรรมาธิการร่วม เพื่อพิจารณาหาข้อสรุปร่วมกัน
นายปรีชา กล่าวว่า รู้สึกกังวลว่า จากการที่รัฐบาลได้มีการพิจารณา ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ ในประเด็นที่มาของส.ว. ให้มาจากการเลือกตั้งอย่างเดียวนั้น อาจจะมีส่วนให้ ส.ว.ใส่เกียร์ว่างในเรื่องนี้ เพราะอาจมองได้ว่าเป็นข้อต่อรองระหว่างกัน ซึ่งหากส.ว.เสียงข้างมาก เห็นชอบกับร่างดังกล่าวจริง ส.ส. และส.ว. ก็สามารถเข้าชื่อ และส่งเรื่องไปยังศาลรัฐธรรมนูญให้วินิจฉัยได้ ก่อนที่นายกรัฐมนตรีจะนำร่างดังกล่าวขึ้นทูลเกล้าฯ เพื่อทรงลงพระปรมาภิไธย ซึ่งนายกรัฐมนตรี ก็ต้องยับยั้งการนำร่างขึ้นทูลเกล้าฯ พร้อมทั้งเชื่อว่า เมื่อศาลรัฐธรรมนูญรับเรื่องดังกล่าวแล้ว จะต้องใช้ระยะเวลาในการวินิจฉัยนานพอสมควร เนื่องจากเป็นเรื่องที่มีความซับซ้อน และหากศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า ขัดรัฐธรรมนูญ มาตรา 169 ก็เป็นผลให้ ร่าง พ.ร.บ.เงินกู้ 2 ล้านล้าน เป็นอันตกไปทันที เพราะถือเป็นสาระสำคัญ อย่างไรก็ตามเชื่อว่าร่างกฎหมายฉบับนี้จะต้องถูกยื่นฟ้องไปยังศาลรัฐธรรมนูญแน่นอน
** ใช้แผน 2 เตรียมออกกม.ฟอกผิด
นายปรีชา กล่าวด้วยว่า ขณะนี้มีร่างกฎหมายที่รัฐบาลพยายามจะแก้ไขเพิ่มเติม เพื่อให้กฎหมายเงินกู้ 2ล้านล้าน นี้มีผลใช้บังคับโดยชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งแสดงให้เห็นชัดเจนว่า รัฐบาลมีความกังวลว่า ร่างกฎหมายกู้เงิน 2 ล้านล้านบาท จะขัดต่อรัฐธรรมนูญ และมีความไม่ชอบด้วยกฎหมาย จึงพยายามผลักดัน ร่าง พ.ร.บ.การเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. .... ที่คณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะพิเศษ) ได้ตรวจพิจารณาเสร็จแล้ว และส่งให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เมื่อ 14 ส.ค.56 ซึ่งมีเจตนาให้เป็นกฎหมายฟอกความผิดเงินกู้ 2 ล้านล้านบาท ให้ไม่ผิดรัฐธรรมนูญ ตามมาตรา 169 และยังให้เห็นชอบในการกู้นอกเหนือจากที่บัญญัติไว้ในกฎหมายบริหารหนี้สาธารณะ ที่ให้กู้ได้เฉพาะเพื่อวัตถุประสงค์อย่างหนึ่งอย่างใดใน 5 วัตถุประสงค์เท่านั้น
ทั้งนี้ หลักในกรณีกู้พัฒนาเศรษฐกิจและสังคมเช่นที่จะกู้ 2 ล้านล้านบาท จะกู้ได้ไม่เกินร้อยละ 10 ของงบประมาณรายจ่ายประจำปีเท่านั้น และยังผิดต่อรัฐธรรมนูญตามมาตรา 169 ที่จะจ่ายเงินแผ่นดินได้ ต้องจัดทำเป็นงบประมาณรายจ่ายแผ่นดิน ฉะนั้น เพื่อไม่ให้การกู้เงินที่เป็นการใช้จ่ายเงินแผ่นดินผิดกฎหมายดังกล่าว ในร่างกฎหมายฉบับล่าสุดนี้ จึงมีบทบัญญัติฟอกเงินกู้ทุกประเภท ที่ไม่ต้องนำส่งคลัง และใช้เป็นเงินนอกงบประมาณให้ชอบด้วยกฎหมายรัฐธรรมนูญ และกฎหมายบริหารหนี้สาธารณะไว้ โดยในร่างกฎหมายฉบับใหม่ ได้ตัดคำนิยาม“เงินแผ่นดิน”ออกไปจากร่างเดิม ของกระทรวงการคลังในสมัยรัฐบาล นายกฯอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี เพราะถ้าคงคำนิยาม “เงินแผ่นดิน”ตามร่างเดิมไว้ เงินกู้ทุกประเภท รวมทั้ง 2 ล้านล้านบาทนี้ แม้จะไม่ต้องส่งคลัง แต่เป็นเงินนอกงบประมาณ ที่เป็นเงินแผ่นดิน ตามคำนิยาม การนำไปจ่ายต้องเป็นไปตาม มาตรา 169 ของรัฐธรรมนูญ เมื่อตัดคำว่า“เงินแผ่นดิน”ในคำนิยามออกไปแล้ว จึงต้องตัดคำนี้ในทุกๆ มาตราออกตามไปด้วย โดยรายจ่าย จะบัญญัติไว้อย่างกำกวม และขัดต่อวินัยการคลัง ที่แก้ไขคำว่า “จ่ายเงินแผ่นดิน”เป็น“จ่ายเงินได้”แทน ในมาตรา 17 เพื่อเปิดกว้าง ให้จ่ายได้ตามกฎหมายอื่น ที่จะเป็นกฎหมายทุกชนิด ทุกประเภท นอกเหนือกรอบวินัยตาม มาตรา 169 บัญญัติไว้ ซึ่งทำให้กฎหมายกู้เงิน 2 ล้านล้านบาท ไปเข้าข่ายจ่ายได้ตามกฎหมายอื่น
ขณะเดียวกัน ยังมีการแก้ไขร่างกฎหมายฉบับใหม่ ใน มาตรา30 ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการบริหารหนี้สาธารณะ เป็นความใหม่ที่เปิดกว้างยกเว้นไว้ จากร่างเดิม ที่บัญญัติว่า การก่อหนี้สาธารณะและการบริหารหนี้สาธารณะ เพื่อเป็นหลักประกันไม่ให้เป็นการกู้ที่ผิดกรอบในการกู้นอกเหนือกฎหมายบริหารหนี้สาธารณะ เพราะไม่มีข้อยกเว้นให้กู้ได้เกินร้อยละ10 ของงบประมาณรายจ่ายประจำปี
มาตรา 30 “การกู้เงินนอกเหนือจากที่บัญญัติไว้ในกฎหมายว่าด้วยการบริหารหนี้สาธารณะให้กระทรวงการคลังกระทำได้ก็แต่โดยอาศัยอำนาจตามกฎหมายที่ตราขึ้นเป็นการเฉพาะ ในกรณีที่มีความจำเป็นเพื่อแก้ไขปัญหาของประเทศ.....” ซึ่งการกู้เงิน 2 ล้านล้านบาท ก็อ้างความจำเป็นดังกล่าวไว้เช่นกัน
ดังนั้น ความคิดในการใช้ และร่างกฎหมายการคลังในระบบสองมาตรฐานก็จะเกิดขึ้น จึงต้องเขียนยกเว้นไว้ในร่างกฎหมายฉบับใหม่ ก็เพื่อให้กรณีการกู้เงิน และการใช้จ่ายไม่ผิดรัฐธรรมนูญ และกฎหมายบริหารหนี้สาธารณะ เพราะกฎหมายการเงินการคลังของรัฐ จะต้องตราขึ้นตาม มาตรา 167 แห่งรัฐธรรมนูญ และถือเป็นกฎหมายกลางด้วย
อย่างไรก็ตาม นายปรีชา ระบุว่า การแก้ไข ร่าง พ.ร.บ.การเงินการคลังของรัฐ ฉบับนี้ ปัจจุบันยังไม่มีผลบังคับใช้ตามกฎหมาย ข้อยกเว้นที่ให้กระทำได้ จึงยังไม่มีผลใดๆ ดังนั้นทุกกรณีที่ได้กระทำฝ่าฝืนไปแล้ว จึงเป็นความผิดแล้วทั้งสิ้น ซึ่งขณะนี้แม้รัฐบาลจะเขียนยังไง ก็ไม่ทันแล้ว เพราะร่าง พ.ร.บ.เงินกู้ 2 ล้านล้านบาท ได้เข้าสู่สภาฯ เป็นที่เรียบร้อยแล้ว แต่ก็ถือเป็นตัวสะท้อนถึงความกังวลของรัฐบาล ต่อ พ.ร.บ.เงินกู้ 2 ล้านล้านบาท ที่รัฐบาลก็รู้ดีแก่ใจอยู่แล้วว่า ขัดต่อรัฐธรรมนูญ
น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม กล่าวถึงการประชุมสภา เพื่อพิจารณา ร่าง พ.ร.บ.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงิน 2 ล้านล้านบาท วาระ 2 ที่จะมีขึ้นในวันที่ 19-20 ก.ย. ว่า ร่าง พ.ร.บ.เงินกู้ 2 ล้านล้าน เป็นวาระที่เกี่ยวข้องกับคณะกรรมาธิการ ซึ่งกรรมาธิการ ก็พร้อมที่จะให้ข้อมูล ชี้แจงต่อรัฐสภา เป็นสิ่งที่เราอยากขอความร่วมมือ เพราะอยากเห็นการที่ประเทศได้มีแผนการลงทุนที่ชัดเจน ซึ่งจะเป็นประโยชน์และช่วยในเรื่องเศรษฐกิจที่จะทำให้ขับเคลื่อนไปได้ โดยเฉพาะช่วงนี้เป็นช่วงที่เศรษฐกิจต่างๆ ต้องการความเติบโต ถ้ามีการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน จะทำให้ทุกอย่างเดินได้ จริงๆแล้วการลงทุนครั้งนี้อาจจะดูเป็นตัวเลขที่สูง แต่จริงๆแล้วการใช้วงเงินต่างๆ จะมีการใช้ตามความเป็นจริง ซึ่งจะใช้เวลาถึง 7 ปี ที่สำคัญรัฐบาลคำนึงถึงวินัยการเงินการคลัง โดยที่ยึดกรอบหนี้สาธารณะไม่เกิน 50%
เมื่อถามว่า ฝ่ายค้านจะยื่นศาลรัฐธรรมนูญตีความว่าพ.ร.บ.กู้ 2ล้านล้าน ขัดรัฐธรรมนูญ น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าวว่า พ.ร.บ.นี้ เราให้คณะกรรมการกฤษฎีกาเป็นผู้ร่าง และทำตามขั้นตอนต่างๆ เช่นเดียวกับพ.ร.บ.เงินกู้อื่นๆ อยู่แล้ว ทุกอย่างเราใช้ข้อมูลจากกฤษฎีกา และผู้ที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามขั้นตอน
เมื่อถามอีกว่า มีแผนรองรับอย่างไร หาก ร่าง พ.ร.บ.เงินกู้ 2 ล้านล้าน ไม่สามารถผ่านสภาได้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าวว่า เราถือว่าเราทำเต็มที่ให้กับประเทศ หากไม่ผ่านก็เป็นเรื่องที่น่าเสียดาย โอกาสที่เราจะทำให้ประเทศเราสามารถที่จะแข่งขันไปข้างหน้า เพื่อสร้างความมั่นใจแก่นักลงทุน ที่เห็นว่าประเทศไทยประกาศการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน เราจะเป็นจุดยุทธศาสตร์เชื่อมโยงอาเซียน คงจะเกิดได้ยาก อาจจะทำให้โอกาสที่เราควรจะได้อาจจะเป็นที่อื่น เราก็ถือว่าเราก็พยายามอย่างเต็มที่ แต่ก็หวังว่าหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และทุกๆคนจะเข้าใจ และช่วยกันให้โครงการนี้เป็นโครงการที่ก่อให้เกิดความภูมิใจให้แก่ลูกหลานของเรา และเรียนว่า ตามกฎหมายเราใช้ พ.ร.บ.เงินกู้ แต่จริงๆแล้ว เม็ดเงินนี้คือการลงทุนสำหรับการสร้างรายได้ในระยะยาวในการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน จะเป็นการวัดขีดความสามารถของประเทศ ถ้าเราไม่ทำอะไรเลย ไม่ลงทุนอะไรเลยตลอด7-8 ปีที่ผ่านมา เราก็ไม่รู้ว่าจะแข่งขันอย่างไร ฉะนั้นตรงนี้เป็นโจทย์ที่ผู้ประกอบการ ภาคเอกชน การลงทุนจากต่างประเทศ ให้ความสำคัญ รวมทั้งการสร้างงาน พัฒนาประเทศ
เมื่อถามว่า ถ้าไม่ผ่าน ก็ไม่ถึงขั้นต้องยุบสภา ใช่หรือไม่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ตอบว่า “จะยุบทำไมล่ะคะ”ก่อนที่จะเดินออกจากวงล้อมผู้สื่อข่าวไปทันที
**เลื่อนประชุมครม.สัญจร ที่ลพบุรี
นายธีรัตถ์ รัตนเสวี โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงว่า ครม.มีมติเลื่อนการประชุม ครม.นอกสถานที่อย่างไม่เป็นทางการ ที่ จ.ลพบุรี ระหว่างวันที่ 19-20 ก.ย. ออกไปอย่างไม่มีกำหนด เนื่องมีการประชุมสภา เพื่อพิจารณา ร่าง พ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้าน เพราะหลายหน่วยงานต้องเตรียมข้อมูลเพื่อชี้เเจงต่อที่ประชุม อาทิ สภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงบประมาณ กระทรวงการคลัง ซึ่งอาจส่งผลให้เจ้าหน้าที่ไม่สะดวกในการเดินทางไปร่วมประชุม ครม.ที่ลพบุรี โดยนายกฯย้ำว่า เรื่องนี้สำคัญต่อการพัฒนาประเทศ จึงอยากให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อยู่ช่วยชี้แจงหากถูกซักถาม ขณะเดียวกัน รัฐบาลได้ทำความเข้าใจกับผู้ประกอบการในพื้นที่แล้ว และยังไม่ได้มีการจ่ายค่ามัดจำ ค่าที่พัก
**ซัดปชป.ทำตัวเป็นลูกตุ้มถ่วงความเจริญ
นายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทย กล่าวถึงกรณีที่ฝ่ายค้าน ระบุว่า การพิจารณาพ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้าน น่าจะมีการปิดปากฝ่ายค้าน ด้วยการเสนอปิดอภิปราย และเรียกร้องให้มีการถ่ายทอดสด ว่า เป็นการให้ข่าวที่บิดเบือน เพราะเราเปิดโอกาสเต็มที่ ไม่มีการปิดปาก และจะมีการควบคุมสมาชิกให้ทำงานเต็มที่ และมีการถ่ายทอดสดทางวิทยุ และทีวีรัฐสภา สามารถฟังได้ทั่วประเทศ
ส่วนที่ว่า ร่าง พ.ร.บ.นี้ จะสร้างภาระหนี้ในอนาต และมีความไม่พร้อมในโครงการ และความไม่โปร่งใส ก็ไม่เป็นความจริง เพราะพ.ร.บ.กู้ 2 ล้านล้าน ทพเพื่อการพัฒนาระบบขนส่ง แม้จะมีหนี้ แต่ก็มีรายรับ ยืนยันว่าโครงการมีความพร้อม และศึกษามาแล้วในอดีต ในการปรับปรุงระบอบราง และขยายถนน ส่วนเรื่องความไม่โปร่งใส เราก็มีกระบวนการตรวจสอบ โดยเฉพาะสภาผู้แทนฯ วุฒิสภา องค์อิสระ คณะกมธ.ต่างๆ สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน ฝ่ายค้าน ภาคประชาชน
การที่พรรคประชาธิปัตย์ เตรียมยื่นให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความ หาก พ.ร.บ.ผ่านนั้น ถือว่าไม่คำนึงถึงผลประโยชน์ของประชาชน ซึ่งพรรคเพื่อไทย ได้รวบรวมข้อมูลจากภาคธุรกิจ ภาคประชาชน ทุกฝ่ายก็เห็นด้วย เพราะไม่มีการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานมา 10 ปีแล้ว และการลงทุนครั้งนี้ จะทำให้ไทยก้าวกระโดด เป็นผู้นำในอาเซียน แต่สิ่งที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวหานั้น ทำตัวเป็นลูกตุ้ม ถ่วงความเจริญ และในอดีตพรรคประชาธิปัตย์ ก็เคยกู้ ไม่เห็นขัดรัฐธรรมนูญเลย
**ฝ่ายค้านขออภิปราย 1 สัปดาห์
นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ ประธานวิปฝ่ายค้าน เปิดเผยว่า ได้มีการประชุม หารือกรณีที่สภาผู้แทนราษฎร จะพิจารณา ร่าง พ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านบาท วาระ 2 ในวันนี้ (19 ก.ย.) โดยพรรคประชาธิปัตย์ มีส.ส.และผู้ที่เป็นกรรมาธิการเสียงข้างน้อย สงวนคำแปรญัตติทั้งหมด 115 คน การอภิปรายครั้งนี้ ขอเรียกร้องให้มีการถ่ายสดการประชุมด้วย เพราะเป็นร่างกฎหมายที่มีวงเงินจำนวนมาก ซึ่งฝ่ายค้านมีความเป็นห่วง 3 เรื่อง คือ 1. ภาระหนี้ในอนาคต 2. ความไม่พร้อมของโครงการทั้งหมด และ 3. ความไม่โปร่งใส จึงขอให้รัฐบาลเปิดโอกาสให้ผู้สงวนคำแปรญัตติ และสงวนความเห็นได้อภิปรายอย่างเต็มที่ อย่าชิงเสนอปิดอภิปราย เหมือนการพิจารณา ร่าง แก้ไขรัฐธรรมนูญ เพราะจะทำให้ร่าง พ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านบาท มีปัญหาลักษณะเดียวกันกับร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ
นายชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า ร่าง พ.ร.บ.นี้ ไม่ควรเรียกว่าเป็นการกู้เงิน 2 ล้านล้านบาท แต่ต้องเรียกว่ากู้เงิน 5 ล้านล้าน สร้างหนี้ 50 ปี โดยจะมีโอกาสคุ้มทุนโครงการใน 300-600 ปี
ทั้งนี้ พรรคเห็นว่าเรื่องนี้เป็นประเด็นใหญ่ที่กระทบต่อประชาชชนโดยรวม จึงเห็นว่าระยะเวลา 2 วันที่กำหนดไว้ ไม่เพียงพอต่อการอภิปราย เพราะพรรคฝ่ายค้าน มีผู้แปรญัตติกว่า 100 คน เนื่องจากไม่เห็นด้วยกับการสร้างหนี้มากที่สุดในประวัติศาสตร์ เป็นการกู้หนี้ที่สามารถนำแบงก์พัน ไปพันรอบโลกได้ 8 รอบ เป็นสิ่งที่สะท้อนว่า รัฐบาลกำลังพาประเทศไทยโดดลงปากเหวอย่างชัดเจน เพราะรัฐบาลยังตอบคำถามไม่ได้ว่า
1. ทำไมต้องกู้นอกระบบงบประมาณ ทั้งที่สามารถดำเนินการตามระบบงบประมาณปกติได้ แต่รัฐบาลก็ไม่เคยมีคำตอบว่า ทำไมต้องหลีกเลี่ยงการตรวจสอบให้เกิดการทุจริตง่ายขึ้น
2 . ทำไมต้องกู้ ทั้งที่ยังไม่มีรายละเอียดว่าจะทำอะไร แต่กลับกู้เงินมากอง เพื่อจ่ายดอกเบี้ยโดยภาษีประชาชน
3 . ใช้อำนาจรัฐบาลบีบบังคับให้กระทรวงการคลังกู้เงินโดยไม่มีรายละเอียด เปิดช่องให้มีการทุจริตอย่างง่ายดาย
สิ่งที่รัฐบาลกำลังทำเป็นเรื่องน่าห่วง และไม่เคยมีประเทศไหนในโลกทำแบบนี้ จึงขอเรียกร้องไปยังรัฐบาลว่า อย่ากล่าวหาว่าฝ่ายค้านขวางความเจริญ เพราะสิ่งที่พรรคคัดค้านคือ การสร้างภาระให้ประชาชนโดยไม่จำเป็น และจะส่งผลต่อหนี้ประเทศ
ทั้งนี้ตนขอท้าว่า ไม่จำเป็นต้องมีการกู้เงินนอกงบประมาณ โครงการรถไฟความเร็วสูงก็เกิดได้ จึงขอให้รัฐบาลเลิกอ้างเรื่องนี้ได้แล้ว เพราะประชาชนรู้ทัน ตนเชื่อว่าเมื่อมีเงิน ก็จะไปเร่หาผู้รับเหมา เรียกมาตกลงหลังเวที เพราะไม่ต้องผ่านกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างตามปกติ นี่คือความสนุกของรัฐบาลเสวยสุข บนกองเงินกองทองจากการทุจริต คอร์รัปชัน เงินภาษีประชาชน
นายชวนนท์ กล่าวว่า การพิจารณา ร่าง พ.ร.บ.เงินกู้ ดังกล่าว ฝ่ายค้านขอเวลาเป็นสัปดาห์ หรือถ้าจะต้องใช้เวลาเป็นเดือนเพื่ออภิปรายเรื่องนี้ ก็ควรให้โอกาส เพราะเป็นสิ่งที่จะกระทบต่อประชาชนโดยตรง แต่ถ้าใช้วิธีปิดปาก เสนอปิดอภิปราย ก็เจอกันที่ศาลรัฐธรรมนูญ
** กู้ 2 ล้านล้าน อาจสะดุดในชั้นวุฒิสภา
นายปรีชา สุวรรณทัต อดีต คณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายการเงินการคลัง กล่าวว่า ร่าง พ.ร.บ.กู้เงิน 2ล้านล้านนี้ ไม่น่าจะมีเหตุอะไรที่ทำให้ร่างดังกล่าวสะดุดหยุดลง เพราะเสียงข้างมากของรัฐบาล จะทำให้ร่างนี้ผ่านในชั้นสภาผู้แทนฯไปได้แน่นอน แต่ร่าง นี้อาจสะดุดได้ในชั้นของวุฒิสภา โดยเฉพาะ กลุ่ม 40 ส.ว. ที่อาจมีการขอแปรญัตติแก้ไขเพิ่มเติม ไม่ให้เป็นพ.ร.บ.กู้เงิน โดยให้เข้าเป็นงบประมาณภายในผูกพันข้ามปี และก่อหนี้หลายๆ ปี เพื่อให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ ให้เป็นการใช้งบประมาณตามกฎหมายที่ไม่ใช่เป็นการกู้เงิน หาก ส.ว.เสียงข้างมาก มีมติแก้ไขเพิ่มเติม ก็ต้องส่งเรื่องกลับไปยังสภาผู้แทนราษฎร เพื่อตั้งกรรมาธิการร่วม เพื่อพิจารณาหาข้อสรุปร่วมกัน
นายปรีชา กล่าวว่า รู้สึกกังวลว่า จากการที่รัฐบาลได้มีการพิจารณา ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ ในประเด็นที่มาของส.ว. ให้มาจากการเลือกตั้งอย่างเดียวนั้น อาจจะมีส่วนให้ ส.ว.ใส่เกียร์ว่างในเรื่องนี้ เพราะอาจมองได้ว่าเป็นข้อต่อรองระหว่างกัน ซึ่งหากส.ว.เสียงข้างมาก เห็นชอบกับร่างดังกล่าวจริง ส.ส. และส.ว. ก็สามารถเข้าชื่อ และส่งเรื่องไปยังศาลรัฐธรรมนูญให้วินิจฉัยได้ ก่อนที่นายกรัฐมนตรีจะนำร่างดังกล่าวขึ้นทูลเกล้าฯ เพื่อทรงลงพระปรมาภิไธย ซึ่งนายกรัฐมนตรี ก็ต้องยับยั้งการนำร่างขึ้นทูลเกล้าฯ พร้อมทั้งเชื่อว่า เมื่อศาลรัฐธรรมนูญรับเรื่องดังกล่าวแล้ว จะต้องใช้ระยะเวลาในการวินิจฉัยนานพอสมควร เนื่องจากเป็นเรื่องที่มีความซับซ้อน และหากศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า ขัดรัฐธรรมนูญ มาตรา 169 ก็เป็นผลให้ ร่าง พ.ร.บ.เงินกู้ 2 ล้านล้าน เป็นอันตกไปทันที เพราะถือเป็นสาระสำคัญ อย่างไรก็ตามเชื่อว่าร่างกฎหมายฉบับนี้จะต้องถูกยื่นฟ้องไปยังศาลรัฐธรรมนูญแน่นอน
** ใช้แผน 2 เตรียมออกกม.ฟอกผิด
นายปรีชา กล่าวด้วยว่า ขณะนี้มีร่างกฎหมายที่รัฐบาลพยายามจะแก้ไขเพิ่มเติม เพื่อให้กฎหมายเงินกู้ 2ล้านล้าน นี้มีผลใช้บังคับโดยชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งแสดงให้เห็นชัดเจนว่า รัฐบาลมีความกังวลว่า ร่างกฎหมายกู้เงิน 2 ล้านล้านบาท จะขัดต่อรัฐธรรมนูญ และมีความไม่ชอบด้วยกฎหมาย จึงพยายามผลักดัน ร่าง พ.ร.บ.การเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. .... ที่คณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะพิเศษ) ได้ตรวจพิจารณาเสร็จแล้ว และส่งให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เมื่อ 14 ส.ค.56 ซึ่งมีเจตนาให้เป็นกฎหมายฟอกความผิดเงินกู้ 2 ล้านล้านบาท ให้ไม่ผิดรัฐธรรมนูญ ตามมาตรา 169 และยังให้เห็นชอบในการกู้นอกเหนือจากที่บัญญัติไว้ในกฎหมายบริหารหนี้สาธารณะ ที่ให้กู้ได้เฉพาะเพื่อวัตถุประสงค์อย่างหนึ่งอย่างใดใน 5 วัตถุประสงค์เท่านั้น
ทั้งนี้ หลักในกรณีกู้พัฒนาเศรษฐกิจและสังคมเช่นที่จะกู้ 2 ล้านล้านบาท จะกู้ได้ไม่เกินร้อยละ 10 ของงบประมาณรายจ่ายประจำปีเท่านั้น และยังผิดต่อรัฐธรรมนูญตามมาตรา 169 ที่จะจ่ายเงินแผ่นดินได้ ต้องจัดทำเป็นงบประมาณรายจ่ายแผ่นดิน ฉะนั้น เพื่อไม่ให้การกู้เงินที่เป็นการใช้จ่ายเงินแผ่นดินผิดกฎหมายดังกล่าว ในร่างกฎหมายฉบับล่าสุดนี้ จึงมีบทบัญญัติฟอกเงินกู้ทุกประเภท ที่ไม่ต้องนำส่งคลัง และใช้เป็นเงินนอกงบประมาณให้ชอบด้วยกฎหมายรัฐธรรมนูญ และกฎหมายบริหารหนี้สาธารณะไว้ โดยในร่างกฎหมายฉบับใหม่ ได้ตัดคำนิยาม“เงินแผ่นดิน”ออกไปจากร่างเดิม ของกระทรวงการคลังในสมัยรัฐบาล นายกฯอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี เพราะถ้าคงคำนิยาม “เงินแผ่นดิน”ตามร่างเดิมไว้ เงินกู้ทุกประเภท รวมทั้ง 2 ล้านล้านบาทนี้ แม้จะไม่ต้องส่งคลัง แต่เป็นเงินนอกงบประมาณ ที่เป็นเงินแผ่นดิน ตามคำนิยาม การนำไปจ่ายต้องเป็นไปตาม มาตรา 169 ของรัฐธรรมนูญ เมื่อตัดคำว่า“เงินแผ่นดิน”ในคำนิยามออกไปแล้ว จึงต้องตัดคำนี้ในทุกๆ มาตราออกตามไปด้วย โดยรายจ่าย จะบัญญัติไว้อย่างกำกวม และขัดต่อวินัยการคลัง ที่แก้ไขคำว่า “จ่ายเงินแผ่นดิน”เป็น“จ่ายเงินได้”แทน ในมาตรา 17 เพื่อเปิดกว้าง ให้จ่ายได้ตามกฎหมายอื่น ที่จะเป็นกฎหมายทุกชนิด ทุกประเภท นอกเหนือกรอบวินัยตาม มาตรา 169 บัญญัติไว้ ซึ่งทำให้กฎหมายกู้เงิน 2 ล้านล้านบาท ไปเข้าข่ายจ่ายได้ตามกฎหมายอื่น
ขณะเดียวกัน ยังมีการแก้ไขร่างกฎหมายฉบับใหม่ ใน มาตรา30 ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการบริหารหนี้สาธารณะ เป็นความใหม่ที่เปิดกว้างยกเว้นไว้ จากร่างเดิม ที่บัญญัติว่า การก่อหนี้สาธารณะและการบริหารหนี้สาธารณะ เพื่อเป็นหลักประกันไม่ให้เป็นการกู้ที่ผิดกรอบในการกู้นอกเหนือกฎหมายบริหารหนี้สาธารณะ เพราะไม่มีข้อยกเว้นให้กู้ได้เกินร้อยละ10 ของงบประมาณรายจ่ายประจำปี
มาตรา 30 “การกู้เงินนอกเหนือจากที่บัญญัติไว้ในกฎหมายว่าด้วยการบริหารหนี้สาธารณะให้กระทรวงการคลังกระทำได้ก็แต่โดยอาศัยอำนาจตามกฎหมายที่ตราขึ้นเป็นการเฉพาะ ในกรณีที่มีความจำเป็นเพื่อแก้ไขปัญหาของประเทศ.....” ซึ่งการกู้เงิน 2 ล้านล้านบาท ก็อ้างความจำเป็นดังกล่าวไว้เช่นกัน
ดังนั้น ความคิดในการใช้ และร่างกฎหมายการคลังในระบบสองมาตรฐานก็จะเกิดขึ้น จึงต้องเขียนยกเว้นไว้ในร่างกฎหมายฉบับใหม่ ก็เพื่อให้กรณีการกู้เงิน และการใช้จ่ายไม่ผิดรัฐธรรมนูญ และกฎหมายบริหารหนี้สาธารณะ เพราะกฎหมายการเงินการคลังของรัฐ จะต้องตราขึ้นตาม มาตรา 167 แห่งรัฐธรรมนูญ และถือเป็นกฎหมายกลางด้วย
อย่างไรก็ตาม นายปรีชา ระบุว่า การแก้ไข ร่าง พ.ร.บ.การเงินการคลังของรัฐ ฉบับนี้ ปัจจุบันยังไม่มีผลบังคับใช้ตามกฎหมาย ข้อยกเว้นที่ให้กระทำได้ จึงยังไม่มีผลใดๆ ดังนั้นทุกกรณีที่ได้กระทำฝ่าฝืนไปแล้ว จึงเป็นความผิดแล้วทั้งสิ้น ซึ่งขณะนี้แม้รัฐบาลจะเขียนยังไง ก็ไม่ทันแล้ว เพราะร่าง พ.ร.บ.เงินกู้ 2 ล้านล้านบาท ได้เข้าสู่สภาฯ เป็นที่เรียบร้อยแล้ว แต่ก็ถือเป็นตัวสะท้อนถึงความกังวลของรัฐบาล ต่อ พ.ร.บ.เงินกู้ 2 ล้านล้านบาท ที่รัฐบาลก็รู้ดีแก่ใจอยู่แล้วว่า ขัดต่อรัฐธรรมนูญ