วานนี้ (28 ต.ค.) ได้มีการประชุมวุฒิสภา เพื่อพิจารณาญัตติอภิปรายทั่วไปในวุฒิสภาเพื่อให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) แถลงข้อเท็จจริงหรือชี้แจงปัญหาสำคัญเกี่ยวกับการบริหารราชการแผ่นดิน โดยไม่มีการลงมติ ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 161 โดยมี นายนิคม ไวยรัชพานิช ประธานวุฒิสภา เป็นประธานในที่ประชุม ทั้งนี้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม ได้นำ ครม.มารับฟังการอภิปรายด้วย
** จวกจำนำข้าวเจ๊ง 5 แสนล้าน
ก่อนเข้าสู่วาระการประชุม นายนิคม แจ้งต่อที่ประชุมถึงกรอบเวลาในการอภิปรายว่า การอภิปรายในครั้งนี้จะแบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ 1.เรื่องการรับจำนำข้าว 2.ปัญหาราคายางพาราและปาล์มน้ำมัน 3.ปัญหาประมง และ 4.ผลผลิตทางการเกษตรอื่นๆ โดยกำหนดให้ ส.ว.แต่ละคนมีสิทธิ์อภิปรายได้เพียง 10 นาที
ต่อมา พล.ต.ท.ยุทธนา ไทยภักดี ส.ว.สรรหา ในฐานะผู้เสนอญัตติได้ใช้สิทธิ์อภิปรายเป็นคนแรกว่า ตลอด 2 ปีที่ผ่านมา รัฐบาลได้ใช้งบประมาณในการรับจำนำข้าวไปแล้ว โดยไม่รวมค่าบริหารจัดการประมาณ 4.6 แสนล้านบาท แต่ขายข้าวได้เพียง 1.1 แสนล้านบาท ทั้งที่รัฐบาลลงทุนไปกับโครงการนี้ประมาณ 6 แสนล้านบาท ส่งผลให้ขาดทุนประมาณ 5 แสนล้านบาท
พล.ต.ท.ยุทธนา กล่าวต่อว่า ในกรณีของการจำหน่ายข้าวถุงนั้น คณะอนุกรรมาธิการติดตามตรวจสอบเรื่องการระบายข้าวสารในสต๊อกของรัฐบาลจากโครงการรับจำนำข้าว วุฒิสภา ได้ตรวจสอบพบว่าคณะอนุกรรมการพิจารณาระบายข้าวได้ดำเนินการผลิตข้าวถุงในราคาประมาณ 1.3 หมื่นบาทต่อตัน ซึ่งบริษัท เจียเม้ง จำกัด เป็นผู้รับปรับปรุงข้าวและขนส่งข้าวให้กับตามร้านค้าทั่วไป ปรากฏว่า ข้าวขององค์การคลังสินค้า(อคส.)ไม่ได้รับความนิยม ต่อมาคณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ (กขช.) มีมติเมื่อวันที่ 13 ก.พ.55 ที่ผ่านมาให้ลดราคาเหลือประมาณ 7 พันบาทต่อตัน
** ย้ำเลขาฯ รมว.พณ.มีเอี่ยวทุจริต
พล.ต.ท.ยุทธนา กล่าวด้วยว่า ขณะเดียวกันยังตรวจพบอีกว่าบริษัทที่ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการจัดจำหน่ายข้าวถุงมีจำนวน 3 บริษัท ได้แก่ 1.บริษัท สยามรักษ์ จำกัด 2.บริษัท คอนไซน์ เทรดดิ้ง จำกัด และ 3.บริษัท ร่มทอง จำกัด ซึ่งทั้ง 3 บริษัทนี้ไม่เคยมีความรู้เรื่องการค้าขายข้าวมาก่อน โดย บริษัท สยามรักษ์ จำกัด เป็นบริษัททำไม้กระดาษส่งออกต่างประเทศ บริษัท ร่มทอง จำกัด ตั้งอยู่ที่เชียงใหม่เป็นบริษัทรับปลูกสร้างอาคารและบ้านจัดสรร เช่นเดียวกับ บริษัท คอไซน์ จำกัด ก็เป็นบริษัทที่รับก่อสร้างอยู่ใน กทม.
"ทำไม กขช.ถึงไม่ได้รับกำกับดูแลในเรื่องนี้ เพราะ บ.สยามรักษ์ ซึ่งเป็นบริษัทที่ก่อตั้งเมื่อปี 2533 แต่ต่อมาปี 2553 เลขานุการของ รมว.พาณิชย์เข้ามาเป็นกรรมการบริหารของบริษัท ซึ่งเลขานุการคนนี้ก็ยังเป็นคณะอนุกรรมการเกี่ยวการระบายข้าวของรัฐบาลเกือบทุกคณะด้วย" พล.ต.ท.ยุทธนา กล่าว
พล.ต.ท.ยุทธนา กล่าวในช่วงท้ายว่า ปัญหาเหล่านี้ถ้าไม่ปรับปรุงจะทำความเสียหายให้กับโครงการรับจำนำข้าวอย่างมาก โดยในปีหน้าจะมีหนี้จากโครงการนี้ไม่ต่ำกว่า 6 แสนล้านบาท และอาจจะถึง 8 แสนล้านบาท และ 1 ล้านล้านบาทในปีต่อๆไปตราบใดรัฐบาลยังไม่ทบวนโครงการนี้ ซึ่งระบบเศรษฐกิจไทยจะพังทั้งระบบ
** “คำนูณ” ร่วมถล่มชี้รัฐทำ 3 บาป
จากนั้น นายคำนูณ สิทธิสมาน ส.ว.สรรหา อภิปรายในเรื่องเดียวว่า นโยบายจำนำข้าวสร้างภาระหนี้สาธารณะให้กับประเทศเพิ่มขึ้นทุกปี ซึ่งถือว่าเป็นบาป 3 ประการ หรือ บาปยกกำลัง 3 บาปที่ 1 คือ การเกิดการทุจริตในทุกขั้นตอนของการดำเนินการ บาปที่ 2 การทุจริตในการทำลายข้าวไทยทั้งด้านคุณภาพและกลไกการตลาด และบาปที่ 3 เป็นการทุจริตที่อ้างทฤษฎีปฏิวัติสังคมมากล่าวอย่างน่าละอายด้วยการอ้างว่าชาวนาได้ประโยชน์
"อยากให้รัฐบาลเดินหน้าด้วยความกล้าหาญว่าจะปรับลดปริมาณการรับจำนำข้าว ไม่มีใครปฎิเสธ นโยบายประชานิยม แต่ควรใช้ภายใต้ระยะเวลาจำกัดเพื่อเยียวยาอาการเบื้องต้นเท่านั้น ในทางกลับกันหากยังใช้นโยบายประชานิยมต่อไปเรื่อยๆจะมีผลให้ปัญหาเรื้อรังต่อไป" นายคำนูณ กล่าว
นายคำนูณ เสนอด้วยว่า เหตุใดรัฐบาลจึงไม่นำเงินที่บอกว่าขาดทุนปีละ 1 แสนล้านบาทไปพัฒนาเพิ่มมูลค่าการผลิต หรือการส่งเสริมการวิจัยข้าวทั้งระบบเพื่อให้กลับเข้ามาสู่กลไกตลาดได้เร็ว รวมไปถึงการสร้างโครงสร้างป้องกันการทุจริตทุกขั้นตอน
**ประสานเสียงโกงทุกขั้นตอน
ขณะที่ พ.ต.อ.สนธยา แสงเภา ส.ว.สรรหา อภิปรายช่วงหนึ่งว่า ในการดำเนินงานโครงการรับจำนำข้าวของรัฐบาลพบการทุจริตทุกขั้นตอน ซึ่งไม่ตอบโจทย์ว่าจะยกระดับความยากจนของชาวนา แต่กลับมีบางกลุ่มได้ประโยชน์ อีกทั้งยังส่งผลกระทบในระยะยาว ทั้งนี้หากรัฐบาลมีมาตรการป้องกันรอบคอบ คงไม่เกิดปัญหาเช่นนี้ ดังนั้นรัฐบาลต้องมีการส่งเสริมเกษตรกรชาวนา โดยการพักชำระหนี้หรือส่งเสริมรายได้ เพื่อปลดหนี้
ด้าน นายพีระ มานะทัศน์ ส.ว.ลำปาง กล่าวว่า ข้าวไทยเคยเป็นสินค้าส่งออกอันดับหนึ่งของประเทศ แต่ที่เกิดปัญหาในขณะนี้ เพราะโครงการยังมีความเหลื่อมล้ำในสังคมจนเกิดช่องว่าง ชาวนาไม่มีรายได้เพิ่ม
** แนะหยุดบิดเลขเจ๊ง-หลอกตัวเอง
อีกด้าน นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงการโครงการจำนำข้าวของรัฐบาลว่า สิ่งสำคัญเวลานี้ คือชาวนาเอาข้าวไปจำนำแล้ว ผ่านไป 7 เดือน ยังไม่ได้เงิน จนเดือดร้อนมาก เพราะฤดูปลูกใหม่ชาวนาจำเป็นต้องไปกู้เงินมาหว่านข้าว ทำนา ค่ายา ค่าปุ๋ย เสียดอกเบี้ยร้อยละ 3 ต่อเดือน จึงอยากฝากถามว่า เกิดอะไรขึ้น จนชาวบ้านเกษตรกรมองว่ารัฐบาลนี้ไม่มีเงิน และเป็นไปได้อย่างไร เพราะรัฐบาลมาซื้อขายข้าวเอง แล้วจะเอาเงินที่ไหนมาหมุน สุดท้ายชาวบ้านต้องเดือดร้อน เพราะมีการทุจริต คอร์รัปชั่น สุดท้ายชาวบ้านไม่รอจำนำข้าว ส่วนหนึ่งเอาข้าวไปขายเอง ก็ถูกกดราคาอยู่ที่ 6,000 บาทต่อตัน ขณะที่ต้นทุนการผลิตอยู่ที่ตันละ 8,000 - 9,000 บาท จึงชัดเจน ที่อ้างว่า โครงการนี้ทำเพื่อช่วยเกษตรกรชาวนา แต่เวลานี้กลับไม่ได้ทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ของชาวนาดีขึ้น ซ้ำยังเกิดความไม่ชอบมาพากลขึ้นมากมาย ซึ่งตรงกับที่สื่อบางฉบับลงว่า บิดขาดทุนข้าว คือ รัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ทำในสิ่งที่หลายประเทศไม่เคยทำ และไม่เคยเกิดขึ้นคือ ทำให้ข้าวเปลือกแพงกว่าข้าวสาร ฉะนั้นเมื่อเอาข้าวเปลือกมาเป็นต้นทุน แล้วจะไปคำนวณได้อย่างไร เพราะการที่ขายจริงไม่สามารถได้ตามราคานั้น จึงต้องพยายามตกแต่ง บิดเบือนตัวเลข
“มันบิดอยู่แล้วละครับ การเอาข้าวเปลือกมาเป็นต้นทุน แล้วไปคำนวนได้อย่างไร ครั้นเมื่อการที่ขายจริงไม่สามารถได้ตามราคานั้น อยากจะเตือนว่า รัฐบาลพยายามตกแต่ง บิดเบือนตัวเลขอย่างไรก็ตาม แต่ความจริงที่การขาดทุนมันไม่เปลี่ยนแปลง” นายอภิสิทธิ์ กล่าว
หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ อธิบายต่อว่า ไม่ว่ารัฐบาลจะนำราคาไหนมาคำนวนก็ตาม สุดท้ายรัฐบาลก็ขายได้ตามราคาที่เป็นจริง เพราะฉะนั้นจะมาบอกว่า ใช้ราคานี้คำนวน การขาดทุนจะหายวับไปกับตา จะเป็นกี่หมื่นกี่แสนล้านนั้น แต่พอคุณขายข้าวจริง การขาดทุนนี้มันก็กลับไปอยู่ตัวเลขที่เป็นความจริงอยู่ดี เพราะฉะนั้นอย่าทำเช่นนั้นเลย เพราะนอกจากจะพยายามหลอกสังคมแล้ว ยังเป็นการหลอกตัวเองด้วย ซึ่งไม่ช่วยอะไร และยิ่งจะทำให้ไม่สามารถการแก้ปัญหานั้นได้
** จวกจำนำข้าวเจ๊ง 5 แสนล้าน
ก่อนเข้าสู่วาระการประชุม นายนิคม แจ้งต่อที่ประชุมถึงกรอบเวลาในการอภิปรายว่า การอภิปรายในครั้งนี้จะแบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ 1.เรื่องการรับจำนำข้าว 2.ปัญหาราคายางพาราและปาล์มน้ำมัน 3.ปัญหาประมง และ 4.ผลผลิตทางการเกษตรอื่นๆ โดยกำหนดให้ ส.ว.แต่ละคนมีสิทธิ์อภิปรายได้เพียง 10 นาที
ต่อมา พล.ต.ท.ยุทธนา ไทยภักดี ส.ว.สรรหา ในฐานะผู้เสนอญัตติได้ใช้สิทธิ์อภิปรายเป็นคนแรกว่า ตลอด 2 ปีที่ผ่านมา รัฐบาลได้ใช้งบประมาณในการรับจำนำข้าวไปแล้ว โดยไม่รวมค่าบริหารจัดการประมาณ 4.6 แสนล้านบาท แต่ขายข้าวได้เพียง 1.1 แสนล้านบาท ทั้งที่รัฐบาลลงทุนไปกับโครงการนี้ประมาณ 6 แสนล้านบาท ส่งผลให้ขาดทุนประมาณ 5 แสนล้านบาท
พล.ต.ท.ยุทธนา กล่าวต่อว่า ในกรณีของการจำหน่ายข้าวถุงนั้น คณะอนุกรรมาธิการติดตามตรวจสอบเรื่องการระบายข้าวสารในสต๊อกของรัฐบาลจากโครงการรับจำนำข้าว วุฒิสภา ได้ตรวจสอบพบว่าคณะอนุกรรมการพิจารณาระบายข้าวได้ดำเนินการผลิตข้าวถุงในราคาประมาณ 1.3 หมื่นบาทต่อตัน ซึ่งบริษัท เจียเม้ง จำกัด เป็นผู้รับปรับปรุงข้าวและขนส่งข้าวให้กับตามร้านค้าทั่วไป ปรากฏว่า ข้าวขององค์การคลังสินค้า(อคส.)ไม่ได้รับความนิยม ต่อมาคณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ (กขช.) มีมติเมื่อวันที่ 13 ก.พ.55 ที่ผ่านมาให้ลดราคาเหลือประมาณ 7 พันบาทต่อตัน
** ย้ำเลขาฯ รมว.พณ.มีเอี่ยวทุจริต
พล.ต.ท.ยุทธนา กล่าวด้วยว่า ขณะเดียวกันยังตรวจพบอีกว่าบริษัทที่ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการจัดจำหน่ายข้าวถุงมีจำนวน 3 บริษัท ได้แก่ 1.บริษัท สยามรักษ์ จำกัด 2.บริษัท คอนไซน์ เทรดดิ้ง จำกัด และ 3.บริษัท ร่มทอง จำกัด ซึ่งทั้ง 3 บริษัทนี้ไม่เคยมีความรู้เรื่องการค้าขายข้าวมาก่อน โดย บริษัท สยามรักษ์ จำกัด เป็นบริษัททำไม้กระดาษส่งออกต่างประเทศ บริษัท ร่มทอง จำกัด ตั้งอยู่ที่เชียงใหม่เป็นบริษัทรับปลูกสร้างอาคารและบ้านจัดสรร เช่นเดียวกับ บริษัท คอไซน์ จำกัด ก็เป็นบริษัทที่รับก่อสร้างอยู่ใน กทม.
"ทำไม กขช.ถึงไม่ได้รับกำกับดูแลในเรื่องนี้ เพราะ บ.สยามรักษ์ ซึ่งเป็นบริษัทที่ก่อตั้งเมื่อปี 2533 แต่ต่อมาปี 2553 เลขานุการของ รมว.พาณิชย์เข้ามาเป็นกรรมการบริหารของบริษัท ซึ่งเลขานุการคนนี้ก็ยังเป็นคณะอนุกรรมการเกี่ยวการระบายข้าวของรัฐบาลเกือบทุกคณะด้วย" พล.ต.ท.ยุทธนา กล่าว
พล.ต.ท.ยุทธนา กล่าวในช่วงท้ายว่า ปัญหาเหล่านี้ถ้าไม่ปรับปรุงจะทำความเสียหายให้กับโครงการรับจำนำข้าวอย่างมาก โดยในปีหน้าจะมีหนี้จากโครงการนี้ไม่ต่ำกว่า 6 แสนล้านบาท และอาจจะถึง 8 แสนล้านบาท และ 1 ล้านล้านบาทในปีต่อๆไปตราบใดรัฐบาลยังไม่ทบวนโครงการนี้ ซึ่งระบบเศรษฐกิจไทยจะพังทั้งระบบ
** “คำนูณ” ร่วมถล่มชี้รัฐทำ 3 บาป
จากนั้น นายคำนูณ สิทธิสมาน ส.ว.สรรหา อภิปรายในเรื่องเดียวว่า นโยบายจำนำข้าวสร้างภาระหนี้สาธารณะให้กับประเทศเพิ่มขึ้นทุกปี ซึ่งถือว่าเป็นบาป 3 ประการ หรือ บาปยกกำลัง 3 บาปที่ 1 คือ การเกิดการทุจริตในทุกขั้นตอนของการดำเนินการ บาปที่ 2 การทุจริตในการทำลายข้าวไทยทั้งด้านคุณภาพและกลไกการตลาด และบาปที่ 3 เป็นการทุจริตที่อ้างทฤษฎีปฏิวัติสังคมมากล่าวอย่างน่าละอายด้วยการอ้างว่าชาวนาได้ประโยชน์
"อยากให้รัฐบาลเดินหน้าด้วยความกล้าหาญว่าจะปรับลดปริมาณการรับจำนำข้าว ไม่มีใครปฎิเสธ นโยบายประชานิยม แต่ควรใช้ภายใต้ระยะเวลาจำกัดเพื่อเยียวยาอาการเบื้องต้นเท่านั้น ในทางกลับกันหากยังใช้นโยบายประชานิยมต่อไปเรื่อยๆจะมีผลให้ปัญหาเรื้อรังต่อไป" นายคำนูณ กล่าว
นายคำนูณ เสนอด้วยว่า เหตุใดรัฐบาลจึงไม่นำเงินที่บอกว่าขาดทุนปีละ 1 แสนล้านบาทไปพัฒนาเพิ่มมูลค่าการผลิต หรือการส่งเสริมการวิจัยข้าวทั้งระบบเพื่อให้กลับเข้ามาสู่กลไกตลาดได้เร็ว รวมไปถึงการสร้างโครงสร้างป้องกันการทุจริตทุกขั้นตอน
**ประสานเสียงโกงทุกขั้นตอน
ขณะที่ พ.ต.อ.สนธยา แสงเภา ส.ว.สรรหา อภิปรายช่วงหนึ่งว่า ในการดำเนินงานโครงการรับจำนำข้าวของรัฐบาลพบการทุจริตทุกขั้นตอน ซึ่งไม่ตอบโจทย์ว่าจะยกระดับความยากจนของชาวนา แต่กลับมีบางกลุ่มได้ประโยชน์ อีกทั้งยังส่งผลกระทบในระยะยาว ทั้งนี้หากรัฐบาลมีมาตรการป้องกันรอบคอบ คงไม่เกิดปัญหาเช่นนี้ ดังนั้นรัฐบาลต้องมีการส่งเสริมเกษตรกรชาวนา โดยการพักชำระหนี้หรือส่งเสริมรายได้ เพื่อปลดหนี้
ด้าน นายพีระ มานะทัศน์ ส.ว.ลำปาง กล่าวว่า ข้าวไทยเคยเป็นสินค้าส่งออกอันดับหนึ่งของประเทศ แต่ที่เกิดปัญหาในขณะนี้ เพราะโครงการยังมีความเหลื่อมล้ำในสังคมจนเกิดช่องว่าง ชาวนาไม่มีรายได้เพิ่ม
** แนะหยุดบิดเลขเจ๊ง-หลอกตัวเอง
อีกด้าน นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงการโครงการจำนำข้าวของรัฐบาลว่า สิ่งสำคัญเวลานี้ คือชาวนาเอาข้าวไปจำนำแล้ว ผ่านไป 7 เดือน ยังไม่ได้เงิน จนเดือดร้อนมาก เพราะฤดูปลูกใหม่ชาวนาจำเป็นต้องไปกู้เงินมาหว่านข้าว ทำนา ค่ายา ค่าปุ๋ย เสียดอกเบี้ยร้อยละ 3 ต่อเดือน จึงอยากฝากถามว่า เกิดอะไรขึ้น จนชาวบ้านเกษตรกรมองว่ารัฐบาลนี้ไม่มีเงิน และเป็นไปได้อย่างไร เพราะรัฐบาลมาซื้อขายข้าวเอง แล้วจะเอาเงินที่ไหนมาหมุน สุดท้ายชาวบ้านต้องเดือดร้อน เพราะมีการทุจริต คอร์รัปชั่น สุดท้ายชาวบ้านไม่รอจำนำข้าว ส่วนหนึ่งเอาข้าวไปขายเอง ก็ถูกกดราคาอยู่ที่ 6,000 บาทต่อตัน ขณะที่ต้นทุนการผลิตอยู่ที่ตันละ 8,000 - 9,000 บาท จึงชัดเจน ที่อ้างว่า โครงการนี้ทำเพื่อช่วยเกษตรกรชาวนา แต่เวลานี้กลับไม่ได้ทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ของชาวนาดีขึ้น ซ้ำยังเกิดความไม่ชอบมาพากลขึ้นมากมาย ซึ่งตรงกับที่สื่อบางฉบับลงว่า บิดขาดทุนข้าว คือ รัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ทำในสิ่งที่หลายประเทศไม่เคยทำ และไม่เคยเกิดขึ้นคือ ทำให้ข้าวเปลือกแพงกว่าข้าวสาร ฉะนั้นเมื่อเอาข้าวเปลือกมาเป็นต้นทุน แล้วจะไปคำนวณได้อย่างไร เพราะการที่ขายจริงไม่สามารถได้ตามราคานั้น จึงต้องพยายามตกแต่ง บิดเบือนตัวเลข
“มันบิดอยู่แล้วละครับ การเอาข้าวเปลือกมาเป็นต้นทุน แล้วไปคำนวนได้อย่างไร ครั้นเมื่อการที่ขายจริงไม่สามารถได้ตามราคานั้น อยากจะเตือนว่า รัฐบาลพยายามตกแต่ง บิดเบือนตัวเลขอย่างไรก็ตาม แต่ความจริงที่การขาดทุนมันไม่เปลี่ยนแปลง” นายอภิสิทธิ์ กล่าว
หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ อธิบายต่อว่า ไม่ว่ารัฐบาลจะนำราคาไหนมาคำนวนก็ตาม สุดท้ายรัฐบาลก็ขายได้ตามราคาที่เป็นจริง เพราะฉะนั้นจะมาบอกว่า ใช้ราคานี้คำนวน การขาดทุนจะหายวับไปกับตา จะเป็นกี่หมื่นกี่แสนล้านนั้น แต่พอคุณขายข้าวจริง การขาดทุนนี้มันก็กลับไปอยู่ตัวเลขที่เป็นความจริงอยู่ดี เพราะฉะนั้นอย่าทำเช่นนั้นเลย เพราะนอกจากจะพยายามหลอกสังคมแล้ว ยังเป็นการหลอกตัวเองด้วย ซึ่งไม่ช่วยอะไร และยิ่งจะทำให้ไม่สามารถการแก้ปัญหานั้นได้