ในขณะนี้ผู้คนในสังคมไทยกำลังตื่นตัวทางการเมือง จะเห็นได้จากการออกมาชุมนุมทางการเมือง และการจัดสัมมนาทางวิชาการวิพากษ์การทำงานของรัฐบาล ทั้งมีการเสนอแนวทางออกทางการเมืองโดยการปฏิรูปประเทศ โดยปรารภเหตุอันทำให้ประเทศเสียหาย ทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองในรูปแบบต่างๆ สรุปเป็นประเด็นได้ดังต่อไปนี้
1. ข้าวของแพงก่อความเดือดร้อนให้แก่ประชาชน อันเนื่องมาจากการบริหารจัดการขาดประสิทธิภาพของรัฐบาล
2. การทุจริตในวงราชการผลาญงบประมาณมหาศาล โดยเฉพาะอย่างยิ่ง จากการดำเนินโครงการตามนโยบายรัฐ เช่น โครงการรับจำนำข้าว และโครงการป้องกันน้ำท่วมที่จ่ายเงินไปแล้วส่วนหนึ่ง แต่น้ำยังท่วมเหมือนเดิม
3. โครงสร้างของการปกครองในระบอบประชาธิปไตยบิดเบี้ยว มีเพียงการเลือกตั้งที่เป็นรูปแบบ ส่วนเนื้อหาไม่ต่างไปจากเผด็จการ จะเห็นได้จากงานด้านนิติบัญญัติ ในกรณีของการแก้รัฐธรรมนูญที่ใช้เสียงข้างมากโดยไม่เป็นธรรม มุ่งเน้นการแก้กฎหมายเพื่อประโยชน์ทางการเมือง โดยไม่คำนึงถึงผลประโยชน์ที่ประชาชนจะเสียไปจากการแก้กฎหมายดังกล่าว และที่สำคัญไม่ให้ความเป็นธรรมแก่ฝ่ายค้านในการอภิปราย เสนอความเห็นประกอบกับที่มาของ ส.ส.คือการเลือกตั้งไม่โปร่งใส มีการใช้อำนาจเงินและอำนาจรัฐโดยผ่านทางข้าราชการจากส่วนที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งเอื้อประโยชน์ให้แก่ตนเอง
จากเหตุ 3 ประการดังกล่าวข้างต้น ทำให้ประชาชนจากหลายภาคส่วนลุกขึ้นมาต่อสู้ และเสนอแนวทางแก้ไขโดยการปฏิรูปประเทศ
ส่วนว่าปฏิรูปแล้วจะได้ผลมากน้อยแค่ไหนนั้นขึ้นอยู่กับเงื่อนไขดังต่อไปนี้
1. แนวคิดหรือหลักการที่นำมาเป็นหลักในการปฏิรูปครอบคลุมปัญหาของประเทศทุกด้านหรือไม่
2. ผู้เข้ามามีส่วนร่วมในการปฏิรูปมีความรู้ มีความสามารถ และที่สำคัญมีคุณธรรมเป็นที่ยอมรับของประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศหรือไม่
3. ผู้เข้าร่วมทำการปฏิรูปมีความจริงใจในการที่จะแก้ปัญหาเพื่อส่วนรวมหรือไม่มากน้อยเพียงใด
ถ้า 3 ประการนี้เป็นไปในทางที่ดีก็เป็นอันเชื่อได้ว่าอนาคตของประเทศไทยคงจะดีขึ้น ส่วนจะมากน้อยแค่ไหนต้องรอดูกันต่อไป
ในขณะที่การปฏิรูปประเทศกำลังจะเริ่มขึ้นและก้าวไป ภารกิจประการหนึ่งที่ผู้คนในสังคมไทยไม่ควรมองข้ามก็คือศาสนา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พุทธศาสนาอันเป็นศาสนาซึ่งคนไทยส่วนใหญ่นับถือ และมีบทบาทต่อการดำเนินชีวิตในสังคมทุกภาคส่วนมาตลอดในฐานะเป็นที่พึ่งทางใจ และเป็นบ่อเกิดแห่งคุณธรรม จริยธรรมให้คนเป็นคนดีมีคุณค่าต่อสังคมโดยตรง
แต่บัดนี้วงการภิกษุสงฆ์ได้เสื่อมโทรมเป็นอย่างมาก ทั้งในด้านศีลธรรมคือล่วงละเมิดศีล อาจารวิบัติ คือ ทำตัวไม่เหมาะสมกับเพศภาวะของนักบวชในพุทธศาสนา และประการสุดท้ายคือทิฏฐิวิบัติคือมีความเห็นผิดแผกไปจากพุทธพจน์ ดังจะเห็นได้จากลักษณะความผิดแต่ละประเภทดังนี้
1. ศีลวิบัติ จะเห็นได้จากมั่วสีกา เสพและขายยาเสพติดไปจนถึงทำวัตถุมงคลจำหน่ายเป็นพุทธพาณิชย์ เป็นต้น
2. อาจารวิบัติ จะเห็นได้จากการเข้าไปในสถานที่อโคจร คลุกคลีกับคฤหัสถ์ในลักษณะทอดกายรับใช้ หรือที่พระวินัยเรียกว่า ประจบคฤหัสถ์ และประทุษร้ายสกุล เป็นต้น
3. ทิฏฐิวิบัติ จะเห็นได้จากการสอนที่ผิดแผกไปจากพุทธวจนะ เช่น พระนิพพานเป็นอัตตา การไปเฝ้าพระพุทธเจ้าได้ และสวรรค์สามารถเข้าถึงได้โดยการทำบุญแบบผ่อนส่ง เป็นต้น
ทำไมต้องทำสังคายนาพุทธศาสนา และจะทำได้อย่างไร ทั้งทำแล้วประชาชนได้อะไร
เพื่อให้ท่านผู้อ่านมองเห็นประเด็นแห่งปัญหา และนำมาเป็นเครื่องมือในการหาคำตอบ ผู้เขียนจึงใคร่ขอให้ท่านผู้อ่านลองย้อนไปดูความเป็นมาของสังคายนา 9 ครั้ง โดยจะสรุปเป็นประเด็นดังนี้
1. สังคายนาครั้งที่ 1 จัดทำในประเทศอินเดียหลังจากพระพุทธเจ้าปรินิพพานได้ 3 เดือน ปรารภเหตุคือคำพูดของภิกษุชื่อ สุภัททะ ซึ่งบวชเมื่อแก่ และเมื่อรู้ข่าวการปรินิพพานของพระพุทธเจ้า และเห็นภิกษุทั้งหลายร้องไห้เศร้าโศก จึงห้ามภิกษุทั้งหลายมิให้เศร้าโศก ด้วยการกล่าวว่า ต่อไปนี้จะทำอะไรก็ได้ตามใจแล้ว ไม่ต้องมีใครมาชี้นี่ผิด นี่ถูก นี่ควร นี่ไม่ควร พระมหากัสสปะจึงสลดใจและชักชวนสงฆ์ทำสังคายนา
2. ครั้งที่ 2 กระทำในแคว้นวัชชี ประเทศอินเดีย หลังจากพุทธเจ้าปรินิพพาน 100 ปีโดยปรารภเหตุคือ ข้อปฏิบัติย่อหย่อน 10 ประการ ของภิกษุพวกวัชชีบุตร โดยมีพระยสเถระเป็นผู้ริเริ่ม
3. ครั้งที่ 3 กระทำที่อโศการาม กรุงปาฏลีบุตรประเทศอินเดีย ภายหลังพุทธปรินิพพาน 234 ปี ปรารภเหตุคือ พวกเดียรถีย์ปลอมบวชแสดงลัทธิศาสนา และความเห็นของตนว่าเป็นพุทธศาสนา พระโมคคัลลีบุตร ติสสเถระ เป็นผู้ริเริ่ม
4. ครั้งที่ 4 กระทำในประเทศอินเดีย หลังพุทธปรินิพพาน 643 ปี แต่ทางฝ่ายเถรวาทไม่รับรองการทำสังคายนาในครั้งนี้
5. กระทำในประเทศศรีลังกา ซึ่งนับเป็นการทำสังคายนาต่อจากครั้งที่ 3 โดยกระทำกันในปี พ.ศ. 238 หรือหลังจากครั้งที่ 2 เพียง 2 ปี ปรารภเหตุคือ เพื่อให้พระพุทธศาสนาตั้งมั่นในศรีลังกา มีพระมหิศเถระเป็นผู้ริเริ่ม
6. กระทำในประเทศศรีลังกาเป็นครั้งที่ 2 ในปี พ.ศ. 433 โดยปรารภเหตุคือต้องการจารึกคำสอนลงในใบลานป้องกันการเลือนหาย และผิดพลาดจากการท่องจำ โดยมีพระรักขิตเถระเป็นผู้ริเริ่มดำเนินการ
7. ครั้งที่ 6-7 กระทำในพม่า ในครั้งแรกปรารภเหตุคือ ต้องการจารึกคำสอนลงในแผ่นหินอ่อนในปี พ.ศ. 2414 โดยมีภิกษุ 3 รูปเป็นผู้ริเริ่มคือ พระชาคราภิวังสะ พระนรินทาภิชชะ และพระสุมังคลสาลี
ในครั้งที่ 2 เมื่อ พ.ศ. 2497 ปรารภเหตุคือ ต้องการจัดพิมพ์คำสอนเป็นเล่ม และแปลเป็นภาษาพม่าโดยมีพระภิกษุฝ่ายเถรวาทจากพม่า ศรีลังกา ไทย ลาว และเขมร เข้าร่วม
8. ส่วนครั้งที่ 8 และ 9 กระทำในประเทศไทย ครั้งแรกใน พ.ศ. 2020 กระทำที่เมืองเชียงใหม่ โดยมีพระเจ้าติโลกราชได้อาราธนาพระภิกษุผู้ทรงพระไตรปิฎกมาช่วยกันชำระอักษรในพระไตรปิฎก
9. ครั้งที่ 9 กระทำในกรุงเทพฯ ใน พ.ศ. 2331 ปรารภเหตุคือ ต้องการชำระพระไตรปิฎกโดยมีพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 เป็นผู้ริเริ่ม
จากสังคายนา 9 ครั้ง จะเห็นได้ว่าครั้งแรกๆ เกิดจากพฤติกรรมของภิกษุที่ล่วงละเมิดวินัย และมีความเห็นผิดแผกไปจากพุทธพจน์ และสิ่งที่เกิดขึ้นในยุคนั้นบัดนี้ก็ได้เกิดขึ้นในประเทศยุคนี้ และดูเหมือนว่าจะรุนแรงกว่าด้วยซ้ำ
ดังนั้น จึงเห็นควรอย่างยิ่งที่ฝ่ายปกครองบ้านเมืองจะได้หยิบยกเรื่องนี้ไปหารือกับฝ่ายสงฆ์ และจัดให้มีการชำระพระวินัยและพระธรรม รวมไปถึงการกำหนดแนวทางปกครองสงฆ์เสียใหม่ โดยยึดพระวินัยเป็นหลัก และนำกฎหมายปกครองสงฆ์มาใช้เพื่อเกื้อกูลกัน
ส่วนจะดำเนินการอย่างไรนั้น ก็ควรจัดตั้งในรูปกรรมการ โดยให้สถาบันระดับอุดมศึกษาของสงฆ์ 2 แห่งคือ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย เป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการภายใต้การอำนวยการของมหาเถรสมาคมเพื่อกำหนดรายละเอียดต่างๆ ทั้งนี้ เพื่อให้พุทธศาสนาคงอยู่ และเป็นที่พึ่งของคนไทยต่อไป.
1. ข้าวของแพงก่อความเดือดร้อนให้แก่ประชาชน อันเนื่องมาจากการบริหารจัดการขาดประสิทธิภาพของรัฐบาล
2. การทุจริตในวงราชการผลาญงบประมาณมหาศาล โดยเฉพาะอย่างยิ่ง จากการดำเนินโครงการตามนโยบายรัฐ เช่น โครงการรับจำนำข้าว และโครงการป้องกันน้ำท่วมที่จ่ายเงินไปแล้วส่วนหนึ่ง แต่น้ำยังท่วมเหมือนเดิม
3. โครงสร้างของการปกครองในระบอบประชาธิปไตยบิดเบี้ยว มีเพียงการเลือกตั้งที่เป็นรูปแบบ ส่วนเนื้อหาไม่ต่างไปจากเผด็จการ จะเห็นได้จากงานด้านนิติบัญญัติ ในกรณีของการแก้รัฐธรรมนูญที่ใช้เสียงข้างมากโดยไม่เป็นธรรม มุ่งเน้นการแก้กฎหมายเพื่อประโยชน์ทางการเมือง โดยไม่คำนึงถึงผลประโยชน์ที่ประชาชนจะเสียไปจากการแก้กฎหมายดังกล่าว และที่สำคัญไม่ให้ความเป็นธรรมแก่ฝ่ายค้านในการอภิปราย เสนอความเห็นประกอบกับที่มาของ ส.ส.คือการเลือกตั้งไม่โปร่งใส มีการใช้อำนาจเงินและอำนาจรัฐโดยผ่านทางข้าราชการจากส่วนที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งเอื้อประโยชน์ให้แก่ตนเอง
จากเหตุ 3 ประการดังกล่าวข้างต้น ทำให้ประชาชนจากหลายภาคส่วนลุกขึ้นมาต่อสู้ และเสนอแนวทางแก้ไขโดยการปฏิรูปประเทศ
ส่วนว่าปฏิรูปแล้วจะได้ผลมากน้อยแค่ไหนนั้นขึ้นอยู่กับเงื่อนไขดังต่อไปนี้
1. แนวคิดหรือหลักการที่นำมาเป็นหลักในการปฏิรูปครอบคลุมปัญหาของประเทศทุกด้านหรือไม่
2. ผู้เข้ามามีส่วนร่วมในการปฏิรูปมีความรู้ มีความสามารถ และที่สำคัญมีคุณธรรมเป็นที่ยอมรับของประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศหรือไม่
3. ผู้เข้าร่วมทำการปฏิรูปมีความจริงใจในการที่จะแก้ปัญหาเพื่อส่วนรวมหรือไม่มากน้อยเพียงใด
ถ้า 3 ประการนี้เป็นไปในทางที่ดีก็เป็นอันเชื่อได้ว่าอนาคตของประเทศไทยคงจะดีขึ้น ส่วนจะมากน้อยแค่ไหนต้องรอดูกันต่อไป
ในขณะที่การปฏิรูปประเทศกำลังจะเริ่มขึ้นและก้าวไป ภารกิจประการหนึ่งที่ผู้คนในสังคมไทยไม่ควรมองข้ามก็คือศาสนา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พุทธศาสนาอันเป็นศาสนาซึ่งคนไทยส่วนใหญ่นับถือ และมีบทบาทต่อการดำเนินชีวิตในสังคมทุกภาคส่วนมาตลอดในฐานะเป็นที่พึ่งทางใจ และเป็นบ่อเกิดแห่งคุณธรรม จริยธรรมให้คนเป็นคนดีมีคุณค่าต่อสังคมโดยตรง
แต่บัดนี้วงการภิกษุสงฆ์ได้เสื่อมโทรมเป็นอย่างมาก ทั้งในด้านศีลธรรมคือล่วงละเมิดศีล อาจารวิบัติ คือ ทำตัวไม่เหมาะสมกับเพศภาวะของนักบวชในพุทธศาสนา และประการสุดท้ายคือทิฏฐิวิบัติคือมีความเห็นผิดแผกไปจากพุทธพจน์ ดังจะเห็นได้จากลักษณะความผิดแต่ละประเภทดังนี้
1. ศีลวิบัติ จะเห็นได้จากมั่วสีกา เสพและขายยาเสพติดไปจนถึงทำวัตถุมงคลจำหน่ายเป็นพุทธพาณิชย์ เป็นต้น
2. อาจารวิบัติ จะเห็นได้จากการเข้าไปในสถานที่อโคจร คลุกคลีกับคฤหัสถ์ในลักษณะทอดกายรับใช้ หรือที่พระวินัยเรียกว่า ประจบคฤหัสถ์ และประทุษร้ายสกุล เป็นต้น
3. ทิฏฐิวิบัติ จะเห็นได้จากการสอนที่ผิดแผกไปจากพุทธวจนะ เช่น พระนิพพานเป็นอัตตา การไปเฝ้าพระพุทธเจ้าได้ และสวรรค์สามารถเข้าถึงได้โดยการทำบุญแบบผ่อนส่ง เป็นต้น
ทำไมต้องทำสังคายนาพุทธศาสนา และจะทำได้อย่างไร ทั้งทำแล้วประชาชนได้อะไร
เพื่อให้ท่านผู้อ่านมองเห็นประเด็นแห่งปัญหา และนำมาเป็นเครื่องมือในการหาคำตอบ ผู้เขียนจึงใคร่ขอให้ท่านผู้อ่านลองย้อนไปดูความเป็นมาของสังคายนา 9 ครั้ง โดยจะสรุปเป็นประเด็นดังนี้
1. สังคายนาครั้งที่ 1 จัดทำในประเทศอินเดียหลังจากพระพุทธเจ้าปรินิพพานได้ 3 เดือน ปรารภเหตุคือคำพูดของภิกษุชื่อ สุภัททะ ซึ่งบวชเมื่อแก่ และเมื่อรู้ข่าวการปรินิพพานของพระพุทธเจ้า และเห็นภิกษุทั้งหลายร้องไห้เศร้าโศก จึงห้ามภิกษุทั้งหลายมิให้เศร้าโศก ด้วยการกล่าวว่า ต่อไปนี้จะทำอะไรก็ได้ตามใจแล้ว ไม่ต้องมีใครมาชี้นี่ผิด นี่ถูก นี่ควร นี่ไม่ควร พระมหากัสสปะจึงสลดใจและชักชวนสงฆ์ทำสังคายนา
2. ครั้งที่ 2 กระทำในแคว้นวัชชี ประเทศอินเดีย หลังจากพุทธเจ้าปรินิพพาน 100 ปีโดยปรารภเหตุคือ ข้อปฏิบัติย่อหย่อน 10 ประการ ของภิกษุพวกวัชชีบุตร โดยมีพระยสเถระเป็นผู้ริเริ่ม
3. ครั้งที่ 3 กระทำที่อโศการาม กรุงปาฏลีบุตรประเทศอินเดีย ภายหลังพุทธปรินิพพาน 234 ปี ปรารภเหตุคือ พวกเดียรถีย์ปลอมบวชแสดงลัทธิศาสนา และความเห็นของตนว่าเป็นพุทธศาสนา พระโมคคัลลีบุตร ติสสเถระ เป็นผู้ริเริ่ม
4. ครั้งที่ 4 กระทำในประเทศอินเดีย หลังพุทธปรินิพพาน 643 ปี แต่ทางฝ่ายเถรวาทไม่รับรองการทำสังคายนาในครั้งนี้
5. กระทำในประเทศศรีลังกา ซึ่งนับเป็นการทำสังคายนาต่อจากครั้งที่ 3 โดยกระทำกันในปี พ.ศ. 238 หรือหลังจากครั้งที่ 2 เพียง 2 ปี ปรารภเหตุคือ เพื่อให้พระพุทธศาสนาตั้งมั่นในศรีลังกา มีพระมหิศเถระเป็นผู้ริเริ่ม
6. กระทำในประเทศศรีลังกาเป็นครั้งที่ 2 ในปี พ.ศ. 433 โดยปรารภเหตุคือต้องการจารึกคำสอนลงในใบลานป้องกันการเลือนหาย และผิดพลาดจากการท่องจำ โดยมีพระรักขิตเถระเป็นผู้ริเริ่มดำเนินการ
7. ครั้งที่ 6-7 กระทำในพม่า ในครั้งแรกปรารภเหตุคือ ต้องการจารึกคำสอนลงในแผ่นหินอ่อนในปี พ.ศ. 2414 โดยมีภิกษุ 3 รูปเป็นผู้ริเริ่มคือ พระชาคราภิวังสะ พระนรินทาภิชชะ และพระสุมังคลสาลี
ในครั้งที่ 2 เมื่อ พ.ศ. 2497 ปรารภเหตุคือ ต้องการจัดพิมพ์คำสอนเป็นเล่ม และแปลเป็นภาษาพม่าโดยมีพระภิกษุฝ่ายเถรวาทจากพม่า ศรีลังกา ไทย ลาว และเขมร เข้าร่วม
8. ส่วนครั้งที่ 8 และ 9 กระทำในประเทศไทย ครั้งแรกใน พ.ศ. 2020 กระทำที่เมืองเชียงใหม่ โดยมีพระเจ้าติโลกราชได้อาราธนาพระภิกษุผู้ทรงพระไตรปิฎกมาช่วยกันชำระอักษรในพระไตรปิฎก
9. ครั้งที่ 9 กระทำในกรุงเทพฯ ใน พ.ศ. 2331 ปรารภเหตุคือ ต้องการชำระพระไตรปิฎกโดยมีพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 เป็นผู้ริเริ่ม
จากสังคายนา 9 ครั้ง จะเห็นได้ว่าครั้งแรกๆ เกิดจากพฤติกรรมของภิกษุที่ล่วงละเมิดวินัย และมีความเห็นผิดแผกไปจากพุทธพจน์ และสิ่งที่เกิดขึ้นในยุคนั้นบัดนี้ก็ได้เกิดขึ้นในประเทศยุคนี้ และดูเหมือนว่าจะรุนแรงกว่าด้วยซ้ำ
ดังนั้น จึงเห็นควรอย่างยิ่งที่ฝ่ายปกครองบ้านเมืองจะได้หยิบยกเรื่องนี้ไปหารือกับฝ่ายสงฆ์ และจัดให้มีการชำระพระวินัยและพระธรรม รวมไปถึงการกำหนดแนวทางปกครองสงฆ์เสียใหม่ โดยยึดพระวินัยเป็นหลัก และนำกฎหมายปกครองสงฆ์มาใช้เพื่อเกื้อกูลกัน
ส่วนจะดำเนินการอย่างไรนั้น ก็ควรจัดตั้งในรูปกรรมการ โดยให้สถาบันระดับอุดมศึกษาของสงฆ์ 2 แห่งคือ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย เป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการภายใต้การอำนวยการของมหาเถรสมาคมเพื่อกำหนดรายละเอียดต่างๆ ทั้งนี้ เพื่อให้พุทธศาสนาคงอยู่ และเป็นที่พึ่งของคนไทยต่อไป.