ตรัง - ชาวไทย มาเลเซีย และสิงคโปร์ แห่กราบไหว้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ในศาลเจ้ามากขึ้น ส่งผลให้เกิดศาลเจ้านับ 100 แห่งใน จ.ตรัง ด้านผู้ตรวจตราฯ ศาลเจ้าดังเตือนอย่าไปเกี่ยวข้องกับพุทธพาณิชย์ เพื่อให้ศาลเจ้าสามารถคงอยู่ได้อย่างยาวนาน และควรค่าแก่ความศรัทธาอย่างแท้จริง
วันนี้ (16 ส.ค.) ผู้สื่อข่าวรายงานจาก จ.ตรัง ว่า นายยงยุทธ ข่ายม่าน หรือโกอ้น ผู้ตรวจตราสอดส่องศาลเจ้ากิวอ่องเอี่ย ศาลเจ้าเก่าแก่ที่มีอายุยืนยาวกว่า 150 ปี และเป็นศาลเจ้าแห่งแรกของ จ.ตรัง กล่าวว่า ปัจจุบันผู้คนนิยมเข้าไปกราบไหว้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ตามศาลเจ้า โดยเฉพาะที่ศาลเจ้ากิวอ่องเอี่ย ในแต่ละปีมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งดูได้จากยอดของผู้ที่มาลงทะเบียนรับปิ่นโต และมาร่วมถือศีลกินเจ สูงถึงปีละ 20,000-30,000 คน รวมทั้งยังให้ความสนใจเดินทางเข้ามามากในช่วงไฮซีซัน โดยเดินทางไปท่องเที่ยวตามสถานที่ต่างๆ เพื่อกราบไหว้ขอพรสิ่งศักดิ์สิทธิ์ให้เกิดความเป็นสิริมงคล ซึ่งมีทั้งชาวไทย ชาวมาเลเซีย และชาวสิงคโปร์
สำหรับศาลเจ้าในจังหวัดตรัง โดยเฉพาะศาลเจ้ากิวอ่องเอี่ย เมื่อเปรียบเทียบกับศาลเจ้าอื่นๆ ในระดับประเทศ จะพบว่ามีความโดดเด่นอย่างมาก จากการที่มีลูกหลาน หรือมีลูกศิษย์ประจำศาลเจ้า รวมทั้งมีชาวไทยเชื้อสายจีน และมีผู้เคารพนับถือกันจำนวนมากขึ้น จึงส่งผลให้ก่อเกิดศาลเจ้าอื่นๆ ตามมา จนถึงขณะนี้มีจำนวนนับ 100 แห่งแล้ว จากเดิมที่เมื่อไม่กี่สิบปีก่อนมีเพียงไม่กี่แห่งเท่านั้น แต่ขณะนี้ ตามหมู่บ้าน หรือตามตำบลต่างๆ ก็ยังมีการตั้งศาลเจ้าขึ้นมา นับเป็นปรากฏการณ์ใหม่ที่ชี้เห็นว่าผู้คนในปัจจุบันเริ่มให้ความศรัทธา และนับถือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ตามศาลเจ้ามากขึ้น
“สิ่งที่เกิดขึ้นตามมาก็คือ เมื่อก่อนตามชนบทต่างๆ ผู้คนมักจะนิยมกินเนื้อวัว แต่หลังจากที่มีศาลเจ้าไปตั้งอยู่ในหมู่บ้าน หรือตำบลนั้นๆ อัตราการบริโภคเนื้อวัวในพื้นที่ดังกล่าวก็จะลดลงไปมาก ตามงานมงคล หรืองานศพในชนบทก็จะไม่นิยมแกงเนื้อวัวเหมือนกับเมื่อก่อน เนื่องจากผู้ที่นับถือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ตามศาลเจ้าอย่างเคร่งครัดนั้นจะไม่กินเนื้อสัตว์ใหญ่ อย่างไรก็ตาม ก็อยากฝากให้ผู้บริหารศาลเจ้าแต่ละแห่งว่าอย่าพยายามนำเรื่องสิ่งศักดิ์สิทธิ์ไปเกี่ยวข้องกับพุทธพาณิชย์ เช่น การใบ้หวย การดูดวง เพื่อให้ศาลเจ้าสามารถคงอยู่ได้อย่างยาวนาน และควรค่าแก่ความศรัทธาอย่างแท้จริง”
นายสลิล โตทับเที่ยง ประธานหอการค้าจังหวัดตรัง กล่าวว่า การที่มีศาลเจ้าเพิ่มขึ้นในยุคปัจจุบันถือเป็นสิ่งที่ดี และสอดคล้องกับวิถีชีวิตของชาวตรัง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวไทยเชื้อสายจีน และให้ความเคารพศรัทธากันมาอย่างยาวนานแล้ว โดยจะช่วยให้ผู้คนหันมายึดถือเรื่องการทำความดีมากขึ้น อีกทั้งศาลเจ้าใหญ่ๆ ที่เห็นกันอยู่ ก็เริ่มมาจากศาลเจ้าเล็กๆ ก่อนจะขยับขยายใหญ่โต และเพิ่มขึ้นอย่างเช่นในเวลานี้ ที่สำคัญก็คือ ศาลเจ้าในจังหวัดตรังยังมีจุดเด่นเรื่องของพิธีกรรมที่ยังคงยึดถือแนวปฏิบัติเดิมๆ เอาไว้เคร่งครัด ซึ่งมีความแตกต่างไปจากศาลเจ้าอื่นในระดับประเทศ อันเป็นจุดแข็งที่ควรส่งเสริมให้คงไว้ตลอดไป
วันนี้ (16 ส.ค.) ผู้สื่อข่าวรายงานจาก จ.ตรัง ว่า นายยงยุทธ ข่ายม่าน หรือโกอ้น ผู้ตรวจตราสอดส่องศาลเจ้ากิวอ่องเอี่ย ศาลเจ้าเก่าแก่ที่มีอายุยืนยาวกว่า 150 ปี และเป็นศาลเจ้าแห่งแรกของ จ.ตรัง กล่าวว่า ปัจจุบันผู้คนนิยมเข้าไปกราบไหว้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ตามศาลเจ้า โดยเฉพาะที่ศาลเจ้ากิวอ่องเอี่ย ในแต่ละปีมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งดูได้จากยอดของผู้ที่มาลงทะเบียนรับปิ่นโต และมาร่วมถือศีลกินเจ สูงถึงปีละ 20,000-30,000 คน รวมทั้งยังให้ความสนใจเดินทางเข้ามามากในช่วงไฮซีซัน โดยเดินทางไปท่องเที่ยวตามสถานที่ต่างๆ เพื่อกราบไหว้ขอพรสิ่งศักดิ์สิทธิ์ให้เกิดความเป็นสิริมงคล ซึ่งมีทั้งชาวไทย ชาวมาเลเซีย และชาวสิงคโปร์
สำหรับศาลเจ้าในจังหวัดตรัง โดยเฉพาะศาลเจ้ากิวอ่องเอี่ย เมื่อเปรียบเทียบกับศาลเจ้าอื่นๆ ในระดับประเทศ จะพบว่ามีความโดดเด่นอย่างมาก จากการที่มีลูกหลาน หรือมีลูกศิษย์ประจำศาลเจ้า รวมทั้งมีชาวไทยเชื้อสายจีน และมีผู้เคารพนับถือกันจำนวนมากขึ้น จึงส่งผลให้ก่อเกิดศาลเจ้าอื่นๆ ตามมา จนถึงขณะนี้มีจำนวนนับ 100 แห่งแล้ว จากเดิมที่เมื่อไม่กี่สิบปีก่อนมีเพียงไม่กี่แห่งเท่านั้น แต่ขณะนี้ ตามหมู่บ้าน หรือตามตำบลต่างๆ ก็ยังมีการตั้งศาลเจ้าขึ้นมา นับเป็นปรากฏการณ์ใหม่ที่ชี้เห็นว่าผู้คนในปัจจุบันเริ่มให้ความศรัทธา และนับถือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ตามศาลเจ้ามากขึ้น
“สิ่งที่เกิดขึ้นตามมาก็คือ เมื่อก่อนตามชนบทต่างๆ ผู้คนมักจะนิยมกินเนื้อวัว แต่หลังจากที่มีศาลเจ้าไปตั้งอยู่ในหมู่บ้าน หรือตำบลนั้นๆ อัตราการบริโภคเนื้อวัวในพื้นที่ดังกล่าวก็จะลดลงไปมาก ตามงานมงคล หรืองานศพในชนบทก็จะไม่นิยมแกงเนื้อวัวเหมือนกับเมื่อก่อน เนื่องจากผู้ที่นับถือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ตามศาลเจ้าอย่างเคร่งครัดนั้นจะไม่กินเนื้อสัตว์ใหญ่ อย่างไรก็ตาม ก็อยากฝากให้ผู้บริหารศาลเจ้าแต่ละแห่งว่าอย่าพยายามนำเรื่องสิ่งศักดิ์สิทธิ์ไปเกี่ยวข้องกับพุทธพาณิชย์ เช่น การใบ้หวย การดูดวง เพื่อให้ศาลเจ้าสามารถคงอยู่ได้อย่างยาวนาน และควรค่าแก่ความศรัทธาอย่างแท้จริง”
นายสลิล โตทับเที่ยง ประธานหอการค้าจังหวัดตรัง กล่าวว่า การที่มีศาลเจ้าเพิ่มขึ้นในยุคปัจจุบันถือเป็นสิ่งที่ดี และสอดคล้องกับวิถีชีวิตของชาวตรัง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวไทยเชื้อสายจีน และให้ความเคารพศรัทธากันมาอย่างยาวนานแล้ว โดยจะช่วยให้ผู้คนหันมายึดถือเรื่องการทำความดีมากขึ้น อีกทั้งศาลเจ้าใหญ่ๆ ที่เห็นกันอยู่ ก็เริ่มมาจากศาลเจ้าเล็กๆ ก่อนจะขยับขยายใหญ่โต และเพิ่มขึ้นอย่างเช่นในเวลานี้ ที่สำคัญก็คือ ศาลเจ้าในจังหวัดตรังยังมีจุดเด่นเรื่องของพิธีกรรมที่ยังคงยึดถือแนวปฏิบัติเดิมๆ เอาไว้เคร่งครัด ซึ่งมีความแตกต่างไปจากศาลเจ้าอื่นในระดับประเทศ อันเป็นจุดแข็งที่ควรส่งเสริมให้คงไว้ตลอดไป