นิด้าโพล ชี้ ปชช.กว่า 90% มองว่าไม่เหมาะสมที่พระสงฆ์ใช้ของที่เป็นวัตถุนิยม และควรละกิเลสทางโลก ทั้งยังมองว่าวัดที่มีข่าวฉาวทั้งพระสงฆ์มั่วสีกา หรือวัดพุทธพาณิชย์ เป็นวัดที่ไม่อยากเข้าไปทำบุญมากที่สุด พร้อมเสนอออกกฎข้อบังคับในการมีวัตถุนิยม หรือให้เก็บภาษีจากพระสงฆ์จากเงินบริจาคหรือสิ่งออก
“นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชน เรื่อง “พระสงฆ์กับวัตถุนิยม” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 24 - 25 มิถุนายน 2556 จากประชาชนทั่วประเทศ จำนวน 1,249 หน่วยตัวอย่าง เฉพาะพุทธศาสนิกชน (ผู้ที่นับถือศาสนาพุทธ) กระจายทุกระดับการศึกษาและอาชีพ จากกรณีที่มีข่าวเกี่ยวกับพระภิกษุบางรูป มียานพาหนะ เครื่องใช้ส่วนตัว มีทรัพย์สินมีค่าที่ดูเกินความจำเป็น เช่น รถหรูราคาแพง การใช้กระเป๋าแบรนด์เนม จนเป็นกระแสในสังคมถึงความเหมาะสมในสมณรูป โดยมีค่าความคลาดเคลื่อนมาตรฐาน (Standard Error: S.E.) ไม่เกิน ร้อยละ 1.4
จากการสำรวจถึงความเหมาะสมของพระสงฆ์ ที่มีพฤติกรรมในการครอบครองรถหรู ใช้ของแบรนด์เนม เดินทางด้วยยานพาหนะที่เลิศหรู มีทรัพย์สินส่วนตัว มูลค่าเกินแก่ฐานะ พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 90.39 ระบุว่า ไม่เหมาะสม เพราะ พระสงฆ์อยู่ในสมณเพศ ควรปฏิบัติตนให้เป็นแบบอย่างแก่พุทธศาสนิกชน ควรละซึ่งกิเลสทางโลก เช่น ความโลภ ความหลงใหลในวัตถุนิยมต่างๆ มีเพียงร้อยละ 5.68 ที่ระบุว่า เหมาะสม เพราะถือเป็นสิทธิของพระสงฆ์ และย่อมเป็นไปตามกาลเวลาและยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงไป บางครั้งอาจมีความจำเป็นต้องใช้สิ่งของเหล่านี้ และสิ่งของบางอย่างพระสงฆ์ไม่ได้ซื้อเอง แต่มีลูกศิษย์ซื้อมาถวายให้ใช้
เมื่อถามถึงสาเหตุหรือปัจจัยที่ทำให้พระสงฆ์มีพฤติกรรมวัตถุนิยมหรือบริโภคนิยมมากที่สุด พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 37.79 ระบุว่า เกิดจากพระสงฆ์ตัดไม่ขาดจากทางโลก ยังหลงใหลในวัตถุนิยมหรือบริโภคนิยม รองลงมา ร้อยละ 30.82 เกิดจากพระสงฆ์หลงในวัตถุนิยมหรือบริโภคนิยม และญาติโยม/ลูกศิษย์ก็ตอบสนอง ร้อยละ 20.02 เกิดจากญาติโยม/ลูกศิษย์ถวายวัตถุสิ่งของโดยขาดการยั้งคิดว่าเหมาะสมหรือไม่ ร้อยละ 6.49 เกิดจากองค์กรที่ดูแลศาสนาอ่อนแอขาดประสิทธิภาพในการตรวจสอบป้องกัน และร้อยละ 0.80 เกิดจากสังคมและยุคสมัยที่เปลี่ยนไป
สำหรับการกระทำหรือลักษณะของวัด/สำนักสงฆ์ ที่ทำให้พุทธศาสนิกชนไม่อยากเข้าไปทำบุญมากที่สุด นั้น พบว่า ประชาชน ส่วนใหญ่ ร้อยละ 46.84 ระบุว่า เป็นวัดที่มีข่าวฉาวของพระสงฆ์ เช่น เสพยาบ้า ดื่มสุรา ยุ่งสีกา รองลงมา ร้อยละ 30.50 เป็นวัดที่มีความเป็นพุทธพาณิชย์/เน้นวัตถุนิยมมากเกินไป บังคับให้ทำบุญ ร้อยละ 6.65 เป็นวัดที่เน้นพิธีกรรมทางไสยศาสตร์มากกว่าคำสอนทางพุทธศาสนา ร้อยละ 4.16 พระในวัดยุ่งการเมือง/เลือกข้าง ร้อยละ 4.08 วัดมีคำสอนที่บิดเบือนรวมถึงการโฆษณาอภินิหารเกินความจริง (อวดอุตริมนุสธรรม) ร้อยละ 2.00 อื่นๆ เช่น วัดที่แบ่งชั้นวรรณะ วัดที่เลือกเฉพาะคนรวย พระที่พูดจาไม่สุภาพ มีเพียง ร้อยละ 0.24 ระบุว่า สามารถทำบุญได้ทุกวัด โดยไม่ได้คำนึงว่าวัดนั้นหรือพระสงฆ์จะดีหรือไม่ดี คิดเสียว่าเป็นการทำบุญเพื่อตนเอง
ท้ายสุดเมื่อถามถึงแนวทางในการแก้ไขปัญหาพระสงฆ์ที่มีพฤติกรรมหลงในวัตถุนิยม/บริโภคนิยมมากเกินพอดี พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 68.05 ระบุว่า ควรออกกฎข้อบังคับเพื่อจำกัดการครอบครองหรือใช้วัตถุของพระสงฆ์ รองลงมา ร้อยละ 8.81 ให้มีการเก็บภาษีพระสงฆ์จากเงินบริจาค/สิ่งของที่มาบริจาค ร้อยละ 2.32 แก้ไขที่พระสงฆ์และญาติโยมให้มีความพอดี ทั้งผู้รับและผู้ถวาย ร้อยละ 1.84 มีหน่วยงานกลางช่วยกันตรวจสอบ และประชาชนช่วยกันเป็นหูเป็นตา ร้อยละ 0.72 เห็นว่า แก้ไขได้ยากจนถึงแก้ไขไม่ได้เลย และ ร้อยละ 2.40 อื่นๆ เช่น ดูเจตนาของการกระทำ ให้ลงโทษทางวินัย ตรวจสอบประวัติในเบื้องต้นของผู้ที่จะเข้ามาบวช
ผศ.ดร.สุวิชา เป้าอารีย์ ผู้อำนวยการศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) ได้ให้ทัศนะเกี่ยวกับผลการสำรวจในครั้งนี้เพิ่มเติมว่า “ ผลโพลที่ออกมาสะท้อนให้เห็นถึงความต้องการของประชาชนที่จะให้พระสงฆ์มีความเป็นอยู่อย่างเรียบง่าย ไม่หลงในวัตถุ ยึดในพระธรรมคำสั่งสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอย่างเคร่งครัด ในขณะเดียวกันเวลาเกิดปัญหาขึ้นในวงการพระสงฆ์จะเห็นได้ว่าคนส่วนใหญ่จะโทษพระสงฆ์มากกว่าฆราวาสแสดงให้เห็นถึงความคาดหวังต่อพระสงฆ์อย่างสูงว่าจะต้องประพฤติปฏิบัติตามหลักพระธรรมวินัย อดทน อดกลั้นต่อสิ่งยั่วยุทั้งหลาย
ส่วนญาติโยม หรือลูกศิษย์ เวลาถวายสิ่งของใดให้พระสงฆ์ ขอให้มีสติในการศรัทธาว่าสิ่งที่ถวายนั้นเหมาะสมหรือไม่ ส่วนที่ตัวอย่างประมาณ ร้อยละ 30 ไม่อยากเข้าวัดที่มีความเป็นพุทธพาณิชย์หรือเน้นวัตถุนิยมมากเกินไป เป็นการยืนยันว่าพุทธศาสนิกชนมีความต้องการให้พระสงฆ์ ไม่หลงในวัตถุหรือสิ่งยั่วยุต่างๆ ไม่ว่าสิ่งนั้นจะทำให้ผิดวินัยสงฆ์หรือไม่ก็ตาม”
“นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชน เรื่อง “พระสงฆ์กับวัตถุนิยม” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 24 - 25 มิถุนายน 2556 จากประชาชนทั่วประเทศ จำนวน 1,249 หน่วยตัวอย่าง เฉพาะพุทธศาสนิกชน (ผู้ที่นับถือศาสนาพุทธ) กระจายทุกระดับการศึกษาและอาชีพ จากกรณีที่มีข่าวเกี่ยวกับพระภิกษุบางรูป มียานพาหนะ เครื่องใช้ส่วนตัว มีทรัพย์สินมีค่าที่ดูเกินความจำเป็น เช่น รถหรูราคาแพง การใช้กระเป๋าแบรนด์เนม จนเป็นกระแสในสังคมถึงความเหมาะสมในสมณรูป โดยมีค่าความคลาดเคลื่อนมาตรฐาน (Standard Error: S.E.) ไม่เกิน ร้อยละ 1.4
จากการสำรวจถึงความเหมาะสมของพระสงฆ์ ที่มีพฤติกรรมในการครอบครองรถหรู ใช้ของแบรนด์เนม เดินทางด้วยยานพาหนะที่เลิศหรู มีทรัพย์สินส่วนตัว มูลค่าเกินแก่ฐานะ พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 90.39 ระบุว่า ไม่เหมาะสม เพราะ พระสงฆ์อยู่ในสมณเพศ ควรปฏิบัติตนให้เป็นแบบอย่างแก่พุทธศาสนิกชน ควรละซึ่งกิเลสทางโลก เช่น ความโลภ ความหลงใหลในวัตถุนิยมต่างๆ มีเพียงร้อยละ 5.68 ที่ระบุว่า เหมาะสม เพราะถือเป็นสิทธิของพระสงฆ์ และย่อมเป็นไปตามกาลเวลาและยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงไป บางครั้งอาจมีความจำเป็นต้องใช้สิ่งของเหล่านี้ และสิ่งของบางอย่างพระสงฆ์ไม่ได้ซื้อเอง แต่มีลูกศิษย์ซื้อมาถวายให้ใช้
เมื่อถามถึงสาเหตุหรือปัจจัยที่ทำให้พระสงฆ์มีพฤติกรรมวัตถุนิยมหรือบริโภคนิยมมากที่สุด พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 37.79 ระบุว่า เกิดจากพระสงฆ์ตัดไม่ขาดจากทางโลก ยังหลงใหลในวัตถุนิยมหรือบริโภคนิยม รองลงมา ร้อยละ 30.82 เกิดจากพระสงฆ์หลงในวัตถุนิยมหรือบริโภคนิยม และญาติโยม/ลูกศิษย์ก็ตอบสนอง ร้อยละ 20.02 เกิดจากญาติโยม/ลูกศิษย์ถวายวัตถุสิ่งของโดยขาดการยั้งคิดว่าเหมาะสมหรือไม่ ร้อยละ 6.49 เกิดจากองค์กรที่ดูแลศาสนาอ่อนแอขาดประสิทธิภาพในการตรวจสอบป้องกัน และร้อยละ 0.80 เกิดจากสังคมและยุคสมัยที่เปลี่ยนไป
สำหรับการกระทำหรือลักษณะของวัด/สำนักสงฆ์ ที่ทำให้พุทธศาสนิกชนไม่อยากเข้าไปทำบุญมากที่สุด นั้น พบว่า ประชาชน ส่วนใหญ่ ร้อยละ 46.84 ระบุว่า เป็นวัดที่มีข่าวฉาวของพระสงฆ์ เช่น เสพยาบ้า ดื่มสุรา ยุ่งสีกา รองลงมา ร้อยละ 30.50 เป็นวัดที่มีความเป็นพุทธพาณิชย์/เน้นวัตถุนิยมมากเกินไป บังคับให้ทำบุญ ร้อยละ 6.65 เป็นวัดที่เน้นพิธีกรรมทางไสยศาสตร์มากกว่าคำสอนทางพุทธศาสนา ร้อยละ 4.16 พระในวัดยุ่งการเมือง/เลือกข้าง ร้อยละ 4.08 วัดมีคำสอนที่บิดเบือนรวมถึงการโฆษณาอภินิหารเกินความจริง (อวดอุตริมนุสธรรม) ร้อยละ 2.00 อื่นๆ เช่น วัดที่แบ่งชั้นวรรณะ วัดที่เลือกเฉพาะคนรวย พระที่พูดจาไม่สุภาพ มีเพียง ร้อยละ 0.24 ระบุว่า สามารถทำบุญได้ทุกวัด โดยไม่ได้คำนึงว่าวัดนั้นหรือพระสงฆ์จะดีหรือไม่ดี คิดเสียว่าเป็นการทำบุญเพื่อตนเอง
ท้ายสุดเมื่อถามถึงแนวทางในการแก้ไขปัญหาพระสงฆ์ที่มีพฤติกรรมหลงในวัตถุนิยม/บริโภคนิยมมากเกินพอดี พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 68.05 ระบุว่า ควรออกกฎข้อบังคับเพื่อจำกัดการครอบครองหรือใช้วัตถุของพระสงฆ์ รองลงมา ร้อยละ 8.81 ให้มีการเก็บภาษีพระสงฆ์จากเงินบริจาค/สิ่งของที่มาบริจาค ร้อยละ 2.32 แก้ไขที่พระสงฆ์และญาติโยมให้มีความพอดี ทั้งผู้รับและผู้ถวาย ร้อยละ 1.84 มีหน่วยงานกลางช่วยกันตรวจสอบ และประชาชนช่วยกันเป็นหูเป็นตา ร้อยละ 0.72 เห็นว่า แก้ไขได้ยากจนถึงแก้ไขไม่ได้เลย และ ร้อยละ 2.40 อื่นๆ เช่น ดูเจตนาของการกระทำ ให้ลงโทษทางวินัย ตรวจสอบประวัติในเบื้องต้นของผู้ที่จะเข้ามาบวช
ผศ.ดร.สุวิชา เป้าอารีย์ ผู้อำนวยการศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) ได้ให้ทัศนะเกี่ยวกับผลการสำรวจในครั้งนี้เพิ่มเติมว่า “ ผลโพลที่ออกมาสะท้อนให้เห็นถึงความต้องการของประชาชนที่จะให้พระสงฆ์มีความเป็นอยู่อย่างเรียบง่าย ไม่หลงในวัตถุ ยึดในพระธรรมคำสั่งสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอย่างเคร่งครัด ในขณะเดียวกันเวลาเกิดปัญหาขึ้นในวงการพระสงฆ์จะเห็นได้ว่าคนส่วนใหญ่จะโทษพระสงฆ์มากกว่าฆราวาสแสดงให้เห็นถึงความคาดหวังต่อพระสงฆ์อย่างสูงว่าจะต้องประพฤติปฏิบัติตามหลักพระธรรมวินัย อดทน อดกลั้นต่อสิ่งยั่วยุทั้งหลาย
ส่วนญาติโยม หรือลูกศิษย์ เวลาถวายสิ่งของใดให้พระสงฆ์ ขอให้มีสติในการศรัทธาว่าสิ่งที่ถวายนั้นเหมาะสมหรือไม่ ส่วนที่ตัวอย่างประมาณ ร้อยละ 30 ไม่อยากเข้าวัดที่มีความเป็นพุทธพาณิชย์หรือเน้นวัตถุนิยมมากเกินไป เป็นการยืนยันว่าพุทธศาสนิกชนมีความต้องการให้พระสงฆ์ ไม่หลงในวัตถุหรือสิ่งยั่วยุต่างๆ ไม่ว่าสิ่งนั้นจะทำให้ผิดวินัยสงฆ์หรือไม่ก็ตาม”