ASTVผู้จัดการรรายวัน - กนง.เป็นห่วงความสามารถในการชำระหนี้ครัวเรือนลด เพราะเศรษฐกิจซบเซาอาจสร้างความเปราะบางเรื่องรายได้ ขณะที่สัดส่วนหนี้ค้างชำระเกิน 1 เดือนต่อสินเชื่ออุปโภคบริโภคของธนาคารพาณิชย์เพิ่มขึ้นเป็น 5.2% ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นจากสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์เป็นสำคัญ นายแบงก์คุมเข้มสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์-สินเชื่อส่วนบุคคลมากขึ้น
รายงานข่าวจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) แจ้งว่า ในรายงานนโยบายการเงิน ฉบับเดือน ต.ค.56 ทางคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ได้แสดงความเป็นห่วงและกำชับให้ ธปท.ติดตามความสามารถในการชำระหนี้ของภาคครัวเรือนอย่างใกล้ชิด โดยห่วงว่าหากเศรษฐกิจไทยชะลอตัวต่อเนื่อง ซึ่งอาจจะมีความเปราะบางเพิ่มขึ้นก็อาจจะกระทบต่อรายได้ครัวเรือนในระยะต่อไปได้
"เสถียรภาพภาคครัวเรือนยังอยู่ในเกณฑ์ดี โดยการจ้างงานและรายได้ยังอยู่ในระดับสูง รวมทั้งความสามารถในการชำระหนี้ของครัวเรือนยังอยู่เกณฑ์ที่ดีเช่นกัน แต่อาจมีความเสี่ยงจากการชะลอตัวเศรษฐกิจ"
ทั้งนี้ สัดส่วนหนี้ภาคครัวเรือนต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) ปรับตัวเพิ่มขึ้นจาก 77.6% ในไตรมาสแรกของปีนี้ มาอยู่ที่ 79.2% ในไตรมาสสอง ผลจากเศรษฐกิจชะลอตัวส่งผลให้สภาพคล่องครัวเรือนลดลง สะท้อนได้จากสัดส่วนสินทรัพย์ทางการเงินต่อหนี้สินของครัวเรือนที่ปรับลดลงจากๆตรมาสก่อนเล็กน้อยมาอยู่ที่ 209.4%
ขณะที่สัดส่วนหนี้ค้างชำระเกิน 1 เดือนต่อสินเชื่ออุปโภคบริโภคของธนาคารพาณิชย์ยังอยู่ในระดับต่ำ โดยปรับเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อยจากระดับ 4.9% ณ ไตรมาสก่อน มาอยู่ที่ 5.2% ในไตมาส 2 ของปีนี้จากการสำรวจล่าสุด ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นจากสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์เป็นสำคัญ
**นายแบงก์เชื่อสินเชื่อโตแต่ระวังมากขึ้น**
ผลการสำรวจภาวะและแนวโน้มสินเชื่อของสถาบันการเงิน (Senior Loan Officer Servey) ล่าสุด ณ สิ้นเดือนก.ย.ที่ผ่านมา พบว่า ผู้บริหารสถาบันการเงินที่ดูแลสินเชื่อต่างประเมินว่า ในระยะต่อไปความต้องการสินเชื่อยังคงมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทั้งในส่วนของสินเชื่อภาคธุรกิจและสินเชื่อภาคครัวเรือน
ขณะที่สถาบันการเงินเพิ่มความระมัดระวังในการปล่อยสินเชื่อมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์และสินเชื่อส่วนบุคคล.
รายงานข่าวจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) แจ้งว่า ในรายงานนโยบายการเงิน ฉบับเดือน ต.ค.56 ทางคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ได้แสดงความเป็นห่วงและกำชับให้ ธปท.ติดตามความสามารถในการชำระหนี้ของภาคครัวเรือนอย่างใกล้ชิด โดยห่วงว่าหากเศรษฐกิจไทยชะลอตัวต่อเนื่อง ซึ่งอาจจะมีความเปราะบางเพิ่มขึ้นก็อาจจะกระทบต่อรายได้ครัวเรือนในระยะต่อไปได้
"เสถียรภาพภาคครัวเรือนยังอยู่ในเกณฑ์ดี โดยการจ้างงานและรายได้ยังอยู่ในระดับสูง รวมทั้งความสามารถในการชำระหนี้ของครัวเรือนยังอยู่เกณฑ์ที่ดีเช่นกัน แต่อาจมีความเสี่ยงจากการชะลอตัวเศรษฐกิจ"
ทั้งนี้ สัดส่วนหนี้ภาคครัวเรือนต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) ปรับตัวเพิ่มขึ้นจาก 77.6% ในไตรมาสแรกของปีนี้ มาอยู่ที่ 79.2% ในไตรมาสสอง ผลจากเศรษฐกิจชะลอตัวส่งผลให้สภาพคล่องครัวเรือนลดลง สะท้อนได้จากสัดส่วนสินทรัพย์ทางการเงินต่อหนี้สินของครัวเรือนที่ปรับลดลงจากๆตรมาสก่อนเล็กน้อยมาอยู่ที่ 209.4%
ขณะที่สัดส่วนหนี้ค้างชำระเกิน 1 เดือนต่อสินเชื่ออุปโภคบริโภคของธนาคารพาณิชย์ยังอยู่ในระดับต่ำ โดยปรับเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อยจากระดับ 4.9% ณ ไตรมาสก่อน มาอยู่ที่ 5.2% ในไตมาส 2 ของปีนี้จากการสำรวจล่าสุด ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นจากสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์เป็นสำคัญ
**นายแบงก์เชื่อสินเชื่อโตแต่ระวังมากขึ้น**
ผลการสำรวจภาวะและแนวโน้มสินเชื่อของสถาบันการเงิน (Senior Loan Officer Servey) ล่าสุด ณ สิ้นเดือนก.ย.ที่ผ่านมา พบว่า ผู้บริหารสถาบันการเงินที่ดูแลสินเชื่อต่างประเมินว่า ในระยะต่อไปความต้องการสินเชื่อยังคงมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทั้งในส่วนของสินเชื่อภาคธุรกิจและสินเชื่อภาคครัวเรือน
ขณะที่สถาบันการเงินเพิ่มความระมัดระวังในการปล่อยสินเชื่อมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์และสินเชื่อส่วนบุคคล.