ASTV ผู้จัดการรายวัน- หุ้นไทยคาดสิ้นปีเฉียด 1,500 จุด เผยแนวโน้มปีหน้าอาจเห็นทะลุ 1,700 จุดจากเศรษฐกิจสหรัฐเริ่มฟื้นตัว ต่างชาติหันกลับเข้ามาลงทุนมากขึ้น และ 2 ล้านล้านบาท ต้องเริ่มเดินหน้า ชูไตรมาส4หุ้นกลุ่มท่องเที่ยวรับอานิสงค์เต็มที่ โบรกฯแนะลงทุนหุ้นระยะยาวที่ปัจจัยพื้นฐานดีเช่น กลุ่มพลังงาน ไอที และ แบงก์ เหตุต่างชาติสนใจ
นายปริญญ์ พานิชภักดิ์ กรรมการผู้จัดการ บล.ซี แอล เอส เอ (ประเทศไทย) (CLSA) เปิดเผยถึงแนวโน้มตลาดหุ้นไทยช่วงไตรมาสสุดท้ายว่า ภาพรวมเม็ดเงินลงทุนที่ไหลเข้ามาไม่มากเหมือนช่วงที่ผ่านมา สังเกตุได้จากปริมาณการซื้อสุทธิต่อวันของนักลงทุนต่างประเทศ ต่างกับช่วงต้นปีมาก แต่พบว่าเม็ดเงินลงทุนไหลสู่ตลาดหุ้นอย่างญี่ปุ่น และเกาหลีใต้มากขึ้น
“สถานการณ์ของสหรัฐฯ และยุโรปแม้ผ่านจุดต่ำสุดไปแล้ว ผ่านจุดที่แย่สุดไปแล้ว อย่างเช่นปัญหาในการขยายเพดาหนี้ แต่ก็มองกันว่าการฟื้นตัวจะค่อยๆเป็นไปอย่างช้าๆ เม็ดเงินไหลเข้าตลาดหุ้นไทยไม่มากเหมือนแต่ก่อน รอบที่ผ่านมาต่างชาติเทขายไปกว่า 7-8 หมื่นล้านบาท แต่ในช่วงที่ผ่านมา แม้เห็นแรงซื้อกลับเข้า ก็อยู่ในระดับเพียง 2-3 หมื่นล้านบาทเท่านั้น ทำให้ตลาดโดยรวมเหมือนเป็นช่วงของการผักผ่อน”
สำหรับสถานการณ์การเมืองในประเทศ มองว่าเป็นเรื่องอ่อนไหวที่มีผลต่อตลาดหุ้นไทย เพียงระยะเวลาหนึ่ง ซึ่งมีผลต่อการตัดสินใจลงทุนของนักลงทุนต่างชาติ กองทุน และนักลงทุนรายใหญ่ ในช่วงนี้เพื่อดูความชัดเจน ทั้งนี้เชื่อว่าในไตรมาสสุดท้ายของปี กลุ่มหุ้นที่จะได้รับประโยชน์จากช่วงไฮซีซัน น่าจะเป็นกลุ่มที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว อย่าง บมจ.ท่าอากาศยานไทย (AOT) บมจ.โรงแรมเซ็นทรัลพลาซา (CENTEL) บมจ.ดิ เอราวัณ กรุ๊ป(ERW) บมจ.ไมเนอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล (MINT) ขณะเดียวกัน นักลงทุนต่างประเทศ ก็ให้ความสนใจกลุ่มธนาคารพาณิชย์ของไทยเพิ่มขึ้น เช่น ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) ธนาคารกรุงไทย (KTB) ธนาคารกสิกรไทย (KBANK) แม้จะปรับตัวลงมาหลังหมดแรงเก็งกำไรในงบไตรมาส3/56
“เรามองเป้าดัชนีในปีหน้าที่ระดับ 1,600 จุด ส่วนปีนี้ที่ระดับ 1,500 จุด อาจจะไม่ถึง จะไปถึงได้ต้องหมายถึงพ.ร.บ.กู้เงิน2ล้านล้านต้องมีความชัดเจนและมีความคืบหน้ามากขึ้น ถ้าทำได้ก็มีความเป็นได้ที่อาจเห็นดัชนี SET INDEX ในปีหน้าไปไกลถึง 1,700 จุด แต่ระดับค่า P/E ที่ 13 เท่าถือว่าไม่ถูก กลุ่มพลังงาน ปิโตรเคมี น้ำมัน น่าจะดีขึ้นกว่านี้ ทำให้ PTTGC และ TOP น่าสนใจเข้าลงทุนในปีหน้า โดยรวมช่วงที่เหลือของปี2556 น่าจะเคลื่อนไหวในลักษณะนี้เติบโตขึ้นได้ไม่มาก จากปัญหาการเมืองที่กดดัน”
กรรมการผู้จัดการ บล.ซี แอล เอส เอ (ประเทศไทย) กล่าวเพิ่มเติมว่า นอกเหนือจากที่กล่าวมา กลุ่มหุ้นที่มีทิศทางเติบในปี2557 ยังมีกลุ่มโลจิสติกส์ โทรคมนาคม และตลาดสมาร์ทโฟน รวมถึงกลุ่มที่เกี่ยวข้องกับการประมูลดิจิตอลทีวี เช่น บมจ.แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส (ADVANC) บมจ.ชิน คอร์ปอเรชั่น INTUCH บมจ. เจ มาร์ท(JMART) ที่ยอดขายจะเพิ่มขึ้น กลุ่มอสังหาริมทรัพยื โดยเฉพาะที่ทำธุรกิจคอนโดมีเนียม เช่น บมจ.ศุภาลัย (SPALI) บมจ.แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ (LH) บมจ.แอลพีเอ็นดีเวลลอปเม้นท์ (LPN) จากยอดรับรู้รายได้ที่มีอยู่เป็นจำนวนมาก
“กลุ่มรับเหมา จะเป็นไปตามที่หลายฝ่ายคือ คือได้รับประโยชน์จากเม็ดเงินลงทุนภาครัฐ โดยเฉพาะโครงการ 2 ล้านล้านบาท ซึ่งผู้ประกอบการรายใหญ่ จะมีโอกาสได้งานมากขึ้น รวมถึง บมจ.ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น (UNIQ)
ขณะที่ ดร.ประสิทธิ์ ศรีสุวรรณ อดีตผู้บริหาร บล. คันทรี กรุ๊ป กล่าวเพิ่มเติมว่า ทิศทางผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหุ้นไทยกว่า 500 บริษัท คาดว่าจะเติบโตไม่น้อยกว่า 10-15% ซึ่งเป็นทิศทางที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นตอบรับกับการเปิดเขตเสรีประชาคมอาเซียนหรือ AEC2558 ในปีถัดไป ประกอบกับตัวเลขเศรษฐกิจและตัวเลขผลประกอบการกำไร - ขาดทุน น่าจะมีแนวโน้มที่ดีขึ้น และสอดรับกับโครงการ พ.ร.บ. เงินกู้ 2 ล้านล้านบาท ซึ่งเมื่อโครงการต่างๆเริ่มดำเนินการไปได้ มองจากปัจจัยพื้นฐานโดยรวมและตัดปัญหาการเมืองกับปัจจัยต่างประเทศออกไป
"ในสัดส่วนพอร์ตการลงทุนควรนักลงทุนควรแบ่งประเภทการลงทุนที่มีความเสี่ยงน้อยหรือมาก ซึ่งส่วนหนึ่งแบ่งเงินลงทุนมาจากเงินออม ก็ควรแบ่งสัดส่วนการลงทุนในความเสี่ยงต่ำ 50% ความเสี่ยงปานกลาง 30% ที่เหลือ20%ก็เป็นการลงทุนที่มีความเสี่ยงสูง แต่อย่างไรก็ตามในทุกการลงทุน ย่อมมีความเสี่ยงซึ่งนักลงทุนควรศึกษาข้อมูลประเภทของการลงทุนระยะสั้น ระยะยาว และอัตราผลตอบแทนที่จะได้รับ ซึ่งจะสะท้อนออกมาในภาพลักษณ์ของการลงทุน หรืออาจจะลงทุนในกลุ่มที่ไม่มีความเสี่ยงเลย เช่นลงทุนในพันธบัตร แต่อาจได้ผลตอบแทนที่ช้าตามไปด้วย โดยหุ้นที่มีความเสี่ยงสูงได้แก่หุ้นที่นักลงทุนเล่นหุ้นตามข่าวลือต่างๆ ซึ่งมีแนวโน้มที่จะขาดทุนมากกว่าที่จะได้กำไร อย่างไรก็ดีนักลงทุนควรลงทุนในหุ้นที่มีปัจจัยพื้นฐานดีทั้งในระยะกลางและระยะยาวจะได้ผลตอบแทนที่คุ้มค่าและมีความเสี่ยงน้อยกว่า"
ขณะที่ในส่วนของปัจจัยภายนอกประเทศ อาจไม่มีผลกับตลาดหุ้นไทยมากนัก หากนักลงทุนเลือกลงทุนในหุ้นที่มีความเสี่ยงน้อย และมีปัจจัยพื้นฐานที่ดี แม้ว่าเศรษฐกิจต่างประเทศตกลงมาแรงก็จะไม่กระทบการลงทุน แต่ในทางกลับกันถ้าต่างประเทศเศรษฐกิจเติบโตดีขึ้น ก็จะผลักดันหุ้นเหล่านี้ให้ปรับตัวบวกขึ้นตามไปด้วย
"ทั้งนี้ดัชนี SET INDEX ในปี 2557 คาดว่าจะปรับตัวสูงขึ้นถึงระดับ 1,650-1,700 จุดได้ โดยพิจารณาจาก SET50 ที่มีหุ้นปัจจัยพื้นฐานรวมที่ดีที่สุด จากการเติบโตและการจ่ายเงินปันผลเป็นหลัก ส่วนหุ้นกลุ่มที่น่าสนใจในปีหน้านั้น หุ้นกลุ่มที่ยังคงโดดเด่นได้แก่ กลุ่มพลังงานซึ่งนักลงทุนสามารถลงทุนในระยะยาวได้ ตลอดจนหุ้นกลุ่มท่องเที่ยว และหุ้นกลุ่มท่าอากาศยาน"
นายปริญญ์ พานิชภักดิ์ กรรมการผู้จัดการ บล.ซี แอล เอส เอ (ประเทศไทย) (CLSA) เปิดเผยถึงแนวโน้มตลาดหุ้นไทยช่วงไตรมาสสุดท้ายว่า ภาพรวมเม็ดเงินลงทุนที่ไหลเข้ามาไม่มากเหมือนช่วงที่ผ่านมา สังเกตุได้จากปริมาณการซื้อสุทธิต่อวันของนักลงทุนต่างประเทศ ต่างกับช่วงต้นปีมาก แต่พบว่าเม็ดเงินลงทุนไหลสู่ตลาดหุ้นอย่างญี่ปุ่น และเกาหลีใต้มากขึ้น
“สถานการณ์ของสหรัฐฯ และยุโรปแม้ผ่านจุดต่ำสุดไปแล้ว ผ่านจุดที่แย่สุดไปแล้ว อย่างเช่นปัญหาในการขยายเพดาหนี้ แต่ก็มองกันว่าการฟื้นตัวจะค่อยๆเป็นไปอย่างช้าๆ เม็ดเงินไหลเข้าตลาดหุ้นไทยไม่มากเหมือนแต่ก่อน รอบที่ผ่านมาต่างชาติเทขายไปกว่า 7-8 หมื่นล้านบาท แต่ในช่วงที่ผ่านมา แม้เห็นแรงซื้อกลับเข้า ก็อยู่ในระดับเพียง 2-3 หมื่นล้านบาทเท่านั้น ทำให้ตลาดโดยรวมเหมือนเป็นช่วงของการผักผ่อน”
สำหรับสถานการณ์การเมืองในประเทศ มองว่าเป็นเรื่องอ่อนไหวที่มีผลต่อตลาดหุ้นไทย เพียงระยะเวลาหนึ่ง ซึ่งมีผลต่อการตัดสินใจลงทุนของนักลงทุนต่างชาติ กองทุน และนักลงทุนรายใหญ่ ในช่วงนี้เพื่อดูความชัดเจน ทั้งนี้เชื่อว่าในไตรมาสสุดท้ายของปี กลุ่มหุ้นที่จะได้รับประโยชน์จากช่วงไฮซีซัน น่าจะเป็นกลุ่มที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว อย่าง บมจ.ท่าอากาศยานไทย (AOT) บมจ.โรงแรมเซ็นทรัลพลาซา (CENTEL) บมจ.ดิ เอราวัณ กรุ๊ป(ERW) บมจ.ไมเนอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล (MINT) ขณะเดียวกัน นักลงทุนต่างประเทศ ก็ให้ความสนใจกลุ่มธนาคารพาณิชย์ของไทยเพิ่มขึ้น เช่น ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) ธนาคารกรุงไทย (KTB) ธนาคารกสิกรไทย (KBANK) แม้จะปรับตัวลงมาหลังหมดแรงเก็งกำไรในงบไตรมาส3/56
“เรามองเป้าดัชนีในปีหน้าที่ระดับ 1,600 จุด ส่วนปีนี้ที่ระดับ 1,500 จุด อาจจะไม่ถึง จะไปถึงได้ต้องหมายถึงพ.ร.บ.กู้เงิน2ล้านล้านต้องมีความชัดเจนและมีความคืบหน้ามากขึ้น ถ้าทำได้ก็มีความเป็นได้ที่อาจเห็นดัชนี SET INDEX ในปีหน้าไปไกลถึง 1,700 จุด แต่ระดับค่า P/E ที่ 13 เท่าถือว่าไม่ถูก กลุ่มพลังงาน ปิโตรเคมี น้ำมัน น่าจะดีขึ้นกว่านี้ ทำให้ PTTGC และ TOP น่าสนใจเข้าลงทุนในปีหน้า โดยรวมช่วงที่เหลือของปี2556 น่าจะเคลื่อนไหวในลักษณะนี้เติบโตขึ้นได้ไม่มาก จากปัญหาการเมืองที่กดดัน”
กรรมการผู้จัดการ บล.ซี แอล เอส เอ (ประเทศไทย) กล่าวเพิ่มเติมว่า นอกเหนือจากที่กล่าวมา กลุ่มหุ้นที่มีทิศทางเติบในปี2557 ยังมีกลุ่มโลจิสติกส์ โทรคมนาคม และตลาดสมาร์ทโฟน รวมถึงกลุ่มที่เกี่ยวข้องกับการประมูลดิจิตอลทีวี เช่น บมจ.แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส (ADVANC) บมจ.ชิน คอร์ปอเรชั่น INTUCH บมจ. เจ มาร์ท(JMART) ที่ยอดขายจะเพิ่มขึ้น กลุ่มอสังหาริมทรัพยื โดยเฉพาะที่ทำธุรกิจคอนโดมีเนียม เช่น บมจ.ศุภาลัย (SPALI) บมจ.แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ (LH) บมจ.แอลพีเอ็นดีเวลลอปเม้นท์ (LPN) จากยอดรับรู้รายได้ที่มีอยู่เป็นจำนวนมาก
“กลุ่มรับเหมา จะเป็นไปตามที่หลายฝ่ายคือ คือได้รับประโยชน์จากเม็ดเงินลงทุนภาครัฐ โดยเฉพาะโครงการ 2 ล้านล้านบาท ซึ่งผู้ประกอบการรายใหญ่ จะมีโอกาสได้งานมากขึ้น รวมถึง บมจ.ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น (UNIQ)
ขณะที่ ดร.ประสิทธิ์ ศรีสุวรรณ อดีตผู้บริหาร บล. คันทรี กรุ๊ป กล่าวเพิ่มเติมว่า ทิศทางผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหุ้นไทยกว่า 500 บริษัท คาดว่าจะเติบโตไม่น้อยกว่า 10-15% ซึ่งเป็นทิศทางที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นตอบรับกับการเปิดเขตเสรีประชาคมอาเซียนหรือ AEC2558 ในปีถัดไป ประกอบกับตัวเลขเศรษฐกิจและตัวเลขผลประกอบการกำไร - ขาดทุน น่าจะมีแนวโน้มที่ดีขึ้น และสอดรับกับโครงการ พ.ร.บ. เงินกู้ 2 ล้านล้านบาท ซึ่งเมื่อโครงการต่างๆเริ่มดำเนินการไปได้ มองจากปัจจัยพื้นฐานโดยรวมและตัดปัญหาการเมืองกับปัจจัยต่างประเทศออกไป
"ในสัดส่วนพอร์ตการลงทุนควรนักลงทุนควรแบ่งประเภทการลงทุนที่มีความเสี่ยงน้อยหรือมาก ซึ่งส่วนหนึ่งแบ่งเงินลงทุนมาจากเงินออม ก็ควรแบ่งสัดส่วนการลงทุนในความเสี่ยงต่ำ 50% ความเสี่ยงปานกลาง 30% ที่เหลือ20%ก็เป็นการลงทุนที่มีความเสี่ยงสูง แต่อย่างไรก็ตามในทุกการลงทุน ย่อมมีความเสี่ยงซึ่งนักลงทุนควรศึกษาข้อมูลประเภทของการลงทุนระยะสั้น ระยะยาว และอัตราผลตอบแทนที่จะได้รับ ซึ่งจะสะท้อนออกมาในภาพลักษณ์ของการลงทุน หรืออาจจะลงทุนในกลุ่มที่ไม่มีความเสี่ยงเลย เช่นลงทุนในพันธบัตร แต่อาจได้ผลตอบแทนที่ช้าตามไปด้วย โดยหุ้นที่มีความเสี่ยงสูงได้แก่หุ้นที่นักลงทุนเล่นหุ้นตามข่าวลือต่างๆ ซึ่งมีแนวโน้มที่จะขาดทุนมากกว่าที่จะได้กำไร อย่างไรก็ดีนักลงทุนควรลงทุนในหุ้นที่มีปัจจัยพื้นฐานดีทั้งในระยะกลางและระยะยาวจะได้ผลตอบแทนที่คุ้มค่าและมีความเสี่ยงน้อยกว่า"
ขณะที่ในส่วนของปัจจัยภายนอกประเทศ อาจไม่มีผลกับตลาดหุ้นไทยมากนัก หากนักลงทุนเลือกลงทุนในหุ้นที่มีความเสี่ยงน้อย และมีปัจจัยพื้นฐานที่ดี แม้ว่าเศรษฐกิจต่างประเทศตกลงมาแรงก็จะไม่กระทบการลงทุน แต่ในทางกลับกันถ้าต่างประเทศเศรษฐกิจเติบโตดีขึ้น ก็จะผลักดันหุ้นเหล่านี้ให้ปรับตัวบวกขึ้นตามไปด้วย
"ทั้งนี้ดัชนี SET INDEX ในปี 2557 คาดว่าจะปรับตัวสูงขึ้นถึงระดับ 1,650-1,700 จุดได้ โดยพิจารณาจาก SET50 ที่มีหุ้นปัจจัยพื้นฐานรวมที่ดีที่สุด จากการเติบโตและการจ่ายเงินปันผลเป็นหลัก ส่วนหุ้นกลุ่มที่น่าสนใจในปีหน้านั้น หุ้นกลุ่มที่ยังคงโดดเด่นได้แก่ กลุ่มพลังงานซึ่งนักลงทุนสามารถลงทุนในระยะยาวได้ ตลอดจนหุ้นกลุ่มท่องเที่ยว และหุ้นกลุ่มท่าอากาศยาน"