ASTVผู้จัดการรายวัน - ขบวน "เดินด้วยรักปากบารา-จะนะ" ต่อต้านแลนด์บริดจ์สงขลา-สตูล ระยะทาง 220 กิโลเมตร มุ่งหน้าเข้าสู่ อ.ควนกาหลงแล้ว เร่งให้ความรู้ชาวบ้าน พร้อมจี้ถอนโครงการออกจากบัญชีเงินกู้ 2.2 ล้านล้าน เหตุทำขึ้นเพื่อสนองอุตสาหกรรมหนัก ขนถ่ายน้ำมัน แถมไม่ศึกษา EHIA และยังทำลายสิ่งแวดล้อม แนวปะการัง เผย "ศศิน" เตรียมขึ้นเวที "กู้ 2.2 ล้านล้าน คนสงขลา-สตูลได้หรือเสีย" 26 ต.ค.นี้
วานนี้ (23 ต.ค.) เครือข่ายประชาชนติดตามแผนพัฒนาจ.สตูล-สงขลา ซึ่งออกเดินเท้าภายใต้กิจกรรม "เดินด้วยรัก ปกป้องอุทยานเภตรา-ตะรุเตา จากปากบารา-จะนะ" เพื่อต่อต้าน "แลนด์บริดจ์สงขลา-สตูล" ท่าเรือน้ำลึกปากบารา และท่าเรือน้ำลึกสวนกง พร้อมเขตอุตสาหกรรม หลังจากรัฐบาลแนบท้ายโครงการในบัญชี พ.ร.บ.เงินกู้ 2.2 ล้านล้านบาท โดยเครือข่ายฯ เริ่มออกเดินเท้าจากท่าเรือท่องเที่ยวปากบารา อ.ละงู จ.สตูล ตั้งแต่วันที่ 22 ต.ค. กำหนดถึงปลายทางบ้านสวนกง อ.จะนะ จ.สงขลา วันที่ 28 ต.ค. ระยะทาง 220 กิโลเมตร
โดยเมื่อเวลา 06.30 น. เครือข่ายฯ ออกเดินทางจากต.ท่าแพ อ.ท่าแพ จ.สตูล มีผู้ร่วมขบวนประมาณ 30 คน
นายสมบูรณ์ คำแหง แกนนำเครือข่ายฯ กล่าวว่า เมื่อคืนวันที่ 22 ต.ค. ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) ท่าแพ โทรศัพท์แจ้งว่าอาจมีฝ่ายสนับสนุนโครงการ 50 คนเข้าร่วมวงเสวนา ที่ทางเครือข่ายฯ จะให้ความรู้ประชาชนใน ต.ท่าแพ ซึ่งเป็นจุดพักแรม แต่ไม่มีใครมาแต่อย่างใด
อย่างไรก็ตาม เมื่อเคลื่อนขบวนเดินทางต่อ มีแกนนำผู้สนับสนุนท่าเรือน้ำลึก 4-5 คนมาคอยสังเกตการณ์ มีป้ายข้อความสนับสนุนท่าเรือน้ำลึกติดไว้ตลอดทาง ทั้งที่เสาไฟฟ้า ราวสะพาน แต่ขบวนยังคงเดินหน้าต่อไปด้วยความสงบ ซึ่งตนคิดว่านี่คือความเห็นต่าง และถือเป็นสีสันระหว่างเดินทาง
"ระหว่างทางใน ต.ท่าแพ มีเยาวชนกว่า 10 คนมาร่วมเดินกับพวกเราด้วย ก็รู้สึกดีใจ และเป็นกำลังใจอย่างมาก โดยจะพักที่ศูนย์ศานติธรรม ต.ทุ่งนุ้ย อ.ควนกาหลง จ.สตูล และร่วมพูดคุยให้ความรู้แก่ประชาชนที่สนใจด้วย"
ด้านพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย จ.สงขลา ออกประกาศเชิญชวนพันธมิตร และประชาชนผู้มีจิตใจรักบ้านเมือง ร่วมต้อนรับคณะ "เดินด้วยรัก ปกป้องอุทยานเภตรา-ตะรุเตา จากปากบารา-จะนะ" ด้วยจิตวิญญาณแห่ง "สะพานมนุษย์" ซึ่งจะถึงอ.หาดใหญ่ วันที่ 26 ต.ค. เวลา 13.00 น. โดยขอให้รอรับที่หน้าวัดควนลัง และร่วมเดินเท้าเข้าเมืองหาดใหญ่ ตลาดกิมหยง สาย 1, 2 และ 3
จากนั้นช่วงค่ำเปิดเวทีที่ลานประวัติศาสตร์ หน้าสถานีรถไฟหาดใหญ่ ชมการแสดงละครใบ้สะท้อนสังคม จากมหาวิทยาลัยราชภัฎนครศรีธรรมราช การแสดงดนตรีโดย แสง ธรรมดา , เจี๊ยบ กอและ และเพื่อนพ้อง อ่านบทกวีโดย "มนตรี ศรียงค์" กวีซีไรต์และเพื่อนพ้อง พร้อมเวทีวิชาการ "กู้ 2.2 ล้านล้าน คนสงขลา-สตูลได้หรือเสีย" โดย "ภารณี สวัสดิรักษ์" นักวิชาการอิสระ ผู้เชี่ยวชาญด้านผังเมือง และ "ศศิน เฉลิมลาภ" เลขาธิการมูลนิธิสืบ นาคะเสถียร ผู้เดินเท้าต้านเขื่อนแม่วงก์ จากนั้นเช้าวันที่ 27 ต.ค. ร่วมส่งคณะเดินเท้าต่อไปยังบ้านสวนกง อ.จะนะ จ.สงขลา
รายงานข่าวแจ้งว่า ขบวนดังกล่าวเป็นเครือข่ายชาวบ้านจากปากบารา อ.ละงู จ.สตูล และจากอ.จะนะ จ.สงขลา เป้าหมายเพื่อขอให้รัฐบาลถอดถอนบัญชีโครงการแลนด์บริดจ์สงขลา-สตูล ออกจากบัญชีแนบท้ายพ.ร.บ.กู้เงิน 2.2 ล้านล้านบาท เพื่อรักษาอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตรา อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะตะรุเตา และความงามของท้องทะเล 2 ฝั่ง คือ อันดามัน และอ่าวไทย
โดยก่อนเคลื่อนขบวนได้อ่านคำประกาศเรื่องให้รัฐบาลถอนโครงการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกปากบารา ท่าเรือสวนกง และแลนด์บริดจ์สงขลา-สตูล ออกจากบัญชีพ.ร.บ.เงินกู้ ซึ่งผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภาแล้วทั้ง 3 วาระ แม้ประชาชนส่วนหนึ่งจะเห็นด้วยและคล้อยตาม แต่บางโครงการมีการตั้งข้อสังเกตถึงความสมเหตุสมผล โดยชุดแลนด์บริดจ์สงขลา-สตูล จะพัฒนาเพื่อรองรับอุตสาหกรรมหนัก และล่าสุดมีการแถลงข่าวจากกระทรวงพลังงานว่า จะใช้เส้นทางนี้ขนถ่ายน้ำมัน ไม่ใช่ขนส่งสินค้าตามที่เข้าใจกัน ทั้งยังไม่ได้ศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (EHIA) เช่น ท่าเรือน้ำลึกปากบารา ท่าเรือน้ำลึกบ้านสวนกง การขนถ่ายน้ำมันเพื่ออุตสาหกรรมหนัก
นอกจากนี้ การสร้างท่าเรือน้ำลึกปากบารา นอกจากส่งผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม วิถีชีวิต สังคม วัฒนธรรมแล้ว ยังสูญเสียพื้นที่อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตรา และอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะตะรุเตา อีกทั้งเรือเดินสมุทรขนาดใหญ่ต้องเดินเรือผ่านเขตอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะตะรุเตา ซึ่งอุดมสมบูรณ์ไปด้วยปะการัง โดยเฉพาะปะการังอ่อนเจ็ดสี และทรัพยากรสำคัญจำนวนมหาศาล ที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญ ดึงดูดนักดำน้ำทั้งชาวไทยและต่างชาติ เข้ามาชื่นชมความงามของทะเลสตูลมากขึ้นทุกปี และกำลังถูกเสนอชื่อให้เป็นมรดกโลกทางธรรมชาติด้วย
เครือข่ายฯ จึงตัดสินใจส่งตัวแทนเดินทางไกล ไปตามเส้นทางแลนบริดจ์สตูล-สงขลา เพื่อสื่อสารถึงสาธารณะร่วมกันสนับสนุนให้รัฐบาลถอนแลนด์บริดจ์ ออกจากบัญชีแนบท้ายพ.ร.บ.กู้เงิน 2.2 ล้านล้านบาท เพื่อรักษาทรัพยากรธรรมชาติทั้ง 2 ฝั่งทะเลไว้เป็นสมบัติของคนไทยทั้งประเทศสืบไป
วานนี้ (23 ต.ค.) เครือข่ายประชาชนติดตามแผนพัฒนาจ.สตูล-สงขลา ซึ่งออกเดินเท้าภายใต้กิจกรรม "เดินด้วยรัก ปกป้องอุทยานเภตรา-ตะรุเตา จากปากบารา-จะนะ" เพื่อต่อต้าน "แลนด์บริดจ์สงขลา-สตูล" ท่าเรือน้ำลึกปากบารา และท่าเรือน้ำลึกสวนกง พร้อมเขตอุตสาหกรรม หลังจากรัฐบาลแนบท้ายโครงการในบัญชี พ.ร.บ.เงินกู้ 2.2 ล้านล้านบาท โดยเครือข่ายฯ เริ่มออกเดินเท้าจากท่าเรือท่องเที่ยวปากบารา อ.ละงู จ.สตูล ตั้งแต่วันที่ 22 ต.ค. กำหนดถึงปลายทางบ้านสวนกง อ.จะนะ จ.สงขลา วันที่ 28 ต.ค. ระยะทาง 220 กิโลเมตร
โดยเมื่อเวลา 06.30 น. เครือข่ายฯ ออกเดินทางจากต.ท่าแพ อ.ท่าแพ จ.สตูล มีผู้ร่วมขบวนประมาณ 30 คน
นายสมบูรณ์ คำแหง แกนนำเครือข่ายฯ กล่าวว่า เมื่อคืนวันที่ 22 ต.ค. ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) ท่าแพ โทรศัพท์แจ้งว่าอาจมีฝ่ายสนับสนุนโครงการ 50 คนเข้าร่วมวงเสวนา ที่ทางเครือข่ายฯ จะให้ความรู้ประชาชนใน ต.ท่าแพ ซึ่งเป็นจุดพักแรม แต่ไม่มีใครมาแต่อย่างใด
อย่างไรก็ตาม เมื่อเคลื่อนขบวนเดินทางต่อ มีแกนนำผู้สนับสนุนท่าเรือน้ำลึก 4-5 คนมาคอยสังเกตการณ์ มีป้ายข้อความสนับสนุนท่าเรือน้ำลึกติดไว้ตลอดทาง ทั้งที่เสาไฟฟ้า ราวสะพาน แต่ขบวนยังคงเดินหน้าต่อไปด้วยความสงบ ซึ่งตนคิดว่านี่คือความเห็นต่าง และถือเป็นสีสันระหว่างเดินทาง
"ระหว่างทางใน ต.ท่าแพ มีเยาวชนกว่า 10 คนมาร่วมเดินกับพวกเราด้วย ก็รู้สึกดีใจ และเป็นกำลังใจอย่างมาก โดยจะพักที่ศูนย์ศานติธรรม ต.ทุ่งนุ้ย อ.ควนกาหลง จ.สตูล และร่วมพูดคุยให้ความรู้แก่ประชาชนที่สนใจด้วย"
ด้านพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย จ.สงขลา ออกประกาศเชิญชวนพันธมิตร และประชาชนผู้มีจิตใจรักบ้านเมือง ร่วมต้อนรับคณะ "เดินด้วยรัก ปกป้องอุทยานเภตรา-ตะรุเตา จากปากบารา-จะนะ" ด้วยจิตวิญญาณแห่ง "สะพานมนุษย์" ซึ่งจะถึงอ.หาดใหญ่ วันที่ 26 ต.ค. เวลา 13.00 น. โดยขอให้รอรับที่หน้าวัดควนลัง และร่วมเดินเท้าเข้าเมืองหาดใหญ่ ตลาดกิมหยง สาย 1, 2 และ 3
จากนั้นช่วงค่ำเปิดเวทีที่ลานประวัติศาสตร์ หน้าสถานีรถไฟหาดใหญ่ ชมการแสดงละครใบ้สะท้อนสังคม จากมหาวิทยาลัยราชภัฎนครศรีธรรมราช การแสดงดนตรีโดย แสง ธรรมดา , เจี๊ยบ กอและ และเพื่อนพ้อง อ่านบทกวีโดย "มนตรี ศรียงค์" กวีซีไรต์และเพื่อนพ้อง พร้อมเวทีวิชาการ "กู้ 2.2 ล้านล้าน คนสงขลา-สตูลได้หรือเสีย" โดย "ภารณี สวัสดิรักษ์" นักวิชาการอิสระ ผู้เชี่ยวชาญด้านผังเมือง และ "ศศิน เฉลิมลาภ" เลขาธิการมูลนิธิสืบ นาคะเสถียร ผู้เดินเท้าต้านเขื่อนแม่วงก์ จากนั้นเช้าวันที่ 27 ต.ค. ร่วมส่งคณะเดินเท้าต่อไปยังบ้านสวนกง อ.จะนะ จ.สงขลา
รายงานข่าวแจ้งว่า ขบวนดังกล่าวเป็นเครือข่ายชาวบ้านจากปากบารา อ.ละงู จ.สตูล และจากอ.จะนะ จ.สงขลา เป้าหมายเพื่อขอให้รัฐบาลถอดถอนบัญชีโครงการแลนด์บริดจ์สงขลา-สตูล ออกจากบัญชีแนบท้ายพ.ร.บ.กู้เงิน 2.2 ล้านล้านบาท เพื่อรักษาอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตรา อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะตะรุเตา และความงามของท้องทะเล 2 ฝั่ง คือ อันดามัน และอ่าวไทย
โดยก่อนเคลื่อนขบวนได้อ่านคำประกาศเรื่องให้รัฐบาลถอนโครงการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกปากบารา ท่าเรือสวนกง และแลนด์บริดจ์สงขลา-สตูล ออกจากบัญชีพ.ร.บ.เงินกู้ ซึ่งผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภาแล้วทั้ง 3 วาระ แม้ประชาชนส่วนหนึ่งจะเห็นด้วยและคล้อยตาม แต่บางโครงการมีการตั้งข้อสังเกตถึงความสมเหตุสมผล โดยชุดแลนด์บริดจ์สงขลา-สตูล จะพัฒนาเพื่อรองรับอุตสาหกรรมหนัก และล่าสุดมีการแถลงข่าวจากกระทรวงพลังงานว่า จะใช้เส้นทางนี้ขนถ่ายน้ำมัน ไม่ใช่ขนส่งสินค้าตามที่เข้าใจกัน ทั้งยังไม่ได้ศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (EHIA) เช่น ท่าเรือน้ำลึกปากบารา ท่าเรือน้ำลึกบ้านสวนกง การขนถ่ายน้ำมันเพื่ออุตสาหกรรมหนัก
นอกจากนี้ การสร้างท่าเรือน้ำลึกปากบารา นอกจากส่งผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม วิถีชีวิต สังคม วัฒนธรรมแล้ว ยังสูญเสียพื้นที่อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตรา และอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะตะรุเตา อีกทั้งเรือเดินสมุทรขนาดใหญ่ต้องเดินเรือผ่านเขตอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะตะรุเตา ซึ่งอุดมสมบูรณ์ไปด้วยปะการัง โดยเฉพาะปะการังอ่อนเจ็ดสี และทรัพยากรสำคัญจำนวนมหาศาล ที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญ ดึงดูดนักดำน้ำทั้งชาวไทยและต่างชาติ เข้ามาชื่นชมความงามของทะเลสตูลมากขึ้นทุกปี และกำลังถูกเสนอชื่อให้เป็นมรดกโลกทางธรรมชาติด้วย
เครือข่ายฯ จึงตัดสินใจส่งตัวแทนเดินทางไกล ไปตามเส้นทางแลนบริดจ์สตูล-สงขลา เพื่อสื่อสารถึงสาธารณะร่วมกันสนับสนุนให้รัฐบาลถอนแลนด์บริดจ์ ออกจากบัญชีแนบท้ายพ.ร.บ.กู้เงิน 2.2 ล้านล้านบาท เพื่อรักษาทรัพยากรธรรมชาติทั้ง 2 ฝั่งทะเลไว้เป็นสมบัติของคนไทยทั้งประเทศสืบไป