ASTVผู้จัดการรายวัน- “สนพ.”คาดแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าหรือพีดีพี 2013 จะสรุปธ.ค.นี้เพื่อเสนอ”พงษ์ศักดิ์”เคาะ จ่อยื่น 3 ทางเลือก 1. เลิกใช้ก๊าซฯผลิตช่วงปลายแผนลงให้เหลือ 50% จาก 56% โดยเน้นซื้อไฟเพื่อนบ้านและถ่านหินเบรกค่าไฟพุ่งจากการนำเข้าLNG 2.ตัดนิวเคลียร์ออกดึงพลังงานทดแทนเสริม 3. ถ่านหินไม่เกิดอาจเปิด IPPรอบใหม่
นายเสมอใจ ศุขสุเมฆ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) เปิดเผยว่า ภายในธ.ค.นี้สนพ. จะเสนอแนวทางการปรับแผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้าหรือพีดีพี 2013 ซึ่งจะเป็นการประเมินโรงไฟฟ้าใหม่ช่วงปี 2555-2573 ต่อนายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานโดยแผนพีดีพีเบื้องต้นยังคงยึดกรอบกำลังการผลิตของแผนเดิมที่สิ้นสุดปี 2573 จะอยู่ที่ 70,847 เมกะวัตต์หรือเพิ่มขึ้น 55,065 เมกะวัตต์ จากปัจจุบันที่ 32,629 เมกะวัตต์ ซึ่งได้พิจารณาสอดคล้องกับการขยายตัวทางเศรษฐกิจ และโครงการลงทุนรถไฟฟ้าความเร็วสูง 4 เส้นทางแล้วโดยแผนพีดีพีดังกล่าวจะเน้นเพียงการปรับประเภทเชื้อเพลิงเพื่อลดผลกระทบค่าไฟฟ้าเป็นหลักแทนซึ่งจะเสนอแนวทางการพัฒนา 3 แนวทางดังนี้
แนวทางที่ 1. ยกเลิกการผลิตไฟฟ้าจากก๊าซธรรมชาติลงทั้งหมดช่วงปลายแผน เพื่อลดสัดส่วนการใช้ก๊าซฯซึ่งตามแผนเดิมเมือสิ้นสุดปี 2573 จะใช้ก๊าซฯผลิตไฟ 56% ซึ่งเมื่อปรับใหม่คาดว่าจะลดใช้ก๊าซฯเหลือ 50% และยังคงนิวเคลียร์ โดยเหตุผลหลักคือการลดผลกระทบค่าไฟฟ้าเนื่องจากสัดส่วนกรใช้ก๊าซฯดังกล่าวในอนาคตจะเป็นรูปของการนำเข้าก๊าซธรรมชาติเหลว(LNG)ซึ่งมีราคาแพงกว่าก๊าซฯอ่าวไทยเท่าตัว โดยจะเน้นการซื้อไฟจากประเทศเพื่อนบ้านโดยเฉพาะจากจีน ลาว พม่าที่สนใจขายไฟเพิ่มจากพลังงานน้ำที่มีราคาต่ำ และอีกส่วนหนึ่งจากถ่านหินซึ่งจะคงค่าไฟเมื่อสิ้นสุดปี 2573 ไม่เกินที่ 4.50 บาทต่อหน่วยหรืออาจลดลงต่ำก่วานี้ได้
แนวทางที่ 2 ตัดโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่เดิมปลายแผนจะมี 2 โรงกำลังการผลิต 2,000 เมกะวัตต์ออกทั้งหมดซึ่งก็จะต้องหาแนวทางในการเพิ่มสัดส่วนการซื้อไฟจากต่างประเทศ ถ่านหิน และยังต้องมองหาพลังงานทดแทนอื่นๆ เข้ามาเพิ่มเช่น โครงการผลิตไฟจากหญ้าเนเปียร์ซึ่งพลังงานทดแทนบางอย่างยังไม่มีความเสถียรประกอบกับจะต้องลงทุนระบบสายส่งให้เชื่อมโยงกันมากขึ้นซึ่งจะส่งผลกระทบต่อค่าไฟให้สูงกว่า 4.50 บาทต่อหน่วยช่วงปลายแผนได้
แนวทางที่ 3 กรณีโรงไฟฟ้าถ่านหินที่กระบี่ไม่สามารถขึ้นได้หรือที่สุดต้องตัดโรงไฟฟ้าถ่านหินออกไป ก็จะต้องเสนอแนวทางรัฐให้เจรจาซื้อไฟฟ้าจากต่างประเทศในสัดส่วนที่เพิ่มขึ้นจากกรอบเดิมซึ่งเรื่องนี้หากซื้อในสัดส่วนมากเกินไปก็จะมีผลกระทบต่อความมั่นคง ดังนั้นก็อาจจะเสนอให้เปิดโครงการรับซื้อไฟฟ้าจากเอกชนรายใหญ่หรือ IPP รอบใหม่
ซึ่งเชื้อเพลิงจะเป็นถ่านหินหรือไม่กำหนดประเภทเชื้อเพลิงก็จะต้องดูรายละเอียดอีกครั้งเพราะเป็นเรื่องค่อนข้างอ่อนไหว
ทั้งนี้ ตามแผนกำลังผลิตไฟฟ้าใหม่ในช่วงปี พ.ศ.2555-2573 อยู่ที่ 55,065 เมกะวัตต์ แบ่งเป็น โรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน9,516 เมกะวัตต์ โรงไฟฟ้าระบบ Cogeneration ที่ 6,374 เมกะวัตต์ โรงไฟฟ้าความร้อนร่วม (ก๊าซธรรมชาติ) ที่ 25,451เมกะวัตต์ โรงไฟฟ้าถ่านหินสะอาด ที่ 4,400 เมกะวัตต์ โรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ที่ 2,000 เมกะวัตต์ โรงไฟฟ้ากังหันแก๊สที่750 เมกะวัตต์ และรับซื้อจากต่างประเทศที่ 6,572 เมกะวัตต์
นายเสมอใจ ศุขสุเมฆ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) เปิดเผยว่า ภายในธ.ค.นี้สนพ. จะเสนอแนวทางการปรับแผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้าหรือพีดีพี 2013 ซึ่งจะเป็นการประเมินโรงไฟฟ้าใหม่ช่วงปี 2555-2573 ต่อนายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานโดยแผนพีดีพีเบื้องต้นยังคงยึดกรอบกำลังการผลิตของแผนเดิมที่สิ้นสุดปี 2573 จะอยู่ที่ 70,847 เมกะวัตต์หรือเพิ่มขึ้น 55,065 เมกะวัตต์ จากปัจจุบันที่ 32,629 เมกะวัตต์ ซึ่งได้พิจารณาสอดคล้องกับการขยายตัวทางเศรษฐกิจ และโครงการลงทุนรถไฟฟ้าความเร็วสูง 4 เส้นทางแล้วโดยแผนพีดีพีดังกล่าวจะเน้นเพียงการปรับประเภทเชื้อเพลิงเพื่อลดผลกระทบค่าไฟฟ้าเป็นหลักแทนซึ่งจะเสนอแนวทางการพัฒนา 3 แนวทางดังนี้
แนวทางที่ 1. ยกเลิกการผลิตไฟฟ้าจากก๊าซธรรมชาติลงทั้งหมดช่วงปลายแผน เพื่อลดสัดส่วนการใช้ก๊าซฯซึ่งตามแผนเดิมเมือสิ้นสุดปี 2573 จะใช้ก๊าซฯผลิตไฟ 56% ซึ่งเมื่อปรับใหม่คาดว่าจะลดใช้ก๊าซฯเหลือ 50% และยังคงนิวเคลียร์ โดยเหตุผลหลักคือการลดผลกระทบค่าไฟฟ้าเนื่องจากสัดส่วนกรใช้ก๊าซฯดังกล่าวในอนาคตจะเป็นรูปของการนำเข้าก๊าซธรรมชาติเหลว(LNG)ซึ่งมีราคาแพงกว่าก๊าซฯอ่าวไทยเท่าตัว โดยจะเน้นการซื้อไฟจากประเทศเพื่อนบ้านโดยเฉพาะจากจีน ลาว พม่าที่สนใจขายไฟเพิ่มจากพลังงานน้ำที่มีราคาต่ำ และอีกส่วนหนึ่งจากถ่านหินซึ่งจะคงค่าไฟเมื่อสิ้นสุดปี 2573 ไม่เกินที่ 4.50 บาทต่อหน่วยหรืออาจลดลงต่ำก่วานี้ได้
แนวทางที่ 2 ตัดโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่เดิมปลายแผนจะมี 2 โรงกำลังการผลิต 2,000 เมกะวัตต์ออกทั้งหมดซึ่งก็จะต้องหาแนวทางในการเพิ่มสัดส่วนการซื้อไฟจากต่างประเทศ ถ่านหิน และยังต้องมองหาพลังงานทดแทนอื่นๆ เข้ามาเพิ่มเช่น โครงการผลิตไฟจากหญ้าเนเปียร์ซึ่งพลังงานทดแทนบางอย่างยังไม่มีความเสถียรประกอบกับจะต้องลงทุนระบบสายส่งให้เชื่อมโยงกันมากขึ้นซึ่งจะส่งผลกระทบต่อค่าไฟให้สูงกว่า 4.50 บาทต่อหน่วยช่วงปลายแผนได้
แนวทางที่ 3 กรณีโรงไฟฟ้าถ่านหินที่กระบี่ไม่สามารถขึ้นได้หรือที่สุดต้องตัดโรงไฟฟ้าถ่านหินออกไป ก็จะต้องเสนอแนวทางรัฐให้เจรจาซื้อไฟฟ้าจากต่างประเทศในสัดส่วนที่เพิ่มขึ้นจากกรอบเดิมซึ่งเรื่องนี้หากซื้อในสัดส่วนมากเกินไปก็จะมีผลกระทบต่อความมั่นคง ดังนั้นก็อาจจะเสนอให้เปิดโครงการรับซื้อไฟฟ้าจากเอกชนรายใหญ่หรือ IPP รอบใหม่
ซึ่งเชื้อเพลิงจะเป็นถ่านหินหรือไม่กำหนดประเภทเชื้อเพลิงก็จะต้องดูรายละเอียดอีกครั้งเพราะเป็นเรื่องค่อนข้างอ่อนไหว
ทั้งนี้ ตามแผนกำลังผลิตไฟฟ้าใหม่ในช่วงปี พ.ศ.2555-2573 อยู่ที่ 55,065 เมกะวัตต์ แบ่งเป็น โรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน9,516 เมกะวัตต์ โรงไฟฟ้าระบบ Cogeneration ที่ 6,374 เมกะวัตต์ โรงไฟฟ้าความร้อนร่วม (ก๊าซธรรมชาติ) ที่ 25,451เมกะวัตต์ โรงไฟฟ้าถ่านหินสะอาด ที่ 4,400 เมกะวัตต์ โรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ที่ 2,000 เมกะวัตต์ โรงไฟฟ้ากังหันแก๊สที่750 เมกะวัตต์ และรับซื้อจากต่างประเทศที่ 6,572 เมกะวัตต์