ASTVผู้จัดการรายวัน-ผลพวงแฉ ล็อคสเปคTOR รถเมล์ NGV สะเทือนค่ายรถญี่ปุ่นรายใหญ่ เร่งหาทางออกหวั่นเสี่ยงถูกตรวจสอบเรื่องใช้คัสซีรถบรรทุกมาดัดแปลง จับตาขสมก.ยื้อเวลาเอื้อประโยชน์ ขณะที่ค่ายรถเกาหลีดอดคุยขอเอี่ยวยื่นแบบถูกเงื่อนไข ขสมก.ประกาศ TORขึ้นเวปครั้งที่ 5 คาดครั้งสุดท้าย
แหล่งข่าวในวงการผู้ผลิตรถเปิดเผยว่า หลังจากมีการประชาพิจารณ์ในเรื่องการล็อคเสปคเพื่อให้นำคัสซีรถบรรทุกมาดัดแปลงใน โครงการจัดซื้อรถโดยสารใช้ก๊าซธรรมชาติ (NGV) จำนวน 3,183 คัน วงเงิน 13,162.2 ล้านบาท ล่าสุดทางค่ายรถรายใหญ่ของญี่ปุ่นซึ่งมีกระแสข่าวว่า จะได้รับสัญญาในส่วนของรถโดยสารธรรมดา 1,659 คันไปทั้งหมดนั้น ได้มีการประชุมด่วนเพื่อประเมินสถานการณ์หาทางออกและอาจจะต้องมีการปรับเปลี่ยนติดตั้งเครื่องยนต์ CNG ในรถโดยสารของแท้แทน ซึ่งจะใช้เวลามากขึ้นอีก 1-2เดือนและส่งผลให้ต้นทุนตัวรถเพิ่ม อีกประมาณ 2 แสนบาทต่อคัน
ทั้งนี้จะต้องจับตาดูว่า ในส่วนขสมก.จะมีการขยายเวลาเพื่อเอื้อประโยชน์ให้หรือไม่ โดยล่าสุดได้เลื่อนการปนะมูลออกไปเป็นเดือนม.ค.57 และในขณะเดียวกัน ในแวดวงผู้ผลิตและประกอบรถยนต์ให้ข้อมูลว่ามีค่ายรถรายใหญ่จากเกาหลีเข้ามาเพื่อของแบ่งสัญญารถร้อนแล้ว เพราะในส่วนของขสมก.คงจะไม่มีแก้ TOR แน่นอน เพราะกำหนดโดยอ้างอิงกฎหมายของกรมขนส่งทางบก
นายไพโรจน์ วงศ์วิภานันน์ ประธานคณะอนุกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ชุดศึกษาเฝ้าระวัง โครงการจัดซื้อรถโดยสารใช้ก๊าซธรรมชาติ (NGV) จำนวน 3,183 คัน กล่าวว่า ที่ประชุม ป.ป.ช.ชุดใหญ่เมื่อวันที่ 17 ตุลาคมได้รับทราบการทำงานและข้อคิดเห็นของอนุฯป.ป.ช.ในโครงการจัดซื้อรถเมล์ NGV ขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.)ซึ่งเป็นความเห็นที่อนุฯป.ป.ช.ได้เสนอไปยังคณะกรรมการร่าง TOR แล้ว ว่าไม่เห็นด้วยในเรื่องอะไรบ้าง เช่น การกำหนดราคากลาง รถธรรมดา 3.8 ล้านบาท/คัน รถปรับอากาศ 4.5 ล้านบาท/คัน ว่ามีที่มาและรายละเอียดไม่ชัดเจน,ควรกำหนดให้มีรถขนาด 10 เมตรเพิ่มเติมเพื่อหมุนเวียนการใช้งานได้อย่างเหมาะสมและทำให้ประหยัดวงเงินจัดหาได้ถึง 25-30% คิดเป็นเงินหลายพันล้านบาท
"ในส่วนของป.ป.ช.ชุดใหญ่ยังไม่เคยมีมติเห็นด้วยใดๆ กับโครงการและต้องยอมรับว่าเจตนารมณ์ของกฎหมายป.ป.ช.เน้นไปที่เรื่องงานประมูลก่อสร้างว่าจะต้องมีรายละเอียดของต้นทุนชัดเจนแต่เรื่องซื้อรถเมล์ไม่มีจึงกลายเป็นช่องว่างจึงกำหนดราคากลางทั้งคัน ประเด็นสำคัญที่เป็นหัวใจคือราคากลางกำหนดไม่ชัดเจนเพราะในหลักต้องนำเข้าคัสซี และเครื่องยนต์มาประกอบในประเทศ โดยคิดภาษีและกำไร ซึ่งอนุฯป.ป.ช.แนะให้กก.ร่างTOR ควรให้ผู้เสนอราคาแยกต้นทุนคัสซี เครื่องยนต์ ตัวถัง เพื่อจะได้รู้ราคาขายที่เหมะสมที่สุด ราคากลางที่ขสมก.เสนอคณะรัฐมนตรี(ครม.) และยึดถือมาตลอดว่าถูกต้องนั้น ในความเป็นจริงขสมก.บอกรายละเอียดไม่ได้เลย แต่เมื่อถูกตั้งข้อสังเกตุได้อ้างว่าถามมาจากเอกชนโดยใช้วิธีส่งหนังสือไปสะท้อนถึงวิธีการทำงานที่ไม่ปโร่งใส ไม่เป็นมืออาชีพตั้งแต่แรก"นายไพโรจน์กล่าว
แหล่งข่าวในวงการผู้ผลิตรถเปิดเผยว่า หลังจากมีการประชาพิจารณ์ในเรื่องการล็อคเสปคเพื่อให้นำคัสซีรถบรรทุกมาดัดแปลงใน โครงการจัดซื้อรถโดยสารใช้ก๊าซธรรมชาติ (NGV) จำนวน 3,183 คัน วงเงิน 13,162.2 ล้านบาท ล่าสุดทางค่ายรถรายใหญ่ของญี่ปุ่นซึ่งมีกระแสข่าวว่า จะได้รับสัญญาในส่วนของรถโดยสารธรรมดา 1,659 คันไปทั้งหมดนั้น ได้มีการประชุมด่วนเพื่อประเมินสถานการณ์หาทางออกและอาจจะต้องมีการปรับเปลี่ยนติดตั้งเครื่องยนต์ CNG ในรถโดยสารของแท้แทน ซึ่งจะใช้เวลามากขึ้นอีก 1-2เดือนและส่งผลให้ต้นทุนตัวรถเพิ่ม อีกประมาณ 2 แสนบาทต่อคัน
ทั้งนี้จะต้องจับตาดูว่า ในส่วนขสมก.จะมีการขยายเวลาเพื่อเอื้อประโยชน์ให้หรือไม่ โดยล่าสุดได้เลื่อนการปนะมูลออกไปเป็นเดือนม.ค.57 และในขณะเดียวกัน ในแวดวงผู้ผลิตและประกอบรถยนต์ให้ข้อมูลว่ามีค่ายรถรายใหญ่จากเกาหลีเข้ามาเพื่อของแบ่งสัญญารถร้อนแล้ว เพราะในส่วนของขสมก.คงจะไม่มีแก้ TOR แน่นอน เพราะกำหนดโดยอ้างอิงกฎหมายของกรมขนส่งทางบก
นายไพโรจน์ วงศ์วิภานันน์ ประธานคณะอนุกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ชุดศึกษาเฝ้าระวัง โครงการจัดซื้อรถโดยสารใช้ก๊าซธรรมชาติ (NGV) จำนวน 3,183 คัน กล่าวว่า ที่ประชุม ป.ป.ช.ชุดใหญ่เมื่อวันที่ 17 ตุลาคมได้รับทราบการทำงานและข้อคิดเห็นของอนุฯป.ป.ช.ในโครงการจัดซื้อรถเมล์ NGV ขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.)ซึ่งเป็นความเห็นที่อนุฯป.ป.ช.ได้เสนอไปยังคณะกรรมการร่าง TOR แล้ว ว่าไม่เห็นด้วยในเรื่องอะไรบ้าง เช่น การกำหนดราคากลาง รถธรรมดา 3.8 ล้านบาท/คัน รถปรับอากาศ 4.5 ล้านบาท/คัน ว่ามีที่มาและรายละเอียดไม่ชัดเจน,ควรกำหนดให้มีรถขนาด 10 เมตรเพิ่มเติมเพื่อหมุนเวียนการใช้งานได้อย่างเหมาะสมและทำให้ประหยัดวงเงินจัดหาได้ถึง 25-30% คิดเป็นเงินหลายพันล้านบาท
"ในส่วนของป.ป.ช.ชุดใหญ่ยังไม่เคยมีมติเห็นด้วยใดๆ กับโครงการและต้องยอมรับว่าเจตนารมณ์ของกฎหมายป.ป.ช.เน้นไปที่เรื่องงานประมูลก่อสร้างว่าจะต้องมีรายละเอียดของต้นทุนชัดเจนแต่เรื่องซื้อรถเมล์ไม่มีจึงกลายเป็นช่องว่างจึงกำหนดราคากลางทั้งคัน ประเด็นสำคัญที่เป็นหัวใจคือราคากลางกำหนดไม่ชัดเจนเพราะในหลักต้องนำเข้าคัสซี และเครื่องยนต์มาประกอบในประเทศ โดยคิดภาษีและกำไร ซึ่งอนุฯป.ป.ช.แนะให้กก.ร่างTOR ควรให้ผู้เสนอราคาแยกต้นทุนคัสซี เครื่องยนต์ ตัวถัง เพื่อจะได้รู้ราคาขายที่เหมะสมที่สุด ราคากลางที่ขสมก.เสนอคณะรัฐมนตรี(ครม.) และยึดถือมาตลอดว่าถูกต้องนั้น ในความเป็นจริงขสมก.บอกรายละเอียดไม่ได้เลย แต่เมื่อถูกตั้งข้อสังเกตุได้อ้างว่าถามมาจากเอกชนโดยใช้วิธีส่งหนังสือไปสะท้อนถึงวิธีการทำงานที่ไม่ปโร่งใส ไม่เป็นมืออาชีพตั้งแต่แรก"นายไพโรจน์กล่าว