ASTVผู้จัดการรายวัน - คลังเดินหน้าออกดอลลาร์บอนด์หนุนโครงการลงทุน 2 ล้านล้าน ตั้งเป้าปีละไม่เกิน 4.5 หมื่นล้านบาท ระยะเวลา 10 ปีเผยนักลงทุนคลายกังวลหลังสหรัฐฯ ขยายเพดานหนี้สาธารณะได้สำเร็จ ระบุไม่กระทบกับไทยเหตุลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ไม่มาก
น.ส.จุฬารัตน์ สุธีธร ผู้อำนวยการ สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) เปิดเผยถึงกรณีที่รัฐสภา สหรัฐอเมริกาลงมติให้ขยายเพดานก่อหนี้เพิ่มขึ้นว่า ทำให้ประเทศต่างๆ ผ่อนคลายความกังวล และมีความเชื่อมั่นว่า จะเป็นผลดีต่อเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกามากขึ้น ซึ่งในส่วนของไทยเองไม่ได้ลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลของสหรัฐฯ มากนัก ทำให้ไม่ได้รับผลกระทบโดยตรง แต่เพราะสหรัฐฯมีขนาดเศรษฐกิจที่ใหญ่ ทำให้เป็นที่จับตาของนักลงทุนทั่วโลก
“เราเองได้จับตาดูเรื่องนี้อย่างใกล้ชิด และเตรียมความพร้อมในระดับหนึ่ง แต่เมื่อผลออกมาในทางที่ดีและตกลงกันได้ ก็จะทำให้ทุกประเทศผ่อนคลายความกังวล ส่วนเงินทุนที่จะไหลเข้าออก ก็ไม่ได้กังวลมากนัก ทั้งการลงทุนของพันธบัตรรัฐบาลไทยและหุ้นกู้เอกชน เพราะการตัดสินใจลงทุนของต่างชาติเกิดจากความเชื่อมั่น และมีเงินไหลเข้ามาลงทุนในตลาดพันธบัตรไทยอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่มีออกมาตรการทางการเงินเชิงปริมาณ (คิวอี) และได้ชะลอลงทุนและออกไปบ้างเล็กน้อยในช่วง ที่ข่าวว่าจะชะลอมาตรการคิวอี แต่ที่ออกไปก็เพียงตราสารหนี้ระยะสั้น ซึ่งก็เป็นไปตามแผนการปรับพอร์ตการลงทุนอยู่แล้ว ขณะที่ตราสารหนี้ระยะยาวก็ไม่เปลี่ยนแปลงมากนัก”
น.ส.จุฬารัตน์กล่าวว่า ขณะนี้นักลงทุนต่างชาติ มีสัดส่วนการลงทุนในพันธบัตรไทยประมาณ 17 % ลดลงเล็กน้อยจากช่วงสูงที่สุด 19 % เมื่อกลางปีที่ผ่านมา โดยการลดลงส่วนใหญ่เป็นการขายพันธบัตรระยะสั้น ซึ่งแสดงให้เห็นว่า นักลงทุนต่างชาติยังคงมีความเชื่อมั่นและเข้ามาลงทุนในตลาดพันธบัตรไทย ขณะที่อัตราดอกเบี้ยในตลาดพันธบัตรไทยปรับตัวขึ้นเล็กน้อยในช่วงที่มีข่าวว่าจะชะลอมาตรการคิวอี แต่เมื่อธนาคารกลางของสหรัฐ (เฟด) ออกมาระบุว่า ยังคงเดินหน้าต่อไป ก็ทำให้อัตราดอกเบี้ยปรับลดลงและอยู่ในระดับที่มีเสถียรภาพ โดยเห็นได้จากอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรอายุ 50 ปี อยู่ที่ 4.7% ซึ่งเป็นระดับที่ไม่สูงมาก และเอื้อต่อการกู้เงินรัฐบาล เพื่อลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานด้านต่างๆ โดยเฉพาะโครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน 2 ล้านล้านบาท
สำหรับแผนการออกไประดมทุน ด้วยการออกตราสารหนี้สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ (ดอลลาร์บอนด์)ที่ตลาด นิวยอร์ค สหรัฐอเมริกา ยังคงเป็นไปตามแผนเดิม โดยต้องรอจังหวะเวลาที่เหมาะสม หลังจากที่ร่างพระราชบัญญัติ(พรบ.) ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงิน เพื่อการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานด้านการขนส่งของประเทศ วงเงินไม่เกิน 2 ล้านล้านบาท ผ่านรัฐสภาแล้ว เพราะสิ่งสำคัญของพันธบัตรรัฐบาล ขึ้นกับความเชื่อมั่นในประเทศ ซึ่งขณะนี้ไทยเองก็ยังมีความสามารถเป็นที่เชื่อถือของต่างชาติ ขณะที่สภาพคล่องในตลาดเงินของต่างชาติยังเหลือเยอะ ที่ต้องการหาแหล่งลงทุนลงทุนที่มั่นคง น่าเชื่อถือและให้ผลตอบแทนแทนที่ดี ซึ่งตามแผนจะออกบอนด์ปีละ 1-1.5 พันล้านเหรียญสหรัฐหรือ 3 - 4.5 หมื่นล้านบาทต่อปี ต่อเนื่องเป็นเวลา 10ปี เพื่อสร้างอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงมาตรฐานให้กับเอกชนด้วย.
น.ส.จุฬารัตน์ สุธีธร ผู้อำนวยการ สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) เปิดเผยถึงกรณีที่รัฐสภา สหรัฐอเมริกาลงมติให้ขยายเพดานก่อหนี้เพิ่มขึ้นว่า ทำให้ประเทศต่างๆ ผ่อนคลายความกังวล และมีความเชื่อมั่นว่า จะเป็นผลดีต่อเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกามากขึ้น ซึ่งในส่วนของไทยเองไม่ได้ลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลของสหรัฐฯ มากนัก ทำให้ไม่ได้รับผลกระทบโดยตรง แต่เพราะสหรัฐฯมีขนาดเศรษฐกิจที่ใหญ่ ทำให้เป็นที่จับตาของนักลงทุนทั่วโลก
“เราเองได้จับตาดูเรื่องนี้อย่างใกล้ชิด และเตรียมความพร้อมในระดับหนึ่ง แต่เมื่อผลออกมาในทางที่ดีและตกลงกันได้ ก็จะทำให้ทุกประเทศผ่อนคลายความกังวล ส่วนเงินทุนที่จะไหลเข้าออก ก็ไม่ได้กังวลมากนัก ทั้งการลงทุนของพันธบัตรรัฐบาลไทยและหุ้นกู้เอกชน เพราะการตัดสินใจลงทุนของต่างชาติเกิดจากความเชื่อมั่น และมีเงินไหลเข้ามาลงทุนในตลาดพันธบัตรไทยอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่มีออกมาตรการทางการเงินเชิงปริมาณ (คิวอี) และได้ชะลอลงทุนและออกไปบ้างเล็กน้อยในช่วง ที่ข่าวว่าจะชะลอมาตรการคิวอี แต่ที่ออกไปก็เพียงตราสารหนี้ระยะสั้น ซึ่งก็เป็นไปตามแผนการปรับพอร์ตการลงทุนอยู่แล้ว ขณะที่ตราสารหนี้ระยะยาวก็ไม่เปลี่ยนแปลงมากนัก”
น.ส.จุฬารัตน์กล่าวว่า ขณะนี้นักลงทุนต่างชาติ มีสัดส่วนการลงทุนในพันธบัตรไทยประมาณ 17 % ลดลงเล็กน้อยจากช่วงสูงที่สุด 19 % เมื่อกลางปีที่ผ่านมา โดยการลดลงส่วนใหญ่เป็นการขายพันธบัตรระยะสั้น ซึ่งแสดงให้เห็นว่า นักลงทุนต่างชาติยังคงมีความเชื่อมั่นและเข้ามาลงทุนในตลาดพันธบัตรไทย ขณะที่อัตราดอกเบี้ยในตลาดพันธบัตรไทยปรับตัวขึ้นเล็กน้อยในช่วงที่มีข่าวว่าจะชะลอมาตรการคิวอี แต่เมื่อธนาคารกลางของสหรัฐ (เฟด) ออกมาระบุว่า ยังคงเดินหน้าต่อไป ก็ทำให้อัตราดอกเบี้ยปรับลดลงและอยู่ในระดับที่มีเสถียรภาพ โดยเห็นได้จากอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรอายุ 50 ปี อยู่ที่ 4.7% ซึ่งเป็นระดับที่ไม่สูงมาก และเอื้อต่อการกู้เงินรัฐบาล เพื่อลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานด้านต่างๆ โดยเฉพาะโครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน 2 ล้านล้านบาท
สำหรับแผนการออกไประดมทุน ด้วยการออกตราสารหนี้สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ (ดอลลาร์บอนด์)ที่ตลาด นิวยอร์ค สหรัฐอเมริกา ยังคงเป็นไปตามแผนเดิม โดยต้องรอจังหวะเวลาที่เหมาะสม หลังจากที่ร่างพระราชบัญญัติ(พรบ.) ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงิน เพื่อการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานด้านการขนส่งของประเทศ วงเงินไม่เกิน 2 ล้านล้านบาท ผ่านรัฐสภาแล้ว เพราะสิ่งสำคัญของพันธบัตรรัฐบาล ขึ้นกับความเชื่อมั่นในประเทศ ซึ่งขณะนี้ไทยเองก็ยังมีความสามารถเป็นที่เชื่อถือของต่างชาติ ขณะที่สภาพคล่องในตลาดเงินของต่างชาติยังเหลือเยอะ ที่ต้องการหาแหล่งลงทุนลงทุนที่มั่นคง น่าเชื่อถือและให้ผลตอบแทนแทนที่ดี ซึ่งตามแผนจะออกบอนด์ปีละ 1-1.5 พันล้านเหรียญสหรัฐหรือ 3 - 4.5 หมื่นล้านบาทต่อปี ต่อเนื่องเป็นเวลา 10ปี เพื่อสร้างอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงมาตรฐานให้กับเอกชนด้วย.