ASTVผู้จัดการรายวัน - บอร์ด กนง.คงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 2.50% สนับสนุนการฟื้นตัวเศรษฐกิจไทยระยะต่อไปภายใต้ความไม่แน่นอนเศรษฐกิจและการเงินโลก ห่วงการเบิกจ่ายงบล่าช้า ระบุเตรียมรับมือไว้แล้วไม่ว่าจะเป็นการปรับเปลี่ยนนโยบายและเครื่องมือดูแลสภาพคล่องเงินบาทและดอลลาร์ รวมถึงความผันผวนเงินทุน-ค่าเงิน ขณะที่ “อำพน กิตติอำพน” ลาประชุม
นายไพบูลย์ กิตติศรีกังวาน เลขานุการคณะกรรมการนโยบายการเงิน(กนง.) เปิดเผยว่า ผลการประชุมบอร์ดกนง.วานนี้(16ต.ค.)ได้มีมติเอกฉันท์ 6 ต่อ 0 ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับ 2.50%ต่อปี เนื่องจากมองว่าขณะนี้เศรษฐกิจไทยเริ่มทรงตัวและมีแนวโน้มฟื้นตัวอย่างช้าๆ ขณะที่นโยบายการคลังยังมีบทบาทในการกระตุ้นเศรษฐกิจ แม้มีความล่าช้าออกไปบ้าง ส่วนอัตราเงินเฟ้อชะลอตัว ฉะนั้นเห็นว่าการดำเนินนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายในปัจจุบันยังมีความเหมาะสมกับการสนับสนุนการฟื้นตัวเศรษฐกิจในระยะต่อไป โดยเฉพาะภายใต้ภาวะเศรษฐกิจและการเงินโลกที่ยังมีความไม่แน่นอน
ทั้งนี้ ปัจจุบันเศรษฐกิจสหรัฐยังขยายตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไปจากอุปสงค์ในประเทศ แต่ความเสี่ยงสำคัญต้องจับตาเป็นพิเศษ คือ ภาคการคลัง โดยกรณีปิดหน่วยงานราชการบางส่วนของรัฐบาลได้ส่งผลกระทบน้อย แต่หากการเจรจาปรับเพิ่มเพดานหนี้สาธารณะยังตกลงกันไม่ได้จะมีผลต่อการผิดนัดชำระหนี้ ซึ่งเป็นปัจจัยที่จะสร้างความไม่มีเสถียรภาพให้กับระบบเศรษฐกิจโลกเป็นอย่างมาก อย่างไรก็ตาม กรณีทั่วไปของ ธปท.และตลาดโดยรวมมองว่าในนาทีสุดท้ายจะสามารถบรรลุข้อตกลงได้ เพราะไม่เช่นนั้นจะมีผลกระทบค่อนข้างมาก ซึ่งขณะนี้ผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐยังไม่ปรับตัวสูงผิดปกติ
ส่วนผลกระทบของสหรัฐที่จะมีผลต่อประเทศไทย ในที่ประชุมมองว่าประเมินได้ยากมาก เพราะแม้ตัวผลกระทบสหรัฐเองก็ไม่ชัดเจนและการส่งทอดผลกระทบมายังตลาดการเงินไปสู่เศรษฐกิจจริง หรือผลกระทบภาคการเงินมีความสลับซับซ้อนเชื่อมโยงกันหมด อย่างพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐเป็นเครื่องมือทางการเงินที่สำคัญ ในตลาดซื้อคืนตราสารหนี้( Repo Market) การซื้อขายกู้ยืมระหว่างสถาบันการเงิน ซึ่งปัจจุบันมีมูลค่า 5 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ ดังนั้น หากเครื่องมือเหล่านี้ไม่สามารถใช้งานได้ตามปกติ ย่อมส่งผลกระทบการเคลื่อนย้ายเงินทุน เม็ดเงินในตลาดอาจเกิดภาวะการเงินตึงตัวได้ทันที ต้นทุนการกู้ยืมเงิน รวมถึงผลต่อเศรษฐกิจจริงต่อไปได้
“การเจรจาเพดานหนี้หรือมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) ของสหรัฐเป็นเรื่องที่มีความสัมพันธ์นโยบายการเงินและนโยบายการคลังที่จะเพิ่มความไม่แน่นอนและความเสี่ยงต่อเศรษฐกิจโลกในข้างหน้า ในฐานะไทยเป็นประเทศเล็กและมีการเคลื่อนย้ายเงินทุนเสรี
ทางกนง.ได้ให้ความสำคัญเรื่องนี้และเตรียมความพร้อมรับมือความผันผวนที่อาจจะเกิดขึ้นให้เหมาะสมกับสถานการณ์ไม่ว่าจะเป็นความยืดหยุ่นในการปรับเปลี่ยนนโยบายและความพร้อมเครื่องมือดูแลสภาพคล่องเงินบาทและเงินดอลลาร์สหรัฐ รวมถึงความผันผวนเงินทุนและอัตราแลกเปลี่ยน จึงมั่นใจว่าเครื่องมือที่มีอยู่จะรองรับสถานการณ์ต่างๆ ได้”
การประชุมครั้งนี้ กนง.ยังมีการปรับประมาณการณ์อัตราการขยายตัวเศรษฐกิจไทยเรียบร้อยแล้ว แต่จะประกาศอย่างเป็นทางการวันที่ 25 ต.ค.นี้ ในรายงานแนวโน้มนโยบายการเงิน โดยเบื้องต้นมองว่าตัวเศรษฐกิจไทยมีทิศทางชะลอกว่าการประมาณการเดิม โดยสาเหตุสำคัญจากการเบิกจ่ายด้านการคลังที่มีอัตราต่ำกว่าที่ ธปท.คาดการณ์ไว้ ซึ่งพร้อมที่ปรับประมาณการความสามารถเบิกจ่ายด้วย ส่วนภาคการส่งออกคาดว่าจะฟื้นตัวช้าๆ ต่อเนื่องไปยังปีหน้า สอดคล้องกับมุมมองกองทุนการเงินระหว่างประเทศ(IMF)ที่เห็นการปรับตัวประเทศในกลุ่ม G3ดีขึ้น แม้ความเสี่ยงที่เป็นเมฆดำในสหรัฐบ้าง
นอกจากนี้ กรรมการได้ประเมินถึงประเด็นต่างๆสร้างความเปราะบางต่อเสถียรภาพการเงิน ซึ่งระยะหลังลงทุนต่างชาติเริ่มให้ความสนใจปัญหาโครงสร้างและปัจจัยพื้นฐานในประเทศเกิดใหม่มากขึ้นไม่ว่าจะเป็นเรื่องฐานการคลังของประเทศ การขาดดุลบัญชีเดินสะพัด ภาระหนี้สาธารณะ เป็นต้น แม้ขณะนี้ปัญหาไม่มาก แต่ไม่ควรขยายวงกว้างจนเกิดเป็นปัญหาในอนาคตได้ ส่วนประเด็นเรื่องหนี้ครัวเรือนขณะนี้เริ่มมีอัตราการขยายตัวเริ่มชะลอลงบ้างและมีทิศทางเป็นเช่นนี้อยู่ ถือเป็นการปรับตัวในทิศทางถูกต้องแล้ว
ส่วนอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานระดับ 0.61% ล่าสุดในเดือนก.ย.56 ใกล้เคียงขอบล่างของกรอบเป้าหมายอัตราเงินเฟ้อ 0.5%นั้น ทางเจ้าหน้าที่ ธปท.ได้นำเสนอให้ กนง.รับทราบเช่นกัน แม้อัตราเงินเฟ้อต่ำ แต่ความเสี่ยงหลุดกรอบล่างของเป้าหมายมีน้อย
เลขานุการบอร์ด กนง.ได้ชี้แจงว่า การประชุมครั้งนี้นายอำพน กิตติอำพน ได้ลาการประชุม 1 ท่าน โดยให้เหตุผลว่าเพื่อความเหมาะสม แต่ยืนยันว่ายังไม่ได้ส่งหนังสือลาออกในตอนนี้.
นายไพบูลย์ กิตติศรีกังวาน เลขานุการคณะกรรมการนโยบายการเงิน(กนง.) เปิดเผยว่า ผลการประชุมบอร์ดกนง.วานนี้(16ต.ค.)ได้มีมติเอกฉันท์ 6 ต่อ 0 ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับ 2.50%ต่อปี เนื่องจากมองว่าขณะนี้เศรษฐกิจไทยเริ่มทรงตัวและมีแนวโน้มฟื้นตัวอย่างช้าๆ ขณะที่นโยบายการคลังยังมีบทบาทในการกระตุ้นเศรษฐกิจ แม้มีความล่าช้าออกไปบ้าง ส่วนอัตราเงินเฟ้อชะลอตัว ฉะนั้นเห็นว่าการดำเนินนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายในปัจจุบันยังมีความเหมาะสมกับการสนับสนุนการฟื้นตัวเศรษฐกิจในระยะต่อไป โดยเฉพาะภายใต้ภาวะเศรษฐกิจและการเงินโลกที่ยังมีความไม่แน่นอน
ทั้งนี้ ปัจจุบันเศรษฐกิจสหรัฐยังขยายตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไปจากอุปสงค์ในประเทศ แต่ความเสี่ยงสำคัญต้องจับตาเป็นพิเศษ คือ ภาคการคลัง โดยกรณีปิดหน่วยงานราชการบางส่วนของรัฐบาลได้ส่งผลกระทบน้อย แต่หากการเจรจาปรับเพิ่มเพดานหนี้สาธารณะยังตกลงกันไม่ได้จะมีผลต่อการผิดนัดชำระหนี้ ซึ่งเป็นปัจจัยที่จะสร้างความไม่มีเสถียรภาพให้กับระบบเศรษฐกิจโลกเป็นอย่างมาก อย่างไรก็ตาม กรณีทั่วไปของ ธปท.และตลาดโดยรวมมองว่าในนาทีสุดท้ายจะสามารถบรรลุข้อตกลงได้ เพราะไม่เช่นนั้นจะมีผลกระทบค่อนข้างมาก ซึ่งขณะนี้ผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐยังไม่ปรับตัวสูงผิดปกติ
ส่วนผลกระทบของสหรัฐที่จะมีผลต่อประเทศไทย ในที่ประชุมมองว่าประเมินได้ยากมาก เพราะแม้ตัวผลกระทบสหรัฐเองก็ไม่ชัดเจนและการส่งทอดผลกระทบมายังตลาดการเงินไปสู่เศรษฐกิจจริง หรือผลกระทบภาคการเงินมีความสลับซับซ้อนเชื่อมโยงกันหมด อย่างพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐเป็นเครื่องมือทางการเงินที่สำคัญ ในตลาดซื้อคืนตราสารหนี้( Repo Market) การซื้อขายกู้ยืมระหว่างสถาบันการเงิน ซึ่งปัจจุบันมีมูลค่า 5 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ ดังนั้น หากเครื่องมือเหล่านี้ไม่สามารถใช้งานได้ตามปกติ ย่อมส่งผลกระทบการเคลื่อนย้ายเงินทุน เม็ดเงินในตลาดอาจเกิดภาวะการเงินตึงตัวได้ทันที ต้นทุนการกู้ยืมเงิน รวมถึงผลต่อเศรษฐกิจจริงต่อไปได้
“การเจรจาเพดานหนี้หรือมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) ของสหรัฐเป็นเรื่องที่มีความสัมพันธ์นโยบายการเงินและนโยบายการคลังที่จะเพิ่มความไม่แน่นอนและความเสี่ยงต่อเศรษฐกิจโลกในข้างหน้า ในฐานะไทยเป็นประเทศเล็กและมีการเคลื่อนย้ายเงินทุนเสรี
ทางกนง.ได้ให้ความสำคัญเรื่องนี้และเตรียมความพร้อมรับมือความผันผวนที่อาจจะเกิดขึ้นให้เหมาะสมกับสถานการณ์ไม่ว่าจะเป็นความยืดหยุ่นในการปรับเปลี่ยนนโยบายและความพร้อมเครื่องมือดูแลสภาพคล่องเงินบาทและเงินดอลลาร์สหรัฐ รวมถึงความผันผวนเงินทุนและอัตราแลกเปลี่ยน จึงมั่นใจว่าเครื่องมือที่มีอยู่จะรองรับสถานการณ์ต่างๆ ได้”
การประชุมครั้งนี้ กนง.ยังมีการปรับประมาณการณ์อัตราการขยายตัวเศรษฐกิจไทยเรียบร้อยแล้ว แต่จะประกาศอย่างเป็นทางการวันที่ 25 ต.ค.นี้ ในรายงานแนวโน้มนโยบายการเงิน โดยเบื้องต้นมองว่าตัวเศรษฐกิจไทยมีทิศทางชะลอกว่าการประมาณการเดิม โดยสาเหตุสำคัญจากการเบิกจ่ายด้านการคลังที่มีอัตราต่ำกว่าที่ ธปท.คาดการณ์ไว้ ซึ่งพร้อมที่ปรับประมาณการความสามารถเบิกจ่ายด้วย ส่วนภาคการส่งออกคาดว่าจะฟื้นตัวช้าๆ ต่อเนื่องไปยังปีหน้า สอดคล้องกับมุมมองกองทุนการเงินระหว่างประเทศ(IMF)ที่เห็นการปรับตัวประเทศในกลุ่ม G3ดีขึ้น แม้ความเสี่ยงที่เป็นเมฆดำในสหรัฐบ้าง
นอกจากนี้ กรรมการได้ประเมินถึงประเด็นต่างๆสร้างความเปราะบางต่อเสถียรภาพการเงิน ซึ่งระยะหลังลงทุนต่างชาติเริ่มให้ความสนใจปัญหาโครงสร้างและปัจจัยพื้นฐานในประเทศเกิดใหม่มากขึ้นไม่ว่าจะเป็นเรื่องฐานการคลังของประเทศ การขาดดุลบัญชีเดินสะพัด ภาระหนี้สาธารณะ เป็นต้น แม้ขณะนี้ปัญหาไม่มาก แต่ไม่ควรขยายวงกว้างจนเกิดเป็นปัญหาในอนาคตได้ ส่วนประเด็นเรื่องหนี้ครัวเรือนขณะนี้เริ่มมีอัตราการขยายตัวเริ่มชะลอลงบ้างและมีทิศทางเป็นเช่นนี้อยู่ ถือเป็นการปรับตัวในทิศทางถูกต้องแล้ว
ส่วนอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานระดับ 0.61% ล่าสุดในเดือนก.ย.56 ใกล้เคียงขอบล่างของกรอบเป้าหมายอัตราเงินเฟ้อ 0.5%นั้น ทางเจ้าหน้าที่ ธปท.ได้นำเสนอให้ กนง.รับทราบเช่นกัน แม้อัตราเงินเฟ้อต่ำ แต่ความเสี่ยงหลุดกรอบล่างของเป้าหมายมีน้อย
เลขานุการบอร์ด กนง.ได้ชี้แจงว่า การประชุมครั้งนี้นายอำพน กิตติอำพน ได้ลาการประชุม 1 ท่าน โดยให้เหตุผลว่าเพื่อความเหมาะสม แต่ยืนยันว่ายังไม่ได้ส่งหนังสือลาออกในตอนนี้.