ข้อเขียนนี้ เป็นความพยายามเฉพาะตัวของผู้เขียน ในการอรรถาธิบายถึงเอกลักษณ์ที่สะท้อน“แก่นแท้” ของสภาประชาชนปฏิรูปประเทศไทย เพื่อนำไปสู่การก่อตั้งสภาประชาชนฯในทุกระดับทั่วประเทศ ปูพื้นสำหรับการปฏิรูป-ปฏิวัติทางการเมืองครั้งใหญ่ที่จะต้องเกิดขึ้นภายในเวลาไม่ช้าไม่นานนี้
การก่อตั้งสภาประชาชนปฏิรูปประเทศไทย โดยการรวมตัวกันขององค์กรมวลชนกว่า 60 องค์กร นับเป็นเหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์การเมืองไทยครั้งหนึ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเมืองภาคประชาชนที่ก้าวขึ้นมาแสดงบทบาทเป็น “เจ้าภาพ” ทำการเปลี่ยนแปลงประเทศไทย ซึ่งจะต้องทำการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง อันเป็น “ปม”ของปัญหาและวิกฤติต่างๆเป็นอันดับแรก โดยเปลี่ยนการเมืองของประเทศไทย จากการเมืองกลุ่มทุนเป็นการเมืองประชาชน หลักๆ ก็คือสถาปนาอำนาจประชาชนเหนืออำนาจกลุ่มทุน และใช้ “ระบบสภาประชาชน” แทนที่ “ระบบรัฐสภาฯ
นับตั้งแต่เปิดตัวอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 15 กันยายน 2556 สภาประชาชนปฏิรูปประเทศไทย ที่วางตัวเองเป็นองค์กรร่วมขององค์กรมวลชนทั้งประเทศ ได้ประสานตนเองเข้ากับกลุ่ม/องค์กรมวลชนอย่างกว้างขวาง จนสามารถกำหนดการประชุมสมัชชาใหญ่สภาประชาชนฯทั่วประเทศครั้งที่ 1ในวันอาทิตย์ที่ 13 ตุลาคม 2556 ได้สำเร็จ มีตัวแทนองค์กรต่างๆเข้าร่วมกว่าหนี่งพันสองร้อยคน
ในระหว่างการประชุม ตัวแทนองค์กรต่างๆได้นำเสนอแนวคิดการขับเคลื่อนสภาประชาชนฯ ตลอดจนแนวทางแก้ไขปัญหาของประเทศชาติของประชาชน ทั้งในระยะสั้นและระยะยาวอย่างรอบด้าน ในที่นี้ ผู้เขียนขอขมวดออกมาเป็นภารกิจ “สองสร้าง” คือ 1. สร้างอำนาจของสภาประชาชนฯ และ 2. สร้างการนำในสภาประชาชนฯ
การปฏิบัติภารกิจ “สองสร้าง” นี้ จะนำไปสู่การปรากฏขึ้นของ “เอกลักษณ์” สภาประชาชนฯ ทุกแห่งหนทั้งในและต่างประเทศ นั่นคือ ที่ใดมี “สภาประชาชนฯ” ที่นั่นก็จะมี “อำนาจ” และ “การนำ” เกิดขึ้นในตนเอง
ทั้ง “อำนาจ” และ “การนำ”นี้ จะประกอบเข้าเป็น “แก่นแท้” ของสภาประชาชนฯ ทุกแห่งหน จะเป็นที่ตระหนักรู้ได้ของมวลชน ตลอดจนสังคมโดยรวมอย่างเป็นรูปธรรม
ในการใช้อำนาจจัดการตนเอง เท่าที่ผู้เขียนพอจะนึกได้ในตอนนี้ก็มี อาทิเช่น อำนาจจัดการตนเองในเรื่องราคาพืชผล (ยางพารา น้ำมันปาล์ม ข้าวโพด มันสำปะหลัง ข้าวเปลือก ฯลฯ) สภาประชาชนฯของหมู่บ้านหรือตำบล สามารถกำหนดราคาขายเอง อิงตามต้นทุนในวัตถุปัจจัยและแรงงานการผลิต ซึ่งเมื่อขายได้ในราคาตลาดตามหลักการแข่งขันแล้ว หากยังได้เงินไม่ครบตามราคากำหนด ก็ต้องให้ภาครัฐอุดหนุนเท่าที่จะทำได้ ส่วนที่เหลือก็ให้สภาประชาชนฯทั้งประเทศรณรงค์ระดมเงินช่วยเหลือ นี่พิจารณาในกรณีที่รัฐบาลยังมาจากพรรคการเมืองในระบบรัฐสภา แต่ถ้าเป็นรัฐบาลที่มาจากระบบสภาประชาชน ก็สามารถจัดสรรงบประมาณสนับสนุนส่วนที่แตกต่างกันระหว่างราคากำหนดกับราคาตลาดได้เต็มอัตรา
อย่างนี้ ประชาชนก็จะแก้ไขปัญหาตนเองได้ในบัดดล มีรายได้เหลือจากการขายพืชผล ปลดภาระหนี้สินได้เป็นกอบเป็นกำ ดำเนินชีวิตไปสู่อนาคตด้วยความมั่นใจ
อย่างนี้ จะมีนักการเมืองหน้าไหนเอาเงินไปซื้อพวกเขาได้ ?
อำนาจสูงส่งนี้ จะเอาชนะเงินเน่าๆของนักการเมืองได้ในบัดดล !
อำนาจจัดการตนเอง ในรูปของสภาประชาชนฯ ยังจะครอบคลุมไปถึงเรื่องอื่นๆ เช่น กรรมสิทธิ์ในที่ดินทำกิน การจัดการป่า น้ำ ทรัพยากรธรรมชาติประเภทต่างๆ ตลอดจนการศึกษา พยาบาล ฯลฯ โดยหน่วยงานรัฐในระดับต่างๆต้องถือเป็นหน้าที่ให้การสนับสนุน ส่งเสริมการใช้อำนาจจัดการตนเองลักษณะนี้
ส่วนการนำก็จะเกิดขึ้นในท่ามกลางการขับเคลื่อนของอำนาจจัดการตนเอง ซึ่งการนำและระบบการนำที่อุบัติขึ้นนั้น จะไม่ผูกโยงเข้ากับตัวบุคคล แต่ผูกโยงเข้ากับคณะบุคคลที่ประกอบกันเข้าเป็น “คณะทำงาน” มติของคณะทำงานคือคำสั่งสูงสุดของสภาประชาชนฯ
ทั้งนี้ “อำนาจ” และ “การนำ” นี้ จะดำรงอยู่และพัฒนาแข็งแกร่งขึ้นได้ในท่ามกลางการเคลื่อนไหวต่อสู้แก้ไขปัญหาต่างๆ ทั้งในมิติล่าง(อำนาจจัดการตนเองเฉพาะเรื่อง)และมิติบน(อำนาจจัดการตนเองในเรื่องร่วมกัน) ในรูปการ “สู้ไปสร้างไป” และ “สร้างไปสู้ไป”
อีกนัยหนึ่ง สภาประชาชนฯ ปัจจุบันมีความคิดยุทธศาสตร์ชี้นำอย่างชัดเจน ในการสร้าง “อำนาจ” และ “การนำ” อันเป็น“เอกลักษณ์” ของตนเอง ด้วยการ “สู้ไปสร้างไป” และ “สร้างไปสู้ไป” ในกรอบความคิดยุทธศาสตร์ใหญ่ที่ว่า “เขารุกของเขา เรารุกของเรา” (“เขา” ก็คือการเมืองกลุ่มทุนในระบบรัฐสภา โดยเฉพาะคือกลุ่มทุนสามานย์ในระบอบทักษิณ และ “เรา” คือขบวนการการเมืองภาคประชาชน ปัจจุบันก็คือขบวนการประชาชนเปลี่ยนแปลง-ปฏิรูป-ปฏิวัติประเทศไทย ในรูปของสภาประชาชนฯ)
สู้อะไร ?
สู้ความไม่รู้จริง (รู้เพียงบางด้าน รู้เพียงผิวเผิน) เพื่อขจัดความคิดที่ผิด ที่จะนำไปสู่การปฏิบัติที่ผิด
สู้อำนาจฉ้อฉล ทุจริตคอร์รัปชัน กลั่นแกล้งประชาชน ทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับชาติ กำหนดแผนการเคลื่อนไหวประสานกับสภาประชาชนฯระดับบน และระดับชาติในแต่ละขั้นตอนของการเคลื่อนไหวต่อสู้เปลี่ยนแปลงประเทศไทย
สู้การบั่นทอน ทำลาย ทั้งจากภายในและภายนอก
สู้แบบไหน อย่างไร ?
สู้อย่างมีสติ มีแผน มีเป้าหมาย ร่วมกับมวลชน ฝึกฝนตนเอง ยกระดับมวลชน ยิ่งสู้ยิ่งแกร่ง !
สร้างอะไร ?
สร้าง “อำนาจ” และ “การนำ”
สร้างแบบไหน อย่างไร ?
สร้างทางปัญญา สร้างทางจัดตั้ง ในท่ามกลางการเคลื่อนไหวต่อสู้ร่วมกับมวลชน ด้วยแนวคิด “ทำสิ่งต้องเกิด ให้เกิดจริง”
สิ่งต้องเกิดก็คือ “อำนาจ” และ “การนำ” ของสภาประชาชนฯ ซึ่งจะเกิดเป็นจริงได้ด้วยความพยายามของเราเอง
ในมุมมองของประวัติศาสตร์ ภารกิจ “สองสร้าง” สะท้อนพัฒนาการของขบวนการการเมืองภาคประชาชน(ขบวนการประชาชนเปลี่ยนแปลง-ปฏิรูป-ปฏิวัติประเทศไทย) จากการนำโดยพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย มาเป็นการนำโดยสภาประชาชนฯ
การนำโดยพันธมิตรฯมีจุดแข็งตรงที่มี “แกนนำ” ที่มวลชนเชื่อมั่นศรัทธา ขณะที่การนำโดยสภาประชาชนฯมี “คณะทำงาน” ที่ประกอบด้วยตัวแทนจากกลุ่มองค์กรต่างๆ สับเปลี่ยนหมุนเวียนกันปฏิบัติภารกิจสำคัญๆ ของสภาประชาชนฯ
นับเป็นการพลิกหน้าใหม่อย่างมีนัยสำคัญยิ่ง ของประวัติศาสตร์การเมืองประเทศไทย เมื่อการนำได้ก้าวจากการนำโดยตัวบุคคล เป็นการนำโดย “หมู่คณะ” เสริมสร้างเสถียรภาพให้แก่สภาประชาชนฯ ในการพัฒนาตนเองให้เติบใหญ่ เข้มแข็ง อย่างต่อเนื่อง
มีความเป็นองค์อำนาจนำที่อยู่ยงคงกระพัน เป็นอิสระ เป็นตัวของตัวเอง ไม่ถูกจำกัดด้วยเงื่อนไขต่างๆ ทั้งภายในและภายนอก
จากนี้ เราจะสามารถแสดงบทบาทของความเป็น “เจ้าภาพ” ดำเนินการขับเคลื่อนกระบวนการเปลี่ยนแปลงประเทศไทย ได้อย่างสอดคล้องกับความคิดยุทธศาสตร์ใหญ่ “เขารุกของเขา เรารุกของเรา” และอย่างเป็น “ผู้กระทำ”
ที่มาของความคิดยุทธศาสตร์ใหญ่ “เขารุกของเขา เรารุกของเรา”
ด้วยตระหนักในสัจธรรมที่ว่า “อะไรจะเกิด ให้มันเกิด” ซึ่งจัดอยู่ในมิติของ “กฎภววิสัย” หรือกระบวนการ “ธรรมจัดสรร” ขณะเดียวกันก็ตระหนักดีในความสำคัญของความพยายามทางอัตวิสัย สติปัญญา และพลังอำนาจของมวลชนตื่นรู้ ที่จะใช้การปฏิบัติของตัวเอง “ทำสิ่งต้องเกิด ให้เกิดจริง” เช่น ประเทศไทยถึงจุดเปลี่ยน และจะเปลี่ยนแปลงได้ด้วยความพยายามของขบวนการการเมืองภาคประชาชน(ขบวนการประชาชนเปลี่ยนแปลง-ปฏิรูป-ปฏิวัติประเทศไทย)นำโดยพันธมิตรฯ(ในห้วงแปดปีที่ผ่านมา) และนำโดยสภาประชาชนฯในปัจจุบัน
ในการนี้ กลุ่มทุนสามานย์ในระบอบทักษิณก็พยายามดำเนินการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยไปตามแนวคิดและเจตนารมณ์ของตนเอง โดยใช้ความได้เปรียบของการเป็นรัฐบาลบริหารประเทศ คุมเสียงข้างมากในรัฐสภา ควบคุมบงการกลไกอำนาจรัฐได้อย่างเป็นจริง โดยเฉพาะตำรวจ ที่ปัจจุบันแสดงบทบาทเป็นกำลังหลักในการต่อกรกับขบวนการฯภาคประชาชน ในรูปของ “รัฐตำรวจ” สร้างความลำบากให้แก่ขบวนการฯภาคประชาชนเป็นอย่างมาก
การชนกับ “เขา” ซึ่งๆหน้า จะทำให้เราสูญเสียพลังงานโดยเปล่าประโยชน์ ยุทธศาสตร์ของเราจึงจำเป็นต้องเน้นการสร้างความแข็งแกร่งให้แก่ตนเอง ระดมสรรพกำลังเข้าสู่การสร้างขบวนการฯภาคประชาชนให้ใหญ่โตเป็นด้านหลัก
อีกนัยหนึ่ง ต้องทุ่ม “สร้าง”เป็นหลัก และ“สู้”เท่าที่จำเป็น ตามสถานการณ์ที่เอื้ออำนวย
ด้วยเหตุนี้ ความคิดยุทธศาสตร์ “เขารุกของเขา เรารุกของเรา” ที่ตั้งอยู่ในหลักสัจธรรมที่ว่า “อะไรจะเกิด ให้มันเกิด” และแนวทางการปฏิบัติของเราที่ว่า “ทำสิ่งต้องเกิด ให้เกิดจริง” จึงเป็นสิ่งถูกต้องที่สุด
ตีความง่ายๆก็คือ “ จงทำสิ่งที่ทำได้ อย่าเสียแรงไปทำในสิ่งที่ทำไม่ได้”
นี่คือหลักการบริหารพลังอำนาจ ปัจจัยที่มีอยู่อย่างจำกัด อย่างถูกต้อง เป็นวิทยาศาสตร์
ในทางการทหารก็คือ “สั่งสมกำลัง รอคอยโอกาส” ตราบใดที่ยังไม่ถึงซึ่ง “ความพร้อม”ที่จะเผด็จศึกขั้นสุดท้าย ก็จะไม่ “ทุ่มสุดตัว”
นั่นคือ เมื่อเขา(ปัจจุบันก็คือกลุ่มอำนาจทักษิณ)จะรุกอย่างไร เราก็ “ต้าน”เท่าที่จำเป็น และอย่างมีเป้าหมาย คือมุ่ง “เปิดโปง” ด้วยการจุดเทียนปัญญา สร้างการตื่นรู้ให้แก่มวลชน หากมิใช่ทุ่มสุดตัว ซึ่งจะหมดแรง สูญเสียโอกาสในการสร้างความแข็งแกร่งให้ตัวเอง
พันธมิตรฯได้ทำเช่นนี้มาโดยตลอด จึงยังคงรักษากำลังหลักไว้ได้
ฉันใดฉันนั้น สภาประชาชนฯก็จะปฏิบัติในลักษณะเดียวกัน คือมุ่ง “สร้าง” ยิ่งกว่า “สู้” หรือ “สร้างไปสู้ไป” และ “สู้ไปสร้างไป” จนกว่าจะถึงเวลา รวบรวมสรรพกำลังทุกฝ่าย “เผด็จศึก”ระบอบทักษิณ
ความคิดยุทธศาสตร์นี้ ก็เป็นส่วนหนึ่งของ “สิ่งต้องเกิด” ในขบวนการฯภาคประชาชน ที่จะเกิดได้จริง ก็ด้วยความพยายามของเรา (อัตวิสัย) และความฉลาดรู้ของเราเอง
การก่อตั้งสภาประชาชนปฏิรูปประเทศไทย โดยการรวมตัวกันขององค์กรมวลชนกว่า 60 องค์กร นับเป็นเหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์การเมืองไทยครั้งหนึ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเมืองภาคประชาชนที่ก้าวขึ้นมาแสดงบทบาทเป็น “เจ้าภาพ” ทำการเปลี่ยนแปลงประเทศไทย ซึ่งจะต้องทำการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง อันเป็น “ปม”ของปัญหาและวิกฤติต่างๆเป็นอันดับแรก โดยเปลี่ยนการเมืองของประเทศไทย จากการเมืองกลุ่มทุนเป็นการเมืองประชาชน หลักๆ ก็คือสถาปนาอำนาจประชาชนเหนืออำนาจกลุ่มทุน และใช้ “ระบบสภาประชาชน” แทนที่ “ระบบรัฐสภาฯ
นับตั้งแต่เปิดตัวอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 15 กันยายน 2556 สภาประชาชนปฏิรูปประเทศไทย ที่วางตัวเองเป็นองค์กรร่วมขององค์กรมวลชนทั้งประเทศ ได้ประสานตนเองเข้ากับกลุ่ม/องค์กรมวลชนอย่างกว้างขวาง จนสามารถกำหนดการประชุมสมัชชาใหญ่สภาประชาชนฯทั่วประเทศครั้งที่ 1ในวันอาทิตย์ที่ 13 ตุลาคม 2556 ได้สำเร็จ มีตัวแทนองค์กรต่างๆเข้าร่วมกว่าหนี่งพันสองร้อยคน
ในระหว่างการประชุม ตัวแทนองค์กรต่างๆได้นำเสนอแนวคิดการขับเคลื่อนสภาประชาชนฯ ตลอดจนแนวทางแก้ไขปัญหาของประเทศชาติของประชาชน ทั้งในระยะสั้นและระยะยาวอย่างรอบด้าน ในที่นี้ ผู้เขียนขอขมวดออกมาเป็นภารกิจ “สองสร้าง” คือ 1. สร้างอำนาจของสภาประชาชนฯ และ 2. สร้างการนำในสภาประชาชนฯ
การปฏิบัติภารกิจ “สองสร้าง” นี้ จะนำไปสู่การปรากฏขึ้นของ “เอกลักษณ์” สภาประชาชนฯ ทุกแห่งหนทั้งในและต่างประเทศ นั่นคือ ที่ใดมี “สภาประชาชนฯ” ที่นั่นก็จะมี “อำนาจ” และ “การนำ” เกิดขึ้นในตนเอง
ทั้ง “อำนาจ” และ “การนำ”นี้ จะประกอบเข้าเป็น “แก่นแท้” ของสภาประชาชนฯ ทุกแห่งหน จะเป็นที่ตระหนักรู้ได้ของมวลชน ตลอดจนสังคมโดยรวมอย่างเป็นรูปธรรม
ในการใช้อำนาจจัดการตนเอง เท่าที่ผู้เขียนพอจะนึกได้ในตอนนี้ก็มี อาทิเช่น อำนาจจัดการตนเองในเรื่องราคาพืชผล (ยางพารา น้ำมันปาล์ม ข้าวโพด มันสำปะหลัง ข้าวเปลือก ฯลฯ) สภาประชาชนฯของหมู่บ้านหรือตำบล สามารถกำหนดราคาขายเอง อิงตามต้นทุนในวัตถุปัจจัยและแรงงานการผลิต ซึ่งเมื่อขายได้ในราคาตลาดตามหลักการแข่งขันแล้ว หากยังได้เงินไม่ครบตามราคากำหนด ก็ต้องให้ภาครัฐอุดหนุนเท่าที่จะทำได้ ส่วนที่เหลือก็ให้สภาประชาชนฯทั้งประเทศรณรงค์ระดมเงินช่วยเหลือ นี่พิจารณาในกรณีที่รัฐบาลยังมาจากพรรคการเมืองในระบบรัฐสภา แต่ถ้าเป็นรัฐบาลที่มาจากระบบสภาประชาชน ก็สามารถจัดสรรงบประมาณสนับสนุนส่วนที่แตกต่างกันระหว่างราคากำหนดกับราคาตลาดได้เต็มอัตรา
อย่างนี้ ประชาชนก็จะแก้ไขปัญหาตนเองได้ในบัดดล มีรายได้เหลือจากการขายพืชผล ปลดภาระหนี้สินได้เป็นกอบเป็นกำ ดำเนินชีวิตไปสู่อนาคตด้วยความมั่นใจ
อย่างนี้ จะมีนักการเมืองหน้าไหนเอาเงินไปซื้อพวกเขาได้ ?
อำนาจสูงส่งนี้ จะเอาชนะเงินเน่าๆของนักการเมืองได้ในบัดดล !
อำนาจจัดการตนเอง ในรูปของสภาประชาชนฯ ยังจะครอบคลุมไปถึงเรื่องอื่นๆ เช่น กรรมสิทธิ์ในที่ดินทำกิน การจัดการป่า น้ำ ทรัพยากรธรรมชาติประเภทต่างๆ ตลอดจนการศึกษา พยาบาล ฯลฯ โดยหน่วยงานรัฐในระดับต่างๆต้องถือเป็นหน้าที่ให้การสนับสนุน ส่งเสริมการใช้อำนาจจัดการตนเองลักษณะนี้
ส่วนการนำก็จะเกิดขึ้นในท่ามกลางการขับเคลื่อนของอำนาจจัดการตนเอง ซึ่งการนำและระบบการนำที่อุบัติขึ้นนั้น จะไม่ผูกโยงเข้ากับตัวบุคคล แต่ผูกโยงเข้ากับคณะบุคคลที่ประกอบกันเข้าเป็น “คณะทำงาน” มติของคณะทำงานคือคำสั่งสูงสุดของสภาประชาชนฯ
ทั้งนี้ “อำนาจ” และ “การนำ” นี้ จะดำรงอยู่และพัฒนาแข็งแกร่งขึ้นได้ในท่ามกลางการเคลื่อนไหวต่อสู้แก้ไขปัญหาต่างๆ ทั้งในมิติล่าง(อำนาจจัดการตนเองเฉพาะเรื่อง)และมิติบน(อำนาจจัดการตนเองในเรื่องร่วมกัน) ในรูปการ “สู้ไปสร้างไป” และ “สร้างไปสู้ไป”
อีกนัยหนึ่ง สภาประชาชนฯ ปัจจุบันมีความคิดยุทธศาสตร์ชี้นำอย่างชัดเจน ในการสร้าง “อำนาจ” และ “การนำ” อันเป็น“เอกลักษณ์” ของตนเอง ด้วยการ “สู้ไปสร้างไป” และ “สร้างไปสู้ไป” ในกรอบความคิดยุทธศาสตร์ใหญ่ที่ว่า “เขารุกของเขา เรารุกของเรา” (“เขา” ก็คือการเมืองกลุ่มทุนในระบบรัฐสภา โดยเฉพาะคือกลุ่มทุนสามานย์ในระบอบทักษิณ และ “เรา” คือขบวนการการเมืองภาคประชาชน ปัจจุบันก็คือขบวนการประชาชนเปลี่ยนแปลง-ปฏิรูป-ปฏิวัติประเทศไทย ในรูปของสภาประชาชนฯ)
สู้อะไร ?
สู้ความไม่รู้จริง (รู้เพียงบางด้าน รู้เพียงผิวเผิน) เพื่อขจัดความคิดที่ผิด ที่จะนำไปสู่การปฏิบัติที่ผิด
สู้อำนาจฉ้อฉล ทุจริตคอร์รัปชัน กลั่นแกล้งประชาชน ทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับชาติ กำหนดแผนการเคลื่อนไหวประสานกับสภาประชาชนฯระดับบน และระดับชาติในแต่ละขั้นตอนของการเคลื่อนไหวต่อสู้เปลี่ยนแปลงประเทศไทย
สู้การบั่นทอน ทำลาย ทั้งจากภายในและภายนอก
สู้แบบไหน อย่างไร ?
สู้อย่างมีสติ มีแผน มีเป้าหมาย ร่วมกับมวลชน ฝึกฝนตนเอง ยกระดับมวลชน ยิ่งสู้ยิ่งแกร่ง !
สร้างอะไร ?
สร้าง “อำนาจ” และ “การนำ”
สร้างแบบไหน อย่างไร ?
สร้างทางปัญญา สร้างทางจัดตั้ง ในท่ามกลางการเคลื่อนไหวต่อสู้ร่วมกับมวลชน ด้วยแนวคิด “ทำสิ่งต้องเกิด ให้เกิดจริง”
สิ่งต้องเกิดก็คือ “อำนาจ” และ “การนำ” ของสภาประชาชนฯ ซึ่งจะเกิดเป็นจริงได้ด้วยความพยายามของเราเอง
ในมุมมองของประวัติศาสตร์ ภารกิจ “สองสร้าง” สะท้อนพัฒนาการของขบวนการการเมืองภาคประชาชน(ขบวนการประชาชนเปลี่ยนแปลง-ปฏิรูป-ปฏิวัติประเทศไทย) จากการนำโดยพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย มาเป็นการนำโดยสภาประชาชนฯ
การนำโดยพันธมิตรฯมีจุดแข็งตรงที่มี “แกนนำ” ที่มวลชนเชื่อมั่นศรัทธา ขณะที่การนำโดยสภาประชาชนฯมี “คณะทำงาน” ที่ประกอบด้วยตัวแทนจากกลุ่มองค์กรต่างๆ สับเปลี่ยนหมุนเวียนกันปฏิบัติภารกิจสำคัญๆ ของสภาประชาชนฯ
นับเป็นการพลิกหน้าใหม่อย่างมีนัยสำคัญยิ่ง ของประวัติศาสตร์การเมืองประเทศไทย เมื่อการนำได้ก้าวจากการนำโดยตัวบุคคล เป็นการนำโดย “หมู่คณะ” เสริมสร้างเสถียรภาพให้แก่สภาประชาชนฯ ในการพัฒนาตนเองให้เติบใหญ่ เข้มแข็ง อย่างต่อเนื่อง
มีความเป็นองค์อำนาจนำที่อยู่ยงคงกระพัน เป็นอิสระ เป็นตัวของตัวเอง ไม่ถูกจำกัดด้วยเงื่อนไขต่างๆ ทั้งภายในและภายนอก
จากนี้ เราจะสามารถแสดงบทบาทของความเป็น “เจ้าภาพ” ดำเนินการขับเคลื่อนกระบวนการเปลี่ยนแปลงประเทศไทย ได้อย่างสอดคล้องกับความคิดยุทธศาสตร์ใหญ่ “เขารุกของเขา เรารุกของเรา” และอย่างเป็น “ผู้กระทำ”
ที่มาของความคิดยุทธศาสตร์ใหญ่ “เขารุกของเขา เรารุกของเรา”
ด้วยตระหนักในสัจธรรมที่ว่า “อะไรจะเกิด ให้มันเกิด” ซึ่งจัดอยู่ในมิติของ “กฎภววิสัย” หรือกระบวนการ “ธรรมจัดสรร” ขณะเดียวกันก็ตระหนักดีในความสำคัญของความพยายามทางอัตวิสัย สติปัญญา และพลังอำนาจของมวลชนตื่นรู้ ที่จะใช้การปฏิบัติของตัวเอง “ทำสิ่งต้องเกิด ให้เกิดจริง” เช่น ประเทศไทยถึงจุดเปลี่ยน และจะเปลี่ยนแปลงได้ด้วยความพยายามของขบวนการการเมืองภาคประชาชน(ขบวนการประชาชนเปลี่ยนแปลง-ปฏิรูป-ปฏิวัติประเทศไทย)นำโดยพันธมิตรฯ(ในห้วงแปดปีที่ผ่านมา) และนำโดยสภาประชาชนฯในปัจจุบัน
ในการนี้ กลุ่มทุนสามานย์ในระบอบทักษิณก็พยายามดำเนินการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยไปตามแนวคิดและเจตนารมณ์ของตนเอง โดยใช้ความได้เปรียบของการเป็นรัฐบาลบริหารประเทศ คุมเสียงข้างมากในรัฐสภา ควบคุมบงการกลไกอำนาจรัฐได้อย่างเป็นจริง โดยเฉพาะตำรวจ ที่ปัจจุบันแสดงบทบาทเป็นกำลังหลักในการต่อกรกับขบวนการฯภาคประชาชน ในรูปของ “รัฐตำรวจ” สร้างความลำบากให้แก่ขบวนการฯภาคประชาชนเป็นอย่างมาก
การชนกับ “เขา” ซึ่งๆหน้า จะทำให้เราสูญเสียพลังงานโดยเปล่าประโยชน์ ยุทธศาสตร์ของเราจึงจำเป็นต้องเน้นการสร้างความแข็งแกร่งให้แก่ตนเอง ระดมสรรพกำลังเข้าสู่การสร้างขบวนการฯภาคประชาชนให้ใหญ่โตเป็นด้านหลัก
อีกนัยหนึ่ง ต้องทุ่ม “สร้าง”เป็นหลัก และ“สู้”เท่าที่จำเป็น ตามสถานการณ์ที่เอื้ออำนวย
ด้วยเหตุนี้ ความคิดยุทธศาสตร์ “เขารุกของเขา เรารุกของเรา” ที่ตั้งอยู่ในหลักสัจธรรมที่ว่า “อะไรจะเกิด ให้มันเกิด” และแนวทางการปฏิบัติของเราที่ว่า “ทำสิ่งต้องเกิด ให้เกิดจริง” จึงเป็นสิ่งถูกต้องที่สุด
ตีความง่ายๆก็คือ “ จงทำสิ่งที่ทำได้ อย่าเสียแรงไปทำในสิ่งที่ทำไม่ได้”
นี่คือหลักการบริหารพลังอำนาจ ปัจจัยที่มีอยู่อย่างจำกัด อย่างถูกต้อง เป็นวิทยาศาสตร์
ในทางการทหารก็คือ “สั่งสมกำลัง รอคอยโอกาส” ตราบใดที่ยังไม่ถึงซึ่ง “ความพร้อม”ที่จะเผด็จศึกขั้นสุดท้าย ก็จะไม่ “ทุ่มสุดตัว”
นั่นคือ เมื่อเขา(ปัจจุบันก็คือกลุ่มอำนาจทักษิณ)จะรุกอย่างไร เราก็ “ต้าน”เท่าที่จำเป็น และอย่างมีเป้าหมาย คือมุ่ง “เปิดโปง” ด้วยการจุดเทียนปัญญา สร้างการตื่นรู้ให้แก่มวลชน หากมิใช่ทุ่มสุดตัว ซึ่งจะหมดแรง สูญเสียโอกาสในการสร้างความแข็งแกร่งให้ตัวเอง
พันธมิตรฯได้ทำเช่นนี้มาโดยตลอด จึงยังคงรักษากำลังหลักไว้ได้
ฉันใดฉันนั้น สภาประชาชนฯก็จะปฏิบัติในลักษณะเดียวกัน คือมุ่ง “สร้าง” ยิ่งกว่า “สู้” หรือ “สร้างไปสู้ไป” และ “สู้ไปสร้างไป” จนกว่าจะถึงเวลา รวบรวมสรรพกำลังทุกฝ่าย “เผด็จศึก”ระบอบทักษิณ
ความคิดยุทธศาสตร์นี้ ก็เป็นส่วนหนึ่งของ “สิ่งต้องเกิด” ในขบวนการฯภาคประชาชน ที่จะเกิดได้จริง ก็ด้วยความพยายามของเรา (อัตวิสัย) และความฉลาดรู้ของเราเอง