ASTV.ผู้จัดการรายวัน-กรมส่งเสริมสหกรณ์สั่งปลดผู้บริหารสหกรณ์ยูเนี่ยนยกชุด พร้อมตั้งกรรมการชุดใหม่เข้าไปสะสาง ฟื้นฟู วอนสมาชิกอย่าเพิ่งถอนเงินออก ส่วนการตามเงินคืนให้ดีเอสไอ ปปง. ช่วย
วานนี้ (9 ต.ค.) เวลา 14.00 น. ที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) นายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดี ดีเอสไอ พร้อมด้วยนางศิวาพร ชื่นจิตต์ศิริ รองอธิบดีดีเอสไอ นายสุรกิจ ลิ้มสิทธิกุล เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายสมชาย ชาญณรงค์กุล อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ และนายวิณะโรจน์ ทรัพย์ส่งสุข อธิบดีตรวจสอบบัญชีสหกรณ์ ได้แถลงข่าวความคืบหน้าการดำเนินคดีผู้บริหารสหกรณ์ยูเนี่ยนคลองจั่น โดยเฉพาะประเด็นเงินฝากของสมาชิกสหกรณ์ ที่ไม่สามารถเบิกถอนเงินได้
ทั้งนี้ เมื่อช่วงเช้าวันเดียวกัน นายสมชาย ชาญณรงค์กุล อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ ในฐานะนายทะเบียนสหกรณ์ พร้อมด้วย เจ้าหน้าที่ดีเอสไอ ได้เดินทางไปที่ทำการสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน คลองจั่น เพื่อนำหนังสือไปทำการปลดนายศุภชัย ศรีศุภอักษร ประธานกรรมการดำเนินการสหกรณ์ฯ ออกจากตำแหน่ง และให้คณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์ฯ ชุดใหม่เข้าดำเนินการแทนชั่วคราว
นายสมชาย กล่าวว่า สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนฯ มีปัญหามาตั้งแต่ช่วงปี 2551 และได้สั่งการให้แก้ไขจุดที่เป็นปัญหา แต่ไม่มีการแก้ไขตามคำสั่ง โดยก่อนหน้านี้ ใช้ระยะเวลาติดตามพฤติกรรมของคณะกรรมการชุดที่ 29 ที่มีนายศุภชัย เป็นประธานมาตลอด กระทั่งเมื่อวันที่ 8 ต.ค. ได้มีคำสั่งปลดคณะกรรม การบริหารชุดที่ 29 จำนวน 13 คน พ้นตำแหน่งทั้งคณะ และได้ตั้งคณะกรรมการบริหารชุดใหม่ขึ้นมาบริหารงานแทน โดยคณะกรรมการชุดใหม่จะมีหน้าที่เร่งเข้าไปทำแผนการฟื้นฟูสหกรณ์ยูเนี่ยนฯ ให้เสร็จสิ้นภายใน 180 วัน จากนั้นจะจัดให้มีการเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารชุดใหม่ ซึ่งคณะกรรมการบริหารที่ถูกปลดจะไม่สามารถเข้ามารับตำแหน่งได้อีก และมีผลให้ต้องพ้นจากตำแหน่งที่เกี่ยวข้องกับการบริหารสหกรณ์อื่นด้วย
สำหรับความรับผิดชอบหลักของคณะกรรมการบริหารชุดใหม่ คือ เร่งฟื้นฟูเพื่อเรียกความเชื่อมั่นจากสมาชิก จากการพิจารณายอดเงินที่เสียหายเชื่อว่าเป็นยอดเงินที่สามารถทำแผนฟื้นฟูได้ โดยได้ชี้แจงทำความเข้าใจกับเจ้าหน้าที่สหกรณ์เพื่อไม่ให้มีการโยกย้ายเอกสารที่ต้องนำไปตรวจสอบ รวมทั้งขอให้ประชาชนอย่าเพิ่งตื่นตระหนกไปถอนเงิน
สำหรับในเรื่องของการติดตามเงิน เป็นหน้าที่ของดีเอสไอและสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) ที่ดำเนินการตรวจสอบเส้นทางการเงิน ส่วนข้อมูลที่พบว่ามีการนำเงินสหกรณ์ออกไปบริจาคให้วัดเป็นจำนวนมาก หากเป็นนำเงินไปใช้ผิดวัตถุประสงค์ของสหกรณ์ ก็ต้องดำเนินการเอาผิดตามระเบียบ รวมถึงต้องติดตามนำเงินกลับคืนมาให้สหกรณ์ และต้องตรวจสอบด้วยว่ามีการลงมติจากคณะกรรมการสหกรณ์ฯ อนุมัติให้นำเงินไปบริจาคหรือไม่
ปัจจุบันสหกรณ์ของประเทศไทยมีทั้งหมด 7 ประเภท คือ สันนิบาตสหกรณ์ ผู้นำสหกรณ์ทั้ง6 ประเภท คือ สหกรณ์การเกษตร สหกรณ์ออมทรัพย์ สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน สหกรณ์ประมง สหกรณ์บริการเดินรถ สหกรณ์ร้านค้า ซึ่งได้มีการแต่งตั้งผู้นำสหกรณ์ทั้งประเทศ ได้แก่ประธานสันนิบาตสหกรณ์ซึ่งเป็นสหกรณ์หลัก และผู้นำสหกรณ์ทั้ง6 ประเภทดังกล่าว รวมทั้งส่วนกรรมการส่วนราชการจากกรมส่งเสริมสหกรณ์ กรทมตรวจบัญชีสหกรณ์ ที่เป็นผู้แทนที่สหกรณ์ของสหกรณ์ที่เอาเงินไปฝากไว้ เช่น สหกรณ์จุฬา สหกรณ์สำนักงานตำรวจแห่งชาติ สหกรณ์กรมบัญชีกลาง
ขณะที่นายกิติก้อง คณาจันทร์ ผอ.ศูนย์ปราบปรามคดีฟอกเงินและยาเสพติด ดีเอสไอ เชื่อว่า หลังปลดคณะกรรมการชุดที่มีปัญหาไปแล้ว การเข้าไปขอตรวจสอบเอกสารที่เกี่ยวข้องจะสะดวกมากขึ้น และหลังจากนี้จะเรียกเจ้าหน้าที่ฝ่ายธุรกรรมที่รับผิด ชอบดูแลเรื่องการปล่อยเงินมาให้ปากคำ เพื่อนำมาประกอบข้อมูลของปปง.ที่ติดตามเส้นทางการเงินอย่างต่อเนื่องเพื่อหาความเชื่อมโยงของเงินที่นำออกไปว่าไปลงทุนหรือตกอยู่กับบุคคลใด
ทั้งนี้ มีสหกรณ์ต่างๆ ที่นำเงินมาฝากกับสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนจำนวนมาก เช่น สหกรณ์ออมทรัพย์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 1,431 ล้านบาท สหกรณ์ออมทรัพย์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 700 ล้านบาท สหกรณ์ออมทรัพย์ครู
วานนี้ (9 ต.ค.) เวลา 14.00 น. ที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) นายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดี ดีเอสไอ พร้อมด้วยนางศิวาพร ชื่นจิตต์ศิริ รองอธิบดีดีเอสไอ นายสุรกิจ ลิ้มสิทธิกุล เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายสมชาย ชาญณรงค์กุล อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ และนายวิณะโรจน์ ทรัพย์ส่งสุข อธิบดีตรวจสอบบัญชีสหกรณ์ ได้แถลงข่าวความคืบหน้าการดำเนินคดีผู้บริหารสหกรณ์ยูเนี่ยนคลองจั่น โดยเฉพาะประเด็นเงินฝากของสมาชิกสหกรณ์ ที่ไม่สามารถเบิกถอนเงินได้
ทั้งนี้ เมื่อช่วงเช้าวันเดียวกัน นายสมชาย ชาญณรงค์กุล อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ ในฐานะนายทะเบียนสหกรณ์ พร้อมด้วย เจ้าหน้าที่ดีเอสไอ ได้เดินทางไปที่ทำการสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน คลองจั่น เพื่อนำหนังสือไปทำการปลดนายศุภชัย ศรีศุภอักษร ประธานกรรมการดำเนินการสหกรณ์ฯ ออกจากตำแหน่ง และให้คณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์ฯ ชุดใหม่เข้าดำเนินการแทนชั่วคราว
นายสมชาย กล่าวว่า สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนฯ มีปัญหามาตั้งแต่ช่วงปี 2551 และได้สั่งการให้แก้ไขจุดที่เป็นปัญหา แต่ไม่มีการแก้ไขตามคำสั่ง โดยก่อนหน้านี้ ใช้ระยะเวลาติดตามพฤติกรรมของคณะกรรมการชุดที่ 29 ที่มีนายศุภชัย เป็นประธานมาตลอด กระทั่งเมื่อวันที่ 8 ต.ค. ได้มีคำสั่งปลดคณะกรรม การบริหารชุดที่ 29 จำนวน 13 คน พ้นตำแหน่งทั้งคณะ และได้ตั้งคณะกรรมการบริหารชุดใหม่ขึ้นมาบริหารงานแทน โดยคณะกรรมการชุดใหม่จะมีหน้าที่เร่งเข้าไปทำแผนการฟื้นฟูสหกรณ์ยูเนี่ยนฯ ให้เสร็จสิ้นภายใน 180 วัน จากนั้นจะจัดให้มีการเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารชุดใหม่ ซึ่งคณะกรรมการบริหารที่ถูกปลดจะไม่สามารถเข้ามารับตำแหน่งได้อีก และมีผลให้ต้องพ้นจากตำแหน่งที่เกี่ยวข้องกับการบริหารสหกรณ์อื่นด้วย
สำหรับความรับผิดชอบหลักของคณะกรรมการบริหารชุดใหม่ คือ เร่งฟื้นฟูเพื่อเรียกความเชื่อมั่นจากสมาชิก จากการพิจารณายอดเงินที่เสียหายเชื่อว่าเป็นยอดเงินที่สามารถทำแผนฟื้นฟูได้ โดยได้ชี้แจงทำความเข้าใจกับเจ้าหน้าที่สหกรณ์เพื่อไม่ให้มีการโยกย้ายเอกสารที่ต้องนำไปตรวจสอบ รวมทั้งขอให้ประชาชนอย่าเพิ่งตื่นตระหนกไปถอนเงิน
สำหรับในเรื่องของการติดตามเงิน เป็นหน้าที่ของดีเอสไอและสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) ที่ดำเนินการตรวจสอบเส้นทางการเงิน ส่วนข้อมูลที่พบว่ามีการนำเงินสหกรณ์ออกไปบริจาคให้วัดเป็นจำนวนมาก หากเป็นนำเงินไปใช้ผิดวัตถุประสงค์ของสหกรณ์ ก็ต้องดำเนินการเอาผิดตามระเบียบ รวมถึงต้องติดตามนำเงินกลับคืนมาให้สหกรณ์ และต้องตรวจสอบด้วยว่ามีการลงมติจากคณะกรรมการสหกรณ์ฯ อนุมัติให้นำเงินไปบริจาคหรือไม่
ปัจจุบันสหกรณ์ของประเทศไทยมีทั้งหมด 7 ประเภท คือ สันนิบาตสหกรณ์ ผู้นำสหกรณ์ทั้ง6 ประเภท คือ สหกรณ์การเกษตร สหกรณ์ออมทรัพย์ สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน สหกรณ์ประมง สหกรณ์บริการเดินรถ สหกรณ์ร้านค้า ซึ่งได้มีการแต่งตั้งผู้นำสหกรณ์ทั้งประเทศ ได้แก่ประธานสันนิบาตสหกรณ์ซึ่งเป็นสหกรณ์หลัก และผู้นำสหกรณ์ทั้ง6 ประเภทดังกล่าว รวมทั้งส่วนกรรมการส่วนราชการจากกรมส่งเสริมสหกรณ์ กรทมตรวจบัญชีสหกรณ์ ที่เป็นผู้แทนที่สหกรณ์ของสหกรณ์ที่เอาเงินไปฝากไว้ เช่น สหกรณ์จุฬา สหกรณ์สำนักงานตำรวจแห่งชาติ สหกรณ์กรมบัญชีกลาง
ขณะที่นายกิติก้อง คณาจันทร์ ผอ.ศูนย์ปราบปรามคดีฟอกเงินและยาเสพติด ดีเอสไอ เชื่อว่า หลังปลดคณะกรรมการชุดที่มีปัญหาไปแล้ว การเข้าไปขอตรวจสอบเอกสารที่เกี่ยวข้องจะสะดวกมากขึ้น และหลังจากนี้จะเรียกเจ้าหน้าที่ฝ่ายธุรกรรมที่รับผิด ชอบดูแลเรื่องการปล่อยเงินมาให้ปากคำ เพื่อนำมาประกอบข้อมูลของปปง.ที่ติดตามเส้นทางการเงินอย่างต่อเนื่องเพื่อหาความเชื่อมโยงของเงินที่นำออกไปว่าไปลงทุนหรือตกอยู่กับบุคคลใด
ทั้งนี้ มีสหกรณ์ต่างๆ ที่นำเงินมาฝากกับสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนจำนวนมาก เช่น สหกรณ์ออมทรัพย์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 1,431 ล้านบาท สหกรณ์ออมทรัพย์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 700 ล้านบาท สหกรณ์ออมทรัพย์ครู