“ธาริต” พร้อมด้วยรองอธิบดีดีเอสไอ และเลขาฯ รมว.เกษตรฯ อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ ร่วมกัานแถลงข่าวความรคืบหน้าการดำเนินคดีผู้บริหารสหกรณ์ยูเนี่ยนคลองจั่น ที่ทำให้สมายชิกไม่มสามารถเบิกเงินได้ ล่าสุดอธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์สั่งปลดผู้บริหารสหกรณ์ยูเนี่ยนยกชุด พร้อมมวอนสมาชิกอย่าเพิ่งแห่ถอนเงินออก
เมื่อวันที่ 9 ต.ค. เวลา 14.00 น.ที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) นายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีดีเอสไอ พร้อมด้วยนางศิวาพร ชื่นจิตต์ศิริ รองอธิบดีดีเอสไอ นายสุรกิจ ลิ้มสิทธิกุล เลขาฯรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายสมชาย ชาญณรงค์กุล อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ และนายวิณะโรจน์ ทรัพย์ส่งสุข อธิบดีตรวจสอบบัญชีสหกรณ์ เปิดเผยความคืบหน้าการดำเนินคดีผู้บริหารสหกรณ์ยูเนี่ยนคลองจั่น โดยเฉพาะประเด็นเงินฝากของสมาชิกสหกรณ์ ที่ไม่สามารถเบิกถอนเงินได้ ซึ่งเมื่อช่วงเช้าที่ผ่านมา นายสมชาย ชาญณรงค์กุล อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ ในฐานะนายทะเบียนสหกรณ์ พร้อมด้วย เจ้าหน้าที่ดีเอสไอ ได้เดินทางไปที่ทำการสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน คลองจั่น เพื่อนำหนังสือไปทำการปลดนายศุภชัย ศรีศุภอักษร ประธานกรรมการดำเนินการสหกรณ์ฯ ออกจากตำแหน่ง และให้คณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์ฯ ชุดใหม่เข้าดำเนินการแทนชั่วคราว
นายสมชาย ชาญณรงค์กุล อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ กล่าวว่า สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน มีปัญหามาตั้งแต่ช่วงปี 2551 และได้สั่งการให้แก้ไขจุดที่เป็นปัญหา แต่ไม่มีการแก้ไขตามคำสั่ง อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้ใช้ระยะเวลาติดตามพฤติกรรมของคณะกรรมการชุดที่ 29 ที่มีนายศุภชัย เป็นประธานมาตลอด กระทั่งเมื่อวันที่ 8 ต.ค.ได้มีคำสั่งปลดคณะกรรม การบริหารชุดที่ 29 จำนวน 13 คน พ้นตำแหน่งทั้งคณะ พร้อมกันนี้ยังได้ตั้งคณะกรรมการบริหารชุดใหม่ขึ้นมาบริหารงานแทน โดยคณะกรรมการชุดใหม่จะมีหน้าที่เร่งเข้าไปทำแผนการฟื้นฟูสหกรณ์ยูเนี่ยน ฯ ให้เสร็จสิ้นภายใน 180 วัน จากนั้นจะจัดให้มีการเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารชุดใหม่ ซึ่งคณะกรรมการบริหารที่ถูกปลดจะไม่สามารถเข้ามารับตำแหน่งได้อีก และมีผลให้ต้องพ้นจากตำแหน่งที่เกี่ยวข้องกับการบริหารสหกรณ์อื่นด้วย
อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ กล่าวว่า ความรับผิดชอบหลักของคณะกรรมการบริหารชุดใหม่คือ เร่งฟื้นฟูเพื่อเรียกความเชื่อมั่นจากสมาชิก จากการพิจารณายอดเงินที่เสียหายเชื่อว่าเป็นยอดเงินที่สามารถทำแผนฟื้นฟูได้ โดยวันนี้ผมยังชี้แจงทำความเข้าใจกับเจ้าหน้าที่สหกรณ์เพื่อไม่ให้มีการโยกย้ายเอกสารที่ต้องนำไปตรวจสอบ อย่างไรก็ตาม ขอให้ประชาชนอย่าเพิ่งตื่นตระหนกไปถอนเงินต้องรอเวลาสักระยะ โดยแนวทางคือการระดมเงินจากชุมนุมสหกรณ์มาช่วยเหลือ
นายสมชาย กล่าวว่า สำหรับในเรื่องของการติดตามเงินนั้น เป็นหน้าที่ของดีเอสไอและสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) ที่ดำเนินการตรวจสอบเส้นทางการเงินอยู่แล้ว ส่วนข้อมูลที่พบว่ามีการนำเงินสหกรณ์ออก ไปบริจาคให้วัดเป็นจำนวนมากนั้น หากเป็นนำเงินไปใช้ผิดวัตถุประสงค์ของสหกรณ์ก็ต้องดำเนินการเอาผิดตามระเบียบ รวมถึงต้องติด ตามนำเงินกลับคืนมาให้สหกรณ์ อย่างไรก็ตามต้องตรวจสอบด้วยว่ามีการลงมติจากคณะกรรมการสหกรณ์ฯ อนุมัติให้นำเงินไปบริจาคหรือไม่
นายสมชาย กล่าวต่ออีกว่า สำหรับสหกรณ์ของประเทศไทยมีทั้งหมด 7 ประเภท คือ สันนิบาตสหกรณ์ ผู้นำสหกรณ์ทั้ง 6 ประเภท คือ สหกรณ์การเกษตร สหกรณ์ออมทรัพย์ สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน สหกรณ์ประมง สหกรณ์บริการเดินรถ สหกรณ์ร้านค้า ซึ่งได้มีการแต่งตั้งผู้นำสหกรณ์ทั้งประเทศ ได้แก่ประธานสันนิบาตสหกรณ์ซึ่งเป็นสหกรณ์หลัก และผู้นำสหกรณ์ทั้ง 6 ประเภทดังกล่าว รวมทั้งส่วนกรรมการส่วนราชการจากกรมส่งเสริมสหกรณ์ กรทมตรวจบัญชีสหกรณ์ ที่เป็นผู้แทนที่สหกรณ์ของสหกรณ์ที่เอาเงินไปฝากไว้ เช่น สหกรณ์จุฬาฯ สหกรณ์สำนักงานตำรวจแห่งชาติ สหกรณ์กรมบัญชีกลาง
ขณะที่ นายกิติก้อง คณาจันทร์ ผอ.ศูนย์ปราบปรามคดีฟอกเงินและยาเสพติด ดีเอสไอ เชื่อว่าหลังปลดคณะกรรมการชุดที่มีปัญหาไปแล้ว การเข้าไปขอตรวจสอบเอกสารที่เกี่ยวข้องจะสะดวกมากขึ้น หลังจากนี้จะเรียกเจ้าหน้าที่ฝ่ายธุรกรรมที่รับผิด ชอบดูแลเรื่องการปล่อยเงินมาให้ปากคำ เพื่อนำมาประกอบข้อมูลของปปง.ที่ติดตามเส้นทางการเงินอย่างต่อเนื่องเพื่อหาความเชื่อมโยงของเงินที่นำออกไปว่าไปลงทุนหรือตกอยู่กับบุคคลใด
ทั้งนี้ มีสหกรณ์ต่างๆ ที่นำเงินมาฝากกับสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนจำนวนมาก เช่น สหกรณ์ออมทรัพย์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 1,431 ล้านบาท สหกรณ์ออมทรัพย์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 700 ล้านบาท สหกรณ์ออมทรัพย์ครูนครราชสีมา 502 ล้านบาท สหกรณ์ออมทรัพย์ครูยโสธร 930 ล้านบาท สหกรณ์ออมทรัพย์ครูปทุมธานี 800 ล้านบาท ฯลฯ