วานนี้ (9 ต.ค.) เวลา 12.00 น. ที่สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ศาลรัฐธรรมนูญได้เผยแพร่เอกสารข่าวถึงสื่อมวลชน ถึงผลการประชุมคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญว่า ที่ประชุมมีคำสั่งไม่รับคำร้องกรณีที่นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานรัฐสภา และนายนิคม ไวยรัชพาณิช ประธานวุฒิสภา ส่งความเห็นของนายไพบูลย์ นิติตะวัน ส.ว.สรรหา กับคณะ รวม 68 คน กับนายจุรินทร์ ลักษณะวิศิษฎ์ ประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมฝ่ายค้าน (วิปฝ่ายค้าน) กับคณะ รวม 142 คน ที่ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 154 วรรคหนึ่ง ว่า ร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับที่มา ส.ว.มีข้อความขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ หรือตราขึ้น โดยไม่ถูกต้อตามรัฐธรรมนูญหรือไม่
ผู้สื่อข่าวรายงานต่อว่า จากการพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญเห็นว่า ทั้งสองเรื่องมีข้อเท็จจริงเป็นอย่างเดียวกัน ศาลจึงพิจารณารวมกันแล้วเห็นว่ารัฐธรรมนูญ 2550 ได้บัญญัติเกี่ยวกับการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญไว้เป็นการเฉพาะในหมวด 15 มาตรา 291โดยบัญญัติหลักเกณฑ์และวิธีการตาม (1) ถึง (7) ว่าให้ต้องทำเป็นญัตติขอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ และเสนอร่างรัฐธรรมนูญ แก้ไขเพิ่มเติม มิใช่ทำเป็นร่างพระราชบัญญัติ ทั้งมาตรา 291 (7) ได้บัญญัติให้นำบทบัญญัติที่เกี่ยวกับการตราพระราชบัญญัติ เฉพาะมาตรา 150 และมาตรา 151 มาใช้บังคับโดยอนุโลม ไม่ได้บัญญัติให้นำมาตรา 154 ซึ่งเป็นบทบัญญัติว่าด้วยการควบคุมการตราพระราชบัญญัติมิให้ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ โดยให้ศาลรัฐธรรมนูญเป็นองค์กรวินิจฉัยมาใช้บังคับ ดังนั้น เมื่อพิจารณาบทบัญญัติดังกล่าวประกอบกันแล้ว กรณีตามคำร้องนี้จึงไม่ต้องด้วยหลักเกณฑ์ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 154 วรรคหนึ่ง (1) ที่ศาลรัฐธรรมนูญจะรับไว้วินิจฉัย
ทั้งนี้ การประชุม ไม่มีวาระการพิจารณาคำร้องเกี่ยวกับร่างแก้ไขเพิ่มรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับที่มาของ ส.ว. ทั้ง 4 คำร้องรวมเป็น 1 สำนวน ซึ่งยังอยู่ระหว่างรอให้ผู้ถูกร้องทั้ง 312 คน ทำคำชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาส่งกลับมายังศาลรัฐธรรมนูญภายใน 15 วัน เพื่อจะได้รวมเข้าสำนวนเพื่อประกอบการพิจารณาต่อไป รวมทั้งคำร้องเกี่ยวกับการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญมาตรา 68 และ มาตรา 237 ว่าอาจเป็นการล้มล้างการปกครองตามระบอบประชาธิปไตย ทั้ง 6 คำร้องรวมเป็น 1 สำนวน เนื่องจากยังอยู่ระหว่างการตรวจสอบเอกสาร หลักฐานและรายงานที่คณะกรรมาธิการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญ แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 68 และมาตรา 237 ส่งมาให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาเพื่อนำมาประกอบสำนวนก่อนหน้านี้
นอกจากนี้เอกสารข่าวยังระบุอีกว่า เมื่อวันอังคารที่ 8 ต.ค.ที่ผ่านมา คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญและผู้ได้รับเลือกเป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ได้ประชุมเพื่อเลือกประธานศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งที่ประชุมมีมติด้วยคะแนน 5 ต่อ 4 เสียง เลือกนายจรูญ อินทจาร เป็นประธานศาลรัฐธรรมนูญ.
ด้านน.พ.เหวง โตจิราการ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย กล่าวถึงกรณีการรวบรวมรายชื่อ ส.ส.พรรคเพื่อไทย เพื่อยื่นประกอบการเสนอร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2550 ยกเลิกมาตรา 309 ว่า ขณะนี้มีส.ส. ที่ร่วมลงชื่อสนับสนุนแล้ว จำนวน 116 คน แต่ยังไม่นำยื่นต่อรัฐสภาให้พิจารณา เนื่องจากคณะกรรมการยุทธศาสตร์พรรคเพื่อไทยและคณะทำงานฝ่ายกฎหมายเสนอความเห็นว่าให้นำร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ ยกเลิกมาตรา 309 เข้าสู่ที่ประชุมทั้ง 2 คณะก่อน เบื้องต้นคาดว่าจะมีการประชุมและหาข้อสรุปเรื่องดังกล่าวในสัปดาห์หน้า
สำหรับประเด็นที่ฝ่ายค้านแถลงคัดค้านไม่ยอมรับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 309 นั้น ตนขอถามไปยังฝ่ายค้านด้วยว่าเห็นด้วยกับการทำรัฐประหารหรือไม่ ซึ่งตนเชื่อว่าทั้งฝ่ายค้านและส.ว.ที่มาจากการสรรหาไม่มีฝ่ายไหนที่เห็นด้วย และการเสนอให้มีการยกเลิกมาตรา 309 ที่รับรองการกระทำของคณะรัฐประหารว่าชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ถือว่าเป็นการไม่ยอมรับการรัฐประหาร
นายจตุพร พรหมพันธุ์ แกนนำ นปช. กล่าวว่า ในกรณีนี้เราได้พูดมาตั้งแต่ต้นว่าศาลรัฐธรรมนูญไม่มีอำนาจวินิจฉัย เรื่องนี้จึงถือว่ายังไม่จบ เพราะหัวใจจริง ๆ คือ การยื่นตามมาตรา 68 ที่ยังไม่มีการวินิจฉัยต่างหาก นปช.จึงอย่าหลงเชื่อว่าขณะนี้การวินิจฉัยได้จบสิ้นแล้ว ส่วนกรณีที่เมื่อวันที่ 8 ต.ค.ที่ผ่านมา ที่อ้างว่าดวงรัฐบาลตกต่ำที่สุด ก็เป็นวันเดียวกันกับที่มีการแต่งตั้งนายจรูญ อินทจาร เป็นประธานตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ คนใหม่ ซึ่ง เป็นตัวละครอยู่ในคลิปที่มีการโกงข้อสอบเจ้าหน้าที่ศาลรัฐธรรมนูญ ทำให้เรามองว่าสถานการณ์ขณะนี้ยังประมาทอะไรไม่ได้เลย เขาอาจรอจังหวะ หรือหมัดเดียวชกกลับมาก็เป็นได้ จึงอยากให้ นปช.ทุกคนเฝ้าจับตาในฐานที่ตั้งอยู่ตลอด อย่าได้วางใจสถานการณ์
ผู้สื่อข่าวรายงานต่อว่า จากการพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญเห็นว่า ทั้งสองเรื่องมีข้อเท็จจริงเป็นอย่างเดียวกัน ศาลจึงพิจารณารวมกันแล้วเห็นว่ารัฐธรรมนูญ 2550 ได้บัญญัติเกี่ยวกับการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญไว้เป็นการเฉพาะในหมวด 15 มาตรา 291โดยบัญญัติหลักเกณฑ์และวิธีการตาม (1) ถึง (7) ว่าให้ต้องทำเป็นญัตติขอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ และเสนอร่างรัฐธรรมนูญ แก้ไขเพิ่มเติม มิใช่ทำเป็นร่างพระราชบัญญัติ ทั้งมาตรา 291 (7) ได้บัญญัติให้นำบทบัญญัติที่เกี่ยวกับการตราพระราชบัญญัติ เฉพาะมาตรา 150 และมาตรา 151 มาใช้บังคับโดยอนุโลม ไม่ได้บัญญัติให้นำมาตรา 154 ซึ่งเป็นบทบัญญัติว่าด้วยการควบคุมการตราพระราชบัญญัติมิให้ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ โดยให้ศาลรัฐธรรมนูญเป็นองค์กรวินิจฉัยมาใช้บังคับ ดังนั้น เมื่อพิจารณาบทบัญญัติดังกล่าวประกอบกันแล้ว กรณีตามคำร้องนี้จึงไม่ต้องด้วยหลักเกณฑ์ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 154 วรรคหนึ่ง (1) ที่ศาลรัฐธรรมนูญจะรับไว้วินิจฉัย
ทั้งนี้ การประชุม ไม่มีวาระการพิจารณาคำร้องเกี่ยวกับร่างแก้ไขเพิ่มรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับที่มาของ ส.ว. ทั้ง 4 คำร้องรวมเป็น 1 สำนวน ซึ่งยังอยู่ระหว่างรอให้ผู้ถูกร้องทั้ง 312 คน ทำคำชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาส่งกลับมายังศาลรัฐธรรมนูญภายใน 15 วัน เพื่อจะได้รวมเข้าสำนวนเพื่อประกอบการพิจารณาต่อไป รวมทั้งคำร้องเกี่ยวกับการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญมาตรา 68 และ มาตรา 237 ว่าอาจเป็นการล้มล้างการปกครองตามระบอบประชาธิปไตย ทั้ง 6 คำร้องรวมเป็น 1 สำนวน เนื่องจากยังอยู่ระหว่างการตรวจสอบเอกสาร หลักฐานและรายงานที่คณะกรรมาธิการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญ แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 68 และมาตรา 237 ส่งมาให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาเพื่อนำมาประกอบสำนวนก่อนหน้านี้
นอกจากนี้เอกสารข่าวยังระบุอีกว่า เมื่อวันอังคารที่ 8 ต.ค.ที่ผ่านมา คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญและผู้ได้รับเลือกเป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ได้ประชุมเพื่อเลือกประธานศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งที่ประชุมมีมติด้วยคะแนน 5 ต่อ 4 เสียง เลือกนายจรูญ อินทจาร เป็นประธานศาลรัฐธรรมนูญ.
ด้านน.พ.เหวง โตจิราการ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย กล่าวถึงกรณีการรวบรวมรายชื่อ ส.ส.พรรคเพื่อไทย เพื่อยื่นประกอบการเสนอร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2550 ยกเลิกมาตรา 309 ว่า ขณะนี้มีส.ส. ที่ร่วมลงชื่อสนับสนุนแล้ว จำนวน 116 คน แต่ยังไม่นำยื่นต่อรัฐสภาให้พิจารณา เนื่องจากคณะกรรมการยุทธศาสตร์พรรคเพื่อไทยและคณะทำงานฝ่ายกฎหมายเสนอความเห็นว่าให้นำร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ ยกเลิกมาตรา 309 เข้าสู่ที่ประชุมทั้ง 2 คณะก่อน เบื้องต้นคาดว่าจะมีการประชุมและหาข้อสรุปเรื่องดังกล่าวในสัปดาห์หน้า
สำหรับประเด็นที่ฝ่ายค้านแถลงคัดค้านไม่ยอมรับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 309 นั้น ตนขอถามไปยังฝ่ายค้านด้วยว่าเห็นด้วยกับการทำรัฐประหารหรือไม่ ซึ่งตนเชื่อว่าทั้งฝ่ายค้านและส.ว.ที่มาจากการสรรหาไม่มีฝ่ายไหนที่เห็นด้วย และการเสนอให้มีการยกเลิกมาตรา 309 ที่รับรองการกระทำของคณะรัฐประหารว่าชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ถือว่าเป็นการไม่ยอมรับการรัฐประหาร
นายจตุพร พรหมพันธุ์ แกนนำ นปช. กล่าวว่า ในกรณีนี้เราได้พูดมาตั้งแต่ต้นว่าศาลรัฐธรรมนูญไม่มีอำนาจวินิจฉัย เรื่องนี้จึงถือว่ายังไม่จบ เพราะหัวใจจริง ๆ คือ การยื่นตามมาตรา 68 ที่ยังไม่มีการวินิจฉัยต่างหาก นปช.จึงอย่าหลงเชื่อว่าขณะนี้การวินิจฉัยได้จบสิ้นแล้ว ส่วนกรณีที่เมื่อวันที่ 8 ต.ค.ที่ผ่านมา ที่อ้างว่าดวงรัฐบาลตกต่ำที่สุด ก็เป็นวันเดียวกันกับที่มีการแต่งตั้งนายจรูญ อินทจาร เป็นประธานตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ คนใหม่ ซึ่ง เป็นตัวละครอยู่ในคลิปที่มีการโกงข้อสอบเจ้าหน้าที่ศาลรัฐธรรมนูญ ทำให้เรามองว่าสถานการณ์ขณะนี้ยังประมาทอะไรไม่ได้เลย เขาอาจรอจังหวะ หรือหมัดเดียวชกกลับมาก็เป็นได้ จึงอยากให้ นปช.ทุกคนเฝ้าจับตาในฐานที่ตั้งอยู่ตลอด อย่าได้วางใจสถานการณ์