ASTV ผู้จัดการรายวัน-ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับจำคุก 5 ปี “นพวรรณ ตั้งอุดมสุข” โพสต์ข้อความหมิ่นเบื้องสูง ลงในเว็บไซต์ประชาไท เหตุหลักฐานไอพีแอดเดรสและเบอร์โทรศัพท์มัดตัว ด้านทนายสุวัตร เตรียมยื่นฎีกาคดี "สนธิ" หมิ่นฯ ภายใน 30 วัน มั่นใจชนะแน่
วานนี้ (2 ต.ค.) ที่ห้องพิจารณาคดีที่ 914 ศาลอาญา ถ.รัชดาภิเษก ศาลนัดอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในคดีหมายเลขดำที่ 1257/52 ที่พนักงานอัยการ สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญา 8 เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง น.ส.นพวรรณ ตั้งอุดมสุข ในความผิดต่อพระมหากษัตริย์ ต่อพระราชินี ต่อรัชทายาท หรือต่อผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 และความผิดตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550
จากกรณีเมื่อวันที่ 15 ต.ค.2551 จำเลยได้พิมพ์ข้อความอันเป็นการดูหมิ่นเบื้องสูง แล้วนำไปเผยแพร่ในเว็บไซต์ประชาไท (www.prachatai.com) ให้ประชาชนทั่วไปที่ใช้บริการเว็บไซต์ดังกล่าวได้อ่าน ซึ่งการกระทำดังกล่าวอาจทำให้เกิดความเสียหายแก่เบื้องสูงได้ ซึ่งศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง เนื่องจากเห็นว่า พยานหลักฐานที่เป็นไอพีแอดเดรส และเบอร์โทรศัพท์ สำหรับใช้ต่ออินเทอร์เน็ต ไม่อาจชี้ชัดได้ว่าจำเลยเป็นผู้โพสต์ข้อความดังกล่าว ต่อมาอัยการโจทก์ยื่นอุทธรณ์ขอให้ลงโทษจำเลย
ศาลอุทธรณ์ตรวจสำนวนประชุมปรึกษาแล้วเห็นว่า มีประเด็นต้องวินิจฉัยว่าจำเลยโพสต์ข้อความดังกล่าวจริงหรือไม่ เห็นว่าแม้โจทก์จะไม่มีประจักษ์พยานยืนยันว่าจำเลยเป็นผู้โพสต์ข้อความดังกล่าว แต่โจทก์ก็มีเจ้าหน้าที่จากกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) และเจ้าหน้าที่ตำรวจกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ (ปอท.) เบิกความยืนยันว่า จากการตรวจสอบไอพีแอดเดรสของผู้ที่โพสต์ข้อความบนเว็บไซต์ประชาไทและตรวจสอบกับผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต พบว่าไอพีแอดเดรส ตรงกับเครื่องคอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊กของจำเลย นอกจากนี้ ตรวจสอบการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตของจำเลย พบว่า วันและเวลา ตรงกับการกระทำผิดในคดีนี้ ซึ่งผู้เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตจะต้องมีรหัสผ่าน และใช้หมายเลขโทรศัพท์ ในการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต ซึ่งเมื่อตรวจสอบพบว่าข้อมูลการใช้อินเตอร์เน็ตดังกล่าวตรงกับจำเลย ที่สมัครสมาชิกไว้ตั้งแต่ปี 2550 และได้ใช้บริการอินเตอร์เน็ตเรื่อยมา
อีกทั้งเจ้าหน้าที่ได้ตรวจสอบผู้ใช้งานในวันและเวลาขณะเกิดเหตุพบว่า มีผู้ใช้งานเพียงคนเดียว ซึ่งไอพีแอดเดรส ของคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องจะไม่ซ้ำกันและมีเพียงไอพีแอดเดรสเดียวเท่านั้น ซึ่งเจ้าหน้าที่สามารถตรวจสอบข้อมูลต่างๆ ได้ ไอพีแอดเดรส จึงเป็นพยานหลักฐานสำคัญ ที่ทำให้ทราบ ชื่อผู้ใช้ ที่อยู่ และเบอร์โทรศัพท์ ซึ่งตรงกับข้อมูลของจำเลย
ทั้งนี้ แม้ว่าข้อความที่โพสต์ลงบนเว็บไซต์ประชาไท จะโดนลบไปแล้ว แต่ข้อความที่โพสต์ดังกล่าวยังถูกเก็บอยู่ในเซิร์ฟเวอร์ของผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต จำเลยจึงไม่อาจปฏิเสธได้ ซึ่งพยานโจทก์เป็นเจ้าหน้าที่รัฐ ปฏิบัติงานตามหน้าที่ ตรงไปตรงมา ไม่มีเหตุให้ระแวงสงสัยว่าจะกลั่นแกล้งจำเลย อีกทั้งความผิด ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 เจ้าหน้าที่ตำรวจจะต้องใช้ความละเอียดรอบคอบและความระมัดระวังในการตรวจสอบ จนทราบว่าจำเลยเป็นผู้โพสต์ข้อความดังกล่าว จึงจะดำเนินคดีตามกฎหมาย พยานหลักฐานจึงฟังได้ว่าจำเลยเป็นผู้โพสต์ข้อความหมิ่นเบื้องสูงจริง
ส่วนที่จำเลยอ้างว่าถูกบุคคลอื่นปลอมแปลงไอพีแอดเดรสนั้น เห็นว่า พยานโจทก์เบิกความยืนยันว่า การปลอมแปลงไอพีแอดเดรส และการเจาะเข้าระบบคอมพิวเตอร์ โดยใช้ไอพีแอดเดรสของจำเลยทำได้ยาก เพราะไอพีแอดเดรสของเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องไม่สามารถปลอมแปลงได้ และในการโพสต์ข้อความ จำเป็นต้องใช้ชื่อและรหัสผ่านด้วย ซึ่งหากรหัสผ่านไม่ตรงกับข้อมูลของจำเลย ก็ไม่สามารถเข้าสู่ระบบได้ พยานหลักฐานจึงฟังได้ว่าจำเลยเป็นผู้โพสต์ข้อความดังกล่าวด้วยตนเอง เป็นการกระทำผิดตามฟ้อง อีกทั้งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ระบุว่า สถาบันพระมหากษัตริย์เป็นที่เคารพรักของประชาชน และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยยังบัญญัติให้ปวงชนชาวไทยต้องมีหน้าที่พิทักษ์รักษาไว้ซึ่งสถาบันพระมหากษัตริย์ให้ดำรงสืบไป ผู้ใดจะมาล่วงละเมิดไม่ได้ การกระทำของจำเลยเป็นการใส่ความ ทำให้สถาบันเสื่อมเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นเกลียดชัง เห็นควรให้ลงโทษจำเลยสถานหนักเพื่อไม่ให้บุคคลอื่นเอาเป็นเยี่ยงอย่าง อุทธรณ์ของโจทก์ฟังขึ้น ที่ศาลชั้นต้นพิพากษามานั้น ศาลอุทธรณ์ไม่เห็นพ้องด้วย
พิพากษากลับเป็นว่า จำเลยกระทำผิด ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 และพระราชบัญญัติคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 มาตรา14 ซึ่งความผิดเป็นกรรมเดียว แต่ผิดกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษในความผิด ตามมาตรา 112 ซึ่งเป็นบทลงโทษหนักสุด พิพากษาจำคุกจำเลยเป็นเวลา 5 ปี และให้ยึดเอกสารข้อความการกระทำผิด
ด้านนายสุวัตร อภัยภักดิ์ ทนายความพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย กล่าวในรายการ “News Hour” ทางเอเอสทีวี ถึงกรณีคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่พิพากษากลับให้จำคุกนายสนธิ ลิ้มทองกุล อดีตแกนนำพันธมิตร 2 ปี ฐานหมิ่นเบื้องสูงว่า โดยหลักของกฎหมายนั้น ต้องดูที่เจตนาเป็นสำคัญ การที่คำพิพากษาบอกว่า นายสนธิเอาคำพูด ดา ตอร์ปิโด มาพูดต่อก็เป็นความผิดแล้ว จะหยิบยกว่าไม่มีเจตนาไม่ได้ จะเห็นว่านายสนธิทำหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 70 บุคคลมีหน้าที่พิทักษ์รักษาไว้ซึ่งชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ แต่ศาลอุทธรณ์ไม่ดูที่เจตนาเลย
"คดีนี้ มันมีขบวนการเอานายสนธิเข้าคุกให้ได้ เพื่อต่อรองกับพันธมิตรฯ อย่าคัดค้านการแก้มาตรา 112 โดยจะฎีกาคำพิพากษานี้ ภายใน 30 วัน และมั่นใจว่า ศาลฎีกาจะยกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์และเห็นด้วยกับคำพิพากษาศาลชั้นต้น เพราะการพูดของ ดา ตอร์ปิโดกับนายสนธิมีเจตนาต่างกัน"นายสุวัตรกล่าว
วานนี้ (2 ต.ค.) ที่ห้องพิจารณาคดีที่ 914 ศาลอาญา ถ.รัชดาภิเษก ศาลนัดอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในคดีหมายเลขดำที่ 1257/52 ที่พนักงานอัยการ สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญา 8 เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง น.ส.นพวรรณ ตั้งอุดมสุข ในความผิดต่อพระมหากษัตริย์ ต่อพระราชินี ต่อรัชทายาท หรือต่อผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 และความผิดตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550
จากกรณีเมื่อวันที่ 15 ต.ค.2551 จำเลยได้พิมพ์ข้อความอันเป็นการดูหมิ่นเบื้องสูง แล้วนำไปเผยแพร่ในเว็บไซต์ประชาไท (www.prachatai.com) ให้ประชาชนทั่วไปที่ใช้บริการเว็บไซต์ดังกล่าวได้อ่าน ซึ่งการกระทำดังกล่าวอาจทำให้เกิดความเสียหายแก่เบื้องสูงได้ ซึ่งศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง เนื่องจากเห็นว่า พยานหลักฐานที่เป็นไอพีแอดเดรส และเบอร์โทรศัพท์ สำหรับใช้ต่ออินเทอร์เน็ต ไม่อาจชี้ชัดได้ว่าจำเลยเป็นผู้โพสต์ข้อความดังกล่าว ต่อมาอัยการโจทก์ยื่นอุทธรณ์ขอให้ลงโทษจำเลย
ศาลอุทธรณ์ตรวจสำนวนประชุมปรึกษาแล้วเห็นว่า มีประเด็นต้องวินิจฉัยว่าจำเลยโพสต์ข้อความดังกล่าวจริงหรือไม่ เห็นว่าแม้โจทก์จะไม่มีประจักษ์พยานยืนยันว่าจำเลยเป็นผู้โพสต์ข้อความดังกล่าว แต่โจทก์ก็มีเจ้าหน้าที่จากกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) และเจ้าหน้าที่ตำรวจกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ (ปอท.) เบิกความยืนยันว่า จากการตรวจสอบไอพีแอดเดรสของผู้ที่โพสต์ข้อความบนเว็บไซต์ประชาไทและตรวจสอบกับผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต พบว่าไอพีแอดเดรส ตรงกับเครื่องคอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊กของจำเลย นอกจากนี้ ตรวจสอบการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตของจำเลย พบว่า วันและเวลา ตรงกับการกระทำผิดในคดีนี้ ซึ่งผู้เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตจะต้องมีรหัสผ่าน และใช้หมายเลขโทรศัพท์ ในการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต ซึ่งเมื่อตรวจสอบพบว่าข้อมูลการใช้อินเตอร์เน็ตดังกล่าวตรงกับจำเลย ที่สมัครสมาชิกไว้ตั้งแต่ปี 2550 และได้ใช้บริการอินเตอร์เน็ตเรื่อยมา
อีกทั้งเจ้าหน้าที่ได้ตรวจสอบผู้ใช้งานในวันและเวลาขณะเกิดเหตุพบว่า มีผู้ใช้งานเพียงคนเดียว ซึ่งไอพีแอดเดรส ของคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องจะไม่ซ้ำกันและมีเพียงไอพีแอดเดรสเดียวเท่านั้น ซึ่งเจ้าหน้าที่สามารถตรวจสอบข้อมูลต่างๆ ได้ ไอพีแอดเดรส จึงเป็นพยานหลักฐานสำคัญ ที่ทำให้ทราบ ชื่อผู้ใช้ ที่อยู่ และเบอร์โทรศัพท์ ซึ่งตรงกับข้อมูลของจำเลย
ทั้งนี้ แม้ว่าข้อความที่โพสต์ลงบนเว็บไซต์ประชาไท จะโดนลบไปแล้ว แต่ข้อความที่โพสต์ดังกล่าวยังถูกเก็บอยู่ในเซิร์ฟเวอร์ของผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต จำเลยจึงไม่อาจปฏิเสธได้ ซึ่งพยานโจทก์เป็นเจ้าหน้าที่รัฐ ปฏิบัติงานตามหน้าที่ ตรงไปตรงมา ไม่มีเหตุให้ระแวงสงสัยว่าจะกลั่นแกล้งจำเลย อีกทั้งความผิด ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 เจ้าหน้าที่ตำรวจจะต้องใช้ความละเอียดรอบคอบและความระมัดระวังในการตรวจสอบ จนทราบว่าจำเลยเป็นผู้โพสต์ข้อความดังกล่าว จึงจะดำเนินคดีตามกฎหมาย พยานหลักฐานจึงฟังได้ว่าจำเลยเป็นผู้โพสต์ข้อความหมิ่นเบื้องสูงจริง
ส่วนที่จำเลยอ้างว่าถูกบุคคลอื่นปลอมแปลงไอพีแอดเดรสนั้น เห็นว่า พยานโจทก์เบิกความยืนยันว่า การปลอมแปลงไอพีแอดเดรส และการเจาะเข้าระบบคอมพิวเตอร์ โดยใช้ไอพีแอดเดรสของจำเลยทำได้ยาก เพราะไอพีแอดเดรสของเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องไม่สามารถปลอมแปลงได้ และในการโพสต์ข้อความ จำเป็นต้องใช้ชื่อและรหัสผ่านด้วย ซึ่งหากรหัสผ่านไม่ตรงกับข้อมูลของจำเลย ก็ไม่สามารถเข้าสู่ระบบได้ พยานหลักฐานจึงฟังได้ว่าจำเลยเป็นผู้โพสต์ข้อความดังกล่าวด้วยตนเอง เป็นการกระทำผิดตามฟ้อง อีกทั้งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ระบุว่า สถาบันพระมหากษัตริย์เป็นที่เคารพรักของประชาชน และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยยังบัญญัติให้ปวงชนชาวไทยต้องมีหน้าที่พิทักษ์รักษาไว้ซึ่งสถาบันพระมหากษัตริย์ให้ดำรงสืบไป ผู้ใดจะมาล่วงละเมิดไม่ได้ การกระทำของจำเลยเป็นการใส่ความ ทำให้สถาบันเสื่อมเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นเกลียดชัง เห็นควรให้ลงโทษจำเลยสถานหนักเพื่อไม่ให้บุคคลอื่นเอาเป็นเยี่ยงอย่าง อุทธรณ์ของโจทก์ฟังขึ้น ที่ศาลชั้นต้นพิพากษามานั้น ศาลอุทธรณ์ไม่เห็นพ้องด้วย
พิพากษากลับเป็นว่า จำเลยกระทำผิด ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 และพระราชบัญญัติคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 มาตรา14 ซึ่งความผิดเป็นกรรมเดียว แต่ผิดกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษในความผิด ตามมาตรา 112 ซึ่งเป็นบทลงโทษหนักสุด พิพากษาจำคุกจำเลยเป็นเวลา 5 ปี และให้ยึดเอกสารข้อความการกระทำผิด
ด้านนายสุวัตร อภัยภักดิ์ ทนายความพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย กล่าวในรายการ “News Hour” ทางเอเอสทีวี ถึงกรณีคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่พิพากษากลับให้จำคุกนายสนธิ ลิ้มทองกุล อดีตแกนนำพันธมิตร 2 ปี ฐานหมิ่นเบื้องสูงว่า โดยหลักของกฎหมายนั้น ต้องดูที่เจตนาเป็นสำคัญ การที่คำพิพากษาบอกว่า นายสนธิเอาคำพูด ดา ตอร์ปิโด มาพูดต่อก็เป็นความผิดแล้ว จะหยิบยกว่าไม่มีเจตนาไม่ได้ จะเห็นว่านายสนธิทำหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 70 บุคคลมีหน้าที่พิทักษ์รักษาไว้ซึ่งชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ แต่ศาลอุทธรณ์ไม่ดูที่เจตนาเลย
"คดีนี้ มันมีขบวนการเอานายสนธิเข้าคุกให้ได้ เพื่อต่อรองกับพันธมิตรฯ อย่าคัดค้านการแก้มาตรา 112 โดยจะฎีกาคำพิพากษานี้ ภายใน 30 วัน และมั่นใจว่า ศาลฎีกาจะยกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์และเห็นด้วยกับคำพิพากษาศาลชั้นต้น เพราะการพูดของ ดา ตอร์ปิโดกับนายสนธิมีเจตนาต่างกัน"นายสุวัตรกล่าว