ผู้จัดการรายวัน - แบงก์ชาติยอมรับตัวเลขเศรษฐกิจ 2 เดือนแรกไตรมาส 3 ต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้ แต่แนวโน้มเศรษฐกิจไทยไม่ทรุดตัวไปมากกว่านี้แล้ว เล็งทบทวนใหม่ ส่วนไตรมาส 3 ทั้ง 3 เดือนน่าจะทรงตัวหรือเป็นบวกเล็กน้อย ขณะที่ในเดือน ส.ค.ดุลบัญชีเดินสะพัดกลับเกินดุล 1,285 ล้านเหรียญ และต่างชาติขายบอนด์ธปท.-ภาครัฐ ทำให้มีเงินทุนไหลออกสุทธิ 4,612 ล้านเหรียญ
นายเมธี สุภาพงษ์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายนโยบายเศรษฐกิจการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ธปท.ประเมินว่าในช่วงไตรมาส 3 ของปีนี้ เศรษฐกิจไทยคาดว่าจะทรงตัวหรือเป็นบวกเล็กน้อยจากไตรมาสก่อนหน้า ซึ่งข้อมูลเศรษฐกิจไทยล่าสุดในเดือน ส.ค.ทรงตัวทั้งการบริโภค ลงทุนของภาคเอกชน และอุปสงค์ต่างประเทศดีขึ้น ทำให้ส่งออกและการผลิตอุตสาหกรรมการเกี่ยวกับการส่งออกมีสัญญาณดีขึ้น อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาตัวเลขเศรษฐกิจในเดือน ก.ค.-ส.ค.มีทิศทางต่ำกว่า ธปท.คาดการณ์ไว้ จึงมีแนวโน้มเศรษฐกิจไทยขยายตัวลดลงจากที่ ธปท.ประเมินไว้ 4.2% สำหรับปีนี้ จึงจะมีการทบทวนและประกาศตัวเลขใหม่ในเดือน ต.ค.นี้
“ในเดือนส.ค.เครื่องชี้เศรษฐกิจหลายตัวทรงตัว และระยะต่อไปมีปัจจัยเสี่ยงพอสมควร แต่มีแนวโน้มไม่ทรุดตัวกว่านี้ อย่างไรก็ตาม ขึ้นอยู่กับปัจจัยความเสี่ยงในอนาคต โดยความเสี่ยงต่างประเทศก็ยังมีปัจจัยเรื่องมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (คิวอี) แม้เศรษฐกิจยุโรปเริ่มมีเสถียรภาพดีขึ้น แต่ก็มีหลายประเทศมีปัญหาอยู่ ขณะที่ปัจจัยของไทยมีหลายเรื่องทั้งการใช้จ่ายภาครัฐที่ควรเร่งกระตุ้น ซึ่งต่ำกว่าเป้าในงบประมาณ รวมถึงเรื่องอื่นๆ ที่อาจจะกระทบความเชื่อมั่นธุรกิจได้ จึงมีหลายเรื่องรอผลการพิจารณา”
ธปท.คาดว่าการจ้างงานและรายได้ครัวเรือนทั้งในและนอกภาคเกษตรที่ยังอยู่ในเกณฑ์ที่ดีช่วยสนับสนุนการขยายตัวบริโภคระยะต่อไป แต่อัตราการขยายตัวจะต่ำกว่าเกณฑ์ปกติตามการใช้จ่ายในสินค้าคงทนเป็นสำคัญ เพราะการซื้อรถยนต์อยู่ในช่วงพักฐาน หลังจากที่เร่งซื้อไปมาก อีกทั้งภาคครัวเรือนระมัดระวังในการใช้จ่ายจากภาระหนี้ที่อยู่ในระดับสูง รวมถึงสถาบันการเงินยังเข้มงวดมาตรฐานการให้สินเชื่อแก่ครัวเรือนมากขึ้น
สำหรับแนวโน้มการลงทุนในระยะสั้นยังคงทรงใกล้เคียงกับช่วงที่ผ่านมาและเป็นการลงทุนเพื่อทดแทนแรงงานที่ขาดแคลนและปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตตามแผนเดิม สอดคล้องกับความคิดเห็นของผู้ประกอบการในโครงการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างธปท.กับภาคธุรกิจ ขณะที่ผู้ประกอบการบางส่วนอาจชะลอการลงทุนออกไป เพื่อรอประเมินสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ สะท้อนจากดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจที่มีแนวโน้มลดลงต่อเนื่อง
ในเดือน ส.ค.ดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจลดลงอยู่ที่ระดับ 47.5 ต่ำสุดในรอบ 20 เดือนตามความเชื่อมั่นที่ลดลงของผู้ประกอบการในภาคอุตสาหกรรมและภาคที่มิใช่อุตสาหกรรมจากความเชื่อมั่นต่อคำสั่งซื้อและผลประกอบการที่ลดลงเป็นสำคัญ แต่ดัชนีความเชื่อมั่น 3 เดือนข้างหน้าอยู่ที่ 51.7 ส่วนดุลบัญชีเดินสะพัดกลับมาเกินดุล 1,285 ล้านเหรียญสหรัฐ จากเดือนก่อนขาดดุล 1,639 ล้านเหรียญสหรัฐ เนื่องจากการเกินดุลการค้า 2,214 ล้านเหรียญ ขาดดุลบริการ รายได้ และเงินโอน 929 ล้านเหรียญ เพราะไม่ใช่ช่วงกำไรหรือเงินปันผลกลับ ขณะที่ในเดือน ส.ค.มีเงินทุนไหลออกสุทธิ 4,612 ล้านเหรียญ ปัจจัยสำคัญเกิดจากต่างชาติขายพันธบัตร ธปท. 2,300 ล้านเหรียญ ขายพันธบัตรภาครัฐ 700 ล้านเหรียญ อีกทั้งมีการขายหุ้นตลาดหลักทรัพย์ออกไป ทำให้ดุลการชำระเงินขาดดุล 3,435 ล้านเหรียญ เป็นผลจาก ธปท.เข้าไปดูแลเสถียรภาพค่าเงินช่วงเงินทุนไหลออก
"เงินทุนไหลเข้ายังคงมีปัจจัยที่เป็นแรงดันจากภายนอกประเทศที่มีความไม่แน่นอนอยู่ อาทิ เรื่องมาตรการคิวอี ซึ่งตลาดตีความยากต่อความคิดเห็นกรรมการเฟดแต่ละท่าน ขณะเดียวกันปัจจัยในประเทศกลับมาดีขึ้นอาจจะดึงดูดให้เงินทุนไหลเข้ามาได้" นายเมธีกล่าว.
นายเมธี สุภาพงษ์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายนโยบายเศรษฐกิจการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ธปท.ประเมินว่าในช่วงไตรมาส 3 ของปีนี้ เศรษฐกิจไทยคาดว่าจะทรงตัวหรือเป็นบวกเล็กน้อยจากไตรมาสก่อนหน้า ซึ่งข้อมูลเศรษฐกิจไทยล่าสุดในเดือน ส.ค.ทรงตัวทั้งการบริโภค ลงทุนของภาคเอกชน และอุปสงค์ต่างประเทศดีขึ้น ทำให้ส่งออกและการผลิตอุตสาหกรรมการเกี่ยวกับการส่งออกมีสัญญาณดีขึ้น อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาตัวเลขเศรษฐกิจในเดือน ก.ค.-ส.ค.มีทิศทางต่ำกว่า ธปท.คาดการณ์ไว้ จึงมีแนวโน้มเศรษฐกิจไทยขยายตัวลดลงจากที่ ธปท.ประเมินไว้ 4.2% สำหรับปีนี้ จึงจะมีการทบทวนและประกาศตัวเลขใหม่ในเดือน ต.ค.นี้
“ในเดือนส.ค.เครื่องชี้เศรษฐกิจหลายตัวทรงตัว และระยะต่อไปมีปัจจัยเสี่ยงพอสมควร แต่มีแนวโน้มไม่ทรุดตัวกว่านี้ อย่างไรก็ตาม ขึ้นอยู่กับปัจจัยความเสี่ยงในอนาคต โดยความเสี่ยงต่างประเทศก็ยังมีปัจจัยเรื่องมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (คิวอี) แม้เศรษฐกิจยุโรปเริ่มมีเสถียรภาพดีขึ้น แต่ก็มีหลายประเทศมีปัญหาอยู่ ขณะที่ปัจจัยของไทยมีหลายเรื่องทั้งการใช้จ่ายภาครัฐที่ควรเร่งกระตุ้น ซึ่งต่ำกว่าเป้าในงบประมาณ รวมถึงเรื่องอื่นๆ ที่อาจจะกระทบความเชื่อมั่นธุรกิจได้ จึงมีหลายเรื่องรอผลการพิจารณา”
ธปท.คาดว่าการจ้างงานและรายได้ครัวเรือนทั้งในและนอกภาคเกษตรที่ยังอยู่ในเกณฑ์ที่ดีช่วยสนับสนุนการขยายตัวบริโภคระยะต่อไป แต่อัตราการขยายตัวจะต่ำกว่าเกณฑ์ปกติตามการใช้จ่ายในสินค้าคงทนเป็นสำคัญ เพราะการซื้อรถยนต์อยู่ในช่วงพักฐาน หลังจากที่เร่งซื้อไปมาก อีกทั้งภาคครัวเรือนระมัดระวังในการใช้จ่ายจากภาระหนี้ที่อยู่ในระดับสูง รวมถึงสถาบันการเงินยังเข้มงวดมาตรฐานการให้สินเชื่อแก่ครัวเรือนมากขึ้น
สำหรับแนวโน้มการลงทุนในระยะสั้นยังคงทรงใกล้เคียงกับช่วงที่ผ่านมาและเป็นการลงทุนเพื่อทดแทนแรงงานที่ขาดแคลนและปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตตามแผนเดิม สอดคล้องกับความคิดเห็นของผู้ประกอบการในโครงการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างธปท.กับภาคธุรกิจ ขณะที่ผู้ประกอบการบางส่วนอาจชะลอการลงทุนออกไป เพื่อรอประเมินสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ สะท้อนจากดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจที่มีแนวโน้มลดลงต่อเนื่อง
ในเดือน ส.ค.ดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจลดลงอยู่ที่ระดับ 47.5 ต่ำสุดในรอบ 20 เดือนตามความเชื่อมั่นที่ลดลงของผู้ประกอบการในภาคอุตสาหกรรมและภาคที่มิใช่อุตสาหกรรมจากความเชื่อมั่นต่อคำสั่งซื้อและผลประกอบการที่ลดลงเป็นสำคัญ แต่ดัชนีความเชื่อมั่น 3 เดือนข้างหน้าอยู่ที่ 51.7 ส่วนดุลบัญชีเดินสะพัดกลับมาเกินดุล 1,285 ล้านเหรียญสหรัฐ จากเดือนก่อนขาดดุล 1,639 ล้านเหรียญสหรัฐ เนื่องจากการเกินดุลการค้า 2,214 ล้านเหรียญ ขาดดุลบริการ รายได้ และเงินโอน 929 ล้านเหรียญ เพราะไม่ใช่ช่วงกำไรหรือเงินปันผลกลับ ขณะที่ในเดือน ส.ค.มีเงินทุนไหลออกสุทธิ 4,612 ล้านเหรียญ ปัจจัยสำคัญเกิดจากต่างชาติขายพันธบัตร ธปท. 2,300 ล้านเหรียญ ขายพันธบัตรภาครัฐ 700 ล้านเหรียญ อีกทั้งมีการขายหุ้นตลาดหลักทรัพย์ออกไป ทำให้ดุลการชำระเงินขาดดุล 3,435 ล้านเหรียญ เป็นผลจาก ธปท.เข้าไปดูแลเสถียรภาพค่าเงินช่วงเงินทุนไหลออก
"เงินทุนไหลเข้ายังคงมีปัจจัยที่เป็นแรงดันจากภายนอกประเทศที่มีความไม่แน่นอนอยู่ อาทิ เรื่องมาตรการคิวอี ซึ่งตลาดตีความยากต่อความคิดเห็นกรรมการเฟดแต่ละท่าน ขณะเดียวกันปัจจัยในประเทศกลับมาดีขึ้นอาจจะดึงดูดให้เงินทุนไหลเข้ามาได้" นายเมธีกล่าว.