ASTVผู้จัดการรายวัน - แบงก์ชาติยอมรับต้องปรับลดประมาณการเศรษฐกิจในการประชุม กนง.วันที่ 16 ต.ค.นี้ ส่วนอัตราเงินเฟ้อรอดูอีกสักระยะ เหตุปัจจัยบวกและลบเพียบทั้งดีมานด์แผ่ว ขณะที่ต้นทุนและคนส่วนใหญ่คาดการณ์สินค้าแพงอยู่ มั่นใจเศรษฐกิจไทยฟื้นตัวชัดเจนในไตรมาส 4 จับตาพิเศษสถานการณ์ในซีเรียห่วงความขัดแย้งประเทศมหาอำนาจจะส่งผลกระทบทั่วโลก
นายเมธี สุภาพงษ์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายนโยบายเศรษฐกิจการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า เศรษฐกิจไทยในปีนิ้น่าจะต่ำกว่าประมาณการเดิม 4.2% เพราะการประชุม กนง.เมื่อวันที่ 21 ส.ค.ที่ผ่านมา ตัวเลขเศรษฐกิจหลายตัวช่วงไตรมาส 2 ยังไม่ประกาศออก ดังนั้นน้ำหนักการปรับประมาณการเศรษฐกิจครั้งนี้ส่วนใหญ่เกิดจากการใช้จ่ายและการส่งออกลดลง ส่วนในแง่ของอัตราเงินเฟ้อมีโอกาสปรับขึ้นหรือลงได้ โดยขณะนี้ปัจจัยหนึ่งด้านดีมานส์อาจจะแผ่วลง อีกด้านหนึ่งต้นทุนเพิ่มขึ้นและคนส่วนใหญ่คาดการณ์เรื่องราคาสินค้าเพิ่มขึ้น จึงต้องติดตามดูอีกระยะหนึ่งก่อน
“ตอนนี้ภาคส่งออกเริ่มดีขึ้นมาบ้าง เพราะหลายประเทศในเอเชียเริ่มมีสัญญาณดีขึ้น โดยเฉพาะประเทศจีน ขณะเดียวกันการส่งออกสุทธิไม่เยอะ เพราะผู้ส่งออกบางส่วนก็มีการนำเข้าสินค้าเข้ามาด้วย ส่วนเรื่องโครงการลงทุนขนาดใหญ่ของภาครัฐ ตามปกติเราก็ไม่ได้ใส่เยอะในประมาณการเศรษฐกิจอยู่แล้ว จึงไม่ได้มีผลต่อการปรับประมาณการตัวเลขครั้งนี้ ดังนั้นตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) และการส่งออกมีแนวโน้มต้องปรับลงแน่ๆ ในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) วันที่ 16 ต.ค.นี้”
ธปท.ยังคงยืนยันว่าตัวเลขเศรษฐกิจไทยในไตรมาส 3 เทียบกับไตรมาส 2 ของปีนี้น่าจะปรับตัวดีขึ้น และจะเริ่มรีบาวด์ชัดเจนในช่วงไตรมาส 4 ซึ่งไม่ใช่เรื่องของฐาน แต่เป็นผลของประเทศเศรษฐกิจคู่ค้าฟื้นตัวมากขึ้น ทำให้ตัวเลขเศรษฐกิจปีนี้เมื่อเทียบกับระเดียวกันปีก่อนยังไม่ได้ต่ำ เมื่อเทียบไตรมาสต่อไตรมาสลดลงบ้าง ส่วนเหตุการณ์ความไม่สงบในซีเรียมีผลต่อราคาน้ำมันเพิ่มขึ้นบ้าง แต่ตอนนี้เริ่มลดลง อย่างไรก็ตาม คาดว่า 2 ประเทศขนาดใหญ่คงจะไม่สู้รบกัน เพราะผลกระทบจะรุนแรง ธปท.ก็ต้องประเมินเศรษฐกิจใหม่
**ห่วงสถานการณ์ซีเรียกระทบทั่วโลก**
ด้านนายปฤษันต์ จันทร์หอม ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ ธปท. กล่าวว่า สิ่งที่ต้องจับตาพิเศษในช่วงนี้ คือ เหตุการณ์ในประเทศซีเรีย เพราะซีเรียอยู่ในตะวันออกกลางที่เป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญและประเทศมหาอำนาจต่างจับตาดูไม่ว่าจะเป็นรัสเซีย สหรัฐ หรือประเทศอื่นๆ ถ้าเกิดความขัดแย้งเกิดขึ้นของประเทศมหาอำนาจด้วยกันก็จะส่งผลกระทบทั่วโลก อย่างไรก็ตาม มองว่าประเด็นนี้คงไม่ถึงขนาดกลายเป็นสงครามเย็น แต่อาจจะส่งผลให้การเมือง การค้าโลกมีบรรยากาศไม่ดีนัก จึงต้องจับตาอย่างใกล้ชิด
นอกจากนี้ ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) น่าจะมีการปรับลดมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (คิวอี) ในการประชุมวันที่ 17-18 ก.ย.นี้ แต่ตลาดการเงินโลกส่วนใหญ่คิดว่าปริมาณไม่มาก ฉะนั้น หากเฟดมีการลดคิวอีไม่เยอะก็จะส่งผลต่อตลาดการเงินโลกและตลาดการเงินไทยไม่มาก เนื่องจากตลาดรับรู้ไปแล้วระดับหนึ่งและเงินทุนไหลออกไปบ้างแล้ว อีกทั้ง ธปท.เองก็มีการเตรียมความพร้อมรับมือกับสถานการณ์ต่างๆ ไว้แล้ว.
นายเมธี สุภาพงษ์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายนโยบายเศรษฐกิจการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า เศรษฐกิจไทยในปีนิ้น่าจะต่ำกว่าประมาณการเดิม 4.2% เพราะการประชุม กนง.เมื่อวันที่ 21 ส.ค.ที่ผ่านมา ตัวเลขเศรษฐกิจหลายตัวช่วงไตรมาส 2 ยังไม่ประกาศออก ดังนั้นน้ำหนักการปรับประมาณการเศรษฐกิจครั้งนี้ส่วนใหญ่เกิดจากการใช้จ่ายและการส่งออกลดลง ส่วนในแง่ของอัตราเงินเฟ้อมีโอกาสปรับขึ้นหรือลงได้ โดยขณะนี้ปัจจัยหนึ่งด้านดีมานส์อาจจะแผ่วลง อีกด้านหนึ่งต้นทุนเพิ่มขึ้นและคนส่วนใหญ่คาดการณ์เรื่องราคาสินค้าเพิ่มขึ้น จึงต้องติดตามดูอีกระยะหนึ่งก่อน
“ตอนนี้ภาคส่งออกเริ่มดีขึ้นมาบ้าง เพราะหลายประเทศในเอเชียเริ่มมีสัญญาณดีขึ้น โดยเฉพาะประเทศจีน ขณะเดียวกันการส่งออกสุทธิไม่เยอะ เพราะผู้ส่งออกบางส่วนก็มีการนำเข้าสินค้าเข้ามาด้วย ส่วนเรื่องโครงการลงทุนขนาดใหญ่ของภาครัฐ ตามปกติเราก็ไม่ได้ใส่เยอะในประมาณการเศรษฐกิจอยู่แล้ว จึงไม่ได้มีผลต่อการปรับประมาณการตัวเลขครั้งนี้ ดังนั้นตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) และการส่งออกมีแนวโน้มต้องปรับลงแน่ๆ ในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) วันที่ 16 ต.ค.นี้”
ธปท.ยังคงยืนยันว่าตัวเลขเศรษฐกิจไทยในไตรมาส 3 เทียบกับไตรมาส 2 ของปีนี้น่าจะปรับตัวดีขึ้น และจะเริ่มรีบาวด์ชัดเจนในช่วงไตรมาส 4 ซึ่งไม่ใช่เรื่องของฐาน แต่เป็นผลของประเทศเศรษฐกิจคู่ค้าฟื้นตัวมากขึ้น ทำให้ตัวเลขเศรษฐกิจปีนี้เมื่อเทียบกับระเดียวกันปีก่อนยังไม่ได้ต่ำ เมื่อเทียบไตรมาสต่อไตรมาสลดลงบ้าง ส่วนเหตุการณ์ความไม่สงบในซีเรียมีผลต่อราคาน้ำมันเพิ่มขึ้นบ้าง แต่ตอนนี้เริ่มลดลง อย่างไรก็ตาม คาดว่า 2 ประเทศขนาดใหญ่คงจะไม่สู้รบกัน เพราะผลกระทบจะรุนแรง ธปท.ก็ต้องประเมินเศรษฐกิจใหม่
**ห่วงสถานการณ์ซีเรียกระทบทั่วโลก**
ด้านนายปฤษันต์ จันทร์หอม ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ ธปท. กล่าวว่า สิ่งที่ต้องจับตาพิเศษในช่วงนี้ คือ เหตุการณ์ในประเทศซีเรีย เพราะซีเรียอยู่ในตะวันออกกลางที่เป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญและประเทศมหาอำนาจต่างจับตาดูไม่ว่าจะเป็นรัสเซีย สหรัฐ หรือประเทศอื่นๆ ถ้าเกิดความขัดแย้งเกิดขึ้นของประเทศมหาอำนาจด้วยกันก็จะส่งผลกระทบทั่วโลก อย่างไรก็ตาม มองว่าประเด็นนี้คงไม่ถึงขนาดกลายเป็นสงครามเย็น แต่อาจจะส่งผลให้การเมือง การค้าโลกมีบรรยากาศไม่ดีนัก จึงต้องจับตาอย่างใกล้ชิด
นอกจากนี้ ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) น่าจะมีการปรับลดมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (คิวอี) ในการประชุมวันที่ 17-18 ก.ย.นี้ แต่ตลาดการเงินโลกส่วนใหญ่คิดว่าปริมาณไม่มาก ฉะนั้น หากเฟดมีการลดคิวอีไม่เยอะก็จะส่งผลต่อตลาดการเงินโลกและตลาดการเงินไทยไม่มาก เนื่องจากตลาดรับรู้ไปแล้วระดับหนึ่งและเงินทุนไหลออกไปบ้างแล้ว อีกทั้ง ธปท.เองก็มีการเตรียมความพร้อมรับมือกับสถานการณ์ต่างๆ ไว้แล้ว.