ทุกข์ซ้ำคนไทย น้ำท่วมไม่พอ สารพัดผักแพงกระฉูด ผักกาดขาวโลละ 35 ผักกาดหอม 60 ต้นหอม 70 ผักชี 85 แถมนมจ่อขึ้นอีก หลังมิลล์บอร์ดกำลังให้ปรับเพิ่มราคาซื้อน้ำนมดิบ "ชวนนท์" ประจาน 2 ปีรัฐล้มเหลว แก๊สหุงต้มขยับราคาต่อเนื่อง เดือนหน้าขึ้น 15 บาทต่อถัง 15 กก. ชี้ "ยิ่งลักษณ์" รัฐบาลอภิมหาเศรษฐี ทำสำเร็จเรื่องเดียวให้คนรวยรวยขึ้น จากการลดภาษีนิติบุคคล 30% เป็น 20 % แต่ออกนโยบายกระทืบคนจน แม้แต่เงินเดือนปริญญาตรี 1.5 หมื่นบาท ก็ไม่สำเร็จ
รายงานข่าวจากกระทรวงพาณิชย์ แจ้งว่า ขณะนี้ราคาผักหลายประเภทในช่วงปลายเดือนก.ย.2556 ได้ปรับราคาสูงขึ้นจากเดือนส.ค.2556 อย่างมาก เนื่องจากได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมในพื้นที่เพาะปลูกสำคัญ ทำให้ผักเน่าหรือช้ำ ผลผลิตออกสู่ตลาดได้น้อยลง ส่งผลให้ราคาปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนส่งผลกระทบต่อทั้งตัวเกษตรผู้ปลูกผัก และต่อผู้บริโภคที่ต้องซื้อผักในราคาที่แพงขึ้น
ทั้งนี้ จากการสำรวจภาวะราคา พบว่า ผักคะน้าเล็ก ราคาขยับขึ้นมาอยู่ที่กิโลกรัม (กก.) ละ 25 บาท เพิ่มขึ้น 7 บาท กะหล่ำปลีกก.ละ 25 บาท เพิ่มขึ้น 11 บาท ผักกาดขาว กก.ละ 35 บาท เพิ่มขึ้น 15 บาท ผักกาดหอม กก.ละ 60 บาท เพิ่มขึ้น 32 บาท ต้นหอม กก.ละ 70 บาท เพิ่มขึ้น 40 บาท ผักชี กก.ละ 85 บาท เพิ่มขึ้น 45 บาท
ส่วนสินค้าเนื้อสัตว์ ราคาไม่เปลี่ยนแปลงมากนัก และบางรายการมีราคาลดลง เช่น ไข่ไก่เบอร์ 3 อยู่ที่ 4 บาทต่อฟอง เพิ่มจากเดือนก่อน 20 สต./ฟอง เนื้อวัวสามชั้นกก.ละ 180 บาท ไม่เปลี่ยนแปลง เนื้อสันในวัว (ไม่แต่ง) กก.ละ 270 บาท เพิ่มขึ้น 20 บาท เนื้อหมูสามชั้น กก.ละ 135 บาท ไม่เปลี่ยนแปลง ไก่ตัว กก.ละ 70 บาท ไม่เปลี่ยนแปลง เนื้อไก่น่องติดสะโพก กก.ละ 65-70 บาท ไม่เปลี่ยนแปลง
สำหรับปลาช่อน กก.ละ 160 บาท ลดลง 10 บาท ปลานิล กก.ละ 55 บาท ไม่เปลี่ยนแปลง ปลาทับทิม กก.ละ 100 บาท ไม่เปลี่ยนแปลง ปูม้าเป็น กก.ละ 140-320 บาท ลดลง 20-100 บาท ปูทะเลเป็น กก.ละ 400 บาท ลดลง 50 บาท ปลาหมึกหอม กก.ละ 160 บาท ไม่เปลี่ยนแปลง และกุ้งขาว กก.ละ 220 บาท ไม่เปลี่ยนแปลง
รายงานข่าวแจ้งอีกว่า คณะกรรมการโคนมและผลิตภัณฑ์นม (มิลล์บอร์ด) วันที่ 30 ก.ย.นี้ จะมีการพิจารณาปรับราคาน้ำนมดิบอีกลิตรละ 1.31 บาท ตามที่เกษตรกรร้องขอเพื่อชดเชยต้นทุนที่สูงขึ้น ก่อนเสนอขอความเห็นชอบที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติ ซึ่งจะทำให้ราคารับซื้อน้ำนมดิบเพิ่มขึ้นจากเดิมเฉลี่ยลิตรละ 18.15-19.20 บาท มาอยู่เฉลี่ยลิตรละ 19.50-20 บาท และจากการปรับขึ้นราคาซื้อน้ำนมดิบดังกล่าว จะส่งผลให้ผู้ผลิตนมยื่นขอปรับเพิ่มขึ้นแน่
น.ส.วิบูลย์ลักษณ์ ร่วมรักษ์ อธิบดีกรมการค้าภายใน กล่าวว่า ผักบางประเภทมีราคาสูงขึ้นจริง เช่น ผักกาดหอม ผักกาดขาว ต้นหอม และผักชี เพราะผลผลิตได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม ก็ต้องเห็นใจเกษตรกรเช่นกัน เนื่องจากผักจำนวนมากเสียหายและเน่า ทำให้ได้ผลผลิตน้อยลง แต่ผู้บริโภคก็สามารถมีทางเลือกในการบริโภคผักประเภทอื่นๆ ทดแทน เช่น ผักบุ้ง ที่ราคายังอยู่ในระดับปกติ
นางศรีรัตน์ รัษฐปานะ อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ และว่าที่ปลัดกระทรวงพาณิชย์คนใหม่ กล่าวว่า ในเดือนต.ค.2556 จะหารือร่วมกับข้าราชการกระทรวงพาณิชย์ เพื่อหามาตรการใหม่ๆ ในการช่วยเหลือค่าครองชีพให้กับประชาชน นอกเหนือจากการโครงการธงฟ้า และการขอความร่วมมือให้ผู้ประกอบการตรึงราคาสินค้า เพื่อให้เกิดความหลากหลายในการช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนจากปัญหาค่าครองชีพ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่ตลาดค้าส่งผักเทศบาลเมืองวารินชำราบ จ.อุบลราชธานี ผักมีราคาแพงขึ้น 30-50% บางชนิดราคาสูงขึ้นเกือบเท่าตัว โดยผู้ค้าผักระบุว่า ราคาผักปรับตัวขึ้นตั้งแต่น้ำท่วมเมื่อกลางเดือนที่ผ่านมา โดยผักกาดขาว คะน้า มะเขือเทศ ปรับตัวตัวจากถุงบรรจุ 5 กิโลกรัม ราคา 70-80 บาท เป็น 170-190 บาท ส่วนผักบุ้ง ต้นหอม ขนาดบรรจุเดียวกันจาก 70-80 บาท เป็น 120-140 บาท สาเหตุเพราะพื้นที่ปลูกเสียหาย ต้องสั่งผักมาจากภาคกลาง ทำให้มีค่าขนส่งเพิ่มขึ้น และแนวโน้มปรับตัวขึ้นจนกว่าสถานการณ์น้ำท่วมจะดีขึ้น
***ประจาน 2 ปี รัฐล้มเหลวทุกด้าน
วานนี้ (29 ก.ย.) นายชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต โฆษกพรรคประชาธิปตย์ ได้แถลงข่าวประนาม การบริหารราชการของพรรคเพื่อไทย ว่า ล้มเหลวในการบริหารราชการแผ่นดินทุกระดับ สถานการณ์น้ำสูง แม้จะไม่เท่าปีที่ผ่านมา แต่อยู่ในระดับที่น่าเป็นห่วง และจากการลงพื้นที่ปทุมธานี ไม่พบความเปลี่ยนแปลงในการแก้ไขที่แตกต่างจากปี 2554 ทั้งที่มีการออก พ.ร.ก.เงินกู้ 3.5 แสนล้านบาท ใช้ไปแล้ว 1 หมื่นล้าน แต่โครงการที่โฆษณากับประชาชน ไม่ได้ทำ เพราะรัฐบาลทำผิดกฎหมาย จนทำให้เกิดความเสียหาย รัฐบาลมีอำนาจ มีเงิน แต่ขาดธรรมาภิบาล ทำให้เกิดความล้มเหลวในการบริหารราชการแผ่นดิน ส่วนกู้เงิน 2 ล้านล้าน หากผ่านไปได้ ก็ซ้ำรอยจะมีจุดจบไม่ต่างกับ 3.5 แสนล้าน
นายชวนนท์ ยังกล่าวถึงการขึ้นราคาแก๊สอีก 50 สตางค์ เป็นครั้งที่สอง ในเดือนตุลาคมที่จะถึงนี้ ว่า จะทำให้ราคาแก๊สสูงขึ้นเป็น 15 บาท ต่อแก๊สถังละ 15 กิโลกรัม ในขณะที่มีคนไปขึ้นทะเบียน ขอรับการอุดหนุนจากรัฐ ให้ซื้อในราคาเดิมเป็นจำนวนน้อย โดยนายพงษ์ศักดิ์ รักตพงษ์ไพศาล รมว.พลังงาน อ้างว่าเป็นเพราะไม่เดือดร้อนจึงมีคนลงทะเบียนน้อยนั้น ถือเป็นวิธีคิดที่แย่มาก รับไม่ได้ เพราะประชาชน เข้าไม่ถึงการช่วยเหลือเนื่องจากกฎเกณฑ์ยาก และหาบเร่แผงลอย กลัวจะถูกเก็บภาษีย้อนหลัง ถ้ารมว.พลังงานไม่เปลี่ยนทัศนคติ ก็ขอให้ไปสำรวจตลาดว่า ประชาชนคิดไปเองหรือไม่ว่าของแพง เพราะกำลังปรับราคาแก๊ส ขึ้นทุกเดือน
นอกจากนี้ ความล้มเหลวสูงสุดคือ โครงการประชานิยม เช่น เงินเดือนปริญญาตรี หมื่นห้าพันบาท ซึ่งอัตราค่าจ้าง สำหรับพนักงานกระทรวงสาธารณสุข กำหนด ปริญญาตรีหรือ เทียบเท่าที่ 12,300 บาท ไม่ถึง 15,000 บาท นี่คือผลเสียของประชานิยม เช่นเดียวกับการหาเสียง ลาก่อนน้ำท่วมน้ำแล้ง ก็ทั้งท่วมและแล้ง ออกนโยบายกระชากค่าครองชีพ ขึ้นค่าแก๊ส ออกนโยบาย 300 บาท ผู้ประกอบการปิดกิจการ แรงงานถูกลอยแพ จึงขอท้าให้นำนโยบายมากางดู และกล้าพูดว่ามีนโยบายใดประสบความสำเร็จบ้าง เพราะล้มเหลว เจ๊งทุกตัว จะมีเพียงนโยบายเดียว ที่พอจะอ้างว่าสำเร็จคือ การลดภาษีนิติบุคคลจาก 30% ลงเหลือ 20 % เพราะเป็นการช่วยคนรวยได้สำเร็จ บริษัทข้ามชาติได้ประโยชน์ ขณะที่รายได้เข้าประเทศสูญไปกว่า 8 หมื่นล้านบาท แต่นโยบายเพื่อคนจน รัฐบาลกลับกระทืบซ้ำเติม ไม่ใช่รัฐบาลของคนจน เป็นรัฐบาลอภิมหาเศรษฐี ที่เข้าสู่การเมืองเพื่อแสวงหาประโยชน์ให้กับตัวเอง
ด้าน น.ส.มัลลิกา บุญมีตระกูล รองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงการแก้ปัญหาเรื่องค่าครองชีพ พบว่าไม่ได้เป็นไปตามที่ได้แถลงนโยบายต่อรัฐสภา เพราะไม่มีรูปธรรมที่ชัดเจนว่า มีผลงานอะไรบ้าง แต่สิ่งที่ประชาชนเห็น 2 ปี ของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ที่เกิดเป็นรูปธรรม คือ แม่ค้าประกาศขึ้นราคาเมนูละ 10 บาท ร้านก๋วยเตี๋ยวเป็ดรสเด็ด ขึ้นราคา 5 บาท แถลงจากแม่บ้านแฟลตตำรวจในกรุงเทพฯ “ผลกระทบค่าครองชีพ จึงต้องขึ้นราคา เชิญชวนข้าราชการตำรวจ ทำโครงการสวัสดิการช่วยเหลือกัน”
นอกจากนี้ ยังพบว่ามีการขึ้นราคาสินค้าทั่วประเทศ เป็นผลงานที่ประชาชนจับต้องได้ และเดือดร้อนด้วยตัวเอง จึงขอให้นายกฯ หยุดโกหก หยุดทำร้ายประชาชน บริหารงานให้มีประสิทธิภาพได้แล้ว เพราะขณะนี้ ราคาพลังงานสูงขึ้นทุกชนิด ตรงกันข้ามจากที่นายกรัฐมนตรี ประกาศไว้คือมากกว่าที่สัญญา 7-8 บาท รวมถึงการขึ้นราคาแก๊สทั้งแอลพีจีและเอ็นจีวีหลายครั้ง สรุปคือสองปีรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ไร้สติปัญญา ไร้ประสิทธิภาพ และไร้ค่า โดยสิ้นเชิง เพราะแก้ปัญหาให้กับประชาชนไม่ได้เลย มีแต่การซ้ำเติมปัญหาให้กับประชาชน.
รายงานข่าวจากกระทรวงพาณิชย์ แจ้งว่า ขณะนี้ราคาผักหลายประเภทในช่วงปลายเดือนก.ย.2556 ได้ปรับราคาสูงขึ้นจากเดือนส.ค.2556 อย่างมาก เนื่องจากได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมในพื้นที่เพาะปลูกสำคัญ ทำให้ผักเน่าหรือช้ำ ผลผลิตออกสู่ตลาดได้น้อยลง ส่งผลให้ราคาปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนส่งผลกระทบต่อทั้งตัวเกษตรผู้ปลูกผัก และต่อผู้บริโภคที่ต้องซื้อผักในราคาที่แพงขึ้น
ทั้งนี้ จากการสำรวจภาวะราคา พบว่า ผักคะน้าเล็ก ราคาขยับขึ้นมาอยู่ที่กิโลกรัม (กก.) ละ 25 บาท เพิ่มขึ้น 7 บาท กะหล่ำปลีกก.ละ 25 บาท เพิ่มขึ้น 11 บาท ผักกาดขาว กก.ละ 35 บาท เพิ่มขึ้น 15 บาท ผักกาดหอม กก.ละ 60 บาท เพิ่มขึ้น 32 บาท ต้นหอม กก.ละ 70 บาท เพิ่มขึ้น 40 บาท ผักชี กก.ละ 85 บาท เพิ่มขึ้น 45 บาท
ส่วนสินค้าเนื้อสัตว์ ราคาไม่เปลี่ยนแปลงมากนัก และบางรายการมีราคาลดลง เช่น ไข่ไก่เบอร์ 3 อยู่ที่ 4 บาทต่อฟอง เพิ่มจากเดือนก่อน 20 สต./ฟอง เนื้อวัวสามชั้นกก.ละ 180 บาท ไม่เปลี่ยนแปลง เนื้อสันในวัว (ไม่แต่ง) กก.ละ 270 บาท เพิ่มขึ้น 20 บาท เนื้อหมูสามชั้น กก.ละ 135 บาท ไม่เปลี่ยนแปลง ไก่ตัว กก.ละ 70 บาท ไม่เปลี่ยนแปลง เนื้อไก่น่องติดสะโพก กก.ละ 65-70 บาท ไม่เปลี่ยนแปลง
สำหรับปลาช่อน กก.ละ 160 บาท ลดลง 10 บาท ปลานิล กก.ละ 55 บาท ไม่เปลี่ยนแปลง ปลาทับทิม กก.ละ 100 บาท ไม่เปลี่ยนแปลง ปูม้าเป็น กก.ละ 140-320 บาท ลดลง 20-100 บาท ปูทะเลเป็น กก.ละ 400 บาท ลดลง 50 บาท ปลาหมึกหอม กก.ละ 160 บาท ไม่เปลี่ยนแปลง และกุ้งขาว กก.ละ 220 บาท ไม่เปลี่ยนแปลง
รายงานข่าวแจ้งอีกว่า คณะกรรมการโคนมและผลิตภัณฑ์นม (มิลล์บอร์ด) วันที่ 30 ก.ย.นี้ จะมีการพิจารณาปรับราคาน้ำนมดิบอีกลิตรละ 1.31 บาท ตามที่เกษตรกรร้องขอเพื่อชดเชยต้นทุนที่สูงขึ้น ก่อนเสนอขอความเห็นชอบที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติ ซึ่งจะทำให้ราคารับซื้อน้ำนมดิบเพิ่มขึ้นจากเดิมเฉลี่ยลิตรละ 18.15-19.20 บาท มาอยู่เฉลี่ยลิตรละ 19.50-20 บาท และจากการปรับขึ้นราคาซื้อน้ำนมดิบดังกล่าว จะส่งผลให้ผู้ผลิตนมยื่นขอปรับเพิ่มขึ้นแน่
น.ส.วิบูลย์ลักษณ์ ร่วมรักษ์ อธิบดีกรมการค้าภายใน กล่าวว่า ผักบางประเภทมีราคาสูงขึ้นจริง เช่น ผักกาดหอม ผักกาดขาว ต้นหอม และผักชี เพราะผลผลิตได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม ก็ต้องเห็นใจเกษตรกรเช่นกัน เนื่องจากผักจำนวนมากเสียหายและเน่า ทำให้ได้ผลผลิตน้อยลง แต่ผู้บริโภคก็สามารถมีทางเลือกในการบริโภคผักประเภทอื่นๆ ทดแทน เช่น ผักบุ้ง ที่ราคายังอยู่ในระดับปกติ
นางศรีรัตน์ รัษฐปานะ อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ และว่าที่ปลัดกระทรวงพาณิชย์คนใหม่ กล่าวว่า ในเดือนต.ค.2556 จะหารือร่วมกับข้าราชการกระทรวงพาณิชย์ เพื่อหามาตรการใหม่ๆ ในการช่วยเหลือค่าครองชีพให้กับประชาชน นอกเหนือจากการโครงการธงฟ้า และการขอความร่วมมือให้ผู้ประกอบการตรึงราคาสินค้า เพื่อให้เกิดความหลากหลายในการช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนจากปัญหาค่าครองชีพ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่ตลาดค้าส่งผักเทศบาลเมืองวารินชำราบ จ.อุบลราชธานี ผักมีราคาแพงขึ้น 30-50% บางชนิดราคาสูงขึ้นเกือบเท่าตัว โดยผู้ค้าผักระบุว่า ราคาผักปรับตัวขึ้นตั้งแต่น้ำท่วมเมื่อกลางเดือนที่ผ่านมา โดยผักกาดขาว คะน้า มะเขือเทศ ปรับตัวตัวจากถุงบรรจุ 5 กิโลกรัม ราคา 70-80 บาท เป็น 170-190 บาท ส่วนผักบุ้ง ต้นหอม ขนาดบรรจุเดียวกันจาก 70-80 บาท เป็น 120-140 บาท สาเหตุเพราะพื้นที่ปลูกเสียหาย ต้องสั่งผักมาจากภาคกลาง ทำให้มีค่าขนส่งเพิ่มขึ้น และแนวโน้มปรับตัวขึ้นจนกว่าสถานการณ์น้ำท่วมจะดีขึ้น
***ประจาน 2 ปี รัฐล้มเหลวทุกด้าน
วานนี้ (29 ก.ย.) นายชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต โฆษกพรรคประชาธิปตย์ ได้แถลงข่าวประนาม การบริหารราชการของพรรคเพื่อไทย ว่า ล้มเหลวในการบริหารราชการแผ่นดินทุกระดับ สถานการณ์น้ำสูง แม้จะไม่เท่าปีที่ผ่านมา แต่อยู่ในระดับที่น่าเป็นห่วง และจากการลงพื้นที่ปทุมธานี ไม่พบความเปลี่ยนแปลงในการแก้ไขที่แตกต่างจากปี 2554 ทั้งที่มีการออก พ.ร.ก.เงินกู้ 3.5 แสนล้านบาท ใช้ไปแล้ว 1 หมื่นล้าน แต่โครงการที่โฆษณากับประชาชน ไม่ได้ทำ เพราะรัฐบาลทำผิดกฎหมาย จนทำให้เกิดความเสียหาย รัฐบาลมีอำนาจ มีเงิน แต่ขาดธรรมาภิบาล ทำให้เกิดความล้มเหลวในการบริหารราชการแผ่นดิน ส่วนกู้เงิน 2 ล้านล้าน หากผ่านไปได้ ก็ซ้ำรอยจะมีจุดจบไม่ต่างกับ 3.5 แสนล้าน
นายชวนนท์ ยังกล่าวถึงการขึ้นราคาแก๊สอีก 50 สตางค์ เป็นครั้งที่สอง ในเดือนตุลาคมที่จะถึงนี้ ว่า จะทำให้ราคาแก๊สสูงขึ้นเป็น 15 บาท ต่อแก๊สถังละ 15 กิโลกรัม ในขณะที่มีคนไปขึ้นทะเบียน ขอรับการอุดหนุนจากรัฐ ให้ซื้อในราคาเดิมเป็นจำนวนน้อย โดยนายพงษ์ศักดิ์ รักตพงษ์ไพศาล รมว.พลังงาน อ้างว่าเป็นเพราะไม่เดือดร้อนจึงมีคนลงทะเบียนน้อยนั้น ถือเป็นวิธีคิดที่แย่มาก รับไม่ได้ เพราะประชาชน เข้าไม่ถึงการช่วยเหลือเนื่องจากกฎเกณฑ์ยาก และหาบเร่แผงลอย กลัวจะถูกเก็บภาษีย้อนหลัง ถ้ารมว.พลังงานไม่เปลี่ยนทัศนคติ ก็ขอให้ไปสำรวจตลาดว่า ประชาชนคิดไปเองหรือไม่ว่าของแพง เพราะกำลังปรับราคาแก๊ส ขึ้นทุกเดือน
นอกจากนี้ ความล้มเหลวสูงสุดคือ โครงการประชานิยม เช่น เงินเดือนปริญญาตรี หมื่นห้าพันบาท ซึ่งอัตราค่าจ้าง สำหรับพนักงานกระทรวงสาธารณสุข กำหนด ปริญญาตรีหรือ เทียบเท่าที่ 12,300 บาท ไม่ถึง 15,000 บาท นี่คือผลเสียของประชานิยม เช่นเดียวกับการหาเสียง ลาก่อนน้ำท่วมน้ำแล้ง ก็ทั้งท่วมและแล้ง ออกนโยบายกระชากค่าครองชีพ ขึ้นค่าแก๊ส ออกนโยบาย 300 บาท ผู้ประกอบการปิดกิจการ แรงงานถูกลอยแพ จึงขอท้าให้นำนโยบายมากางดู และกล้าพูดว่ามีนโยบายใดประสบความสำเร็จบ้าง เพราะล้มเหลว เจ๊งทุกตัว จะมีเพียงนโยบายเดียว ที่พอจะอ้างว่าสำเร็จคือ การลดภาษีนิติบุคคลจาก 30% ลงเหลือ 20 % เพราะเป็นการช่วยคนรวยได้สำเร็จ บริษัทข้ามชาติได้ประโยชน์ ขณะที่รายได้เข้าประเทศสูญไปกว่า 8 หมื่นล้านบาท แต่นโยบายเพื่อคนจน รัฐบาลกลับกระทืบซ้ำเติม ไม่ใช่รัฐบาลของคนจน เป็นรัฐบาลอภิมหาเศรษฐี ที่เข้าสู่การเมืองเพื่อแสวงหาประโยชน์ให้กับตัวเอง
ด้าน น.ส.มัลลิกา บุญมีตระกูล รองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงการแก้ปัญหาเรื่องค่าครองชีพ พบว่าไม่ได้เป็นไปตามที่ได้แถลงนโยบายต่อรัฐสภา เพราะไม่มีรูปธรรมที่ชัดเจนว่า มีผลงานอะไรบ้าง แต่สิ่งที่ประชาชนเห็น 2 ปี ของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ที่เกิดเป็นรูปธรรม คือ แม่ค้าประกาศขึ้นราคาเมนูละ 10 บาท ร้านก๋วยเตี๋ยวเป็ดรสเด็ด ขึ้นราคา 5 บาท แถลงจากแม่บ้านแฟลตตำรวจในกรุงเทพฯ “ผลกระทบค่าครองชีพ จึงต้องขึ้นราคา เชิญชวนข้าราชการตำรวจ ทำโครงการสวัสดิการช่วยเหลือกัน”
นอกจากนี้ ยังพบว่ามีการขึ้นราคาสินค้าทั่วประเทศ เป็นผลงานที่ประชาชนจับต้องได้ และเดือดร้อนด้วยตัวเอง จึงขอให้นายกฯ หยุดโกหก หยุดทำร้ายประชาชน บริหารงานให้มีประสิทธิภาพได้แล้ว เพราะขณะนี้ ราคาพลังงานสูงขึ้นทุกชนิด ตรงกันข้ามจากที่นายกรัฐมนตรี ประกาศไว้คือมากกว่าที่สัญญา 7-8 บาท รวมถึงการขึ้นราคาแก๊สทั้งแอลพีจีและเอ็นจีวีหลายครั้ง สรุปคือสองปีรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ไร้สติปัญญา ไร้ประสิทธิภาพ และไร้ค่า โดยสิ้นเชิง เพราะแก้ปัญหาให้กับประชาชนไม่ได้เลย มีแต่การซ้ำเติมปัญหาให้กับประชาชน.