ม็อบชาวสวนยางเมืองคอนยุบเหลือ 1 พร้อมปิดถนน "ปู" ถึงไทยอ้อนอย่าปิดถนนส่ง "อดุลย์"คุมม็อบ ด้าน "ธวัช" เมินม็อบยางปิดถนนต่อรอง 120 บาท/กก. ลั่นไม่เจรจาและดำเนินคดีอาญาหมด แฉนักการเมืองฝ่ายค้านหนุนหลัง ปลุกระดมสร้างความเกลียดชังรัฐบาล จับตาม็อบอ้อยซ้ำรอยยาง เหตุราคาดิ่งเหว
ผู้สื่อข่าวรายงานความคืบหน้าการชุมนุมของกลุ่มเกษตรกรชาวสวนยางพาราและปาล์มน้ำมันที่บริเวณถนนสาย 41 ทั้งขาขึ้นและขาล่องใต้ว่า แต่เช้าวานนี้ (15 ก.ย.) ผู้ชุมนุมยังคงปักหลักชุมนุมอยู่ทั้ง 2 จุดคือ บริเวณแยกควนหนองหงษ์ ต.ควนหนองหงษ์ อ.ชะอวด และบริเวณแยกเตาปูน ต.ทุ่งโพธิ์ อ.จุฬาภรณ์ จ.นครศรีธรรมราช ซึ่งทั้ง 2 จุดอยู่ห่างกันประมาณ 10 กิโลเมตรเศษ ท่ามกลางกำลังเจ้าหน้าที่กองร้อยปราบจลาจลที่ได้ระดมกำลังจากหลายท้องที่เข้ามาประจำการยังจุดที่กำหนด และมีการตั้งด่านตรวจสกัดสิ่งของผิดกฎหมายในหลายจุดรอบพื้นที่การชุมนุม
ขณะที่การชุมนุมในจุดแยกเตาปูน เจ้าหน้าที่ได้ตั้งด่านตรวจบริเวณแยกสวนผัก เพื่อแจ้งให้ประชาชนหลีกเลี่ยงการใช้เส้นทาง ส่วนในพื้นที่นั้นกลุ่มผู้ชุมนุมได้ใช้รถยนต์บรรทุกขนาดใหญ่กว่า 10 คัน เข้าปิดกั้นการจราจรในพื้นที่ พร้อมทั้งเผาโลงศพจำลองประท้วงนายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหายางพารา
ต่อมากลุ่มเกษตรกรที่บริเวณแยกเตาปูนได้มีการประกาศยุบจุดชุมนุมไปรวมกับจุดชุมนุมบริเวณแยกควนหนองหงษ์ โดยนายยอดสุด ท่องวิถี แกนนำในจุดแยกเตาปูน ระบุว่า ได้ยื่นข้อเรียกร้องในนามผู้ชุมนุม 6 ประเด็น คือ 1.ให้ประกันราคายางแผ่นไม่ต่ำกว่า 100 บาทต่อกิโลกรัม เศษยางไม่ต่ำกว่า 50 บาทต่อกิโลกรัม 2.ประกันราคาปาล์มน้ำมันไม่ต่ำกว่า 6 บาทต่อกิโลกรัม 3.รัฐต้องมีคำตอบให้ได้ภายใน 7 วัน 4.หากไม่มีคำตอบภายใน 7 วัน จะร่วมกันยกระดับการชุมนุมกับนักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหง ไปจนถึงทำเนียบรัฐบาล 5.ต้องไม่เอาผิดกับผู้ชุมนุม และ 6.รัฐบาลต้องชดเชยสินไหมให้แก่ผู้ที่ได้รับความเสียหายจากการสลายการชุมนุม ทั้งเจ้าหน้าที่ของรัฐเองและผู้ชุมนุม
ขณะที่นายยอดชาย ดีเจริญ ผู้ประสานงานเครือข่ายชาวสวนยางพารา ได้ออกแถลงการณ์ฉบับที่ 1 ว่า เนื่องจากก่อนหน้านี้ได้มีการชุมนุมปิดถนนบริเวณบ้านเตาตูลและแยกควนหนองหงษ์ อ.ชะอวด เรียกร้องราคายางพารา แต่ไม่มีการตอบรับใดๆ ที่เป็นน่าพอใจจากรัฐบาล จึงได้มีการปิดถนนที่บริเวณบ้านเตาปูนอีกครั้ง เพื่อยื่นข้อเสนอดังนี้ 1.ราคาแผ่นดิบ 120 บาท 2.ปาล์มทะลาย 7 บาท 3.ให้นายกรัฐมนตรีเข้าประชุมสภาทุกครั้ง หากไม่ได้ตามข้อเรียกร้องจะปิดถนนปักหลักชุมนุมต่อไปเรื่อยๆ โดยจะไม่มีการเจรจาที่ไหนโดยเด็ดขาด ถ้ามีการเจรจาให้มาเจรจาต่อหน้าผู้ชุมนุมที่ตรงนี้
ด้าน พ.ต.อ.สุทัศน์ ชาญสวัสดิ์ รอง ผบก.ภ.จว.นครศรีธรรมราช ได้สั่งการให้ตำรวจในแต่ละท้องที่ที่มีการชุมนุมประสานกับเจ้าพนักงานแขวงการทาง เพื่อเร่งรัดให้มีการเข้าแจ้งความร้องทุกข์กรณีปิดกั้นการจราจร เพื่อดำเนินคดีต่อกลุ่มผู้ชุมนุม ขณะเดียวกันทางศูนย์ปฏิบัติการร่วมจังหวัดนครศรีธรรมราช พยายามที่จะประสานกับกลุ่มผู้ชุมนุมเพื่อเจรจาหาทางออกแต่ยังไม่สามารถประสานกันได้
นายวิโรจน์ จิวะรังสรรค์ ผวจ.นครศรีธรรมราช กล่าวว่า ได้สั่งการให้รอง ผบก.ภ.จว.นครศรีธรรมราช ประเมินสถานการณ์ในพื้นที่ว่า มีความรุนแรงมากน้อยขนาดไหน อีกทั้งจะยืดเยื้อยาวนานหรือไม่ อย่างไรก็ตาม ในฐานะฝ่ายปกครองต้องดำเนินการตามขั้นตอน ใช้หลักการเจราจา โดยได้เจราจาสำเร็จไปแล้ว 1 จุดที่แยกควนหนองหงษ์ แต่ในบริเวณบ้านเตาปูนยังเจราจาไม่สำเร็จ
เวลา 12.00 น.ที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม ให้สัมภาษณ์ภายหลังเดินทางกลับจากการเยือนยุโรป ถึงปัญหาเกษตรกรชาวสวนยางภาคใต้เสียงแตกปิดถนนที่ จ.นครศรีธรรมราชว่า ได้รับรายงานความคืบหน้าการแก้ปัญหาราคายางพาราตั้งแต่อยู่ต่างประเทศ การชุมนุมสามารถทำได้แต่ขอให้อยู่ภายใต้กรอบของกฎหมาย แต่อยากขอร้องอย่าปิดถนน เพราะไม่ต้องการให้เกิดปัญหาการจราจรติดขัด เพราะยิ่งเป็นการซ้ำเติมเศรษฐกิจประเทศ ซึ่งได้ย้ำ พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว ผบ.ตร.ไปแล้วว่า ให้ขอความร่วมมือควบคุมการชุมนุมให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย
"ขณะที่ภาพรวมเกษตรกรชาวสวนยางส่วนใหญ่พอใจการช่วยเหลือของรัฐบาลแล้ว โดยจะยึดตามข้อสรุปที่ พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก รองนายกรัฐมนตรี ในฐานประธานคณะกรรมการแก้ไขปัญหายางพาราลงไปเจรจาคือช่วยเหลือให้ราคายางอยู่ที่ 90 บาทต่อกิโลกรัม และยืนตามคณะกรรมการนโยบายยางธรรมชาติ (กนย.)" เมื่อถามว่า จะมีการดำเนินการกับการชุมนุมที่ผิดกฎหมายอย่างไร น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าวว่า ให้เป็นหน้าที่เจ้าหน้าที่ตำรวจว่าไปตามขั้นตอนของกฎหมาย
**"ธวัช" ยันรับข้อเรียกร้องไม่ได้
พล.ต.ต.ธวัช บุญเฟื่อง รองเลขาธิการนายกฯ เปิดเผยภายหลังเข้ารายงานนายกฯ ถึงสถานการณ์กลุ่มเกษตรกรชาวสวนยาง 11 จังหวัดภาคใต้ปิดถนนสี่แยกควนหนองหงส์ อ.ชะอวด หลังปฏิเสธลงนามข้อตกลงตามมติ กนย.ช่วยเหลือเงินสดไร่ละ 2,520 บาทต่อไร่ ครอบครัวละ 25 ไร่ ระยะเวลา 7 เดือน ตลอดฤดูกาลเปิดกรีดยางว่า ได้รายงานนายกฯ ถึงการเจรจา เมื่อวันที่ 14 ก.ย.ที่เสียงแตกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่ม จ.นครศรีธรรมราช ยอมรับเงื่อนไข ขณะที่กลุ่มที่มาจากจังหวัดอื่นๆ ไม่ยอมยุติ ยื่นเงื่อนไขต่อรองเรียกร้องยางทุกต้นที่ปลูกในประเทศไทย รัฐบาลต้องชดเชย ช่วยเหลือ ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่ถูกกฎหมาย หรือผิดกฎหมาย เรียกร้องหลังจากนี้รัฐบาลต้องทำให้ราคายางอยู่ที่ 120 บาท ต่อกิโลกรัมอย่างยั่งยืน และเรียกร้องการให้เงินช่วยเหลือจากไม่เกิน 25 ไร่ ต่อครอบครัว มาเป็นรายบุคคลแทน ซึ่งเป็นเงื่อนไขที่รับไม่ได้ ร่วมถึงเรียกร้องผู้ที่ต้องลงนามต้องเป็น พล.ต.อ.ประชา เท่านั้น ภาษาชาวบ้านเขาเรียกว่าเกเร เกินกว่าที่รัฐบาลจะรับได้
** ลั่นดำเนินคดีอาญาแกนนำปิดถนน
พล.ต.ต.ธวัช กล่าวว่า ชัดเจนกลุ่มที่ไม่พอใจ มีการเมืองหนุนหลังเชื่อมโยงแกนนำพรรคการเมืองฝ่ายค้านภาคใต้ ซึ่งมีรายชื่ออยู่แล้วว่าใครเป็นคนของใคร ใครเป็นแกนนำ บงการทำให้เกิดความเข้าใจผิดสวนทางกับข้อเท็จจริงที่รัฐบาลมีมติ ไปพูดว่ารัฐบาลไม่จริงใจ สร้างความเกลียดชังรัฐบาล ปลุกระดมไม่ให้มีการลงทะเบียนเบียน โดยอ้างว่าหากไปลงทะเบียนแล้วต้องเสียภาษีย้อนหลัง นี้คือการเมืองล้วนๆ ที่เกิดขึ้นในการแก้ไขปัญหายางพารา พยายามสร้างเงื่อนไขต่อไปเรื่อยๆ เพื่อให้การเจรจาไม่สามารถหาข้อยุติได้ ทั้งที่ส่วนใหญ่ยอมรับมติ อย่างเกษตรกร จ.สงขลา ปัตตานี นราธิวาส ก็ยอมรับ จะไม่มีการปิดด่าน หรือเส้นทางขนส่งระหว่างประเทศ อย่างนายเอียด เส้งเอียด แกนนำชาวสวนยางชะอวด ก็ประกาศไม่เข้าร่วมการชุมนุมครั้งนี้ และยอมร่วมลงนาม ถึงอย่างไรรัฐบาลยืนยันตามข้อตกลงเดิม กลุ่มที่ไม่เห็นด้วยถือเป็นสิทธิก็เรียกร้องไป
ส่วนการปิดถนนส่วนใหญ่พบเป็นวัยรุ่น สภาพที่มีการปิดถนนเป็นสภาพเดียวกับในสภาทั้งหมด แต่ยังสามารถควบคุมสถานการณ์ได้ การจราจรยังไม่เป็นอัมพาต และจากการหารือร่วมกับ พล.ต.อ.ประชา และ ผบ.ตร.ให้มีการดำเนินคดีกับกลุ่มที่ปิดถนน เพราะเข้าข่ายความผิดอาญา พวกนี้ไปใช้วิธีเจรจาอย่างไรก็ไม่จบ
** แกนนำม็อบมีหมายจับคดีอาญา
พล.ต.ต.ปิยะ กล่าวต่อว่า จากการประชุมติดตามสถานการณ์การชุมนุมผ่านระบบวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ พล.ต.อ.ประชา ได้กำชับให้เจ้าหน้าที่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ให้ติดตามสถานการณ์และเชื่อมโยงข้อมูลกันอย่างใกล้ชิด เพื่อจะสามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ส่วนการดำเนินคดีกับกลุ่มผู้ชุมนุมที่มีการปิดถนนและทางรถไฟนั้น ตำรวจในฐานะผู้รักษากฎหมายก็จะต้องดำเนินการ คงไม่สามารถยกเว้นได้ ซึ่งจากการตรวจสอบแกนนำผู้ชุมนุมที่บริเวณแยกควนหนองหงส์ ยังคงเป็นคนกลุ่มเดิมที่ถูกออกหมายจับไปก่อนหน้านี้ ขณะที่บางคนมีหมายจับในคดีอาญาอื่นๆ ติดตัว อาทิ นายชญานิน คงสง อายุ 35 ปึ นายไพโรจน์ บุญช่วย อายุ 46 ปี นายยุทธการ รัตนมาศ อายุ 42 ปี และนายสันติ ศรีสวัสดิ์ อายุ 22 ปี
นอกจากนี้ พล.ต.อ.ประชา ยังได้สั่งการให้ บก.ภ.จว.นครศรีธรรมราช ตั้งศูนย์รับเรื่องแจ้งความร้องทุกข์จากผู้ได้รับผลกระทบจากการชุมนุม โดยขณะนี้มีเจ้าของรถบรรทุก 9 ราย ที่ได้รับความเสียหายจากการปิดถนนได้มาแจ้งความแล้ว
**ชี้นายทุน-นักการเมืองบงการม็อบยาง
นายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทย กล่าวถึงกรณีม็อบสวนยางปิดถนนที่ จ.นครศรีธรรมราช โดยยืนยันเรียกร้องให้รัฐบาลแทรกแซงราคายางอยู่ที่ 120 บาทต่อกิโลกรัมว่า ประชาชนส่วนใหญ่พอใจกับค่าชดเชย 2,520 บาทต่อไร่ ตามมติ ครม.แต่มีคนส่วนน้อยไม่พอใจเรียกร้องให้ประกันราคายางที่ 120 บาทต่อกิโลกรัม ซึ่งเป็นข้อเรียกร้องที่มีประเด็นการเมืองอยู่เบื้องหลัง คนที่ได้ประโยชน์จากเรื่องนี้มี 2 กลุ่ม คือ 1.กลุ่มการเมืองบางกลุ่มที่ไปปลุกระดมให้ปิดถนน ซึ่งจุดที่ปิดถนนห่างจากบ้านนักการเมืองนิดเดียว เป็นการใช้ความเดือดร้อนของเกษตรกรมาทำลายเสถียรภาพรัฐบาล
และ 2.กลุ่มพ่อค้าที่มีการกักตุนยางไว้หลายแสนตันเพื่อเก็งกำไร เป็นกลุ่มที่ซื้อยางเก็บไว้ในราคาต่ำ ตั้งแต่ช่วงที่รู้ว่าจะมีการปิดถนน หากได้ราคา 120 บาทต่อกิโลกรัมตามที่ต้องการ กลุ่มพ่อค้านี้จะได้กำไรหลายร้อยล้านบาท ทราบว่า มีพ่อค้ารายหนึ่งเป็นญาติของนักการเมืองที่คนใต้รู้จักดี กักตุนยางไว้ถึง 2 แสนตัน ถ้ายังไม่หยุดยุยง จะเปิดเผยชื่อให้ทราบว่าเป็นญาติของนักการเมืองคนใด ตนมีหลักฐานครบถ้วน เรื่องกักตุนยางทั้งคลิปและภาพ
**จับตา"อ้อย"ซ้ำรอยยางเหตุราคาดิ่งเหว
ด้านแหล่งข่าวจากกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า คาดการณ์ว่าราคาอ้อยขั้นต้นฤดูกาลผลิตปี 56/57 ที่จะประกาศในช่วง ต.ค.นี้จะมีราคาเฉลี่ยเพียง 820-830 บาทต่อตันเนื่องจากราคาน้ำตาลทรายดิบที่นำมาคำนวณเฉลี่ยอยู่ที่เพียง 17.5 เซนต์ต่อปอนด์เท่านั้น ซึ่งคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย (กอน.) ที่มีนายวิฑูรย์ สิมะโชคดี ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมเป็นประธานจะมีการพิจารณาตัวเลขอีกครั้งก่อนประกาศเป็นทางการ
ทั้งนี้ ราคาดังกล่าวยอมรับว่าค่อนข้างต่ำและมีความเป็นไปได้สูงที่ชาวไร่อ้อยจะเรียกร้องให้กระทรวงอุตสาหกรรมหาแหล่งเงินทุนมาสนับสนุนเช่นที่ผ่านมาที่รัฐให้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ หรือ ธ.ก.ส.ปล่อยกู้ผ่านกองทุนอ้อยและน้ำตาลทราย (กท.) เพื่อเพิ่มค่าอ้อยให้คุ้มต้นทุนการผลิต ซึ่งหากพิจารณาต้นทุนที่ชาวไร่อ้อยได้เคยเสนอมาก่อนหน้านี้ที่ระดับ 1,190 บาทต่อตันนั้น ประเมินเบื้องต้นกองทุนอ้อยฯ จะต้องกู้ประมาณ 4.4 หมื่นล้านบาทจากผลผลิตอ้อยที่คาดว่าจะอยู่ระดับ 110 ล้านตัน
"หากยึดต้นทุนผลิตอ้อยของชาวไร่ที่เสนอตัวเลขมาแบบคุ้มทุนก็คือ 1,200 บาทต่อตันจะต้องจ่ายส่วนต่างเพิ่มถึงเฉลี่ย 400 บาทต่อตัน แต่หากมาพิจารณารายได้กองทุนอ้อยฯที่หลักๆ มาจากการเก็บเงินจากการปรับขึ้นราคาขายปลีกหน้าโรงงาน 5 บาทต่อกิโลกรัมจะมีรายได้เฉลี่ยเพียงปีละ 1.6 หมื่นล้านบาทเท่านั้นหรือเฉลี่ยก็จะช่วยไม่ถึง 200 บาทต่อตัน ซึ่งก็คงจะต้องมาดูท่าทีชาวไร่กับรัฐว่าจะเดินไปทางใด"
นายชัยวัฒน์ คำแก่นคูณ ประธานชมรมสถาบันชาวไร่อ้อยภาคอีสาน กล่าวว่า แนวโน้มราคาอ้อยขั้นต้นปี 56/57 คงจะต่ำสุดในรอบ 5-6 ปีเบื้องต้นคาดว่าน่าจะอยู่ระดับ 830 บาทต่อตันอ้อย แต่้คงต้องรอให้ กอน.ประกาศอย่างเป็นทางการอีกครั้ง หลังจากนั้นชาวไร่อ้อยคงจะต้องมากำหนดท่าทีว่าจะขอรัฐสนับสนุนแหล่งเงินกู้อย่างไร เนื่องจากต้องยอมรับว่าราคาดังกล่าวไม่คุ้มทุนการผลิตที่อยู่ที่ 1,190 บาทต่อตัน
แหล่งข่าวจากสหสมาคมชาวไร่อ้อยแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ขณะนี้ กอน.ยังไม่มีท่าทีที่จะเร่งสรุปราคาอ้อยขั้นต้น ทั้งที่ใกล้เวลาเข้ามาแล้วโดยเห็นว่าปัญหารออยู่ข้างหน้าที่ราคาอ้อยตกต่ำหากกระทรวงอุตสาหกรรมยังคงทำงานล่าช้าเช่นที่ผ่านมาจนชาวไร่ได้รับเงินค่าอ้อยล่าช้าเหมือนอดีตครั้งนี้ชาวไร่อ้อยจะไม่ยอมแล้ว โดยไม่อยากจะขู่แต่ในเมื่อรัฐบาลยังสามารถใช้เงินมหาศาลจำนำข้าวได้ ช่วยยางพาราได้แล้วอ้อยไม่มีเหตุผลใดที่จะไม่ช่วยเหลือ เพราะแค่ขอแหล่งเงินกู้เท่านั้นไม่ใช่เงินงบประมาณแบบสูญเปล่าแต่อย่างใด.
ผู้สื่อข่าวรายงานความคืบหน้าการชุมนุมของกลุ่มเกษตรกรชาวสวนยางพาราและปาล์มน้ำมันที่บริเวณถนนสาย 41 ทั้งขาขึ้นและขาล่องใต้ว่า แต่เช้าวานนี้ (15 ก.ย.) ผู้ชุมนุมยังคงปักหลักชุมนุมอยู่ทั้ง 2 จุดคือ บริเวณแยกควนหนองหงษ์ ต.ควนหนองหงษ์ อ.ชะอวด และบริเวณแยกเตาปูน ต.ทุ่งโพธิ์ อ.จุฬาภรณ์ จ.นครศรีธรรมราช ซึ่งทั้ง 2 จุดอยู่ห่างกันประมาณ 10 กิโลเมตรเศษ ท่ามกลางกำลังเจ้าหน้าที่กองร้อยปราบจลาจลที่ได้ระดมกำลังจากหลายท้องที่เข้ามาประจำการยังจุดที่กำหนด และมีการตั้งด่านตรวจสกัดสิ่งของผิดกฎหมายในหลายจุดรอบพื้นที่การชุมนุม
ขณะที่การชุมนุมในจุดแยกเตาปูน เจ้าหน้าที่ได้ตั้งด่านตรวจบริเวณแยกสวนผัก เพื่อแจ้งให้ประชาชนหลีกเลี่ยงการใช้เส้นทาง ส่วนในพื้นที่นั้นกลุ่มผู้ชุมนุมได้ใช้รถยนต์บรรทุกขนาดใหญ่กว่า 10 คัน เข้าปิดกั้นการจราจรในพื้นที่ พร้อมทั้งเผาโลงศพจำลองประท้วงนายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหายางพารา
ต่อมากลุ่มเกษตรกรที่บริเวณแยกเตาปูนได้มีการประกาศยุบจุดชุมนุมไปรวมกับจุดชุมนุมบริเวณแยกควนหนองหงษ์ โดยนายยอดสุด ท่องวิถี แกนนำในจุดแยกเตาปูน ระบุว่า ได้ยื่นข้อเรียกร้องในนามผู้ชุมนุม 6 ประเด็น คือ 1.ให้ประกันราคายางแผ่นไม่ต่ำกว่า 100 บาทต่อกิโลกรัม เศษยางไม่ต่ำกว่า 50 บาทต่อกิโลกรัม 2.ประกันราคาปาล์มน้ำมันไม่ต่ำกว่า 6 บาทต่อกิโลกรัม 3.รัฐต้องมีคำตอบให้ได้ภายใน 7 วัน 4.หากไม่มีคำตอบภายใน 7 วัน จะร่วมกันยกระดับการชุมนุมกับนักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหง ไปจนถึงทำเนียบรัฐบาล 5.ต้องไม่เอาผิดกับผู้ชุมนุม และ 6.รัฐบาลต้องชดเชยสินไหมให้แก่ผู้ที่ได้รับความเสียหายจากการสลายการชุมนุม ทั้งเจ้าหน้าที่ของรัฐเองและผู้ชุมนุม
ขณะที่นายยอดชาย ดีเจริญ ผู้ประสานงานเครือข่ายชาวสวนยางพารา ได้ออกแถลงการณ์ฉบับที่ 1 ว่า เนื่องจากก่อนหน้านี้ได้มีการชุมนุมปิดถนนบริเวณบ้านเตาตูลและแยกควนหนองหงษ์ อ.ชะอวด เรียกร้องราคายางพารา แต่ไม่มีการตอบรับใดๆ ที่เป็นน่าพอใจจากรัฐบาล จึงได้มีการปิดถนนที่บริเวณบ้านเตาปูนอีกครั้ง เพื่อยื่นข้อเสนอดังนี้ 1.ราคาแผ่นดิบ 120 บาท 2.ปาล์มทะลาย 7 บาท 3.ให้นายกรัฐมนตรีเข้าประชุมสภาทุกครั้ง หากไม่ได้ตามข้อเรียกร้องจะปิดถนนปักหลักชุมนุมต่อไปเรื่อยๆ โดยจะไม่มีการเจรจาที่ไหนโดยเด็ดขาด ถ้ามีการเจรจาให้มาเจรจาต่อหน้าผู้ชุมนุมที่ตรงนี้
ด้าน พ.ต.อ.สุทัศน์ ชาญสวัสดิ์ รอง ผบก.ภ.จว.นครศรีธรรมราช ได้สั่งการให้ตำรวจในแต่ละท้องที่ที่มีการชุมนุมประสานกับเจ้าพนักงานแขวงการทาง เพื่อเร่งรัดให้มีการเข้าแจ้งความร้องทุกข์กรณีปิดกั้นการจราจร เพื่อดำเนินคดีต่อกลุ่มผู้ชุมนุม ขณะเดียวกันทางศูนย์ปฏิบัติการร่วมจังหวัดนครศรีธรรมราช พยายามที่จะประสานกับกลุ่มผู้ชุมนุมเพื่อเจรจาหาทางออกแต่ยังไม่สามารถประสานกันได้
นายวิโรจน์ จิวะรังสรรค์ ผวจ.นครศรีธรรมราช กล่าวว่า ได้สั่งการให้รอง ผบก.ภ.จว.นครศรีธรรมราช ประเมินสถานการณ์ในพื้นที่ว่า มีความรุนแรงมากน้อยขนาดไหน อีกทั้งจะยืดเยื้อยาวนานหรือไม่ อย่างไรก็ตาม ในฐานะฝ่ายปกครองต้องดำเนินการตามขั้นตอน ใช้หลักการเจราจา โดยได้เจราจาสำเร็จไปแล้ว 1 จุดที่แยกควนหนองหงษ์ แต่ในบริเวณบ้านเตาปูนยังเจราจาไม่สำเร็จ
เวลา 12.00 น.ที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม ให้สัมภาษณ์ภายหลังเดินทางกลับจากการเยือนยุโรป ถึงปัญหาเกษตรกรชาวสวนยางภาคใต้เสียงแตกปิดถนนที่ จ.นครศรีธรรมราชว่า ได้รับรายงานความคืบหน้าการแก้ปัญหาราคายางพาราตั้งแต่อยู่ต่างประเทศ การชุมนุมสามารถทำได้แต่ขอให้อยู่ภายใต้กรอบของกฎหมาย แต่อยากขอร้องอย่าปิดถนน เพราะไม่ต้องการให้เกิดปัญหาการจราจรติดขัด เพราะยิ่งเป็นการซ้ำเติมเศรษฐกิจประเทศ ซึ่งได้ย้ำ พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว ผบ.ตร.ไปแล้วว่า ให้ขอความร่วมมือควบคุมการชุมนุมให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย
"ขณะที่ภาพรวมเกษตรกรชาวสวนยางส่วนใหญ่พอใจการช่วยเหลือของรัฐบาลแล้ว โดยจะยึดตามข้อสรุปที่ พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก รองนายกรัฐมนตรี ในฐานประธานคณะกรรมการแก้ไขปัญหายางพาราลงไปเจรจาคือช่วยเหลือให้ราคายางอยู่ที่ 90 บาทต่อกิโลกรัม และยืนตามคณะกรรมการนโยบายยางธรรมชาติ (กนย.)" เมื่อถามว่า จะมีการดำเนินการกับการชุมนุมที่ผิดกฎหมายอย่างไร น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าวว่า ให้เป็นหน้าที่เจ้าหน้าที่ตำรวจว่าไปตามขั้นตอนของกฎหมาย
**"ธวัช" ยันรับข้อเรียกร้องไม่ได้
พล.ต.ต.ธวัช บุญเฟื่อง รองเลขาธิการนายกฯ เปิดเผยภายหลังเข้ารายงานนายกฯ ถึงสถานการณ์กลุ่มเกษตรกรชาวสวนยาง 11 จังหวัดภาคใต้ปิดถนนสี่แยกควนหนองหงส์ อ.ชะอวด หลังปฏิเสธลงนามข้อตกลงตามมติ กนย.ช่วยเหลือเงินสดไร่ละ 2,520 บาทต่อไร่ ครอบครัวละ 25 ไร่ ระยะเวลา 7 เดือน ตลอดฤดูกาลเปิดกรีดยางว่า ได้รายงานนายกฯ ถึงการเจรจา เมื่อวันที่ 14 ก.ย.ที่เสียงแตกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่ม จ.นครศรีธรรมราช ยอมรับเงื่อนไข ขณะที่กลุ่มที่มาจากจังหวัดอื่นๆ ไม่ยอมยุติ ยื่นเงื่อนไขต่อรองเรียกร้องยางทุกต้นที่ปลูกในประเทศไทย รัฐบาลต้องชดเชย ช่วยเหลือ ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่ถูกกฎหมาย หรือผิดกฎหมาย เรียกร้องหลังจากนี้รัฐบาลต้องทำให้ราคายางอยู่ที่ 120 บาท ต่อกิโลกรัมอย่างยั่งยืน และเรียกร้องการให้เงินช่วยเหลือจากไม่เกิน 25 ไร่ ต่อครอบครัว มาเป็นรายบุคคลแทน ซึ่งเป็นเงื่อนไขที่รับไม่ได้ ร่วมถึงเรียกร้องผู้ที่ต้องลงนามต้องเป็น พล.ต.อ.ประชา เท่านั้น ภาษาชาวบ้านเขาเรียกว่าเกเร เกินกว่าที่รัฐบาลจะรับได้
** ลั่นดำเนินคดีอาญาแกนนำปิดถนน
พล.ต.ต.ธวัช กล่าวว่า ชัดเจนกลุ่มที่ไม่พอใจ มีการเมืองหนุนหลังเชื่อมโยงแกนนำพรรคการเมืองฝ่ายค้านภาคใต้ ซึ่งมีรายชื่ออยู่แล้วว่าใครเป็นคนของใคร ใครเป็นแกนนำ บงการทำให้เกิดความเข้าใจผิดสวนทางกับข้อเท็จจริงที่รัฐบาลมีมติ ไปพูดว่ารัฐบาลไม่จริงใจ สร้างความเกลียดชังรัฐบาล ปลุกระดมไม่ให้มีการลงทะเบียนเบียน โดยอ้างว่าหากไปลงทะเบียนแล้วต้องเสียภาษีย้อนหลัง นี้คือการเมืองล้วนๆ ที่เกิดขึ้นในการแก้ไขปัญหายางพารา พยายามสร้างเงื่อนไขต่อไปเรื่อยๆ เพื่อให้การเจรจาไม่สามารถหาข้อยุติได้ ทั้งที่ส่วนใหญ่ยอมรับมติ อย่างเกษตรกร จ.สงขลา ปัตตานี นราธิวาส ก็ยอมรับ จะไม่มีการปิดด่าน หรือเส้นทางขนส่งระหว่างประเทศ อย่างนายเอียด เส้งเอียด แกนนำชาวสวนยางชะอวด ก็ประกาศไม่เข้าร่วมการชุมนุมครั้งนี้ และยอมร่วมลงนาม ถึงอย่างไรรัฐบาลยืนยันตามข้อตกลงเดิม กลุ่มที่ไม่เห็นด้วยถือเป็นสิทธิก็เรียกร้องไป
ส่วนการปิดถนนส่วนใหญ่พบเป็นวัยรุ่น สภาพที่มีการปิดถนนเป็นสภาพเดียวกับในสภาทั้งหมด แต่ยังสามารถควบคุมสถานการณ์ได้ การจราจรยังไม่เป็นอัมพาต และจากการหารือร่วมกับ พล.ต.อ.ประชา และ ผบ.ตร.ให้มีการดำเนินคดีกับกลุ่มที่ปิดถนน เพราะเข้าข่ายความผิดอาญา พวกนี้ไปใช้วิธีเจรจาอย่างไรก็ไม่จบ
** แกนนำม็อบมีหมายจับคดีอาญา
พล.ต.ต.ปิยะ กล่าวต่อว่า จากการประชุมติดตามสถานการณ์การชุมนุมผ่านระบบวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ พล.ต.อ.ประชา ได้กำชับให้เจ้าหน้าที่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ให้ติดตามสถานการณ์และเชื่อมโยงข้อมูลกันอย่างใกล้ชิด เพื่อจะสามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ส่วนการดำเนินคดีกับกลุ่มผู้ชุมนุมที่มีการปิดถนนและทางรถไฟนั้น ตำรวจในฐานะผู้รักษากฎหมายก็จะต้องดำเนินการ คงไม่สามารถยกเว้นได้ ซึ่งจากการตรวจสอบแกนนำผู้ชุมนุมที่บริเวณแยกควนหนองหงส์ ยังคงเป็นคนกลุ่มเดิมที่ถูกออกหมายจับไปก่อนหน้านี้ ขณะที่บางคนมีหมายจับในคดีอาญาอื่นๆ ติดตัว อาทิ นายชญานิน คงสง อายุ 35 ปึ นายไพโรจน์ บุญช่วย อายุ 46 ปี นายยุทธการ รัตนมาศ อายุ 42 ปี และนายสันติ ศรีสวัสดิ์ อายุ 22 ปี
นอกจากนี้ พล.ต.อ.ประชา ยังได้สั่งการให้ บก.ภ.จว.นครศรีธรรมราช ตั้งศูนย์รับเรื่องแจ้งความร้องทุกข์จากผู้ได้รับผลกระทบจากการชุมนุม โดยขณะนี้มีเจ้าของรถบรรทุก 9 ราย ที่ได้รับความเสียหายจากการปิดถนนได้มาแจ้งความแล้ว
**ชี้นายทุน-นักการเมืองบงการม็อบยาง
นายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทย กล่าวถึงกรณีม็อบสวนยางปิดถนนที่ จ.นครศรีธรรมราช โดยยืนยันเรียกร้องให้รัฐบาลแทรกแซงราคายางอยู่ที่ 120 บาทต่อกิโลกรัมว่า ประชาชนส่วนใหญ่พอใจกับค่าชดเชย 2,520 บาทต่อไร่ ตามมติ ครม.แต่มีคนส่วนน้อยไม่พอใจเรียกร้องให้ประกันราคายางที่ 120 บาทต่อกิโลกรัม ซึ่งเป็นข้อเรียกร้องที่มีประเด็นการเมืองอยู่เบื้องหลัง คนที่ได้ประโยชน์จากเรื่องนี้มี 2 กลุ่ม คือ 1.กลุ่มการเมืองบางกลุ่มที่ไปปลุกระดมให้ปิดถนน ซึ่งจุดที่ปิดถนนห่างจากบ้านนักการเมืองนิดเดียว เป็นการใช้ความเดือดร้อนของเกษตรกรมาทำลายเสถียรภาพรัฐบาล
และ 2.กลุ่มพ่อค้าที่มีการกักตุนยางไว้หลายแสนตันเพื่อเก็งกำไร เป็นกลุ่มที่ซื้อยางเก็บไว้ในราคาต่ำ ตั้งแต่ช่วงที่รู้ว่าจะมีการปิดถนน หากได้ราคา 120 บาทต่อกิโลกรัมตามที่ต้องการ กลุ่มพ่อค้านี้จะได้กำไรหลายร้อยล้านบาท ทราบว่า มีพ่อค้ารายหนึ่งเป็นญาติของนักการเมืองที่คนใต้รู้จักดี กักตุนยางไว้ถึง 2 แสนตัน ถ้ายังไม่หยุดยุยง จะเปิดเผยชื่อให้ทราบว่าเป็นญาติของนักการเมืองคนใด ตนมีหลักฐานครบถ้วน เรื่องกักตุนยางทั้งคลิปและภาพ
**จับตา"อ้อย"ซ้ำรอยยางเหตุราคาดิ่งเหว
ด้านแหล่งข่าวจากกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า คาดการณ์ว่าราคาอ้อยขั้นต้นฤดูกาลผลิตปี 56/57 ที่จะประกาศในช่วง ต.ค.นี้จะมีราคาเฉลี่ยเพียง 820-830 บาทต่อตันเนื่องจากราคาน้ำตาลทรายดิบที่นำมาคำนวณเฉลี่ยอยู่ที่เพียง 17.5 เซนต์ต่อปอนด์เท่านั้น ซึ่งคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย (กอน.) ที่มีนายวิฑูรย์ สิมะโชคดี ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมเป็นประธานจะมีการพิจารณาตัวเลขอีกครั้งก่อนประกาศเป็นทางการ
ทั้งนี้ ราคาดังกล่าวยอมรับว่าค่อนข้างต่ำและมีความเป็นไปได้สูงที่ชาวไร่อ้อยจะเรียกร้องให้กระทรวงอุตสาหกรรมหาแหล่งเงินทุนมาสนับสนุนเช่นที่ผ่านมาที่รัฐให้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ หรือ ธ.ก.ส.ปล่อยกู้ผ่านกองทุนอ้อยและน้ำตาลทราย (กท.) เพื่อเพิ่มค่าอ้อยให้คุ้มต้นทุนการผลิต ซึ่งหากพิจารณาต้นทุนที่ชาวไร่อ้อยได้เคยเสนอมาก่อนหน้านี้ที่ระดับ 1,190 บาทต่อตันนั้น ประเมินเบื้องต้นกองทุนอ้อยฯ จะต้องกู้ประมาณ 4.4 หมื่นล้านบาทจากผลผลิตอ้อยที่คาดว่าจะอยู่ระดับ 110 ล้านตัน
"หากยึดต้นทุนผลิตอ้อยของชาวไร่ที่เสนอตัวเลขมาแบบคุ้มทุนก็คือ 1,200 บาทต่อตันจะต้องจ่ายส่วนต่างเพิ่มถึงเฉลี่ย 400 บาทต่อตัน แต่หากมาพิจารณารายได้กองทุนอ้อยฯที่หลักๆ มาจากการเก็บเงินจากการปรับขึ้นราคาขายปลีกหน้าโรงงาน 5 บาทต่อกิโลกรัมจะมีรายได้เฉลี่ยเพียงปีละ 1.6 หมื่นล้านบาทเท่านั้นหรือเฉลี่ยก็จะช่วยไม่ถึง 200 บาทต่อตัน ซึ่งก็คงจะต้องมาดูท่าทีชาวไร่กับรัฐว่าจะเดินไปทางใด"
นายชัยวัฒน์ คำแก่นคูณ ประธานชมรมสถาบันชาวไร่อ้อยภาคอีสาน กล่าวว่า แนวโน้มราคาอ้อยขั้นต้นปี 56/57 คงจะต่ำสุดในรอบ 5-6 ปีเบื้องต้นคาดว่าน่าจะอยู่ระดับ 830 บาทต่อตันอ้อย แต่้คงต้องรอให้ กอน.ประกาศอย่างเป็นทางการอีกครั้ง หลังจากนั้นชาวไร่อ้อยคงจะต้องมากำหนดท่าทีว่าจะขอรัฐสนับสนุนแหล่งเงินกู้อย่างไร เนื่องจากต้องยอมรับว่าราคาดังกล่าวไม่คุ้มทุนการผลิตที่อยู่ที่ 1,190 บาทต่อตัน
แหล่งข่าวจากสหสมาคมชาวไร่อ้อยแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ขณะนี้ กอน.ยังไม่มีท่าทีที่จะเร่งสรุปราคาอ้อยขั้นต้น ทั้งที่ใกล้เวลาเข้ามาแล้วโดยเห็นว่าปัญหารออยู่ข้างหน้าที่ราคาอ้อยตกต่ำหากกระทรวงอุตสาหกรรมยังคงทำงานล่าช้าเช่นที่ผ่านมาจนชาวไร่ได้รับเงินค่าอ้อยล่าช้าเหมือนอดีตครั้งนี้ชาวไร่อ้อยจะไม่ยอมแล้ว โดยไม่อยากจะขู่แต่ในเมื่อรัฐบาลยังสามารถใช้เงินมหาศาลจำนำข้าวได้ ช่วยยางพาราได้แล้วอ้อยไม่มีเหตุผลใดที่จะไม่ช่วยเหลือ เพราะแค่ขอแหล่งเงินกู้เท่านั้นไม่ใช่เงินงบประมาณแบบสูญเปล่าแต่อย่างใด.