ASTVผู้จัดการรายวัน -“ชัชชาติ”สั่งทอท.เร่งสรุปสร้างรันเวย์สำรอง หรือรันเวย์ที่ 3 แก้ปัญหากรณีเหตุฉุกเฉินที่สุวรรณภูมิ กำชับดูแลไม่ให้เกิดผลกระทบกับประชาชน “ศิธา”รับลูก เผยบอร์ดทอท.พิจารณา 17 ก.ย.นี้ก่อนชงคมนาคม ด้านAOC ออกโรงหนุนหวั่นเกิดเหตุอีก สายการบินกระทบหนัก “คมนาคม”ตั้งกก.ประเมินข้อบกพร่องการรับมือเหตุฉุกเฉินใน 2 สัปดาห์
วานนี้ (12 ก.ย.) นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมพร้อมด้วยพล.อ.พฤณท์ สุวรรณทัต รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ได้เรียกประชุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเช่น กรมการบินพลเรือน (บพ.) บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือทอท. บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) บริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย (บวท.) และสมาคมผู้ประกอบการธุรกิจการบิน เพื่อสรุปเหตุการณ์และข้อบกพร่อง จากเหตุเครื่องบิน แอร์บัส A 330-300 ของการบินไทย เที่ยวบิน ทีจี 679 เส้นทางกว่างโจว -กรุงเทพ ที่ประสบเหตุเครื่องบินไถลออกนอกทางวิ่งฝั่งตะวันออกของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เมื่อคืนวันที่ 8 กันยายนที่ผ่านมา
นายชัชชาติ กล่าวว่า เหตุการณ์ดังกล่าวทำให้เห็นถึงความจำเป็นที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิต้องมีรันเวย์ฉุนเฉิน (สำรอง) หรือรันเวย์ที่ 3 ซึ่งทอท.ได้เตรียมพื้นที่และปรับปรุงคุณภาพดินไว้แล้วโดยอยู่เพราะเมื่อเหลือเพียงรันเวย์เดียวสายการบินต้องดีเลย์ นับว่ายังดีที่ช่วงนี้ยังไม่เข้าฤดูท่องเที่ยว (High Season) ผลกระทบจึงไม่มากนัก
โดยให้ทอท.เร่งหาข้อสรุปว่าจะดำเนินการอย่างไร จะก่อสร้างเป็นรันเวย์สำรองความยาวไม่เกิน 3,000 เมตรก่อน หรือจะก่อสร้างเป็นรันเวย์ที่ 3 เลย ซึ่งก่อนหน้านี้ทอท.เคยระบุว่า หากก่อสร้างความยาวไม่เกิน 3,000 เมตรตามกฎหมายไม่ต้องศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) นั้นเห็นว่า ไม่ว่าจะก่อสร้างอย่างไรทอท.ควรศึกษา EIA คู่ขนานไปพร้อมกัน
โดยจะต้องคำนึงถึงผลกระทบที่จะเกิดกับประชาชนรอบสนามบินด้วย โดยกระทรวงพร้อมให้การสนับสนุน
ด้านน.ต.ศิธา ทิวารี ประธานกรรมการ (บอร์ด)ทอท. กล่าวว่า ทอท.จะดำเนินการตามนโยบายอย่างเคร่งครัดโดยคำนึงถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับประชาชนและข้อกฎหมายที่กำหนดควบคู่กัน ซึ่งการก่อสร้างรันเวย์สำรองนั้นมีความจำเป็น เนื่องจากหากรันเวย์ใดรันเวย์หนึ่งเกิดปัญหาหรือมีสิ่งกีดขวางไม่สามารถใช้งานได้ จึงจะใช้รันเวย์สำรอง ถือเป็นการใช้เมื่อมีเหตุจำเป็นฉุกเฉินเท่านั้น เพื่อไม่ให้กระทบกับยุทธศาสตร์ชองชาติ หาก 2 รันเวย์หลักไม่มีปัญหา รันเวย์สำรองก็จะไม่ใช้งาน โดยในระหว่างนี้จะดำเนินการด้านEIA ควบคู่ไปด้วย เพื่อขยายเป็นรันเวย์ที่ 3 ตามแผนในอนาคต โดยที่ประชุมบอร์ดทอท.วันที่ 17 กันยายนนี้จะพิจารณาแผนก่อสร้างรันเวย์สำรองรวมถึงรันเวย์ที่ 2 ของท่าอากาศยานภูเก็ตด้วย จากนั้นจะเสนอกระทรวงคมนาคมขอความเห็นชอบต่อไป
ด้านนางมาริสา พงษ์พัฒนพันธุ์ ประธาน AOC กล่าวว่า หลังเกิดเหตุสายการบินได้ประสานงานกับทอท.และบวทงอย่างใกล้ชิด ซึ่งมีเที่ยวบินบางส่วนดีเลย์บ้าง และต้องการให้มีการบริหารจัดการที่ดีที่สุดหากมีเหตุการณ์เกิดขึ้นอีกในอนาคตเพื่อให้ผู้โดยสารได้รับความสะดวกมากที่สุด ทั้งนี้ เห็นว่า รันเวย์ที่ 3 มีความจำเป็นเพื่อรองรับกรณีที่รันเวย์ใดรันเวย์หนึ่งมีปัญหา เพื่อให้กระทบต่อการขึ้นลงของเครื่องบินน้อยที่สุด
***สั่งประเมินหาข้อบกพร่องรับมือเหตุฉุกเฉิน ใน 2 สัปดาห์
สำหรับการกู้เครื่องบินแอร์บัส A 330-300 นั้นนายชัชชาติกล่าวว่า ใช้เวลารวม 65 ชั่วโมงซึ่งได้ตั้งคณะทำงาน มีนายธีระพงษ์ รอดประเสริฐ รองปลัดกระทรวงคมนาคมเป็นหัวหน้าคณะทำรายงานสรุปข้อเท็จจริงและข้อบกพร่องในการดำเนินการหลังเกิดเหตุ 5 ประเด็น และเสนอภายใน 2 สัปดาห์ ประกอบด้วย 1. การเช้าเผชิญเหตุหลังเครื่องบินไถลออกนอกรันเวย์ในการปฏิบัติของแต่ละหน่วยงานเป็นไปตามแผนหรือไม่,ขั้นตอนการกู้เครื่องบินให้ออกจากรันเวย์มีใครเป็นหัวหน้าทีม,อุปกรณ์ในแต่ละส่วนรวมถึงอุปกรณ์เสริมใช้จากแหล่งไหน และมีพอหรือไม่ ต้องเพิ่มเติมจุดใดบ้าง และหน่วยงานใดจะเป็นผู้รับผิดชอบ โดยให้ตรวจสอบในทุกท่าอากาศยานด้วยว่ามีอุปกรณ์เพียงพอหรือไม่ ทั้ง ดอนเมือง เชียงใหม่ ภูเก็ต หาดใหญ่ กระบี่ เป็นต้น
2. ตรวจสอบการดูแลผู้โดยสารว่าได้ดำเนินการตามขั้นตอนการปฏิบัติอย่างถูกต้องหรือไม่ ตั้งแต่การอพยพออกจากเครื่อง ขั้นตอนรอรถเคลื่อนย้าย ตรวจคนเข้าเมือง ฯลฯ มีกระบวนการใดต้องปรับปรุงบ้าง 3. ตั้งศูนย์ให้ข้อมูลข่าวสารหลัก กำหนดผู้มีหน้าที่ให้ข่าว ที่สามารถให้ข้อมูลได้ทันที เพื่อไม่ให้เกิดความสับสน เช่น ประเด็นที่การบินไทยต้องปิดบังโลโก้ เป็นต้น 4.พนักงานที่เกี่ยวข้องปฎิบัติตามขั้นตอนครบถ้วนหรือไม่ 5. การจัดการจราจรทางอากาศหลังเกิดเหตุ มีกระบวนการถูกต้องหรือไม่
วานนี้ (12 ก.ย.) นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมพร้อมด้วยพล.อ.พฤณท์ สุวรรณทัต รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ได้เรียกประชุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเช่น กรมการบินพลเรือน (บพ.) บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือทอท. บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) บริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย (บวท.) และสมาคมผู้ประกอบการธุรกิจการบิน เพื่อสรุปเหตุการณ์และข้อบกพร่อง จากเหตุเครื่องบิน แอร์บัส A 330-300 ของการบินไทย เที่ยวบิน ทีจี 679 เส้นทางกว่างโจว -กรุงเทพ ที่ประสบเหตุเครื่องบินไถลออกนอกทางวิ่งฝั่งตะวันออกของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เมื่อคืนวันที่ 8 กันยายนที่ผ่านมา
นายชัชชาติ กล่าวว่า เหตุการณ์ดังกล่าวทำให้เห็นถึงความจำเป็นที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิต้องมีรันเวย์ฉุนเฉิน (สำรอง) หรือรันเวย์ที่ 3 ซึ่งทอท.ได้เตรียมพื้นที่และปรับปรุงคุณภาพดินไว้แล้วโดยอยู่เพราะเมื่อเหลือเพียงรันเวย์เดียวสายการบินต้องดีเลย์ นับว่ายังดีที่ช่วงนี้ยังไม่เข้าฤดูท่องเที่ยว (High Season) ผลกระทบจึงไม่มากนัก
โดยให้ทอท.เร่งหาข้อสรุปว่าจะดำเนินการอย่างไร จะก่อสร้างเป็นรันเวย์สำรองความยาวไม่เกิน 3,000 เมตรก่อน หรือจะก่อสร้างเป็นรันเวย์ที่ 3 เลย ซึ่งก่อนหน้านี้ทอท.เคยระบุว่า หากก่อสร้างความยาวไม่เกิน 3,000 เมตรตามกฎหมายไม่ต้องศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) นั้นเห็นว่า ไม่ว่าจะก่อสร้างอย่างไรทอท.ควรศึกษา EIA คู่ขนานไปพร้อมกัน
โดยจะต้องคำนึงถึงผลกระทบที่จะเกิดกับประชาชนรอบสนามบินด้วย โดยกระทรวงพร้อมให้การสนับสนุน
ด้านน.ต.ศิธา ทิวารี ประธานกรรมการ (บอร์ด)ทอท. กล่าวว่า ทอท.จะดำเนินการตามนโยบายอย่างเคร่งครัดโดยคำนึงถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับประชาชนและข้อกฎหมายที่กำหนดควบคู่กัน ซึ่งการก่อสร้างรันเวย์สำรองนั้นมีความจำเป็น เนื่องจากหากรันเวย์ใดรันเวย์หนึ่งเกิดปัญหาหรือมีสิ่งกีดขวางไม่สามารถใช้งานได้ จึงจะใช้รันเวย์สำรอง ถือเป็นการใช้เมื่อมีเหตุจำเป็นฉุกเฉินเท่านั้น เพื่อไม่ให้กระทบกับยุทธศาสตร์ชองชาติ หาก 2 รันเวย์หลักไม่มีปัญหา รันเวย์สำรองก็จะไม่ใช้งาน โดยในระหว่างนี้จะดำเนินการด้านEIA ควบคู่ไปด้วย เพื่อขยายเป็นรันเวย์ที่ 3 ตามแผนในอนาคต โดยที่ประชุมบอร์ดทอท.วันที่ 17 กันยายนนี้จะพิจารณาแผนก่อสร้างรันเวย์สำรองรวมถึงรันเวย์ที่ 2 ของท่าอากาศยานภูเก็ตด้วย จากนั้นจะเสนอกระทรวงคมนาคมขอความเห็นชอบต่อไป
ด้านนางมาริสา พงษ์พัฒนพันธุ์ ประธาน AOC กล่าวว่า หลังเกิดเหตุสายการบินได้ประสานงานกับทอท.และบวทงอย่างใกล้ชิด ซึ่งมีเที่ยวบินบางส่วนดีเลย์บ้าง และต้องการให้มีการบริหารจัดการที่ดีที่สุดหากมีเหตุการณ์เกิดขึ้นอีกในอนาคตเพื่อให้ผู้โดยสารได้รับความสะดวกมากที่สุด ทั้งนี้ เห็นว่า รันเวย์ที่ 3 มีความจำเป็นเพื่อรองรับกรณีที่รันเวย์ใดรันเวย์หนึ่งมีปัญหา เพื่อให้กระทบต่อการขึ้นลงของเครื่องบินน้อยที่สุด
***สั่งประเมินหาข้อบกพร่องรับมือเหตุฉุกเฉิน ใน 2 สัปดาห์
สำหรับการกู้เครื่องบินแอร์บัส A 330-300 นั้นนายชัชชาติกล่าวว่า ใช้เวลารวม 65 ชั่วโมงซึ่งได้ตั้งคณะทำงาน มีนายธีระพงษ์ รอดประเสริฐ รองปลัดกระทรวงคมนาคมเป็นหัวหน้าคณะทำรายงานสรุปข้อเท็จจริงและข้อบกพร่องในการดำเนินการหลังเกิดเหตุ 5 ประเด็น และเสนอภายใน 2 สัปดาห์ ประกอบด้วย 1. การเช้าเผชิญเหตุหลังเครื่องบินไถลออกนอกรันเวย์ในการปฏิบัติของแต่ละหน่วยงานเป็นไปตามแผนหรือไม่,ขั้นตอนการกู้เครื่องบินให้ออกจากรันเวย์มีใครเป็นหัวหน้าทีม,อุปกรณ์ในแต่ละส่วนรวมถึงอุปกรณ์เสริมใช้จากแหล่งไหน และมีพอหรือไม่ ต้องเพิ่มเติมจุดใดบ้าง และหน่วยงานใดจะเป็นผู้รับผิดชอบ โดยให้ตรวจสอบในทุกท่าอากาศยานด้วยว่ามีอุปกรณ์เพียงพอหรือไม่ ทั้ง ดอนเมือง เชียงใหม่ ภูเก็ต หาดใหญ่ กระบี่ เป็นต้น
2. ตรวจสอบการดูแลผู้โดยสารว่าได้ดำเนินการตามขั้นตอนการปฏิบัติอย่างถูกต้องหรือไม่ ตั้งแต่การอพยพออกจากเครื่อง ขั้นตอนรอรถเคลื่อนย้าย ตรวจคนเข้าเมือง ฯลฯ มีกระบวนการใดต้องปรับปรุงบ้าง 3. ตั้งศูนย์ให้ข้อมูลข่าวสารหลัก กำหนดผู้มีหน้าที่ให้ข่าว ที่สามารถให้ข้อมูลได้ทันที เพื่อไม่ให้เกิดความสับสน เช่น ประเด็นที่การบินไทยต้องปิดบังโลโก้ เป็นต้น 4.พนักงานที่เกี่ยวข้องปฎิบัติตามขั้นตอนครบถ้วนหรือไม่ 5. การจัดการจราจรทางอากาศหลังเกิดเหตุ มีกระบวนการถูกต้องหรือไม่