วานนี้ ( 5 ก.ย.) สถาบันพระปกเกล้า ได้จัดงานสัมมนา เนื่องในโอกาสครบรอบวันสถาปนาสถาบันพระปกเกล้า 15 ปี โดย นพ.ประเวศ วะสี ราษฎรอาวุโส เป็นประธานในการเปิดสัมมนา พร้อมทั้งบรรยายพิเศษ เรื่องการสร้างสังคมสันติสุข ว่าเราต้องการเห็นบ้านเมืองที่มีการเมืองดี เศรษฐกิจดี และศีลธรรมดี เพราะจากเศรษฐกิจที่เราพัฒนาเกิดช่องว่างมากขึ้น เกิดปัญหาสังคมมาก ขณะที่การเมืองที่เรามีการพัฒนาประชาธิปไตยมา 81 ปี รัฐธรรมนูญ 18 ฉบับ ก็ยังมีการฆ่ากันตาย เรามีพระกว่า 2 แสนรูป แต่ศีลธรรมก็ยังไม่ดี การฆ่ากันยังสูงกว่าประเทศในยุโรป และอเมริกา สิ่งที่พระสอนมายังพัฒนาศีลธรรมไม่ได้ ซึ่งปัจจัยที่จะทำให้การเมือง เศรษฐกิจ และศีลธรรมดี เพื่ออนาคตประเทศนั้น สังคมจะต้องเข้มแข็ง ที่มีองค์ประกอบคือ มีจิตสำนึกพลเมือง นึกถึงความรับผิดชอบต่อส่วนรวม มีการรวมตัว ร่วมกันคิด ร่วมกันทำ ก็จะให้ประชาชนประสบความสำเร็จและมีความสุข
นอกจากนี้ คือการกระจายอำนาจ เพราะหากอำนาจกระจุกตัว สังคมจะอ่อนแอ ขัดแย้งทางวัฒนธรรมท้องถิ่น อย่างเช่น กรณีความขัดแย้งใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ การรวมศูนย์อำนาจ ทำให้การคอร์รัปชันมากขึ้น การเมืองรุนแรง หากกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น การสู้กันจะไม่รุนแรง การรัฐประหารจะทำไม่ได้
“การสนับสนุนสังคมให้เข้มแข็ง มีเครื่องมือเยอะ หากเข้าใจ หากรัฐเข้ามาส่งเสริม มีงบฯ สนับสนุน ซึ่งการศึกษาที่ผ่านมา 100 ปี ไม่ได้สร้างบุคลิก ในเรื่องความสุจริต จิตสาธารณะ เอาแต่ท่องอย่างเดียว”นพ.ประเวศ กล่าว
นพ.ประเวศ ยังให้สัมภาษณ์ ถึงกรณีแนวทางปฏิรูปการเมืองว่า เป็นเรื่องที่ดี เพราะเวลาที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี จะเป็นผู้ริเริ่ม ทำให้เกิดกระแส ที่จะได้นำไปพัฒนา ในการจัดเวทีปฏิรูปการเมืองนั้น ย่อมมีคนที่เห็นด้วย และไม่เห็นด้วย แต่อย่าระบุเรื่อง ความจริงใจ หรือ ไม่จริงใจ เมื่อเกิดเป็นประเด็นทางการเมือง ก็ต้องช่วยกันแก้ไขให้เป็นกระบวนการสาธารณะ เพื่อที่จะให้คนเข้าร่วมจำนวนมากๆ ช่วยกันคิดช่วยกันทำในหลายๆ ด้าน แล้วทุกอย่างจะดีขึ้น ไม่ใช่ไปถามในเรื่องจริงใจหรือไม่จริงใจ เพราะเรื่องเหล่านี้เราไม่รู้เพราะเป็นนามธรรม ซึ่งเราควรจะใช้สิ่งนี้เป็นโอกาส
นพ.ประเวศ กล่าวว่า ประเทศไทยมีประสบการณ์ในเรื่องการปฏิรูปมาหลายครั้ง แต่ที่ไม่ค่อยสำเร็จ เพราะมันปฏิรูปอยู่แต่ที่คนข้างบน แต่คราวนี้ต้องเอาคนข้างล่าง คือประชาชนเข้ามา ซึ่งจะเป็นการปฏิรูปการเมือง หรือการปฏิรูปประเทศไทยก็แล้วแต่ แต่ประชาชนจะต้องเป็นผู้ปฏิรูป
“การปฏิรูปที่ผ่านมา เรารู้ เพราะชาวบ้านบอกเลยว่า การปฏิรูปที่จะสำเร็จไม่ใช่ นายอานันท์ ปันยารชุน หรือ หมอประเวศ แต่ประชาชนเป็นผู้ปฏิรูป ซึ่ง ประชาชนจะปฏิรูปใน 3 ระดับ คือ การปฏิรูปตัวเอง การปฏิรูปในระดับองค์กร และการปฏิรูปในระดับนโยบาย เพราะฉะนั้นในการปฏิรูปคราวนี้ ที่ผมเสนอคือให้ทำสามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขา คือทำในเรื่องยากๆ โดยฝ่ายการเมืองเป็นคณะกรรมการปฏิรูป มีนายกฯเป็นประธาน และมีเครือข่ายประชาชน กลุ่มองค์กรต่างๆ ที่ขับเคลื่อนอยู่ในขณะนี้ อย่าง กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ก็พูดถึงเรื่องนี้มานานแล้ว ว่าต้องการปฏิรูปประเทศไทย ตอนนี้ นปช.ก็พูด พรรคเพื่อไทย คุณภูมิธรรม เวชยชัย ก็พูด ที่กำลังชุมนุมที่สวนลุมฯ ก็พูดถึงปฏิรูปประเทศไทย ประชาธิปัตย์ก็กำลังเดินสายว่าจะปฏิรูประเทศไทย ตกลงมันกำลังเคลื่อนมา แม้ต่างคนต่างทำก็ไม่เป็นไร ซึ่งจุดนี้ก็คือเครือข่ายประชาชน ใครๆ ก็มีส่วนร่วมตรงนั้นได้ จะชอบหรือไม่ชอบรัฐบาลก็ร่วมตรงนี้ได้ แล้วให้เข้ามาเชื่อมโยงกัน เมื่อคิดอะไรดีๆ ก็ให้เชื่อมโยงไปสู่คณะกรรมการปฏิรูปที่นายกรัฐมนตรีเป็นประธาน และคณะกรรมการฯ นำไปปฏิบัติ ซึ่งเป็นความต้องการของประชาชนจะทำได้ง่าย กว่านักการเมืองที่จะมีผู้คัดค้าน เราจึงต้องช่วยกันทำให้เป็นกระบวนการสาธารณะ” นพ.ประเวศ กล่าว และว่าการที่พรรคประชาธิปัตย์ ยังไม่เข้าร่วมคณะกรรมการปฏิรูป แต่ไปเดินสายของตัวเอง สุดท้ายจะไปเชื่อมโยงกันเอง
นพ.ประเวศ ยังเห็นว่า การปฏิรูปการเมืองเป็นเรื่องยาก ที่คงไม่สำเร็จโดยง่าย อาจต้องใช้เวลา 5-10 ปี ถึงจะเห็นผล ซึ่งต้องใช้ สติปัญญา ใช้ข้อมูล ความรู้ ไม่ใช่ใช้ความโกรธ ความเกลียดกัน เพราะสังคมจะไปได้ต้องใช้สติปัญญา
**"อานันท์" แจกหนังสือแนวทางปฏิรูปให้ปชป.
เมื่อเวลา 14.15 น. วันเดียวกันนี้ ที่บริษัท สหยูเนี่ยน จำกัด(มหาชน) คณะประสานงานภาคประชาชน พรรคประชาธิปัตย์ นำโดย คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช นายกษิต ภิรมย์ นายกนก วงศ์ตระหง่าน ส.ส.บัญชีรายชื่อ และ นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ ส.ส.พัทลุง ได้เดินทางเข้าพบ นายอานันท์ ปันยารชุน อดีตนายกรัฐมนตรี เพื่อขอคำแนะนำการเดินหน้าปฏิรูปประเทศ
คุณหญิงกัลยา เปิดเผยว่า การเข้าพบครั้งนี้ เป็นการหารือกับผู้ใหญ่ในบ้านเมืองที่มีประสบการณ์การปฏิรูปประเทศมาก่อน ซึ่งนายอานันท์ ได้มอบหนังสือแนวทางการปฏิรูปประเทศไทย ข้อเสนอต่อพรรคการเมือง และผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ให้สมาชิกพรรคได้อ่าน และทำความเข้าใจ ว่าจะทำอะไรให้บ้านเมืองได้ดีกว่านี้ ซึ่งพรรคจะนำข้อคิดในหนังสือไปพัฒนาเป็นนโยบายของพรรคต่อไป
ทั้งนี้ การดำเนินการของพรรค จะไม่เปิดเวทีปฏิรูปการเมืองคู่ขนานกับรัฐบาล จึงไม่มีการเชิญนายอานันท์ กับคนอื่น เข้าร่วมกระบวนการของพรรค แต่การเข้าพบผู้ใหญ่ของบ้านเมือง เป็นการขอคำแนะนำจากผู้มีประสบการณ์เท่านั้นไม่ได้เป็นการบลัฟรัฐบาล หลังจากนี้จะประสานงานขอเข้าพบ นพ.ประเวศ วะสี ราษฎรอาวุโส และ นายคณิต ณ นคร อดีตประธาน คณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อความปรองดองแห่งชาติ หรือ คอป. ต่อไป
คุณหญิงกัลยา กล่าวยืนยันว่า การที่พรรคเดินตามแนวทางนี้ ไม่ได้รู้สึกว่าถูกโดเดี่ยวในทางการเมือง หลังจากไม่เข้าร่วมเวทีปฏิรูปการเมืองของรัฐบาล เพราะไม่เห็นความจริงใจ เป็นเพียงการเชิญบุคคลต่างๆ มาพูดคุยเท่านั้น ทั้งนี้หากรัฐบาลจริงใจ ก็คงไม่รุกกระบวนการต่างๆ ในสภาหนักขนาดนี้
**เมินปชป.ตั้งเวทีปฏิรูปคู่ขนานรัฐบาล
นายวราเทพ รัตนากร รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และรมช.เกษตรและสหกรณ์ กล่าวถึงกรณีที่ พรรคประชาธิปัตย์ มีเวทีเดินหน้าปฏิรูปประเทศว่า ไม่ทราบแนวทางของพรรคประชาธิปัตย์ แต่หากทำแล้วเกิดประโยชน์ ก็ควรจะทำในสิ่งที่เราช่วยกันได้ อาจจะแยกเวทีกันได้ เพราะคนที่จะตัดสินคือ สื่อมวลชน และประชาชนที่ติดตามอยู่
อย่างไรก็ตามในส่วนของรัฐบาล นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รองนายกรัฐมนตรี ได้ประชุมกับคณะทำงานที่ได้รับมอบหมายจากเวทีใหญ่ ให้มารวบรวมประเด็นที่มีการศึกษาของคณะกรรมการชุดต่างๆ โดยเฉพาะในเรื่องการเมือง เศรษฐกิจ สังคม ว่าประเด็นใดที่มีการตกผลึกเห็นตรงกันแล้ว ควรที่จะมาพิจารณาก่อน ซึ่งการประชุมครั้งนี้ มีการตกผลึกโดยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้องด้านเศรษฐกิจ และสังคม และจะสรุปได้ว่า รายชื่อคณะทำงานเวทีปฏิรูปประเทศไทยในแต่ละด้านจะมีจำนวนเท่าไร คาดว่าอีกสองสัปดาห์ กลุ่มทำงานด้านเศรษฐกิจ และด้านสังคม จะสามารถประชุมกันได้
ส่วนด้านการเมือง ต้องรอ นายบรรหาร ศิลปอาชา ที่ปรึกษาหัวหน้าพรรคชาติไทยพัฒนา กลับมาจากต่างประเทศก่อน ซึ่งท่านได้มีการนัดพบผู้นำฝ่ายค้านและแกนนำต่างๆ หลังจากนั้นก็จะไปปรึกษากับท่านว่าจะมีการประชุมคณะทำงานด้านการเมืองเมื่อไร
ส่วนที่สมาชิกพรรคประชาธิปัตย์บางส่วน เดินทางไปพบ นายอานันท์ ปันยารชุน เพื่อขอคำแนะนำปฏิรูปประเทศ รวมถึงจะไปขอคำแนะนำจากบุคคลที่รัฐบาลไปเชิญ แล้วไม่ได้ตอบรับคำเชิญ นายวราเทพ กล่าวว่า ยังเข้าใจว่ารายชื่อเหล่านั้น คงให้ข้อมูลเหมือนกับที่รัฐบาลเห็นด้วยกับเรื่องที่ต้องการปฏิรูป
เมื่อถามว่า พรรคประชาธิปัตย์ ก็ยังยืนยันในเงื่อนไข เรื่องการถอน ร่าง พ.ร.บ.ปรองดอง และ พ.ร.บ.นิรโทษกรรม นายวราเทพ กล่าวว่า ก็ให้นายบรรหาร ไปเจออีกครั้งก่อน บางทีพูดผ่านไปผ่านมา ยังไม่พูดจับเข่าคุย อย่างที่เรียนว่า ไม่ใช่วันเดียวจบ เขาอาจจะมาครั้งหลังก็ได้
ผู้สื่อถามว่า แนวทางสร้างความปรองดองของ นายโทนี แบลร์ อดีตนายกรัฐมนตรีอังกฤษ นายวราเทพ กล่าวว่าเป็นข้อประสบการณ์ เราจะเอามาใช้หรือไม่เอามาใช้ ก็อยู่ที่เรา เพราะทางออกมีหลายวิธี อยู่ที่ว่าเราจะเลือกใช้ทางออกไหน ที่เหมาะกับเรา ซึ่งบางทีต้องใช้วิธีผสมผสานกัน
** ย้ำต้องไม่นิรโทษเหมาเข่ง
ในวันเดียวกันนี้ มีการประชุมคณะกรรมาธิการวิสามัญ พิจารณาร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมแก่ผู้ซึ่งกระทำความผิด เนื่องจากการชุมนุมทางการเมือง และการแสดงออกทางการเมืองของประชาชน พ.ศ. ...นัดที่ 3 ที่มี นายสามารถ แก้วมีชัย ส.ส.เชียงราย พรรคเพื่อไทย ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการ ทำหน้าที่เป็นประธานการประชุม
ก่อนเข้าสู่วาระการประชุม ตัวแทนกลุ่มญาติวีรชน นำโดย นางพะเยาว์ อัคฮาด มารดาของ น.ส.กมนเกด อัคฮาด พยาบาลอาสาที่ถูกยิงเสียชีวิตในวัดปทุมวนาราม เมื่อวันที่ 19 พ.ค.53 ยื่นร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมฉบับประชาชน ต่อประธานคณะกรรมาธิการฯ และผู้นำฝ่านค้านในสภาผู้แทนราษฎร เพื่อให้นำร่างดังกล่าวมาประกอบการพิจารณาด้วย
จากนั้น นายวรชัย เหมะ ส.ส. สมุทรปราการ พรรคเพื่อไทย ในฐานะผู้เสนอ ร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ ยืนยันว่า ร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ ที่เสนอขึ้นมาไม่ได้มีอะไรแอบแฝง แต่ต้องการช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับความเดือนร้อนจากการชุมนุมตั้งแต่ปี 2549 ถึง 2553 โดยยึดแบบแผนเช่นเดียวกับการนิรโทษกรรมให้กับประชาชนที่ชุมนุมในเดือนตุลาคม ปี 2516 มาเป็นแบบแผน
ดังนั้นในฐานะ ส.ส. จึงต้องให้ความช่วยเหลือประชาชน พร้อมยอมรับว่า เรื่องการออก พ.ร.บ. นิรโทษกรรม มีทั้งคนที่เห็นด้วย และไม่เห็นด้วย จึงอยากให้กรรมาธิการคำนึงถึงความเดือนร้อนของประชาชนเป็นหลัก
ด้านนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร เห็นด้วยกับแนวทางที่จะให้ความช่วยเหลือประชาชน แต่ส่วนตัวเห็นว่า ควรจะเชิญคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ หรือ คอป. เข้ามาร่วมพิจารณาด้วย เนื่องจากเป็นองค์กรที่ได้ทำงานอย่างอิสระ และดำเนินงานเรื่องดังกล่าวโดยตรง โดยเฉพาะการดูแลสิทธิของประชาชน และการประกันตัวระหว่างที่ถูกจำคุก อีกทั้งควรกำหนดการนิรโทษกรรมให้กับประชาชนที่เข้าร่วมชุมนุม ซึ่งไม่ได้กระทำผิดตามกฎหมายอาญาเท่านั้น
ขณะที่กรรมาธิการ เสนอให้มีการศึกษาบทเรียน ประวัติศาสตร์ต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศ รวมถึงเชิญบุคคลต่างๆ มาให้ความคิดเห็นเพื่อให้เป็นที่ยอมรับของทุกฝ่าย ตลอดจนมองว่า การพิจารณาจะต้องปราศจากอคติในทุกๆเรื่อง เพื่อให้ได้ข้อสรุปที่เป็นข้อเท็จจริงมากที่สุด อย่างไรก็ตาม ที่ประชุมยังไม่ได้ข้อสรุปว่าจะเชิญหน่วยงานใดเข้าร่วมบ้าง
**"บิ๊กบัง"ไม่ตอบปฏิวัติทำไม
จากนั้นที่ประชุมได้อภิปรายกันอย่างกว้างขวาง ถึงสาเหตุการเกิดความขัดแย้ง มูลเหตุจูงใจทางการเมือง ช่วงระยะเวลา และประเภทคดีความผิดที่จะได้รับการนิรโทษกรรม
นายวัชระ เพชรทอง ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) ในฐานะกรรมาธิการสัดส่วนพรรคฝ่ายค้าน กล่าวว่า การรัฐประหารปี 2549 เป็นเหตุการณ์สำคัญที่สร้างความขัดแย้ง และเป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้มีการผลักดัน ร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ ดังนั้น พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคมาตุภูมิ ในฐานะกรรมาธิการสัดส่วนรัฐบาล ควรตอบคำถามให้ได้ว่า ปฏิวัติ เพื่ออะไร และผลของการปฏิวัติ ถือว่าประสบความสำเร็จหรือไม่
ด้าน พล.อ.สนธิ กล่าวว่า ส่วนตัวคิดเสมอว่า อยากให้ประเทศเจริญรุ่งเรือง คนไทยรักสามัคคีกัน และอยากให้ชาติบ้านเมืองมีความสงบสุข โดยตนพยายามพูดเสมอว่า ความขัดแย้งที่เกิดขึ้น หากยังหยิบความขัดแย้งเก่ามาพูด ความสงบคงไม่เกิดขึ้น หากยังถอยไปยังอดีตอีก ปัญหาในประเทศชาติก็จะไม่จบ
“สิ่งที่เป็นประวัติศาสตร์ เราก็ต้องดูมูลเหตุว่าเกิดขึ้นได้อย่างไร แล้วก็อย่าให้มันเกิดขึ้นอีก ส่วนตัวผมอยากเห็นบ้านเมืองก้าวไปอย่างสงบสุข ไม่เช่นนั้น หากยึดอำนาจเสร็จ คงยึดอำนาจไว้กับตัวเองแล้ว ดังนั้นวันนี้เราต้องพูดในเชิงสร้างสรรค์ ถ้าไม่สร้างสรรค์ คุยกันไปก็คงเหนื่อย มีงานวิจัยของชาวฝรั่งเศสบอกว่า คนไทยเจริญยาก เพราะปัญหานิสัยคนไทย ดังนั้นเราต้องให้อภัย ต้องลืมไปบ้าง เพื่อที่เราจะได้คุยกัน แล้วลูกหลานเราในวันหน้าจะได้ภูมิใจ”พล.อ.สนธิ กล่าว
นอกจากนี้ คือการกระจายอำนาจ เพราะหากอำนาจกระจุกตัว สังคมจะอ่อนแอ ขัดแย้งทางวัฒนธรรมท้องถิ่น อย่างเช่น กรณีความขัดแย้งใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ การรวมศูนย์อำนาจ ทำให้การคอร์รัปชันมากขึ้น การเมืองรุนแรง หากกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น การสู้กันจะไม่รุนแรง การรัฐประหารจะทำไม่ได้
“การสนับสนุนสังคมให้เข้มแข็ง มีเครื่องมือเยอะ หากเข้าใจ หากรัฐเข้ามาส่งเสริม มีงบฯ สนับสนุน ซึ่งการศึกษาที่ผ่านมา 100 ปี ไม่ได้สร้างบุคลิก ในเรื่องความสุจริต จิตสาธารณะ เอาแต่ท่องอย่างเดียว”นพ.ประเวศ กล่าว
นพ.ประเวศ ยังให้สัมภาษณ์ ถึงกรณีแนวทางปฏิรูปการเมืองว่า เป็นเรื่องที่ดี เพราะเวลาที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี จะเป็นผู้ริเริ่ม ทำให้เกิดกระแส ที่จะได้นำไปพัฒนา ในการจัดเวทีปฏิรูปการเมืองนั้น ย่อมมีคนที่เห็นด้วย และไม่เห็นด้วย แต่อย่าระบุเรื่อง ความจริงใจ หรือ ไม่จริงใจ เมื่อเกิดเป็นประเด็นทางการเมือง ก็ต้องช่วยกันแก้ไขให้เป็นกระบวนการสาธารณะ เพื่อที่จะให้คนเข้าร่วมจำนวนมากๆ ช่วยกันคิดช่วยกันทำในหลายๆ ด้าน แล้วทุกอย่างจะดีขึ้น ไม่ใช่ไปถามในเรื่องจริงใจหรือไม่จริงใจ เพราะเรื่องเหล่านี้เราไม่รู้เพราะเป็นนามธรรม ซึ่งเราควรจะใช้สิ่งนี้เป็นโอกาส
นพ.ประเวศ กล่าวว่า ประเทศไทยมีประสบการณ์ในเรื่องการปฏิรูปมาหลายครั้ง แต่ที่ไม่ค่อยสำเร็จ เพราะมันปฏิรูปอยู่แต่ที่คนข้างบน แต่คราวนี้ต้องเอาคนข้างล่าง คือประชาชนเข้ามา ซึ่งจะเป็นการปฏิรูปการเมือง หรือการปฏิรูปประเทศไทยก็แล้วแต่ แต่ประชาชนจะต้องเป็นผู้ปฏิรูป
“การปฏิรูปที่ผ่านมา เรารู้ เพราะชาวบ้านบอกเลยว่า การปฏิรูปที่จะสำเร็จไม่ใช่ นายอานันท์ ปันยารชุน หรือ หมอประเวศ แต่ประชาชนเป็นผู้ปฏิรูป ซึ่ง ประชาชนจะปฏิรูปใน 3 ระดับ คือ การปฏิรูปตัวเอง การปฏิรูปในระดับองค์กร และการปฏิรูปในระดับนโยบาย เพราะฉะนั้นในการปฏิรูปคราวนี้ ที่ผมเสนอคือให้ทำสามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขา คือทำในเรื่องยากๆ โดยฝ่ายการเมืองเป็นคณะกรรมการปฏิรูป มีนายกฯเป็นประธาน และมีเครือข่ายประชาชน กลุ่มองค์กรต่างๆ ที่ขับเคลื่อนอยู่ในขณะนี้ อย่าง กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ก็พูดถึงเรื่องนี้มานานแล้ว ว่าต้องการปฏิรูปประเทศไทย ตอนนี้ นปช.ก็พูด พรรคเพื่อไทย คุณภูมิธรรม เวชยชัย ก็พูด ที่กำลังชุมนุมที่สวนลุมฯ ก็พูดถึงปฏิรูปประเทศไทย ประชาธิปัตย์ก็กำลังเดินสายว่าจะปฏิรูประเทศไทย ตกลงมันกำลังเคลื่อนมา แม้ต่างคนต่างทำก็ไม่เป็นไร ซึ่งจุดนี้ก็คือเครือข่ายประชาชน ใครๆ ก็มีส่วนร่วมตรงนั้นได้ จะชอบหรือไม่ชอบรัฐบาลก็ร่วมตรงนี้ได้ แล้วให้เข้ามาเชื่อมโยงกัน เมื่อคิดอะไรดีๆ ก็ให้เชื่อมโยงไปสู่คณะกรรมการปฏิรูปที่นายกรัฐมนตรีเป็นประธาน และคณะกรรมการฯ นำไปปฏิบัติ ซึ่งเป็นความต้องการของประชาชนจะทำได้ง่าย กว่านักการเมืองที่จะมีผู้คัดค้าน เราจึงต้องช่วยกันทำให้เป็นกระบวนการสาธารณะ” นพ.ประเวศ กล่าว และว่าการที่พรรคประชาธิปัตย์ ยังไม่เข้าร่วมคณะกรรมการปฏิรูป แต่ไปเดินสายของตัวเอง สุดท้ายจะไปเชื่อมโยงกันเอง
นพ.ประเวศ ยังเห็นว่า การปฏิรูปการเมืองเป็นเรื่องยาก ที่คงไม่สำเร็จโดยง่าย อาจต้องใช้เวลา 5-10 ปี ถึงจะเห็นผล ซึ่งต้องใช้ สติปัญญา ใช้ข้อมูล ความรู้ ไม่ใช่ใช้ความโกรธ ความเกลียดกัน เพราะสังคมจะไปได้ต้องใช้สติปัญญา
**"อานันท์" แจกหนังสือแนวทางปฏิรูปให้ปชป.
เมื่อเวลา 14.15 น. วันเดียวกันนี้ ที่บริษัท สหยูเนี่ยน จำกัด(มหาชน) คณะประสานงานภาคประชาชน พรรคประชาธิปัตย์ นำโดย คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช นายกษิต ภิรมย์ นายกนก วงศ์ตระหง่าน ส.ส.บัญชีรายชื่อ และ นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ ส.ส.พัทลุง ได้เดินทางเข้าพบ นายอานันท์ ปันยารชุน อดีตนายกรัฐมนตรี เพื่อขอคำแนะนำการเดินหน้าปฏิรูปประเทศ
คุณหญิงกัลยา เปิดเผยว่า การเข้าพบครั้งนี้ เป็นการหารือกับผู้ใหญ่ในบ้านเมืองที่มีประสบการณ์การปฏิรูปประเทศมาก่อน ซึ่งนายอานันท์ ได้มอบหนังสือแนวทางการปฏิรูปประเทศไทย ข้อเสนอต่อพรรคการเมือง และผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ให้สมาชิกพรรคได้อ่าน และทำความเข้าใจ ว่าจะทำอะไรให้บ้านเมืองได้ดีกว่านี้ ซึ่งพรรคจะนำข้อคิดในหนังสือไปพัฒนาเป็นนโยบายของพรรคต่อไป
ทั้งนี้ การดำเนินการของพรรค จะไม่เปิดเวทีปฏิรูปการเมืองคู่ขนานกับรัฐบาล จึงไม่มีการเชิญนายอานันท์ กับคนอื่น เข้าร่วมกระบวนการของพรรค แต่การเข้าพบผู้ใหญ่ของบ้านเมือง เป็นการขอคำแนะนำจากผู้มีประสบการณ์เท่านั้นไม่ได้เป็นการบลัฟรัฐบาล หลังจากนี้จะประสานงานขอเข้าพบ นพ.ประเวศ วะสี ราษฎรอาวุโส และ นายคณิต ณ นคร อดีตประธาน คณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อความปรองดองแห่งชาติ หรือ คอป. ต่อไป
คุณหญิงกัลยา กล่าวยืนยันว่า การที่พรรคเดินตามแนวทางนี้ ไม่ได้รู้สึกว่าถูกโดเดี่ยวในทางการเมือง หลังจากไม่เข้าร่วมเวทีปฏิรูปการเมืองของรัฐบาล เพราะไม่เห็นความจริงใจ เป็นเพียงการเชิญบุคคลต่างๆ มาพูดคุยเท่านั้น ทั้งนี้หากรัฐบาลจริงใจ ก็คงไม่รุกกระบวนการต่างๆ ในสภาหนักขนาดนี้
**เมินปชป.ตั้งเวทีปฏิรูปคู่ขนานรัฐบาล
นายวราเทพ รัตนากร รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และรมช.เกษตรและสหกรณ์ กล่าวถึงกรณีที่ พรรคประชาธิปัตย์ มีเวทีเดินหน้าปฏิรูปประเทศว่า ไม่ทราบแนวทางของพรรคประชาธิปัตย์ แต่หากทำแล้วเกิดประโยชน์ ก็ควรจะทำในสิ่งที่เราช่วยกันได้ อาจจะแยกเวทีกันได้ เพราะคนที่จะตัดสินคือ สื่อมวลชน และประชาชนที่ติดตามอยู่
อย่างไรก็ตามในส่วนของรัฐบาล นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รองนายกรัฐมนตรี ได้ประชุมกับคณะทำงานที่ได้รับมอบหมายจากเวทีใหญ่ ให้มารวบรวมประเด็นที่มีการศึกษาของคณะกรรมการชุดต่างๆ โดยเฉพาะในเรื่องการเมือง เศรษฐกิจ สังคม ว่าประเด็นใดที่มีการตกผลึกเห็นตรงกันแล้ว ควรที่จะมาพิจารณาก่อน ซึ่งการประชุมครั้งนี้ มีการตกผลึกโดยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้องด้านเศรษฐกิจ และสังคม และจะสรุปได้ว่า รายชื่อคณะทำงานเวทีปฏิรูปประเทศไทยในแต่ละด้านจะมีจำนวนเท่าไร คาดว่าอีกสองสัปดาห์ กลุ่มทำงานด้านเศรษฐกิจ และด้านสังคม จะสามารถประชุมกันได้
ส่วนด้านการเมือง ต้องรอ นายบรรหาร ศิลปอาชา ที่ปรึกษาหัวหน้าพรรคชาติไทยพัฒนา กลับมาจากต่างประเทศก่อน ซึ่งท่านได้มีการนัดพบผู้นำฝ่ายค้านและแกนนำต่างๆ หลังจากนั้นก็จะไปปรึกษากับท่านว่าจะมีการประชุมคณะทำงานด้านการเมืองเมื่อไร
ส่วนที่สมาชิกพรรคประชาธิปัตย์บางส่วน เดินทางไปพบ นายอานันท์ ปันยารชุน เพื่อขอคำแนะนำปฏิรูปประเทศ รวมถึงจะไปขอคำแนะนำจากบุคคลที่รัฐบาลไปเชิญ แล้วไม่ได้ตอบรับคำเชิญ นายวราเทพ กล่าวว่า ยังเข้าใจว่ารายชื่อเหล่านั้น คงให้ข้อมูลเหมือนกับที่รัฐบาลเห็นด้วยกับเรื่องที่ต้องการปฏิรูป
เมื่อถามว่า พรรคประชาธิปัตย์ ก็ยังยืนยันในเงื่อนไข เรื่องการถอน ร่าง พ.ร.บ.ปรองดอง และ พ.ร.บ.นิรโทษกรรม นายวราเทพ กล่าวว่า ก็ให้นายบรรหาร ไปเจออีกครั้งก่อน บางทีพูดผ่านไปผ่านมา ยังไม่พูดจับเข่าคุย อย่างที่เรียนว่า ไม่ใช่วันเดียวจบ เขาอาจจะมาครั้งหลังก็ได้
ผู้สื่อถามว่า แนวทางสร้างความปรองดองของ นายโทนี แบลร์ อดีตนายกรัฐมนตรีอังกฤษ นายวราเทพ กล่าวว่าเป็นข้อประสบการณ์ เราจะเอามาใช้หรือไม่เอามาใช้ ก็อยู่ที่เรา เพราะทางออกมีหลายวิธี อยู่ที่ว่าเราจะเลือกใช้ทางออกไหน ที่เหมาะกับเรา ซึ่งบางทีต้องใช้วิธีผสมผสานกัน
** ย้ำต้องไม่นิรโทษเหมาเข่ง
ในวันเดียวกันนี้ มีการประชุมคณะกรรมาธิการวิสามัญ พิจารณาร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมแก่ผู้ซึ่งกระทำความผิด เนื่องจากการชุมนุมทางการเมือง และการแสดงออกทางการเมืองของประชาชน พ.ศ. ...นัดที่ 3 ที่มี นายสามารถ แก้วมีชัย ส.ส.เชียงราย พรรคเพื่อไทย ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการ ทำหน้าที่เป็นประธานการประชุม
ก่อนเข้าสู่วาระการประชุม ตัวแทนกลุ่มญาติวีรชน นำโดย นางพะเยาว์ อัคฮาด มารดาของ น.ส.กมนเกด อัคฮาด พยาบาลอาสาที่ถูกยิงเสียชีวิตในวัดปทุมวนาราม เมื่อวันที่ 19 พ.ค.53 ยื่นร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมฉบับประชาชน ต่อประธานคณะกรรมาธิการฯ และผู้นำฝ่านค้านในสภาผู้แทนราษฎร เพื่อให้นำร่างดังกล่าวมาประกอบการพิจารณาด้วย
จากนั้น นายวรชัย เหมะ ส.ส. สมุทรปราการ พรรคเพื่อไทย ในฐานะผู้เสนอ ร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ ยืนยันว่า ร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ ที่เสนอขึ้นมาไม่ได้มีอะไรแอบแฝง แต่ต้องการช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับความเดือนร้อนจากการชุมนุมตั้งแต่ปี 2549 ถึง 2553 โดยยึดแบบแผนเช่นเดียวกับการนิรโทษกรรมให้กับประชาชนที่ชุมนุมในเดือนตุลาคม ปี 2516 มาเป็นแบบแผน
ดังนั้นในฐานะ ส.ส. จึงต้องให้ความช่วยเหลือประชาชน พร้อมยอมรับว่า เรื่องการออก พ.ร.บ. นิรโทษกรรม มีทั้งคนที่เห็นด้วย และไม่เห็นด้วย จึงอยากให้กรรมาธิการคำนึงถึงความเดือนร้อนของประชาชนเป็นหลัก
ด้านนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร เห็นด้วยกับแนวทางที่จะให้ความช่วยเหลือประชาชน แต่ส่วนตัวเห็นว่า ควรจะเชิญคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ หรือ คอป. เข้ามาร่วมพิจารณาด้วย เนื่องจากเป็นองค์กรที่ได้ทำงานอย่างอิสระ และดำเนินงานเรื่องดังกล่าวโดยตรง โดยเฉพาะการดูแลสิทธิของประชาชน และการประกันตัวระหว่างที่ถูกจำคุก อีกทั้งควรกำหนดการนิรโทษกรรมให้กับประชาชนที่เข้าร่วมชุมนุม ซึ่งไม่ได้กระทำผิดตามกฎหมายอาญาเท่านั้น
ขณะที่กรรมาธิการ เสนอให้มีการศึกษาบทเรียน ประวัติศาสตร์ต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศ รวมถึงเชิญบุคคลต่างๆ มาให้ความคิดเห็นเพื่อให้เป็นที่ยอมรับของทุกฝ่าย ตลอดจนมองว่า การพิจารณาจะต้องปราศจากอคติในทุกๆเรื่อง เพื่อให้ได้ข้อสรุปที่เป็นข้อเท็จจริงมากที่สุด อย่างไรก็ตาม ที่ประชุมยังไม่ได้ข้อสรุปว่าจะเชิญหน่วยงานใดเข้าร่วมบ้าง
**"บิ๊กบัง"ไม่ตอบปฏิวัติทำไม
จากนั้นที่ประชุมได้อภิปรายกันอย่างกว้างขวาง ถึงสาเหตุการเกิดความขัดแย้ง มูลเหตุจูงใจทางการเมือง ช่วงระยะเวลา และประเภทคดีความผิดที่จะได้รับการนิรโทษกรรม
นายวัชระ เพชรทอง ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) ในฐานะกรรมาธิการสัดส่วนพรรคฝ่ายค้าน กล่าวว่า การรัฐประหารปี 2549 เป็นเหตุการณ์สำคัญที่สร้างความขัดแย้ง และเป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้มีการผลักดัน ร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ ดังนั้น พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคมาตุภูมิ ในฐานะกรรมาธิการสัดส่วนรัฐบาล ควรตอบคำถามให้ได้ว่า ปฏิวัติ เพื่ออะไร และผลของการปฏิวัติ ถือว่าประสบความสำเร็จหรือไม่
ด้าน พล.อ.สนธิ กล่าวว่า ส่วนตัวคิดเสมอว่า อยากให้ประเทศเจริญรุ่งเรือง คนไทยรักสามัคคีกัน และอยากให้ชาติบ้านเมืองมีความสงบสุข โดยตนพยายามพูดเสมอว่า ความขัดแย้งที่เกิดขึ้น หากยังหยิบความขัดแย้งเก่ามาพูด ความสงบคงไม่เกิดขึ้น หากยังถอยไปยังอดีตอีก ปัญหาในประเทศชาติก็จะไม่จบ
“สิ่งที่เป็นประวัติศาสตร์ เราก็ต้องดูมูลเหตุว่าเกิดขึ้นได้อย่างไร แล้วก็อย่าให้มันเกิดขึ้นอีก ส่วนตัวผมอยากเห็นบ้านเมืองก้าวไปอย่างสงบสุข ไม่เช่นนั้น หากยึดอำนาจเสร็จ คงยึดอำนาจไว้กับตัวเองแล้ว ดังนั้นวันนี้เราต้องพูดในเชิงสร้างสรรค์ ถ้าไม่สร้างสรรค์ คุยกันไปก็คงเหนื่อย มีงานวิจัยของชาวฝรั่งเศสบอกว่า คนไทยเจริญยาก เพราะปัญหานิสัยคนไทย ดังนั้นเราต้องให้อภัย ต้องลืมไปบ้าง เพื่อที่เราจะได้คุยกัน แล้วลูกหลานเราในวันหน้าจะได้ภูมิใจ”พล.อ.สนธิ กล่าว