หากเราวิเคราะห์ คำว่า “จิตเป็นนาย กายเป็นบ่าว” การต่อสู้ของพี่น้องเกษตรกรชาวสวนยาง จะต้องต่อสู้ให้ได้มาซึ่งการเมืองโดยธรรม “เพราะการเมืองเป็นนายเศรษฐกิจเป็นบ่าว” การเมืองดี เศรษฐกิจดี ในทางตรงกันข้าม การเมืองเลว เศรษฐกิจเลว การเมืองเป็นของพวกธุรกิจการเมืองเพียงหยิบมือเดียว เศรษฐกิจก็เป็นของพวกธุรกิจการเมืองเพียงหยิบมือเดียว ทำการเมืองให้เป็นของปวงชน เศรษฐกิจก็เป็นของปวงชน
ดังนั้น พี่น้องชาวสวนยางนอกจากจะต้องต่อสู้ปัญหาเศรษฐกิจแล้วจะยกระดับการต่อสู้ทางการเมืองด้วย ดังคำขวัญที่ว่า “เกษตรกรสามัคคีกันสร้างสรรค์หลักธรรมาธิปไตย 9”
ชาวเกษตรกร จะต้องรู้ความจริงว่า เหตุที่ชาวเกษตรกรเรามีความทุกข์ยาก เดือดร้อนแสนสาหัส ไม่ได้รับความยุติธรรมต่างๆ นานา ก็เพราะว่า ถูกนักการเมืองหลอกว่าการเมืองเป็นประชาธิปไตย หากเป็นประชาธิปไตยจริงๆ อำนาจอธิปไตยก็จะต้องเป็นของปวงชน แต่มันกลายแค่ตัวหนังสือในกฎหมายรัฐธรรมนูญ แต่อำนาจอธิปไตยจริงๆ กลายเป็นของผู้ปกครอง นักธุรกิจการเมืองเพียงหยิบมือเดียว
การเมืองไทยเป็นระบอบเผด็จการ เพราะไม่มีหลักการปกครองโดยธรรม หรือไม่มีจุดหมายร่วมของปวงชนมีแต่กฎหมายรัฐธรรมนูญซึ่งเป็นเพียงวิธีการปกครอง หรือเป็นเครื่องมือของผู้ปกครองเพียงหยิบมือเดียว
ผู้ปกครองเอารูปแบบและวิธีการ อันได้แก่ เครื่องมืออันเป็นวิธีการคือกฎหมายรัฐธรรมนูญ มีรูปการปกครองคือระบบรัฐสภา และการเลือกตั้งแบบเผด็จการ ซึ่งเป็นเพียงวิธีการหนึ่งในการคัดคนเข้าสู่อำนาจทางการเมืองแบบซื้อเอา แล้วก็มาหลอกประชาชนว่านี่คือระบอบประชาธิปไตย
เมื่อประเทศไทย ไม่มีจุดหมายร่วมของชาติ หรือไม่มีระบอบโดยธรรมหรือไม่มีหลักการปกครองโดยธรรม เป็นศูนย์กลางของประชาชน ประชาชนจึงตกเป็นเครื่องมือของนักการเมือง เป็นทาสทางการเมืองให้นักการเมืองหลอกให้รับใช้ทางการเมืองตามตัวบทกฎหมายเพราะจุดหมายของการเมืองการปกครองปัจจุบันมันอยู่ที่คณะผู้ปกครอง (พรรคร่วมรัฐบาล) เพียงหยิบมือเดียว
ดังนั้น เมื่อหลักการปกครองโดยธรรมมันไม่มี ก็เท่ากับว่าการเมืองของประชาชนไม่มี มันจึงกลายเป็นการเมืองของนักการเมือง และนักการเมืองใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือในการบังคับประชาชน เมื่อประชาชนไทยไม่มีการเมืองร่วมกัน ก็จะทำให้เกิดความแตกแยก ไปกันคนละทิศละทาง ร้อยคน ร้อยจุดหมาย พันคน พันจุดหมาย พรรคการเมืองจึงหลอกประชาชนว่าจุดหมายของประชาชนคือพรรคการเมือง แต่แท้ที่จริงจุดหมายของประชาชนคือความเป็นธรรมหรือหลักการปกครองฯ หลักการปกครองฯ เป็นเช่นไร ระบอบฯ ก็เป็นเช่นนั้น
สรุปตรงนี้ว่าการเมืองเผด็จการ การเมือง คือนักการเมือง การปกครอง คือ กฎหมายรัฐธรรมนูญ
ส่วนการเมืองธรรมาธิปไตย เป็นของปวงชน คือ หลักการปกครองธรรมาธิปไตย 9 ส่วนการปกครองคือ กฎหมายรัฐธรรมนูญ ที่เกิดจากหลักการปกครอง ดุจดัง ดาวเคราะห์ ขึ้นตรงต่อดวงอาทิตย์
เมื่อสภาพการณ์เป็นจริง ประเทศไทยมีการเมืองการปกครองเป็นเผด็จการ ด้วยเหตุผลดังกล่าวแล้ว
จึงเป็นเหตุให้ประชาชนทุกสาขาอาชีพ เดือดร้อนกันไปทั่วทุกหย่อมหญ้า ขณะเดียวกันประชาชนต่างสาขาอาชีพ ก็มีผลประโยชน์แตกต่างกันไปตามสาขาอาชีพนั้น
ดังนั้น การต่อสู้ทางเศรษฐกิจเพียงด้านเดียว อาจจะถูกโดดเดี่ยวจากประชาชน เพราะประชาชนสาขาอาชีพอื่นๆ มองว่าการปิดถนนเป็นการเห็นแก่ตัวของคนบางกลุ่ม
หากว่า แกนนำชาวสวนยางเรียกร้องทางเศรษฐกิจและยกระดับขึ้นสู่การเรียกร้องการต่อสู้ทางการเมืองด้วย ก็จะกลายเป็นการชุมนุมเพื่อคนทั้งประเทศ เป็นการชุมนุมที่รู้ปัญหาของชาติ ว่าอะไร คือเหตุแห่งหายนะในทุกด้านที่ทับถมประชาชนไทยอยู่
ทุกรัฐบาลจะมีแต่กู้กับกู้ ก็เท่ากับว่าทุกรัฐบาล ยิ่งปกครองประชาชนยิ่งยากจน ยิ่งปกครองนักการเมืองยิ่งเสื่อม ทั้งนี้เพราะมันเป็นการเมืองของคณะนักการเมืองเพียงหยิบมือเดียว
ฝ่ายรัฐบาลเองก็น่าที่จะได้ศึกษาว่านี่คือระบอบเผด็จการ โดยไม่ไปแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพราะนั่นมันกลายเป็นการกระชับระบอบเผด็จการให้มากยิ่งขึ้นๆ นั่นเอง ไม่ใช่เป็นการทำให้เป็นประชาธิปไตยตามลมปากของรัฐบาล
ก็สภาพความเป็นจริงมันเป็นระบอบเผด็จการ เมื่อรัฐบาลไปทำ ไปแก้ ไปคิดปฏิรูป มันก็ยิ่งทำให้เป็นเผด็จการยิ่งขึ้นแต่รัฐบาลมองไม่เห็น หากรัฐบาลฉลาด รัฐบาลก็ร่วมมือกับประชาชน ในการแก้ไขเหตุเหตุวิกฤตชาติ
รัฐบาลเองก็น่าจะรู้ว่า รัฐบาลมีอุปสรรคมากมายในการบริหารประเทศ เพราะประชาชนภายใต้ระบอบเผด็จการ ไม่เป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกับรัฐบาล เพราะมันเป็นไม่ได้ก็เพราะ หนึ่ง รัฐบาลปกครองกดขี่ สอง ประชาชนไม่ให้ความร่วมมือกับรัฐบาลและต่อต้านรัฐบาล และมีการประท้วงรัฐบาล รัฐบาลจะตกเป็นฝ่ายรับทางการเมือง ฝ่ายต่อต้านที่มีการเมืองเหนือกว่าก็จะเป็นฝ่ายรุกทางทางการเมือง ฝ่ายไหนเป็นฝ่ายรุกทางการเมืองฝ่ายนั้นเป็นฝ่ายชนะ
การต่อสู้ที่ชาญฉลาด ผู้นำแกนนำ หรือใครๆ ก็ตาม ท่านต้องรู้ว่า รัฐบาลเขาใช้การเมืองเผด็จการสู้กับประชาชนผู้ต่อต้านรัฐบาล ขณะเดียวกันฝ่ายต่อต้านรัฐบาลต่อสู้ทางเศรษฐกิจเพียงด้านเดียว ก็แน่นอนว่าฝ่ายประชาชนจะต้องพ่ายแพ้ เพราะใช้เครื่องมือหรืออาวุธที่ต่ำกว่า
หรือกรณีมวลชนใหญ่สามารถที่จะล้มรัฐบาลได้อย่างสบายๆ แต่เพราะว่าแกนนำได้ต่อสู้ด้วยการเมืองเผด็จการเช่นกัน ฝ่ายมวลชนที่ต่อต้านรัฐบาลก็จะต้องแพ้รัฐบาลไป ก็ที่เห็นๆ กันอยู่
รัฐบาลทุกรัฐบาล เป็นรัฐบาลภายใต้ระบอบเผด็จการรัฐธรรมนูญ ระบอบเผด็จการรัฐธรรมนูญ เกิดจากลัทธิเผด็จการรัฐธรรมนูญ ที่คณะราษฎรได้สถาปนาขึ้น เมื่อ 24 มิถุนายน 2475 อย่างเช่น จอมพล ป. พิบูลสงคราม มีความเชื่อว่า รัฐธรรมนูญคือระบอบประชาธิปไตย การจะได้ประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ ต้องร่างรัฐธรรมนูญให้เป็นประชาธิปไตย หรือแก้ไขรัฐธรรมนูญให้เป็นประชาธิปไตย แต่หารู้ไม่ว่า การกระทำเช่นนั่น เป็นการทำให้ประเทศและประชาชนตกอยู่ภายใต้ระบอบเผด็จการมากยิ่งขึ้น
เมื่อแกนนำมวลชน นำการต่อสู้ โดยไปมองที่ผู้ปกครองเลว นายกฯ เลวเพียงอย่างเดียว ไม่มองอย่างรอบด้าน ว่าเหตุแห่งนายกฯ เลว ทุกรัฐบาลเลว มันมาจากสาเหตุอะไร
เมื่อนายกฯ คนนั้นออกไป นายกฯ คนใหม่มา มันก็ยังเป็นระบอบเผด็จการอยู่นั่นเอง เพียงแต่เปลี่ยนหน้า แต่เนื้อหายังคงเดิม
ถึงขนาดว่า คณะทหารทำรัฐประหาร ล้มรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งภายใต้ระบอบเผด็จการ แต่ไม่ล้มระบอบเผด็จการคือกลับไปร่างรัฐธรรมนูญฉบับที่ 18 ปี 50 มันก็เท่ากับว่า ล้มรัฐบาล คือล้มเงาของระบอบเผด็จการ และระบอบเผด็จการยังคงอยู่ตราบจนทุกวันนี้
หากว่าวันนั้น แกนนำมวลชนประสานกับฝ่ายรัฐประหาร ว่าจะต้องเอาอย่างนี้นะ คณะรัฐประหารจะต้องสถาปนาหลักการปกครองธรรมาธิปไตย 9 หรือหลักการปกครองแบบประชาธิปไตยโดยธรรม
การรัฐประหารในวันนั้น และคณะมวลชนในวันนั้นก็จะกลายเป็นคณะปฏิวัติ คือล้มระบอบเผด็จการลงและได้สถาปนาหลักการปกครองโดยธรรมให้แก่ประชาชน แกนนำมวลชนในวันก็ยังคงโดดเด่น เป็นคณะรัฐบุรุษ แต่กลับกลายเป็นว่าเสียแรงเปล่า
ความผิดพลาดในครั้งนั้น ทั้งฝ่ายมวลชนและฝ่ายรัฐประหาร ต่างก็ยังเป็นฝ่ายลัทธิรัฐธรรมนูญ คือต่างก็ยังมีแนวคิดว่ารัฐบาลไม่ดีเพราะรัฐธรรมนูญไม่ดี จึงร่างรัฐธรรมนูญใหม่ แต่มันกลายเป็นปีศาจตัวใหม่ขึ้นมาอีกครั้ง ในนามกฎหมายรัฐธรรมนูญ ฉบับปี 50 ซึ่งเป็นเหตุแห่งสภาเดรัจฉาน รัฐบาลเดรัจฉาน ฯลฯ ตามความเห็นของนายสนธิ ลิ้มทองกุล
อย่างเช่น มวลชนกลุ่มใหม่ออกมาไล่ระบอบทักษิณ ตามความเชื่อของพรรคประชาธิปัตย์ ทักษิณ หรือรัฐบาล ปู ยิ่งลักษณ์ เขาก็เป็นเพียงเงาของระบอบเผด็จการรัฐธรรมนูญ หากเขาไล่เงา ก็เหมือนมวลชนในอดีต เสียแรงเปล่า ทักษิณก็มา มาร์คก็มา ปูก็มา เช่นเดิม เนื้อหาเผด็จการยังเหมือนเดิม เป็นแต่เพียงชื่อเท่านั้น ที่เปลี่ยนไป
ผู้เขียนก็ขอฝากอยากให้แกนนำทุกมวลชน ทุกฝ่าย อย่าเพียงแต่ไล่เงาของระบอบเผด็จการเพียงอย่างเดียวอยู่เลย อย่าต่อสู้ทางเศรษฐกิจเพียงอย่างเดียวอยู่เลย เพราะจะพ่ายแพ้และตกเป็นฝ่ายรับทางการเมือง แต่ขอให้ต่อสู้ ทุกการต่อสู้เพื่อโค่นระบอบเผด็จการรัฐธรรมนูญ ขอให้ยกระดับการต่อสู้ “โค่นรัฐบาลเพื่อการสถาปนาหลักการปกครองธรรมาธิปไตย 9” หรือ “ร่วมมือกับรัฐบาลเพื่อการสถาปนาหลักการปกครองธรรมาธิปไตย 9” หรือ “ต่อสู้เพื่อราคายางเพื่อย่างก้าวสู่หลักการปกครองธรรมาธิปไตย 9”หากคิดทำได้ดังกล่าวนี้ ก็จะเป็นเสนอการเมืองที่เหนือกว่าระบอบเผด็จการ จึงเป็นการรุกกลับทางการเมือง รัฐบาลตกเป็นฝ่ายรับทางการเมือง
ฝ่ายไหนเป็นฝ่ายรุกฝ่ายนั้นชนะเสมอไป ชาวสวนยางก็จะกลายเป็นฮีโร่ของชาติเป็นกองหน้าของประชาชน เพราะเป็นการทำเพื่อประโยชน์แห่งชาติและประชาชนไทยทุกคนอย่างแท้จริง อย่างน้อยที่สุดก็เป็นตัวอย่างการต่อสู้ที่ถูกต้องเปลี่ยนการเมืองของนักการเมือง มาเป็นการเมืองของปวงชนด้วยหลักการปกครองธรรมาธิปไตย 9 พิจารณาด้วยปัญญาเถิด
ดังนั้น พี่น้องชาวสวนยางนอกจากจะต้องต่อสู้ปัญหาเศรษฐกิจแล้วจะยกระดับการต่อสู้ทางการเมืองด้วย ดังคำขวัญที่ว่า “เกษตรกรสามัคคีกันสร้างสรรค์หลักธรรมาธิปไตย 9”
ชาวเกษตรกร จะต้องรู้ความจริงว่า เหตุที่ชาวเกษตรกรเรามีความทุกข์ยาก เดือดร้อนแสนสาหัส ไม่ได้รับความยุติธรรมต่างๆ นานา ก็เพราะว่า ถูกนักการเมืองหลอกว่าการเมืองเป็นประชาธิปไตย หากเป็นประชาธิปไตยจริงๆ อำนาจอธิปไตยก็จะต้องเป็นของปวงชน แต่มันกลายแค่ตัวหนังสือในกฎหมายรัฐธรรมนูญ แต่อำนาจอธิปไตยจริงๆ กลายเป็นของผู้ปกครอง นักธุรกิจการเมืองเพียงหยิบมือเดียว
การเมืองไทยเป็นระบอบเผด็จการ เพราะไม่มีหลักการปกครองโดยธรรม หรือไม่มีจุดหมายร่วมของปวงชนมีแต่กฎหมายรัฐธรรมนูญซึ่งเป็นเพียงวิธีการปกครอง หรือเป็นเครื่องมือของผู้ปกครองเพียงหยิบมือเดียว
ผู้ปกครองเอารูปแบบและวิธีการ อันได้แก่ เครื่องมืออันเป็นวิธีการคือกฎหมายรัฐธรรมนูญ มีรูปการปกครองคือระบบรัฐสภา และการเลือกตั้งแบบเผด็จการ ซึ่งเป็นเพียงวิธีการหนึ่งในการคัดคนเข้าสู่อำนาจทางการเมืองแบบซื้อเอา แล้วก็มาหลอกประชาชนว่านี่คือระบอบประชาธิปไตย
เมื่อประเทศไทย ไม่มีจุดหมายร่วมของชาติ หรือไม่มีระบอบโดยธรรมหรือไม่มีหลักการปกครองโดยธรรม เป็นศูนย์กลางของประชาชน ประชาชนจึงตกเป็นเครื่องมือของนักการเมือง เป็นทาสทางการเมืองให้นักการเมืองหลอกให้รับใช้ทางการเมืองตามตัวบทกฎหมายเพราะจุดหมายของการเมืองการปกครองปัจจุบันมันอยู่ที่คณะผู้ปกครอง (พรรคร่วมรัฐบาล) เพียงหยิบมือเดียว
ดังนั้น เมื่อหลักการปกครองโดยธรรมมันไม่มี ก็เท่ากับว่าการเมืองของประชาชนไม่มี มันจึงกลายเป็นการเมืองของนักการเมือง และนักการเมืองใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือในการบังคับประชาชน เมื่อประชาชนไทยไม่มีการเมืองร่วมกัน ก็จะทำให้เกิดความแตกแยก ไปกันคนละทิศละทาง ร้อยคน ร้อยจุดหมาย พันคน พันจุดหมาย พรรคการเมืองจึงหลอกประชาชนว่าจุดหมายของประชาชนคือพรรคการเมือง แต่แท้ที่จริงจุดหมายของประชาชนคือความเป็นธรรมหรือหลักการปกครองฯ หลักการปกครองฯ เป็นเช่นไร ระบอบฯ ก็เป็นเช่นนั้น
สรุปตรงนี้ว่าการเมืองเผด็จการ การเมือง คือนักการเมือง การปกครอง คือ กฎหมายรัฐธรรมนูญ
ส่วนการเมืองธรรมาธิปไตย เป็นของปวงชน คือ หลักการปกครองธรรมาธิปไตย 9 ส่วนการปกครองคือ กฎหมายรัฐธรรมนูญ ที่เกิดจากหลักการปกครอง ดุจดัง ดาวเคราะห์ ขึ้นตรงต่อดวงอาทิตย์
เมื่อสภาพการณ์เป็นจริง ประเทศไทยมีการเมืองการปกครองเป็นเผด็จการ ด้วยเหตุผลดังกล่าวแล้ว
จึงเป็นเหตุให้ประชาชนทุกสาขาอาชีพ เดือดร้อนกันไปทั่วทุกหย่อมหญ้า ขณะเดียวกันประชาชนต่างสาขาอาชีพ ก็มีผลประโยชน์แตกต่างกันไปตามสาขาอาชีพนั้น
ดังนั้น การต่อสู้ทางเศรษฐกิจเพียงด้านเดียว อาจจะถูกโดดเดี่ยวจากประชาชน เพราะประชาชนสาขาอาชีพอื่นๆ มองว่าการปิดถนนเป็นการเห็นแก่ตัวของคนบางกลุ่ม
หากว่า แกนนำชาวสวนยางเรียกร้องทางเศรษฐกิจและยกระดับขึ้นสู่การเรียกร้องการต่อสู้ทางการเมืองด้วย ก็จะกลายเป็นการชุมนุมเพื่อคนทั้งประเทศ เป็นการชุมนุมที่รู้ปัญหาของชาติ ว่าอะไร คือเหตุแห่งหายนะในทุกด้านที่ทับถมประชาชนไทยอยู่
ทุกรัฐบาลจะมีแต่กู้กับกู้ ก็เท่ากับว่าทุกรัฐบาล ยิ่งปกครองประชาชนยิ่งยากจน ยิ่งปกครองนักการเมืองยิ่งเสื่อม ทั้งนี้เพราะมันเป็นการเมืองของคณะนักการเมืองเพียงหยิบมือเดียว
ฝ่ายรัฐบาลเองก็น่าที่จะได้ศึกษาว่านี่คือระบอบเผด็จการ โดยไม่ไปแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพราะนั่นมันกลายเป็นการกระชับระบอบเผด็จการให้มากยิ่งขึ้นๆ นั่นเอง ไม่ใช่เป็นการทำให้เป็นประชาธิปไตยตามลมปากของรัฐบาล
ก็สภาพความเป็นจริงมันเป็นระบอบเผด็จการ เมื่อรัฐบาลไปทำ ไปแก้ ไปคิดปฏิรูป มันก็ยิ่งทำให้เป็นเผด็จการยิ่งขึ้นแต่รัฐบาลมองไม่เห็น หากรัฐบาลฉลาด รัฐบาลก็ร่วมมือกับประชาชน ในการแก้ไขเหตุเหตุวิกฤตชาติ
รัฐบาลเองก็น่าจะรู้ว่า รัฐบาลมีอุปสรรคมากมายในการบริหารประเทศ เพราะประชาชนภายใต้ระบอบเผด็จการ ไม่เป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกับรัฐบาล เพราะมันเป็นไม่ได้ก็เพราะ หนึ่ง รัฐบาลปกครองกดขี่ สอง ประชาชนไม่ให้ความร่วมมือกับรัฐบาลและต่อต้านรัฐบาล และมีการประท้วงรัฐบาล รัฐบาลจะตกเป็นฝ่ายรับทางการเมือง ฝ่ายต่อต้านที่มีการเมืองเหนือกว่าก็จะเป็นฝ่ายรุกทางทางการเมือง ฝ่ายไหนเป็นฝ่ายรุกทางการเมืองฝ่ายนั้นเป็นฝ่ายชนะ
การต่อสู้ที่ชาญฉลาด ผู้นำแกนนำ หรือใครๆ ก็ตาม ท่านต้องรู้ว่า รัฐบาลเขาใช้การเมืองเผด็จการสู้กับประชาชนผู้ต่อต้านรัฐบาล ขณะเดียวกันฝ่ายต่อต้านรัฐบาลต่อสู้ทางเศรษฐกิจเพียงด้านเดียว ก็แน่นอนว่าฝ่ายประชาชนจะต้องพ่ายแพ้ เพราะใช้เครื่องมือหรืออาวุธที่ต่ำกว่า
หรือกรณีมวลชนใหญ่สามารถที่จะล้มรัฐบาลได้อย่างสบายๆ แต่เพราะว่าแกนนำได้ต่อสู้ด้วยการเมืองเผด็จการเช่นกัน ฝ่ายมวลชนที่ต่อต้านรัฐบาลก็จะต้องแพ้รัฐบาลไป ก็ที่เห็นๆ กันอยู่
รัฐบาลทุกรัฐบาล เป็นรัฐบาลภายใต้ระบอบเผด็จการรัฐธรรมนูญ ระบอบเผด็จการรัฐธรรมนูญ เกิดจากลัทธิเผด็จการรัฐธรรมนูญ ที่คณะราษฎรได้สถาปนาขึ้น เมื่อ 24 มิถุนายน 2475 อย่างเช่น จอมพล ป. พิบูลสงคราม มีความเชื่อว่า รัฐธรรมนูญคือระบอบประชาธิปไตย การจะได้ประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ ต้องร่างรัฐธรรมนูญให้เป็นประชาธิปไตย หรือแก้ไขรัฐธรรมนูญให้เป็นประชาธิปไตย แต่หารู้ไม่ว่า การกระทำเช่นนั่น เป็นการทำให้ประเทศและประชาชนตกอยู่ภายใต้ระบอบเผด็จการมากยิ่งขึ้น
เมื่อแกนนำมวลชน นำการต่อสู้ โดยไปมองที่ผู้ปกครองเลว นายกฯ เลวเพียงอย่างเดียว ไม่มองอย่างรอบด้าน ว่าเหตุแห่งนายกฯ เลว ทุกรัฐบาลเลว มันมาจากสาเหตุอะไร
เมื่อนายกฯ คนนั้นออกไป นายกฯ คนใหม่มา มันก็ยังเป็นระบอบเผด็จการอยู่นั่นเอง เพียงแต่เปลี่ยนหน้า แต่เนื้อหายังคงเดิม
ถึงขนาดว่า คณะทหารทำรัฐประหาร ล้มรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งภายใต้ระบอบเผด็จการ แต่ไม่ล้มระบอบเผด็จการคือกลับไปร่างรัฐธรรมนูญฉบับที่ 18 ปี 50 มันก็เท่ากับว่า ล้มรัฐบาล คือล้มเงาของระบอบเผด็จการ และระบอบเผด็จการยังคงอยู่ตราบจนทุกวันนี้
หากว่าวันนั้น แกนนำมวลชนประสานกับฝ่ายรัฐประหาร ว่าจะต้องเอาอย่างนี้นะ คณะรัฐประหารจะต้องสถาปนาหลักการปกครองธรรมาธิปไตย 9 หรือหลักการปกครองแบบประชาธิปไตยโดยธรรม
การรัฐประหารในวันนั้น และคณะมวลชนในวันนั้นก็จะกลายเป็นคณะปฏิวัติ คือล้มระบอบเผด็จการลงและได้สถาปนาหลักการปกครองโดยธรรมให้แก่ประชาชน แกนนำมวลชนในวันก็ยังคงโดดเด่น เป็นคณะรัฐบุรุษ แต่กลับกลายเป็นว่าเสียแรงเปล่า
ความผิดพลาดในครั้งนั้น ทั้งฝ่ายมวลชนและฝ่ายรัฐประหาร ต่างก็ยังเป็นฝ่ายลัทธิรัฐธรรมนูญ คือต่างก็ยังมีแนวคิดว่ารัฐบาลไม่ดีเพราะรัฐธรรมนูญไม่ดี จึงร่างรัฐธรรมนูญใหม่ แต่มันกลายเป็นปีศาจตัวใหม่ขึ้นมาอีกครั้ง ในนามกฎหมายรัฐธรรมนูญ ฉบับปี 50 ซึ่งเป็นเหตุแห่งสภาเดรัจฉาน รัฐบาลเดรัจฉาน ฯลฯ ตามความเห็นของนายสนธิ ลิ้มทองกุล
อย่างเช่น มวลชนกลุ่มใหม่ออกมาไล่ระบอบทักษิณ ตามความเชื่อของพรรคประชาธิปัตย์ ทักษิณ หรือรัฐบาล ปู ยิ่งลักษณ์ เขาก็เป็นเพียงเงาของระบอบเผด็จการรัฐธรรมนูญ หากเขาไล่เงา ก็เหมือนมวลชนในอดีต เสียแรงเปล่า ทักษิณก็มา มาร์คก็มา ปูก็มา เช่นเดิม เนื้อหาเผด็จการยังเหมือนเดิม เป็นแต่เพียงชื่อเท่านั้น ที่เปลี่ยนไป
ผู้เขียนก็ขอฝากอยากให้แกนนำทุกมวลชน ทุกฝ่าย อย่าเพียงแต่ไล่เงาของระบอบเผด็จการเพียงอย่างเดียวอยู่เลย อย่าต่อสู้ทางเศรษฐกิจเพียงอย่างเดียวอยู่เลย เพราะจะพ่ายแพ้และตกเป็นฝ่ายรับทางการเมือง แต่ขอให้ต่อสู้ ทุกการต่อสู้เพื่อโค่นระบอบเผด็จการรัฐธรรมนูญ ขอให้ยกระดับการต่อสู้ “โค่นรัฐบาลเพื่อการสถาปนาหลักการปกครองธรรมาธิปไตย 9” หรือ “ร่วมมือกับรัฐบาลเพื่อการสถาปนาหลักการปกครองธรรมาธิปไตย 9” หรือ “ต่อสู้เพื่อราคายางเพื่อย่างก้าวสู่หลักการปกครองธรรมาธิปไตย 9”หากคิดทำได้ดังกล่าวนี้ ก็จะเป็นเสนอการเมืองที่เหนือกว่าระบอบเผด็จการ จึงเป็นการรุกกลับทางการเมือง รัฐบาลตกเป็นฝ่ายรับทางการเมือง
ฝ่ายไหนเป็นฝ่ายรุกฝ่ายนั้นชนะเสมอไป ชาวสวนยางก็จะกลายเป็นฮีโร่ของชาติเป็นกองหน้าของประชาชน เพราะเป็นการทำเพื่อประโยชน์แห่งชาติและประชาชนไทยทุกคนอย่างแท้จริง อย่างน้อยที่สุดก็เป็นตัวอย่างการต่อสู้ที่ถูกต้องเปลี่ยนการเมืองของนักการเมือง มาเป็นการเมืองของปวงชนด้วยหลักการปกครองธรรมาธิปไตย 9 พิจารณาด้วยปัญญาเถิด