วานนี้ (1 ก.ย.56) พล.ต.อ.พงศพัศ พงษ์เจริญ เลขาธิการสำนักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส.) เปิดเผยว่าหลังตั้งคณะทำงานพัฒนานโยบายและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับพืชกระท่อมย่างเป็นทางการในช่วงปลายสัปดาห์หน้าคณะทำงานจะนัดประชุดนัดแรกเพื่อนำเสนอข้อมูลของแต่ละหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก่อนที่จะสรุปความเห็นนำเสนอต่อนายชัยเกษม นิติสิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
ทั้งนี้คาดว่าจะใช้ระยะเวลาไม่เกิน 2 สัปดาห์ เนื่องจากที่ผ่านมามีข้อมูลงานวิจัย และงานวิชาการหลายชิ้นที่ศึกษาเกี่ยวกับใบกระท่อม เฉพาะในส่วนของป.ป.ส.มีข้อมูลจำนวนมากทั้งผลการวิจัยข้อมูลจากต่างประเทศเช่นของสหประชาชาติ(ยูเอ็น) ผลการปราบปรามจับกุมผลกระทบทางด้านความมั่นคงในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ตลอดจนผลการดำเนินคดีของศาล ดังนั้นเรื่องผลวิจัยรองรับถือว่ามีข้อมูลพร้อมแล้ว
เลขาธิการป.ป.ส. กล่าวอีกว่า สำหรับการตั้งคณะทำงานโดยเชิญหน่วยงานอื่น เช่น กระทรวงสาธารณสุขจะทำให้ได้ข้อมูลรอบด้านในส่วนของสุขภาพผู้ใช้ด้วย ส่วนที่ต้องดำเนินการเพิ่มเติมคือการทำประชาพิจารณ์ขอความเห็นจากสังคม ซึ่งในสัปดาห์หน้าตนจะเริ่มลงพื้นที่ย่านที่มีการปลูกต้นกระท่อม เช่น เขตประชาสำราษฎร์ เพื่อเข้าไปสอบถามถึงการลักษณะการใช้ใบกระท่อมจากผู้ที่อยู่ในพื้นที่จริงด้วย
เมื่อวันที่ 30 ส.ค.ที่ผ่านมา รมว.ยุติธรรมได้ลงนามแต่งตั้งคณะทำงานพัฒนานโยบายและกฎหมายเกี่ยวกับพืชกระท่อม โดยมีนายกิตติพงษ์ กิตยารักษ์ ปลัดกระทรวงยุติธรรม เป็นที่ปรึกษา นายชาญเชาวน์ ไชยานุกิจ รองปลัดกระทรวงยุติธรรมเป็นประธาน เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด(ป.ป.ส.) เป็นรองประธาน และผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตลอดจนภาควิชาการรวม 26 คน ประกอบด้วย ป.ป.ส. สถาบันนิติวิทยาศาสตร์ สภาความมั่นคงแห่งชาติ(สมช.) กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภายในราชอาณาจักร(กอ.รมน.) สำนักงานตำรวจแห่งชาติ อัยการสูงสุด คณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงมหาดไทย กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์(พม.) และนักวิชาการด้านการแพทย์จากมหาวิทยาลัยต่างๆ
สำหรับคณะทำงานฯ มีหน้าที่ศึกษา วิเคราะห์ผลดี ผลเสียและความเป็นไปได้ที่จะให้ใบกระท่อมออกจากบัญชียาเสพติดซึ่งเป็นสิ่งผิดกฎหมาย เพื่อให้สถิติเกี่ยวกับคดียาเสพติดลดลง รวมถึงปรับปรุงข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องให้เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน โดยจะมีการแต่งตั้งคณะทำงานชุดย่อยเพื่อร่วมกันศึกษาข้อมูลของพืชกระท่อมก่อนเสนอเข้าที่ประชุมคณะทำงานชุดใหญ่เห็นชอบและนำไปสู่การผลักดันต่อไป ซึ่งคณะทำงานจะต้องศึกษาข้อมูลให้ครบทุกมิติทั้งด้านสังคม วัฒนธรรม การแพทย์ และการบังคับใช้กฎหมาย โดยทั้งหมดจะต้องผ่านการยอมรับจากภาคประชาชนเป็นหลัก
ทั้งนี้คาดว่าจะใช้ระยะเวลาไม่เกิน 2 สัปดาห์ เนื่องจากที่ผ่านมามีข้อมูลงานวิจัย และงานวิชาการหลายชิ้นที่ศึกษาเกี่ยวกับใบกระท่อม เฉพาะในส่วนของป.ป.ส.มีข้อมูลจำนวนมากทั้งผลการวิจัยข้อมูลจากต่างประเทศเช่นของสหประชาชาติ(ยูเอ็น) ผลการปราบปรามจับกุมผลกระทบทางด้านความมั่นคงในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ตลอดจนผลการดำเนินคดีของศาล ดังนั้นเรื่องผลวิจัยรองรับถือว่ามีข้อมูลพร้อมแล้ว
เลขาธิการป.ป.ส. กล่าวอีกว่า สำหรับการตั้งคณะทำงานโดยเชิญหน่วยงานอื่น เช่น กระทรวงสาธารณสุขจะทำให้ได้ข้อมูลรอบด้านในส่วนของสุขภาพผู้ใช้ด้วย ส่วนที่ต้องดำเนินการเพิ่มเติมคือการทำประชาพิจารณ์ขอความเห็นจากสังคม ซึ่งในสัปดาห์หน้าตนจะเริ่มลงพื้นที่ย่านที่มีการปลูกต้นกระท่อม เช่น เขตประชาสำราษฎร์ เพื่อเข้าไปสอบถามถึงการลักษณะการใช้ใบกระท่อมจากผู้ที่อยู่ในพื้นที่จริงด้วย
เมื่อวันที่ 30 ส.ค.ที่ผ่านมา รมว.ยุติธรรมได้ลงนามแต่งตั้งคณะทำงานพัฒนานโยบายและกฎหมายเกี่ยวกับพืชกระท่อม โดยมีนายกิตติพงษ์ กิตยารักษ์ ปลัดกระทรวงยุติธรรม เป็นที่ปรึกษา นายชาญเชาวน์ ไชยานุกิจ รองปลัดกระทรวงยุติธรรมเป็นประธาน เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด(ป.ป.ส.) เป็นรองประธาน และผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตลอดจนภาควิชาการรวม 26 คน ประกอบด้วย ป.ป.ส. สถาบันนิติวิทยาศาสตร์ สภาความมั่นคงแห่งชาติ(สมช.) กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภายในราชอาณาจักร(กอ.รมน.) สำนักงานตำรวจแห่งชาติ อัยการสูงสุด คณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงมหาดไทย กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์(พม.) และนักวิชาการด้านการแพทย์จากมหาวิทยาลัยต่างๆ
สำหรับคณะทำงานฯ มีหน้าที่ศึกษา วิเคราะห์ผลดี ผลเสียและความเป็นไปได้ที่จะให้ใบกระท่อมออกจากบัญชียาเสพติดซึ่งเป็นสิ่งผิดกฎหมาย เพื่อให้สถิติเกี่ยวกับคดียาเสพติดลดลง รวมถึงปรับปรุงข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องให้เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน โดยจะมีการแต่งตั้งคณะทำงานชุดย่อยเพื่อร่วมกันศึกษาข้อมูลของพืชกระท่อมก่อนเสนอเข้าที่ประชุมคณะทำงานชุดใหญ่เห็นชอบและนำไปสู่การผลักดันต่อไป ซึ่งคณะทำงานจะต้องศึกษาข้อมูลให้ครบทุกมิติทั้งด้านสังคม วัฒนธรรม การแพทย์ และการบังคับใช้กฎหมาย โดยทั้งหมดจะต้องผ่านการยอมรับจากภาคประชาชนเป็นหลัก