ก.ยุติธรรมสั่งศึกษาดึง “ใบกระท่อม” ออกจากบัญชียาเสพติดให้โทษประเภท 5 ด้าน อย.ชี้ต้องวิจัยให้ชัดเจนถึงผลดีและผลกระทบ เผยการพิจารณาต้องเข้า คกก.ควบคุมยาเสพติดอยู่แล้ว หากปล่อยฟรีใบกระท่อมแล้วแก้ปัญหายาเสพติดได้ก็พร้อมรับฟัง
ภก.ประพนธ์ อางตระกูล ผู้อำนวยการกองควบคุมวัตถุเสพติด สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กล่าวถึงกรณีกระทรวงยุติธรรมเตรียมศึกษาวิจัยใบกระท่อม เพื่อลดระดับจากการเป็นพืชยาเสพติด ว่า ใบกระท่อมเป็นพืชที่ถูกยกระดับเป็นยาเสพติดให้โทษประเภท 5 ตั้งแต่ปี 2522 เนื่องจากมีการนำไปใช้ในทางที่ผิด หรือที่รู้จักกันดีในชื่อ “สี่คูณร้อย” ที่มีใบกระท่อมเป็นส่วนผสมหลัก พบมากในหมู่วัยรุ่นที่เสพติดกัน ทั้งนี้ ใบกระท่อมมีฤทธิ์กดประสาทให้ตื่นตัวตลอด ทำให้เสพติด และก่อปัญหาอาชญากรรม สำหรับแนวคิดว่าจะยกเลิกการควบคุมต้องศึกษาวิจัยถึงผลดีและผลกระทบให้แน่ชัดเสียก่อนว่า ปัญหาการนำไปใช้ในทางที่ผิดจะมากขึ้นหรือไม่ แต่หากดูแล้วมีประโยชน์และควบคุมได้ก็อาจนำมาพิจารณาอีกครั้ง
ภก.ประพนธ์ กล่าวอีกว่า การยกเลิกหรือจะยกระดับสารตัวใดเป็นยาเสพติดจะมีคณะกรรมการควบคุมยาเสพติดให้โทษพิจารณา ซึ่งคณะกรรมการชุดนี้จะประกอบไปด้วยทุกภาคส่วน อาทิ ตัวแทนจากหน่วยปราบปราม ผู้แทนสำนักงานตำรวจแห่ชาติ ผู้แทนอัยการ ผู้แทนจากสำนักงานปราบปรามยาเสพติด และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ นักวิชาการต่างๆ มาพิจารณา
“หากสมมติว่ามีประโยชน์ในการใช้และแก้ปัญหายาเสพติดได้ก็ต้องเสนอให้ความเห็นชอบต่อไป เพราะเรื่องนี้กระทรวงสาธารณสุข(สธ.) ไม่ได้ดูแลเพียงหน่วยงานเดียว แต่ทุกภาคส่วน ซึ่ง สธ.ไม่ขัดข้อง ยินดีรับฟังความเห็น แต่ต้องมีการศึกษาวิจัยให้ดีก่อน เพราะผลกระทบมีเยอะ ยิ่งบ้านเราปัญหายาเสพติดมีเยอะ ก็ต้องศึกษาถี่ถ้วน เพราะจริงๆแล้วเรื่องนี้มีการศึกษาวิจัยมานาน แต่จนทุกวันนี้ยังไม่ได้ข้อสรุป ก็จำเป็นต้องศึกษาอย่างต่อเนื่อง” ภก.ประพนธ์ กล่าว
ภก.ประพนธ์ อางตระกูล ผู้อำนวยการกองควบคุมวัตถุเสพติด สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กล่าวถึงกรณีกระทรวงยุติธรรมเตรียมศึกษาวิจัยใบกระท่อม เพื่อลดระดับจากการเป็นพืชยาเสพติด ว่า ใบกระท่อมเป็นพืชที่ถูกยกระดับเป็นยาเสพติดให้โทษประเภท 5 ตั้งแต่ปี 2522 เนื่องจากมีการนำไปใช้ในทางที่ผิด หรือที่รู้จักกันดีในชื่อ “สี่คูณร้อย” ที่มีใบกระท่อมเป็นส่วนผสมหลัก พบมากในหมู่วัยรุ่นที่เสพติดกัน ทั้งนี้ ใบกระท่อมมีฤทธิ์กดประสาทให้ตื่นตัวตลอด ทำให้เสพติด และก่อปัญหาอาชญากรรม สำหรับแนวคิดว่าจะยกเลิกการควบคุมต้องศึกษาวิจัยถึงผลดีและผลกระทบให้แน่ชัดเสียก่อนว่า ปัญหาการนำไปใช้ในทางที่ผิดจะมากขึ้นหรือไม่ แต่หากดูแล้วมีประโยชน์และควบคุมได้ก็อาจนำมาพิจารณาอีกครั้ง
ภก.ประพนธ์ กล่าวอีกว่า การยกเลิกหรือจะยกระดับสารตัวใดเป็นยาเสพติดจะมีคณะกรรมการควบคุมยาเสพติดให้โทษพิจารณา ซึ่งคณะกรรมการชุดนี้จะประกอบไปด้วยทุกภาคส่วน อาทิ ตัวแทนจากหน่วยปราบปราม ผู้แทนสำนักงานตำรวจแห่ชาติ ผู้แทนอัยการ ผู้แทนจากสำนักงานปราบปรามยาเสพติด และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ นักวิชาการต่างๆ มาพิจารณา
“หากสมมติว่ามีประโยชน์ในการใช้และแก้ปัญหายาเสพติดได้ก็ต้องเสนอให้ความเห็นชอบต่อไป เพราะเรื่องนี้กระทรวงสาธารณสุข(สธ.) ไม่ได้ดูแลเพียงหน่วยงานเดียว แต่ทุกภาคส่วน ซึ่ง สธ.ไม่ขัดข้อง ยินดีรับฟังความเห็น แต่ต้องมีการศึกษาวิจัยให้ดีก่อน เพราะผลกระทบมีเยอะ ยิ่งบ้านเราปัญหายาเสพติดมีเยอะ ก็ต้องศึกษาถี่ถ้วน เพราะจริงๆแล้วเรื่องนี้มีการศึกษาวิจัยมานาน แต่จนทุกวันนี้ยังไม่ได้ข้อสรุป ก็จำเป็นต้องศึกษาอย่างต่อเนื่อง” ภก.ประพนธ์ กล่าว