สปสช.ฟุ้งเดินหน้าเรื่องการแพทย์แผนไทย มีสถานพยาบาลสนใจเปิดให้บริการเพิ่มมากขึ้น เชียงใหม่เปิดแล้วถึง 166 แห่ง จาก 233 แห่ง ชี้ช่วยเพิ่มการเข้าถึงบริการของประชาชน เผยจับมือกรมแพทย์แผนไทยพัฒนา 4 จังหวัดต้นแบบ ชูมีกรอบพัฒนาการดี
นพ.ประทีป ธนกิจเจริญ รองเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวว่า จากการดำเนินงานร่วมกับกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือก เพื่อจัดทำโครงการจังหวัดต้นแบบแพทย์แผนไทย โดยให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดบริการที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตและภูมิปัญญาที่มีอยู่ในท้องถิ่น เพื่อเป็นจังหวัดต้นแบบพัฒนาระบบบริการแพทย์แผนไทยแบบเบ็ดเสร็จ ในด้านการบริหารจัดการ การบริการ การพัฒนาระบบข้อมูล และการส่งเสริมเชื่อมโยงกับเครือข่ายและการพัฒนาวิชาการ สปสช.ได้คัดเลือกจังหวัดที่มีผลงานการให้บริการดีเด่น 4 จังหวัด คือ เชียงราย สกลนคร มหาสารคาม และสุราษฎร์ธานี มีระยะเวลาดำเนินการ 3 ปี ใช้งบประมาณ 9 ล้านบาท
นพ.ประทีป กล่าวอีกว่า ทั้ง 4 จังหวัด มีกรอบการพัฒนาที่ดี เริ่มตั้งแต่โครงการสร้างการบริหารงานระดับจังหวัด บุคลากรแพทย์แผนไทย และการพัฒนาศักยภาพบุคลากร ระบบยาสมุนไพรครบวงจร ตั้งแต่การปลูก ผลิต การใช้และการติดตามผลการใช้ การจัดระบบบริการแพทย์แผนไทย ตั้งแต่การจัดทำระบบฐานข้อมูล การเชื่อมโยงแพทย์แผนไทยกับระบบสาธารณสุขในปัจจุบัน ระบบการส่งต่อผู้ป่วย ระบบการดูแลเครือข่าย การพัฒนาคุณภาพบริการ การเชื่อมโยงกับเครือข่ายหมอพื้นบ้าน ภูมิปัญญาท้องถิ่น องค์กรปกครอส่วนท้องถิ่น สสส. และวัดที่มีบริการแพทย์แผนไทย รวมถึงการพัฒนาองค์ความรู้ งานวิจัยการแพทย์แผนไทยและการแพทย์พื้นบ้าน
"จากการที่ สปสช.กระตุ้นให้เกิดการจัดบริการสำหรับผู้ป่วยในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ทั้งการให้บริการนวดไทย ประคบ อบสมุนไพร ฟื้นฟูผู้ป่วยอัมพฤกษ์ อัมพาต ฟื้นฟูสุขภาพแม่หลังคลอด ยาสมุนไพรในบัญชียาหลัก ส่งผลให้สามารถกระตุ้นให้สถานพยาบาลบริการแพทย์แผนไทยมากขึ้น"
นพ.ชำนาญ หาญสุทธิเวชกุล นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดเชียงราย กล่าวว่า สถานพยาบาลเห็นความสำคัญและสนใจที่จะเปิดบริการการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกเพิ่มมากขึ้น ขณะนี้เชียงรายเปิดให้บริการแล้ว 166 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 71 จากจำนวนสถานบริการ 233 แห่ง ประกอบด้วย รพ.เชียงรายประชานุเคราะห์ รพ.ชุมชนทุกอำเภอ 17 แห่ง และ รพ.สต. 149 แห่ง ผ่านการประเมินตามเกณฑ์มาตรฐานโรงพยาบาลส่งเสริมและสนับสนุนการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ผสมผสาน ของกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยฯ เพื่อเพิ่มทางเลือกในการเข้าถึงบริการด้านสุขภาพของประชาชน
นพ.ประทีป ธนกิจเจริญ รองเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวว่า จากการดำเนินงานร่วมกับกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือก เพื่อจัดทำโครงการจังหวัดต้นแบบแพทย์แผนไทย โดยให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดบริการที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตและภูมิปัญญาที่มีอยู่ในท้องถิ่น เพื่อเป็นจังหวัดต้นแบบพัฒนาระบบบริการแพทย์แผนไทยแบบเบ็ดเสร็จ ในด้านการบริหารจัดการ การบริการ การพัฒนาระบบข้อมูล และการส่งเสริมเชื่อมโยงกับเครือข่ายและการพัฒนาวิชาการ สปสช.ได้คัดเลือกจังหวัดที่มีผลงานการให้บริการดีเด่น 4 จังหวัด คือ เชียงราย สกลนคร มหาสารคาม และสุราษฎร์ธานี มีระยะเวลาดำเนินการ 3 ปี ใช้งบประมาณ 9 ล้านบาท
นพ.ประทีป กล่าวอีกว่า ทั้ง 4 จังหวัด มีกรอบการพัฒนาที่ดี เริ่มตั้งแต่โครงการสร้างการบริหารงานระดับจังหวัด บุคลากรแพทย์แผนไทย และการพัฒนาศักยภาพบุคลากร ระบบยาสมุนไพรครบวงจร ตั้งแต่การปลูก ผลิต การใช้และการติดตามผลการใช้ การจัดระบบบริการแพทย์แผนไทย ตั้งแต่การจัดทำระบบฐานข้อมูล การเชื่อมโยงแพทย์แผนไทยกับระบบสาธารณสุขในปัจจุบัน ระบบการส่งต่อผู้ป่วย ระบบการดูแลเครือข่าย การพัฒนาคุณภาพบริการ การเชื่อมโยงกับเครือข่ายหมอพื้นบ้าน ภูมิปัญญาท้องถิ่น องค์กรปกครอส่วนท้องถิ่น สสส. และวัดที่มีบริการแพทย์แผนไทย รวมถึงการพัฒนาองค์ความรู้ งานวิจัยการแพทย์แผนไทยและการแพทย์พื้นบ้าน
"จากการที่ สปสช.กระตุ้นให้เกิดการจัดบริการสำหรับผู้ป่วยในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ทั้งการให้บริการนวดไทย ประคบ อบสมุนไพร ฟื้นฟูผู้ป่วยอัมพฤกษ์ อัมพาต ฟื้นฟูสุขภาพแม่หลังคลอด ยาสมุนไพรในบัญชียาหลัก ส่งผลให้สามารถกระตุ้นให้สถานพยาบาลบริการแพทย์แผนไทยมากขึ้น"
นพ.ชำนาญ หาญสุทธิเวชกุล นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดเชียงราย กล่าวว่า สถานพยาบาลเห็นความสำคัญและสนใจที่จะเปิดบริการการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกเพิ่มมากขึ้น ขณะนี้เชียงรายเปิดให้บริการแล้ว 166 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 71 จากจำนวนสถานบริการ 233 แห่ง ประกอบด้วย รพ.เชียงรายประชานุเคราะห์ รพ.ชุมชนทุกอำเภอ 17 แห่ง และ รพ.สต. 149 แห่ง ผ่านการประเมินตามเกณฑ์มาตรฐานโรงพยาบาลส่งเสริมและสนับสนุนการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ผสมผสาน ของกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยฯ เพื่อเพิ่มทางเลือกในการเข้าถึงบริการด้านสุขภาพของประชาชน