ASTVผู้จัดการรายวัน-"ยุติธรรม"ยุคใหม่ เดินหน้าดึง "ใบกระท่อม" ออกจากบัญชียาเสพติดให้โทษประเภท 5 เตรียมจัดเวทีรับฟังความคิดเห็น ถ้าสังคมยอมรับเลิกทันที "ชัยเกษม"ชี้สารเสพติดน้อยกว่ากาเฟอีนในกาแฟและเครื่องดื่มชูกำลัง อย.ชี้ต้องทำวิจัยให้ชัด หวั่นสี่คูณร้อยระบาด หากปล่อยฟรี
นายชัยเกษม นิติสิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เปิดเผยถึงความเป็นไปได้ในการยกเลิกกระท่อมจากยาเสพติดประเภท 5 และนำมาใช้ทดแทนหรือบำบัดผู้ติดยาเสพติดว่า หากจะมีการแก้กฎหมายยกเลิกกระท่อมจากพ.ร.บ.ยาเสพติด จะต้องมีข้อมูลงานวิจัยทางวิชาการที่ชัดเจนสนับสนุน ที่สำคัญ คือ การเปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ หากมีข้อมูลสนับสนุนและสังคมให้การยอมรับ ก็สามารถผลักดันให้เป็นจริงได้
"เบื้องต้นจากการหารือกับผู้เชี่ยวชาญ พบว่า ใบกระท่อมมีสารอัลคาลอยด์ ซึ่งเป็นสารเสพติดชนิดมีทราไกไน แต่ออกฤทธิ์ในการเสพติดน้อยมาก เมื่อเทียบกับการดื่มกาแฟหรือเครื่องดื่มชูกำลังที่มีคาเฟอีนผสมอยู่ จะพบว่าคาเฟอีนในกาแฟและเครื่องดื่มชูกำลังที่ดื่มกันเป็นประจำทุกวันออกฤทธิ์เป็นสารเสพติดมากกว่าใบกระท่อม แต่ยังไม่แน่ใจว่าจะสามารถนำใบกระท่อมมาใช้ทดแทนยาบ้าได้หรือไม่"
ทั้งนี้ ข้อเสนอดังกล่าว ถือเป็นทางออกหนึ่งให้กับผู้ที่มีความเครียดหรือผู้ที่ต้องการเลิกเสพยาเสพติด ดังนั้น จะต้องเข้าไปตรวจสอบว่าเหตุใดจึงมีการกำหนดให้กระท่อมเป็นยาเสพติด เพราะส่วนตัวเห็นว่าการยกเลิกจะเป็นประโยชน์มากกว่า
นายชัยเกษมกล่าวว่า คนที่ดื่มกาแฟหรือเครื่องดื่มชูกำลังทุกเช้า เมื่อไม่ดื่มก็บอกว่าไม่สดชื่น หรือคนที่สูบบุหรี่บอกว่าสูบแล้วสบายใจ ถ้าผู้เสพยาบ้า ยาไอซ์ หันมาใช้ใบกระท่อมแล้วสบายใจ ก็น่าจะดีกว่า ไม่ต้องไปพึ่งยาเสพติดถือเป็นประโยชน์ต่อสังคมมากกว่า เพราะเรื่องเหล่านี้มีผลทางจิตวิทยาว่ากินแล้วสบายตัวคลายเครียด ทำงานได้ดีขึ้น
ส่วนข้อกังวลของฝ่ายความมั่นคงที่เกรงว่าหากยกเลิกจะทำให้มีการนำใบกระท่อมไปผสมเป็นยาสี่คูณร้อย เห็นว่า แนวคิดที่จะมีการยกเลิกใบกระท่อมมีมานานแล้ว แต่ต้องหยุดไป เพราะมีข้อคัดค้านของฝ่ายความมั่นคง กรณีสี่คูณร้อยอยากให้คำนึงถึงข้อเท็จจริงว่าสี่คูณร้อย คือ การนำใบกระท่อมไปผสมกับยาเสพติดอื่น คือ ยาแก้ไอที่มีสารเสพติดเป็นยาต้องห้าม ลำพังตัวใบกระท่อมไม่ใช่ยาเสพติด แต่เมื่อไปผสมกับยาเสพติด ก็คือ ยาเสพติด หากไม่ใช้ใบกระท่อมไปผสมกับยาแก้ไอ แต่ใช้ยาบำรุงไปผสมก็จะไม่มีผลให้กลายเป็นยาเสพติดไปด้วย อย่างไรก็ตาม ในเรื่องของการนำใบกระท่อมมาทดแทนต้องมีการวิจัยอย่างจริงจังและจำเป็นต้องใช้ระยะเวลา
“ผมโตมาในสวนฝั่งธน เห็นการปลูกและใช้ใบกระท่อม แต่ไม่เคยเห็นคนเมาคลั่งเหมือนผลข้างเคียงจากการใช้ยาเสพติดอื่น เราไม่ได้สนับสนุนให้คนเสพกระท่อม อยากให้เป็นไปตามธรรมชาติ ถ้าเห็นว่าใช้แล้วเกิดประโยชน์ ลดการเสพยาบ้าหรือเลิกไปได้เลย ส่วนตามท้องถิ่นที่เคยใช้ใบกระท่อมเป็นยา ก็สามารถใช้ได้ตามปกติ ไม่ใช่การสนับสนุนให้มาลอง เพราะดีอย่างโน่นอย่างนี้ แม้แต่กาแฟหรือเครื่องดื่มชูกำลัง เราก็ไม่ควรสนับสนุน เพราะไม่ใช่สิ่งสำคัญในการดำรงชีวิต”นายชัยเกษมกล่าว
อย่างไรก็ตาม การใช้อะไรก็ตามที่มีสารเสพติดน้อย เช่น ใบกระท่อมไปใช้ทดแทนสิ่งที่มีสารเสพติดมาก ถือเป็นยาที่ใช้รักษาผู้ติดยาบ้า เช่นเดียวกับการใช้เมทาโดนใช้รักษาผู้ติดเฮโรอีน ซึ่งเป็นการใช้สารที่รุนแรงน้อยกว่าไปบำบัดดูแลอาการติดยาเสพติด ซึ่งจากข้อมูล มาเลเซียไม่จัดให้กระท่อมเป็นยาเสพติด ส่วนกรณีที่เนเธอร์แลนด์ใช้กระท่อมบำบัดผู้ติดมอร์ฟีน ยังไม่สามารถนำมาเทียบเคียงได้ เพราะจะต้องรอให้มีผลการวิจัยอย่างเป็นทางการออกมาก่อน แต่ในเนเธอร์แลนด์สามารถใช้กัญชาในร้านกาแฟได้ แต่ไทยคงไม่ยอมถึงขนาดนั้น
พ.ท.นพ.เอนก ยมจินดา ผู้อำนวยการสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ กล่าวว่า ได้รับมอบหมายจากรมว.ยุติธรรม ให้ประสานงานกับสำนักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส.) เพื่อบูรณาการการทำงาน โดยให้เชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาหารืออย่างจริงจัง
เภสัชกร ประพนธ์ อางตระกูล ผู้อำนวยการกองควบคุมวัตถุเสพติด สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กล่าวว่า แนวคิดจะยกเลิกการควบคุม ต้องศึกษาวิจัยถึงผลดีและผลกระทบให้แน่ชัดเสียก่อนว่าปัญหาการนำไปใช้ในทางที่ผิดจะมากขึ้นหรือไม่ แต่หากดูแล้วมีประโยชน์และควบคุมได้ ก็อาจนำมาพิจารณาอีกครั้ง เพราะใบกระท่อมที่ถูกยกระดับเป็นยาเสพติดให้โทษประเภท 5 ตั้งแต่ปี 2522 เพราะมีการนำไปใช้ในทางที่ผิด หรือที่รู้จักกันดีในชื่อ "สี่คูณร้อย" ที่มีใบกระท่อมเป็นส่วนผสมหลัก และกลุ่มวัยรุ่นนิยมเสพกัน เนื่องจากมีฤทธิ์กดประสาทให้ตื่นตัวตลอด
ที่ทำเนียบรัฐบาล พล.ต.อ.เพรียวพันธุ์ ดามาพงษ์ ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี พร้อมด้วย พล.ต.อ.พงศพัศ พงษ์เจริญ รองผบ.ตร.ในฐานะเลขาธิการสำนักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส.) เข้าพบ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม เพื่อรายงานความคืบหน้าการแก้ไขปัญหายาเสพติดในพื้นที่ภาคเหนือ
พล.ต.อ.พงศพัศ กล่าวว่า นายกฯ มอบหมายให้ ป.ป.ส.เป็นเจ้าภาพในการขับเคลื่อนแก้ไขปัญหายาเสพติดบริเวณชายแดน พื้นที่โดยรอบกรุงเทพฯ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่มีการแพร่ระบาด โดยจะมีการเสนอแผนการปราบปรามยาเสพติดใหม่ในเดือนต.ค.นี้
สำหรับแนวคิดให้ถอนใบกระท่อมออกจากบัญชีสารเสพติดให้โทษ ป.ป.ส.กำลังรวบรวมข้อมูลทั้งหมดมาประชุมหารือร่วมกับทาง อย. กระทรวงสาธารณสุข สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ซึ่งคาดว่าจะเป็นต้นสัปดาห์หน้า โดยจะมีการทำประชาพิจารณ์ เพราะเรื่องของใบกระถ่อมถือเป็นวิถีชาวบ้านอย่างหนึ่ง
นายชัยเกษม นิติสิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เปิดเผยถึงความเป็นไปได้ในการยกเลิกกระท่อมจากยาเสพติดประเภท 5 และนำมาใช้ทดแทนหรือบำบัดผู้ติดยาเสพติดว่า หากจะมีการแก้กฎหมายยกเลิกกระท่อมจากพ.ร.บ.ยาเสพติด จะต้องมีข้อมูลงานวิจัยทางวิชาการที่ชัดเจนสนับสนุน ที่สำคัญ คือ การเปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ หากมีข้อมูลสนับสนุนและสังคมให้การยอมรับ ก็สามารถผลักดันให้เป็นจริงได้
"เบื้องต้นจากการหารือกับผู้เชี่ยวชาญ พบว่า ใบกระท่อมมีสารอัลคาลอยด์ ซึ่งเป็นสารเสพติดชนิดมีทราไกไน แต่ออกฤทธิ์ในการเสพติดน้อยมาก เมื่อเทียบกับการดื่มกาแฟหรือเครื่องดื่มชูกำลังที่มีคาเฟอีนผสมอยู่ จะพบว่าคาเฟอีนในกาแฟและเครื่องดื่มชูกำลังที่ดื่มกันเป็นประจำทุกวันออกฤทธิ์เป็นสารเสพติดมากกว่าใบกระท่อม แต่ยังไม่แน่ใจว่าจะสามารถนำใบกระท่อมมาใช้ทดแทนยาบ้าได้หรือไม่"
ทั้งนี้ ข้อเสนอดังกล่าว ถือเป็นทางออกหนึ่งให้กับผู้ที่มีความเครียดหรือผู้ที่ต้องการเลิกเสพยาเสพติด ดังนั้น จะต้องเข้าไปตรวจสอบว่าเหตุใดจึงมีการกำหนดให้กระท่อมเป็นยาเสพติด เพราะส่วนตัวเห็นว่าการยกเลิกจะเป็นประโยชน์มากกว่า
นายชัยเกษมกล่าวว่า คนที่ดื่มกาแฟหรือเครื่องดื่มชูกำลังทุกเช้า เมื่อไม่ดื่มก็บอกว่าไม่สดชื่น หรือคนที่สูบบุหรี่บอกว่าสูบแล้วสบายใจ ถ้าผู้เสพยาบ้า ยาไอซ์ หันมาใช้ใบกระท่อมแล้วสบายใจ ก็น่าจะดีกว่า ไม่ต้องไปพึ่งยาเสพติดถือเป็นประโยชน์ต่อสังคมมากกว่า เพราะเรื่องเหล่านี้มีผลทางจิตวิทยาว่ากินแล้วสบายตัวคลายเครียด ทำงานได้ดีขึ้น
ส่วนข้อกังวลของฝ่ายความมั่นคงที่เกรงว่าหากยกเลิกจะทำให้มีการนำใบกระท่อมไปผสมเป็นยาสี่คูณร้อย เห็นว่า แนวคิดที่จะมีการยกเลิกใบกระท่อมมีมานานแล้ว แต่ต้องหยุดไป เพราะมีข้อคัดค้านของฝ่ายความมั่นคง กรณีสี่คูณร้อยอยากให้คำนึงถึงข้อเท็จจริงว่าสี่คูณร้อย คือ การนำใบกระท่อมไปผสมกับยาเสพติดอื่น คือ ยาแก้ไอที่มีสารเสพติดเป็นยาต้องห้าม ลำพังตัวใบกระท่อมไม่ใช่ยาเสพติด แต่เมื่อไปผสมกับยาเสพติด ก็คือ ยาเสพติด หากไม่ใช้ใบกระท่อมไปผสมกับยาแก้ไอ แต่ใช้ยาบำรุงไปผสมก็จะไม่มีผลให้กลายเป็นยาเสพติดไปด้วย อย่างไรก็ตาม ในเรื่องของการนำใบกระท่อมมาทดแทนต้องมีการวิจัยอย่างจริงจังและจำเป็นต้องใช้ระยะเวลา
“ผมโตมาในสวนฝั่งธน เห็นการปลูกและใช้ใบกระท่อม แต่ไม่เคยเห็นคนเมาคลั่งเหมือนผลข้างเคียงจากการใช้ยาเสพติดอื่น เราไม่ได้สนับสนุนให้คนเสพกระท่อม อยากให้เป็นไปตามธรรมชาติ ถ้าเห็นว่าใช้แล้วเกิดประโยชน์ ลดการเสพยาบ้าหรือเลิกไปได้เลย ส่วนตามท้องถิ่นที่เคยใช้ใบกระท่อมเป็นยา ก็สามารถใช้ได้ตามปกติ ไม่ใช่การสนับสนุนให้มาลอง เพราะดีอย่างโน่นอย่างนี้ แม้แต่กาแฟหรือเครื่องดื่มชูกำลัง เราก็ไม่ควรสนับสนุน เพราะไม่ใช่สิ่งสำคัญในการดำรงชีวิต”นายชัยเกษมกล่าว
อย่างไรก็ตาม การใช้อะไรก็ตามที่มีสารเสพติดน้อย เช่น ใบกระท่อมไปใช้ทดแทนสิ่งที่มีสารเสพติดมาก ถือเป็นยาที่ใช้รักษาผู้ติดยาบ้า เช่นเดียวกับการใช้เมทาโดนใช้รักษาผู้ติดเฮโรอีน ซึ่งเป็นการใช้สารที่รุนแรงน้อยกว่าไปบำบัดดูแลอาการติดยาเสพติด ซึ่งจากข้อมูล มาเลเซียไม่จัดให้กระท่อมเป็นยาเสพติด ส่วนกรณีที่เนเธอร์แลนด์ใช้กระท่อมบำบัดผู้ติดมอร์ฟีน ยังไม่สามารถนำมาเทียบเคียงได้ เพราะจะต้องรอให้มีผลการวิจัยอย่างเป็นทางการออกมาก่อน แต่ในเนเธอร์แลนด์สามารถใช้กัญชาในร้านกาแฟได้ แต่ไทยคงไม่ยอมถึงขนาดนั้น
พ.ท.นพ.เอนก ยมจินดา ผู้อำนวยการสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ กล่าวว่า ได้รับมอบหมายจากรมว.ยุติธรรม ให้ประสานงานกับสำนักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส.) เพื่อบูรณาการการทำงาน โดยให้เชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาหารืออย่างจริงจัง
เภสัชกร ประพนธ์ อางตระกูล ผู้อำนวยการกองควบคุมวัตถุเสพติด สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กล่าวว่า แนวคิดจะยกเลิกการควบคุม ต้องศึกษาวิจัยถึงผลดีและผลกระทบให้แน่ชัดเสียก่อนว่าปัญหาการนำไปใช้ในทางที่ผิดจะมากขึ้นหรือไม่ แต่หากดูแล้วมีประโยชน์และควบคุมได้ ก็อาจนำมาพิจารณาอีกครั้ง เพราะใบกระท่อมที่ถูกยกระดับเป็นยาเสพติดให้โทษประเภท 5 ตั้งแต่ปี 2522 เพราะมีการนำไปใช้ในทางที่ผิด หรือที่รู้จักกันดีในชื่อ "สี่คูณร้อย" ที่มีใบกระท่อมเป็นส่วนผสมหลัก และกลุ่มวัยรุ่นนิยมเสพกัน เนื่องจากมีฤทธิ์กดประสาทให้ตื่นตัวตลอด
ที่ทำเนียบรัฐบาล พล.ต.อ.เพรียวพันธุ์ ดามาพงษ์ ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี พร้อมด้วย พล.ต.อ.พงศพัศ พงษ์เจริญ รองผบ.ตร.ในฐานะเลขาธิการสำนักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส.) เข้าพบ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม เพื่อรายงานความคืบหน้าการแก้ไขปัญหายาเสพติดในพื้นที่ภาคเหนือ
พล.ต.อ.พงศพัศ กล่าวว่า นายกฯ มอบหมายให้ ป.ป.ส.เป็นเจ้าภาพในการขับเคลื่อนแก้ไขปัญหายาเสพติดบริเวณชายแดน พื้นที่โดยรอบกรุงเทพฯ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่มีการแพร่ระบาด โดยจะมีการเสนอแผนการปราบปรามยาเสพติดใหม่ในเดือนต.ค.นี้
สำหรับแนวคิดให้ถอนใบกระท่อมออกจากบัญชีสารเสพติดให้โทษ ป.ป.ส.กำลังรวบรวมข้อมูลทั้งหมดมาประชุมหารือร่วมกับทาง อย. กระทรวงสาธารณสุข สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ซึ่งคาดว่าจะเป็นต้นสัปดาห์หน้า โดยจะมีการทำประชาพิจารณ์ เพราะเรื่องของใบกระถ่อมถือเป็นวิถีชาวบ้านอย่างหนึ่ง