xs
xsm
sm
md
lg

เปิดงานวิจัย “เป้าหมายสุดท้ายBRN” กอ.รมน.ภาค4ประณามคนร้ายก่อเหตุ

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

วานนี้(25 ส.ค.56) เวลา 10.00น. ที่สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทยสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทยร่วมกับ สถาบันอิศรา มูลนิธิพัฒนาสื่อมวลชนแห่งประเทศไทยและสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) จัดงาน ราชดำเนินเสวนาในหัวข้อ "เป้าหมายสุดท้ายของกลุ่มBRN กับ Peace Process" โดยมี น.ส.จิราพรงามเลิศศุภกร นักวิจัย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)
โดยน.ส.จิราพร กล่าวสรุปงานวิจัยในหัวข้อ "เป้าหมายสุดท้ายของกลุ่ม BRN กับ PeaceProcess" ว่า ไม่น่าเชื่อว่าความรุนแรงจังหวัดชายแดนภาคใต้จะมีความยืดเยื้อยาวนานมาเป็น10 ปี ตลอดเวลาที่ผ่านมาเรามักได้ยินชื่อกลุ่มองค์กรบีอาร์เอ็นแต่เราก็ยังไม่ทราบว่าองค์กรเหล่านี้ โครงสร้าง มีจุดยืนแนวคิดวิธีการต่อสู้อย่างไรเราจึงวางกรอบแนวคิดในการวิจัย โดยใช้กรอบมุสลิมศึกษาเพราะการต่อสู้ของกลุ่มบีอาร์เอ็นจะใช้ศาสนาเป็นทางนำสร้างความชอบธรรมในการสร้างความรุนแรง
ทั้งนี้ จากการศึกษาพบว่า บีอาร์เอ็น ยึดหลักแนวทางการปฏิวัติของเหมา เจ๋อตุงมาโดยตลอด ผนวกกับการดึงวิถีทางการเมืองทางอิสลามมาเป็นการต่อสู้บีอาร์เอ็น จึงใช้แนวคิด มุสลิมศึกษา รวมตัวกันเพื่อต่อสู้ได้มาในสิ่งที่เคยศูนย์เสียไป กระบวนการกู้ชาติปัตตานีกระบวนการแบ่งแยกดินแดน ญิฮาด นั้น ถูกจัดตั้งจากฐานความคิดเดียวกัน คืออิสลามการเมือง ยึดหลัก อัลกุรอาน อัลหะดีษ และหลักชารัอะห์ เป็นทางนำในการต่อสู้
น.ส.จิราพร กล่าวต่อว่า บีอาร์เอ็น จัดตั้งเมื่อปี 2513โดยมีการปลุกจิตสำนึกทางศาสนา ประวัติศาสตร์ เข้าไว้ด้วยกันซึ่งสิ่งสำคัญที่ยึดโยงบีอาร์เอ็น คือ เอกสารธรรมนูญ ปี 2518ทั้งนี้ สิ่งสำคัญที่สุดคือ รากเหง้าของปัญหาที่ฝังลึกในการสร้างความรุนแรงบีอาร์เอ็น ถูกปลูกฝั่งในเรื่องการถูกล่าอาณานิคมจากสยามถูกยึดครองแผ่นดิน ถูกกฎขี่ครอบงำแนวทางต่อสู้จึงต้องการสิ่งที่เคยเป็นของตน กลับคืนมาจากรัฐไทยให้จงได้ตั้งแต่ยุคแรกจนถึงปัจจุบัน มีแนวทางในการต่อสู้ ทางด้านศาสนา เชื้อชาติและ อาณาเขตผลการศึกษา จึงพบว่า รากเหง้าปัญหา บีอาร์เอ็น ถูกยึดครองทั้งด้าน การเมืองการศึกษา วัฒนธรรม ศาสนา ฯลฯ จึงนำมาไปสู่การต่อสู้ ความรุนแรงเพื่อนำไปสู่การตั้งรัฐ แต่สิ่งที่แตกต่างคือ การนำอิสลาม มาเป็นแนวทางโดยการญิฮาด (พลีชีพเพื่อศาสนา) ซึ่งทำไปเพื่อเอกราช สังคมสงบสุขและความยุติธรรม ที่เคยประกาศไว้ว่าหากได้ดินแดนกลับคืนมา จะทำให้ทุกคนในพื้นที่มีความสุข
"อย่างไรก็ตามเป้าหมายสุดท้ายที่น่าสนใจ ของบีอารืเอ็น คือเขตแดนที่รวม 4 จังหวัด ภาคใต้ซึ่งเป็นอาณาเขต ของเขาในอดีต คือ ปัตตานี ยะลา นาราธิวาส และสงขลาตอนใต้ซึ่งหากมองว่าบีอาร์เอ็น ต้องการปลดปล่อยดินแดนนั้น จะกลายเป็นเรื่องใหญ่มากเพราะการที่บีอาร์เอ็นสามารถใช้แนวทางญิฮาดได้ ในการต่อสู้เพื่อความชอบธรรมในดินแดนปัตตานีอารุสลาม(4 จังหวัดชายแดนใต้)นี่คือปัญหาอย่างมาก"น.ส.จิราพร กล่าว
น.ส.จิราพร กล่าวว่า ขณะเดียวกัน ในพื้นที่ก็มีมุสลิมอีกกลุ่มหนึ่งซึ่งใช้แนวทางการปฏิรูป ที่เห็นเป็นรูปธรรม ในการดำเนินชีวิตโดยมีการร่วมกันอย่างสงบมีการสร้างสหกรณ์อิสลาม มีธนาคารอิสลามนี่จึงเป็นความแตกต่างระหว่างแนวทางปฏิรูปอิสลาม และการปฏิวัติอิสลามและนี่ก็แสดงให้เห็นว่ารัฐไทยไม่ได้ปิดกั้นในเรื่อง ศาสนาแต่อย่างใด จุดเริ่มต้นการประกาศชัยชนะของบีอาร์เอ็น คือ เหตุการณ์ปล้นปืน เมื่อปี 2547จะเห็นได้ว่าหลังปี47 บีอาร์เอ็นหยิบยกอัลกุรอ่านมาใช้ ถึง 137 โองการ ใน 38 อายะห์โดยมักพูดว่า "จงสู้กับผู้ที่ปฏิเสธศรัทธาจงตัดคอ ไล่ศรัสตรูออกจากพื้นดิน" นี่คือหลักคำสอนของบีอาร์เอ็นทั้งที่หลักการของศาสนาอิสลามอย่างแท้จริงไม่ใช่แนวทางนี้ จึงอยากเสนอให้ผู้ที่ศึกษาทางด้านศาสนา ลงไปศึกษาในลึกพร้อมทำความเข้าใจกับแนวร่วม และประชาชนที่นับถือศาสนาอิสลามอย่างจริงจังการต่อสู้โดยยึดหลักศาสนามักจะนำไปสู่ความรุนแรงอย่าสุดโต่ง ซึ่งขบวนการต่อสู้มีมาตั้งแต่รุ่นเก่าจึงปฏิเสธได้ยาก อย่างไรก็ตาม อยากเสนอแนะผู้ที่จะเข้าไปแก้ปัญหาในชายแดนใต้ต้องยึดหลักสิทธิมนุษยชน และไม่ละเมิดหลักการของศาสนาทั้งนี้ข้อเรียกร้องของ บีอาร์เอ็น
ผ่านโซเชียลเน็ตเวิร์ค เช่น โปรแกรมยูทูป ที่เสนอต่อมวลชนและสมาชิกของบีอาร์เอ็นนั้น คือ การต่อสู้ภายใต้รัฐธรรมนูญไทยไม่มีความชอบธรรม ข้อเสนอหลัก5 ข้อ สิ่งที่สำคัญที่สุด คือรัฐไทยต้องยอมรับกระบวนการปลดปล่อยและยอมรับในการเป็นเจ้าของ ทั้งในด้านศาสนา และแผ่นดิน
"วันนี้บีอาร์เอ็นเดินมาถึงทางแยก ทั้งในเรื่องของกระบวนการสันติภาพ อิสลามการเมืองและอาหรับสปริงส์ การเปิดโต๊ะเจรจา ก็คือจุดเสี่ยงขององค์กรซึ่งนับได้ว่าการต่อสู้ของบีอาร์เอ็นยาวนานกว่า30 ปี แนวทางที่จะเสนอนั้นคือ การปรับปรุงทั้งทหาร ตำรวจ และหน่วยข่าว โดยยึดถือหลักสิทธิมนุษยชนเชื่อว่าถ้ายึดหลักนี้จะทำให้การละเมิดสิทธิน้อยลง"น.ส.จิราพร กล่าวขณะที่พล.อ.เอกชัย กล่าวว่า บีอาร์เอ็น มี 3 ระดับ คือ ระดับยุทธการ
ระดับยุทธวิธี และระดับปฏิบัติการซึ่งมีการแบ่งแยกในการดำเนินการแยกส่วนอย่างชัดเจนจะเห็นได้ว่าการเจรจากับรัฐไทย ต้องมีการประชุมสภาของบีอาร์เอ็นและมีการมอบหมายตัวบุคคลที่ชัดเจน มาเป็นผู้เจรจา หลังจากนั้น
จะต้องรายงานให้ทางกลุ่มรับทราบภายใน 24 ชั่วโมง ยกตัวอย่างในการเจรจาครั้งแรก คนลงนามไม่ใช่เป็นผู้สั่งการทั้งที่ความเป็นจริงระดับยุทธการที่มีบทบาทในการสร้างความรุนแรงก็ไม่เห็นด้วยในการเปิดโต๊ะเจรจา ทั้งนี้ การเจรจรามีมานานมากแล้วแต่รัฐไทยไม่เคยนำผลเจรจากลับมาทำอย่างจริงจังและไม่ได้มีการสร้างความมั่นใจให้กลับ บีอาร์เอ็น เลยแม้กระทั่งรัฐบาลปัจจุบันก็ตาม
พ.อ.ปราโมทย์ พรหมอินทร์ หัวหน้าศูนย์ประชาสัมพันธ์ กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาคที่ 4 สน. ค่ายสิรินธร ต.เขาตูม อ.ยะรัง จ.ปัตตานี เปิดเผยว่า จากกรณีเหตุการณ์ความไม่สงบที่เกิดขึ้นในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ 3 เหตุการณ์ ประกอบด้วย เหตุยิง อดีตผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านพ ร้อมพวก เสียชีวิต 3 ศพ และบาดเจ็บ 1 ราย ที่ร้านน้ำชา ภายในหมู่บ้าน บ้านแอแกง หมู่ที่ 5 ต.เกะรอ อ.รามัน จ.ยะลา
เหตุการณ์ที่สอง คนร้ายไม่ทราบจำนวน ใช้อาวุธปืนสงครามยิง นายอับดุลเลาะ บินมามะ ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านฝ่ายรักษาความสงบ (ผรส.) หมู่ที่ 3 ต.ไทรทอง อ.ไม้แก่น จ.ปัตตานี เสียชีวิตพร้อม น.ส.รอกีเยาะ (ภรรยา) และเหตุการณ์ที่สาม คนร้ายลอบวางระเบิดในพื้นที่เทศบาลเมืองสุไหง-โกลก จ.นราธิวาส ทำให้มีราษฎรได้รับบาดเจ็บ 4 ราย เจ้าหน้าที่บาดเจ็บ 4 นาย
การกระทำในครั้งนี้ เป็นการกระทำที่ไร้ซึ่งมนุษยธรรม โดยใช้พฤติกรรมการแต่งกายเลียนแบบเจ้าหน้าที่เพื่อมุ่งหวังสร้างสถานการณ์ให้ประชาชนเข้าใจผิด คิดว่าเป็นการกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐ ซึ่งเป็นพฤติกรรมและวิธีการเดิมๆ โดยทางเจ้าหน้าที่ตำรวจ จะเร่งติดตามจับกุมผู้กระทำความผิดมาดำเนินคดีโดยเร็วที่สุดต่อไป
อีกด้าน นายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยถึงกรณีการถูกแต่งตั้งให้รับผิดชอบงานเพื่อแก้ไขปัญหาในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ว่าคำสั่ง
ของ กปต.ให้เป็นผู้ดูแลงานด้านข่าวสารนั้น ส่วนตัวยังไม่ทราบเรื่อง เพราะในวันนั้นไม่ได้เข้าร่วมประชุมแต่พร้อมที่จะทำงานตามที่ได้รับมอบหมาย ทั้งนี้ ต้องขอเวลาเพื่อศึกษารายละเอียด และหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก่อน เพื่อจะได้วางกรอบการทำงานให้สอดคล้องกัน ส่วนกรณีหากมีการเรียกประชุมหน่วยงานทั้ง 5 กระทรวงที่ได้รับมอบนโยบายจาก กปต.ในอาทิตย์หน้า ก็พร้อมเข้าประชุม
ทางด้าน นายจาตุรนต์ ฉายแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เปิดเผยถึงกรณีเดียวกันนี้ ว่า ไม่ได้เข้าร่วมประชุมเช่นเดียวกัน แต่เมื่อได้รับมอบหมายก็พร้อมจะทำงาน ซึ่งกระทรวงศึกษาธิการ นั้นได้มีนโยบายพิเศษกรณีการดูแลพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้อยู่แล้ว ส่วนตัวคงจะต้องศึกษารายละเอียดเฉพาะพื้นที่ภาคใต้ เพื่อจะได้วางกรอบในการทำงานต่อไป
กำลังโหลดความคิดเห็น