ศูนย์ข่าวหาดใหญ่ - เผย BRN ส่งหนังสือให้คนกลาง โวยฝ่ายไทยละเมิดข้อตกลงลดใช้ความรุนแรงเดือนรอมฎอน แม่ทัพเผยฝ่ายไทยได้หนังสือร้องเรียนแล้ว ให้คณะทำงานสันติภาพที่ ศอ.บต.ตั้ง กรรมการเข้าตรวจสอบ ทหารย้ำไม่ใช้ความรุนแรง
เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2556 มีรายงานข่าวจากประเทศมาเลเซีย ว่า นายฮัสซัน ตอยิบ แกนนำขบวนการบีอาร์เอ็น (BRN) ในฐานะตัวแทนในการพูดคุยสันติภาพกับตัวแทนรัฐบาลไทย ได้ยื่นหนังสือต่อ ดาโต๊ะ สรี อาห์มัด ซัมซามิน ฮาซิม อดีตผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติมาเลเซีย ในฐานะผู้อำนวยความสะดวกการพูดคุยสันติภาพ ระหว่างไทย กับบีอาร์เอ็น ระบุว่า ฝ่ายไทยละเมิดข้อตกลงในการลดความรุนแรงในเดือนรอมฎอน
ทั้งนี้ รายงานระบุว่า ฝ่ายบีอาร์เอ็นจะหยุดการก่อเหตุยิงอย่างที่ดาโต๊ะ ศรี ซัมซามีน ได้ประกาศไว้อย่างจริงจัง 100 เปอร์เซ็นต์ แต่การที่ประชาชน ครูตาดีกา ผู้นำศาสนา คนที่มีคดีติดตัว และคนอื่นๆ หลายคนที่ถูกสังหาร ทำให้ประชาชนไม่เชื่อมั่นต่อกระบวนการสันติภาพ ทำให้คนของบีอาร์เอ็น หรือกลุ่มกองกำลังอาร์เคเคไม่สามารถอดทนได้ ทำให้พวกเขาต้องออกมาตอบโต้อย่างที่เกิดขึ้น
แม่ทัพยันเรื่องจริง-ย้ำทหารไม่ใช้ความรุนแรง
พล.ท.สกล ชื่นตระกูล แม่ทัพภาคที่ 4 ในฐานะผู้อำนวยการกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า (กอ.รมน.ภาค 4 สน.) เปิดเผยต่อกรณีดังกล่าวว่า เท่าที่ทราบมีการส่งหนังสือดังกล่าวมาให้คณะพูดคุยสันติภาพฝ่ายไทยแล้วแล้ว แต่ยังไม่มีใครได้ส่งหนังสือดังกล่าวมาให้ตน
“ยอมรับว่าเหตุรุนแรงที่เกิดขึ้นในช่วง 10 วัน ของเดือนรอมฎอนที่ผ่านมา มีความสงสัยอยู่หลายอย่าง ซึ่งจะเป็นหน้าที่ของคณะทำงานส่งเสริมสันติภาพในช่วงเดือนรอมฎอน พ.ศ.2556 ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่แต่งตั้งโดยศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนใต้ (ศอ.บต.) ที่จะต้องตอบคำถาม และข้อสงสัยต่างๆ” พล.ท.สกล กล่าว
พล.ท.สกล เปิดเผยด้วยว่า อย่างไรก็ตาม ตลอด 10 วันของเดือนรอมฎอนที่ผ่านมา ทาง กอ.รมน.ภาค 4 สน. ได้จัดแผนการรักษาความปลอดภัยแก่ประชาชนในพื้นที่ในเชิงที่ไม่ใช้ความรุนแรงอยู่แล้ว
ด้านนายไกรศร วิศิษฎ์วงศ์ เลขานุการคณะทำงานส่งเสริมสันติภาพในเดือนรอมฎอนฯ เปิดเผยว่า ที่ผ่านมา คณะทำงานส่งเสริมฯ ได้ประชุมมาแล้ว 2 ครั้ง ครั้งล่าสุด เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2556 ที่ผ่านมา มีข้อสรุปว่า ตั้งแต่วันที่ 10-17 กรกฎาคม 2556 เกิดเหตุรุนแรงทั้งหมด 19 เหตุการณ์ แยกเป็นเหตุการณ์ความไม่สงบ 3 เหตุการณ์ คือ เหตุระเบิดใน อ.รามัน จ.ยะลา 1 เหตุการณ์ ที่ อ.บันนังสตา จ.ยะลา 1 เหตุการณ์ และเหตุระเบิดที่ อ.เจาะไอร้อง จ.นราธิวาส 1 เหตุการณ์
นายไกรศร เปิดเผยอีกว่า นอกจากนี้ ยังมีเหตุคลุมเครือ 2 เหตุการณ์ คือ เหตุยิงราษฎรในพื้นที่อำเภอบันนังสตา 2 คน ทางคณะทำงานฯ มีมติ ดังนี้
1.ให้คณะทำงานฯ ในส่วนของจังหวัดยะลาเร่งตรวจสอบในพื้นที่อย่างละเอียด
2.ให้ตำรวจเร่งดำเนินคดีนี้เป็นพิเศษ
3.หากประชาชนในพื้นที่ยังไม่พอใจในผลการตรวจสอบ อาจจะตั้งคณะกรรมการอีกชุดหนึ่งขึ้นมาตรวจสอบ โดยมีผู้นำศาสนาในพื้นที่เป็นกรรมการ
โรงเรียนนักข่าวชายแดนใต้ (DSJ)
เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2556 มีรายงานข่าวจากประเทศมาเลเซีย ว่า นายฮัสซัน ตอยิบ แกนนำขบวนการบีอาร์เอ็น (BRN) ในฐานะตัวแทนในการพูดคุยสันติภาพกับตัวแทนรัฐบาลไทย ได้ยื่นหนังสือต่อ ดาโต๊ะ สรี อาห์มัด ซัมซามิน ฮาซิม อดีตผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติมาเลเซีย ในฐานะผู้อำนวยความสะดวกการพูดคุยสันติภาพ ระหว่างไทย กับบีอาร์เอ็น ระบุว่า ฝ่ายไทยละเมิดข้อตกลงในการลดความรุนแรงในเดือนรอมฎอน
ทั้งนี้ รายงานระบุว่า ฝ่ายบีอาร์เอ็นจะหยุดการก่อเหตุยิงอย่างที่ดาโต๊ะ ศรี ซัมซามีน ได้ประกาศไว้อย่างจริงจัง 100 เปอร์เซ็นต์ แต่การที่ประชาชน ครูตาดีกา ผู้นำศาสนา คนที่มีคดีติดตัว และคนอื่นๆ หลายคนที่ถูกสังหาร ทำให้ประชาชนไม่เชื่อมั่นต่อกระบวนการสันติภาพ ทำให้คนของบีอาร์เอ็น หรือกลุ่มกองกำลังอาร์เคเคไม่สามารถอดทนได้ ทำให้พวกเขาต้องออกมาตอบโต้อย่างที่เกิดขึ้น
แม่ทัพยันเรื่องจริง-ย้ำทหารไม่ใช้ความรุนแรง
พล.ท.สกล ชื่นตระกูล แม่ทัพภาคที่ 4 ในฐานะผู้อำนวยการกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า (กอ.รมน.ภาค 4 สน.) เปิดเผยต่อกรณีดังกล่าวว่า เท่าที่ทราบมีการส่งหนังสือดังกล่าวมาให้คณะพูดคุยสันติภาพฝ่ายไทยแล้วแล้ว แต่ยังไม่มีใครได้ส่งหนังสือดังกล่าวมาให้ตน
“ยอมรับว่าเหตุรุนแรงที่เกิดขึ้นในช่วง 10 วัน ของเดือนรอมฎอนที่ผ่านมา มีความสงสัยอยู่หลายอย่าง ซึ่งจะเป็นหน้าที่ของคณะทำงานส่งเสริมสันติภาพในช่วงเดือนรอมฎอน พ.ศ.2556 ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่แต่งตั้งโดยศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนใต้ (ศอ.บต.) ที่จะต้องตอบคำถาม และข้อสงสัยต่างๆ” พล.ท.สกล กล่าว
พล.ท.สกล เปิดเผยด้วยว่า อย่างไรก็ตาม ตลอด 10 วันของเดือนรอมฎอนที่ผ่านมา ทาง กอ.รมน.ภาค 4 สน. ได้จัดแผนการรักษาความปลอดภัยแก่ประชาชนในพื้นที่ในเชิงที่ไม่ใช้ความรุนแรงอยู่แล้ว
ด้านนายไกรศร วิศิษฎ์วงศ์ เลขานุการคณะทำงานส่งเสริมสันติภาพในเดือนรอมฎอนฯ เปิดเผยว่า ที่ผ่านมา คณะทำงานส่งเสริมฯ ได้ประชุมมาแล้ว 2 ครั้ง ครั้งล่าสุด เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2556 ที่ผ่านมา มีข้อสรุปว่า ตั้งแต่วันที่ 10-17 กรกฎาคม 2556 เกิดเหตุรุนแรงทั้งหมด 19 เหตุการณ์ แยกเป็นเหตุการณ์ความไม่สงบ 3 เหตุการณ์ คือ เหตุระเบิดใน อ.รามัน จ.ยะลา 1 เหตุการณ์ ที่ อ.บันนังสตา จ.ยะลา 1 เหตุการณ์ และเหตุระเบิดที่ อ.เจาะไอร้อง จ.นราธิวาส 1 เหตุการณ์
นายไกรศร เปิดเผยอีกว่า นอกจากนี้ ยังมีเหตุคลุมเครือ 2 เหตุการณ์ คือ เหตุยิงราษฎรในพื้นที่อำเภอบันนังสตา 2 คน ทางคณะทำงานฯ มีมติ ดังนี้
1.ให้คณะทำงานฯ ในส่วนของจังหวัดยะลาเร่งตรวจสอบในพื้นที่อย่างละเอียด
2.ให้ตำรวจเร่งดำเนินคดีนี้เป็นพิเศษ
3.หากประชาชนในพื้นที่ยังไม่พอใจในผลการตรวจสอบ อาจจะตั้งคณะกรรมการอีกชุดหนึ่งขึ้นมาตรวจสอบ โดยมีผู้นำศาสนาในพื้นที่เป็นกรรมการ
โรงเรียนนักข่าวชายแดนใต้ (DSJ)