เมื่อเร็วๆนี้ที่สภาคริสต์จักร กทม. เครือข่ายรักษ์บ้านเกิดท่าศาลา และภาคี ได้แถลงข่าว “เรียกร้องบ.เชฟร่อน ถอน อีเอชไอเอ และยกเลิกการขออนุญาตดำเนินโครงการก่อสร้างศูนย์สนับสนุนการปฏิบัติงานสำรวจและผลิตปิโตรเลียมในอ่าวไทย พื้นที่ อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช เนื่องจากมีการค้นพบข้อมูลว่า 3 ปีที่ผ่าน รายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม สังคม และสุขภาพ หรือ อีเอชไอเอ ของบริษัทเชฟรอนทำด้วยวิธีการที่ไร้ธรรมาภิบาล และไม่ใส่ใจต่อพื้นที่ความมั่นคงทางอาหารของ อ.ท่าศาลา
โดยนายวิชาญ เชาวลิต ประธานเครือข่ายรักษ์บ้านเกิดท่าศาลา กล่าวว่า หลังจากที่ บ.เชฟร่อน ประกาศยุติโครงการฯ นั้น เรารู้สึกถูกหลอกมาโดยตลอด ปากบอกขอยุติหมายความว่าหยุด แต่กลับเดินหน้าขอใบอนุญาต อีเอชไอเอ ต่อเนื่อง ขณะที่ภาครัฐเองระบุว่า เขาไม่ได้ยุติเรื่องการขอใบอนุญาติ แสดงว่ากำลังใช้เล่ห์กลเพื่อให้ได้มาซึ่งโครงการฯ ทั้งๆที่เป็นโครงการเดียวกัน ขณะที่สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) คณะกรรมการองค์การอิสระด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (กอสส.) เอง ก็ไม่ได้มีความรับผิดชอบในฐานะหน่วยงานรัฐเลย การประกาศยุติของ บ.เชฟร่อน ชัดเจนต่อสาธารณะ แต่ในเรื่องกระบวนการยังเดินหน้าต่อแบบไม่แยแสความเป็นอยู่ของคนท่าศาลา และพยายามคุกคามพื้นที่อันเป็นแหล่งผลิตอาหารที่ชาวบ้านใช้ชีวิตอย่างปกติสุขมาโดยตลอด
ซึ่งชาวท่าศาลาขอท้าเลยว่า หากกระบวนการไม่ยุติธรรมยังคงเกิดขึ้น ชาวบ้านก็คงต้องหาทางยุติด้วยกระบวนการอื่นแบบไม่พึ่งพาหน่วยงานรัฐ ซึ่งอาจจะรุนแรง หรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับว่า หน่วยงานรับฟังประชาชนมากเพียงใด เพราะเราย้ำหลายครั้งว่า วิถีชาวบ้านสำคัญมาก ใน อ.ท่าศาลา
ด้านนางสาว สุภาภรณ์ มาลัยลอย ผู้จัดการมูลนิธินิติธรรมสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า ช่วงที่ประกาศยุติ ชาวบ้านร็สึกโล่งใจอย่างมากต่อความรับผิดชอบ ในฐฐานะบริษัทใหญ่ แต่สุดท้ายกลับใช้วิธีหลอกตาชาวบ้าน เพราะกระบวนการพิจารณา อีเอชไอเอ ยังทำอยู่ ซึ่งจะนำไปสู่การออกใบอนุญาตนั้ในที่สุด ทั้งๆที่ไม่มีความชอบธรรมใดๆ โดยต้นเดือนสิงหาคมปีนี้ รายงาน อีเอชไอเอ ถูกส่งจาก สผ. สู่ กอสส. เพื่อดำเนินการตามกระบวนการเพื่อให้ กอสส. ให้ความเห็นประกอบและนำไปสู่การออกใบอนุญาตประกอบกิจการ ซึ่งเป็นรายงานที่ผ่านการทำโดยที่ชาวท่าศาลา ไม่มีส่วนรับรู้
“เขาอ้างลอยๆ ว่า สาเหตุที่เชฟรอนไม่ได้ขอถอนรายงานจากสผ. หลังจากประกาศยุติโครงการ ฯ เพราะมีความประสงค์ที่จะให้สาธารณชนได้รับประโยชน์จากข้อมูลที่สมบูรณ์ของรายงาน อันเกี่ยวกับการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมสำหรับโครงการ หรือกิจการที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรง ทั้งทางด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติและสุขภาพ โดยมิได้มุ่งหวังเพื่อดำเนินการขอใบอนุญาตก่อสร้างแต่อย่างใด ซึ่งชาวบ้านก็ไม่ได้โง่ถึงขนาดไม่รู้ว่า เป็นการหลอกตา ดังนั้นหากคุณจริงใจควรที่จะถอนรายงานทั้งหมดทันที เพื่อแสดงให้เห็นว่า ทางบริษัทนั้นยึดคำพูดที่เคยประกาศไว้ในสาธารณะชน ”
ด้านนายสุพร โต๊ะเส็น อายุ 41 ปี ชาวประมง อ.ท่าศาลา กล่าวว่า พื้นที่โครงการฯของเชฟร่อน เป็นพื้นที่ทำประมงพื้นบ้านขนาดใหญ่ของ จ.นครศรีธรรมราช มีเรือประมงเข้ามาทำกินกว่า 2,000 ลำ สามารถหาสัตว์ทะเลได้กว่า 160 ชนิดและมีรายได้อย่างดีแม้จะไม่มากมายแต่ก็มีอาชีพที่มั่นคง โดยส่วนครอบครัวของตนประกอบอาชีพประมงมา 3 รุ่นแล้ว ไม่เคยคิดจะต้องจากบ้านเกิดไปทำงานไกล เพราะมั่นใจว่า อ.ท่าศาลา มีทรัพยากรเพียงพอต่อการหาเลี้ยงครอบครัว
“เราทำประมง กัน 3 ช่วง เช้า เย็น ค่ำ บางวัน หาปูม้าตัวเป็นๆ ได้ 3 กิโล กรัม มาแล่เนื้อขายได้ 1 กิโลกรัม เพิ่มราคาแก่สินค้าได้ดี รายได้มีราว 300-500 บาทต่อวัน เป็นรายได้ที่ไม่นิ่งแต่พวกเราไม่เดือดร้อน มีความสุขกับชีวิตประมงเสมอ เคยดีใจที่คนท่าศาลาสู้จนเชฟร่อนยอมประกาศยุติ แต่สุดท้าย มารู้ว่าหน่วยงานรัฐเองยังปล่อยให้ บริษัทเดินหน้าในเรื่องของกระบวนการที่นำไปสู่การทำลายชีวิตคนท่าศาลา อีกครั้ง มันเป็นเรื่องที่น่าเจ็บใจไม่น้อย แต่ผมเชื่อว่า คนท่าศาลา จะไม่ยอมแน่ๆ เราขอสู้ทุกรูปแบบเพื่อ อาชีพที่มั่นคงและแหล่งอาหารที่สำคัญของทุกคน” นายสุพร กล่าว
โดยนายวิชาญ เชาวลิต ประธานเครือข่ายรักษ์บ้านเกิดท่าศาลา กล่าวว่า หลังจากที่ บ.เชฟร่อน ประกาศยุติโครงการฯ นั้น เรารู้สึกถูกหลอกมาโดยตลอด ปากบอกขอยุติหมายความว่าหยุด แต่กลับเดินหน้าขอใบอนุญาต อีเอชไอเอ ต่อเนื่อง ขณะที่ภาครัฐเองระบุว่า เขาไม่ได้ยุติเรื่องการขอใบอนุญาติ แสดงว่ากำลังใช้เล่ห์กลเพื่อให้ได้มาซึ่งโครงการฯ ทั้งๆที่เป็นโครงการเดียวกัน ขณะที่สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) คณะกรรมการองค์การอิสระด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (กอสส.) เอง ก็ไม่ได้มีความรับผิดชอบในฐานะหน่วยงานรัฐเลย การประกาศยุติของ บ.เชฟร่อน ชัดเจนต่อสาธารณะ แต่ในเรื่องกระบวนการยังเดินหน้าต่อแบบไม่แยแสความเป็นอยู่ของคนท่าศาลา และพยายามคุกคามพื้นที่อันเป็นแหล่งผลิตอาหารที่ชาวบ้านใช้ชีวิตอย่างปกติสุขมาโดยตลอด
ซึ่งชาวท่าศาลาขอท้าเลยว่า หากกระบวนการไม่ยุติธรรมยังคงเกิดขึ้น ชาวบ้านก็คงต้องหาทางยุติด้วยกระบวนการอื่นแบบไม่พึ่งพาหน่วยงานรัฐ ซึ่งอาจจะรุนแรง หรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับว่า หน่วยงานรับฟังประชาชนมากเพียงใด เพราะเราย้ำหลายครั้งว่า วิถีชาวบ้านสำคัญมาก ใน อ.ท่าศาลา
ด้านนางสาว สุภาภรณ์ มาลัยลอย ผู้จัดการมูลนิธินิติธรรมสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า ช่วงที่ประกาศยุติ ชาวบ้านร็สึกโล่งใจอย่างมากต่อความรับผิดชอบ ในฐฐานะบริษัทใหญ่ แต่สุดท้ายกลับใช้วิธีหลอกตาชาวบ้าน เพราะกระบวนการพิจารณา อีเอชไอเอ ยังทำอยู่ ซึ่งจะนำไปสู่การออกใบอนุญาตนั้ในที่สุด ทั้งๆที่ไม่มีความชอบธรรมใดๆ โดยต้นเดือนสิงหาคมปีนี้ รายงาน อีเอชไอเอ ถูกส่งจาก สผ. สู่ กอสส. เพื่อดำเนินการตามกระบวนการเพื่อให้ กอสส. ให้ความเห็นประกอบและนำไปสู่การออกใบอนุญาตประกอบกิจการ ซึ่งเป็นรายงานที่ผ่านการทำโดยที่ชาวท่าศาลา ไม่มีส่วนรับรู้
“เขาอ้างลอยๆ ว่า สาเหตุที่เชฟรอนไม่ได้ขอถอนรายงานจากสผ. หลังจากประกาศยุติโครงการ ฯ เพราะมีความประสงค์ที่จะให้สาธารณชนได้รับประโยชน์จากข้อมูลที่สมบูรณ์ของรายงาน อันเกี่ยวกับการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมสำหรับโครงการ หรือกิจการที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรง ทั้งทางด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติและสุขภาพ โดยมิได้มุ่งหวังเพื่อดำเนินการขอใบอนุญาตก่อสร้างแต่อย่างใด ซึ่งชาวบ้านก็ไม่ได้โง่ถึงขนาดไม่รู้ว่า เป็นการหลอกตา ดังนั้นหากคุณจริงใจควรที่จะถอนรายงานทั้งหมดทันที เพื่อแสดงให้เห็นว่า ทางบริษัทนั้นยึดคำพูดที่เคยประกาศไว้ในสาธารณะชน ”
ด้านนายสุพร โต๊ะเส็น อายุ 41 ปี ชาวประมง อ.ท่าศาลา กล่าวว่า พื้นที่โครงการฯของเชฟร่อน เป็นพื้นที่ทำประมงพื้นบ้านขนาดใหญ่ของ จ.นครศรีธรรมราช มีเรือประมงเข้ามาทำกินกว่า 2,000 ลำ สามารถหาสัตว์ทะเลได้กว่า 160 ชนิดและมีรายได้อย่างดีแม้จะไม่มากมายแต่ก็มีอาชีพที่มั่นคง โดยส่วนครอบครัวของตนประกอบอาชีพประมงมา 3 รุ่นแล้ว ไม่เคยคิดจะต้องจากบ้านเกิดไปทำงานไกล เพราะมั่นใจว่า อ.ท่าศาลา มีทรัพยากรเพียงพอต่อการหาเลี้ยงครอบครัว
“เราทำประมง กัน 3 ช่วง เช้า เย็น ค่ำ บางวัน หาปูม้าตัวเป็นๆ ได้ 3 กิโล กรัม มาแล่เนื้อขายได้ 1 กิโลกรัม เพิ่มราคาแก่สินค้าได้ดี รายได้มีราว 300-500 บาทต่อวัน เป็นรายได้ที่ไม่นิ่งแต่พวกเราไม่เดือดร้อน มีความสุขกับชีวิตประมงเสมอ เคยดีใจที่คนท่าศาลาสู้จนเชฟร่อนยอมประกาศยุติ แต่สุดท้าย มารู้ว่าหน่วยงานรัฐเองยังปล่อยให้ บริษัทเดินหน้าในเรื่องของกระบวนการที่นำไปสู่การทำลายชีวิตคนท่าศาลา อีกครั้ง มันเป็นเรื่องที่น่าเจ็บใจไม่น้อย แต่ผมเชื่อว่า คนท่าศาลา จะไม่ยอมแน่ๆ เราขอสู้ทุกรูปแบบเพื่อ อาชีพที่มั่นคงและแหล่งอาหารที่สำคัญของทุกคน” นายสุพร กล่าว