เงินบาทอ่อนค่า 32 บาทต่อดอลลาร์ ทำสถิติอ่อนสุดรอบ 3 ปี ธปท.เผยเงินทุนไหลออก แต่การอ่อนค่าเป็นไปในทิศทางเดียวกับสกุลเงินในภูมิภาค พอใจแม้ค่าความผันผวนสูงขึ้นแต่ระยะปานกลางยังพอไปได้ หากเงินบาทเคลื่อนไหวเร็วเกินไป ธปท.จะเข้าไปดูแล "โต้ง" ได้ทีคุยโวส่งผลดีต่อส่งออก ไม่ต้องมีมาตรการกระตุ้นเพิ่ม
ผู้สื่อข่าวรายงานสถานการณ์ค่าเงินบาทวานนี้ (22ส.ค.) เคลื่อนไหวอ่อนค่าสุดที่ 32.15 บาทต่อดอลลาร์ หรืออ่อนค่าสุดในรอบ 3 ปี เนื่องจากเงินทุนต่างประเทศไหลออกจากตลาดหลักทรัพย์และตลาดพันธบัตรหลังจากมีแรงเทขายอย่างต่อเนื่อง โดยนายธีรนันท์ ศรีหงส์ กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย เชื่อว่าเงินบาทมีโอกาสจะอ่อนค่าลงอีก เพราะเศรษฐกิจสหรัฐฯและญี่ปุ่นมีแนวโน้มฟื้นตัว ซึ่งจะส่งผลให้มีเงินไหลกลับไปสหรัฐฯจากการลดขนาดของมาตรการคิวอี ขณะที่เศรษฐกิจในประเทศเริ่มอ่อนแรงการบริโภคภาคเอกชนที่ลดลง เนื่องจากปัญหาหนี้ครัวเรือนสูง อย่างไรก็ตาม เงินบาทที่อ่อนค่าไม่น่ากังวล เพราะทำให้ผู้ส่งออกมีรายได้และมีเงินเพียงพอในการขยายการลงทุน ซึ่งจะกระตุ้นให้จีดีพีเติบโตได้ แต่ภาคธุรกิจต้องติดตามสถานการณ์ค่าเงินบาทอย่างใกล้ชิดควรซื้อเครื่องมือประกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนเพื่อป้องกันการขาดทุน
นางผ่องเพ็ญ เรืองวีรยุทธ รองผู้ว่าการ ด้านเสถียรภาพการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวถึงสถานการณ์เงินบาทอ่อนค่ารวดเร็วในช่วงนี้ว่า การเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทเป็นไปตามทิศทางเดียวกับสกุลเงินในภูมิภาคเนื่องจากช่วงนี้มีเงินทุนไหลออกจากตลาดเศรษฐกิจเกิดใหม่ ซึ่งมีเงินทุนไหลออกจากไทยออกไปบ้าง จึงเห็นค่าเงินบาทอ่อนค่าลง และหากเงินบาทมีการเคลื่อนไหวค่อนข้างเร็วไป ธปท.พร้อมจะเข้าไปดูแลตามเชิงหลักการ
“สกุลเงินต่างๆ ลงไปพร้อมๆ กัน แต่สปีดต่างกัน แต่อ่อนค่าลง ส่วนสปีดของการอ่อนค่าสกุลเงินบาทไทย หากมองช่วงกลางๆ ก็ยังพอได้ ค่าความผันผวนสูงขึ้นมา อย่างไรก็ตาม ถ้าช่วงคิดว่าอ่อนค่าเร็วก็จำเป็นต้องเข้าไปดูแล ซึ่งเป็นไปตามหลักการอยู่แล้ว แต่ไม่ใช่จะบอกว่าจะเข้าหรือไม่เข้าไปดูแล แต่สิ่งสำคัญถ้าเร็วไป เราก็พร้อมจะเข้าไปดูแล”รองผู้ว่าการ ธปท.กล่าว
ด้านนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.คลัง กล่าวถึงเงินบาทที่อ่อนค่าว่า ถือว่าเงินบาทยังมีเสถียรภาพ และจะส่งผลดีต่อภาคการส่งออกของไทย ซึ่งจากขณะนี้เงินทุนสำรองในประเทศที่มีอยู่ถึง 1.7 แสนล้านดอลลาร์ รวมถึงสภาพคล่องในระบบอีก 3 ล้านล้านบาทบาทนั้น ธปท.น่าจะนำไปช่วยดูแลในเรื่องอัตราแลกเปลี่ยน และอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงได้
ส่วนการกระตุ้นเศรษฐกิจในช่วงครึ่งปีหลังนั้น รัฐบาลจะใช้แนวทางการกระตุ้นเศรษฐกิจโดยยึดตามมติครม.เมื่อวันที่ 6 ส.ค.56 โดยไม่จำเป็นต้องหามาตรการใหม่ๆ เข้ามาเพิ่มเติมอีก พร้อมยืนยันว่ามาตรการทั้งหมดมีความชัดเจน ครอบคลุม และไม่เป็นประชานิยม และรัฐบาลให้ความสำคัญกับการสร้างกลไกหลักของประเทศผ่านการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของประเทศ วงเงิน 2 ล้านล้านบาท เพราะรัฐบาลให้ความสำคัญกับการลงทุนที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติในระยะยาวมากกว่า
นายกิตติรัตน์ไม่กังวลกระบวนการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรต่อร่าง พ.ร.บ.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของประเทศ (พ.ร.บ. 2 ล้านล้านบาท) ซึ่งรัฐบาลจะเปิดโอกาสให้มีการอภิปรายกันเต็มที่
"โครงการ 2 ล้านล้าน เราได้นำเสนอต่อสภาฯ ถ้าจะใช้เวลากี่วันก็ดำเนินการไป ส่วนจะเข้าสู่กระบวนการวุฒิสภา ก็ให้ดำเนินการต่อไป รวมถึงหากจะมีใครไปยื่นในกระบวนการอื่น เช่น ศาลรัฐธรรมนูญ ก็ดำเนินการไป" รองนายกฯ และ รมว.คลังระบุ.
ผู้สื่อข่าวรายงานสถานการณ์ค่าเงินบาทวานนี้ (22ส.ค.) เคลื่อนไหวอ่อนค่าสุดที่ 32.15 บาทต่อดอลลาร์ หรืออ่อนค่าสุดในรอบ 3 ปี เนื่องจากเงินทุนต่างประเทศไหลออกจากตลาดหลักทรัพย์และตลาดพันธบัตรหลังจากมีแรงเทขายอย่างต่อเนื่อง โดยนายธีรนันท์ ศรีหงส์ กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย เชื่อว่าเงินบาทมีโอกาสจะอ่อนค่าลงอีก เพราะเศรษฐกิจสหรัฐฯและญี่ปุ่นมีแนวโน้มฟื้นตัว ซึ่งจะส่งผลให้มีเงินไหลกลับไปสหรัฐฯจากการลดขนาดของมาตรการคิวอี ขณะที่เศรษฐกิจในประเทศเริ่มอ่อนแรงการบริโภคภาคเอกชนที่ลดลง เนื่องจากปัญหาหนี้ครัวเรือนสูง อย่างไรก็ตาม เงินบาทที่อ่อนค่าไม่น่ากังวล เพราะทำให้ผู้ส่งออกมีรายได้และมีเงินเพียงพอในการขยายการลงทุน ซึ่งจะกระตุ้นให้จีดีพีเติบโตได้ แต่ภาคธุรกิจต้องติดตามสถานการณ์ค่าเงินบาทอย่างใกล้ชิดควรซื้อเครื่องมือประกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนเพื่อป้องกันการขาดทุน
นางผ่องเพ็ญ เรืองวีรยุทธ รองผู้ว่าการ ด้านเสถียรภาพการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวถึงสถานการณ์เงินบาทอ่อนค่ารวดเร็วในช่วงนี้ว่า การเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทเป็นไปตามทิศทางเดียวกับสกุลเงินในภูมิภาคเนื่องจากช่วงนี้มีเงินทุนไหลออกจากตลาดเศรษฐกิจเกิดใหม่ ซึ่งมีเงินทุนไหลออกจากไทยออกไปบ้าง จึงเห็นค่าเงินบาทอ่อนค่าลง และหากเงินบาทมีการเคลื่อนไหวค่อนข้างเร็วไป ธปท.พร้อมจะเข้าไปดูแลตามเชิงหลักการ
“สกุลเงินต่างๆ ลงไปพร้อมๆ กัน แต่สปีดต่างกัน แต่อ่อนค่าลง ส่วนสปีดของการอ่อนค่าสกุลเงินบาทไทย หากมองช่วงกลางๆ ก็ยังพอได้ ค่าความผันผวนสูงขึ้นมา อย่างไรก็ตาม ถ้าช่วงคิดว่าอ่อนค่าเร็วก็จำเป็นต้องเข้าไปดูแล ซึ่งเป็นไปตามหลักการอยู่แล้ว แต่ไม่ใช่จะบอกว่าจะเข้าหรือไม่เข้าไปดูแล แต่สิ่งสำคัญถ้าเร็วไป เราก็พร้อมจะเข้าไปดูแล”รองผู้ว่าการ ธปท.กล่าว
ด้านนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.คลัง กล่าวถึงเงินบาทที่อ่อนค่าว่า ถือว่าเงินบาทยังมีเสถียรภาพ และจะส่งผลดีต่อภาคการส่งออกของไทย ซึ่งจากขณะนี้เงินทุนสำรองในประเทศที่มีอยู่ถึง 1.7 แสนล้านดอลลาร์ รวมถึงสภาพคล่องในระบบอีก 3 ล้านล้านบาทบาทนั้น ธปท.น่าจะนำไปช่วยดูแลในเรื่องอัตราแลกเปลี่ยน และอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงได้
ส่วนการกระตุ้นเศรษฐกิจในช่วงครึ่งปีหลังนั้น รัฐบาลจะใช้แนวทางการกระตุ้นเศรษฐกิจโดยยึดตามมติครม.เมื่อวันที่ 6 ส.ค.56 โดยไม่จำเป็นต้องหามาตรการใหม่ๆ เข้ามาเพิ่มเติมอีก พร้อมยืนยันว่ามาตรการทั้งหมดมีความชัดเจน ครอบคลุม และไม่เป็นประชานิยม และรัฐบาลให้ความสำคัญกับการสร้างกลไกหลักของประเทศผ่านการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของประเทศ วงเงิน 2 ล้านล้านบาท เพราะรัฐบาลให้ความสำคัญกับการลงทุนที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติในระยะยาวมากกว่า
นายกิตติรัตน์ไม่กังวลกระบวนการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรต่อร่าง พ.ร.บ.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของประเทศ (พ.ร.บ. 2 ล้านล้านบาท) ซึ่งรัฐบาลจะเปิดโอกาสให้มีการอภิปรายกันเต็มที่
"โครงการ 2 ล้านล้าน เราได้นำเสนอต่อสภาฯ ถ้าจะใช้เวลากี่วันก็ดำเนินการไป ส่วนจะเข้าสู่กระบวนการวุฒิสภา ก็ให้ดำเนินการต่อไป รวมถึงหากจะมีใครไปยื่นในกระบวนการอื่น เช่น ศาลรัฐธรรมนูญ ก็ดำเนินการไป" รองนายกฯ และ รมว.คลังระบุ.