นายธีรนันท์ ศรีหงส์ กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย กล่าวว่า เศรษฐกิจไทยในช่วงที่เหลือ 4 เดือนต่อจากนี้ ยังคงชะลอลงต่อเนื่อง เพราะขณะนี้ยังไม่เห็นการเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจ โดยเฉพาะแผนการลงทุนของรัฐบาล ทั้งในส่วนของงบประมาณประจำปี 2557 และแผนการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน 2 ล้านล้านบาท เนื่องจากยังติดขัดในเรื่องในการเบิกจ่ายงบประมาณ และยังมีความกังวลว่า หากมีการเลื่อนการพิจารณาเบิกจ่ายงบประจำปี 2557 ออกไปจะยิ่งส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น จึงเชื่อว่าเศรษฐกิจไทยในปีนี้จะเติบโตได้ร้อยละ 4
ส่วนเศรษฐกิจไทยในปีหน้าคาดการณ์ว่า มีโอกาสจะเติบโตได้ร้อยละ 4.5 โดยมองว่า ปัจจัยขับเคลื่อนจะมาจากเศรษฐกิจโลกที่ฟื้นตัวจะส่งผลดีต่อการเติบโตของเศรษฐกิจไทย และการลงทุนจากภาครัฐบาล เพราะเชื่อว่าภาครัฐน่าจะขับเคลื่อนได้ในบางโครงการ และสามารถทยอยเบิกจ่ายในโครงการลงทุนที่สำคัญออกมาก ขณะที่ปัญหาสงครามในต่างประเทศมีแนวโน้มลดลงจะส่งผลดีต่อความมั่นใจของผู้บริโภคในต่างประเทศปรับดีขึ้น และหากค่าเงินบาทยังอ่อนค่าในระดับนี้ต่อเนื่องจะส่งผลให้ภาคการส่งออกน่าจะฟื้นตัวได้ในปีหน้า
นอกจากนี้ นายธีรนันน์ เปิดเผยผลสำรวจและการจัดอันดับความสามารถในการแข่งขันของประเทศของ ไอเอ็มดี หรือ International Institute for Management Development จากประเทศสวิตเซอร์แลนด์ พบว่า ขีดความสามารถของไทยในปัจจุบันยังไม่ได้ปรับเพิ่มขึ้น แต่ไม่ได้มีทิศทางที่แย่ลง โดยไทยอยู่ลำดับที่ 27 จาก 60 ประเทศทั่วโลก และเมื่อเทียบกับประเทศอาเซียน ไทยอยู่อันดับที่ 3 รองจากสิงคโปร์ และมาเลเซีย เนื่องจากไทยยังขาดการพัฒนาในโครงสร้างพื้นฐาน แม้ว่ารัฐบาลจะมีแผนการลงทุนในโครงการลงทุนต่างๆ แต่ยังไม่ถูกนำไปปฏิบัติส่งผลให้ไทยเสียโอกาสในด้านการแข่งขันกับประเทศในอาเซียน และอาจทำให้น่ากังวลว่าไทยอาจถูกจัดอันดับตกลงดังนั้น ภาคเอกชนจึงต้องการเห็นการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานให้เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว เพื่อไม่ให้ขีดความสามารถในการแข่งขันถูกจัดตกอันดับ ซึ่งรวมถึงแผนการลงทุนในด้านการวิจัย และพัฒนาในผลิตภัณฑ์ และบุคลากรที่เป็นข้อเสนอจากภาคเอกชน รัฐบาลยังไม่มีการดำเนินการตามแผนที่รัฐบาลวางไว้
สำหรับปัญหาหนี้ภาคครัวเรือน ยอมรับว่า มีความกังวล แต่ธนาคารกสิกรมีการติดตามสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง พบว่า ตัวเลขยอดผิดนัดชำระหนี้มีไม่มากนักจนถึงขั้นเกิดเป็นหนี้เสีย หรือเอ็นพีแอล โดยธนาคารยังควบคุม และดูแลลูกหนี้ได้ดี ขณะที่การขยายตัวของสินเชื่อคงจะเป็นไปตามเป้าหมายที่ร้อยละ 9-11
ส่วนเศรษฐกิจไทยในปีหน้าคาดการณ์ว่า มีโอกาสจะเติบโตได้ร้อยละ 4.5 โดยมองว่า ปัจจัยขับเคลื่อนจะมาจากเศรษฐกิจโลกที่ฟื้นตัวจะส่งผลดีต่อการเติบโตของเศรษฐกิจไทย และการลงทุนจากภาครัฐบาล เพราะเชื่อว่าภาครัฐน่าจะขับเคลื่อนได้ในบางโครงการ และสามารถทยอยเบิกจ่ายในโครงการลงทุนที่สำคัญออกมาก ขณะที่ปัญหาสงครามในต่างประเทศมีแนวโน้มลดลงจะส่งผลดีต่อความมั่นใจของผู้บริโภคในต่างประเทศปรับดีขึ้น และหากค่าเงินบาทยังอ่อนค่าในระดับนี้ต่อเนื่องจะส่งผลให้ภาคการส่งออกน่าจะฟื้นตัวได้ในปีหน้า
นอกจากนี้ นายธีรนันน์ เปิดเผยผลสำรวจและการจัดอันดับความสามารถในการแข่งขันของประเทศของ ไอเอ็มดี หรือ International Institute for Management Development จากประเทศสวิตเซอร์แลนด์ พบว่า ขีดความสามารถของไทยในปัจจุบันยังไม่ได้ปรับเพิ่มขึ้น แต่ไม่ได้มีทิศทางที่แย่ลง โดยไทยอยู่ลำดับที่ 27 จาก 60 ประเทศทั่วโลก และเมื่อเทียบกับประเทศอาเซียน ไทยอยู่อันดับที่ 3 รองจากสิงคโปร์ และมาเลเซีย เนื่องจากไทยยังขาดการพัฒนาในโครงสร้างพื้นฐาน แม้ว่ารัฐบาลจะมีแผนการลงทุนในโครงการลงทุนต่างๆ แต่ยังไม่ถูกนำไปปฏิบัติส่งผลให้ไทยเสียโอกาสในด้านการแข่งขันกับประเทศในอาเซียน และอาจทำให้น่ากังวลว่าไทยอาจถูกจัดอันดับตกลงดังนั้น ภาคเอกชนจึงต้องการเห็นการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานให้เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว เพื่อไม่ให้ขีดความสามารถในการแข่งขันถูกจัดตกอันดับ ซึ่งรวมถึงแผนการลงทุนในด้านการวิจัย และพัฒนาในผลิตภัณฑ์ และบุคลากรที่เป็นข้อเสนอจากภาคเอกชน รัฐบาลยังไม่มีการดำเนินการตามแผนที่รัฐบาลวางไว้
สำหรับปัญหาหนี้ภาคครัวเรือน ยอมรับว่า มีความกังวล แต่ธนาคารกสิกรมีการติดตามสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง พบว่า ตัวเลขยอดผิดนัดชำระหนี้มีไม่มากนักจนถึงขั้นเกิดเป็นหนี้เสีย หรือเอ็นพีแอล โดยธนาคารยังควบคุม และดูแลลูกหนี้ได้ดี ขณะที่การขยายตัวของสินเชื่อคงจะเป็นไปตามเป้าหมายที่ร้อยละ 9-11