กสิกรไทยปรับโครงสร้างครั้งใหญ่ ตั้งเอ็มดีคู่ “ปรีดี – ธีรนันท์” รองรับโจทย์ธุรกิจใหม่หลังการเปดเสรี พร้อมเชื่อม”เมืองไทยประกันชีวิต”เข้าระบบอย่างเต็มตัว ส่ง”กฤษฎา-สมเกียรติ”นั่งรองประธานควบทั้งแบงก์-เมืองไทย
นายบัณฑูร ล่ำซำ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน)(KBANK) เปิดเผยว่า ธนาคารได้มีการปรับโครงสร้างการบริหารของธนาคาร โดยการแต่งตั้ง นายบัณฑูร ล่ำซำ เป็น ประธานกรรมการ และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร
พร้อมกันนั้น แต่งตั้ง นายสมชาย บุลสุข กรรมการ และนายกฤษฏา ล่ำซำ รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส เป็นรองประธานกรรมการ และ แต่งตั้งนายสมเกียรติ ศิริชาติไชย รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส เป็น ประธานกรรมการบริหารความเสี่ยง พร้อมกันนั้น ได้แต่งตั้งให้นายปรีดี ดาวฉาย และนายธีรนันท์ ศรีหงส์ รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส เป็นกรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย
“ตำแหน่งกรรมการผู้จัดการของธนาคารที่มี 2 คน ก็เพราะโจทย์ในอนาคตของเราเป็นโจทย์ที่ใหญ่ ต้องมีการปรับโครงสร้างใหญ่เพื่อรองรับกับความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นและรองรับ AEC PLUS ซึ่งจะทำให้ ตลาดกว้างขึ้น มีกฎเกณฑ์ต่างๆที่เปลี่ยนไป การดำเนินธุรกิจเปลี่ยนขั้วไป อย่างที่เห็น นอกจากมีฝรั่ง แล้ว ก็มีจีนมาอีก เราก็ต้องเตรียมให้พร้อมกับโอกาสที่เพิ่มขึ้น ขณะเดียวกันก็ต้องพร้อมรับโอกาสใหม่ๆ กับความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นด้วย”
นอกจากนี้ จากยุทธศาสตร์ของธนาคารที่ต้องการเชื่อมโยงธุรกิจของธนาคารเข้ากับธุรกิจประกันชีวิตอย่างเต็มตัว ซึ่งปัจจุบันธนาคารถือหุ้นอยู่ในบริษัทเมืองไทยประกันชีวิตอยู่ 75% จึงได้แต่งตั้งให้นายกฤษดา ล่ำซำ และนายสมเกียรติ ศิริชาติไชย ดำรงตำแหน่งรองประธานกรรมการของบริษัทเมืองไทยประกันชีวิตควบคู่ไปด้วย
ทั้งนี้ นายกฤษดาจะดูในเรื่องของยุทธศาสตร์ นโยบายต่างๆของทั้ง 2 องค์กร ขณะที่นายสมเกียรติจะดูในเรื่องความเสี่ยงของทั้ง 2 องค์กรควบคู่กันไป เพื่อให้ทั้ง 2 ธุรกิจดำเนินควบคู่กันไปอย่างมีประสิทธิภาพ
นายบัณฑูรกล่าวอีกว่า เมื่อก่อนนี้เราอาจจะไม่ค่อยสนใจธุรกิจประกันชีวิตมากนัก เพราะอัตราการเติบโตยังไม่สูงนัก แต่เมื่อสัก 2-3 ปีที่ผ่านมา ธนาคารเห็นถึงแนวโน้มของธุรกิจประกันชีวิตที่ทวีความสำคัญมากขึ้น จึงเข้าถือหุ้นในบริษัทเมืองไทยประกันชีวิตในสัดส่วนเพิ่มขึ้น และ ณ ปัจจุบันยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงตำแหน่งผู้บริหารในบริษัทเมืองไทยประกันชีวติ เนื่องจากมีความเหมาะสมอยู่แล้ว
สำหรับสถานการณ์หนี้ครัวเรือนที่เพิ่มขึ้น ซึ่งหลายๆฝ่ายรวมถึงธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)ออกมาเป็นห่วงนั้น นายบัณฑูรกล่าวว่า การมีหนี้มากเกินไปก็เป็นเรื่องที่ไม่ดี เป็นอันตราย และนำไปสู่ความเสียหายทางเศรษฐกิจได้ เหมือนช่วงวิกฤตเศรษฐกิจต้มยำกุ้งที่เกิดเพราะการกู้เงินมา ซื้อหุ้น อสังหาริมทรัพย์ในราคาที่ไม่เป็นจริง แล้วพอฟองสบู่แตก คืนเงินกู้ไม่ได้ กระทบสถาบันการเงิน ลามไปถึงระบบเงินออมและเศรษฐกิจของประเทศ ดังนั้น ผู้กำกับดูแลระบบมีหน้าที่ที่จะดูว่าฟองสบู่ที่เพิ่มขึ้นนั้นมีมากเกินไปหรือยัง
นายบัณฑูร ล่ำซำ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน)(KBANK) เปิดเผยว่า ธนาคารได้มีการปรับโครงสร้างการบริหารของธนาคาร โดยการแต่งตั้ง นายบัณฑูร ล่ำซำ เป็น ประธานกรรมการ และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร
พร้อมกันนั้น แต่งตั้ง นายสมชาย บุลสุข กรรมการ และนายกฤษฏา ล่ำซำ รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส เป็นรองประธานกรรมการ และ แต่งตั้งนายสมเกียรติ ศิริชาติไชย รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส เป็น ประธานกรรมการบริหารความเสี่ยง พร้อมกันนั้น ได้แต่งตั้งให้นายปรีดี ดาวฉาย และนายธีรนันท์ ศรีหงส์ รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส เป็นกรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย
“ตำแหน่งกรรมการผู้จัดการของธนาคารที่มี 2 คน ก็เพราะโจทย์ในอนาคตของเราเป็นโจทย์ที่ใหญ่ ต้องมีการปรับโครงสร้างใหญ่เพื่อรองรับกับความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นและรองรับ AEC PLUS ซึ่งจะทำให้ ตลาดกว้างขึ้น มีกฎเกณฑ์ต่างๆที่เปลี่ยนไป การดำเนินธุรกิจเปลี่ยนขั้วไป อย่างที่เห็น นอกจากมีฝรั่ง แล้ว ก็มีจีนมาอีก เราก็ต้องเตรียมให้พร้อมกับโอกาสที่เพิ่มขึ้น ขณะเดียวกันก็ต้องพร้อมรับโอกาสใหม่ๆ กับความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นด้วย”
นอกจากนี้ จากยุทธศาสตร์ของธนาคารที่ต้องการเชื่อมโยงธุรกิจของธนาคารเข้ากับธุรกิจประกันชีวิตอย่างเต็มตัว ซึ่งปัจจุบันธนาคารถือหุ้นอยู่ในบริษัทเมืองไทยประกันชีวิตอยู่ 75% จึงได้แต่งตั้งให้นายกฤษดา ล่ำซำ และนายสมเกียรติ ศิริชาติไชย ดำรงตำแหน่งรองประธานกรรมการของบริษัทเมืองไทยประกันชีวิตควบคู่ไปด้วย
ทั้งนี้ นายกฤษดาจะดูในเรื่องของยุทธศาสตร์ นโยบายต่างๆของทั้ง 2 องค์กร ขณะที่นายสมเกียรติจะดูในเรื่องความเสี่ยงของทั้ง 2 องค์กรควบคู่กันไป เพื่อให้ทั้ง 2 ธุรกิจดำเนินควบคู่กันไปอย่างมีประสิทธิภาพ
นายบัณฑูรกล่าวอีกว่า เมื่อก่อนนี้เราอาจจะไม่ค่อยสนใจธุรกิจประกันชีวิตมากนัก เพราะอัตราการเติบโตยังไม่สูงนัก แต่เมื่อสัก 2-3 ปีที่ผ่านมา ธนาคารเห็นถึงแนวโน้มของธุรกิจประกันชีวิตที่ทวีความสำคัญมากขึ้น จึงเข้าถือหุ้นในบริษัทเมืองไทยประกันชีวิตในสัดส่วนเพิ่มขึ้น และ ณ ปัจจุบันยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงตำแหน่งผู้บริหารในบริษัทเมืองไทยประกันชีวติ เนื่องจากมีความเหมาะสมอยู่แล้ว
สำหรับสถานการณ์หนี้ครัวเรือนที่เพิ่มขึ้น ซึ่งหลายๆฝ่ายรวมถึงธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)ออกมาเป็นห่วงนั้น นายบัณฑูรกล่าวว่า การมีหนี้มากเกินไปก็เป็นเรื่องที่ไม่ดี เป็นอันตราย และนำไปสู่ความเสียหายทางเศรษฐกิจได้ เหมือนช่วงวิกฤตเศรษฐกิจต้มยำกุ้งที่เกิดเพราะการกู้เงินมา ซื้อหุ้น อสังหาริมทรัพย์ในราคาที่ไม่เป็นจริง แล้วพอฟองสบู่แตก คืนเงินกู้ไม่ได้ กระทบสถาบันการเงิน ลามไปถึงระบบเงินออมและเศรษฐกิจของประเทศ ดังนั้น ผู้กำกับดูแลระบบมีหน้าที่ที่จะดูว่าฟองสบู่ที่เพิ่มขึ้นนั้นมีมากเกินไปหรือยัง