ASTVผู้จัดการรายวัน-ประชุมรัฐสภาวุ่นวายต่อ สมาชิกขวางแก้รัฐธรรมนูญสภาผัวเมีย แต่สุดท้ายเสร็จเพื่อไทย โหวตให้มีผลบังคับใช้ทันที หลังลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา ปชป.มองยาว ชี้เป้าต่อไปจ้องล้มองค์กรอิสระ "รสนา"เสนอให้ยืดเวลาบังคับใช้ออกไป 1 ปี แต่ไร้ผล ขุนค้อนบ่น "โครตเบื่อ" ประท้วงกันเยอะ
วานนี้ (21 ส.ค.) ก่อนการประชุมรัฐสภาจะเริ่มต้นขึ้น ได้มีการหารือระหว่างตัวแทนของวิป 3 ฝ่าย โดยนายเจริญ จรรย์โกมล รองประธานสภาผู้แทนราษฎร นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฐ์ ประธานวิปฝ่ายค้าน นายอำนวย คลังผา ประธานวิปรัฐบาล นายประวัติ ทองสมบูรณ์ ส.ว.มหาสารคาม และนายสุรชัย ชัยตระกูลทอง ส.ว.ชลบุรี ที่ห้องวิปฝ่ายค้าน
โดยทั้ง 3 ฝ่ายเห็นตรงกันที่จะอนุญาตให้สมาชิกทุกคนที่สงวนคำแปรญัตติได้มีโอกาสอภิปรายในมาตราที่เสนอให้มีการแก้ไขอย่างเต็มที่ ซึ่งรวมถึง 57 คนที่ถูกตัดสิทธิ์การอภิปรายก่อนหน้านี้ แต่จะสามารถอภิปรายได้เฉพาะมาตรา 2 เป็นต้นไป เพื่อให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญและข้อบังคับการประชุม พร้อมกันนี้ จะไม่หยิบยกประเด็นที่ก่อให้เกิดความวุ่นวายในการประชุมรัฐสภามาพูดในที่ประชุมอีก เพื่อยุติปัญหาและให้การประชุมสามารถเดินหน้าได้ โดยขอให้เลิกแล้วต่อกัน
นอกจากนี้ ทุกฝ่ายจะกำชับสมาชิกของตนเองให้อภิปรายในกรอบของกฎหมายและงดการประท้วงที่ไม่จำเป็น ซึ่งมั่นใจว่าหากทุกฝ่ายปฏิบัติตามข้อตกลงจะทำให้การประชุมดีกว่า โดยการประชุมจะต้องจบภายในเวลา 22.00 น.ของวันที่ 23 ส.ค.นี้ แต่ถ้าไม่จบก็ต้องเลื่อนไปเป็นสัปดาห์หน้า
***เปิดประชุมแล้วก็วุ่นวายทันที
จากนั้นเมื่อเวลา 10.30น. การประชุมรัฐสภาเพื่อพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญที่มาของสว. ในวาระ2 โดยมี นายสมศักดิ์ ทำหน้าที่ประธานการประชุม ซึ่งเป็นการพิจารณามาตรา 2 เกี่ยวกับการกำหนดวันบังคับใช้ แต่ปรากฏว่าที่ประชุมต้องเสียเวลาร่วม3 ชั่วโมง เนื่องจากส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ และสว.กลุ่มหนึ่ง ยังคงมีการประท้วงการทำหน้าที่ของนายสมศักดิ์และเรียกร้องให้อนุญาตให้สมาชิกรัฐสภาจำนวน 57 คนที่ถูกตัดสิทธิอภิปราย เพราะเสนอคำแปรญัตติแก้ไขถ้อยคำที่ขัดกับหลักการของร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญได้มีสิทธิ์อภิปรายในรัฐสภา แต่ประธานรัฐสภายังยืนยันว่ารัฐสภามีมติไปแล้วว่าผู้เสนอคำแปรญัตติที่ขัดกับหลักการร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญไม่สามารถอภิปรายในสภา ดังนั้น ต้องเดินหน้าตามระเบียบวาระการประชุม
ต่อมาเมื่อนายนิคม ไวยรัชพานิช ประธานวุฒิสภา ในฐานะรองประธานรัฐสภา ได้ทำหน้าที่ประธานที่ประชุม นายมณเฑียร บุญตัน สว.สรรหา ได้เสนอญัตติขอให้ที่ประชุมรัฐสภามีมติทบทวนการลงมติที่ตัดสิทธิการอภิปรายของสมาชิกรัฐสภา 57 คน แต่ แต่นายนิคมอ้างว่าข้อบังคับการประชุมรัฐสภากำหนดไว้ว่าในระหว่างที่รัฐสภากำลังพิจารณาเรื่องหนึ่งเรื่องใดจะเสนอญัตติขึ้นมาไม่ได้ ซึ่งตนอยากให้สมาชิกรัฐสภา 57 คนได้อภิปรายเพื่อชี้แจงเกี่ยวกับการเสนอคำแปรญัตติที่ถูกตีความว่าขัดกับหลักการร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ แต่ขอความร่วมมือขอให้อภิปรายคนละไม่เกิน 5 นาที
นายอำนวย คลังผา ประธานวิปรัฐบาล กล่าวว่า ที่ประชุมวิป 3 ฝ่ายมีความเห็นร่วมกันว่าจะให้สมาชิก 57 คนอภิปรายได้แต่หากสมาชิกคนไหนอภิปรายโดยมีเนื้อหาที่ขัดกับหลักการในร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญก็ขอให้ประธานรัฐสภาและรองประธานรัฐสภาเป็นผู้วินิจฉัยว่าสมควรจะให้อภิปรายต่อไปได้หรือไม่
**ปชป.ถล่มเปิดทางล้มองค์กรอิสระ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังจากได้ข้อสรุปร่วมกันที่จะให้สมาชิก 57 คนได้สิทธิ์ในการอภิปราย จากนั้นการประชุมเริ่มเข้าสู่การพิจารณามาตรา 2 ที่บัญญัติเกี่ยวกับการกำหนดวันบังคับใช้กฏหมาย โดยสมาชิกส่วนใหญ่ที่สงวนคำแปรญัตติต่างไม่เห็นด้วยที่จะให้มีการเลือกตั้งสว. ทั้งชุด โดยเพราะเกรงว่าจะส่งผลลบมากกว่าได้ประโยชน์ โดยเฉพาะการรวบอำนาจทางการเมืองของเสียงข้างมาก
นายเทพไท เสนพงศ์ สส.นครศรีธรรมราช พรรคประชาธิปัตย์ อภิปรายเป็นคนแรกว่า กระบวนการพิจารณารัฐธรรมนูญขณะนี้ มีความต้องการให้มีผลบังคับใช้โดยเร็ว จะเห็นได้ตั้งแต่การเสนอรวบรัดการทำหน้าที่ของฝ่ายค้านไม่ให้อภิปรายครบทุกคนตั้งแต่วาระที่ 1 ดังนั้น การแก้ไขที่มาของสว.ก็เพื่อต้องการให้สว.เลือกตั้งปัจจุบันที่จะหมดวาระในวันที่ 2 มี.ค.2557 สามารถลงสมัคร สว.ภายใต้รัฐธรรมนูญใหม่ได้ทันเวลา ทั้งที่เวลานี้มีหลายเรื่องที่ควรเร่งดำเนินการมากกว่ารัฐธรรมนูญ ไม่ว่าจะเป็น ร่างพ.ร.บ.งบประมาณ หรือการแถลงผลงานของรัฐบาล
นายธนา ชีรวินิจ สส.กรุงเทพมหานคร พรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะกรรมาธิการเสียงข้างน้อย เสนอให้ตัดมาตรา 2 ทั้งมาตรา เพราะต้องการให้เห็นว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับนี้เป็นไปอย่างไม่ถูกต้อง เพราะจะสร้างความเสียหายให้กับประเทศ และที่สำคัญการแก้รัฐธรรมนูญจะไม่ได้หยุดแค่นี้ เนื่องจากก่อนหน้านี้มีการแสดงเจตจำนงว่าไม่พอใจการทำงานขององค์กรอิสระ ตนไม่ได้คัดค้านการให้ประชาชนได้สิทธิเลือกตั้งสว. แต่สว.มีอำนาจหน้าที่สำคัญอย่างมาก โดยเฉพาะการเลือกบุคคลเข้ามาดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระ และการถอดถอนบุคคลระดับสูง เช่นประธานศาลฎีกา ซึ่งที่ผ่านมา ก็ได้มีบทเรียนมาแล้วจากรัฐธรรมนูญ ปี 2540 ที่ให้ สว. มาจาการเลือกตั้งหมดจนส่งผลให้ต้องพึ่งพิงกับอำนาจทางการเมืองจนทำให้ไม่สามารถทำหน้าที่ได้อย่างอิสระ
“การแก้รัฐธรรมนูญในส่วนนี้จะต้องมีหลักประกันให้สังคมและประชาชนเกิดความมั่นใจว่า สว. ที่มาจากการเลือกตั้งทั้งหมดจะทำหน้าทีได้อย่างอิสระและเป็นกลาง เนื่องจากการได้มีการแก้ไขให้ผู้สมัคร สว. สามารถหาเสียงได้ ซึ่งแน่นอนว่าย่อมไม่สามารถหลักเลี่ยงการอิงแอบพรรคการเมืองและการรับการสนับสนุนจากกลุ่มทุนไปได้”
นายอิสระ สมชัย ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ เสนอให้ตัดออกหมดเช่นกัน เพราะทุกวันนี้ ไม่มีใครเดือดร้อนเรื่องสว. แต่เดือดร้อนเรื่องเศรษฐกิจ 2 ปีที่ผ่านมา รัฐบาลไปทำแต่เรื่องที่ประชาชนไม่ต้องการ และเนื้อหาที่ขอแก้ไข ก็เหมือนเอาร่างปี 40 กลับมาใช้อีกครั้ง ทำให้กลับไปสู่สภาครอบครัว ขณะที่ภาพลักษณ์ของ สว. ก็มีข้อกล่าวว่าไปรับเงินเดือนจากฝ่ายการเมือง ทำให้ความเป็นกลางไม่เกิดขึ้น หน้าที่หลัก คือ กลั่นกรองกฎหมาย ถอดถอนองค์กรอิสระ ปี 50 ที่ใช้ จึงเขียนไว้ให้แยก สว.ออกเป็น2 ประเภท คือ จากเลือกตั้งและสรรหา โดยให้เว้นวรรค1 เทอม ตนรับไม่ได้ในร่างนี้ โดยเฉพาะประธานวุฒิสภาที่สัมภาษณ์ว่ากฎหมายนี้ต้องผ่านเพื่อให้พวกตนเองมาสมัครกัน
**"รสนา"เสนอบังคับใช้หลังประกาศ 1 ปี
น.ส.รสนา โตสิตระกูล ส.ว.กทม. อภิปรายว่า การจะออกกฎหมายอะไรนั้นต้องไม่มีผลประโยชน์ขัดกันเป็นสำคัญ การปฎิบัติหน้าที่ของสภาต้องเป็นไปตามหลักนิติธรรม แต่หากเรามีผลประโยชน์และอคดิเข้ามาร่วมในการร่างกฎหมายก็จะเป็นการทำลายหลักนิติธรรมอย่างชัดเจน การที่เราเป็น สว. และมานั่งพิจารณากฎหมายฉบับนี้ เราจึงมีส่วนได้ส่วนเสียจะทำให้หลักกฎหมายที่ออกมาขาดหลักนิติธรรม ซึ่งรัฐธรรมนูญที่เรากำลังจะแก้เป็นการเปิดโอกาสให้กับ สว.อย่างมาก จนทำให้ สว.กับ สส.กลายเป็นหน่วยเดียวกัน ตนจึงขอเสนอให้มีผลบังคับใช้ร่างกฎหมายที่กำลังพิจารณาอยู่ขณะนี้หลักจากการประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษา 1 ปี นับจากวันที่มีการประกาศ
**สมเจตน์"ย้ำ สว.จะกลายเป็นสภาผัวเมีย
พลเอกสมเจตน์ บุญถนอม ส.ว.สรรหา กล่าวว่า รัฐธรรมนูญฉบับที่กำลังพิจารณาอยู่ขณะนี้ ได้กำหนดคุณสมบัติของ ส.ว.โดยตัดเงื่อนไขที่ห้ามพ่อแม่ ลูก ภรรยา สามี ของ สส.ลงสมัคร สว.ได้ ทำให้อาจเกิดประเด็นผลประโยชน์ที่เอื้อซึ่งกันและกัน โดยรัฐธรรมนูญฉบับปี 50 ได้กำหนดห้ามเงื่อนไขดังกล่าวไว้ชัดเจนเพื่อป้องกันเรื่องสภาผัวเมีย ส่วนการดำรงตำแหน่ง ในร่างฉบับนี้คือ ไม่มีการจำกัดระยะเวลาในการดำรงตำแหน่ง ทั้งที่กฎหมายรัฐธรรมนูญฉบับที่ผ่านมาล้วนแต่มีการกำหนดระยะเวลาเอาไว้ ซึ่งการแก้กฎหมายเช่นนี้ จะทำให้ สว.มีการเอาเปรียบและมุ่งเน้นแต่ประโยชน์ส่วนตัว การเว้นระยะเอาไว้ก่อนเพื่อแก้ปัญหาในด้านต่างๆ น่าจะเหมาะกว่าการนำมาใช้ทันที
**ลงมติใช้ทันทีที่ประกาศใช้ในราชกิจจา
นายสามารถ แก้วมีชัย ประธานรณะกรรมาธิการวิสามัญฯ กล่าวชี้แจงว่า ตามเสียงส่วนมากขอยืนตามร่างของกรรมาธิการ หากผ่านการลงมติในวาระ 3 แล้ว ก็ต้องมีการประกาศใช้ ในกรรมาธิการก็มีความเห็นว่าต้องบังคับใช้ในวันถัดไปทันที ตามจารีตธรรมเนียม ประเพณีที่เคยปฎิบัติมา ส่วนกรณีที่กลัวว่าจะมีเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อนจากการลาออกจาก สว.สมัยปัจจุบัน ไปลงสมัครรับเลือกตั้งทันทีนั้น ตนคิดว่าการลงสมัตรรับเลือกตั้งไม่ได้หมายความว่าจะได้เป็นทันที ซึ่งก็ต้องมีการตัดสินใจของประชาชนร่วมด้วยเช่นกัน และการที่อาจจะมีการฟ้องร้องต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ตนคิดว่าประเด็นนี้ไม่ใช่เรื่องผลประโยชน์ทับซ้อน
น.ส.รสนา โตสิตระกูล ส.ว.กทม. ได้ตอบโต้ว่า สิ่งที่นายสามารถชี้แจง ไม่สามารถครอบคลุมสิ่งที่ตนได้อภิปรายได้ ตนจึงขอเตือนสมาชิกรัฐสภาทุกคนว่า หากมีการลงมติเห็นชอบกับเรื่องนี้ อาจเป็นการกระทำผิด มาตรา 270 และ 275 ในเรื่องการใช้ตำแหน่งหน้าที่เอื้อผลประโยชน์ให้กับตัวเองและอาจถูกร้องจากประชาชนต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองได้ ตนเป็นคนหนึ่งที่ได้รับผลประโยชน์ ซึ่งมั่นใจว่าหากลงรับสมัครเลือกตั้งตนก็จะได้รับความไว้วางใจจากประชาชนอย่างแน่นอน แต่เราไม่ควรเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัวมากกว่าส่วนรวม
จากนั้นนายสมศักดิ์ ได้สั่งให้ที่ประชุมลงมติในมาตรา 2 ผลที่ออกมา คือ มีผู้เห็นด้วย 349-157 เสียงจากนั้นมีการอภิปรายในมาตรา 3 ต่อ
ก่อนการลงมติดังกล่าว นายศิริโชค โสภา ส.ส.สงขลา,นายบุญยอด สุขถิ่นไทย ส.ส.บัญชีรายชื่อ ได้สอบถามถึงความรับผิดชอบของนายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานรัฐสภา ต่อประเด็นที่ทีมงานโพสต์ภาพส.ส.พรรคประชาธิปัตย์นำมือค้ำคอตำรวจรัฐสภา โดยนายสมศักดิ์ กล่าวว่า หลังจากที่ตนพักการทำหน้าที่ประธานในที่ประชุมจะตรวจสอบให้ ขณะที่นายกุลเดช พัวพัฒนกุล ส.ส.อุทัยธานี พรรคประชาธิปัตย์ ชี้แจงว่าภาพที่นำมาแสดงบนเฟซบุ๊รัฐสภาไทย และสังคมมองว่าตนทำร้ายตำรวจรัฐสภา ไม่เป็นความจริง เพราะขณะที่เกิดเหตุชุลมุนนั้นเจ้าหน้าที่ตำรวจรัฐสภาเหยียบเท้าของตนที่ตาปลา ตนจึงรู้สึกเจ็บ
***ยื่นศาลรัฐธรรมนูญติดตามคดีที่ค้าง
วันเดียวกันนี้ แกนนำพร้อมผู้ชุมนุมกลุ่มกองทัพประชาชนโค่นล้มระบอบทักษิณจำนวนหนึ่งได้เดินทางไปยื่นหนังสือที่ศาลรัฐธรรมนูญขอให้เร่งติดตามคดีที่ค้างพิจารณา และให้กำลังใจการพิจารณาคดีท่ามกลางความกดดันที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะการพิจารณาคดีกรณีประธานรัฐสภา และสมาชิกจำนวน 312 คน กระทำการเพื่อล้มล้างการปกครองตามรัฐธรรมนูญมาตรา 68 ตามคำร้องของนายสมชาย แสวงการ สว.สรรหา, นายบวร ยสินธร กับคณะ, นายวรินทร์ เทียมจรัส และคำร้องของ พล.อ.สมเจตน์ บุญถนอม ที่ยื่นให้ตีความ รวมถึงการแก้ไขรัฐธรรมนูญในรัฐสภาที่อาจทำให้เกิดความขัดแย้งรุนแรงในสังคมไทย และอาจนำไปสู่การตีความข้อกฎหมาย
ในเวลาไล่เลี่ยกัน กลุ่มประชาชนที่ใช้ชื่อกลุ่มสื่อวิทยุประชาชนเพื่อประชาธิปไตยได้เดินทางมาที่ศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อยื่นหนังสือขอให้ตุลาการทำหน้าที่ด้วยความเที่ยงธรรม
นายเชาวนะ ไตรมาศ เลขาธิการสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ กล่าวว่า คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญทุกคนจะไม่ถูกกดดันการเร่งรัดวินิจฉัยตีความร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ และไม่ขอแสดงความเห็น หากสภาโหวตผ่านร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญจะเป็นโมฆะหรือไม่ เพราะการตีความถือเป็นเรื่องละเอียดอ่อนในการวินิจฉัยคดี ซึ่งคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญจะนำเข้าสู่ที่ประชุมในขั้นการพิจารณา และไม่สามารถตอบได้ว่าจะตัดสินคดีได้เมื่อไร
นอกจากนี้ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญจะไม่เป็นคู่กรณีกับฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง โดยเฉพาะในการวินิจฉัยคดีเกี่ยวกับฝ่ายการเมือง ซึ่งศาลได้ยึดมั่นความถูกต้องและเป็นธรรมกับทุกฝ่าย
**ปชป.ปัดวางเกมป่วนแค่ต้านสิ่งไม่ถูกต้อง
ส่วนเหตุการณ์ความวุ่นวายในการประชุมร่วมรัฐสภาเมื่อวันที่ 20 ส.ค.ที่ผ่านมา นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า เป็นภาพที่ไม่มีใครสบายใจ ไม่มีใครอยากจะเห็นสิ่งเหล่านี้เกิดขึ้น แต่ปัญหามาจาก ประธานในที่ประชุมทั้ง2 คนวินิจฉัยไม่ตรงกัน นายนิคม ไวยรัชพานิช ประธานวุฒิสภา ในฐานะรองประธานรัฐสภา ถูกทักท้วงเรื่องความเป็นกลาง
ที่สำคัญหากการแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรานี้ผ่านไป นายนิคมก็จะได้ประโยชน์จากเรื่องนี้ ส่วนนายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานรัฐสภา ไม่ฟังความเห็นของสมาชิกในที่ประชุมและพยายามรวบรัด ละเมิดสิทธิ์การอภิปรายของส.ส.และส.ว. ซึ่งความวุ่นวายที่เกิดขึ้นยืนยันได้ว่าฝ่ายค้านไม่ได้วางแผนให้เกิดขึ้น แต่อยากถามว่าการเตรียมการของฝ่ายประธานนั้น เหมือนกับซักซ้อมกันไว้ว่าจะมีการเอากำลังเข้ามา มีการเอาไปคุ้มกันประธาน ถือเป็นการเตรียมการหรือไม่ เพราะเป็นเหมือนกับเป็นมาตรการที่เขาซักซ้อมเอาไว้
นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมฝ่ายค้าน (วิปฝ่ายค้าน) กล่าวว่า เป็นเพราะการทำหน้าที่ของประธานในที่ประชุม เพราะมีประธานที่พยายามรวบรัดและตัดสิทธิสมาชิกไม่ให้อภิปราย ประกอบกับเกิดกรณีซ้ำซ้อนที่ประธานรัฐสภาเป็นผู้ดำเนินการให้มีตำรวจปราบจราจลเข้ามาในรัฐสภา ซึ่งเป็นการคุกคามการทำหน้าที่ของสมาชิกรัฐสภา เป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้องและไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ยกเว้นยุคทรราชย์และยุคเผด็จการเท่านั้น ครั้งนี้ถือเป็นครั้งแรก
**ขุนค้อน บ่น “โคตรเบื่อ” ประท้วงเยอะ
นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานรัฐสภา กล่าวกับสื่อมวลชนอย่างอารมณ์ดีระหว่างเตรียมเป็นประธานในพิธีมอบรางวัลต้นแบบคนพอเพียงวิถีประชาธิปไตย ที่ห้องโถงรัฐสภา ถึงการทำหน้าที่ประธานที่ประชุมและถูกสมาชิกรัฐสภาประท้วงอย่างต่อเนื่องและเป็นไปด้วยความวุ่นวาย ว่า “ไม่ปวดหัว มีเหนื่อยเล็กน้อย แต่โคตรเบื่อเลย” จากนั้นได้ส่งยิ้มก่อนเดินเลี่ยงผู้สื่อข่าวเพื่อปฏิบัติภารกิจต่อไป
ส่วนการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2557 ที่ยังคงค้างอยู่ จะมีการประชุมต่อในวันศุกร์ที่ 23 ส.ค.นี้ โดยกำหนดไว้วันเดียว หากไม่เสร็จสิ้น ก็จะมีการต่อเวลาออกไปอีก ส่วนการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญจะเสร็จสิ้นเมื่อใด ก็ขึ้นอยู่การอภิปรายและการตกลงกันของสมาชิกทั้ง 3 ฝ่าย
**พท.อัดฝ่ายค้านตั้งใจถ่วงเวลา
ที่เมืองทองธานี นายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ รมว.มหาดไทย ในฐานะหัวหน้าพรรคเพื่อไทย กล่าวว่า ตนคิดเหมือนคนไทยทั้งประเทศที่เห็นว่าการกระทำของฝ่ายค้านทำให้เห็นว่าบรรยากาศของการประชุมไม่เหมาะสม ขอให้คนที่มีใจเป็นธรรมพิจารณาดูให้ดีจะเห็นชัดว่าสิ่งที่เกิดขึ้นไม่ใช่พฤติกรรมโดยสันดานของผู้กระทำ แต่เป็นพฤติกรรมที่ถูกสั่งให้กระทำ เพราะที่เป็นหมอหรือมีการศึกษาจบปริญญาโท จะไม่ทำกันแบบนี้ เป็นการทำให้เห็นว่าไม่ต้องการให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับปฏิวัติ
ส่วนจะห่วงการพิจารณาแก้ไขรัฐธรรมนูญหรือร่างพ.ร.บ.งบประมาณร่ายจ่ายประจำปี 2557 หรือไม่ นายจารุพงศ์ กล่าวว่า ถ้าทำกันขนาดนี้ เป้าหมายเขาไม่ใช่รัฐธรรมนูญหรืองบประมาณแล้ว แต่เป็นความต้องการทำลายระบอบประชาธิปไตยในระบอบรัฐสภา พรรคนี้เคยบอกว่าเชื่อมั่นรัฐสภา แต่ไม่รู้วันนี้พรรคประชาธิปัตย์ไปลืมไว้ที่ไหน
ที่กองบังคับการปราบปราม นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ รมช.พาณิชย์ กล่าวว่า พรรคประชาธิปัตย์ มีการวางเกมไว้แล้วว่าจะไม่ยอมอภิปราย จึงพยายามใช้วิธีการถ่วงเวลา แล้วอ้างว่าประธานสภาฯ ไม่เป็นกลาง ซึ่งเรื่องนี้ทางผู้ใหญ่ของพรรคประชาธิปัตย์ ต้องออกมาแสดงความรับผิดชอบ
นายอุดมเดช รัตนเสถียร ส.ส.นนทบุรี และที่ปรึกษาประธานวิปรัฐบาล กล่าวว่า ให้สังคมได้ใช้วิจารณญาณ เพราะการประชุมถ่ายทอดสดทางวิทยุและโทรทัศน์อยู่ตลอด
**ตร.สภาลงบันทึกโดนทำร้าย
นายจิระพันธ์ พรหมศิลา เจ้าหน้าที่ตำรวจรัฐสภาที่ถูกทำร้ายร่างกาย ได้เดินทางเข้าพบพนักงานสอบสวน สน.ดุสิต เพื่อลงบันทึกประจำไว้เป็นหลักฐาน โดยระบุว่า ไม่ได้เป็นการมาเเจ้งความเพื่อเอาผิดกับบุคคลใด เนื่องจากในเวลาเกิดเหตุดังกล่าว เป็นช่วงที่ชุลมุน จึงไม่ได้สามารถจดจำใบหน้าของบุคคลที่ทำร้ายร่างกายได้
ด้าน พ.ต.อ.กัญชล อินทราราม ผกก.สน.ดุสิต กล่าวว่า ขั้นตอนต่อไป พนักงานสอบสวนจะทำการเรียกผู้เสียหายเข้ามาสอบปากคำเพิ่มเติม เพื่อทำการเเจ้งข้อหากับบุคคลที่กระทำผิด แต่ยังไม่สามารถระบุวันเวลาที่ชัดเจนได้ เนื่องจากผู้เสียหาย ติดภารกิจในการปฏิบัติหน้าที่
**ผบ.ทบ.เตือนส.ส.ใช้สติแก้ปัญหา
ที่กองพลทหารม้าที่ 2 รักษาพระองค์ (พล.ม. 2รอ.) พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก กล่าวว่า ได้ติดตามถึงการประชุมอยู่ตลอด จึงอยากขอให้ทุกฝ่ายยอมรับกติกาตามระบอบประชาธิปไตย ต้องแก้ให้ได้ อย่ามัวแต่ตีกันหรือทะเลาะกัน เพราะจะออกไปทั่วโลก ซึ่งเขาจับตามมองอยู่ ทุกวันนี้ตนก็อดทน และพยามยามตั้งรับปัญหาทุกอย่างอย่างมีสติ และใช้ปัญญาในการแก้ไข ถ้าใช้ความรุนแรงหรือโมโหโกรธแค้นในการทำงานจะทำให้ปัญหาบานปลาย อยากให้ดูเป็นตัวอย่าง แล้วนำสิ่งที่เกิดขึ้นมาเป็นบทเรียน ต้องระมัดระวังและขอให้ทำทุกอย่างให้เกิดความสงบ ตนพยายามยึดมั่นในแนวทางและพระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ว่าต้องแก้ปัญหาอย่างมีสติ คิดก่อนทำ
วานนี้ (21 ส.ค.) ก่อนการประชุมรัฐสภาจะเริ่มต้นขึ้น ได้มีการหารือระหว่างตัวแทนของวิป 3 ฝ่าย โดยนายเจริญ จรรย์โกมล รองประธานสภาผู้แทนราษฎร นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฐ์ ประธานวิปฝ่ายค้าน นายอำนวย คลังผา ประธานวิปรัฐบาล นายประวัติ ทองสมบูรณ์ ส.ว.มหาสารคาม และนายสุรชัย ชัยตระกูลทอง ส.ว.ชลบุรี ที่ห้องวิปฝ่ายค้าน
โดยทั้ง 3 ฝ่ายเห็นตรงกันที่จะอนุญาตให้สมาชิกทุกคนที่สงวนคำแปรญัตติได้มีโอกาสอภิปรายในมาตราที่เสนอให้มีการแก้ไขอย่างเต็มที่ ซึ่งรวมถึง 57 คนที่ถูกตัดสิทธิ์การอภิปรายก่อนหน้านี้ แต่จะสามารถอภิปรายได้เฉพาะมาตรา 2 เป็นต้นไป เพื่อให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญและข้อบังคับการประชุม พร้อมกันนี้ จะไม่หยิบยกประเด็นที่ก่อให้เกิดความวุ่นวายในการประชุมรัฐสภามาพูดในที่ประชุมอีก เพื่อยุติปัญหาและให้การประชุมสามารถเดินหน้าได้ โดยขอให้เลิกแล้วต่อกัน
นอกจากนี้ ทุกฝ่ายจะกำชับสมาชิกของตนเองให้อภิปรายในกรอบของกฎหมายและงดการประท้วงที่ไม่จำเป็น ซึ่งมั่นใจว่าหากทุกฝ่ายปฏิบัติตามข้อตกลงจะทำให้การประชุมดีกว่า โดยการประชุมจะต้องจบภายในเวลา 22.00 น.ของวันที่ 23 ส.ค.นี้ แต่ถ้าไม่จบก็ต้องเลื่อนไปเป็นสัปดาห์หน้า
***เปิดประชุมแล้วก็วุ่นวายทันที
จากนั้นเมื่อเวลา 10.30น. การประชุมรัฐสภาเพื่อพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญที่มาของสว. ในวาระ2 โดยมี นายสมศักดิ์ ทำหน้าที่ประธานการประชุม ซึ่งเป็นการพิจารณามาตรา 2 เกี่ยวกับการกำหนดวันบังคับใช้ แต่ปรากฏว่าที่ประชุมต้องเสียเวลาร่วม3 ชั่วโมง เนื่องจากส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ และสว.กลุ่มหนึ่ง ยังคงมีการประท้วงการทำหน้าที่ของนายสมศักดิ์และเรียกร้องให้อนุญาตให้สมาชิกรัฐสภาจำนวน 57 คนที่ถูกตัดสิทธิอภิปราย เพราะเสนอคำแปรญัตติแก้ไขถ้อยคำที่ขัดกับหลักการของร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญได้มีสิทธิ์อภิปรายในรัฐสภา แต่ประธานรัฐสภายังยืนยันว่ารัฐสภามีมติไปแล้วว่าผู้เสนอคำแปรญัตติที่ขัดกับหลักการร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญไม่สามารถอภิปรายในสภา ดังนั้น ต้องเดินหน้าตามระเบียบวาระการประชุม
ต่อมาเมื่อนายนิคม ไวยรัชพานิช ประธานวุฒิสภา ในฐานะรองประธานรัฐสภา ได้ทำหน้าที่ประธานที่ประชุม นายมณเฑียร บุญตัน สว.สรรหา ได้เสนอญัตติขอให้ที่ประชุมรัฐสภามีมติทบทวนการลงมติที่ตัดสิทธิการอภิปรายของสมาชิกรัฐสภา 57 คน แต่ แต่นายนิคมอ้างว่าข้อบังคับการประชุมรัฐสภากำหนดไว้ว่าในระหว่างที่รัฐสภากำลังพิจารณาเรื่องหนึ่งเรื่องใดจะเสนอญัตติขึ้นมาไม่ได้ ซึ่งตนอยากให้สมาชิกรัฐสภา 57 คนได้อภิปรายเพื่อชี้แจงเกี่ยวกับการเสนอคำแปรญัตติที่ถูกตีความว่าขัดกับหลักการร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ แต่ขอความร่วมมือขอให้อภิปรายคนละไม่เกิน 5 นาที
นายอำนวย คลังผา ประธานวิปรัฐบาล กล่าวว่า ที่ประชุมวิป 3 ฝ่ายมีความเห็นร่วมกันว่าจะให้สมาชิก 57 คนอภิปรายได้แต่หากสมาชิกคนไหนอภิปรายโดยมีเนื้อหาที่ขัดกับหลักการในร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญก็ขอให้ประธานรัฐสภาและรองประธานรัฐสภาเป็นผู้วินิจฉัยว่าสมควรจะให้อภิปรายต่อไปได้หรือไม่
**ปชป.ถล่มเปิดทางล้มองค์กรอิสระ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังจากได้ข้อสรุปร่วมกันที่จะให้สมาชิก 57 คนได้สิทธิ์ในการอภิปราย จากนั้นการประชุมเริ่มเข้าสู่การพิจารณามาตรา 2 ที่บัญญัติเกี่ยวกับการกำหนดวันบังคับใช้กฏหมาย โดยสมาชิกส่วนใหญ่ที่สงวนคำแปรญัตติต่างไม่เห็นด้วยที่จะให้มีการเลือกตั้งสว. ทั้งชุด โดยเพราะเกรงว่าจะส่งผลลบมากกว่าได้ประโยชน์ โดยเฉพาะการรวบอำนาจทางการเมืองของเสียงข้างมาก
นายเทพไท เสนพงศ์ สส.นครศรีธรรมราช พรรคประชาธิปัตย์ อภิปรายเป็นคนแรกว่า กระบวนการพิจารณารัฐธรรมนูญขณะนี้ มีความต้องการให้มีผลบังคับใช้โดยเร็ว จะเห็นได้ตั้งแต่การเสนอรวบรัดการทำหน้าที่ของฝ่ายค้านไม่ให้อภิปรายครบทุกคนตั้งแต่วาระที่ 1 ดังนั้น การแก้ไขที่มาของสว.ก็เพื่อต้องการให้สว.เลือกตั้งปัจจุบันที่จะหมดวาระในวันที่ 2 มี.ค.2557 สามารถลงสมัคร สว.ภายใต้รัฐธรรมนูญใหม่ได้ทันเวลา ทั้งที่เวลานี้มีหลายเรื่องที่ควรเร่งดำเนินการมากกว่ารัฐธรรมนูญ ไม่ว่าจะเป็น ร่างพ.ร.บ.งบประมาณ หรือการแถลงผลงานของรัฐบาล
นายธนา ชีรวินิจ สส.กรุงเทพมหานคร พรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะกรรมาธิการเสียงข้างน้อย เสนอให้ตัดมาตรา 2 ทั้งมาตรา เพราะต้องการให้เห็นว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับนี้เป็นไปอย่างไม่ถูกต้อง เพราะจะสร้างความเสียหายให้กับประเทศ และที่สำคัญการแก้รัฐธรรมนูญจะไม่ได้หยุดแค่นี้ เนื่องจากก่อนหน้านี้มีการแสดงเจตจำนงว่าไม่พอใจการทำงานขององค์กรอิสระ ตนไม่ได้คัดค้านการให้ประชาชนได้สิทธิเลือกตั้งสว. แต่สว.มีอำนาจหน้าที่สำคัญอย่างมาก โดยเฉพาะการเลือกบุคคลเข้ามาดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระ และการถอดถอนบุคคลระดับสูง เช่นประธานศาลฎีกา ซึ่งที่ผ่านมา ก็ได้มีบทเรียนมาแล้วจากรัฐธรรมนูญ ปี 2540 ที่ให้ สว. มาจาการเลือกตั้งหมดจนส่งผลให้ต้องพึ่งพิงกับอำนาจทางการเมืองจนทำให้ไม่สามารถทำหน้าที่ได้อย่างอิสระ
“การแก้รัฐธรรมนูญในส่วนนี้จะต้องมีหลักประกันให้สังคมและประชาชนเกิดความมั่นใจว่า สว. ที่มาจากการเลือกตั้งทั้งหมดจะทำหน้าทีได้อย่างอิสระและเป็นกลาง เนื่องจากการได้มีการแก้ไขให้ผู้สมัคร สว. สามารถหาเสียงได้ ซึ่งแน่นอนว่าย่อมไม่สามารถหลักเลี่ยงการอิงแอบพรรคการเมืองและการรับการสนับสนุนจากกลุ่มทุนไปได้”
นายอิสระ สมชัย ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ เสนอให้ตัดออกหมดเช่นกัน เพราะทุกวันนี้ ไม่มีใครเดือดร้อนเรื่องสว. แต่เดือดร้อนเรื่องเศรษฐกิจ 2 ปีที่ผ่านมา รัฐบาลไปทำแต่เรื่องที่ประชาชนไม่ต้องการ และเนื้อหาที่ขอแก้ไข ก็เหมือนเอาร่างปี 40 กลับมาใช้อีกครั้ง ทำให้กลับไปสู่สภาครอบครัว ขณะที่ภาพลักษณ์ของ สว. ก็มีข้อกล่าวว่าไปรับเงินเดือนจากฝ่ายการเมือง ทำให้ความเป็นกลางไม่เกิดขึ้น หน้าที่หลัก คือ กลั่นกรองกฎหมาย ถอดถอนองค์กรอิสระ ปี 50 ที่ใช้ จึงเขียนไว้ให้แยก สว.ออกเป็น2 ประเภท คือ จากเลือกตั้งและสรรหา โดยให้เว้นวรรค1 เทอม ตนรับไม่ได้ในร่างนี้ โดยเฉพาะประธานวุฒิสภาที่สัมภาษณ์ว่ากฎหมายนี้ต้องผ่านเพื่อให้พวกตนเองมาสมัครกัน
**"รสนา"เสนอบังคับใช้หลังประกาศ 1 ปี
น.ส.รสนา โตสิตระกูล ส.ว.กทม. อภิปรายว่า การจะออกกฎหมายอะไรนั้นต้องไม่มีผลประโยชน์ขัดกันเป็นสำคัญ การปฎิบัติหน้าที่ของสภาต้องเป็นไปตามหลักนิติธรรม แต่หากเรามีผลประโยชน์และอคดิเข้ามาร่วมในการร่างกฎหมายก็จะเป็นการทำลายหลักนิติธรรมอย่างชัดเจน การที่เราเป็น สว. และมานั่งพิจารณากฎหมายฉบับนี้ เราจึงมีส่วนได้ส่วนเสียจะทำให้หลักกฎหมายที่ออกมาขาดหลักนิติธรรม ซึ่งรัฐธรรมนูญที่เรากำลังจะแก้เป็นการเปิดโอกาสให้กับ สว.อย่างมาก จนทำให้ สว.กับ สส.กลายเป็นหน่วยเดียวกัน ตนจึงขอเสนอให้มีผลบังคับใช้ร่างกฎหมายที่กำลังพิจารณาอยู่ขณะนี้หลักจากการประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษา 1 ปี นับจากวันที่มีการประกาศ
**สมเจตน์"ย้ำ สว.จะกลายเป็นสภาผัวเมีย
พลเอกสมเจตน์ บุญถนอม ส.ว.สรรหา กล่าวว่า รัฐธรรมนูญฉบับที่กำลังพิจารณาอยู่ขณะนี้ ได้กำหนดคุณสมบัติของ ส.ว.โดยตัดเงื่อนไขที่ห้ามพ่อแม่ ลูก ภรรยา สามี ของ สส.ลงสมัคร สว.ได้ ทำให้อาจเกิดประเด็นผลประโยชน์ที่เอื้อซึ่งกันและกัน โดยรัฐธรรมนูญฉบับปี 50 ได้กำหนดห้ามเงื่อนไขดังกล่าวไว้ชัดเจนเพื่อป้องกันเรื่องสภาผัวเมีย ส่วนการดำรงตำแหน่ง ในร่างฉบับนี้คือ ไม่มีการจำกัดระยะเวลาในการดำรงตำแหน่ง ทั้งที่กฎหมายรัฐธรรมนูญฉบับที่ผ่านมาล้วนแต่มีการกำหนดระยะเวลาเอาไว้ ซึ่งการแก้กฎหมายเช่นนี้ จะทำให้ สว.มีการเอาเปรียบและมุ่งเน้นแต่ประโยชน์ส่วนตัว การเว้นระยะเอาไว้ก่อนเพื่อแก้ปัญหาในด้านต่างๆ น่าจะเหมาะกว่าการนำมาใช้ทันที
**ลงมติใช้ทันทีที่ประกาศใช้ในราชกิจจา
นายสามารถ แก้วมีชัย ประธานรณะกรรมาธิการวิสามัญฯ กล่าวชี้แจงว่า ตามเสียงส่วนมากขอยืนตามร่างของกรรมาธิการ หากผ่านการลงมติในวาระ 3 แล้ว ก็ต้องมีการประกาศใช้ ในกรรมาธิการก็มีความเห็นว่าต้องบังคับใช้ในวันถัดไปทันที ตามจารีตธรรมเนียม ประเพณีที่เคยปฎิบัติมา ส่วนกรณีที่กลัวว่าจะมีเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อนจากการลาออกจาก สว.สมัยปัจจุบัน ไปลงสมัครรับเลือกตั้งทันทีนั้น ตนคิดว่าการลงสมัตรรับเลือกตั้งไม่ได้หมายความว่าจะได้เป็นทันที ซึ่งก็ต้องมีการตัดสินใจของประชาชนร่วมด้วยเช่นกัน และการที่อาจจะมีการฟ้องร้องต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ตนคิดว่าประเด็นนี้ไม่ใช่เรื่องผลประโยชน์ทับซ้อน
น.ส.รสนา โตสิตระกูล ส.ว.กทม. ได้ตอบโต้ว่า สิ่งที่นายสามารถชี้แจง ไม่สามารถครอบคลุมสิ่งที่ตนได้อภิปรายได้ ตนจึงขอเตือนสมาชิกรัฐสภาทุกคนว่า หากมีการลงมติเห็นชอบกับเรื่องนี้ อาจเป็นการกระทำผิด มาตรา 270 และ 275 ในเรื่องการใช้ตำแหน่งหน้าที่เอื้อผลประโยชน์ให้กับตัวเองและอาจถูกร้องจากประชาชนต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองได้ ตนเป็นคนหนึ่งที่ได้รับผลประโยชน์ ซึ่งมั่นใจว่าหากลงรับสมัครเลือกตั้งตนก็จะได้รับความไว้วางใจจากประชาชนอย่างแน่นอน แต่เราไม่ควรเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัวมากกว่าส่วนรวม
จากนั้นนายสมศักดิ์ ได้สั่งให้ที่ประชุมลงมติในมาตรา 2 ผลที่ออกมา คือ มีผู้เห็นด้วย 349-157 เสียงจากนั้นมีการอภิปรายในมาตรา 3 ต่อ
ก่อนการลงมติดังกล่าว นายศิริโชค โสภา ส.ส.สงขลา,นายบุญยอด สุขถิ่นไทย ส.ส.บัญชีรายชื่อ ได้สอบถามถึงความรับผิดชอบของนายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานรัฐสภา ต่อประเด็นที่ทีมงานโพสต์ภาพส.ส.พรรคประชาธิปัตย์นำมือค้ำคอตำรวจรัฐสภา โดยนายสมศักดิ์ กล่าวว่า หลังจากที่ตนพักการทำหน้าที่ประธานในที่ประชุมจะตรวจสอบให้ ขณะที่นายกุลเดช พัวพัฒนกุล ส.ส.อุทัยธานี พรรคประชาธิปัตย์ ชี้แจงว่าภาพที่นำมาแสดงบนเฟซบุ๊รัฐสภาไทย และสังคมมองว่าตนทำร้ายตำรวจรัฐสภา ไม่เป็นความจริง เพราะขณะที่เกิดเหตุชุลมุนนั้นเจ้าหน้าที่ตำรวจรัฐสภาเหยียบเท้าของตนที่ตาปลา ตนจึงรู้สึกเจ็บ
***ยื่นศาลรัฐธรรมนูญติดตามคดีที่ค้าง
วันเดียวกันนี้ แกนนำพร้อมผู้ชุมนุมกลุ่มกองทัพประชาชนโค่นล้มระบอบทักษิณจำนวนหนึ่งได้เดินทางไปยื่นหนังสือที่ศาลรัฐธรรมนูญขอให้เร่งติดตามคดีที่ค้างพิจารณา และให้กำลังใจการพิจารณาคดีท่ามกลางความกดดันที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะการพิจารณาคดีกรณีประธานรัฐสภา และสมาชิกจำนวน 312 คน กระทำการเพื่อล้มล้างการปกครองตามรัฐธรรมนูญมาตรา 68 ตามคำร้องของนายสมชาย แสวงการ สว.สรรหา, นายบวร ยสินธร กับคณะ, นายวรินทร์ เทียมจรัส และคำร้องของ พล.อ.สมเจตน์ บุญถนอม ที่ยื่นให้ตีความ รวมถึงการแก้ไขรัฐธรรมนูญในรัฐสภาที่อาจทำให้เกิดความขัดแย้งรุนแรงในสังคมไทย และอาจนำไปสู่การตีความข้อกฎหมาย
ในเวลาไล่เลี่ยกัน กลุ่มประชาชนที่ใช้ชื่อกลุ่มสื่อวิทยุประชาชนเพื่อประชาธิปไตยได้เดินทางมาที่ศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อยื่นหนังสือขอให้ตุลาการทำหน้าที่ด้วยความเที่ยงธรรม
นายเชาวนะ ไตรมาศ เลขาธิการสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ กล่าวว่า คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญทุกคนจะไม่ถูกกดดันการเร่งรัดวินิจฉัยตีความร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ และไม่ขอแสดงความเห็น หากสภาโหวตผ่านร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญจะเป็นโมฆะหรือไม่ เพราะการตีความถือเป็นเรื่องละเอียดอ่อนในการวินิจฉัยคดี ซึ่งคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญจะนำเข้าสู่ที่ประชุมในขั้นการพิจารณา และไม่สามารถตอบได้ว่าจะตัดสินคดีได้เมื่อไร
นอกจากนี้ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญจะไม่เป็นคู่กรณีกับฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง โดยเฉพาะในการวินิจฉัยคดีเกี่ยวกับฝ่ายการเมือง ซึ่งศาลได้ยึดมั่นความถูกต้องและเป็นธรรมกับทุกฝ่าย
**ปชป.ปัดวางเกมป่วนแค่ต้านสิ่งไม่ถูกต้อง
ส่วนเหตุการณ์ความวุ่นวายในการประชุมร่วมรัฐสภาเมื่อวันที่ 20 ส.ค.ที่ผ่านมา นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า เป็นภาพที่ไม่มีใครสบายใจ ไม่มีใครอยากจะเห็นสิ่งเหล่านี้เกิดขึ้น แต่ปัญหามาจาก ประธานในที่ประชุมทั้ง2 คนวินิจฉัยไม่ตรงกัน นายนิคม ไวยรัชพานิช ประธานวุฒิสภา ในฐานะรองประธานรัฐสภา ถูกทักท้วงเรื่องความเป็นกลาง
ที่สำคัญหากการแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรานี้ผ่านไป นายนิคมก็จะได้ประโยชน์จากเรื่องนี้ ส่วนนายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานรัฐสภา ไม่ฟังความเห็นของสมาชิกในที่ประชุมและพยายามรวบรัด ละเมิดสิทธิ์การอภิปรายของส.ส.และส.ว. ซึ่งความวุ่นวายที่เกิดขึ้นยืนยันได้ว่าฝ่ายค้านไม่ได้วางแผนให้เกิดขึ้น แต่อยากถามว่าการเตรียมการของฝ่ายประธานนั้น เหมือนกับซักซ้อมกันไว้ว่าจะมีการเอากำลังเข้ามา มีการเอาไปคุ้มกันประธาน ถือเป็นการเตรียมการหรือไม่ เพราะเป็นเหมือนกับเป็นมาตรการที่เขาซักซ้อมเอาไว้
นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมฝ่ายค้าน (วิปฝ่ายค้าน) กล่าวว่า เป็นเพราะการทำหน้าที่ของประธานในที่ประชุม เพราะมีประธานที่พยายามรวบรัดและตัดสิทธิสมาชิกไม่ให้อภิปราย ประกอบกับเกิดกรณีซ้ำซ้อนที่ประธานรัฐสภาเป็นผู้ดำเนินการให้มีตำรวจปราบจราจลเข้ามาในรัฐสภา ซึ่งเป็นการคุกคามการทำหน้าที่ของสมาชิกรัฐสภา เป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้องและไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ยกเว้นยุคทรราชย์และยุคเผด็จการเท่านั้น ครั้งนี้ถือเป็นครั้งแรก
**ขุนค้อน บ่น “โคตรเบื่อ” ประท้วงเยอะ
นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานรัฐสภา กล่าวกับสื่อมวลชนอย่างอารมณ์ดีระหว่างเตรียมเป็นประธานในพิธีมอบรางวัลต้นแบบคนพอเพียงวิถีประชาธิปไตย ที่ห้องโถงรัฐสภา ถึงการทำหน้าที่ประธานที่ประชุมและถูกสมาชิกรัฐสภาประท้วงอย่างต่อเนื่องและเป็นไปด้วยความวุ่นวาย ว่า “ไม่ปวดหัว มีเหนื่อยเล็กน้อย แต่โคตรเบื่อเลย” จากนั้นได้ส่งยิ้มก่อนเดินเลี่ยงผู้สื่อข่าวเพื่อปฏิบัติภารกิจต่อไป
ส่วนการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2557 ที่ยังคงค้างอยู่ จะมีการประชุมต่อในวันศุกร์ที่ 23 ส.ค.นี้ โดยกำหนดไว้วันเดียว หากไม่เสร็จสิ้น ก็จะมีการต่อเวลาออกไปอีก ส่วนการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญจะเสร็จสิ้นเมื่อใด ก็ขึ้นอยู่การอภิปรายและการตกลงกันของสมาชิกทั้ง 3 ฝ่าย
**พท.อัดฝ่ายค้านตั้งใจถ่วงเวลา
ที่เมืองทองธานี นายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ รมว.มหาดไทย ในฐานะหัวหน้าพรรคเพื่อไทย กล่าวว่า ตนคิดเหมือนคนไทยทั้งประเทศที่เห็นว่าการกระทำของฝ่ายค้านทำให้เห็นว่าบรรยากาศของการประชุมไม่เหมาะสม ขอให้คนที่มีใจเป็นธรรมพิจารณาดูให้ดีจะเห็นชัดว่าสิ่งที่เกิดขึ้นไม่ใช่พฤติกรรมโดยสันดานของผู้กระทำ แต่เป็นพฤติกรรมที่ถูกสั่งให้กระทำ เพราะที่เป็นหมอหรือมีการศึกษาจบปริญญาโท จะไม่ทำกันแบบนี้ เป็นการทำให้เห็นว่าไม่ต้องการให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับปฏิวัติ
ส่วนจะห่วงการพิจารณาแก้ไขรัฐธรรมนูญหรือร่างพ.ร.บ.งบประมาณร่ายจ่ายประจำปี 2557 หรือไม่ นายจารุพงศ์ กล่าวว่า ถ้าทำกันขนาดนี้ เป้าหมายเขาไม่ใช่รัฐธรรมนูญหรืองบประมาณแล้ว แต่เป็นความต้องการทำลายระบอบประชาธิปไตยในระบอบรัฐสภา พรรคนี้เคยบอกว่าเชื่อมั่นรัฐสภา แต่ไม่รู้วันนี้พรรคประชาธิปัตย์ไปลืมไว้ที่ไหน
ที่กองบังคับการปราบปราม นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ รมช.พาณิชย์ กล่าวว่า พรรคประชาธิปัตย์ มีการวางเกมไว้แล้วว่าจะไม่ยอมอภิปราย จึงพยายามใช้วิธีการถ่วงเวลา แล้วอ้างว่าประธานสภาฯ ไม่เป็นกลาง ซึ่งเรื่องนี้ทางผู้ใหญ่ของพรรคประชาธิปัตย์ ต้องออกมาแสดงความรับผิดชอบ
นายอุดมเดช รัตนเสถียร ส.ส.นนทบุรี และที่ปรึกษาประธานวิปรัฐบาล กล่าวว่า ให้สังคมได้ใช้วิจารณญาณ เพราะการประชุมถ่ายทอดสดทางวิทยุและโทรทัศน์อยู่ตลอด
**ตร.สภาลงบันทึกโดนทำร้าย
นายจิระพันธ์ พรหมศิลา เจ้าหน้าที่ตำรวจรัฐสภาที่ถูกทำร้ายร่างกาย ได้เดินทางเข้าพบพนักงานสอบสวน สน.ดุสิต เพื่อลงบันทึกประจำไว้เป็นหลักฐาน โดยระบุว่า ไม่ได้เป็นการมาเเจ้งความเพื่อเอาผิดกับบุคคลใด เนื่องจากในเวลาเกิดเหตุดังกล่าว เป็นช่วงที่ชุลมุน จึงไม่ได้สามารถจดจำใบหน้าของบุคคลที่ทำร้ายร่างกายได้
ด้าน พ.ต.อ.กัญชล อินทราราม ผกก.สน.ดุสิต กล่าวว่า ขั้นตอนต่อไป พนักงานสอบสวนจะทำการเรียกผู้เสียหายเข้ามาสอบปากคำเพิ่มเติม เพื่อทำการเเจ้งข้อหากับบุคคลที่กระทำผิด แต่ยังไม่สามารถระบุวันเวลาที่ชัดเจนได้ เนื่องจากผู้เสียหาย ติดภารกิจในการปฏิบัติหน้าที่
**ผบ.ทบ.เตือนส.ส.ใช้สติแก้ปัญหา
ที่กองพลทหารม้าที่ 2 รักษาพระองค์ (พล.ม. 2รอ.) พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก กล่าวว่า ได้ติดตามถึงการประชุมอยู่ตลอด จึงอยากขอให้ทุกฝ่ายยอมรับกติกาตามระบอบประชาธิปไตย ต้องแก้ให้ได้ อย่ามัวแต่ตีกันหรือทะเลาะกัน เพราะจะออกไปทั่วโลก ซึ่งเขาจับตามมองอยู่ ทุกวันนี้ตนก็อดทน และพยามยามตั้งรับปัญหาทุกอย่างอย่างมีสติ และใช้ปัญญาในการแก้ไข ถ้าใช้ความรุนแรงหรือโมโหโกรธแค้นในการทำงานจะทำให้ปัญหาบานปลาย อยากให้ดูเป็นตัวอย่าง แล้วนำสิ่งที่เกิดขึ้นมาเป็นบทเรียน ต้องระมัดระวังและขอให้ทำทุกอย่างให้เกิดความสงบ ตนพยายามยึดมั่นในแนวทางและพระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ว่าต้องแก้ปัญหาอย่างมีสติ คิดก่อนทำ