วานนี้ (14 ส.ค.) มีการประชุมสภาผู้แทนราษฎร เพื่อพิจารณา ร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2557 ซึ่งตั้งวงเงินงบประมาณรายจ่ายไว้จำนวนทั้งสิ้น 2,525,000,000,000 บาท สำหรับเป็นค่าใช้จ่ายของส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานอื่นเป็นจำนวน 2,511,576,321,700 บาท และเพื่อชดใช้เงินคงคลัง เป็นจำนวน 13,423,678,300 บาท โดยมีนายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ เป้นประธานการประชุม มีการถ่ายทอดสดการ ผ่านสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย กรมประชาสัมพันธ์ ช่อง 11 สถานีโทรทัศน์รัฐสภา และวิทยุรัฐสภา ตลอดการประชุม
ทั้งนี้ หลังจากนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรี และรมว.คลัง ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญพิจารณา ร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่าย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2557 ได้สรุปสาระสำคัญในส่วนรายงานของกรรมาธิการต่อที่ประชุม ถึงรายละเอียดของหน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ หน่วยงานอื่น กองทุนและเงินทุนหมุนเวียน ที่ได้รับงบประมาณรวม 463 หน่วยงาน และ รัฐวิสาหกิจที่ไม่ได้รับงบประมาณ รวม 12 หน่วยงาน แล้ว ประธานในที่ประชุมก็เปิดโอกาสให้สมาชิกได้อภิปรายเรียงมาตรา
เริ่มจาก มาตรา 3 ในส่วนของภาพรวม นายวัชระ เพชรทอง ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะกรรมาธิการวิสามัญ เสนอตัดงบประมาณลดลง 0.1 เปอร์เซ็นต์ เนื่องจากหลายนโยบายเปิดช่องให้มีการทุจริต และไม่ครอบคลุมประชาชนทั้งหมด ทั้งโครงการรับจำนำข้าว ที่มีการปิดกั้น ไม่ให้ตรวจโรงสี กระทรวงพาณิชย์ล้มเหลวในการแก้ไขปัญหาราคายางพารา และปาล์มน้ำมันตกต่ำ นโยบายค่าแรง 300 บาท ไม่ครอบคลุมประชาชนทุกพื้นที่ แม้แต่ลูกจ้างที่ทำงานในสำนักงานเลขาธิการสภาฯ ยังได้รับค่าแรงเพียง 200 กว่าบาทต่อวันเท่านั้น
ทั้งนี้ย้ำว่า โดยเฉพาะงบประมาณของสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ที่พบโครงการที่ส่อเค้าทุจริตในการจัดซื้อจัดจ้างหลายโครงการ เช่น การจัดซื้อนาฬิกาแบบดิจิตอล เรือนละ 7.5 หมื่นบาทจำนวน 200 เรือน ใช้งบประมาณ 5 ล้านบาท ปรับปรุงห้องสื่อมวลชนสภาที่ถือว่าแพงที่สุดในโลก โครงการพาชมทุ่งดอกกระเจียว จ.ชัยภูมิ งบประมาณ 3.3 ล้านบาท ทั้งยังพบว่าใน ร่าง พ.ร.บ.งบประมาณปี 2557 ยังมีการตั้งงบถึง 80 ล้านบาท เพื่อจัดซื้อไมโครโฟนติดตั้งในห้องประชุมสภาฯ ทั้งที่สภาพยังสามารถใช้การได้ดี
นอกจากนี้ พบว่ามีการจัดงบประมาณ 30 ล้านบาท เพื่อติดตั้งกล้องโทรทัศน์วงจรปิด ในพื้นที่รัฐสภา รวมถึงในห้องเลขาธิการสภาฯ จำนวน 40 ล้านบาท นอกจากนั้นทางสำนักเลขาธิการสภาฯ ยังใช้งบประมาณ 2.3 ล้านบาทต่อปี เพื่อจ้างบริษัทเอกชนดำเนินการเก็บขยะในสภา จากเดิมที่จ้างหน่วยงานของกทม.ในการเก็บขยะซึ่งเสียค่าใช้จ่ายเพียง 1 หมื่นบาทต่อปีเท่านั้น
ด้านนายวิทยา บุรณศิริ รองประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อพิจารณา ร่าง พ.ร.บ.งบประมาณปี 57 ชี้แจงการอภิปรายของนายวัชระ โดยระบุถึงงบที่ถูกตั้งข้อสังเกต เป็นงบประมาณที่รัฐสภา ได้รับการจัดสรรในปีงบประมาณ 2555 ไม่เกี่ยวข้องกับงบประมาณปี 2557 ซึ่งหากฝ่ายค้านพบความผิดปกติ ก็สามารถใช้ช่องทางตรวจสอบ เช่น การยื่นเรื่องต่อกรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือ ดีเอสไอ ได้
นายชัย ชิดชอบ กรรมาธิการเสียงข้างน้อย เสนอให้ตัดออก 5 เปอร์เซนต์ ประมาณ 1 หมื่นกว่าล้านบาท อยากเรียกร้องให้รัฐบาลใช้งบค้างท่อ จำนวน 1.7 แสนล้านบาทใน งบปี 56 ให้หมด และอยากถามว่า ระยะเหลือกอีกไม่กี่เดือนจะมีแนวทางจัดการอย่างไร หากจัดการไม่ได้ ก็ขอให้เอาไปอุดหนุนโครงการรับจำนำราคาข้าว เพราะเห็นลงข่าวว่าต้องใช้ ถึง 6-7 แสนล้านบาท ตนว่าไม่พอแน่นอน เดี๋ยวชาวนาก็เดินขบวนอีก ตนสงสารนายกรัฐมนตรี เพราะดูแล้วคงจัดเก็บรายได้ไม่ตรงเป้าแน่นอน ดังนั้น เราต้องหาทางแก้ไขในการพิจารณาจัดงบแผ่นดิน ต้องวางกรอบทำให้ถูก
“ผมเห็นใจเห็นใจข้าราชการประจำ เพราะทราบว่าอยากจะใช้ให้มันหมด แต่มีใครที่มีอำนาจสูงสุดขวางอะไรไม่ทราบ หากฝ่ายรัฐบาลขอก็จบเลย แต่ฝ่ายค้าน มึงอย่าเอาไปนะ ซึ่งก็น่าเห็นใจฝ่ายค้าน”
ด้านนายวิทยา ชี้แจงว่า จากการตรวจสอบข้อมูลล่าสุด สำนักงบฯได้จัดสรรไปแล้ว 8 หมื่นล้าน เหลือจริงๆ คือ 9.1 หมื่นล้านบาท คิดเป็น 3.8 เปอร์เซ็นต์ โดยกระจุกตัวอยู่ที่กระทรวงมหาดไทย และงบกลาง
นายสามารถ ราชพลสิทธิ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ ได้อภิปรายถึงการลงทุนของรัฐบาล ภายใต้งบประมาณปี 57 โดยยกโครงการรถไฟความเร็วสูง ที่สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เคยศึกษาและสรุปแล้วว่า ไม่คุ้มค่าการลงทุน โดยรัฐบาลพยายามปั่นตัวเลขให้สูงเพื่อให้คุณค่าการลงทุนจากการหาผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ (อีไออาร์อาร์) ซึ่งจะต้องมากกว่า ร้อยละ12 ของการลงทุน จึงมีการปั่นตัวเลขอีไออาร์อาร์ โดยคิดมูลค่าจาก 1.ประหยัดเวลาจากากรเดิน 2. ประหยัดน้ำมัน 3. ลดอุบัติเหตุ 4. ลดมลภาวะ 5. พัฒนาเศรษฐกิจในระดับภูมิภาคที่จะคิดเป็นตัวเงิน ร้อยละ 58 ของรายได้ทั้งหมด ทำให้อีไออาร์อาร์ มากกว่าร้อยละ 12 ส่งผลให้รัฐบาลอ้างความชอบธรรมที่จะก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงได้
นอกจากนี้ก็ยังมีการหาผลตอบแทนทางการเงิน (เอฟไออาร์อาร์) โดยคิดมูลค่าจากรายได้ค่าโดยสาร และรายได้จากธุรกิจอื่นซึ่งรัฐบาลคิดเป็นร้อยละ 35 ของรายได้จากค่าโยสาร ตั้งปีแรกที่เปิดให้บริการ
“การเดินทางไปหัวหินใครๆ ก็เดินทางโดยรถยนต์ เนื่องจากสะดวกกว่า ไม่มีใครนั่งรถไฟความเร็วสูงไปหัวหิน ดูได้จากกรณีที่นายกฯเดินทางไปเวิร์กชอปยังลงรถไฟที่ นครปฐม เพราะการเดินทางโดยรถไฟเสียงดังทำให้การประชุมไม่รู้เรื่อง”นายสามารถ กล่าว
น.ส.รัชดา ธนาดิเรก สส.กทม. พรรคประชาธิปัตย์ อภิปรายขอปรับลดงบประมาณลง 3 เปอร์เซ็นต์ โดยเฉพาะในส่วนของ งบปรองดองสมานฉันท์ เพราะกระบวนการปรองดองไม่ใช่การจัดงานอีเวนต์ ที่จะใช้เงินซื้อความปรองดองได้ เพราะความขัดแย้งนั้น เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ทางการเมือง และ คอป . เสนอแนะว่า การปรองดองต้องใช้เวลา และต้องค้นหาความจริง เปิดเผยความจริง ปล่อยให้กระบวนการยุติธรรม สร้างความปรองดอง ไม่ต้องใช้เงิน แต่วิธีคิดรัฐบาล คิดว่าเงินซื้อความปรองดองได้ ปีที่ผ่านมาได้อนุมัติ งบ 413 ล้านบาท ในโครงการปรองดอง ครึ่งหนึ่งให้องค์การปกครอง ทำกิจกรรมขับเคลื่อนนโยบาย 4 พันหมู่บ้าน แต่ไม่รู้ว่าทำอะไรบ้าง
“เงินจำนวนนี้ ต้องสร้างความกระจ่างว่านำไปทำอะไรบ้าง เพราะงบส่วนนี้เท่ากับงบพัฒนาสาธาณสุข ในจังหวัดชายแดนใต้ ซึ่งถ้าให้ รพ.ต่างๆ ก็จะได้อาคารใหม่หอพักแพทย์ อุปกรณ์การแพทย์ แต่เรากำลังโยนทิ้งไปทำอะไรไม่รู้ อย่างการจัดเวทีปฏิรูป ที่เชิญโทนี แบลร์ ค่าตัว 20 ล้านบาทนั้น จะสร้างความสมานฉันท์เข้าได้หรือเปล่า”น.ส.รัชดา กล่าว
นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม ส.ส.พิษณุโลก พรรคประชาธิปัตย์ อภิปรายว่า ไม่เชื่อฝีมือรัฐบาลชุดนี้บริหารราชการแผ่นดิน รู้สึกเสียดายงบ 2.5 ล้านล้านบาท ที่รัฐบาลตั้งขึ้นมาปู้ยี่ปู้ยำ ซึ่งเป็นห่วงปัญหาเรื่องการทุจริต ไม่รู้ว่ากรรมาธิการ ได้เชิญนายกฯ มาถามว่า รัฐบาลเอาจริงจังกับการทุจริตหรือไม่ ทั้งที่นายกฯ เคยประกาศว่าจะปราบทุจริตอย่างจริงจัง โดยเฉพาะโครงการจำนำข้าว ที่ปัจจุบันยังมีการทุจริตในรูปแบบเดิม เพียงแต่เปลี่ยนตัวละครเล่น จากนายปาล์ม มาเป็นมาดามกง ที่ผ่านมาเคยยื่นเรื่องให้นายกฯ ตรวจสอบแล้ว แต่ถึงขณะนี้ ก็ยังไม่ได้รับคำตอบ
“รัฐบาลบริหารโครงการจำนำข้าวล้มเหลว ขายข้าวไม่ได้ แถมยังต้องนำเข้าข้าวจากประเทศกัมพูชา พฤติกรรมที่ผ่านมารัฐบาลมีความไม่โปร่งใส แล้วยังมาขอเงินอีก ผมขอปรับลดภาพรวมแค่ 10เปอร์เซ็นต์ เพราะเรื่องการทุจริต ไม่โปร่งใส ไร้ประสิทธิภาพ และผลกระทบจากเศรษฐกิจมหภาค ผมไม่เชื่อฝีมือรัฐมนตรีบางคน วันนี้มีปราฏการณ์อภินิหารข้าวไทย เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 9 ส.ค. ที่ข้าวสารถูกกว่าข้าวเปลือก โดยข้าวสาร ตันละ 1.4 หมื่นบาท ขณะที่ข้าวเปลือกตันละ 1.5 หมื่นบาท ไม่เคยปรากฏขึ้นในโลก ฝ่ายบริหารชุดนี้รวนเรที่ปรับราคาโครงการจำนำข้าว กลับไปกลับมา ยืนยันไม่เห็นด้วยการลดราคาจำนำข้าวตันละ 1.5 หมื่นบาท ควรไปปรับลดค่าใช้จ่ายในโครงการที่ไม่จำเป็นที่สูงถึง 5 หมื่นล้านบาทดีกว่า”
ด้านนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงการอภิปรายงบประมาณในวาระ 2 ของวันแรกว่า ฝ่ายค้านได้เน้นประเด็นในเรื่องปัญหาวินัยทางการเงินการคลัง โดยชี้ให้เห็นถึงปัญหาการก่อหนี้ของรัฐบาล และประสิทธิภาพในการใช้เงินเพื่อกระตุ้นให้เกิดรายได้ในการบริหารของรัฐบาลชุดนี้มีปัญหา เพราะฉะนั้นการจัดงบประมาณที่มีจำนวนมาก แล้วก็ขาดดุลอย่างนี้ ไม่เหมาะสม แล้วจะไปคาดหวังว่าจะมีเงินกู้มากระตุ้นเศรษฐกิจนั้น โดยข้อเท็จจริงก็คือรัฐบาลก็ยอมรับว่า เงินที่จะใช้ในโครงการเงินกู้ ในช่วง 2 ปีข้างหน้านี้ อยู่ที่ประมาณแสนกว่าล้าน ซึ่งไม่ได้เป็นจำนวนเงินมาก ที่สำคัญคือ เป็นการจ้างที่ปรึกษาเป็นส่วนใหญ่ ดังนั้นจึงเป็นการแสดงความห่วงใยต่อทิศทางในภาพรวม ส่วนในมาตราอื่นๆ ก็จะได้เจาะลงไปในงบประมาณเป็นรายกระทรวงต่อไป ส่วนตนจะอภิปรายเน้นในเรื่องการไร้วินัยทางการเงินการคลัง ผ่านทางโครงการ พ.ร.ก. เงินกู้ 3.5 แสนล้านบาท และเงินกู้ 2 ล้านล้านบาท รวมถึงยุทธศาสตร์ของการพัฒนาประเทศที่ไปพึ่งเรื่องของประชานิยม กับเมกะโปรเจกต์ต่างๆ
ทั้งนี้ หลังจากนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรี และรมว.คลัง ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญพิจารณา ร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่าย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2557 ได้สรุปสาระสำคัญในส่วนรายงานของกรรมาธิการต่อที่ประชุม ถึงรายละเอียดของหน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ หน่วยงานอื่น กองทุนและเงินทุนหมุนเวียน ที่ได้รับงบประมาณรวม 463 หน่วยงาน และ รัฐวิสาหกิจที่ไม่ได้รับงบประมาณ รวม 12 หน่วยงาน แล้ว ประธานในที่ประชุมก็เปิดโอกาสให้สมาชิกได้อภิปรายเรียงมาตรา
เริ่มจาก มาตรา 3 ในส่วนของภาพรวม นายวัชระ เพชรทอง ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะกรรมาธิการวิสามัญ เสนอตัดงบประมาณลดลง 0.1 เปอร์เซ็นต์ เนื่องจากหลายนโยบายเปิดช่องให้มีการทุจริต และไม่ครอบคลุมประชาชนทั้งหมด ทั้งโครงการรับจำนำข้าว ที่มีการปิดกั้น ไม่ให้ตรวจโรงสี กระทรวงพาณิชย์ล้มเหลวในการแก้ไขปัญหาราคายางพารา และปาล์มน้ำมันตกต่ำ นโยบายค่าแรง 300 บาท ไม่ครอบคลุมประชาชนทุกพื้นที่ แม้แต่ลูกจ้างที่ทำงานในสำนักงานเลขาธิการสภาฯ ยังได้รับค่าแรงเพียง 200 กว่าบาทต่อวันเท่านั้น
ทั้งนี้ย้ำว่า โดยเฉพาะงบประมาณของสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ที่พบโครงการที่ส่อเค้าทุจริตในการจัดซื้อจัดจ้างหลายโครงการ เช่น การจัดซื้อนาฬิกาแบบดิจิตอล เรือนละ 7.5 หมื่นบาทจำนวน 200 เรือน ใช้งบประมาณ 5 ล้านบาท ปรับปรุงห้องสื่อมวลชนสภาที่ถือว่าแพงที่สุดในโลก โครงการพาชมทุ่งดอกกระเจียว จ.ชัยภูมิ งบประมาณ 3.3 ล้านบาท ทั้งยังพบว่าใน ร่าง พ.ร.บ.งบประมาณปี 2557 ยังมีการตั้งงบถึง 80 ล้านบาท เพื่อจัดซื้อไมโครโฟนติดตั้งในห้องประชุมสภาฯ ทั้งที่สภาพยังสามารถใช้การได้ดี
นอกจากนี้ พบว่ามีการจัดงบประมาณ 30 ล้านบาท เพื่อติดตั้งกล้องโทรทัศน์วงจรปิด ในพื้นที่รัฐสภา รวมถึงในห้องเลขาธิการสภาฯ จำนวน 40 ล้านบาท นอกจากนั้นทางสำนักเลขาธิการสภาฯ ยังใช้งบประมาณ 2.3 ล้านบาทต่อปี เพื่อจ้างบริษัทเอกชนดำเนินการเก็บขยะในสภา จากเดิมที่จ้างหน่วยงานของกทม.ในการเก็บขยะซึ่งเสียค่าใช้จ่ายเพียง 1 หมื่นบาทต่อปีเท่านั้น
ด้านนายวิทยา บุรณศิริ รองประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อพิจารณา ร่าง พ.ร.บ.งบประมาณปี 57 ชี้แจงการอภิปรายของนายวัชระ โดยระบุถึงงบที่ถูกตั้งข้อสังเกต เป็นงบประมาณที่รัฐสภา ได้รับการจัดสรรในปีงบประมาณ 2555 ไม่เกี่ยวข้องกับงบประมาณปี 2557 ซึ่งหากฝ่ายค้านพบความผิดปกติ ก็สามารถใช้ช่องทางตรวจสอบ เช่น การยื่นเรื่องต่อกรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือ ดีเอสไอ ได้
นายชัย ชิดชอบ กรรมาธิการเสียงข้างน้อย เสนอให้ตัดออก 5 เปอร์เซนต์ ประมาณ 1 หมื่นกว่าล้านบาท อยากเรียกร้องให้รัฐบาลใช้งบค้างท่อ จำนวน 1.7 แสนล้านบาทใน งบปี 56 ให้หมด และอยากถามว่า ระยะเหลือกอีกไม่กี่เดือนจะมีแนวทางจัดการอย่างไร หากจัดการไม่ได้ ก็ขอให้เอาไปอุดหนุนโครงการรับจำนำราคาข้าว เพราะเห็นลงข่าวว่าต้องใช้ ถึง 6-7 แสนล้านบาท ตนว่าไม่พอแน่นอน เดี๋ยวชาวนาก็เดินขบวนอีก ตนสงสารนายกรัฐมนตรี เพราะดูแล้วคงจัดเก็บรายได้ไม่ตรงเป้าแน่นอน ดังนั้น เราต้องหาทางแก้ไขในการพิจารณาจัดงบแผ่นดิน ต้องวางกรอบทำให้ถูก
“ผมเห็นใจเห็นใจข้าราชการประจำ เพราะทราบว่าอยากจะใช้ให้มันหมด แต่มีใครที่มีอำนาจสูงสุดขวางอะไรไม่ทราบ หากฝ่ายรัฐบาลขอก็จบเลย แต่ฝ่ายค้าน มึงอย่าเอาไปนะ ซึ่งก็น่าเห็นใจฝ่ายค้าน”
ด้านนายวิทยา ชี้แจงว่า จากการตรวจสอบข้อมูลล่าสุด สำนักงบฯได้จัดสรรไปแล้ว 8 หมื่นล้าน เหลือจริงๆ คือ 9.1 หมื่นล้านบาท คิดเป็น 3.8 เปอร์เซ็นต์ โดยกระจุกตัวอยู่ที่กระทรวงมหาดไทย และงบกลาง
นายสามารถ ราชพลสิทธิ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ ได้อภิปรายถึงการลงทุนของรัฐบาล ภายใต้งบประมาณปี 57 โดยยกโครงการรถไฟความเร็วสูง ที่สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เคยศึกษาและสรุปแล้วว่า ไม่คุ้มค่าการลงทุน โดยรัฐบาลพยายามปั่นตัวเลขให้สูงเพื่อให้คุณค่าการลงทุนจากการหาผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ (อีไออาร์อาร์) ซึ่งจะต้องมากกว่า ร้อยละ12 ของการลงทุน จึงมีการปั่นตัวเลขอีไออาร์อาร์ โดยคิดมูลค่าจาก 1.ประหยัดเวลาจากากรเดิน 2. ประหยัดน้ำมัน 3. ลดอุบัติเหตุ 4. ลดมลภาวะ 5. พัฒนาเศรษฐกิจในระดับภูมิภาคที่จะคิดเป็นตัวเงิน ร้อยละ 58 ของรายได้ทั้งหมด ทำให้อีไออาร์อาร์ มากกว่าร้อยละ 12 ส่งผลให้รัฐบาลอ้างความชอบธรรมที่จะก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงได้
นอกจากนี้ก็ยังมีการหาผลตอบแทนทางการเงิน (เอฟไออาร์อาร์) โดยคิดมูลค่าจากรายได้ค่าโดยสาร และรายได้จากธุรกิจอื่นซึ่งรัฐบาลคิดเป็นร้อยละ 35 ของรายได้จากค่าโยสาร ตั้งปีแรกที่เปิดให้บริการ
“การเดินทางไปหัวหินใครๆ ก็เดินทางโดยรถยนต์ เนื่องจากสะดวกกว่า ไม่มีใครนั่งรถไฟความเร็วสูงไปหัวหิน ดูได้จากกรณีที่นายกฯเดินทางไปเวิร์กชอปยังลงรถไฟที่ นครปฐม เพราะการเดินทางโดยรถไฟเสียงดังทำให้การประชุมไม่รู้เรื่อง”นายสามารถ กล่าว
น.ส.รัชดา ธนาดิเรก สส.กทม. พรรคประชาธิปัตย์ อภิปรายขอปรับลดงบประมาณลง 3 เปอร์เซ็นต์ โดยเฉพาะในส่วนของ งบปรองดองสมานฉันท์ เพราะกระบวนการปรองดองไม่ใช่การจัดงานอีเวนต์ ที่จะใช้เงินซื้อความปรองดองได้ เพราะความขัดแย้งนั้น เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ทางการเมือง และ คอป . เสนอแนะว่า การปรองดองต้องใช้เวลา และต้องค้นหาความจริง เปิดเผยความจริง ปล่อยให้กระบวนการยุติธรรม สร้างความปรองดอง ไม่ต้องใช้เงิน แต่วิธีคิดรัฐบาล คิดว่าเงินซื้อความปรองดองได้ ปีที่ผ่านมาได้อนุมัติ งบ 413 ล้านบาท ในโครงการปรองดอง ครึ่งหนึ่งให้องค์การปกครอง ทำกิจกรรมขับเคลื่อนนโยบาย 4 พันหมู่บ้าน แต่ไม่รู้ว่าทำอะไรบ้าง
“เงินจำนวนนี้ ต้องสร้างความกระจ่างว่านำไปทำอะไรบ้าง เพราะงบส่วนนี้เท่ากับงบพัฒนาสาธาณสุข ในจังหวัดชายแดนใต้ ซึ่งถ้าให้ รพ.ต่างๆ ก็จะได้อาคารใหม่หอพักแพทย์ อุปกรณ์การแพทย์ แต่เรากำลังโยนทิ้งไปทำอะไรไม่รู้ อย่างการจัดเวทีปฏิรูป ที่เชิญโทนี แบลร์ ค่าตัว 20 ล้านบาทนั้น จะสร้างความสมานฉันท์เข้าได้หรือเปล่า”น.ส.รัชดา กล่าว
นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม ส.ส.พิษณุโลก พรรคประชาธิปัตย์ อภิปรายว่า ไม่เชื่อฝีมือรัฐบาลชุดนี้บริหารราชการแผ่นดิน รู้สึกเสียดายงบ 2.5 ล้านล้านบาท ที่รัฐบาลตั้งขึ้นมาปู้ยี่ปู้ยำ ซึ่งเป็นห่วงปัญหาเรื่องการทุจริต ไม่รู้ว่ากรรมาธิการ ได้เชิญนายกฯ มาถามว่า รัฐบาลเอาจริงจังกับการทุจริตหรือไม่ ทั้งที่นายกฯ เคยประกาศว่าจะปราบทุจริตอย่างจริงจัง โดยเฉพาะโครงการจำนำข้าว ที่ปัจจุบันยังมีการทุจริตในรูปแบบเดิม เพียงแต่เปลี่ยนตัวละครเล่น จากนายปาล์ม มาเป็นมาดามกง ที่ผ่านมาเคยยื่นเรื่องให้นายกฯ ตรวจสอบแล้ว แต่ถึงขณะนี้ ก็ยังไม่ได้รับคำตอบ
“รัฐบาลบริหารโครงการจำนำข้าวล้มเหลว ขายข้าวไม่ได้ แถมยังต้องนำเข้าข้าวจากประเทศกัมพูชา พฤติกรรมที่ผ่านมารัฐบาลมีความไม่โปร่งใส แล้วยังมาขอเงินอีก ผมขอปรับลดภาพรวมแค่ 10เปอร์เซ็นต์ เพราะเรื่องการทุจริต ไม่โปร่งใส ไร้ประสิทธิภาพ และผลกระทบจากเศรษฐกิจมหภาค ผมไม่เชื่อฝีมือรัฐมนตรีบางคน วันนี้มีปราฏการณ์อภินิหารข้าวไทย เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 9 ส.ค. ที่ข้าวสารถูกกว่าข้าวเปลือก โดยข้าวสาร ตันละ 1.4 หมื่นบาท ขณะที่ข้าวเปลือกตันละ 1.5 หมื่นบาท ไม่เคยปรากฏขึ้นในโลก ฝ่ายบริหารชุดนี้รวนเรที่ปรับราคาโครงการจำนำข้าว กลับไปกลับมา ยืนยันไม่เห็นด้วยการลดราคาจำนำข้าวตันละ 1.5 หมื่นบาท ควรไปปรับลดค่าใช้จ่ายในโครงการที่ไม่จำเป็นที่สูงถึง 5 หมื่นล้านบาทดีกว่า”
ด้านนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงการอภิปรายงบประมาณในวาระ 2 ของวันแรกว่า ฝ่ายค้านได้เน้นประเด็นในเรื่องปัญหาวินัยทางการเงินการคลัง โดยชี้ให้เห็นถึงปัญหาการก่อหนี้ของรัฐบาล และประสิทธิภาพในการใช้เงินเพื่อกระตุ้นให้เกิดรายได้ในการบริหารของรัฐบาลชุดนี้มีปัญหา เพราะฉะนั้นการจัดงบประมาณที่มีจำนวนมาก แล้วก็ขาดดุลอย่างนี้ ไม่เหมาะสม แล้วจะไปคาดหวังว่าจะมีเงินกู้มากระตุ้นเศรษฐกิจนั้น โดยข้อเท็จจริงก็คือรัฐบาลก็ยอมรับว่า เงินที่จะใช้ในโครงการเงินกู้ ในช่วง 2 ปีข้างหน้านี้ อยู่ที่ประมาณแสนกว่าล้าน ซึ่งไม่ได้เป็นจำนวนเงินมาก ที่สำคัญคือ เป็นการจ้างที่ปรึกษาเป็นส่วนใหญ่ ดังนั้นจึงเป็นการแสดงความห่วงใยต่อทิศทางในภาพรวม ส่วนในมาตราอื่นๆ ก็จะได้เจาะลงไปในงบประมาณเป็นรายกระทรวงต่อไป ส่วนตนจะอภิปรายเน้นในเรื่องการไร้วินัยทางการเงินการคลัง ผ่านทางโครงการ พ.ร.ก. เงินกู้ 3.5 แสนล้านบาท และเงินกู้ 2 ล้านล้านบาท รวมถึงยุทธศาสตร์ของการพัฒนาประเทศที่ไปพึ่งเรื่องของประชานิยม กับเมกะโปรเจกต์ต่างๆ