ASTVผู้จัดการรายวัน - กมธ.คมนาคม วุฒิสภาลั่นตรวจสอบสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีม่วง อัดคมนาคม-รัฐบาลลุกลี้ลุกลนประเคนสัมปทานให้เอกชน ทั้งที่ยังมีเวลาดำเนินการจัดหาได้เองอยู่แล้ว เสนอรัฐเปิดประมูลเองรองรับถ่ายทอดเทคโนโลยี ดีกว่าจะต้องเสียค่าโง่ไม่รู้จบ ลั่นเกาะติดไม่ปล่อยแน่
นายธวัช บวรวนิชยกูร กรรมาธิการการคมนาคม และสมาชิกวุฒิสภา กล่าวถึงกรณีที่กระทรวงคมนาคม เตรียมเสนอให้คณะรัฐมนตรี(ครม.) พิจารณาอนุมัติให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ลงนามในสัญญาโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ส่วนเหนือ (บางซื่อ-บางใหญ่) ในส่วนของงานระบบรถไฟฟ้าและอาณัตสัญญาสัญญาที่ 4 ว่า เท่าที่ติดตามพบว่า ราคาที่บริษัท รถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด หรือบีเอ็มซีแอล เสนอและที่กระทรวงคมนาคมได้เจรจาต่อรองราคากับบริษัทจนถึงที่สุดแล้ว คือ 82,900 ล้านบาทนั้น ราคายังสูงจากราคาอ้างอิงที่มีการศึกษากันไว้อย่างมาก
" จริงๆแล้ว การก่อสร้างโครงการนี้กว่าที่งานโยธาจะแล้วเสร็จต้องล่าช้าไม่น้อยกว่า 1-2 ปีอยู่แล้ว จากปัญหาน้ำท่วมพื้นที่ก่อสร้างปลายปี54 ทำให้ต้องเลื่อนไปแล้วเสร็จในปี 59-60 อยู่แล้ว จึงไม่เข้าใจว่ารัฐบาลพยายามสร้างเงื่อนไขเปิดช่องให้เอกชนขี่คอตัวเองทำไม"
ทั้งนี้ จากการตรวจสอบไปยังบริษัทผู้ผลิตรถไฟฟ้าต่าง ๆ ทั้งยุโรป ญี่ปุ่น และจีนยังพบว่า หากเป็นการจัดหารถไฟฟ้าโดยทั่วไปสำหรับระบบรถไฟฟ้าบนดินสามารถดำเนินการได้ภายในระยะเวลาเพียง 12 เดือนเท่านั้น โดยล่าสุดบริษัทรถไฟฟ้าจีนคือ ซีเอ็นอาร์ที่เคยจัดหารถไฟฟ้าให้แก่บีทีเอสนั้น เพิ่งจะต่อรถไฟฟ้าให้ซาอุดิอารเบียในระยะเวลาเพียง 12 เดือนเท่านั้น ดังนั้น การที่รัฐบาลและกระทรวงคมนาคมพยายามอ้างว่าถูกบีบจากเงื่อนไขเวลานั้นจึงไม่ใช่ปัญหาแม้แต่น้อย
“ รัฐบาลน่าจะถือโอกาสนี้ ดำเนินการประมูลจัดซื้อเองและกำหนดระยะเวลาส่งมอบเป็นล็อตๆ ไป รวมทั้งกำหนดเงื่อนไขให้มีการก่อสร้างโรงงานต่อรถไฟฟ้าเพื่อให้เกิดการถ่ายทอดเทคโนโลยีให้แก่คนไทย อันจะทำให้ประเทศได้ประโยชน์ไม่ต้องเสียค่าโง่อย่างที่เป็นอยู่ ทั้งนี้ กรรมาธิการฯจะเกาะติดไม่ปล่อยแน่นอน ”
นายธวัช บวรวนิชยกูร กรรมาธิการการคมนาคม และสมาชิกวุฒิสภา กล่าวถึงกรณีที่กระทรวงคมนาคม เตรียมเสนอให้คณะรัฐมนตรี(ครม.) พิจารณาอนุมัติให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ลงนามในสัญญาโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ส่วนเหนือ (บางซื่อ-บางใหญ่) ในส่วนของงานระบบรถไฟฟ้าและอาณัตสัญญาสัญญาที่ 4 ว่า เท่าที่ติดตามพบว่า ราคาที่บริษัท รถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด หรือบีเอ็มซีแอล เสนอและที่กระทรวงคมนาคมได้เจรจาต่อรองราคากับบริษัทจนถึงที่สุดแล้ว คือ 82,900 ล้านบาทนั้น ราคายังสูงจากราคาอ้างอิงที่มีการศึกษากันไว้อย่างมาก
" จริงๆแล้ว การก่อสร้างโครงการนี้กว่าที่งานโยธาจะแล้วเสร็จต้องล่าช้าไม่น้อยกว่า 1-2 ปีอยู่แล้ว จากปัญหาน้ำท่วมพื้นที่ก่อสร้างปลายปี54 ทำให้ต้องเลื่อนไปแล้วเสร็จในปี 59-60 อยู่แล้ว จึงไม่เข้าใจว่ารัฐบาลพยายามสร้างเงื่อนไขเปิดช่องให้เอกชนขี่คอตัวเองทำไม"
ทั้งนี้ จากการตรวจสอบไปยังบริษัทผู้ผลิตรถไฟฟ้าต่าง ๆ ทั้งยุโรป ญี่ปุ่น และจีนยังพบว่า หากเป็นการจัดหารถไฟฟ้าโดยทั่วไปสำหรับระบบรถไฟฟ้าบนดินสามารถดำเนินการได้ภายในระยะเวลาเพียง 12 เดือนเท่านั้น โดยล่าสุดบริษัทรถไฟฟ้าจีนคือ ซีเอ็นอาร์ที่เคยจัดหารถไฟฟ้าให้แก่บีทีเอสนั้น เพิ่งจะต่อรถไฟฟ้าให้ซาอุดิอารเบียในระยะเวลาเพียง 12 เดือนเท่านั้น ดังนั้น การที่รัฐบาลและกระทรวงคมนาคมพยายามอ้างว่าถูกบีบจากเงื่อนไขเวลานั้นจึงไม่ใช่ปัญหาแม้แต่น้อย
“ รัฐบาลน่าจะถือโอกาสนี้ ดำเนินการประมูลจัดซื้อเองและกำหนดระยะเวลาส่งมอบเป็นล็อตๆ ไป รวมทั้งกำหนดเงื่อนไขให้มีการก่อสร้างโรงงานต่อรถไฟฟ้าเพื่อให้เกิดการถ่ายทอดเทคโนโลยีให้แก่คนไทย อันจะทำให้ประเทศได้ประโยชน์ไม่ต้องเสียค่าโง่อย่างที่เป็นอยู่ ทั้งนี้ กรรมาธิการฯจะเกาะติดไม่ปล่อยแน่นอน ”