ต่อให้บ้านนี้เมืองนี้ผ่านความขัดแย้งประเด็นใหญ่ประเด็นแรกว่าด้วยร่างกฎหมายนิรโทษกรรมในช่วงวันที่ 7 สิงหาคม 2556 นี้ไปได้ก็จะเจอความขัดแย้งประเด็นใหญ่สองสามสี่ต่อเนื่องกันไปไม่สิ้นสุดตลอดสมัยประชุมสามัญทั่วไปของรัฐสภาสิงหาคม-ธันวาคม 2556 นี้แน่นอนตราบใดที่ฝ่ายผู้ชนะการเลือกตั้งคือรัฐบาลยังไม่คิดที่จะเขียนและ/หรือแก้กฎหมายโดยไม่เริ่มกระบวนการพูดคุยให้ตกผลึกกันก่อน
โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเขียนกฎกติกาหลักในการอยู่ร่วมกันอย่างเช่นรัฐธรรมนูญ
ร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมรายประเด็นที่เสนอและผ่านวาระแรกตั้งแต่สมัยประชุมที่แล้วมี 3 ฉบับ 3 ประเด็นใหญ่ ประธานวุฒิสภาที่เป็นรองประธานรัฐสภาโดยตำแหน่งได้ผลักดันให้มีการนำร่างแก้ไขที่มาของสมาชิกวุฒิสภาเข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภาวาระ 2 ในวันที่ 19 สิงหาคม 2556
แม้จะอยู่ห่างอีกหลายวัน และต้องผ่านด่านวิกฤตร่างกฎหมายนิรโทษกรรมไปก่อน แต่ผมเห็นว่าควรจะทำความเข้าใจร่างแก้ไขฉบับนี้ไว้เป็นพื้นฐานก่อน
ร่างฯแก้รัฐธรรมนูญฉบับขายเหล้าพ่วงเบียร์แถมน้ำ !
ผมเรียกด้วยภาษาชาวบ้านอย่างนั้น เพราะเดิมทีจุดประสงค์แท้ ๆ ของส.ว.เลือกตั้งส่วนหนึ่งซึ่งน่าจะเป็นส่วนใหญ่รวมทั้งท่านประธานวุฒิสภาคนปัจจุบันที่เข้าร่วมเสนอร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญรวม 3 ฉบับ 3 ประเด็นกับส.ส.พรรครัฐบาลนั้น โดยแบ่งงานกันทำ แบ่งกันเสนอร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญแก้ปัญหาให้กันและกันเพื่อป้องกันข้อครหาและข้อกฎหมายว่าด้วยการขัดกันแห่งผลประโยชน์นั้น ความประสงค์สูงสุดของพวกท่านคือให้ส.ว.เลือกตั้งที่กำลังจะหมดวาระลงในวันที่ 2 มีนาคม 2557 และต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญ 2550 ห้ามลงสมัครต่อเนื่อง ต้องเว้นวรรคอย่างน้อย 1 สมัย สามารถลงสมัครต่อเนื่องได้ทันที ไม่ต้องเว้นวรรค
แต่ถ้าแก่แค่นี้ก็น่าจะมีปัญหาและข้อครหาแน่นอน
ก็ต้องแก้หลักการที่มาของส.ว.ใหม่ ให้มาจากการเลือกตั้งอย่างเดียว ยกเลิกส.ว.สรรหาที่ถูกเรียกว่าส.ว.ลากตั้งอย่างพวกผม ขยายจำนวนส.ว.เลือกตั้งกลับไปเป็น 200 คนแบบรัฐธรรมนูญ 2540
จะได้อ้างได้เก๋ ๆ ว่าเพื่อความเป็นประชาธิปไตย !
พอในชั้นกรรมาธิการ กลับมีการแก้ไขเพิ่มเติมอีก 2 ประเด็นสำคัญอันเป็นที่มาที่ผมขนานนามว่าฉบับขายเหล้าพ่วงเบียร์แถมน้ำ
ถ้าเปรียบการแก้ไขให้มีส.ว.เลือกตั้งอย่างเดียวคือการขายเหล้า การพ่วงเบียร์และแถมน้ำในชั้นกรรมาธิการก็คืออย่างนี้ครับ
หนึ่ง – ยกเลิกกฎ 5 ปีลาออกจากสมาชิกพรรควันนี้พรุ่งนี้ลงสมัครส.ว.ได้เลย
สอง – ฟื้นสภาผัวเมียพ่อแม่ลูก
แต่เดิมคนเป็นส.ส.หรือเป็นสมาชิกพรรคการเมือง ต้องพ้นมาแล้ว 5 ปี จึงจะลงสมัครส.ว.ได้ และคนเป็นส.ว.จะเป็นผัวเมียพี่น้องพ่อแม่ส.ส.ได้ได้ เพื่อแยก 2 สภาให้มีความแตกต่างกัน แต่การแก้ไขในชั้นกรรมาธิการยกเลิกกฎทั้งสองนี้หมด
เป็นการแก้ไขที่แม้แต่ส.ว.เลือกตั้งส่วนใหญ่ที่ร่วมผลักดันมาด้วยกันก็ยังหนาว
เพราะแม้พวกตนจะได้สิทธิลงสมัครต่อเนื่องได้อีก และมีตำแหน่งมากขึ้นในหลายจังหวัด แต่ขี้หรือจะดีกว่าไส้ ถ้าเจอคู่แข่งที่มาจากเลือดเนื้อเชื้อไขของพรรคการเมืองโดยตรง หรือผัวเมียพ่อแม่ส.ส.โดยตรง ก็จะลำบาก
จริง ๆ แล้วร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมฉบับแก้ไขที่มาของส.ว.นี้ผมเห็นว่าร้ายแรงที่สุด
เพราะเป็นการล้มล้างองค์กรอิสระโดยไม่ต้องล้มล้าง
ทั้งร่างเดิมและร่างขายเหล้าพ่วงเบียร์แถมน้ำเป็นการทำให้วุฒิสภาขึ้นต่อการเมืองและพรรคการเมืองมากขึ้นในทางปฏิบัติ เมื่อวุฒิสภาเป็นที่มาขององค์กรอิสระและศาลรัฐธรรมนูญ และเป็นองค์กรที่ทำหน้าที่ถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง การที่วุฒิสภาถูกแปรสภาพไปอยู่ภายใต้การครอบงำของการเมืองและพรรคการเมืองมากขึ้นในทางปฏิบัติ กรรมการองค์กรอิสระคนต่อไปหรือชุดต่อไปในอนาคตจะไปไหนเสีย ไม่ต้องล้มล้างแต่กำหนดตัวบุคคลที่จะมาดำรงตำแหน่งได้ แถมยังดูดีกว่าเสียอีก เพราะหลอกลวงได้เนียนกว่า
อย่าลืมว่าตอนนี้กรรมการองค์กรอิสระที่มีมาตั้งแต่ปี 2550 ก็นับถอยหลังกันหมดแล้ว ถ้าไม่ใกล้ครบวาระทั้งชุด ก็อายุใกล้ 70 ครบวาระเฉพาะตัว
นอกจากนั้นยังมีผลพลอยได้อีกคือการถอนถอนผู้ดำรงตำแหน่งการเมืองก็จะเป็นไปตามที่ฝ่ายการเมืองและพรรคการเมืองต้องการ
การมีตำแหน่งทางการเมืองเพิ่มขึ้นมาก ๆ ทั้งส.ว.เลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญฉบับที่กำลังจะแก้ไขใหม่ ทั้ง กรรมการองค์กรอิสระคนใหม่ชุดใหม่ ยังทำให้พรรคการเมืองที่ครองอำนาจเบ็ดเสร็จผ่านระบอบที่ในทางวิชาการเรียกว่าเผด็จการรัฐสภาของนายทุนเจ้าของพรรคการเมืองสามารถจัดสรรคนที่เข้าไปสวามิภักดิ์จนล้นเกินลงในตำแหน่งเหล่านี้ได้ตามความเหมาะสม
สรุปคือถ้าแก้ได้ตามนี้มีวุฒิสภาไปก็ไร้ความหมายโดยสิ้นเชิง
และประเทศนี้จะถูกบีบรัดกระชับเข้าสู่ระบอบเผด็จการรัฐสภาของนายทุนเจ้าของพรรคการเมืองอย่างเกือบ ๆ จะสมบูรณ์แบบและสุดลิ่มทิ่มประตูอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน
เพราะเสียงของวุฒิสภาจะเป็นไปตามความต้องการของพรรคการเมืองที่ครองอำนาจเบ็ดเสร็จ ผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระคนต่อไปและ/หรือชุดต่อไปก็มีแนวโน้มจะไม่อิสระจริง
ความหมายของวุฒิสภายุคใหม่ถ้าแก้รัฐธรรมนูญสำเร็จตามนี้ก็คือหลอกลวงประชาชนได้เนียนยิ่งขึ้น เป็น 3 หลอกลวง หรือหลอกลวงกำลังสาม
หนึ่ง – หลอกลวงว่าเป็นประชาธิปไตยสมบูรณ์เพราะส.ว.มาจากการเลือกตั้งทั้งหมด
สอง – หลอกลวงว่ามีสภาสูงหรือสภากลั่นกรอง
สาม – หลอกลวงว่ายังมีองค์กรอิสระอยู่
ถือว่าหนักหนาสาหัสไม่แพ้ร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 68 ด้วยซ้ำ
เพราะเป็นการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างอำนาจรัฐ
ไม่มีใครเห็นว่ารัฐธรรมนูญแก้ไขไม่ได้หรอกครับ และก็ไม่มีใครเห็นว่าบทบัญญัติว่าด้วยที่มาของส.ว.ในรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันมันสมบูรณ์พร้อม แก้ไขได้ครับ แต่จะต้องแก้ไขแบบไม่ใช่เอาแต่ได้ เมื่อมีอำนาจมีเสียงข้างมากก็ไม่บันยะบันยังในการใช้อำนาจ รุกไล่ฝ่ายที่คิดต่างเห็นต่างไม่ให้มีที่ยืนในระบบเลย ถือความได้เปรียบจากมายาภาพวาทกรรมประชาธิปไตยคือการเลือกตั้งมาตำแหน่งให้ผู้สวามิภักดิ์ตนที่ล้นเกิน
ถ้าคุยกันให้ตกผลึกก่อนโดยไม่ชิงความได้เปรียบจากความเป็นผู้ชนะเลือกตั้งครองอำนาจรัฐครองสื่อ ผลที่ออกมาจะไม่เป็นอย่างนี้หรอก
การปรองดองการอยู่ร่วมกันโดยสันติพูดแต่ปากไม่ได้หรอก ต้องพิสูจน์ด้วยการกระทำ
ยังเหลืออีกหลายวัน หากพลันคิดตกก็คิดใหม่ทำใหม่ได้
แต่ถ้ายังเดินหน้าตามนี้
ก็ดีไปอย่าง – ให้มัน “สุด ๆ” กันไปเลย !
ดีไปอย่างจริง ๆ – ให้ฝ่ายอื่นที่คิดต่างเห็นต่าง “ไร้ที่ยืนในระบบการเมือง” ไปเล้ยยย !!
โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเขียนกฎกติกาหลักในการอยู่ร่วมกันอย่างเช่นรัฐธรรมนูญ
ร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมรายประเด็นที่เสนอและผ่านวาระแรกตั้งแต่สมัยประชุมที่แล้วมี 3 ฉบับ 3 ประเด็นใหญ่ ประธานวุฒิสภาที่เป็นรองประธานรัฐสภาโดยตำแหน่งได้ผลักดันให้มีการนำร่างแก้ไขที่มาของสมาชิกวุฒิสภาเข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภาวาระ 2 ในวันที่ 19 สิงหาคม 2556
แม้จะอยู่ห่างอีกหลายวัน และต้องผ่านด่านวิกฤตร่างกฎหมายนิรโทษกรรมไปก่อน แต่ผมเห็นว่าควรจะทำความเข้าใจร่างแก้ไขฉบับนี้ไว้เป็นพื้นฐานก่อน
ร่างฯแก้รัฐธรรมนูญฉบับขายเหล้าพ่วงเบียร์แถมน้ำ !
ผมเรียกด้วยภาษาชาวบ้านอย่างนั้น เพราะเดิมทีจุดประสงค์แท้ ๆ ของส.ว.เลือกตั้งส่วนหนึ่งซึ่งน่าจะเป็นส่วนใหญ่รวมทั้งท่านประธานวุฒิสภาคนปัจจุบันที่เข้าร่วมเสนอร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญรวม 3 ฉบับ 3 ประเด็นกับส.ส.พรรครัฐบาลนั้น โดยแบ่งงานกันทำ แบ่งกันเสนอร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญแก้ปัญหาให้กันและกันเพื่อป้องกันข้อครหาและข้อกฎหมายว่าด้วยการขัดกันแห่งผลประโยชน์นั้น ความประสงค์สูงสุดของพวกท่านคือให้ส.ว.เลือกตั้งที่กำลังจะหมดวาระลงในวันที่ 2 มีนาคม 2557 และต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญ 2550 ห้ามลงสมัครต่อเนื่อง ต้องเว้นวรรคอย่างน้อย 1 สมัย สามารถลงสมัครต่อเนื่องได้ทันที ไม่ต้องเว้นวรรค
แต่ถ้าแก่แค่นี้ก็น่าจะมีปัญหาและข้อครหาแน่นอน
ก็ต้องแก้หลักการที่มาของส.ว.ใหม่ ให้มาจากการเลือกตั้งอย่างเดียว ยกเลิกส.ว.สรรหาที่ถูกเรียกว่าส.ว.ลากตั้งอย่างพวกผม ขยายจำนวนส.ว.เลือกตั้งกลับไปเป็น 200 คนแบบรัฐธรรมนูญ 2540
จะได้อ้างได้เก๋ ๆ ว่าเพื่อความเป็นประชาธิปไตย !
พอในชั้นกรรมาธิการ กลับมีการแก้ไขเพิ่มเติมอีก 2 ประเด็นสำคัญอันเป็นที่มาที่ผมขนานนามว่าฉบับขายเหล้าพ่วงเบียร์แถมน้ำ
ถ้าเปรียบการแก้ไขให้มีส.ว.เลือกตั้งอย่างเดียวคือการขายเหล้า การพ่วงเบียร์และแถมน้ำในชั้นกรรมาธิการก็คืออย่างนี้ครับ
หนึ่ง – ยกเลิกกฎ 5 ปีลาออกจากสมาชิกพรรควันนี้พรุ่งนี้ลงสมัครส.ว.ได้เลย
สอง – ฟื้นสภาผัวเมียพ่อแม่ลูก
แต่เดิมคนเป็นส.ส.หรือเป็นสมาชิกพรรคการเมือง ต้องพ้นมาแล้ว 5 ปี จึงจะลงสมัครส.ว.ได้ และคนเป็นส.ว.จะเป็นผัวเมียพี่น้องพ่อแม่ส.ส.ได้ได้ เพื่อแยก 2 สภาให้มีความแตกต่างกัน แต่การแก้ไขในชั้นกรรมาธิการยกเลิกกฎทั้งสองนี้หมด
เป็นการแก้ไขที่แม้แต่ส.ว.เลือกตั้งส่วนใหญ่ที่ร่วมผลักดันมาด้วยกันก็ยังหนาว
เพราะแม้พวกตนจะได้สิทธิลงสมัครต่อเนื่องได้อีก และมีตำแหน่งมากขึ้นในหลายจังหวัด แต่ขี้หรือจะดีกว่าไส้ ถ้าเจอคู่แข่งที่มาจากเลือดเนื้อเชื้อไขของพรรคการเมืองโดยตรง หรือผัวเมียพ่อแม่ส.ส.โดยตรง ก็จะลำบาก
จริง ๆ แล้วร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมฉบับแก้ไขที่มาของส.ว.นี้ผมเห็นว่าร้ายแรงที่สุด
เพราะเป็นการล้มล้างองค์กรอิสระโดยไม่ต้องล้มล้าง
ทั้งร่างเดิมและร่างขายเหล้าพ่วงเบียร์แถมน้ำเป็นการทำให้วุฒิสภาขึ้นต่อการเมืองและพรรคการเมืองมากขึ้นในทางปฏิบัติ เมื่อวุฒิสภาเป็นที่มาขององค์กรอิสระและศาลรัฐธรรมนูญ และเป็นองค์กรที่ทำหน้าที่ถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง การที่วุฒิสภาถูกแปรสภาพไปอยู่ภายใต้การครอบงำของการเมืองและพรรคการเมืองมากขึ้นในทางปฏิบัติ กรรมการองค์กรอิสระคนต่อไปหรือชุดต่อไปในอนาคตจะไปไหนเสีย ไม่ต้องล้มล้างแต่กำหนดตัวบุคคลที่จะมาดำรงตำแหน่งได้ แถมยังดูดีกว่าเสียอีก เพราะหลอกลวงได้เนียนกว่า
อย่าลืมว่าตอนนี้กรรมการองค์กรอิสระที่มีมาตั้งแต่ปี 2550 ก็นับถอยหลังกันหมดแล้ว ถ้าไม่ใกล้ครบวาระทั้งชุด ก็อายุใกล้ 70 ครบวาระเฉพาะตัว
นอกจากนั้นยังมีผลพลอยได้อีกคือการถอนถอนผู้ดำรงตำแหน่งการเมืองก็จะเป็นไปตามที่ฝ่ายการเมืองและพรรคการเมืองต้องการ
การมีตำแหน่งทางการเมืองเพิ่มขึ้นมาก ๆ ทั้งส.ว.เลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญฉบับที่กำลังจะแก้ไขใหม่ ทั้ง กรรมการองค์กรอิสระคนใหม่ชุดใหม่ ยังทำให้พรรคการเมืองที่ครองอำนาจเบ็ดเสร็จผ่านระบอบที่ในทางวิชาการเรียกว่าเผด็จการรัฐสภาของนายทุนเจ้าของพรรคการเมืองสามารถจัดสรรคนที่เข้าไปสวามิภักดิ์จนล้นเกินลงในตำแหน่งเหล่านี้ได้ตามความเหมาะสม
สรุปคือถ้าแก้ได้ตามนี้มีวุฒิสภาไปก็ไร้ความหมายโดยสิ้นเชิง
และประเทศนี้จะถูกบีบรัดกระชับเข้าสู่ระบอบเผด็จการรัฐสภาของนายทุนเจ้าของพรรคการเมืองอย่างเกือบ ๆ จะสมบูรณ์แบบและสุดลิ่มทิ่มประตูอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน
เพราะเสียงของวุฒิสภาจะเป็นไปตามความต้องการของพรรคการเมืองที่ครองอำนาจเบ็ดเสร็จ ผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระคนต่อไปและ/หรือชุดต่อไปก็มีแนวโน้มจะไม่อิสระจริง
ความหมายของวุฒิสภายุคใหม่ถ้าแก้รัฐธรรมนูญสำเร็จตามนี้ก็คือหลอกลวงประชาชนได้เนียนยิ่งขึ้น เป็น 3 หลอกลวง หรือหลอกลวงกำลังสาม
หนึ่ง – หลอกลวงว่าเป็นประชาธิปไตยสมบูรณ์เพราะส.ว.มาจากการเลือกตั้งทั้งหมด
สอง – หลอกลวงว่ามีสภาสูงหรือสภากลั่นกรอง
สาม – หลอกลวงว่ายังมีองค์กรอิสระอยู่
ถือว่าหนักหนาสาหัสไม่แพ้ร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 68 ด้วยซ้ำ
เพราะเป็นการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างอำนาจรัฐ
ไม่มีใครเห็นว่ารัฐธรรมนูญแก้ไขไม่ได้หรอกครับ และก็ไม่มีใครเห็นว่าบทบัญญัติว่าด้วยที่มาของส.ว.ในรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันมันสมบูรณ์พร้อม แก้ไขได้ครับ แต่จะต้องแก้ไขแบบไม่ใช่เอาแต่ได้ เมื่อมีอำนาจมีเสียงข้างมากก็ไม่บันยะบันยังในการใช้อำนาจ รุกไล่ฝ่ายที่คิดต่างเห็นต่างไม่ให้มีที่ยืนในระบบเลย ถือความได้เปรียบจากมายาภาพวาทกรรมประชาธิปไตยคือการเลือกตั้งมาตำแหน่งให้ผู้สวามิภักดิ์ตนที่ล้นเกิน
ถ้าคุยกันให้ตกผลึกก่อนโดยไม่ชิงความได้เปรียบจากความเป็นผู้ชนะเลือกตั้งครองอำนาจรัฐครองสื่อ ผลที่ออกมาจะไม่เป็นอย่างนี้หรอก
การปรองดองการอยู่ร่วมกันโดยสันติพูดแต่ปากไม่ได้หรอก ต้องพิสูจน์ด้วยการกระทำ
ยังเหลืออีกหลายวัน หากพลันคิดตกก็คิดใหม่ทำใหม่ได้
แต่ถ้ายังเดินหน้าตามนี้
ก็ดีไปอย่าง – ให้มัน “สุด ๆ” กันไปเลย !
ดีไปอย่างจริง ๆ – ให้ฝ่ายอื่นที่คิดต่างเห็นต่าง “ไร้ที่ยืนในระบบการเมือง” ไปเล้ยยย !!