ASTVผู้จัดการรายวัน-หักชาวนา! คลัง-ธ.ก.ส.-เกษตร ยืนกราน รับจำนำข้าวตันละ 1.2 หมื่นบาท อ้างรักษาวินัยไม่ให้ขาดทุนเกินปีละ7 หมื่นล้านบาท นัดถกชาวนาอีกรอบ 29 ก.ค.นี้ ด้านทีดีอาร์ไอชำแหละ 8 ปม ขี้โกงระบายข้าว ทั้งขายข้าวดี เอาข้าวเน่าเก็บ ขายจีทูจีปลอม ขายขาดทุนฟันส่วนต่าง "หมอวรงค์" บี้ "ปู" คาย ใครคือมาดามกงซื้อจีทูจี อย.เผยเก็บข้าวถุง "โค-โค่" ได้คืนจิ๊บจ้อย คาดขายหมดแล้ว ผู้ผลิตจ่ายชดเชย ส่งถุงคืนรับเงินไป ด้านสมาคมข้าวถุงงัดทีเด็ด กินข้าวถุงตายจ่ายทันที 20 ล้าน
น.ส.วิบูลย์ลักษณ์ ร่วมรักษ์ อธิบดีกรมการค้าภายใน เปิดเผยว่า ขณะนี้กระทรวงการคลัง ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ยืนยันที่จะให้มีการปรับลดราคารับจำนำข้าวเปลือกเจ้าฤดูการผลิตปี 2556/57 จากตันละ 15,000 บาท มาอยู่ที่ตันละ 12,000 บาท ที่ความชื้น 15% และจำกัดปริมาณรับจำนำครอบครัวละ 400,000 บาท เนื่องจากต้องรักษาวินัยการคลังที่รัฐบาลจะขาดทุนไม่ให้เกิน 70,000 ล้านบาทต่อปี โดยตัวเลขดังกล่าว เป็นตัวเลขที่ต่ำกว่าที่ได้เคยมีการหารือร่วมกับตัวแทนเกษตรกรก่อนหน้านี้ที่ราคาตันละ 13,500 บาท
สำหรับการรับจำนำข้าวเปลือกหอมมะลิ ยังคงรับจำนำที่ตันละ 20,000 บาท ข้าวเปลือกหอมจังหวัด ตันละ 18,000 บาท ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี ตันละ 16,000 บาท และข้าวเหนียว 10% เมล็ดยาว ตันละ 16,000 บาท เมล็ดสั้น ตันละ 15,000 บาท เช่นเดิม เพราะปริมาณผลผลิตมีไม่มาก และสามารถจำหน่ายได้ราคาดี ไม่กระทบกับราคาขายในตลาดโลก
“วันที่ 29 ก.ค. จะนัดหารือกับตัวแทนชาวนาในกลุ่มต่างๆ อีกรอบว่า ยอมรับได้หรือไม่กับตัวเลขการรับจำนำข้าวที่ตันละ 12,000 บาท ซึ่งต้องมาตกลงกันอีกรอบหนึ่ง แต่ราคาดังกล่าว ก็ยังถือว่าชาวนาคุ้มทุน เพราะหลายหน่วยงานประเมินต้นทุนของชาวนาอยู่ที่ตันละ 6,000 บาท และแม้ความชื้นจะสูงถึง 25% ซึ่งเป็นข้าวส่วนใหญ่ที่ชาวนาขายได้ ก็ยังขายได้ถึงตันละ 10,250 บาท"
***หาทางลดต้นทุนชดเชยลดราคาจำนำ
น.ส.วิบูลย์ลักษณ์กล่าวว่า การรับจำนำข้าวที่ตันละ 12,000 บาท ภาครัฐจะหามาตรการในการลดต้นทุนให้กับเกษตรกร โดยการหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงมหาดไทย ในการพิจารณาลดค่าเช่าที่นาของเกษตรกร หลังจากปัจจุบันมีราคาเพิ่มสูงขึ้นมากจนทำให้ชาวนาได้รับความเดือดร้อน รวมถึงให้ธ.ก.ส. พิจารณาลดอัตราดอกเบี้ยลง และให้กระทรวงเกษตรฯ หามาตรการลดต้นทุนอื่นๆ อย่างน้อยให้ต้นทุนเกษตรกรลดลงประมาณ 1,000 บาทต่อตัน
***อ้อนโรงสีลดค่าสีแปรช่วยเซฟเงินรัฐ
น.ส.วิบูลย์ลักษณ์ กล่าวอีกว่า การหารือกับสมาคมโรงสีข้าวไทย ได้ขอความร่วมมือสมาคมฯ ปรับลดค่าสีแปรสภาพข้าวในโครงการรับจำนำข้าว ฤดูการผลิตปี 2556/57 เหลือตันละ 400 บาท จากอัตราเดิมตันละ 500 บาท เพื่อเป็นการช่วยเหลือโครงการรับจำนำของรัฐบาล ซึ่งทางสมาคมฯ รับที่จะหารือกับสมาชิกสมาคมฯ ในวันที่ 27 ก.ค.นี้ ก่อนมาเสนอกรมฯ อีกรอบ
***ทีดีอาร์ไอชำแหละ8ปมขี้โกงขายข้าว
วันเดียวกันนี้ ที่ประชุมคณะกรรมาธิการ (กมธ.) เศรษฐกิจ การพาณิชย์ และอุตสาหกรรมวุฒิสภา ที่มีนายบุญชัย โชควัฒนา สว.สรรหา ประธานกมธ. ได้มีการพิจารณาเกี่ยวกับนโยบายจำนำข้าวของรัฐบาล โดยได้เชิญนายนิพนธ์ พัวพงศธร นักวิชาการเกียรติคุณสถาบันวิจัยเพื่อพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) มาให้ข้อมูล
นายนิพนธ์กล่าวชี้แจงว่า จากการทำการวิจัยของทีดีอาร์ไอ พบความผิดปกติและหลักฐานในการระบายข้าวในโครงการรับจำนำข้าวใน 8 ประเด็น คือ 1.ในรายงานคณะกรรมการปิดบัญชีโครงการรับจำนำข้าว ที่มีการปิดบัญชีครั้งล่าสุดไปเมื่อวันที่ 31 ม.ค.2556 มีข้าวสารที่ไม่ลงบัญชีจำนวน 2.9 ล้านตัน ซึ่งตัวเลขดังกล่าวสอดคล้องกับการประมาณการของทีดีอาร์ไอ และเป็นที่มาของการตรวจโรงสีทั่วประเทศ
2.มีการนำข้าวเปลือกมาทำเป็นข้าวนึ่ง คือ การเอาข้าวมานึ่งก่อนที่จะนำไปสีเพื่อที่จะให้ยางในข้าวมีความเหนียว และมีราคาสูงขึ้น 3.มีการนำข้าวคุณภาพดีไปขาย และมีการลักลอบนำเข้าข้าวจากประเทศเพื่อบ้านจำนวน 9 แสนตัน ซึ่งมีคุณภาพต่ำกว่ามาใส่ไว้ในโกดังแทน 4.การที่กระทรวงพาณิชย์ยืนยันว่าตั้งแต่เดือนม.ค.-ธ.ค.2555 รัฐบาลได้มีการขายข้าวแบบจีทูจีจำนวน1.46 ล้านตัน โดยมีการทำสัญญากับต่างประเทศจำนวน 6 ประเทศ แต่จากข้อมูลของผู้ส่งออกพบว่าไม่มีการขายขายตามที่กระทรวงพาณิชย์กล่าวอ้าง อีกทั้งทีดีอาร์ไอได้มีการตรวจสอบพบว่าไทยได้มีการขายข้าวไปเพียง 8.8 แสนตัน
5.กระทรวงพาณิชย์ขายข้าวต่ำกว่าราคาตลาดทำให้เกิดการขาดทุน แต่กระทรวงพาณิชย์ก็ไม่เคยเปิดเผยราคาและจำนวนที่มีการขาดทุน อีกทั้งจากข้อมูลยังพบว่าการขายข้าวในฤดูนาปรังมีการขายข้าวต่ำกว่าราคาท้องตลาดถึง53% โดยเป็นการขายข้าวให้พ่อค้าเพื่อกินส่วนต่าง 6.เรื่องการขายข้าวถุงราคาถูก รัฐบาลไม่ได้มีการตรวจสอบเอกชนที่ทำข้าวถุงตามโครงการร้านถูกใจว่าเป็นไปตามสัญญาว่าจ้างหรือไม่ 7.มีการขายข้าวใหม่ในราคาข้าวเก่าโดยการสลับบัญชีข้าวในโกดัง และ8.มีรายงานว่า มีบริษัทเอกชนซึ่งเป็นบริษัทที่มีต่างชาติมาลงทุนส่งออกข้าวไทย ชนะการประมูลขายข้าวให้อิรัก 6 ครั้ง คิดเป็นจำนวน 3 แสนตัน โดยประมูลชนะบริษัทของไทย จึงตั้งข้อสังเกตว่าเหตุใดบริษัทดังกล่าวจึงขายข้าวได้ในราคาถูกกว่าบริษัทของไทย
***ทวง “ปู” ให้คำตอบใครคือ “มาดามกง”
ที่พรรคประชาธิปัตย์ นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม ส.ส.พิษณุโลก พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า จากการที่ตนเดินทางไปทำเนียบรัฐบาลเมื่อวันที่ 17 ก.ค.ที่ผ่านมา เพื่อยื่นหลักฐานการซื้อขายข้าวแบบรัฐต่อรัฐ (จีทูจี) จากมาดามกง เพื่อให้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม ตรวจสอบข้อเท็จจริง แต่ผ่านไป 1 สัปดาห์ ยังไม่มีความคืบหน้า แสดงว่า สิ่งที่นายกฯ เคยพูดเรื่องปราบปรามการทุจริต เป็นเพียงการสร้างภาพ จึงอยากเรียกร้องให้นายกฯ เอาจริงเอาจัง และบอกให้ชัดว่า รัฐบาลได้ขายข้าวแบบรัฐต่อรัฐให้กับมาดามกงจริงหรือไม่ และมาดามกง เป็นคนของประเทศใด ขายข้าวไปจำนวนเท่าไร
**จ่อเปิดผลตรวจสารอัลฟาฯในข้าว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคและมูลนิธิชีววิถีจะเปิดผลตรวจสารอัลฟาทอกซินในข้าว ที่มูลนิธิฯ ได้ส่งตรวจ โดยเป็นคนละแล็ปกับที่ตรวจหาสารเมทิลโบรไมด์
นายวิฑูรย์ เลี่ยนจำรูญ ผู้อำนวยการมูลนิธิชีววิถี กล่าวว่า ตอนนี้มีขบวนการดิสเครดิตผลการตรวจคุณภาพข้าวสารบรรจุถุง ทั้งจากนักการเมือง และหน่วยงานของรัฐ
***คาดข้าวถุงโค-โค่ขายหมดแล้ว
ที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) นพ.บุญชัย สมบูรณ์สุข เลขาธิการ อย. กล่าวถึงความคืบหน้าการดำเนินการเรื่องข้าวสารถุงยี่ห้อโค-โค่ ที่พบโบรไมด์ไอออน เกินค่ามาตรฐานอาหารระหว่างประเทศ (CODEX) ที่องค์การอนามัยโลกกำหนดที่ 50 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม (ppm) ว่า บริษัท สยามเกรนส์ จำกัด ผู้ผลิตข้าวสารถุงยี่ห้อโค-โค่ ได้เรียกคืนสินค้าล็อตดังกล่าวออกจากชั้นวางในตลาดแล้ว และแจ้งว่า ข้าวสารถุงล็อตที่ผลิตเมื่อวันที่ 11 เม.ย.2556 เรียกเก็บได้คืน 29 ถุง จากจำนวนทั้งหมด 3,000 ถุง ส่วนล็อตที่ผลิตเดือนมิ.ย.2556 อีก 3,000 ถุง ไม่พบสินค้าในแหล่งจำหน่าย โดยผู้บริโภคที่ซื้อข้าวสารถุงยี่ห้อดังกล่าวไปแล้ว และไม่มั่นใจ ก็สามารถส่งคืนผู้ประกอบการได้
ทั้งนี้ อย. ขอยืนยันว่า ผู้บริโภคข้าวไม่จำเป็นต้องกังวล เพราะการรับประทานข้าวที่หุงสุก ปริมาณของโบรไมด์ไอออนจะลดลง ที่สำคัญยังไม่มีหลักฐานทางวิชาการที่กล่าวถึงว่า โบรไมด์ไอออนมีอันตรายต่อสุขภาพ
***ผู้ผลิตให้ส่งถุงคืนแล้วรับเงิน
นายกิติพันธุ์ เหล่าประภัสสร ผู้จัดการฝ่ายขาย บริษัท เสถียรรุ่งเรือง มาร์เก็ตติ้่ง จำกัด ผู้จำหน่ายข้าวถุง"โค-โค่" กล่าวว่า จากการตรวจสอบซ้ำข้าวขาวพิมพา ที่ถูกระบุว่ามีค่าสารเมทิลโบรไมด์เกิน จากการตรวจสอบซ้ำ ก็ไม่ครบว่ามีสารเกิน 50 ppm และสารอยู่ในระดับมาตรฐาน แต่เพื่อสร้างความมั่นใจให้ผู้บริโภค หลังจากบริษัทได้แสดงความรับผิดชอบโดยการจัดเก็บข้าวถุงทุกชนิดที่ได้วางขายแล้ว และตั้งแต่วันที่ 24 ก.ค.-7 ส.ค.2556 ผู้บริโภครายใดต้องการคืนสินค้าก็สามารถจัดส่งถุงเปล่ามายังบริษัทเพื่อรับเงินคืน โดยข้าวขาวถุงละ 100 บาท และข้าวหอมคัดพิเศษถุงละ 150 บาท และข้าวหอมมะลิถุงละ 200 บาท
***ยอมจ่าย20ล้านกินข้าวแล้วตาย
นายสมเกียรติ มรรคยาธร นายสมาคมผู้ประกอบการข้าวถุงไทย กล่าวว่า สมาคมฯ ร่วมกับสมาชิกผู้ผลิตข้าวถุง 128 บริษัท ที่มีตราสินค้าประมาณ 800 ยี่ห้อ หรือครอบคลุมส่วนแบ่งการตลาดข้าวถุง 95% จัดโครงการตรวจสอบและยกระดับความเชื่อมั่นให้แก่ผู้บริโภคข้าวสารถุงและการบริโภคที่ปลอดภัยไร้สารพิษปนเปื้อน หลังมีกระแสข่าวที่ทำให้ผู้บริโภคเกิดความสับสนเกี่ยวกับสารตกค้างที่มีในข้าวสารบรรจุถุง โดยวิธีการจะทำการสุ่มตรวจข้าวถุงของสมาชิกไปตรวจสอบยังห้องปฎิบัติการตามหลักสากล เพื่อตรวจสอบสารเมทิลโบรไมด์ว่าอยู่ในเกณฑ์หรือไม่ โดยช่วง 3 เดือนแรกจะสุ่มตรวจทุกเดือน เริ่มครั้งแรก 1-15 ส.ค.นี้ โดยสมาคมฯ เป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายการตรวจสอบครั้งแรก รวม 5 ล้านบาท และหลังจากนั้นเจ้าของตราสินค้าจะเป็นรับผิดชอบและสุ่มตรวจสอบในระยะต่อไป หากพบว่ารายใดมีสารเกิน ก็จะตรวจสอบอีก 2 ครั้ง และหากพบยังมีสารเกินอีก ก็ให้หยุดขายและทำการปรับปรุง ระยะเวลาโครงการ 1 ปี เพราะสารเมทิลโบรไมด์ตามระเบียบจะมีการเลิกใช้ตั้งแต่ปี 2557
"เพื่อให้ผู้บริโภคได้มั่นใจต่อการบริโภคข้าวถุง และทำให้ประชาชนเชื่อมั่นถึงความปลอดภัย สมาคมฯ พร้อมจ่ายเงินชดเชยหากผู้บริโภคข้าวสารบรรจุถุงของสมาชิกของสมาคมฯ เสียชีวิตจากสารเมทิลโบรไมด์ ในวงเงิน 20 ล้านบาท โดยยอมรับว่ากระแสข่าวข้าวถุงมีสารตกค้างได้สร้างความวิตกต่อการบริโภคข้าวถุง ทำให้การซื้อต่อครั้งลดลงจากเดิมครั้งละ 3-5 ถุงเหลือ 1-2 ถุง แต่ภาพรวมก็ยังไม่กระทบต่อยอดขายของบริษัทต่างๆ เพราะยังมีข้าวสต็อกเก่าเหลือ และการจัดแคมเปญครั้งนี้จะทำให้ข้าวถุงยังขยายตัวได้ 5% หรือมูลค่า 3 หมื่นล้านบาท"นายสมเกียรติกล่าว
น.ส.วิบูลย์ลักษณ์ ร่วมรักษ์ อธิบดีกรมการค้าภายใน เปิดเผยว่า ขณะนี้กระทรวงการคลัง ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ยืนยันที่จะให้มีการปรับลดราคารับจำนำข้าวเปลือกเจ้าฤดูการผลิตปี 2556/57 จากตันละ 15,000 บาท มาอยู่ที่ตันละ 12,000 บาท ที่ความชื้น 15% และจำกัดปริมาณรับจำนำครอบครัวละ 400,000 บาท เนื่องจากต้องรักษาวินัยการคลังที่รัฐบาลจะขาดทุนไม่ให้เกิน 70,000 ล้านบาทต่อปี โดยตัวเลขดังกล่าว เป็นตัวเลขที่ต่ำกว่าที่ได้เคยมีการหารือร่วมกับตัวแทนเกษตรกรก่อนหน้านี้ที่ราคาตันละ 13,500 บาท
สำหรับการรับจำนำข้าวเปลือกหอมมะลิ ยังคงรับจำนำที่ตันละ 20,000 บาท ข้าวเปลือกหอมจังหวัด ตันละ 18,000 บาท ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี ตันละ 16,000 บาท และข้าวเหนียว 10% เมล็ดยาว ตันละ 16,000 บาท เมล็ดสั้น ตันละ 15,000 บาท เช่นเดิม เพราะปริมาณผลผลิตมีไม่มาก และสามารถจำหน่ายได้ราคาดี ไม่กระทบกับราคาขายในตลาดโลก
“วันที่ 29 ก.ค. จะนัดหารือกับตัวแทนชาวนาในกลุ่มต่างๆ อีกรอบว่า ยอมรับได้หรือไม่กับตัวเลขการรับจำนำข้าวที่ตันละ 12,000 บาท ซึ่งต้องมาตกลงกันอีกรอบหนึ่ง แต่ราคาดังกล่าว ก็ยังถือว่าชาวนาคุ้มทุน เพราะหลายหน่วยงานประเมินต้นทุนของชาวนาอยู่ที่ตันละ 6,000 บาท และแม้ความชื้นจะสูงถึง 25% ซึ่งเป็นข้าวส่วนใหญ่ที่ชาวนาขายได้ ก็ยังขายได้ถึงตันละ 10,250 บาท"
***หาทางลดต้นทุนชดเชยลดราคาจำนำ
น.ส.วิบูลย์ลักษณ์กล่าวว่า การรับจำนำข้าวที่ตันละ 12,000 บาท ภาครัฐจะหามาตรการในการลดต้นทุนให้กับเกษตรกร โดยการหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงมหาดไทย ในการพิจารณาลดค่าเช่าที่นาของเกษตรกร หลังจากปัจจุบันมีราคาเพิ่มสูงขึ้นมากจนทำให้ชาวนาได้รับความเดือดร้อน รวมถึงให้ธ.ก.ส. พิจารณาลดอัตราดอกเบี้ยลง และให้กระทรวงเกษตรฯ หามาตรการลดต้นทุนอื่นๆ อย่างน้อยให้ต้นทุนเกษตรกรลดลงประมาณ 1,000 บาทต่อตัน
***อ้อนโรงสีลดค่าสีแปรช่วยเซฟเงินรัฐ
น.ส.วิบูลย์ลักษณ์ กล่าวอีกว่า การหารือกับสมาคมโรงสีข้าวไทย ได้ขอความร่วมมือสมาคมฯ ปรับลดค่าสีแปรสภาพข้าวในโครงการรับจำนำข้าว ฤดูการผลิตปี 2556/57 เหลือตันละ 400 บาท จากอัตราเดิมตันละ 500 บาท เพื่อเป็นการช่วยเหลือโครงการรับจำนำของรัฐบาล ซึ่งทางสมาคมฯ รับที่จะหารือกับสมาชิกสมาคมฯ ในวันที่ 27 ก.ค.นี้ ก่อนมาเสนอกรมฯ อีกรอบ
***ทีดีอาร์ไอชำแหละ8ปมขี้โกงขายข้าว
วันเดียวกันนี้ ที่ประชุมคณะกรรมาธิการ (กมธ.) เศรษฐกิจ การพาณิชย์ และอุตสาหกรรมวุฒิสภา ที่มีนายบุญชัย โชควัฒนา สว.สรรหา ประธานกมธ. ได้มีการพิจารณาเกี่ยวกับนโยบายจำนำข้าวของรัฐบาล โดยได้เชิญนายนิพนธ์ พัวพงศธร นักวิชาการเกียรติคุณสถาบันวิจัยเพื่อพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) มาให้ข้อมูล
นายนิพนธ์กล่าวชี้แจงว่า จากการทำการวิจัยของทีดีอาร์ไอ พบความผิดปกติและหลักฐานในการระบายข้าวในโครงการรับจำนำข้าวใน 8 ประเด็น คือ 1.ในรายงานคณะกรรมการปิดบัญชีโครงการรับจำนำข้าว ที่มีการปิดบัญชีครั้งล่าสุดไปเมื่อวันที่ 31 ม.ค.2556 มีข้าวสารที่ไม่ลงบัญชีจำนวน 2.9 ล้านตัน ซึ่งตัวเลขดังกล่าวสอดคล้องกับการประมาณการของทีดีอาร์ไอ และเป็นที่มาของการตรวจโรงสีทั่วประเทศ
2.มีการนำข้าวเปลือกมาทำเป็นข้าวนึ่ง คือ การเอาข้าวมานึ่งก่อนที่จะนำไปสีเพื่อที่จะให้ยางในข้าวมีความเหนียว และมีราคาสูงขึ้น 3.มีการนำข้าวคุณภาพดีไปขาย และมีการลักลอบนำเข้าข้าวจากประเทศเพื่อบ้านจำนวน 9 แสนตัน ซึ่งมีคุณภาพต่ำกว่ามาใส่ไว้ในโกดังแทน 4.การที่กระทรวงพาณิชย์ยืนยันว่าตั้งแต่เดือนม.ค.-ธ.ค.2555 รัฐบาลได้มีการขายข้าวแบบจีทูจีจำนวน1.46 ล้านตัน โดยมีการทำสัญญากับต่างประเทศจำนวน 6 ประเทศ แต่จากข้อมูลของผู้ส่งออกพบว่าไม่มีการขายขายตามที่กระทรวงพาณิชย์กล่าวอ้าง อีกทั้งทีดีอาร์ไอได้มีการตรวจสอบพบว่าไทยได้มีการขายข้าวไปเพียง 8.8 แสนตัน
5.กระทรวงพาณิชย์ขายข้าวต่ำกว่าราคาตลาดทำให้เกิดการขาดทุน แต่กระทรวงพาณิชย์ก็ไม่เคยเปิดเผยราคาและจำนวนที่มีการขาดทุน อีกทั้งจากข้อมูลยังพบว่าการขายข้าวในฤดูนาปรังมีการขายข้าวต่ำกว่าราคาท้องตลาดถึง53% โดยเป็นการขายข้าวให้พ่อค้าเพื่อกินส่วนต่าง 6.เรื่องการขายข้าวถุงราคาถูก รัฐบาลไม่ได้มีการตรวจสอบเอกชนที่ทำข้าวถุงตามโครงการร้านถูกใจว่าเป็นไปตามสัญญาว่าจ้างหรือไม่ 7.มีการขายข้าวใหม่ในราคาข้าวเก่าโดยการสลับบัญชีข้าวในโกดัง และ8.มีรายงานว่า มีบริษัทเอกชนซึ่งเป็นบริษัทที่มีต่างชาติมาลงทุนส่งออกข้าวไทย ชนะการประมูลขายข้าวให้อิรัก 6 ครั้ง คิดเป็นจำนวน 3 แสนตัน โดยประมูลชนะบริษัทของไทย จึงตั้งข้อสังเกตว่าเหตุใดบริษัทดังกล่าวจึงขายข้าวได้ในราคาถูกกว่าบริษัทของไทย
***ทวง “ปู” ให้คำตอบใครคือ “มาดามกง”
ที่พรรคประชาธิปัตย์ นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม ส.ส.พิษณุโลก พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า จากการที่ตนเดินทางไปทำเนียบรัฐบาลเมื่อวันที่ 17 ก.ค.ที่ผ่านมา เพื่อยื่นหลักฐานการซื้อขายข้าวแบบรัฐต่อรัฐ (จีทูจี) จากมาดามกง เพื่อให้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม ตรวจสอบข้อเท็จจริง แต่ผ่านไป 1 สัปดาห์ ยังไม่มีความคืบหน้า แสดงว่า สิ่งที่นายกฯ เคยพูดเรื่องปราบปรามการทุจริต เป็นเพียงการสร้างภาพ จึงอยากเรียกร้องให้นายกฯ เอาจริงเอาจัง และบอกให้ชัดว่า รัฐบาลได้ขายข้าวแบบรัฐต่อรัฐให้กับมาดามกงจริงหรือไม่ และมาดามกง เป็นคนของประเทศใด ขายข้าวไปจำนวนเท่าไร
**จ่อเปิดผลตรวจสารอัลฟาฯในข้าว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคและมูลนิธิชีววิถีจะเปิดผลตรวจสารอัลฟาทอกซินในข้าว ที่มูลนิธิฯ ได้ส่งตรวจ โดยเป็นคนละแล็ปกับที่ตรวจหาสารเมทิลโบรไมด์
นายวิฑูรย์ เลี่ยนจำรูญ ผู้อำนวยการมูลนิธิชีววิถี กล่าวว่า ตอนนี้มีขบวนการดิสเครดิตผลการตรวจคุณภาพข้าวสารบรรจุถุง ทั้งจากนักการเมือง และหน่วยงานของรัฐ
***คาดข้าวถุงโค-โค่ขายหมดแล้ว
ที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) นพ.บุญชัย สมบูรณ์สุข เลขาธิการ อย. กล่าวถึงความคืบหน้าการดำเนินการเรื่องข้าวสารถุงยี่ห้อโค-โค่ ที่พบโบรไมด์ไอออน เกินค่ามาตรฐานอาหารระหว่างประเทศ (CODEX) ที่องค์การอนามัยโลกกำหนดที่ 50 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม (ppm) ว่า บริษัท สยามเกรนส์ จำกัด ผู้ผลิตข้าวสารถุงยี่ห้อโค-โค่ ได้เรียกคืนสินค้าล็อตดังกล่าวออกจากชั้นวางในตลาดแล้ว และแจ้งว่า ข้าวสารถุงล็อตที่ผลิตเมื่อวันที่ 11 เม.ย.2556 เรียกเก็บได้คืน 29 ถุง จากจำนวนทั้งหมด 3,000 ถุง ส่วนล็อตที่ผลิตเดือนมิ.ย.2556 อีก 3,000 ถุง ไม่พบสินค้าในแหล่งจำหน่าย โดยผู้บริโภคที่ซื้อข้าวสารถุงยี่ห้อดังกล่าวไปแล้ว และไม่มั่นใจ ก็สามารถส่งคืนผู้ประกอบการได้
ทั้งนี้ อย. ขอยืนยันว่า ผู้บริโภคข้าวไม่จำเป็นต้องกังวล เพราะการรับประทานข้าวที่หุงสุก ปริมาณของโบรไมด์ไอออนจะลดลง ที่สำคัญยังไม่มีหลักฐานทางวิชาการที่กล่าวถึงว่า โบรไมด์ไอออนมีอันตรายต่อสุขภาพ
***ผู้ผลิตให้ส่งถุงคืนแล้วรับเงิน
นายกิติพันธุ์ เหล่าประภัสสร ผู้จัดการฝ่ายขาย บริษัท เสถียรรุ่งเรือง มาร์เก็ตติ้่ง จำกัด ผู้จำหน่ายข้าวถุง"โค-โค่" กล่าวว่า จากการตรวจสอบซ้ำข้าวขาวพิมพา ที่ถูกระบุว่ามีค่าสารเมทิลโบรไมด์เกิน จากการตรวจสอบซ้ำ ก็ไม่ครบว่ามีสารเกิน 50 ppm และสารอยู่ในระดับมาตรฐาน แต่เพื่อสร้างความมั่นใจให้ผู้บริโภค หลังจากบริษัทได้แสดงความรับผิดชอบโดยการจัดเก็บข้าวถุงทุกชนิดที่ได้วางขายแล้ว และตั้งแต่วันที่ 24 ก.ค.-7 ส.ค.2556 ผู้บริโภครายใดต้องการคืนสินค้าก็สามารถจัดส่งถุงเปล่ามายังบริษัทเพื่อรับเงินคืน โดยข้าวขาวถุงละ 100 บาท และข้าวหอมคัดพิเศษถุงละ 150 บาท และข้าวหอมมะลิถุงละ 200 บาท
***ยอมจ่าย20ล้านกินข้าวแล้วตาย
นายสมเกียรติ มรรคยาธร นายสมาคมผู้ประกอบการข้าวถุงไทย กล่าวว่า สมาคมฯ ร่วมกับสมาชิกผู้ผลิตข้าวถุง 128 บริษัท ที่มีตราสินค้าประมาณ 800 ยี่ห้อ หรือครอบคลุมส่วนแบ่งการตลาดข้าวถุง 95% จัดโครงการตรวจสอบและยกระดับความเชื่อมั่นให้แก่ผู้บริโภคข้าวสารถุงและการบริโภคที่ปลอดภัยไร้สารพิษปนเปื้อน หลังมีกระแสข่าวที่ทำให้ผู้บริโภคเกิดความสับสนเกี่ยวกับสารตกค้างที่มีในข้าวสารบรรจุถุง โดยวิธีการจะทำการสุ่มตรวจข้าวถุงของสมาชิกไปตรวจสอบยังห้องปฎิบัติการตามหลักสากล เพื่อตรวจสอบสารเมทิลโบรไมด์ว่าอยู่ในเกณฑ์หรือไม่ โดยช่วง 3 เดือนแรกจะสุ่มตรวจทุกเดือน เริ่มครั้งแรก 1-15 ส.ค.นี้ โดยสมาคมฯ เป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายการตรวจสอบครั้งแรก รวม 5 ล้านบาท และหลังจากนั้นเจ้าของตราสินค้าจะเป็นรับผิดชอบและสุ่มตรวจสอบในระยะต่อไป หากพบว่ารายใดมีสารเกิน ก็จะตรวจสอบอีก 2 ครั้ง และหากพบยังมีสารเกินอีก ก็ให้หยุดขายและทำการปรับปรุง ระยะเวลาโครงการ 1 ปี เพราะสารเมทิลโบรไมด์ตามระเบียบจะมีการเลิกใช้ตั้งแต่ปี 2557
"เพื่อให้ผู้บริโภคได้มั่นใจต่อการบริโภคข้าวถุง และทำให้ประชาชนเชื่อมั่นถึงความปลอดภัย สมาคมฯ พร้อมจ่ายเงินชดเชยหากผู้บริโภคข้าวสารบรรจุถุงของสมาชิกของสมาคมฯ เสียชีวิตจากสารเมทิลโบรไมด์ ในวงเงิน 20 ล้านบาท โดยยอมรับว่ากระแสข่าวข้าวถุงมีสารตกค้างได้สร้างความวิตกต่อการบริโภคข้าวถุง ทำให้การซื้อต่อครั้งลดลงจากเดิมครั้งละ 3-5 ถุงเหลือ 1-2 ถุง แต่ภาพรวมก็ยังไม่กระทบต่อยอดขายของบริษัทต่างๆ เพราะยังมีข้าวสต็อกเก่าเหลือ และการจัดแคมเปญครั้งนี้จะทำให้ข้าวถุงยังขยายตัวได้ 5% หรือมูลค่า 3 หมื่นล้านบาท"นายสมเกียรติกล่าว