"มาร์ค" จี้รัฐบาลแถลงผลงานครบ 1 ปี ทันทีที่สภาเปิด จากนั้นพิจารณางบ 57 และเงินกู้ 2 ล้านล้าน ส่วน พ.ร.บ.นิรโทษฉบับวรชัย-แก้รธน. ต้องเบรกไว้ก่อนป้องกันความขัดแย้ง แนะตั้งวงถกนอกรอบโดยใช้ร่าง พ.ร.บ.นิรโทษ ฉบับ"แม่น้องเกด" เป็นหลัก เตือนล้างผิดให้ "นช.แม้ว" บ้านเมืองลุกเป็นไฟแน่ ส่วนวิปรัฐบาลนัดประชุม 24 ก.ค. หาข้อยุติจะถกงบ 57 หรือ กม.นิรโทษก่อน ด้านวิปวุฒิเผยวิปรัฐบาล นัดเปิดประชุมร่วมรัฐสภา 6-7 ส.ค. เพื่อแก้รธน. ประเด็นที่มาของส.ว.ก่อน เพื่อดับกระแสการเมืองร้อน โฆษกกลาโหมเผยยังไม่เอาพ.ร.บ.นิรโทษฯ เข้าสภากลาโหม 26 ก.ค.นี้
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า ในการเปิดประชุมสภาสมัยสามัญทั่วไป ในวันที่ 1 ส.ค.นี้ รัฐบาลควรแถลงผลงานครบรอบ 1 ปีก่อน ส่วนเรื่องที่จะเป็นปมความขัดแย้งมากๆ โดยเฉพาะรัฐธรรมนูญ มาตรา 68 เรื่องของกฎหมายนิรโทษกรรม นั้น ควรจะพักไว้ก่อน แล้วก็เอาเรื่องอื่นๆ อย่างเช่นเรื่องวิธีการจัดสรรนโยบายงบประมาณ มาว่ากันไปตามปกติ เพื่อไม่ให้เกิดความขัดแย้ง
เมื่อเปิดสภามาจะตรงกับวันพฤหัสบดี ปกติต้องเป็นเรื่องการตั้งกระทู้ถามสด และกระทู้ทั่วไป จากนั้นในช่วงบ่าย จะเป็นการพิจารณาเรื่องอื่นๆ บางทีวิปเขาจะเสนอเปลี่ยนแปลงระเบียบวาระ ซึ่งอาจจะไม่ได้เปลี่ยนแปลงแล้วก็มีผลในการพิจารณาวันนั้นเลย เพราะว่าข้อบังคับของสภานั้นบอกว่า ถ้าเป็นเรื่องกฎหมาย เลื่อนขึ้นแล้วให้พิจารณาในครั้งต่อไป คือเขาไม่ต้องการให้กฎหมายซึ่งมันเป็นเรื่องที่สมาชิกต้องดูรายละเอียด ก่อนที่จะอภิปราย ไม่ใช่หยิบขึ้นมาแล้วก็พิจารณากันเลย ถ้าหยิบขึ้นมาก็ต้องเปิดโอกาสให้สมาชิกกลับไปดู แล้วมาประชุมครั้งต่อไป ถึงจะเริ่มต้นได้ แต่ข้อบังคับ ก็มีข้อยกเว้นได้ คือหากอยากจะทำจริงๆ หยิบกฎหมายขึ้นมาพิจารณาเลย ก็ต้องขอยกเว้นข้อบังคับ ซึ่งถ้าเขาขอยกเว้นข้อบังคับ ต้องใช้มติ 2 ใน 3
อย่างไรก็ตาม หากเรียงตามวาระที่ได้จัดไว้แล้ว เรื่องที่มาอันดับแรก คือ ร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ของนายวรชัย เหมะ ส.ส.สมุทรปราการ พรรคเพื่อไทย ที่สภามีมติเลื่อนขึ้นมาเป็นอันดับแรก ในปลายสมัยประชุมครั้งที่แล้ว แต่ปกติหากมีเรื่องที่คณะกรรมาธิการพิจารณาเสร็จแล้วก็จะบรรจุไว้ก่อน เพราะถือว่ากฎหมายจะได้เสร็จ และส่งต่อไปให้วุฒิสภาพิจารณา เพราะฉะนั้นกฎหมายที่คาดว่าจะมีรายงานของกรรมาธิการเสร็จ น่าจะเป็น ร่าง พ.ร.บ.เงินกู้ 2 ล้านล้านบาท เพราะว่าได้ประชุมพิจารณาจนเสร็จเรียบร้อยแล้ว
ส่วน ร่าง พ.ร.บ.งบประมาณปี 2557 นั้น ตามกำหนดการเดิม จะพิจารณากันวันที่ 14-15 ส.ค. หากจะเลื่อนมาพิจารณาวันที่ 7-8 ส.ค. ก็ต้องเร่งการทำงานของกรรมาธิการ ซึ่งเป็นไปได้ยาก แต่ก็มีอีก 2 เรื่อง ที่ยังไม่รู้ว่าจะเกิดอะไรขึ้น คือว่า เรื่องรัฐธรรมนูญที่ค้างอยู่ แต่เป็นการประชุมร่วมของ 2 สภา ซึ่งไมได้กำหนดตายตัวว่า จะประชุมวันไหน แต่ปกติจะเลี่ยงไม่ให้ตรงกับวันประชุมสภา แต่ล่าสุดก็มีข่าวว่าวันที่ 6-7 ส.ค. จะมีการพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ ในเรื่องของวุฒิสภา เพราะฉะนั้นเรื่องนี้ก็เป็นอีกประเด็นหนึ่งที่อาจจะเข้ามาได้ในช่วงนี้
"จุดยืนของพรรคประชาธิปัตย์ คิดว่าควรจะพิจารณาเรื่องผลงานก่อน เพราะค้างมานานแล้ว ส่วนเรื่องไหนที่จะเป็นปมความขัดแย้งมากๆ โดยเฉพาะรัฐธรรมนูญ มาตรา 68 เรื่องกฎหมายนิรโทษกรรม ควรจะพักไว้ก่อน แล้วเอาเรื่องอื่นๆ เช่น เงินกู้ 2 ล้านล้านบาท แม้เราไม่เห็นด้วย แต่ว่าเป็นเรื่องนโยบายงบประมาณ เป็นการทำหน้าที่รัฐบาลก็เอาเข้ามา ว่ากันไปตามปกติ มันน่าจะเป็นอย่างนั้นก่อนโดยหลัก ถ้าจะไม่อยากให้เกิดความขัดแย้งกัน”
** หนุนใช้ร่างนิรโทษฯฉบับปชช.เป็นหลัก
ส่วน ร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ฉบับของภาคประชาชน ได้มีการชี้แจงกันค่อนข้างชัดว่า ทำไมเราถึงให้ความสนใจกับฉบับของญาติผู้เสียชีวิต เพราะเราเห็นว่า เป็นวิธีเขียนกฎหมายที่มีความชัดเจนมากที่สุด ในบรรดากฎหมายทุกฉบับ ก็คือไม่เหมารวม อ้างว่าเป็นคดีการเมืองหรือไม่การเมือง แต่จำแนกแจกแจงในแง่ของความผิด ว่าคนทำผิดประเภทไหน สมควรได้รับการนิรโทษกรรม
นายอภิสิทธิ์ กล่าวด้วยว่า ตนยืนยันว่าขั้นตอนขณะนี้คือ เราเรียกร้องว่าฉบับอื่นต้องถอนออกมาให้หมดก่อน แล้วมาไล่เรียงตามฉบับนี้ ว่าอะไรที่เราควรนิรโทษกรรม ไม่ควรนิรโทษกรรม ต้องเขียนกฎหมายแบบนี้ ตัดเรื่องคดีทุจริตออกไปก่อน แล้วก็ตั้งต้นจากการที่พยายามจะช่วยเหลือประชาชนที่เขาไปแสดงออกทางการเมือง ตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ ในสถานการณ์ปกติ เพราะฉะนั้น การที่เขาจำแนกเอาไว้ว่า เช่น ไปกระทำผิดต่อร่างกาย ชีวิต ใช้อาวุธ ไม่นิรโทษกรรมนั้น ตนว่าเป็นหลักที่ดีมาก เราควรจะตั้งต้นจากตรงนี้ ที่ยังไม่เห็นด้วยกับเขาก็คือ 1. คนอาจจะไปตีความให้มันรวม มาตรา 112 ตนเห็นคำให้สัมภาษณ์ของผู้เสนอ เขาบอกเขาก็ไม่ได้มีเจตนา ก็ไปเขียนให้ชัดนะครับว่า ผิดมาตรา 112 ไม่นิรโทษกรรมให้ ส่วนที่ไว้เฉพาะเผาทรัพย์สินเอกชนนั้น ตนไม่เห็นด้วย การเผาทรัพย์สินราชการก็ต้องนิรโทษกรรมไม่ได้ ซึ่งเป็นประเด็นที่ต้องมาคุยกันเพื่อไม่ให้มีปัญหา ดีที่สุดคือ มาคุยกันนอกรอบให้มันจบ แล้วเสนอร่วมกัน
"เพราะฉะนั้นยืนยันครับ ไม่มีตกหลุมพราง ไม่มีอะไรทั้งนั้น ตรงกันข้ามครับ การที่เราไม่ยอมรับเลย ในเรื่องของการนิรโทษกรรมนั้น มันจะทำให้ฝ่ายคุณทักษิณ เอาประชาชนเป็นตัวประกัน บังหน้าไม่จบไม่สิ้น นี่เป็นโอกาสดีที่สุดแล้วครับ ที่จะแยกให้เห็นว่า ระหว่างคนที่ตั้งใจจะช่วยประชาชนธรรมดา กับคนที่จะเอาผลประโยชน์ของตัวเอง แล้วก็แอบอยู่ข้างหลังประชาชนนั้น เราจะเลือกอะไร และหากรัฐบาลยังดึงดันเอากฎหมายนิรโทษกรรม เข้าสภาเป็นวาระแรกๆ แล้วเอากฎหมายอื่นๆ เข้าไปผสมด้วย เรายังคงคัดค้านเต็มที่ " นายอภิสิทธิ์ กล่าว
**พ.ร.บ.นิรโทษจะทำบ้านเมืองลุกเป็นไฟ
นายชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า การเปิดสมัยประชุมสภาผู้แทนราษฎร ในวันที่ 1 ส.ค.นี้ ยังมีความสับสนว่าจะมีการผลักดัน ร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมฉบับ นายวรชัย เหมะ ส.ส.สมุทรปราการ พรรคเพื่อไทย เป็นวาระแรกหรือไม่ เพราะเป็นที่ชัดเจนแล้วว่า ไม่สามารถพิจารณา ร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายปี 57 เป็นวาระแรกได้ อย่างเร็วที่สุด จะต้องมีการพิจารณาในวันที่ 14 ส.ค. เนื่องจากขณะนี้กระบวนการในชั้นกรรมาธิการยังไม่แล้วเสร็จ และในวันที่เปิดประชุมสภา วันที่ 1 ส.ค. ก็ยังไม่สามารถที่จะพิจารณากฎหมายได้ เพราะเป็นเรื่องที่มีการตกลงกันแล้วว่า จะเป็นเรื่องของการตอบกระทู้ถามสด และกระทู้ทั่วไป จึงเหลือ วันที่ 7-8 ส.ค. ที่จะมีการพิจารณากฎหมายได้
"ขอให้รัฐบาลชะลอการพิจารณา ร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ฉบับนายวรชัย เพื่อให้มีการหารือนอกรอบเกี่ยวกับ พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ฉบับประชาชน ซึ่งพรรคประชาธิปัตย์ ยินดีที่จะเข้าร่วมหารือ เพื่อกำหนดรายละเอียดต่างๆ โดยผู้ที่ได้รับประโยชน์ จะต้องไม่รวมบุคคลที่กระทำผิดประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 คดีทุจริตคอร์รัปชัน และคงกระทำผิดกฎหมายอาญา ทั้งการเผาสถานที่ต่างๆ การใช้อาวุธทำร้ายเจ้าหน้าที่ และกฎหมายนี้จะต้องเอื้อให้กับทุกกลุ่มสีเสื้อ"
นายชวนนท์ ยังเรียกร้องแกนนำคนเสื้อแดง และพรรคเพื่อไทย หยุดการเอาประชาชนมาเป็นตัวประกัน เพื่อผลัดดันกฎหมายล้างผิด ซึ่งชัดเจนแล้วว่า นายอภิสิทธิ์ และ นายสุเทพ ยินดีที่จะเข้ากระบวนการยุติธรรม แกนนำคนเสื้อแดง และพรรคเพื่อไทย ควรจะปล่อยประชาชนให้ออกไปจากกรณีนี้ หากยังดึงดันออกกฎหมายล้างผิดการกระทำของตนเอง นอกจากจะไม่สำเร็จแล้ว ยังจะทำให้แผ่นดินลุกเป็นไฟอีกครั้ง ซึ่งทางพรรคประชาธิปัตย์ จะต่อต้านทั้งในและนอกสภาฯ ตามกรอบรัฐธรรมนูญ
"หากรัฐบาลเดินหน้าร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ฉบับ นายวรชัย และปฏิเสธ ร่าง พ.ร.บ.นิรโทษ ฉบับประชาชน บ้านเมืองก็จะเดินหน้าเข้าสู่ความขัดแย้งแน่นอน แผ่นดินจะลุกเป็นไฟ ซึ่งปชป.จะต่อต้าน เพื่อชะลอ พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ฉบับนายวรชัย ทั้งในและนอกสภาฯ และการที่พรรคเพื่อไทย ปฏิเสธกฎหมายฉบับประชาชน ก็เพื่อต้องการล้างผิดให้ตัวการ ใช่หรือไม่ พรรคเพื่อไทยและน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เลือกได้ว่า จะเดินข้างประชาชน หรือเดินตามผลประโยชน์ส่วนตัว และพวกพ้อง" นายชวนนท์ กล่าว
นายบุญจง วงศ์ไตรรัตน์ ส.ส.นครราชสีมา รองหัวหน้าพรรคภูมิใจไทย ประเมินสถานการณ์ เมื่อเปิดประชุมสภาสมัยสามัญทั่วไป วันที่ 1 ส.ค.นี้ว่า แม้ว่ารัฐบาลที่นำโดยพรรคเพื่อไทยจะเป็นฝ่ายเสียงข้างมาก แต่หากอยากเห็นบ้านเมืองเดินไปได้ ต้องไม่หยิบยกเรื่องที่ยังเป็นประเด็นความขัดแย้งของสังคมมาพิจารณา ถ้าหยิบยก ร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมฯ ขึ้นมาพิจารณาทันทีทั้งที่รัฐบาลรู้ดีว่ามีความขัดแย้งอยู่ เมื่อเปิดสภาแล้วจะเกิดปัญหาแน่นอน นอกจากนี้ยังมีร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ฉบับญาติผู้สูญเสียสลายการชุมนุมอีก ซึ่งเป็นสิทธิของประชาชน ที่จะยื่นขณะที่สภามีหน้าที่ตรวจสอบความถูกต้อง
“ผมเชื่อว่า เนื้อหาสาระของ ร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ทั้งของนายวรชัย เหมะ และของภาคประชาชน ไม่ได้แตกต่างกัน เพราะมีเป้าหมายเพื่อยกโทษให้คนทำผิดกฎหมายบ้านเมือง เพียงแต่ฉบับของภาคประชาชน เน้นการนิรโทษกรรมให้กลุ่มคนระดับประชาชนเป็นหลัก หากเรียงตามลำดับระเบียบวาระการประชุม ร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมฯ ของนายวรชัย จะอยู่ในลำดับแรกอยู่แล้ว แต่หากมีการเสนอให้พิจารณา เชื่อว่าจะเกิดความขัดแย้งในสภา 100 เปอร์เซ็นต์ ” รองหัวหน้าพรรคภูมิใจไทย กล่าว
** 24 ก.ค.นี้รู้จะถกงบ 57 หรือนิรโทษฯก่อน
นายอำนวย คลังผา ส.ส.ลพบุรี พรรคเพื่อไทย ในฐานะประธานวิปรัฐบาล เปิดเผยว่า ในวันที่ 24 ก.ค.นี้ ที่ประชุมวิปรัฐบาล จะมีการกำหนดขั้นตอนว่า จะพิจารณาร่างกฎหมายเรื่องใดก่อน และหลัง โดยยืนยันว่าวันที่ 14-16 ส.ค. เป็นการพิจารณา ร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2557 ซึ่งจะพยายามเร่งพิมพ์รูปเล่มให้เสร็จภายในสัปดาห์นี้ เพราะดำเนินการไปแล้วถึง 80% และทำการปรับลดงบประมาณไปแล้ว 30,000 กว่าล้านบาท โดยเฉลี่ยในทุกกระทรวง ส่วนกระแสข่าวก่อนหน้านี้ ที่จะนำ ร่าง พ.ร.บ.งบประมาณ มาพิจารณาในวันที่ 7-8 ส.ค.นั้น ต้องหารือกับวิปรัฐบาลก่อนว่า ทำได้หรือไม่ เพราะยังมีเรื่องที่ค้างอยู่ในสภาเป็นจำนวนมาก ส่วน พ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านบาทนั้น ยังไม่ได้กำหนดวันหารือที่ชัดเจน
ส่วนกรณีที่นายบุญยอด สุขถิ่นไทย ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ ออกมาระบุว่าอาจจะมีการเปิดประชุมร่วมรัฐสภาในวันที่ 6-7 ส.ค. เพื่อพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ ว่าด้วย ที่มาของส.ว.นั้น ขณะนี้ทางวิปรัฐบาลยังไม่มีการพูดถึงเรื่องดังกล่าว และตนในฐานะ กมธ.พิจารณา ร่าง แก้ไขรัฐธรรมนูญว่าด้วยที่มาของส.ว. ทราบว่า ขณะนี้การพิจารณาเสร็จสิ้นแล้ว ซึ่งประธานกมธ. ได้ส่งเรื่องไปยังนายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานรัฐสภาแล้ว แต่ไม่ทราบว่ามีการบรรจุเข้าไปในระเบียบวาระแล้วหรือไม่ เพราะเป็นอำนาจของประธานรัฐสภา และเรื่องนี้ก็จะมีการพูดถึงในที่ประชุมวิปรัฐบาล วันที่ 24 ก.ค. นี้ ด้วยเช่นกัน
นายจาตุรนต์ ฉายแสง รมว.ศึกษาธิการ กล่าวว่า เมื่อสภาฯ เปิด การเมืองคงจะเข้มข้นขึ้น เพราะฝ่ายต่อต้านคัดค้าน ก็ออกมาแสดงท่าทีว่าจะคัดค้านเรื่องต่างๆ แล้ว และเมื่อเปิดสภา ก็จะมีกฎหมายหลายฉบับเข้าสู่สภา และมีหลายกลุ่มที่ต่อต้านอยู่ ซึ่งต้องหาทางแก้ไข และป้องกันปัญหาต่อไป ส่วนการเตรียมตัวนั้นก็เป็นเรื่องของสภาฯ ส.ส. และพรรคการเมือง ที่จะดูแล ส่วนรัฐบาล ก็เตรียมชี้แจงในส่วนที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ รัฐบาลก็มีกฎหมายงบประมาณฉบับเดียว ที่จะเสนอเข้าสภา และมีเวลาตายตัวอยู่แล้วที่จะพิจารณาในวันที่ 14-15 ส.ค.
"ส่วนวันที่ 7ส.ค. จะพิจารณาอะไร เป็นอีกเรื่องหนึ่งซึ่งก็ต้องแล้วแต่สภา แต่กฎหมายงบประมาณไม่ได้ไปขัดแย้งกับกฎหมายใดๆ ทั้งสิ้น และถ้าต้องการพิจารณากฎหมายนิรโทษ เร็วๆ ก็พิจารณาวันที่ 7 ส.ค.ได้" นายจาตุรนต์ กล่าว และว่า ขณะนี้ พรรคเพื่อไทย ยังไม่มีข้อสรุปว่าจะพิจารณากฎหมายใดก่อน แต่เร็วๆนี้ น่าจะมีข้อสรุปออกมา
** เผย 6-7 ส.ค.ประชุมร่วมรัฐสภา แก้รธน.
นายสุรชัย ชัยตระกูลทอง ส.ว.ชลบุรี ในฐานะเลขานุการคณะกรรมาธิการวิสามัญกิจการวุฒิสภา (วิปวุฒิสภา) กล่าวว่า จะมีการเรียกประชุมวิปวุฒิสภา วันที่ 31 ก.ค. เพื่อหารือก่อนเปิดสมัยประชุมรัฐสภาวันที่ 1 ส.ค. โดยกำหนดกรอบการพิจารณาไว้คร่าวๆ วันที่ 2 ส.ค. จะมีการประชุมวุฒิสภา เพื่อพิจารณา ร่าง พ.ร.บ.ที่ค้างอยู่ 1 ฉบับ คือ ร่าง พ.ร.บ.กำหนดวิทยฐานะผู้สำเร็จวิชาการทหาร และจากที่ได้รับการประสานจากวิปรัฐบาล ในวันที่ 6-7 ส.ค.นี้ จะเปิดประชุมร่วมรัฐสภา เพื่อพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 111 มาตรา 112 มาตรา 115 มาตรา 116 วรรคสอง มาตรา 117 มาตรา 118 มาตรา 120 และมาตรา 241 วรรคหนึ่ง และยกเลิกมาตรา 113 และ มาตรา 114 เกี่ยวกับที่มาของ ส.ว.
เมื่อถามว่า ทางรัฐบาลวางไว้ว่า จะพิจารณา ร่าง พ.ร.บ.งบประมาณ 2557 วาระ 2และ 3 ในช่วงวันที่ 7 ส.ค. นายสุรชัย กล่าวว่า ต้องรอฟังผลการประชุมวิปรัฐบาล วันที่ 24 ก.ค.นี้ก่อน แต่เท่าที่ได้รับการประสานคร่าวๆ คือ แก้รัฐธรรมนูญเอาเฉพาะประเด็นนี้ก่อน ส่วนวาระร้อนแรงอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็น ร่าง พ.ร.บ.ปรองดอง หรือนิรโทษกรรม ร่าง พ.ร.บ.เงินกู้ 2 ล้านล้านบาท ขึ้นอยู่กับทางสภาผู้แทนราษฎรว่าจะเอาอย่างไร
นายนิคม ไวยรัชพานิช ประธานวุฒิสภา ในฐานะรองประธานรัฐสภา กล่าวถึงกรณีที่ นายบุญยอด สุขถิ่นไทย ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ ระบุว่า ได้รับแจ้งอย่างไม่เป็นทางการว่าจะมีการเปิดประชุมร่วมสองสภา ในวันที่ 6-7 ส.ค.นี้ เพื่อพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับที่มาของ ส.ว. ว่า เบื้องต้น เรื่องของการกำหนดวัน ยังไม่มีความชัดเจน แต่ก็น่าจะมีการพิจารณาในช่วงเวลาที่ใกล้เคียงดังกล่าว ซึ่งคงต้องรอความชัดเจนอีกครั้ง เพราะขณะนี้ยังมีกฎหมายที่อยู่ในระเบียบวาระอยู่หลายฉบับ
ส่วนวาระการแถลงผลงานครบรอบ 1 ปี ของรัฐบาล ซึ่งล่าสุดนายอำนวย คลังผา ประธานวิปรัฐบาล ยืนยันว่า จะมีขึ้นในสมัยประชุมนี้อย่างแน่นอนนั้น นายนิคม กล่าวว่า เชื่อว่าก็น่าจะมีการพิจารณาในสมัยประชุมนี้ เพราะเป็นสมัยสามัญทั่วไป แต่ขณะนี้ทางวิปรัฐบาลยังไม่ได้มีการประสานมายังรัฐสภาแต่อย่างใด ทั้งนี้คงต้องรอให้ทางรัฐบาลมีการหารือกันก่อน
ผู้สื่อข่าวถามถึง สถานการณ์ทางการเมือง หลังจากเปิดประชุมสภาผู้แทนราษฎร ที่ขณะนี้มีวาระสำคัญ เช่น ร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ที่ค้างอยู่ในวาระการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรนั้น นายนิคม กล่าวว่า กฎหมายเหล่านี้จะต้องผ่านการพิจารณาถึง 3 วาระ อีกทั้งจะต้องผ่านการพิจารณาในชั้นกรรมาธิการ ซึ่งต้องใช้เวลานาน กว่าจะมีผลบังคับใช้ ดังนั้นอย่างเพิ่งไปมองว่าหากนำกฎหมายเหล่านี้ขึ้นมาพิจารณาแล้วจะทำให้เกิดความวุ่นวาย เพราะการจะออกกฎหมายแต่ละฉบับ ไม่ได้ออกกันง่ายๆ ส่วนประเด็นที่มีการมองว่าจะเกิดความวุ่นวายนั้น ตนเชื่อว่าก็คงมีบ้าง แต่หากทุกคนต่างทำหน้าที่ของตนเอง อย่าทำให้บ้านเมืองวุ่นวาย ตนก็เชื่อว่าไม่มีอะไรต้องกังวล
**ยังไม่เอาพ.ร.บ.นิรโทษเข้าสภากลาโหม
พ.อ.ธนาธิป สว่างแสง โฆษกกระทรวงกลาโหม ให้สัมภาณ์ถึงกรณีที่วันที่ 26 ก.ค.นี้ น.ส.ยิ่งลัษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม จะเข้าร่วมประชุมสภากลาโหมเป็นครั้งแรก และอาจจะมีการนำ พ.ร.บ.นิรโทษกรรม เข้าที่ประชุมด้วยหรือไม่ว่า ในการประชุมสภากลาโหมครั้งนี้ จะยังไม่มีวาระดังกล่าวเข้าที่ประชุมอย่างแน่นอน เป็นการประชุมสภาลกาโหมตามปกติ ที่รมว.กลาโหม จะต้องชี้แจงในที่ประชุมต่อหน่วยขึ้นตรงให้ได้รับทราบทั่วไป และในการประชุมจะมีการเอาระเบียบครม. มาให้ที่ประชุมรับทราบต่อไปว่า มีอะไรบ้าง รวมไปถึงการพูดคุยในการประชุมครั้งที่ผ่านมา
ทั้งนี้ การจะนำ พ.ร.บ.นิรโทษกรรม เข้าที่ประชุมสภากลาโหม จะต้องมีการเตรียมเรื่องล่วงหน้าไว้ก่อน ไม่ใช่อยู่ๆ จะสามารถนำเรื่องเข้าที่ประชุมได้ทันที โดยจะมีห้วงของเวลานั้นเป็นตัวกำหนดอยู่ ทั้งนี้ ขอยืนยันว่า พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ต้องมีการส่งเรื่องมาก่อนล่วงหน้า จึงจะสามารถทำได้
พ.อ.ธนาธิป กล่าวต่อว่า การออก พ.ร.บ.นิรโทษกรรม สามารถทำได้โดยผ่าน 3 ช่องทาง คือ 1. หน่วยขึ้นตรงต้องส่งเรื่องผ่านมายังสำนักนโยบายและแผน ของกระทรวงกลาโหม จากนั้นจะนำเรียนไปที่ปลัดกระทรวงกลาโหม เพื่อผ่านเรื่องต่อไปยังรัฐมนตรี 2. ผบ.เหล่าทัพ จะต้องเป็นคนนำเรื่องเข้าสู่ที่ประชุมโดยตรง 3. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม มีสิทธิ์นำเข้าได้ด้วยตนเอง
** "เสธ.อ้าย"ปัดกลุ่มทุนหนุน อพส.
พล.อ.บุญเลิศ แก้วประสิทธิ์ อดีตประธานองค์การพิทักษ์สยาม (อพส.) กล่าวว่า การเปิดตัวคณะเสนาธิการร่วม ก็เพราะต้องการเดินหน้าขับไล่รัฐบาลภายใต้ระบอบทักษิณออกไปจึงมีการแต่งตั้งพล.ร.อ.ชัย สุวรรณภาพ เป็นประธาน อพส. คนใหม่แทน
"ผมยืนยันว่าอพส.ไม่มีเงินทุนสนับสนุน ที่มีการบอกว่ามีเงินทุนกว่า 3,000 ล้านบาทนั้น ขอปฏิเสธว่าไม่มี เพราะไม่มีใครให้เงินทุนเหล่านี้แก่กลุ่มอพส.ทั้งนั้น ทุกวันนี้ค่าเช่าสถานที่ในการจัดกิจกรรมต่างๆ ก็ออกค่าใช้จ่ายเองมาโดยตลอด ไม่เคยมีนายทุนคนไหนช่วยเหลือ" พล.อ.บุญเลิศ กล่าว
พล.อ.บุญเลิศกล่าวอีกว่า รัฐบาลทำให้ชาติเสียหายจากโครงการรับจำนำข้าว ทำให้ทุกวันนี้ชาวนาได้รับความเดือดร้อนมาก เพราะชาวนาไม่เคยได้ประโยชน์จากโครงการดังกล่าวเลย มีแต่จะเสียผลประโยชน์ด้วยซ้ำ ในทางกลับกันรัฐบาลและส.ส.ทั้งหลาย กลับได้รับผลประโยชน์โดยตรง นอกจากนี้การนำเอาผู้หญิงมาเป็นรมว.กลาโหม ส่วนตัวรับไม่ได้ เพราะเป็นการดูถูกทหารชัดๆ เท่ากับเป็นการไม่ให้เกียรติทหาร และนำคนที่ไม่มีความรู้ความสามารถมาปกครอง เหตุผลเพียงแค่นี้ ก็เชื่อว่าก็สามารถขับไล่รัฐบาลชุดนี้ออกไปได้
** "แดงพะเยา"แนะไปประชุมสภาที่เชียงใหม่
นายธนพัฒน์ ชัยชนะ ประธานชมรมแดงพะเยาหลังเขาจุน อ.จุน จ.พะเยา เปิดเผยว่า ตามที่จะมีการเปิดประชุมสภาในวันที่ 1 ส.ค.นี้ ขณะเดียวกันก็ได้มีการเตรียมเคลื่อนไหวโดยการชุมนุมของกลุ่มกองทัพประชาชนโค่นระบอบทักษิณ ในวันที่ 4 ส.ค. ทำให้กลุ่มคนเสื้อแดงเป็นห่วงการประชุมสภาฯ จะเกิดความวุ่นวาย อาจจะถูกปิดล้อมรัฐสภา ทำให้การประชุมเป็นไปอย่างลำบาก
ดังนั้นจึงได้ทำหนังสือเสนอถึงประธานรัฐสภา ผ่านนายวิสุทธิ์ ไชยณรุณ รองประธานสภาผู้แทนราษฎร ขอให้ย้ายการประชุมสภาฯ มาทำการประชุมที่ จ.เชียงใหม่แทน ซึ่งกลุ่มคนเสื้อแดงภาคเหนือ และอีกหลายจังหวัดใกล้เคียง พร้อมจะนำกำลังไปร่วมกันปกป้องการประชุมให้ราบรื่น ไม่ให้มีกลุ่มชุมนุมต่อต้านรัฐบาลปิดล้อม หรือบุกเข้าไปที่ประชุมสภาฯ ได้
นอกจากนี้ อยากเรียกร้องให้รัฐบาลพิจารณา ร่าง พ.ร.บ. นิรโทษกรรม ให้ผ่านโดยเร็ว เนื่องจากเห็นใจพี่น้องเสื้อแดง และประชาชนที่บริสุทธิ์ ถูกจำคุกมานานถึง 3 ปีแล้ว ทั้งๆ ที่ไม่ได้มีความผิดใดๆ ในทางการเมือง ความหวังของพี่น้อง ญาติของคนเสื้อแดง ที่ถูกจำคุกอยู่ที่รัฐบาลของน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร จะแสดงความจริงใจ ที่จะให้ความช่วยเหลือคนเสื้อแดง และประชาชนที่บริสุทธิ์ในเรื่องนี้อย่างจริงจังต่อไป
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า ในการเปิดประชุมสภาสมัยสามัญทั่วไป ในวันที่ 1 ส.ค.นี้ รัฐบาลควรแถลงผลงานครบรอบ 1 ปีก่อน ส่วนเรื่องที่จะเป็นปมความขัดแย้งมากๆ โดยเฉพาะรัฐธรรมนูญ มาตรา 68 เรื่องของกฎหมายนิรโทษกรรม นั้น ควรจะพักไว้ก่อน แล้วก็เอาเรื่องอื่นๆ อย่างเช่นเรื่องวิธีการจัดสรรนโยบายงบประมาณ มาว่ากันไปตามปกติ เพื่อไม่ให้เกิดความขัดแย้ง
เมื่อเปิดสภามาจะตรงกับวันพฤหัสบดี ปกติต้องเป็นเรื่องการตั้งกระทู้ถามสด และกระทู้ทั่วไป จากนั้นในช่วงบ่าย จะเป็นการพิจารณาเรื่องอื่นๆ บางทีวิปเขาจะเสนอเปลี่ยนแปลงระเบียบวาระ ซึ่งอาจจะไม่ได้เปลี่ยนแปลงแล้วก็มีผลในการพิจารณาวันนั้นเลย เพราะว่าข้อบังคับของสภานั้นบอกว่า ถ้าเป็นเรื่องกฎหมาย เลื่อนขึ้นแล้วให้พิจารณาในครั้งต่อไป คือเขาไม่ต้องการให้กฎหมายซึ่งมันเป็นเรื่องที่สมาชิกต้องดูรายละเอียด ก่อนที่จะอภิปราย ไม่ใช่หยิบขึ้นมาแล้วก็พิจารณากันเลย ถ้าหยิบขึ้นมาก็ต้องเปิดโอกาสให้สมาชิกกลับไปดู แล้วมาประชุมครั้งต่อไป ถึงจะเริ่มต้นได้ แต่ข้อบังคับ ก็มีข้อยกเว้นได้ คือหากอยากจะทำจริงๆ หยิบกฎหมายขึ้นมาพิจารณาเลย ก็ต้องขอยกเว้นข้อบังคับ ซึ่งถ้าเขาขอยกเว้นข้อบังคับ ต้องใช้มติ 2 ใน 3
อย่างไรก็ตาม หากเรียงตามวาระที่ได้จัดไว้แล้ว เรื่องที่มาอันดับแรก คือ ร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ของนายวรชัย เหมะ ส.ส.สมุทรปราการ พรรคเพื่อไทย ที่สภามีมติเลื่อนขึ้นมาเป็นอันดับแรก ในปลายสมัยประชุมครั้งที่แล้ว แต่ปกติหากมีเรื่องที่คณะกรรมาธิการพิจารณาเสร็จแล้วก็จะบรรจุไว้ก่อน เพราะถือว่ากฎหมายจะได้เสร็จ และส่งต่อไปให้วุฒิสภาพิจารณา เพราะฉะนั้นกฎหมายที่คาดว่าจะมีรายงานของกรรมาธิการเสร็จ น่าจะเป็น ร่าง พ.ร.บ.เงินกู้ 2 ล้านล้านบาท เพราะว่าได้ประชุมพิจารณาจนเสร็จเรียบร้อยแล้ว
ส่วน ร่าง พ.ร.บ.งบประมาณปี 2557 นั้น ตามกำหนดการเดิม จะพิจารณากันวันที่ 14-15 ส.ค. หากจะเลื่อนมาพิจารณาวันที่ 7-8 ส.ค. ก็ต้องเร่งการทำงานของกรรมาธิการ ซึ่งเป็นไปได้ยาก แต่ก็มีอีก 2 เรื่อง ที่ยังไม่รู้ว่าจะเกิดอะไรขึ้น คือว่า เรื่องรัฐธรรมนูญที่ค้างอยู่ แต่เป็นการประชุมร่วมของ 2 สภา ซึ่งไมได้กำหนดตายตัวว่า จะประชุมวันไหน แต่ปกติจะเลี่ยงไม่ให้ตรงกับวันประชุมสภา แต่ล่าสุดก็มีข่าวว่าวันที่ 6-7 ส.ค. จะมีการพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ ในเรื่องของวุฒิสภา เพราะฉะนั้นเรื่องนี้ก็เป็นอีกประเด็นหนึ่งที่อาจจะเข้ามาได้ในช่วงนี้
"จุดยืนของพรรคประชาธิปัตย์ คิดว่าควรจะพิจารณาเรื่องผลงานก่อน เพราะค้างมานานแล้ว ส่วนเรื่องไหนที่จะเป็นปมความขัดแย้งมากๆ โดยเฉพาะรัฐธรรมนูญ มาตรา 68 เรื่องกฎหมายนิรโทษกรรม ควรจะพักไว้ก่อน แล้วเอาเรื่องอื่นๆ เช่น เงินกู้ 2 ล้านล้านบาท แม้เราไม่เห็นด้วย แต่ว่าเป็นเรื่องนโยบายงบประมาณ เป็นการทำหน้าที่รัฐบาลก็เอาเข้ามา ว่ากันไปตามปกติ มันน่าจะเป็นอย่างนั้นก่อนโดยหลัก ถ้าจะไม่อยากให้เกิดความขัดแย้งกัน”
** หนุนใช้ร่างนิรโทษฯฉบับปชช.เป็นหลัก
ส่วน ร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ฉบับของภาคประชาชน ได้มีการชี้แจงกันค่อนข้างชัดว่า ทำไมเราถึงให้ความสนใจกับฉบับของญาติผู้เสียชีวิต เพราะเราเห็นว่า เป็นวิธีเขียนกฎหมายที่มีความชัดเจนมากที่สุด ในบรรดากฎหมายทุกฉบับ ก็คือไม่เหมารวม อ้างว่าเป็นคดีการเมืองหรือไม่การเมือง แต่จำแนกแจกแจงในแง่ของความผิด ว่าคนทำผิดประเภทไหน สมควรได้รับการนิรโทษกรรม
นายอภิสิทธิ์ กล่าวด้วยว่า ตนยืนยันว่าขั้นตอนขณะนี้คือ เราเรียกร้องว่าฉบับอื่นต้องถอนออกมาให้หมดก่อน แล้วมาไล่เรียงตามฉบับนี้ ว่าอะไรที่เราควรนิรโทษกรรม ไม่ควรนิรโทษกรรม ต้องเขียนกฎหมายแบบนี้ ตัดเรื่องคดีทุจริตออกไปก่อน แล้วก็ตั้งต้นจากการที่พยายามจะช่วยเหลือประชาชนที่เขาไปแสดงออกทางการเมือง ตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ ในสถานการณ์ปกติ เพราะฉะนั้น การที่เขาจำแนกเอาไว้ว่า เช่น ไปกระทำผิดต่อร่างกาย ชีวิต ใช้อาวุธ ไม่นิรโทษกรรมนั้น ตนว่าเป็นหลักที่ดีมาก เราควรจะตั้งต้นจากตรงนี้ ที่ยังไม่เห็นด้วยกับเขาก็คือ 1. คนอาจจะไปตีความให้มันรวม มาตรา 112 ตนเห็นคำให้สัมภาษณ์ของผู้เสนอ เขาบอกเขาก็ไม่ได้มีเจตนา ก็ไปเขียนให้ชัดนะครับว่า ผิดมาตรา 112 ไม่นิรโทษกรรมให้ ส่วนที่ไว้เฉพาะเผาทรัพย์สินเอกชนนั้น ตนไม่เห็นด้วย การเผาทรัพย์สินราชการก็ต้องนิรโทษกรรมไม่ได้ ซึ่งเป็นประเด็นที่ต้องมาคุยกันเพื่อไม่ให้มีปัญหา ดีที่สุดคือ มาคุยกันนอกรอบให้มันจบ แล้วเสนอร่วมกัน
"เพราะฉะนั้นยืนยันครับ ไม่มีตกหลุมพราง ไม่มีอะไรทั้งนั้น ตรงกันข้ามครับ การที่เราไม่ยอมรับเลย ในเรื่องของการนิรโทษกรรมนั้น มันจะทำให้ฝ่ายคุณทักษิณ เอาประชาชนเป็นตัวประกัน บังหน้าไม่จบไม่สิ้น นี่เป็นโอกาสดีที่สุดแล้วครับ ที่จะแยกให้เห็นว่า ระหว่างคนที่ตั้งใจจะช่วยประชาชนธรรมดา กับคนที่จะเอาผลประโยชน์ของตัวเอง แล้วก็แอบอยู่ข้างหลังประชาชนนั้น เราจะเลือกอะไร และหากรัฐบาลยังดึงดันเอากฎหมายนิรโทษกรรม เข้าสภาเป็นวาระแรกๆ แล้วเอากฎหมายอื่นๆ เข้าไปผสมด้วย เรายังคงคัดค้านเต็มที่ " นายอภิสิทธิ์ กล่าว
**พ.ร.บ.นิรโทษจะทำบ้านเมืองลุกเป็นไฟ
นายชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า การเปิดสมัยประชุมสภาผู้แทนราษฎร ในวันที่ 1 ส.ค.นี้ ยังมีความสับสนว่าจะมีการผลักดัน ร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมฉบับ นายวรชัย เหมะ ส.ส.สมุทรปราการ พรรคเพื่อไทย เป็นวาระแรกหรือไม่ เพราะเป็นที่ชัดเจนแล้วว่า ไม่สามารถพิจารณา ร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายปี 57 เป็นวาระแรกได้ อย่างเร็วที่สุด จะต้องมีการพิจารณาในวันที่ 14 ส.ค. เนื่องจากขณะนี้กระบวนการในชั้นกรรมาธิการยังไม่แล้วเสร็จ และในวันที่เปิดประชุมสภา วันที่ 1 ส.ค. ก็ยังไม่สามารถที่จะพิจารณากฎหมายได้ เพราะเป็นเรื่องที่มีการตกลงกันแล้วว่า จะเป็นเรื่องของการตอบกระทู้ถามสด และกระทู้ทั่วไป จึงเหลือ วันที่ 7-8 ส.ค. ที่จะมีการพิจารณากฎหมายได้
"ขอให้รัฐบาลชะลอการพิจารณา ร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ฉบับนายวรชัย เพื่อให้มีการหารือนอกรอบเกี่ยวกับ พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ฉบับประชาชน ซึ่งพรรคประชาธิปัตย์ ยินดีที่จะเข้าร่วมหารือ เพื่อกำหนดรายละเอียดต่างๆ โดยผู้ที่ได้รับประโยชน์ จะต้องไม่รวมบุคคลที่กระทำผิดประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 คดีทุจริตคอร์รัปชัน และคงกระทำผิดกฎหมายอาญา ทั้งการเผาสถานที่ต่างๆ การใช้อาวุธทำร้ายเจ้าหน้าที่ และกฎหมายนี้จะต้องเอื้อให้กับทุกกลุ่มสีเสื้อ"
นายชวนนท์ ยังเรียกร้องแกนนำคนเสื้อแดง และพรรคเพื่อไทย หยุดการเอาประชาชนมาเป็นตัวประกัน เพื่อผลัดดันกฎหมายล้างผิด ซึ่งชัดเจนแล้วว่า นายอภิสิทธิ์ และ นายสุเทพ ยินดีที่จะเข้ากระบวนการยุติธรรม แกนนำคนเสื้อแดง และพรรคเพื่อไทย ควรจะปล่อยประชาชนให้ออกไปจากกรณีนี้ หากยังดึงดันออกกฎหมายล้างผิดการกระทำของตนเอง นอกจากจะไม่สำเร็จแล้ว ยังจะทำให้แผ่นดินลุกเป็นไฟอีกครั้ง ซึ่งทางพรรคประชาธิปัตย์ จะต่อต้านทั้งในและนอกสภาฯ ตามกรอบรัฐธรรมนูญ
"หากรัฐบาลเดินหน้าร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ฉบับ นายวรชัย และปฏิเสธ ร่าง พ.ร.บ.นิรโทษ ฉบับประชาชน บ้านเมืองก็จะเดินหน้าเข้าสู่ความขัดแย้งแน่นอน แผ่นดินจะลุกเป็นไฟ ซึ่งปชป.จะต่อต้าน เพื่อชะลอ พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ฉบับนายวรชัย ทั้งในและนอกสภาฯ และการที่พรรคเพื่อไทย ปฏิเสธกฎหมายฉบับประชาชน ก็เพื่อต้องการล้างผิดให้ตัวการ ใช่หรือไม่ พรรคเพื่อไทยและน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เลือกได้ว่า จะเดินข้างประชาชน หรือเดินตามผลประโยชน์ส่วนตัว และพวกพ้อง" นายชวนนท์ กล่าว
นายบุญจง วงศ์ไตรรัตน์ ส.ส.นครราชสีมา รองหัวหน้าพรรคภูมิใจไทย ประเมินสถานการณ์ เมื่อเปิดประชุมสภาสมัยสามัญทั่วไป วันที่ 1 ส.ค.นี้ว่า แม้ว่ารัฐบาลที่นำโดยพรรคเพื่อไทยจะเป็นฝ่ายเสียงข้างมาก แต่หากอยากเห็นบ้านเมืองเดินไปได้ ต้องไม่หยิบยกเรื่องที่ยังเป็นประเด็นความขัดแย้งของสังคมมาพิจารณา ถ้าหยิบยก ร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมฯ ขึ้นมาพิจารณาทันทีทั้งที่รัฐบาลรู้ดีว่ามีความขัดแย้งอยู่ เมื่อเปิดสภาแล้วจะเกิดปัญหาแน่นอน นอกจากนี้ยังมีร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ฉบับญาติผู้สูญเสียสลายการชุมนุมอีก ซึ่งเป็นสิทธิของประชาชน ที่จะยื่นขณะที่สภามีหน้าที่ตรวจสอบความถูกต้อง
“ผมเชื่อว่า เนื้อหาสาระของ ร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ทั้งของนายวรชัย เหมะ และของภาคประชาชน ไม่ได้แตกต่างกัน เพราะมีเป้าหมายเพื่อยกโทษให้คนทำผิดกฎหมายบ้านเมือง เพียงแต่ฉบับของภาคประชาชน เน้นการนิรโทษกรรมให้กลุ่มคนระดับประชาชนเป็นหลัก หากเรียงตามลำดับระเบียบวาระการประชุม ร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมฯ ของนายวรชัย จะอยู่ในลำดับแรกอยู่แล้ว แต่หากมีการเสนอให้พิจารณา เชื่อว่าจะเกิดความขัดแย้งในสภา 100 เปอร์เซ็นต์ ” รองหัวหน้าพรรคภูมิใจไทย กล่าว
** 24 ก.ค.นี้รู้จะถกงบ 57 หรือนิรโทษฯก่อน
นายอำนวย คลังผา ส.ส.ลพบุรี พรรคเพื่อไทย ในฐานะประธานวิปรัฐบาล เปิดเผยว่า ในวันที่ 24 ก.ค.นี้ ที่ประชุมวิปรัฐบาล จะมีการกำหนดขั้นตอนว่า จะพิจารณาร่างกฎหมายเรื่องใดก่อน และหลัง โดยยืนยันว่าวันที่ 14-16 ส.ค. เป็นการพิจารณา ร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2557 ซึ่งจะพยายามเร่งพิมพ์รูปเล่มให้เสร็จภายในสัปดาห์นี้ เพราะดำเนินการไปแล้วถึง 80% และทำการปรับลดงบประมาณไปแล้ว 30,000 กว่าล้านบาท โดยเฉลี่ยในทุกกระทรวง ส่วนกระแสข่าวก่อนหน้านี้ ที่จะนำ ร่าง พ.ร.บ.งบประมาณ มาพิจารณาในวันที่ 7-8 ส.ค.นั้น ต้องหารือกับวิปรัฐบาลก่อนว่า ทำได้หรือไม่ เพราะยังมีเรื่องที่ค้างอยู่ในสภาเป็นจำนวนมาก ส่วน พ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านบาทนั้น ยังไม่ได้กำหนดวันหารือที่ชัดเจน
ส่วนกรณีที่นายบุญยอด สุขถิ่นไทย ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ ออกมาระบุว่าอาจจะมีการเปิดประชุมร่วมรัฐสภาในวันที่ 6-7 ส.ค. เพื่อพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ ว่าด้วย ที่มาของส.ว.นั้น ขณะนี้ทางวิปรัฐบาลยังไม่มีการพูดถึงเรื่องดังกล่าว และตนในฐานะ กมธ.พิจารณา ร่าง แก้ไขรัฐธรรมนูญว่าด้วยที่มาของส.ว. ทราบว่า ขณะนี้การพิจารณาเสร็จสิ้นแล้ว ซึ่งประธานกมธ. ได้ส่งเรื่องไปยังนายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานรัฐสภาแล้ว แต่ไม่ทราบว่ามีการบรรจุเข้าไปในระเบียบวาระแล้วหรือไม่ เพราะเป็นอำนาจของประธานรัฐสภา และเรื่องนี้ก็จะมีการพูดถึงในที่ประชุมวิปรัฐบาล วันที่ 24 ก.ค. นี้ ด้วยเช่นกัน
นายจาตุรนต์ ฉายแสง รมว.ศึกษาธิการ กล่าวว่า เมื่อสภาฯ เปิด การเมืองคงจะเข้มข้นขึ้น เพราะฝ่ายต่อต้านคัดค้าน ก็ออกมาแสดงท่าทีว่าจะคัดค้านเรื่องต่างๆ แล้ว และเมื่อเปิดสภา ก็จะมีกฎหมายหลายฉบับเข้าสู่สภา และมีหลายกลุ่มที่ต่อต้านอยู่ ซึ่งต้องหาทางแก้ไข และป้องกันปัญหาต่อไป ส่วนการเตรียมตัวนั้นก็เป็นเรื่องของสภาฯ ส.ส. และพรรคการเมือง ที่จะดูแล ส่วนรัฐบาล ก็เตรียมชี้แจงในส่วนที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ รัฐบาลก็มีกฎหมายงบประมาณฉบับเดียว ที่จะเสนอเข้าสภา และมีเวลาตายตัวอยู่แล้วที่จะพิจารณาในวันที่ 14-15 ส.ค.
"ส่วนวันที่ 7ส.ค. จะพิจารณาอะไร เป็นอีกเรื่องหนึ่งซึ่งก็ต้องแล้วแต่สภา แต่กฎหมายงบประมาณไม่ได้ไปขัดแย้งกับกฎหมายใดๆ ทั้งสิ้น และถ้าต้องการพิจารณากฎหมายนิรโทษ เร็วๆ ก็พิจารณาวันที่ 7 ส.ค.ได้" นายจาตุรนต์ กล่าว และว่า ขณะนี้ พรรคเพื่อไทย ยังไม่มีข้อสรุปว่าจะพิจารณากฎหมายใดก่อน แต่เร็วๆนี้ น่าจะมีข้อสรุปออกมา
** เผย 6-7 ส.ค.ประชุมร่วมรัฐสภา แก้รธน.
นายสุรชัย ชัยตระกูลทอง ส.ว.ชลบุรี ในฐานะเลขานุการคณะกรรมาธิการวิสามัญกิจการวุฒิสภา (วิปวุฒิสภา) กล่าวว่า จะมีการเรียกประชุมวิปวุฒิสภา วันที่ 31 ก.ค. เพื่อหารือก่อนเปิดสมัยประชุมรัฐสภาวันที่ 1 ส.ค. โดยกำหนดกรอบการพิจารณาไว้คร่าวๆ วันที่ 2 ส.ค. จะมีการประชุมวุฒิสภา เพื่อพิจารณา ร่าง พ.ร.บ.ที่ค้างอยู่ 1 ฉบับ คือ ร่าง พ.ร.บ.กำหนดวิทยฐานะผู้สำเร็จวิชาการทหาร และจากที่ได้รับการประสานจากวิปรัฐบาล ในวันที่ 6-7 ส.ค.นี้ จะเปิดประชุมร่วมรัฐสภา เพื่อพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 111 มาตรา 112 มาตรา 115 มาตรา 116 วรรคสอง มาตรา 117 มาตรา 118 มาตรา 120 และมาตรา 241 วรรคหนึ่ง และยกเลิกมาตรา 113 และ มาตรา 114 เกี่ยวกับที่มาของ ส.ว.
เมื่อถามว่า ทางรัฐบาลวางไว้ว่า จะพิจารณา ร่าง พ.ร.บ.งบประมาณ 2557 วาระ 2และ 3 ในช่วงวันที่ 7 ส.ค. นายสุรชัย กล่าวว่า ต้องรอฟังผลการประชุมวิปรัฐบาล วันที่ 24 ก.ค.นี้ก่อน แต่เท่าที่ได้รับการประสานคร่าวๆ คือ แก้รัฐธรรมนูญเอาเฉพาะประเด็นนี้ก่อน ส่วนวาระร้อนแรงอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็น ร่าง พ.ร.บ.ปรองดอง หรือนิรโทษกรรม ร่าง พ.ร.บ.เงินกู้ 2 ล้านล้านบาท ขึ้นอยู่กับทางสภาผู้แทนราษฎรว่าจะเอาอย่างไร
นายนิคม ไวยรัชพานิช ประธานวุฒิสภา ในฐานะรองประธานรัฐสภา กล่าวถึงกรณีที่ นายบุญยอด สุขถิ่นไทย ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ ระบุว่า ได้รับแจ้งอย่างไม่เป็นทางการว่าจะมีการเปิดประชุมร่วมสองสภา ในวันที่ 6-7 ส.ค.นี้ เพื่อพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับที่มาของ ส.ว. ว่า เบื้องต้น เรื่องของการกำหนดวัน ยังไม่มีความชัดเจน แต่ก็น่าจะมีการพิจารณาในช่วงเวลาที่ใกล้เคียงดังกล่าว ซึ่งคงต้องรอความชัดเจนอีกครั้ง เพราะขณะนี้ยังมีกฎหมายที่อยู่ในระเบียบวาระอยู่หลายฉบับ
ส่วนวาระการแถลงผลงานครบรอบ 1 ปี ของรัฐบาล ซึ่งล่าสุดนายอำนวย คลังผา ประธานวิปรัฐบาล ยืนยันว่า จะมีขึ้นในสมัยประชุมนี้อย่างแน่นอนนั้น นายนิคม กล่าวว่า เชื่อว่าก็น่าจะมีการพิจารณาในสมัยประชุมนี้ เพราะเป็นสมัยสามัญทั่วไป แต่ขณะนี้ทางวิปรัฐบาลยังไม่ได้มีการประสานมายังรัฐสภาแต่อย่างใด ทั้งนี้คงต้องรอให้ทางรัฐบาลมีการหารือกันก่อน
ผู้สื่อข่าวถามถึง สถานการณ์ทางการเมือง หลังจากเปิดประชุมสภาผู้แทนราษฎร ที่ขณะนี้มีวาระสำคัญ เช่น ร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ที่ค้างอยู่ในวาระการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรนั้น นายนิคม กล่าวว่า กฎหมายเหล่านี้จะต้องผ่านการพิจารณาถึง 3 วาระ อีกทั้งจะต้องผ่านการพิจารณาในชั้นกรรมาธิการ ซึ่งต้องใช้เวลานาน กว่าจะมีผลบังคับใช้ ดังนั้นอย่างเพิ่งไปมองว่าหากนำกฎหมายเหล่านี้ขึ้นมาพิจารณาแล้วจะทำให้เกิดความวุ่นวาย เพราะการจะออกกฎหมายแต่ละฉบับ ไม่ได้ออกกันง่ายๆ ส่วนประเด็นที่มีการมองว่าจะเกิดความวุ่นวายนั้น ตนเชื่อว่าก็คงมีบ้าง แต่หากทุกคนต่างทำหน้าที่ของตนเอง อย่าทำให้บ้านเมืองวุ่นวาย ตนก็เชื่อว่าไม่มีอะไรต้องกังวล
**ยังไม่เอาพ.ร.บ.นิรโทษเข้าสภากลาโหม
พ.อ.ธนาธิป สว่างแสง โฆษกกระทรวงกลาโหม ให้สัมภาณ์ถึงกรณีที่วันที่ 26 ก.ค.นี้ น.ส.ยิ่งลัษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม จะเข้าร่วมประชุมสภากลาโหมเป็นครั้งแรก และอาจจะมีการนำ พ.ร.บ.นิรโทษกรรม เข้าที่ประชุมด้วยหรือไม่ว่า ในการประชุมสภากลาโหมครั้งนี้ จะยังไม่มีวาระดังกล่าวเข้าที่ประชุมอย่างแน่นอน เป็นการประชุมสภาลกาโหมตามปกติ ที่รมว.กลาโหม จะต้องชี้แจงในที่ประชุมต่อหน่วยขึ้นตรงให้ได้รับทราบทั่วไป และในการประชุมจะมีการเอาระเบียบครม. มาให้ที่ประชุมรับทราบต่อไปว่า มีอะไรบ้าง รวมไปถึงการพูดคุยในการประชุมครั้งที่ผ่านมา
ทั้งนี้ การจะนำ พ.ร.บ.นิรโทษกรรม เข้าที่ประชุมสภากลาโหม จะต้องมีการเตรียมเรื่องล่วงหน้าไว้ก่อน ไม่ใช่อยู่ๆ จะสามารถนำเรื่องเข้าที่ประชุมได้ทันที โดยจะมีห้วงของเวลานั้นเป็นตัวกำหนดอยู่ ทั้งนี้ ขอยืนยันว่า พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ต้องมีการส่งเรื่องมาก่อนล่วงหน้า จึงจะสามารถทำได้
พ.อ.ธนาธิป กล่าวต่อว่า การออก พ.ร.บ.นิรโทษกรรม สามารถทำได้โดยผ่าน 3 ช่องทาง คือ 1. หน่วยขึ้นตรงต้องส่งเรื่องผ่านมายังสำนักนโยบายและแผน ของกระทรวงกลาโหม จากนั้นจะนำเรียนไปที่ปลัดกระทรวงกลาโหม เพื่อผ่านเรื่องต่อไปยังรัฐมนตรี 2. ผบ.เหล่าทัพ จะต้องเป็นคนนำเรื่องเข้าสู่ที่ประชุมโดยตรง 3. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม มีสิทธิ์นำเข้าได้ด้วยตนเอง
** "เสธ.อ้าย"ปัดกลุ่มทุนหนุน อพส.
พล.อ.บุญเลิศ แก้วประสิทธิ์ อดีตประธานองค์การพิทักษ์สยาม (อพส.) กล่าวว่า การเปิดตัวคณะเสนาธิการร่วม ก็เพราะต้องการเดินหน้าขับไล่รัฐบาลภายใต้ระบอบทักษิณออกไปจึงมีการแต่งตั้งพล.ร.อ.ชัย สุวรรณภาพ เป็นประธาน อพส. คนใหม่แทน
"ผมยืนยันว่าอพส.ไม่มีเงินทุนสนับสนุน ที่มีการบอกว่ามีเงินทุนกว่า 3,000 ล้านบาทนั้น ขอปฏิเสธว่าไม่มี เพราะไม่มีใครให้เงินทุนเหล่านี้แก่กลุ่มอพส.ทั้งนั้น ทุกวันนี้ค่าเช่าสถานที่ในการจัดกิจกรรมต่างๆ ก็ออกค่าใช้จ่ายเองมาโดยตลอด ไม่เคยมีนายทุนคนไหนช่วยเหลือ" พล.อ.บุญเลิศ กล่าว
พล.อ.บุญเลิศกล่าวอีกว่า รัฐบาลทำให้ชาติเสียหายจากโครงการรับจำนำข้าว ทำให้ทุกวันนี้ชาวนาได้รับความเดือดร้อนมาก เพราะชาวนาไม่เคยได้ประโยชน์จากโครงการดังกล่าวเลย มีแต่จะเสียผลประโยชน์ด้วยซ้ำ ในทางกลับกันรัฐบาลและส.ส.ทั้งหลาย กลับได้รับผลประโยชน์โดยตรง นอกจากนี้การนำเอาผู้หญิงมาเป็นรมว.กลาโหม ส่วนตัวรับไม่ได้ เพราะเป็นการดูถูกทหารชัดๆ เท่ากับเป็นการไม่ให้เกียรติทหาร และนำคนที่ไม่มีความรู้ความสามารถมาปกครอง เหตุผลเพียงแค่นี้ ก็เชื่อว่าก็สามารถขับไล่รัฐบาลชุดนี้ออกไปได้
** "แดงพะเยา"แนะไปประชุมสภาที่เชียงใหม่
นายธนพัฒน์ ชัยชนะ ประธานชมรมแดงพะเยาหลังเขาจุน อ.จุน จ.พะเยา เปิดเผยว่า ตามที่จะมีการเปิดประชุมสภาในวันที่ 1 ส.ค.นี้ ขณะเดียวกันก็ได้มีการเตรียมเคลื่อนไหวโดยการชุมนุมของกลุ่มกองทัพประชาชนโค่นระบอบทักษิณ ในวันที่ 4 ส.ค. ทำให้กลุ่มคนเสื้อแดงเป็นห่วงการประชุมสภาฯ จะเกิดความวุ่นวาย อาจจะถูกปิดล้อมรัฐสภา ทำให้การประชุมเป็นไปอย่างลำบาก
ดังนั้นจึงได้ทำหนังสือเสนอถึงประธานรัฐสภา ผ่านนายวิสุทธิ์ ไชยณรุณ รองประธานสภาผู้แทนราษฎร ขอให้ย้ายการประชุมสภาฯ มาทำการประชุมที่ จ.เชียงใหม่แทน ซึ่งกลุ่มคนเสื้อแดงภาคเหนือ และอีกหลายจังหวัดใกล้เคียง พร้อมจะนำกำลังไปร่วมกันปกป้องการประชุมให้ราบรื่น ไม่ให้มีกลุ่มชุมนุมต่อต้านรัฐบาลปิดล้อม หรือบุกเข้าไปที่ประชุมสภาฯ ได้
นอกจากนี้ อยากเรียกร้องให้รัฐบาลพิจารณา ร่าง พ.ร.บ. นิรโทษกรรม ให้ผ่านโดยเร็ว เนื่องจากเห็นใจพี่น้องเสื้อแดง และประชาชนที่บริสุทธิ์ ถูกจำคุกมานานถึง 3 ปีแล้ว ทั้งๆ ที่ไม่ได้มีความผิดใดๆ ในทางการเมือง ความหวังของพี่น้อง ญาติของคนเสื้อแดง ที่ถูกจำคุกอยู่ที่รัฐบาลของน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร จะแสดงความจริงใจ ที่จะให้ความช่วยเหลือคนเสื้อแดง และประชาชนที่บริสุทธิ์ในเรื่องนี้อย่างจริงจังต่อไป